- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้น สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน จึงปิดตลาดลดลงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield) ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากผู้ว่า ธปท. ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ หลังจากที่รายงานการประชุมของ FOMC ระบุว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีการจ่ายชำระพันธบัตรกองทุนน้ำมันวงเงินรวม 2.6 หมื่นล้านบาท ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการขาดดุลเคลียริ่งจากการเบิกถอนของลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง และมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 ต่อปี ในวันพฤหัสบดี และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ในวันอังคาร อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ได้รับชำระหนี้จากสถาบันบริหารกองทุนพลังงานมีการนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 ต่อปี ทั้งนี้ สัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันและ 1 เดือน ไม่มากนัก เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่รอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์หน้า (19 ต.ค.) สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 -- 3.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 24,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท
ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 62,000 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล 50,000 ล้านบาท จึงมีตราสารภาครัฐหมุนเวียนในตลาดลดลง 38,000 ล้านบาท แต่ในเดือน ต.ค. --ธ.ค. 48 จะมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้รวม 50,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ครบกำหนด การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 62,400 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,480 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.9 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 63 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-18 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 74 และ 41 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุเพิ่มขึ้น 9-15 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 48 41.01
เฉลี่ย 3-7 ต.ค. 48 40.99
3 ต.ค. 48 40.77
4 ต.ค. 48 40.85
5 ต.ค. 48 40.97
6 ต.ค. 48 40.92
7 ต.ค. 48 40.83
เฉลี่ย 10-14 ต.ค. 48 40.87
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ สำหรับการประชุมในวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ขณะที่ผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากผู้ว่าการ ธปท. ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยประมาณร้อยละ 0.25 -- 0.5 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในสัปดาห์หน้า (19 ต.ค.) ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่าอาจมีการกดดันให้ทางการจีนเพิ่มความยืดหยุ่นของค่าเงินหยวนในการประชุม G-20 ณ กรุงปักกิ่งในช่วงสุดสัปดาห์ ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลง เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี และนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนก่อนการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในวันศุกร์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield) ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากผู้ว่า ธปท. ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ หลังจากที่รายงานการประชุมของ FOMC ระบุว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีการจ่ายชำระพันธบัตรกองทุนน้ำมันวงเงินรวม 2.6 หมื่นล้านบาท ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการขาดดุลเคลียริ่งจากการเบิกถอนของลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง และมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 ต่อปี ในวันพฤหัสบดี และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ในวันอังคาร อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ได้รับชำระหนี้จากสถาบันบริหารกองทุนพลังงานมีการนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 ต่อปี ทั้งนี้ สัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันและ 1 เดือน ไม่มากนัก เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่รอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์หน้า (19 ต.ค.) สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 -- 3.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 24,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท
ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 62,000 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล 50,000 ล้านบาท จึงมีตราสารภาครัฐหมุนเวียนในตลาดลดลง 38,000 ล้านบาท แต่ในเดือน ต.ค. --ธ.ค. 48 จะมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้รวม 50,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยพันธบัตรรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ครบกำหนด การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 62,400 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,480 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.9 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 63 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-18 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 74 และ 41 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุเพิ่มขึ้น 9-15 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 48 41.01
เฉลี่ย 3-7 ต.ค. 48 40.99
3 ต.ค. 48 40.77
4 ต.ค. 48 40.85
5 ต.ค. 48 40.97
6 ต.ค. 48 40.92
7 ต.ค. 48 40.83
เฉลี่ย 10-14 ต.ค. 48 40.87
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ สำหรับการประชุมในวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ขณะที่ผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากผู้ว่าการ ธปท. ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยประมาณร้อยละ 0.25 -- 0.5 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในสัปดาห์หน้า (19 ต.ค.) ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่าอาจมีการกดดันให้ทางการจีนเพิ่มความยืดหยุ่นของค่าเงินหยวนในการประชุม G-20 ณ กรุงปักกิ่งในช่วงสุดสัปดาห์ ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลง เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี และนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนก่อนการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในวันศุกร์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-