ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สอง และแนวโน้มปี 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 19, 2019 13:33 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค

แถลงข่าว วันที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 09.30 น.

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส ที่สองของปี 2562 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2562 ร้อยละ 0.6 (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6
  • ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของรัฐบาล ในขณะที่การส่งออกสินค้าปรับตัวลดลง

ด้านการผลิต การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมงและสาขาการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ในขณะที่การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ชะลอตัวลงจาก ไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การผลิตสาขาก่อสร้าง และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ ขยายตัวเร่งขึ้น และสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง

  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ในประเทศทั้งในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน (2) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการปรับตัวของภาคการส่งออกและการผลิตต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่คาดว่าจะชัดเจนมากขึ้น (3) การดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ของภาครัฐ และ (4) ฐานการขยายตัวที่อยู่ในระดับต่ำซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังขยายตัวเร่งขึ้น ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะลดลงร้อยละ 1.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.2 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.2 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.9 ของ GDP
  • ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2562 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออกในครึ่งปีหลังให้สามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.0 โดยให้ความสำคัญกับ (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้า (ii) การใช้โอกาสจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดในสุกร และการยกเลิกการผ่อนผันนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าของจีน (iii) การให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบผ่านความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตให้ส่งออกไปยังตลาดอื่นได้เร็วขึ้น (iv) การติดตามการเปลี่ยนแปลงของสินค้านำเข้าสำคัญ ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจเปลี่ยนทิศทางมาส่งออกผ่านไทยมากขึ้น (v) การปฏิบัติตามข้อกำหนดและแนวทางการปฏิบัติในประเทศคู่ค้า ที่มีความเกี่ยวพันกับการให้สิทธิพิเศษทางการค้าและกีดกันทางการค้า (vi) การขยายความร่วมมือทางการค้า โดยเฉพาะกับประเทศที่มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศมากขึ้น และ (vii) การอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับการเจาะตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูงในประเทศจีน การจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยว การส่งเสริมการขายในตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกลและรายได้สูง และการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวชาวไทยท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น (3) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับ (i) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีงบประมาณ 2562 ให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60.0 (ii) การเบิกจ่ายจากงบเหลื่อมปี ให้มีอัตราเบิกจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70.0 (iii) การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 และ (iv) การเร่งรัดดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (4) การสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (ii) การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในประเทศไทย รวมทั้งชักจูงนักลงทุนที่ได้รับผลกระทบให้ย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย (iii) การขับเคลื่อนโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ (iv) การผลักดันโครงการลงทุนที่ขอรับและได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้มีการลงทุนจริงโดยเร็ว และ (v) การเตรียมความพร้อมด้านกำลังแรงงานและคุณภาพแรงงาน (5) การดูแลเกษตรกร กำลังแรงงาน ผู้มีรายได้น้อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเศรษฐกิจฐานราก และ (6) การรักษาความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2562 และแนวโน้มปี 2562

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของรัฐบาล ในขณะที่การส่งออกสินค้าปรับตัวลดลง ด้านการผลิต การผลิตสาขาเกษตรกรรม และสาขาอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ในขณะที่การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การผลิตสาขาก่อสร้าง และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ ขยายตัวเร่งขึ้น และสาขาการขายส่ง ขายปลีก ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2562 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2562 ร้อยละ 0.6 (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2562

1) การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 4.4 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการอยู่ในเกณฑ์ดี และการดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายสำคัญ ๆ โดยเฉพาะดัชนีปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน ดัชนีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล และดัชนีปริมาณค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทน ซึ่งขยายตัวร้อยละ 17.2 ร้อยละ 4.7 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ ในขณะที่ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ขยายตัวร้อยละ 5.4 และร้อยละ 1.7 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 10.6 และร้อยละ 12.3 ในไตรมาสแรก ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 64.8 เทียบกับระดับ 68.1 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 19.7 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 22.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.6 และการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 2.2

2) การลงทุนรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 และการลงทุน ในสิ่งก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ส่วนการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 โดยการลงทุนของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 5.9 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 5.0 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 14.4 เทียบกับอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 15.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 17.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 0.6 และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.3

3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 60,553 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออกและการชะลอตัวเป็นวงกว้างของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 4.4 ในขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 1.0) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 10.6) และผลไม้ (ร้อยละ 39.0) เป็นต้น กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง เช่น ข้าว (ลดลงร้อยละ 23.9) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 8.5) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 11.8) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 12.9) ปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 10.2) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 14.2) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (15) ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง (15) ลดลง ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 5.3

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 120,405 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.1 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 4.4 ในขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 3,804 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5

4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง ผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 15.3) และอ้อย (ลดลงร้อยละ 65.3) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสำคัญอื่น ๆ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ในขณะที่ผลผลิตหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงกลับมาขยายตัว ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสุกร (ร้อยละ 26.1) ราคายางพารา (ร้อยละ 9.5) และราคากลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 9.3) การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9

5) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกีดกันทางการค้า โดย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 7.5 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงร้อยละ 4.3 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65.58 ลดลงจากร้อยละ 68.16 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 16.9) การผลิตน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 24.8) และการผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ (ลดลงร้อยละ 34.3) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ (ร้อยละ 13.9) และการผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 23.7) เป็นต้น

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.9 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 68.4

6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและรายได้ที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ และการชะลอตัวอย่างช้า ๆ ของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน โดยในไตรมาสนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 8.97 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อน เมื่อรวมกับการขยายตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 708.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับการขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 448.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวจากประเทศสำคัญที่ยังขยายตัวสูง ประกอบด้วย อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียลดลง และ (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 259.8 พันล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 3.9 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 69.83 ลดลงจากร้อยละ 70.37 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตที่พักแรมและบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 1,022.2 พันล้านบาท จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 73.50

7) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของบริการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการปรับตัวลดลงของการผลิตสาขาอุตสาหกรรม โดยบริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 1.9 ในขณะที่บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง และบริการขนส่งทางอากาศขยายตัวร้อยละ 3.9 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ บริการสนับสนุนการขนส่ง และบริการไปรษณีย์และการรับส่งเอกสารขยายตัวร้อยละ 4.4 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 2.9 บริการสนับสนุนการขนส่งขยายตัวร้อยละ 6.5 และบริการไปรษณีย์และการรับส่งเอกสารขยายตัวร้อยละ 5.2

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2562

สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.2 โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (1) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ภายในประเทศที่จะยังมีความต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน (2) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการปรับตัวของภาคการส่งออกและการผลิตต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น (3) การดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ และ (4) ฐานการขยายตัวที่อยู่ในระดับต่ำซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะลดลงร้อยละ 1.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.2 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.2 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.9 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2562 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การบริโภคภาคเอกชน: ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ย อัตรา เงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และการดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมของภาครัฐ ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 4.4 แม้ว่าจะชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ จากการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน การขยายตัวในเกณฑ์สูงของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายสำคัญ ๆ โดยเฉพาะดัชนีปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน ดัชนีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล และดัชนีปริมาณค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทน ซึ่งขยายตัวร้อยละ 17.2 ร้อยละ 4.7 และร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.5 ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ในขณะที่ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ขยายตัวร้อยละ 5.4 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 10.6 และร้อยละ 12.3 ในไตรมาสแรก ตามลำดับ โดยการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสนี้มีปัจจัยสนับสนุนมาจากอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งการดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมของภาครัฐ สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 64.8 เทียบกับระดับ 68.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชน: ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้าง ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร

ขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ และยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ร้อยละ 2.1 ร้อยละ 4.1 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ รวมทั้งสอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของการส่งออกและอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศร้อยละ 2.6 โดยปริมาณการจำหน่ายกระเบื้องในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ และปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็ก (ไม่รวมแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี) ขยายตัวร้อยละ 5.4 ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสนี้มีมูลค่า 103.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.7 โดยเฉพาะมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.3 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 49.6 เทียบกับระดับ 50.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง สอดคล้องกับการชะลอตัวเป็นวงกว้างของเศรษฐกิจโลก และการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า (มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2562) รวมทั้งฐานการส่งออกสินค้าเกษตรบางรายการที่อยู่ในเกณฑ์สูงและข้อจำกัดด้านปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตรบางรายการ การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สองของปี 2562 มีมูลค่า 60,553 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 4.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า การเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าและภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ยังคงชะลอลงต่อเนื่อง โดยปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง และสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 ร้อยละ 10.3 และร้อยละ 5.6 ตามลำดับ ส่วนราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยเฉพาะราคาส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น ราคาน้ำมันสำเร็จรูป (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 3.1) ลดลงร้อยละ 2.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ราคาเคมีภัณฑ์ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 3.1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ชะลอตัวลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ราคาเม็ดพลาสติก (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 3.8) ลดลงร้อยละ 3.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 1,912 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่า 120,405 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 4.4 ในขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกคิดเป็นมูลค่า 3,804 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 4.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 6.5 ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำตาล ในขณะที่ราคาส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว เพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญอื่น ๆ เช่น ยางพารา มันสำปะหลังและน้ำตาลปรับตัวลดลง การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ ประกอบด้วย ข้าว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23.9 ตามการลดลงของมูลค่า การส่งออกไปยังประเทศเบนิน แคเมอรูน และสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอต่อการส่งออกจากภาวะภัยแล้ง และประเทศจีนยังคงมีสต็อกข้าวอยู่ในระดับสูง โดยปริมาณการส่งออกข้าวลดลงร้อยละ 25.4 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 มันสำปะหลัง มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 8.5 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการส่งออก ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 5.7 เนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ยางพารา มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.8 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.5 ตามอุปทานยางพาราในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 11.4 เนื่องจากความต้องการจากประเทศนำเข้าหลักโดยเฉพาะจีนปรับตัวลดลง ตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า น้ำตาล มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 21.0 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังเมียนมา อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 16.8 ตามปริมาณผลผลิตและสต็อกน้ำตาลในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 6.8 มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 5.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า มาตรการกีดกันทางการค้า และการชะลอตัวของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 14.2 ร้อยละ 10.2 และร้อยละ 17.9 ตามลำดับ เนื่องจากราคาส่งออกชะลอตัวลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับสินค้าอื่น ๆ ที่ปรับตัวลดลง ประกอบด้วย แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ลดลงร้อยละ 14.4) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 6.2) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 23.1) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 12.9) และรถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 4.3) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 1.0 ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 10.6 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลงร้อยละ 9.2 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 10.3 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 7.4) เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการส่งออก และการเพิ่มขึ้นของการแข่งขันจากผู้ผลิตในประเทศ สินค้าส่งออกอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 68.2

ตลาดส่งออก: การส่งออกสินค้าไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (15) ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง (15) ปรับตัวลดลง ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.3 โดยส่วนหนึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการเบี่ยงเบนของทิศทางทางการค้าที่เกิดจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน การส่งออกไปยังตลาดจีนลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สี่ ร้อยละ 9.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ทำให้จีนมีความต้องการนำเข้าสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ ลดลง การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (9) ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) ร้อยละ 8.7 กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ร้อยละ 2.0 ส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (15) ลดลงร้อยละ 7.3 ตามการลดลงของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (แผงโซลาร์เซลล์) เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและเครื่องปรับอากาศยังคงขยายตัว ส่วนการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียลดลงร้อยละ 9.5 ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลาง (15) ลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปขยายตัวต่อเนื่อง

มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าสอดคล้องกับการลดลงของมูลค่าการส่งออกและการชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ในประเทศ ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การนำเข้ามีมูลค่า 54,844 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.4 (ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง) เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงของปริมาณการนำเข้าในหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางและ การนำเข้าสินค้าทุน ร้อยละ 4.2 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ ตามการลดลงของความต้องการส่งออก ในขณะที่ราคานำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อหักการนำเข้าทองคำออกแล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.7 ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคำและน้ำมันดิบ มูลค่า การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.2 ในรูปของเงินบาท การนำเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 1,733 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การนำเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 108,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.1 โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.2 ในขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.04 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 3,422 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.5 ในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางและการนำเข้าสินค้าทุนปรับตัวลดลง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้านำเข้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้น มูลค่าการนำเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 4.8 โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.2 สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออก ส่วนราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.6 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ วัสดุที่ทำด้วยโลหะ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 5.0 ตามการลดลงของปริมาณนำเข้าร้อยละ 5.2 สอดคล้องกับการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการปรับตัวลดลงของอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 การนำเข้าในหมวดเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ประกอบปรับตัวลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่การนำเข้าสินค้าในกลุ่มอากาศยาน เรือ แท่น และรถไฟขยายตัว สินค้าที่มูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ หม้อแปลง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ เครื่องเก็บประจุไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องจักรสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า และเครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง ร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และสิ่งทอ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 2.0 ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) และหมวดยานยนต์เป็นสำคัญ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.0 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ

ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สองของปี 2562 ดุลการค้าเกินดุล 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (178.6 พันล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (203.4 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า และการเกินดุล 6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (207.4 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวมครึ่งแรกของปี 2562 ดุลการค้าเกินดุล 12.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (382.0 พันล้านบาท) เทียบกับ การเกินดุล 13.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (439.4 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรม ปรับตัวลดลงตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2560) ส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สองในไตรมาสที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามผลผลิตพืชผลสำคัญ 2 รายการ คือ (1) ข้าวเปลือก ลดลงร้อยละ 15.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ในไตรมาสแรก โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาฝนทิ้งช่วงและปริมาณน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (2) อ้อย ลดลงร้อยละ 65.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรก เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและราคาอ้อยที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสำคัญอื่น ๆ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดย (1) ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เนื่องจากต้นยางพาราที่ปลูกทดแทนพืชชนิดอื่นตั้งแต่ปี 2556 อยู่ในช่วงอายุการให้ผลผลิตสูง (2) มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจจากราคามันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น (3) ปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันและต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง และ (4) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ของไม้ผลบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น มังคุด ลองกองและทุเรียน ด้านหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงกลับมาขยายตัวร้อยละ 1.9 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) สุกร โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสุกรในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบจากโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร โดยเฉพาะในประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา และลาว (2) ยางพารา เนื่องจากปริมาณผลผลิตยางในตลาดโลกปรับตัวลดลง โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาโรคระบาดในยางพาราของประเทศอินโดนีเซีย ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่กรีดยางหลักของประเทศจีน และมาตรการจำกัดการส่งออกยางของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (3) กลุ่มไม้ผล เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม้ผลบางรายการไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เช่น สับปะรดและทุเรียน เป็นต้น และ (4) ไก่เนื้อ เนื่องจากปริมาณผลผลิตเนื้อไก่ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาปาล์มน้ำมันลดลงร้อยละ 31.2 ราคามันสำปะหลังลดลงร้อยละ 25.8 ราคาอ้อยลดลงร้อยละ 12.1 และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 9.6 เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9

สาขาการผลิตอุตสาหกรรม: ปรับตัวลดลงตามการผลิตเพื่อการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้า ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 2.6 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 7.5 โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ยางลดลง ร้อยละ 16.9 ตามการปรับตัวลดลงของปริมาณน้ำยางและการลดลงของคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยเฉพาะยางแท่งและยางแผ่น การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ลดลงร้อยละ 34.3 การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงลดลงร้อยละ 13.4 การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 4.5 และการแปรรูปและ การถนอมผลไม้และผักลดลงร้อยละ 14.0 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ (เครื่องปรับอากาศ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากคำสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) จากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินเดีย และการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และทางทันตกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงร้อยละ 4.3 โดยการผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 24.8 การผลิตยานยนต์ลดลงร้อยละ 0.8 การทอผ้าลดลงร้อยละ 8.1 การผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลดลงร้อยละ 9.3 และการผลิตเส้นใยสิ่งทอลดลงร้อยละ 8.0 ในขณะที่การผลิตยางนอกและยางในเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 โดยการผลิตน้ำมันปาล์มขยายตัวร้อยละ 23.7 การผลิตเคมีภัณฑ์ขยายตัวร้อยละ 11.7 การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวร้อยละ 12.1 การต้มการกลั่น และการผสมสุราขยายตัวร้อยละ 1.3 การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ขยายตัวร้อยละ 17.3 เป็นสำคัญ ในขณะที่การผลิตปุ๋ยเคมีและการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 21.4 และร้อยละ 5.8 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65.6 ลดลงจากร้อยละ 68.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในอุตสาหกรรมสำคัญ 32 รายการ มีอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 90 จำนวน 1 อุตสาหกรรม คือ การผลิตพลาสติกและยางซึ่งใช้กำลังการผลิตร้อยละ 96.3 อุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตในช่วงร้อยละ 80 - 90 จำนวน 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 81.3) การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 80.8) และการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสดแช่เย็นหรือแช่แข็ง (ร้อยละ 80.6) ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตในช่วงร้อยละ 70 - 80 จำนวน 7 อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตเยื่อกระดาษ (ร้อยละ 78.7)การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 76.9) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ (ร้อยละ 73.8) การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 73.4) การผลิตเภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ 73.2) การผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 71.9) และการผลิตยางนอกและยางใน (ร้อยละ 80.0)ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 16.9) การผลิตน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 24.8) การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ (ลดลงร้อยละ 34.3) การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 13.4) การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ลดลงร้อยละ 4.5) การแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก (ลดลงร้อยละ 14.0) การผลิตปุ๋ยเคมี (ลดลงร้อยละ 21.4) การผลิตอาหารสัตว์สาเร็จรูป (ลดลงร้อยละ 5.8) การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 0.8) และการผลิตถังและภาชนะบรรจุที่คล้ายกันที่ทำจาก โลหะ (ลดลงร้อยละ 11.8)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ (เครื่องปรับอากาศ) (ร้อยละ 13.9) การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 23.7) การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ (ร้อยละ 17.3) การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 12.1) การผลิตเคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 11.7) การผลิตผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 7.5) การผลิตกระเป๋าเดินทางและสิ่งที่คล้ายกัน (ร้อยละ 29.5) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต (ร้อยละ 2.3) การผลิตปูนซีเมนต์ (ร้อยละ 5.7) และการผลิตสีและสารเคลือบที่คล้ายกัน (ร้อยละ 4.7)

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ชะลอลงจากร้อยละ 2.6 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.9 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 68.4

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าสอดคล้องกับจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ต่ำและการชะลอตัวอย่างช้า ๆ ของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 8.97 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ขยายตัวสูง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวจากประเทศอินเดีย (สัดส่วนร้อยละ 5.9) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 มาเลเซีย (สัดส่วนร้อยละ 11.3) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ญี่ปุ่น (สัดส่วนร้อยละ 4.3) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ลาว (สัดส่วนร้อยละ 5.1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และฮ่องกง (สัดส่วนร้อยละ 3.1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ตามลำดับ ในขณะที่นักท่องเที่ยวจีน (สัดส่วนร้อยละ 28.2) ลดลงร้อยละ 8.2 และนักท่องเที่ยวยุโรป (สัดส่วนร้อยละ 12.2) ลดลงร้อยละ 0.8 รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 708.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 448.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวจากประเทศสำคัญที่ยังขยายตัวสูง ประกอบด้วย อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียลดลง (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 259.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 69.83 ลดลงจากร้อยละ 70.37 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.7 ในช่วงครึ่งปีหลังของปีที่ผ่านมา โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 1,022.2 พันล้านบาท จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 73.50

สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องแม้ว่าจะชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 5.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ร้อยละ 6.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 13.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 (เช่น ร้านขายปลีกสินค้าใหม่อื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และร้านขายปลีกเครื่องประดับ) และหมวดร้านขายปลีกในร้านค้าทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 (2) ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้าโดยหมวดการขายส่งของใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 (เช่น การขายส่งนาฬิกาและเครื่องประดับ และการขายส่งเครื่องสำอาง) และหมวดการขายส่งอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และ (3) ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายยานยนต์ ลดลงร้อยละ 2.9 ขณะที่หมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 รวมครึ่งแรกของปี 2562 สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากร้อยละ 7.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ในขณะที่ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 0.7

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าตามการปรับตัวลดลงของการขนส่งทางน้ำ ในขณะที่การขนส่งทางบกและการขนส่งทางอากาศยังขยายตัวได้ดี ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของบริการขนส่งที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย(1) บริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 1.9 ตามการลดลงของการขนส่งสินค้าทางน้ำเป็นสำคัญ (2) บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของการผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรม และ (3) บริการขนส่งทางอากาศขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศเป็นสำคัญ นอกจากนี้ บริการสนับสนุนการขนส่ง และบริการไปรษณีย์และการรับส่งเอกสารขยายตัวร้อยละ 4.4 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 2.9 บริการสนับสนุนการขนส่งขยายตัวร้อยละ 6.5 และบริการไปรษณีย์และการรับส่งเอกสารขยายตัวร้อยละ 5.2

สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ: ขยายตัวและเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยซึ่งส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนปรับตัวเพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย (1) กิจกรรมการผลิตไฟฟ้าขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 7.6 สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยในไตรมาสนี้ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.03 องศาเซลเซียส (โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งประเทศของไตรมาสที่สองอยู่ที่ระดับ 27.87 องศาเซลเซียส) ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้า ในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของการผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรม และ (2) กิจกรรมโรงแยกก๊าซขยายตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อย 3.0 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยกิจกรรมการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 และกิจกรรมโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

สาขาก่อสร้าง:ขยายตัวเร่งขึ้นตามการก่อสร้างภาครัฐ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนชะลอตัว ในไตรมาส ที่สองของปี 2562 การผลิตสาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 5.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และ การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 1.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และการชะลอตัวของสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เป็นสำคัญ ในขณะที่การก่อสร้างอาคาร ที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และอาคารโรงงาน) ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.06 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ 11.2) และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (ร้อยละ 2.1) เป็นสำคัญ ในขณะที่ดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงร้อยละ 4.3

รวมครึ่งแรกของปี 2562 การผลิตสาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในช่วงครึ่งหลังของปีผ่านมา โดยการก่อสร้างภาครัฐและการก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับผู้มีงานทำ: ปรับตัวลดลงตามการลดลงของผู้มีงานทำในภาคเกษตรและการชะลอตัวของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรในไตรมาสที่สองของปี 2562 จำนวนผู้มีงานทำลดลงร้อยละ 0.3 โดยผู้มีงานทาภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 30.18) ลดลงร้อยละ 4.9 และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง สอดคล้องกับการลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการ เช่น ข้าวเปลือก และอ้อย ในขณะที่ผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 69.82)ขยายตัวร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ แต่ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรก ตามการชะลอตัวของจำนวนผู้มีงานทำในสาขาก่อสร้าง สาขาการผลิตอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ในขณะที่จำนวนผู้มีงานทำในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารกลับมาขยายตัว อัตราการว่างงาน ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าอัตราการว่างงานร้อยละ 1.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจำนวน 3.8 แสนคน

เฉลี่ยครึ่งแรกของปี 2562 ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ด้านการคลัง

ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2562 (เมษายน - มิถุนายน 2562) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 776,336.7 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นผลจากการชำระภาษีจากการโอนสัมปทานปิโตรเลียม และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ซึ่งส่งผลให้ผลประกอบการของธุรกิจปิโตรเลียมปรับตัวดีขึ้น (2) การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของผลประกอบการภาคธุรกิจ และ (3) การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเลื่อนวันสิ้นสุดการยื่นแบบแสดงรายการภาษีจากสิ้นเดือนมีนาคมเป็นต้นเดือนเมษายน เนื่องจากวันสุดท้ายของเดือนมีนาคมเป็นวันหยุดราชการ ประกอบกับ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารจัดการทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,937,145.6 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6

การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 712,314.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7 (รายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 12.0 และรายจ่ายลงทุนลดลง 1ร้อยละ 1.1) ประกอบด้วย (1)การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 จำนวน590,129.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 15.1 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 19.7 ต่ำกว่า ร้อยละ 22.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำแนกเป็น การเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 497,379.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.6 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.1 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 24.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเร่งเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้า และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 92,750.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 14.4 ต่ำกว่าร้อยละ 17.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

หมายเหตุ: การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายประจาปี งบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)และไม่รวมรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจาปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี) และเงินกู้นอกงบประมาณ

(2)การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 71,268.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.8 โดยอัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 19.2 สูงกว่าร้อยละ 13.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (3)การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 53,640.2 ล้านบาท2 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 6.0 และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ1,062.4 ล้านบาท เทียบกับการเบิกจ่าย 906.5 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ตามมาตรการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 (แผนงาน/โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน) และเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) จำนวน 1,045.5 ล้านบาท และ 16.9 ล้านบาท ตามลำดับ

รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 มีการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐรวม 2,517.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.0 ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 จำนวน 2,152.5 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 0.6) อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 71.7 สูงกว่าร้อยละ 71.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 1,884.3 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 0.5) อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 79.9 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 75.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 268.2 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 1.7) อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ต่ำกว่าร้อยละ 50.5 ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2561 และเป็นอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณต่ำสุดในรอบ 12 ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปีจำนวน 203.0 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1) โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 54.7 (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) คาดว่ามีจำนวน 170.4 พันล้านบาท และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้นอก3งบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,757.4 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่าทั้งสิ้น 6,883,189.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.5 ของ GDP ประกอบด้วยเงินกู้ภายในประเทศ 6,662,717.5 ล้านบาท (ร้อยละ 39.2 ของ GDP) และเงินกู้จากต่างประเทศ 220,471.6 ล้านบาท (ร้อยละ 1.3 ของ GDP) โดยแบ่งออกเป็นหนี้ของรัฐบาล 5,656,734.5 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 882,174.4 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 334,999.6 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 9,280.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.2 ร้อยละ 12.8 ร้อยละ 4.9 และร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ

หมายเหตุ: 2 รวมรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจาปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จานวน 3,785.3 ล้านบาท

3 รวมรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจาปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จานวน 9,780.3 ล้านบาท

ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลเกินดุลงบประมาณ 116,145.0 ล้านบาท เมื่อรวมกับการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 21,989.0 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 70,200.0 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดสุทธิ 208,334.0 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้าจำนวน 289,041.0 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2562 อยู่ที่ 497,375.0 ล้านบาท

รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณ 411,945.0 ล้านบาท ขาดดุล เงินนอกงบประมาณ 25,094.0 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 300,978.0 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 66.9 ของกรอบวงเงินขาดดุล 450,000.0 ล้านบาท) ส่งผลให้รัฐบาลยังคงขาดดุลเงินสดหลังกู้ 136,061.0 ล้านบาท

ภาวะการเงิน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในไตรมาสที่สองของปี 2562

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 และ 25 มิถุนายน 2562 ที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าการดำเนินนโยบายการเงินในขณะนั้นอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเพียงพอต่อการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 0 พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับร้อยละ -0.40 และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับร้อยละ 0.25 ขณะที่หลายประเทศเริ่มส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางผ่อนคลายมากขึ้นและเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 0.25 ในเดือนเมษายนและเดือนมิถุนายน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปี และเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เช่นเดียวกับธนาคารกลางนิวซีแลนด์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนพฤษภาคม และธนาคารกลางรัสเซียกับออสเตรเลีย ที่ปรับลดในเดือนมิถุนายน

ในเดือนกรกฎาคม 2562 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.00-2.25 ต่อปี เช่นเดียวกับ เกาหลีใต้และอินโดนีเซียที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 และ 5.75 ตามลำดับ ล่าสุดเดือนสิงหาคม 2562 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ที่ประชุมมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยประเทศอื่น ๆ ที่ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ปรับลดร้อยละ 0.50 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00 ประเทศอินเดียปรับลดร้อยละ 0.35 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.40 ประเทศฟิลิปปินส์ปรับลดร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25

ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ขณะที่คงดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสที่สองของปี 2562 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.46 ต่อปี เป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 1 แห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ในเดือนมิถุนายน แต่คงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ไว้ที่ระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.28 ต่อปี ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่น ๆ คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.13 และ 6.71 ต่อปีตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเฉลี่ย และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการลดลงของอัตราเงินเฟ้อ

ในเดือนกรกฎาคม 2562 ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางแห่งหนึ่งปรับเพิ่มเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 0.45 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 1.35 ล่าสุดเดือนสิงหาคม 2562 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และธนาคารการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.125 ถึงร้อยละ 0.25 สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ไตรมาสที่สองของปี 2562 ยอดคงค้างสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินชะลอตัวลงตามสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือน โดย ณ สิ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อสาขาการผลิต การเงินและการประกันภัยและสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร เช่นเดียวกับสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.0 สอดคล้องกับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อของธนาคารการเงินเฉพาะกิจ ที่ชะลอตัวลงเกือบทุกวัตถุประสงค์ของการกู้โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ก่อนมาตรการ LTV ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ลดลงสอดคล้องกับการชะลอตัวของยอดจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาสนี้ ในขณะที่คุณภาพของสินเชื่อในไตรมาสที่สองปีนี้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า โดยสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loan) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.97 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.95 ในไตรมาสก่อนหน้า

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของปี 2562 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 31.59 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.1 ขณะที่ค่าเงินประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค อาทิ ค่าเงินวอน ค่าเงินริงกิต และค่าเงินรูเปีย เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศดังกล่าว โดยการแข็งค่าของเงินบาทได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER)4ที่เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.8

ในเดือนกรกฎาคม 2562 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลงจากมาตรการชะลอการไหลเข้าของเงินทุนเคลื่อนย้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งการปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย และการปรับลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตราสารหนี้ของไทย อย่างไรก็ตาม สัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ค่าเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคม 2562 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อนหน้า

หมายเหตุ: 4 ธปท. เริ่มปรับใช้สกุลเงินพร้อมน้ำหนักใหม่ในการคานวณดัชนีค่าเงินบาท (NEER) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ในเดือนมีนาคม 2557 พร้อมปรับปีฐานของค่าดัชนีให้สอดคล้องกับปีที่ใช้คำนวณน้ำหนัก คือปี 2555 เพื่อให้สะท้อนถึงโครงสร้างทางการค้าตามความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของปี 2562 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1,730.3 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ตามการซื้อของนักลงทุนสถาบันเป็นสำคัญ โดยการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ของไทยในไตรมาสนี้มีความผันผวนในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสตามการคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของทั้งไตรมาส ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นขึ้นตามปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ได้แก่ (1) การส่งสัญญาณในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศสำคัญ ๆ (2) การปรับเพิ่มสัดส่วนหุ้นไทยในดัชนี MSCI Emerging Markets และ (3) เสถียรภาพทางการเมืองของไทยที่ขึ้นจากความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค สอดคล้องกับการบริโภคภายในประเทศที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดีและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายน

ในเดือนกรกฎาคม 2562 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2562 ร้อยละ 1.1 มาอยู่ที่ 1,711.97 จุด โดยได้รับแรงกดดันจากการขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศเพื่อทำกำไรในช่วงที่ภาวะดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง

นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ ในไตรมาสที่สองของปี 2562 นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทย 46.2 พันล้านบาท เทียบกับยอดขายสุทธิ 37.3 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนที่มีการซื้อสุทธิสูงถึง 54.0 พันล้านบาท ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุมวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2562 สืบเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าและการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของประเทศอังกฤษแบบไร้ข้อตกลง (No Deal) ส่งผลให้มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันในไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้นจาก 23.6 พันล้านบาทต่อวันในไตรมาสที่แล้ว เป็น 29.8 พันล้านบาทต่อวัน ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ปรับตัวลดลงในเกือบทุกช่วงอายุ ยกเว้นพันธบัตรระยะสั้นอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ในเดือนกรกฎาคม 2562 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรระยะสั้น 44.3 พันล้านบาท และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว 17.2 พันล้านบาท ทำให้มียอดขายสุทธิที่ 25.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงในเกือบทุกช่วงอายุ ยกเว้นพันธบัตรระยะสั้นที่มีอายุ 1 เดือนและ 6 เดือนที่อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ ในไตรมาสที่สองของปี 2562 มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลมาจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของคนไทย ทั้งในรูปแบบของการลงทุนโดยตรงและ การลงทุนในหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติยังนำเงินเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรูปแบบของการลงทุนโดยตรงและลงทุนในหลักทรัพย์ โดยเป็นเงินไหลออกสุทธิน้อยที่สุดในรอบ 13 ไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2559

ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ในไตรมาสที่สองของปี 2562 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (154.2 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 6.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (201.1 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการเกินดุล 12.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (393.9 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ำกว่าการเกินดุล 6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) และการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ำกว่าการขาดดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

รวมครึ่งแรกของปี 2562 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 17.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (548.1 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 20.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (661.2 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ 215.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี net forward position อีก 34.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นประมาณ 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562) และเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้า 11.8 เดือน (ค่าเฉลี่ยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่สองของปี 2562)

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สองของปี 2562 อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.1 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรกของปี 2562 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผักสดร้อยละ 20.4 เร่งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในไตรมาสแรกของปี 2562 รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเนื้อสัตว์ เป็นต้น ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในไตรมาสแรกของปี 2562 โดยค่าโดยสารสาธารณะปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.5 เทียบกับร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า5

รวมครึ่งแรกของปี 2562 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.9 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.6

หมายเหตุ: 5 ในเดือนกรก คม 2562 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.4 เฉลี่ย 7 เดือนแรกของปี 2562 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.9 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.6

ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่สองของปี 2562 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปี 2562 เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ส่วนราคาผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เร่งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตร และสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ เป็นสำคัญ6

รวมครึ่งแรกของปี 2562 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

หมายเหตุ: 6 ในเดือนกรกฎาคม 2562 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 1.2 เฉลี่ย 7 เดือนแรกของปี 2562 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.4

2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันไตรมาสที่สองของปี 2562

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของปี 2562 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 65.80 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 8.2 จาก 71.66 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากราคาเฉลี่ย 61.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาสแรกของปี 2562

การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของกลุ่ม OECD (เช่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2,896 ล้านบาร์เรล (สูงกว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของกลุ่ม OECD ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 2,811 ล้านบาร์เรล) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมันดิบยังเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ประกอบกับ (3) ความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงสำคัญ ๆ อาทิ สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป

รวมครึ่งแรกของปี 2562 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 63.59 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 68.06 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล 3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สองของปี 2562

ในไตรมาสที่สองของปี 2562 เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกยังขยายตัวในเกณฑ์ต่ำและชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสแรก ตามการชะลอตัวของวัฏจักรเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับทิศทางนโยบายการเงินของประเทศสำคัญ ๆ ในช่วงก่อนหน้าที่ถูกซ้ำเติมโดยการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้า รวมทั้งสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่สำคัญ ๆ เช่น ความวิตกกังวลต่อการแยกตัวแบบไร้ข้อตกลงของสหราชอาณาจักร และปัจจัยชั่วคราวอื่น ๆ เช่น การปรับมาตรฐานไอเสียรถยนต์ในสหภาพยุโรป ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศสำคัญ ๆ ชะลอลงและเข้าสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำสุดในรอบหลายไตรมาส โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวต่ำสุดในรอบ 8 ไตรมาส ยูโรโซนต่ำสุดในรอบ 22 ไตรมาส และเศรษฐกิจจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบ 110 ไตรมาส ในขณะที่การส่งออกของประเทศสำคัญ ๆ ยังคงลดลงเป็นวงกว้างต่อเนื่องจากไตรมาสแรก และทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ กลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญอื่น ๆ ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจฮ่องกง สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจเกาหลีใต้และไต้หวันขยายตัวเร่งตัวขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกสินค้าและบริการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้าและอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของนโยบายการเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศสำคัญ ๆ เริ่มส่งสัญญาณและผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยธนาคารกลางของหลายประเทศได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง อาทิ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และรัสเซีย ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง การส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศสำคัญ ๆ ท่ามกลางความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้า และการปรับการคาดการณ์ของนักลงทุนทำให้ค่าเงินสกุลหลักและตลาดสำคัญ ๆ มีความผันผวนตลอดทั้งไตรมาสที่สอง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของประเทศเศรษฐกิจสำคัญที่มีความปลอดภัยทางการลงทุนปรับตัวลดลงสะท้อนความกังวลใจของนักลงทุนต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 8 ไตรมาส โดยเป็นผลจากการลดลงของการส่งออกสุทธิและการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชน สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (ISM-PMI) ภาคอุตสาหกรรม จากระดับ 55.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับ 52.2 ต่ำสุดในรอบ 11 ไตรมาส อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดีตามการเร่งตัวขึ้นทั้งการบริโภคสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน สอดคล้องกับการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของการจ้างงานซึ่งส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 3.5 ต่ำกว่าร้อยละ 3.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ำสุด ในรอบ 198 ไตรมาส ในขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE Price Index) ยังอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงจากร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรก และต่ำกว่าเป้าหมายของนโยบายการเงิน ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2562 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.00 - 2.25 ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ในรอบ 11 ปี นับจากปี 2551 และประกาศยุติการปรับลดขนาดงบดุลโดยให้มีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม 2562 เร็วกว่ากำหนดการณ์เดิมที่จะให้มีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน 2562

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 22 ไตรมาส เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 0.2 (%QoQ SA.) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส เศรษฐกิจฝรั่งเศสและสเปนขยายตัวร้อยละ 0.2 และ 0.5 ชะลอลงจากร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ ในไตรมาสก่อน ในขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีไม่ขยายตัว การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวลงของการผลิตภาคอุตสาหกรรม สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI) จากระดับ 49.1 ในไตรมาสแรก เป็นระดับ 47.7 ในไตรมาสที่สอง โดยมีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการปรับมาตรฐานไอเสียรถยนต์ของสหภาพยุโรป การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของภาคการผลิตเช่นเดียวกับการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของภาคการผลิตและการลดลงของความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากความวิตกกังวลต่อความไม่แน่นอนของ Brexit รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองของอิตาลี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ ยังอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 1.4 เท่ากับในไตรมาสแรกและยังต่ำกว่าเป้าหมายนโยบายการเงินที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และ 25 กรกฎาคม 2562 ธนาคารกลางยุโรปมีมติให้ขยายการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2563 เทียบกับการประชุมเมื่อเดือนเมษายนที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี 2562 รวมทั้งดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ 3 (TLTROs III) และคงระดับการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้มาตรการ Asset Purchase Programme ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนต่อไปแบบเต็มจำนวน

เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.8 เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ SA.) เป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2555 ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ธนาคารกลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อไป รวมถึงการรักษาระดับการถือครองพันธบัตรจำนวน 435,000 ล้านปอนด์สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ และ 10,000 ล้านปอนด์สำหรับพันธบัตรของเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และส่งสัญญาณที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นในระยะต่อไป

เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของอุปสงค์ในประเทศทั้งด้านการบริโภคภาคครัวเรือน การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนของภาคเอกชน ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า โดยการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส โดยมีปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากการเร่งบริโภคก่อนการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 10.0 ในเดือนตุลาคม 2562 ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวร้อยละ 1.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.5 เท่ากับการขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้าตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัยจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 2.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าและบริการยังปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสแรก และเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 25 ไตรมาส ในขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 6.2 แสนล้านเยน สำหรับอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 0.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังคงต่ำกว่าระดับเป้าหมายนโยบายการเงิน ณ ร้อยละ 2.0 ส่งผลให้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการผ่อนคลายทางการเงินไว้ที่ระดับเดิม

เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 6.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 27 ปี โดยมูลค่าการส่งออกลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส ร้อยละ 1.0 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ในขณะที่การนำเข้ายังคงลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการชะลอตัวของการส่งออก ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ในไตรมาสที่สอง ลดลงร้อยละ 8.2 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.9 ส่งผลให้จีนยังคงเกินดุลการค้าสหรัฐฯ อยู่ 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 22 ไตรมาส โดยเป็นผลจากการเร่งขึ้นของราคาอาหารโดยเฉพาะราคาเนื้อหมูซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูและการเพิ่มขึ้นของภาษีนำเข้าสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในขณะที่สัดส่วนหนี้สินภาคธุรกิจต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 151.6 ส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนและภาครัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 สูงสุดในรอบ 14 เดือน เงื่อนไขการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและแรงกดดันจากปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งผลให้ธนาคารกลางจีนลดสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement Ratio: RRR) ของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคชนบทเป็นร้อยละ 8.0 จากร้อยละ 11.5 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 นอกจากนี้หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ประกาศจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติม ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ธนาคารกลางจีนปรับลดค่ากลางเงินหยวนให้อ่อนค่าลงที่ 7.0039 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 11 ปี

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ส่วนใหญ่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามภาคการส่งออกที่ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องและการชะลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า โดยเศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนรวมและการส่งออก ส่วนเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 0.1 ชะลอลงจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้และไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 2.4 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าตามราคาหมวดอาหารที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ โดยเฉพาะฮ่องกงที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ไตรมาส เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาอาหารประเภทเนื้อหมูเนื่องจากเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมูเช่นเดียวกับจีน สำหรับเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ชะลอตัวตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลดลงของการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจเวียดนามและฟิลิปปินส์ชะลอตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่การส่งออกขยายตัวดีขึ้น โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามขยายตัวร้อยละ 5.0 ร้อยละ 5.5 และร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากร้อยละ 5.1 ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 6.8 ตามลำดับ ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 4.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ สำหรับอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดอาหารเป็นสำคัญ

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2562

ในช่วงครึ่งหลังของปี เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศยูโรโซน ท่ามกลางแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนร้อยละ 10 ในวันที่ 1 กันยายน 2562 มูลค่าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และในวันที่ 15 ธันวาคม 2562 มูลค่าประมาณ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะซ้ำเติมการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงสำคัญ ๆ ที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะมาตรการการตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจจะขยายขอบเขตมากขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ และการดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศอื่น ๆ ภายใต้มาตรา 232 ของกฎหมาย Trade Expansion Act. of 1962 การถอนตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) และเงื่อนไขทางการเมืองอิตาลี การชะลอตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงสำคัญๆ ดังกล่าว ก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจประเทศสำคัญ ๆ จะปรับตัวเข้าสู่ภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ประเทศสำคัญ ๆ ในกลุ่มยูโรโซน รวมทั้งความวิตกกังวลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ในกรณีฐานที่ไม่มีการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าและพัฒนาการของความเสี่ยงสำคัญ ๆ เพิ่มเติม คาดว่าเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในปี 2562 จะขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 3.4 ตามลำดับ ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.9 และร้อยละ 4.0 ในปี 2561 และต่ำกว่าในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาที่ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางการลดลงของแรงกดด้านเงินเฟ้อรวมทั้งการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าและความวิตกกังวลต่อความเสี่ยงสำคัญ ๆ ในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกส่งผลให้ประเทศสำคัญ ๆ ผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นวงกว้างมากขึ้นในไตรมาสที่สาม โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเมื่อวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2562 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี และประกาศจะยุติการปรับลดงบดุลเร็วกว่าที่กำหนดไว้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปจนถึงกลางปี 2563 และดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ 3 (TLTROs III) นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และปรับลดค่ากลางเงินหยวนให้อ่อนค่าลง

ในช่วงที่เหลือของปี คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 - 2 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน และตุลาคม ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มที่จะคงการผ่อนคลายนโยบายการเงินไว้ที่ระดับเดิม แต่มีความเป็นไปได้ที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมหากแนวโน้มการปรับตัวเข้าสู่เป้าหมายของนโยบายการเงินมีความล่าช้าออกไป ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติมในช่วงต้นไตรมาสสุดท้ายของปี ในขณะที่ธนาคารกลางจีนมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับนโยบายการเงินในหลายประเทศที่ยังมีทิศทางผ่อนคลายเพื่อลดแรงกดดันจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2561 และต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ตามแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอย่างชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่การลงทุนมีแนวโน้มชะลอตัวตามความวิตกกังวลต่อความไม่แน่นอนของทิศทางมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไปในช่วงที่เหลือของปี 2562 และมีความเสี่ยงที่จะขยายขอบเขตมากขึ้น เช่นเดียวกับการผลิตภาคการเกษตรที่จะได้รับผลกระทบจากการลดการนำเข้าของจีน ในขณะที่สัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ในเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงมาเป็นระดับ 51.2 ต่ำสุดในรอบ 3 ปี เช่นเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวที่กลับมาปรับลดลงต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนกลับทิศ (Inverted Yield Curve) ในช่วงสั้น ๆ ซึ่งสะท้อนถึงความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมว่ามีแนวโน้มของการปรับตัวเข้าสู่ภาวะความถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปียังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาครัฐบาล สอดคล้องกับการจ้างงานที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าค่าจ้างแรงงานจะยังเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในขณะที่แรงขับเคลื่อนทางการคลังในช่วงที่เหลือของปียังมีความเสี่ยงที่จะมีข้อจำกัดจากผลการเจรจากำหนดกรอบงบประมาณปี 2563 ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดทำการของหน่วยงานรัฐบางส่วนอีกครั้ง

เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.9 ในปี 2561 และต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 1.2 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ต่ำอย่างต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความวิตกกังวลต่อความไม่แน่นอนของทิศทางการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่อาจนำไปสู่การดำเนินมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลต่อภาคการส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปมากขึ้นและซ้ำเติมผลกระทบจากการปรับมาตรฐานไอเสียต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนี ทั้งนี้ข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อด้านอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI) ของเยอรมนีล่าสุดในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 43.2 ต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนั้น บรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุนยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ โดยเฉพาะการถอนตัวของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) หากไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ก่อนกำหนด 31 ตุลาคม 2562 รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมืองและทิศทางนโยบายการคลังของอิตาลี และทิศทางการดำเนินนโยบายที่สำคัญของสหภาพยุโรปภายใต้รัฐสภายุโรปชุดใหม่ซึ่งมีสัดส่วนของกลุ่มพรรคที่มีแนวคิดต่อต้านการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปมากขึ้น และมีส่วนสนับสนุนเสียงของผู้นำบางประเทศที่มีแนวคิดชาตินิยมซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพและ ความเป็นเอกภาพของสหภาพยุโรปในระยะต่อไป

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ใกล้เคียงกับการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2561 และเท่ากับสมมติฐานการขยายตัวในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิตและการลงทุนที่เกิดจากการปรับตัวของภาคธุรกิจต่อมาตรการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะหลังจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (EPA) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งจะทำให้การส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนไปยังสหภาพยุโรปได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายภาครัฐภายใต้การดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายมากขึ้น สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 ซึ่งอยู่ที่ 101 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 ร้อยละ 3.8 และปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งตัวขึ้นของการบริโภคภายในประเทศก่อนที่มาตรการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2562 อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ท่ามกลางแนวโน้มการแข็งค่าของเงินเยน และปัจจัยเสี่ยงจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ตามการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ รวมทั้งอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากมาตรการห้ามหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนของสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับบริษัทของจีนที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ หากไม่ได้รับการอนุญาต ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 13 สิงหาคม 2562 โดยจะก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการบริหารจัดการปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้นตามลำดับ ในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภาคการผลิตและการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศผ่านการลดลงของความเชื่อมั่นและฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ ในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แรงกดดันต่อการอ่อนค่าของเงินหยวนปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า ท่ามกลางแนวโน้มการชะลอตัวของเงินทุนไหลเข้าแต่มีการไหลออกของเงินทุนเพิ่มขึ้นจากการย้ายฐานการผลิตและการลดความเสี่ยงจากการอ่อนค่าของเงินหยวน ซึ่งทำให้การบริหารจัดการปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดจากภาวะหนี้สินของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว คาดว่าธนาคารกลางจีนยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยการปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า โดยล่าสุดในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2562 ได้ปรับลดค่ากลางเงินหยวนให้อ่อนค่าลงมากกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งถือเป็นระดับที่อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 11 ปี ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนของภาคการผลิตและการส่งออก และการใช้กลไกการปล่อยสินเชื่อของธนาคารเฉพาะกิจและการลดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อลดความตึงตัวของสภาพคล่องในระบบการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจีนจะดำเนินนโยบายการคลังเพิ่มเติมโดยการลดภาษีให้แก่ภาคธุรกิจเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศมากขึ้น

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าและการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมจากความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ รวมทั้งปัญหาการชุมนุมทางการเมืองในฮ่องกง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทิศทางการค้าและการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศคาดว่าจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นและจะช่วยลดผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าได้บางส่วน โดยคาดว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 1.0 ร้อยละ 2.1 ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 ร้อยละ 2.7 ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 3.0 ในปี 2561 ตามลำดับ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของการส่งออกและการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน ขณะที่ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเปลี่ยนแปลงของทิศทางการค้าและห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศที่เกิดจากการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าจะเริ่มส่งผลด้านบวกต่อเศรษฐกิจของบางประเทศมากขึ้นภายหลังจากการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าผ่านความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตระหว่างอาเซียนกับจีนในระยะต่อไป โดยในกรณีฐานคาดว่า ในปี 2562 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย จะขยายตัวร้อยละ 5.8 ร้อยละ 4.4 ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ชะลอลงจากร้อยละ 6.2 ร้อยละ 4.7 ร้อยละ 7.1 และร้อยละ 5.2 ในปี 2561 ตามลำดับ

แม้กระนั้นก็ตาม ความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจการเงินโลกยังอยู่ในเกณฑ์สูงและเพิ่มขึ้นจากครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ปริมาณการค้าโลก และทิศทางนโยบายการเงินของประเทศสำคัญ ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากการคาดการณ์ในกรณีฐาน โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ ที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ทิศทางการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าและมาตรการตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่อาจขยายขอบเขตมากขึ้น รวมทั้งทิศทางมาตรการกีดกันของสหรัฐฯ กับประเทศอื่น ๆ ที่อาจมีเพิ่มเติม โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนของสหรัฐฯ ภายใต้มาตรา 232 ของกฎหมาย Trade Expansion Act. of 1962 หลังจากสิ้นสุดช่วงเวลาของการทบทวน 180 วันในเดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศ ผู้ส่งออกสินค้าในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน (2) ความเสี่ยงจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) หากไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ทันกำหนดวันที่ 31 ตุลาคม 2562 (3) ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่อาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น (4) การเจรจากำหนดกรอบงบประมาณปี 2563 ของรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการปิดทำการของหน่วยงานรัฐบางส่วน (5) การผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศสำคัญ ๆ ที่เป็นวงกว้างมากขึ้น และเริ่มมีวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการค่าเงินมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การแข่งขันในการลดค่าเงินและสร้างความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก (6) การชะลอตัวและปัญหาเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนที่อาจถูกซ้ำเติมโดยการเพิ่มขึ้นของมาตรการ กีดกันทางการค้าและการอ่อนค่าของเงินหยวน (7) เงื่อนไขทางการเมืองและทิศทางนโยบายการคลังในอิตาลี และความเป็นเอกภาพในการดำเนินนโยบายของรัฐสภายุโรปชุดใหม่ (8) ปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกำลังพัฒนาสำคัญ ๆ ที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ โดยเฉพาะเวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ตุรกี และรัสเซีย และ (9) ปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในประเทศสำคัญ ๆ

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2562

เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างล่าช้า อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจทั้งทางด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชน แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ และฐานการขยายตัวที่ต่ำลงทั้งในด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว

ปัจจัยสนับสนุน

1) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะยังมีความต่อเนื่องในครึ่งปีหลังทั้งในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชน โดยในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ในครึ่งปีแรกขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 4.6 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ แม้การใช้จ่ายในไตรมาสที่สองจะชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก แต่เป็นการชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ และมีสาเหตุสำคัญมาจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายในหมวดรถยนต์นั่งในช่วงที่ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจเพื่อรอการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่เป็นหลัก ในขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยสนับสนุนให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางที่ผ่อนคลายมากขึ้นท่ามกลางอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งการดำเนินมาตรการของภาครัฐ และการเปิดตัวของรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นใหม่ที่จะเริ่มเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง ในด้านการลงทุนภาคเอกชน แม้ว่าการลดลงของการส่งออกจะเริ่มทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาพรวมเริ่มปรับตัวลดลงและเริ่มเป็นอุปสรรคต่อการขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นตามลำดับก็ตาม แต่การลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีตามปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย (1) การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 32.7 ในไตรมาสที่สองภายหลังจากการปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสแรกซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการชะลอการตัดสินใจเพื่อรอดูความชัดเจนของผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2562 (2) การย้ายฐานการผลิตท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยนักลงทุนบางส่วนได้เริ่มย้ายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศไทยและมีการลงทุนจริงมากขึ้นสอดคล้องกับการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สองซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.0 และ (3) อัตราการใช้กำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 70 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยาง ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ รวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

2) การปรับตัวขึ้นอย่างช้า ๆ ของภาคการส่งออก แม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นวงกว้างและการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าจะทำให้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศปรับตัวลดลงและส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกปรับตัวลดลงร้อยละ 4.1 ก็ตาม แต่การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวของภาคการส่งออกต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีสินค้าส่งออกสำคัญหลายรายการได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทิศทางทางการค้า โดยกลุ่มสินค้าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ที่ขยายตัวได้ดี เช่น อุตสาหกรรมทางเคมี ยาง กระดาษ สิ่งทอ เครื่องประดับ โลหะสามัญ ยานบกและอุปกรณ์ขนส่ง และอาวุธ เป็นต้น และกลุ่มสินค้าส่งออกไปยังตลาดจีนที่ขยายตัว เช่น สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ไขมันและน้ำมัน รองเท้าและหมวก อากาศยาน และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นต้น แม้ว่าปัจจัยสนับสนุนจากการเบี่ยงเบนทิศทางทางการค้าดังกล่าวจะยังไม่เพียงพอที่ชดเชยการลดลงของการส่งออกที่เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมและการลดลงของการส่งออกในกลุ่มสินค้าที่ส่งออกไปยังจีนเพื่อการผลิตและส่งออกต่อไปยังตลาดสหรัฐฯ แต่คาดว่าการปรับตัวของภาคการส่งออกต่อมาตรการกีดกันทางการค้าจะมีความชัดเจนมากขึ้นและช่วยชดเชยการลดลงของการส่งออกที่เกิดขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความสัมพันธ์ในห่วงโซ่การผลิตไทยจีนเพื่อการผลิตและส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ ได้มากขึ้นตามลำดับ และ (2) ฐานการขยายตัวของการส่งออกที่ต่ำลงในช่วงครึ่งปีหลัง

การเบี่ยงเบนทางการค้า การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศ และนัยเชิงนโยบาย

การเบี่ยงเบนของทิศทางการค้าที่เกิดขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าทำให้สินค้าส่งออกของไทยที่อยู่ภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าหลายรายการที่ส่งออกไปยังตลาดจีนและสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) สินค้าส่งออกที่ขยายตัวในทั้งสองตลาด ประกอบด้วย หมวดรองเท้าและหมวก หมวดของทำจากหนัง และหมวดผลิตภัณฑ์จากไม้ (2) สินค้าที่ขยายตัวดีในตลาดสหรัฐฯ แต่ลดลงในตลาดจีน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ทางเคมี ยาง กระดาษ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โลหะสามัญ ยานบกและอุปกรณ์ขนส่ง และอากาศยาน และ (3) สินค้าที่ขยายตัวดีในตลาดจีนแต่ลดลงในตลาดสหรัฐฯ ประกอบด้วย หมวดสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช อาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม เครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกที่เกิดจากการเบี่ยงเบนของทิศทางทางการค้า (Trade diversion) ดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลดลงของการส่งออกสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิต ไทย - จีน - สหรัฐฯ (Negative supply effect) ซึ่งปรับตัวลดลงใน ทั้งสองตลาดประกอบด้วย ไขมันและน้ำมัน ผลิตภัณฑ์แร่ พลาสติก ปลาสเตอร์และซีเมนต์ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ และส่งผลกระทบให้มูลค่าการส่งออกที่อยู่ภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศกำลังอยู่ในช่วงของการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ออกจากจีนไปยังประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะเกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม ดังนั้น ในการรับมือกับมาตรการกีดกันทางการจึงยังต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าให้ได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่ การผลิต ไทย - จีน - สหรัฐฯ ให้สามารถปรับตัวและส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศที่มีแนวโน้มจะมีบทบาทมากขึ้นในการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่การค้าระหว่างประเทศ

3) การดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณและ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย แรงงาน และเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและชัดเจนมากขึ้น

4) ฐานการขยายตัวที่เริ่มต่ำลงในช่วงครึ่งปีหลัง แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองจะขยายตัวในเกณฑ์ต่ำร้อยละ 2.8 และร้อยละ 2.3 (YoY) ตามลำดับ แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับด้วยปัจจัยฤดูกาลแล้ว (QoQ sa) ยังขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจร้อยละ 1.0 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงพลวัตการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และสะท้อนว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากฐานการขยายตัวที่สูงในปีก่อน สอดคล้องกับข้อมูลอัตราการขยายตัว ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ และสอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยวและการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 อย่างไรก็ตาม การขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 เริ่มปรับตัวต่ำลงโดยเฉพาะในด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 เร่งขึ้นจากในครึ่งปีแรก

ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง

1) ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ในกรณีฐานและส่งผลกระทบให้การฟื้นตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนที่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองในอิตาลีและความเสี่ยงจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักรแบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) การชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการปรับขึ้นอัตราภาษีการบริโภคในเดือนตุลาคม 2562 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าท่ามกลางแรงกดดันจากการอ่อนค่าของเงินหยวนและความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมหากมาตรการกีดกันทางการค้าและมาตรการตอบโต้ขยายขอบเขตมากขึ้น

2) ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังให้ขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ โดยมีสถานการณ์ความเสี่ยงสำคัญ ๆ ที่จะต้องจับตาและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ทิศทาง การดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าและมาตรการตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่อาจขยายขอบเขตมากขึ้น รวมทั้งทิศทางมาตรการกีดกันของสหรัฐฯ กับประเทศอื่น ๆ ที่อาจมีเพิ่มเติม โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนของสหรัฐฯ ภายใต้มาตรา 232 ของกฎหมาย Trade Expansion Act. of 1962 หลังจากสิ้นสุดช่วงเวลาของการทบทวน 180 วันในเดือนพฤศจิกายน 2562 ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกสินค้าในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน (2) ความเสี่ยงจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) หากไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ทันกำหนดวันที่ 31 ตุลาคม 2562 (3) ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่อาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น (4) การเจรจากำหนดกรอบงบประมาณปี 2563 ของรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการปิดทำการของหน่วยงานรัฐบางส่วน (5) การผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศสำคัญ ๆ ที่เป็นวงกว้างมากขึ้น และเริ่มมีวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการค่าเงินมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การแข่งขันในการลดค่าเงินและสร้างความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก (6) การชะลอตัวและปัญหาเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนที่อาจถูกซ้ำเติมโดยการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าและการอ่อนค่าของเงินหยวน (7) เงื่อนไขทางการเมืองและทิศทางนโยบายการคลังในอิตาลี และความเป็นเอกภาพในการดำเนินนโยบายของรัฐสภายุโรปชุดใหม่ (8) ปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกำลังพัฒนาสำคัญ ๆ ที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ โดยเฉพาะเวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ตุรกี และรัสเซีย และ (9) ปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในประเทศสำคัญ ๆ

3) ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง จากข้อมูลปริมาณน้ำใช้การได้จริงจากเขื่อนทั่วประเทศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2562 อยู่ในระดับ 13,026 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของระดับความจุเก็บกัก ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณน้ำ 26,831 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ของระดับความจุเก็บกัก และเริ่มลดลงใกล้เคียงกับระดับน้ำในช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี ที่มีปริมาณน้ำ 10,533 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของระดับความจุเก็บกัก ในขณะที่เมื่อพิจารณาจากจำนวนเขื่อน 36 แห่งทั่วประเทศ พบว่ามีจำนวนเขื่อน 19 แห่ง ที่มีระดับน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต (มีสัดส่วนเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 30 ของระดับความจุเก็บกัก) โดยเขื่อนที่มีน้าน้อยเข้าขั้นวิกฤตจำนวน 9 แห่งหรือเกือบครึ่งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันปริมาณน้ำของเขื่อนในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือมีระดับน้ำเพียงร้อยละ 7 และร้อยละ 5 ตามลำดับ เท่านั้น

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2562

1) เศรษฐกิจโลกในปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในปี 2561 ซึ่งเป็นการปรับลดจากร้อยละ 3.6 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนตามข้อมูลการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองของปี 2562 ของหลายประเทศที่ต่ำกว่าการคาดการณ์และต่ำสุดในรอบหลายไตรมาสทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยูโรโซน จีน และหลายประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน ในขณะที่เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะแผนการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐฯ เพิ่มเติมมูลค่า 1.1 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในวันที่ 1 กันยายน 2562 และประมาณ 1.6 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีน และประเทศสำคัญ ๆ ที่พึ่งพิงการส่งออก รวมทั้งมาตรการของสหรัฐในการห้ามหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนทำธุรกิจกับบริษัทของจีนที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ หากไม่ได้รับการอนุญาต และประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ส่งผลให้การฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีความล่าช้า ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ กับจีน และประเทศต่าง ๆ รวมถึงมาตรการตอบโต้ที่อาจขยายขอบเขตเพิ่มเติมจากในปัจจุบันและไม่มีพัฒนาการของปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะทำให้ปริมาณการค้าโลกในปี 2562 มีแนวโน้มจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.0 ในปี 2561 และเป็นการปรับลดจากร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งก่อน แม้กระนั้นก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกต่ำกว่าสมมติฐานประมาณการซึ่งจะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

2) ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2562 อยู่ในช่วง 30.7 - 31.7 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากเฉลี่ย 32.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2561 และแข็งค่าขึ้นจาก 31.1 - 32.1 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในสมมติฐานประมาณการครั้งก่อน ตามทิศทางการผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศสำคัญ ๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือน เมษายน - กรกฎาคม 2562 รวมทั้งแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมของประเทศสำคัญ ๆ ในช่วงที่เหลือของปี โดยในกรณีฐานคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 - 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี และยุติการปรับลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางในเดือนกันยายน ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ 3 (TLTROs III) ซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือนกันยายน 2562 และอาจพิจารณาดำเนินมาตรการ เข้าซื้อพันธบัตรระยะใหม่หากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์และอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้ม กลับสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน

3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 59.0 - 69.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาเฉลี่ย 69.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2561 และปรับลดจาก 62.0 - 72.0 ดอลลาร์ สรอ. ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งเป็นการปรับสมมติฐานให้สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบจากราคาเฉลี่ย 71.0 และ 69.6 ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม เป็นเฉลี่ย 61.5 ในเดือนมิถุนายน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในไตรมาสที่สองของปี 2562 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) ความวิตกกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นมาตรการกีดกันทางการค้าและปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการใช้น้ำมันโดยรวม และ (2) แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเฉลี่ย 10.99 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2561 เป็น 12.27 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2562 เนื่องจากการลดลงของข้อจำกัดด้านท่อขนส่ง และส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2562 เป็นเดือนมีนาคม 2563 (2) สถานการณ์ความไม่สงบในช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นช่องแคบสำคัญในการขนส่งน้ำมันปริมาณ 1 ใน 3 ของการค้าน้ำมันทั้งหมด และ (3) การลดลงของปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบในประเทศอิหร่านและเวเนซุเอลาซึ่งในปี 2561 มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 4.5 และร้อยละ 2.3 ของมูลค่าการส่งออกน้ำมันดิบทั่วโลก ตามลำดับ

4) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 - 1.0 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ในปี 2561 และเป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 0.5 - 1.5 ในสมมติฐานการประมาณการเดิม ในขณะที่ราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 - 1.0 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในปี 2561 และเป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 1.0 - 2.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบในปี 2562 ที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 7.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.3 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยราคาส่งออกและราคานำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.0 ตามลำดับ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม

5) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.04 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จาก 1.94 ล้านล้านบาท ในปี 2561 ซึ่งเป็นการปรับลดจากสมมติฐาน 2.21 ล้านล้านบาท ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับลดตามข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสที่สองของปี 2562 ที่เกิดขึ้นจริง 9.0 ล้านคน ต่ำกว่า 9.4 ล้านคนในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนร้อยละ 8.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.7 ในไตรมาสแรก สะท้อนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการอ่อนค่าของเงินหยวนซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวจีนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้มากขึ้น (2) การลดลงของนักท่องเที่ยวยุโรปร้อยละ 0.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.3 ในไตรมาสแรกสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวรัสเซียไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ มากขึ้น เช่น ตุรกี ซึ่งได้รับประโยชน์จากเงินลีราอ่อนค่าลง

อย่างไรก็ตาม ในครึ่งปีหลังจำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน และอินเดีย (2) ฐานการขยายตัวที่ต่ำลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 และ (3) มาตรการการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ เช่น การขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนผู้ที่เดินทางผ่าน 5 ท่าอากาศยานหลัก ในเดือนกรกฎาคม 2562 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งแสดงถึงการเริ่มขยายตัวเร่งขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง

6) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) อัตราเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 ร้อยละ 90.7 ของวงเงินงบประมาณ (ปรับลดจากร้อยละ 90.9 ในสมมติฐานเดิม) เทียบกับอัตราเบิกจ่ายจริงร้อยละ 91.5 ในปีงบประมาณ 2561 แบ่งเป็นอัตราเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ ร้อยละ 99.0 (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 98.0 ในสมมติฐานเดิม) และอัตราเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ร้อยละ 60.0 (ปรับลดจากร้อยละ 65.0 ในสมมติฐานเดิม ตามข้อมูลเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 14.4 ส่งผลให้อัตราเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงสามไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2562 อยู่ที่ร้อยละ 41.7) เทียบกับร้อยละ 96.1 และร้อยละ 70.5 ในปีงบประมาณ 2561 ตามลำดับ (2) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 75.0 (ปรับลดจากร้อยละ 80.0 ในสมมติฐานเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2562) (3) อัตราการเบิกจ่ายงบเหลื่อมปี ร้อยละ 70.0 (ปรับลดจากร้อยละ 75.0 ในสมมติฐานเดิม) และ (4) การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม - ธันวาคม 2562) ร้อยละ 28.0 ของวงเงินงบประมาณ เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2562

เศรษฐกิจไทยในปี 2562 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.2 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.0) เทียบกับร้อยละ 4.1 ในปี 2561 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.2 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.9 ของ GDP

ในการแถลงข่าววันที่ 19 สิงหาคม 2562 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.2 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.0) ซึ่งเป็นการปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 3.3 - 3.8 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.6) ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 โดยมีสาเหตุและการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในครึ่งปีแรกและการปรับเปลี่ยนสมมติฐานการประมาณการที่สำคัญดังนี้

1) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการแถลงข่าวครั้งก่อนเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 และเมื่อรวมกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรก ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 2.6 และทำให้การขยายตัวทั้งปีมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำกว่าขอบล่างของการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยการชะลอตัวและการขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองมีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) การส่งออกในไตรมาสที่สองปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดไว้ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการชะลอตัวของอุปสงค์ของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอย่างต่อเนื่องและการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการที่สหรัฐฯ และจีน ขยายขอบเขตมาตรการกีดกันทางการค้าในวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ซึ่งทำให้ระบบการค้าและห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศต้องปรับตัวอย่างรุนแรงและใช้ระยะเวลานานมากขึ้น และถูกซ้ำเติมโดยสถานการณ์ความ ไม่แน่นอนในทิศทางของมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการของสหรัฐฯ ที่ห้ามหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนทำธุรกิจกับบริษัทของจีนที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ หากไม่ได้รับการอนุญาต ปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และความไม่แน่นอนในทิศทางของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในส่วนที่เหลือและมาตรการตอบโต้ที่อาจขยายขอบเขตมากขึ้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลให้ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ผลิตในห่วงโซ่การค้าและการผลิตระหว่างประเทศยังคงชะลอการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองเพื่อลดความเสี่ยงและส่งผลกระทบให้การส่งออกของไทยปรับตัวลดลงรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าการเบี่ยงเบนทางการค้าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าหลายรายการในตลาดสหรัฐฯ และจีนขยายตัวดีขึ้นก็ตาม (2) การฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าการคาดการณ์ของจำนวนนักท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำกว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงร้อยละ 8.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.7 ในไตรมาสแรก แม้ว่าสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ที่เคยเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวในไตรมาสแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความวิตกกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนและการอ่อนค่าของเงินหยวน ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางออกนอกประเทศชะลอตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวเป็นการเดินทางในระยะใกล้มากขึ้น สะท้อนจากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยัง 16 ประเทศปลายทางหลัก ที่ สศช. ได้รวบรวมในเบื้องต้น (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81) ในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 13.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 15.1 ในไตรมาสแรก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 22.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศอื่น ๆ ปรับตัวลดลงในเกือบทุกประเทศ (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนอยู่ในระดับต่า ส่งผลให้แรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองต่ำกว่าที่ประมาณการไว้โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 ซึ่งอัตราการเบิกจ่ายในในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 14.4 ต่ำกว่าร้อยละ 17.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และทำให้อัตราเบิกจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ของงบลงทุนรวม ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 45.2 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และ (4) ผลกระทบเพิ่มเติมปัญหาภัยแล้ง โดยการผลิตภาคการเกษตรในไตรมาสที่สองปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 1.1 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาฝนทิ้งช่วงและสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติและส่งผลให้ผลผลิตข้าวและมันสำปะหลัง ปรับตัวลดลงและส่งผลกระทบต่อเพิ่มเติมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

การฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าการคาดการณ์ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน

ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 10.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.5 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด และสร้างรายได้ทั้งสิ้น 5.8 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวจีน (ร้อยละ 24.5 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ) ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเหตุการณ์เรือล่มที่ จ.ภูเก็ต และส่งผลให้นักท่องเที่ยวรวมในครึ่งหลังของปี 2561 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 ชะลอจากร้อยละ 12.2 ในครึ่งแรกของปี สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 นักท่องเที่ยวจีนยังคงลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 4.7 โดยในไตรมาสที่สองลดลงร้อยละ 8.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.7 ในไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความวิตกกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนและการอ่อนค่าของเงินหยวน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางออกนอกประเทศชะลอตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวเป็นการเดินทางในระยะใกล้มากขึ้น สะท้อนจากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยัง 16 ประเทศปลายทางหลัก ที่ สศช. ได้รวบรวมในเบื้องต้น (คิดเป็นประมาณร้อยละ 81.2 ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกนอกประเทศในปี 2561) ในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 13.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 15.1 ในไตรมาสแรก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 22.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศอื่น ๆ ปรับตัวลดลงในเกือบทุกประเทศ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนท่ามกลางการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการอ่อนค่าของเงินหยวนอย่างชัดเจนซึ่งจะเป็นความท้าทายของการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวของไทยในระยะต่อไป แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำลงก็ตาม

2) การปรับสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวม

และองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ได้แก่ (1) การปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2562 จากร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 3.3 ในการประมาณการครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปรับลดตามข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในไตรมาสที่สองของปี 2562 ที่ยังชะลอตัวต่อเนื่องและขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนและสหราชอาณาจักรเนื่องจากความวิตกกังวลต่อความไม่แน่นอนของการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร และเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่โดยเฉพาะฮ่องกงและสิงคโปร์ที่มีอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบสิบปี รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า การปรับสมมติฐานดังกล่าวทำให้แรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้าต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีปรับตัวลดลงต่ำกว่าการประมาณการที่ผ่านมา (2) การปรับลดสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 จากจำนวน 40.5 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากปี 2561) เป็น 39.8 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากปี 2561) และรายรับจากนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 2.04 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากปี 2561) โดยเป็นการปรับลดตามข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสที่สองของปี 2562 ที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ รวมทั้งแนวโน้มการชะลอตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวจีนในช่วงที่เหลือของปี และ (3) การปรับลดสมมติฐานอัตราเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 ให้สอดคล้องกับข้อมูลอัตราการเบิกจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 50.5 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณที่ผ่านมา รวมทั้งเป็นอัตราการเบิกจ่าย 9 เดือนแรกต่ำสุดนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 และ ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่าย 9 เดือนแรกร้อยละ 45.2 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา การปรับลดสมมติฐานการเบิกจ่ายดังกล่าวทำให้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐต่ำกว่าสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน อย่างไรก็ดี ยังคงสมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในไตรมาสแรกอยู่ที่ร้อยละ 10.0 เท่ากับสมมติฐานครั้งที่ผ่านมา

3) ในกรณีฐานคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง จะขยายตัวเร่งขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งในด้านการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน (2) การขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ของภาครัฐ และ (3) การปรับตัวดีขึ้นของภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากฐานการขยายตัวที่ต่ำลง

องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในปี 2561 โดยในครึ่งปีแรก การใช้จ่ายบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 4.6 และในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการอยู่ในเกณฑ์ดี และปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินซึ่งส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง รวมทั้งการดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ และการเปิดตัวของรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และเร่งขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในปี 2561 สอดคล้องกับอัตราเบิกจ่ายงบประจำในรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 ในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ร้อยละ 79.9 สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 75.4 ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2561

2) การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับร้อยละ 4.5 ในการประมาณการครั้งก่อน และเท่ากับการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2561 โดยคาดว่า การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลดสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 และสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลการเบิกจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 อย่างไรก็ดี คาดว่าการลงทุนภาครัฐในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ตามการเบิกจ่ายภายใต้โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญ ๆ ของภาครัฐ ส่วน

การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในการประมาณการครั้งก่อน และชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในปี 2561 สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวลดลงของการอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนเพื่อการขยายกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มขยายตัว ในเกณฑ์ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนภายใต้โครงการ PPP และ (2) การขยายตัวของโครงการลงทุนใหม่ที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีสะท้อนจากการขยายตัวของภาคก่อสร้างในหมวดการก่อสร้างโรงงานในไตรมาสที่สองร้อยละ 9.0 สอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการขอรับส่งเสริมการลงทุนร้อยละ 42.4 ในปี 2561 และร้อยละ 32.7 ในไตรมาสที่สองของปี 2562 โดยเฉพาะมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.4 และร้อยละ 74.3 ตามลำดับ

3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.5 ในปี 2561 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับลดปริมาณการส่งออกสินค้าลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาเป็นการลดลงร้อยละ 1.7 ตามการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกซึ่งสอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับลดสมมติฐานราคาส่งออกจากช่วงร้อยละ 0.5 - 1.5 ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นร้อยละ 0.0 - 1.0 สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ และเมื่อรวมกับการปรับลดการขยายตัวของการส่งออกบริการตามการปรับลดสมมติฐานจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 0.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในปี 2561 และการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในการประมาณการครั้งก่อน

4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.7 ในปี 2561 และปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลดประมาณการปริมาณการนำเข้าสินค้าจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 เป็นการลดลงร้อยละ 2.1 สอดคล้องกับการปรับลดประมาณการการส่งออก และการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณความต้องการนำเข้าลดลงจากการประมาณการครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งการปรับลดสมมติฐานราคาสินค้านำเข้าจากช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 0.0 - 1.0 และเมื่อรวมกับการนำเข้าบริการคาดว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ในปี 2561 และการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในการประมาณการครั้งก่อน

5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 23.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 22.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2561 และเพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 19.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับลดประมาณการการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าที่เร็วกว่าการปรับลดประมาณการการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก เมื่อรวมกับการปรับลดการเกินดุลบริการรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศคาดว่าจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ GDP และต่ำกว่าการเกินดุลร้อยละ 6.4 ของ GDP ในปี 2561

6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2562 คาดว่าจะอยู่ในช่วง ร้อยละ 0.7 - 1.2 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในปี 2561 โดยมีค่ากลางของช่วงการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน

6. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

การชะลอตัวอย่างเป็นวงกว้างของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินทำให้การส่งออกในครึ่งปีแรกปรับตัวลดลงในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ต่ำอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและข้อจำกัดด้านการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน ทำให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวในเกณฑ์ต่ำและชะลอตัวลงจากครึ่งหลังของปี 2561 อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันการลดลงของรายได้จากการส่งออกและการชะลอตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจชะลอตัว และมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 มากขึ้น แม้กระนั้นก็ตาม การเพิ่มขึ้นของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าคาดว่าจะส่งผลให้การเบี่ยงเบนของทิศทางทางการค้าและการย้ายฐานการผลิตระหว่างประเทศมีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่สำคัญของไทยในการใช้ประโยชน์เพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังและสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี จึงควรให้ความสำคัญกับ

1) การขับเคลื่อนการส่งออก ให้มูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังกลับมาขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.0 เพื่อรักษาพลวัตการขยายตัวของภาคการผลิต การจ้างงาน และฐานรายได้และการใช้จ่ายของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งเพื่อรักษาระดับการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งในตลาดสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ยังมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกในทั้งสองตลาด ควบคู่กับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตทั้งในประเทศไทยและในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในประเทศไทย (2) การใช้โอกาสจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดในสุกรและการยกเลิกการผ่อนผันนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าของจีน ในการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ (3) การให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าผ่านความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะสินค้าส่งออกไปยังตลาดจีนเพื่อทำการผลิตและส่งออกต่อไปยังตลาดสหรัฐฯ ให้สามารถส่งออกไปยังตลาดอื่นได้เร็วขึ้น โดยให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศที่มีบทบาทมากขึ้นในการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศในกลุ่มสินค้าสำคัญ ๆ (4) การติดตามการเปลี่ยนแปลงของสินค้านำเข้าสำคัญ ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจเปลี่ยนทิศทางมาส่งออกผ่านไทยมากขึ้น (5) การปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าโลก และข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะเงื่อนไขที่สำคัญ ๆ ในตลาดสหรัฐฯ ที่มีความเกี่ยวพันกับสิทธิพิเศษทางการค้าและการกีดกันทางการค้า (6) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า โดยเฉพาะกับประเทศที่ไทยมีโอกาสใช้ประโยชน์จากการเบี่ยงเบนของทิศทางทางการค้าและลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าผ่านห่วงโซ่การผลิตไทย - จีน - สหรัฐฯ (7) การอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และ (8) การเตรียมการลดผลกระทบและการใช้โอกาสทางการค้าในกรณีที่เกิดการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง

2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ให้สามารถกลับมาสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในครึ่งหลังของปี 2562 ไม่ต่ำกว่า 20.0 ล้านคน และรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านล้านบาท โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเจาะตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูงในประเทศจีน (2) การกระจายตลาดนักท่องเที่ยวให้มีความสมดุลมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีนในกลุ่มรายได้ปานกลางที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น (3) การให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง (4) การส่งเสริมการขายในตลาดระยะไกลและกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูงในภูมิภาค รวมทั้งการขยายฐานนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (5) การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกและลดปัญหาการแออัดของจำนวนนักท่องเที่ยวในบางสถานที่ และ (6) การรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ กลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศในช่วงที่การส่งออกสินค้าและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังมีข้อจำกัดในการขยายตัว

3) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2562 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60.0 (2) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบเหลื่อมปีในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70.0 รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายภายใต้โครงการที่มีการผูกพันข้ามปีงบประมาณ เพื่อลดผลกระทบจากความล่าช้าในกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 (3) การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 และการเตรียมแผนงานและโครงการให้มีความพร้อมสำหรับดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันทีที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้ (4) การเร่งรัดดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติมและการเบิกจ่ายจากโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ (5) การขับเคลื่อนโครงการลงทุนที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการยกระดับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

4) การสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดย (1) การขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับที่เอื้ออำนวยต่อการขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต (2) การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น รวมทั้งการชักจูงและอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าและอยู่ในช่วงของการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น โดยใช้จุดเด่นด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน ความพร้อมและความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และศักยภาพของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับการลงทุน (3) การขับเคลื่อนโครงการลงทุนที่สำคัญ ๆ ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ๆ อย่างต่อเนื่อง (4) การติดตามอำนวยความสะดวกให้โครงการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนและได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้มีการลงทุนจริงโดยเร็ว (5) การเตรียมความพร้อมด้านกำลังแรงงานและคุณภาพแรงงานให้มีความเพียงพอต่อการรองรับการลงทุน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทยมีโอกาสในการขยายตัวจากการย้ายฐานการผลิตระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรมสำคัญที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ

5) การดูแลเกษตรกร กำลังแรงงาน ผู้มีรายได้น้อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การจ้างงาน รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความตกต่ำของราคาสินค้าในตลาดโลก ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญกับ (1) ด้านการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร ให้ความสำคัญกับ (1.1) การป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะ ภัยแล้งที่ยังเป็นความเสี่ยงสำคัญ รวมทั้งการเตรียมมาตรการทางการเงิน การคลัง และการผลิตเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ (1.2) การดูแลแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรบางรายการที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ เพื่อลดแรงกดดันจากสินค้าคงคลัง (1.3) การขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ควบคู่ไปกับการเพิ่มส่วนแบ่งของเกษตรกรในรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย โดยให้ความสำคัญกับการลดขั้นตอนทางการตลาด (1.4) การส่งเสริมการสร้างและจัดหาตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการระบายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในแต่ละชุมชน (1.5) การพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรรวมทั้งการผลิตอาหารสดของผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า และ (1.6) การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชในฤดูแล้ง (2) ด้านการดูแลผู้รายได้น้อย กำลังแรงงาน SMEs และเศรษฐกิจฐานราก โดยให้ความสำคัญกับ (2.1) การดำเนินการตามโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (2.2) การดำเนินมาตรการสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการลดภาระการชำระหนี้ การลดผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง การสนับสนุนการอบรมและปรับเปลี่ยนอาชีพและการผลิต รวมทั้งสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการลดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย วิสาหกิจชุมชน และ SMEs โดยมีวงเงินเพียงพอและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (2.3) การให้ความช่วยเหลือและพัฒนา SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค โครงสร้างประชากร และความผันผวนของค่าเงิน

6) การรักษาความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศทางการเมืองในประเทศ รวมทั้งการดำเนินนโยบายที่มีความสมดุลระหว่างมาตรการบริหารวัฏจักรเศรษฐกิจระยะสั้นกับมาตรการพัฒนาศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยคำนึงถึงสถานการณ์และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อไม่ให้บรรยากาศทางการเมืองและการดำเนินนโยบายเป็นอุปสรรคต่อบรรยากาศความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน

โอกาสในการขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศของไทยภายใต้สงครามการค้า

การปรับเปลี่ยนทิศทางของห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศมีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ภายหลังที่สงครามการค้าทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น พบว่า มีหลายบริษัทที่เตรียมย้ายฐานการผลิตมายังไทยในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายบริษัทที่อยู่ในช่วงของการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมในการลงทุนในประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย และมีบริษัทอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะไปสร้างฐานการผลิตใหม่ ณ พื้นที่ใด ดังนั้น การปรับตัวของห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการที่จะดึงดูดผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าให้เข้ามาลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะในสาขาการผลิตสำคัญๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เพื่อเพิ่มแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ