แท็ก
ประกันสุขภาพ
(1) การพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีการดำเนินการด้านการปฏิรูประบบสุขภาพ อาทิ การรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพห้เหมาะสม การปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการพัฒนาคุณภาพบริการด้านสุขภาพ ส่งผลให้ในปี 2547 คนไทยมีหลักประกันสุขภาพเกือบ 60 ล้านคน ในด้านการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการดำเนินการปฏิรูปกระบวนการพัฒนาและผลิตครู มีการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางร่วมกับสถานประกอบการ ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างสังคมการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Education) รวมทั้งจัดทำเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นและหลักสูตรวิชาชีพในทุกระดับ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนและการยกระดับฝีมือคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
(2) การส่งเสริมให้คนมีงานทำ มีการกระจายโอกาสการมีงานทำ ส่งเสริมการจ้างงาน และพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานไทย ให้บริการจัดหางานทั้งในและต่างประเทศ ดำเนินการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถแก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ตลอดจนแรงงานที่มีฝีมือและกึ่งฝีมือในตลาดแรงงานให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้บริการปรึกษาด้านเทคโนโลยีครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 97.3 ในปี 2547 อีกทั้งมีการให้บริการคุ้มครองคนหางานไม่ให้ถูกหลอกจากนายหน้าและบริษัทจัดหางาน
(3) การปรับระบบการคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และขยายการคุ้มครองกรณีว่างงาน ส่งผลให้ปี 2547 มีลูกจ้างได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจำนวนประมาณ 7.4 ล้านคน มีสถานประกอบการอยู่ในระบบประกันสังคมจำนวน 321,620 แห่ง จัดทำกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 ส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระบบทวิภาคีและไตรภาคี รวมทั้งจัดทำแนวทางประสานการจัดโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้ด้อยโอกาสและคนยากจน
(4) การพัฒนาทุนทางสถาบัน มีการสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมบทบาทของสถาบันทางสังคมต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ อาทิ สถาบันองค์กรชุมชน องค์กรชุมชนเมืองและชนบท มีการจัดเวทีประชาสังคม การฝึกผู้นำชุมชนและเครือข่าย การบูรณาการแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน ด้านสถาบันครอบครัว มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว ด้านสถาบันทางศาสนา มีการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กลุ่มศาสนาในสถานศึกษาทุกศาสนาเพื่อบูรณะศาสนสถานและกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนงานวิจัยด้านศาสนา
(5) การพัฒนาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านวัฒนธรรม การสร้างเครือข่ายทรัพยากรบุคคล ผู้ผลิตนวัตกรรม ภูมิปัญญา และสรรหาครูภูมิปัญญาไทยจากทุกภูมิภาคของประเทศ พร้อมทั้งจัดตั้งเครือข่ายภูมิปัญญาชาติ จัดให้มี E-CULTURE เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางวัฒนธรรม มีการจัดตั้งศูนย์สืบค้นวัฒนธรรมท้องถิ่น
ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม การเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับต่างประเทศใน 9 สาขา การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์เผยแพร่ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน
3.5 การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สะสมมานานให้บรรเทาเบาบางลง อาทิ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้ ดิน น้ำ ควบคู่กับการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานส่วนใหญ่ยังมีความล่าช้า และตามไม่ทันกับความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
(1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้ถ่ายโอนภารกิจไปแล้วกว่าร้อยละ 60 แต่ยังมีความล่าช้าในการเพิ่มรายได้ให้ส่วนท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินการได้เพียงร้อยละ 23.5 ในปี 2548 จากเป้าหมายที่ต้องให้ส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้รัฐบาลร้อยละ 35 ภายในปี 2549 นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและร่างกฎหมายใหม่ที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ การปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การศึกษาเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ และร่างพระราชบัญญัติการจัดการมลพิษโรงงานและมลพิษจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(2) การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ได้มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมเชิงป้องกัน ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ อาทิ การประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้น การพัฒนาป่าชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมาย การดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการป่าไม้ รวมทั้งการจัดตั้ง
กลไกการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่า ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการป้องและปราบปรามการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ระดับชาติและระดับจังหวัด ในส่วนการอนุรักษ์ดินได้ดำเนินการโครงการหมู่บ้านพัฒนาที่ดิน 1,177 แห่งทั่วประเทศ การสร้างเครือข่ายหมอดินอาสา และขยายผลการใช้วิธีการอนุรักษ์ดินโดยใช้หญ้าแฝก
(3) การแก้ไขปัญหามลพิษ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเสียทั้งในแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำชายฝั่ง ได้แก่ การจัดทำระบบการจัดการและกำหนดมาตรฐานน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมทั้งการสำรวจเพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ 77 แห่ง ในด้านการกำจัดกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้มีการออกมาตรการและข้อกำหนดเพื่อควบคุมที่ชัดเจนภายใต้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 การจัดทำคู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมที่มีมลพิษสูง และพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการโครงการรณรงค์การจัดการครัวเรือนและโรงเรียนเพื่อลดขยะชุมชน ตลอดจนการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการผลิตที่สะอาด ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
3.6 ผลการพัฒนาในระดับภาคในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ผลการพัฒนาในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจขยายตัวดีอย่างมีเสถียรภาพและต่อเนื่องในทุกภูมิภาค อัตราการว่างงานลดลงอยู่ในภาวะปกติ ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความอยู่ดีมีสุขโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาทางด้านทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังเป็นประเด็นที่ต้องรีบแก้ไขปรับปรุง ดังนี้
(1) เศรษฐกิจในทุกภูมิภาคขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจประเทศ โดยเศรษฐกิจภาคกลางเติบโตดีกว่าทุกภาค ในระยะ 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.1 โดยภาคกลางขยายตัวสูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 8.0 รองลงมาได้แก่ภาคเหนือร้อยละ 5.3 ส่วนภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการขยายตัวในระดับใกล้เคียงกันคือร้อยละ 4.8 ร้อยละ 4.6 และ ร้อยละ 4.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคกลางและกรุงเทพมหานครมีบทบาทต่อการผลิตของประเทศมากที่สุดถึงร้อยละ 71.7 ของการผลิตรวม ในปี 2547 และเป็นฐานอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางด้านการบริการ การเงิน และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญมีสัดส่วนการผลิตถึงร้อยละ 60 ของประเทศ สำหรับปัญหาการว่างงานคลี่คลายลงมาก เช่นเดียวกับปัญหาความยากจนลดลงมากในทุกภูมิภาค สัดส่วนคนจนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 12.0 โดยคนจนยังกระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือมากที่สุด ขณะที่สถานการณ์การกระจายรายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
(2) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในทุกภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยยังต้องเผชิญกับภาวะความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น คุณภาพการศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และสัมพันธภาพในครอบครัวที่เสื่อมถอย ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในทุกภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ภาวะเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจที่
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการตายของมารดาจากการคลอดบุตรลดลง แต่อัตราการตายของทารกกลับเพิ่มขึ้น แม้อัตราการเรียนรู้ของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 เกือบทุกวิชา นอกจากนี้ ปัญหาการดำรงชีวิตในครอบครัวที่มีความเปราะบางจากการหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้น และครอบครัวมีความสามารถในการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่ประชาชนยังมีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาท้องถิ่น
(3) การอนุรักษ์ป่าไม้โดยรวมยังไม่บรรลุเป้าหมาย แต่มีการส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่คุณภาพแหล่งน้ำจืดมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีปัญหามลพิษทางเสียงและฝุ่นละออง แม้ว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลง แต่ได้มีการส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนทั้งป่าชายเลนและ ป่าเศรษฐกิจของภาคเอกชน รวมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนมีสิทธิบริหารป่าชุมชน ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนและ
ป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ป่าชุมชนมากที่สุดร้อยละ 78 ของพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด สำหรับคุณภาพแหล่งน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเจ้าพระยาตอนล่าง ท่าจีนตอนล่าง ลำตะคองตอนล่าง และทะเลสาบสงขลา บริเวณ อ. เมือง ในด้านมลพิษทางเสียงในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ยังมีปัญหามีระดับเสียงเกินเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับคุณภาพอากาศยังมีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก และก๊าซโอโซนและก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
4 ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระยะต่อไป
4.1 การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการมีระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย เพื่อให้เกิดพลังของกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นกว้างขวาง พร้อมทั้งแก้ไขกฎหมาย กฎ/ระเบียบต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรค และเร่งรัดประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ดังนี้
(1) การพัฒนาระบบราชการให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกับการยกระดับขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ โดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของภารกิจ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับระบบการเงิน และระบบบัญชี ตลอดจนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) การบูรณาการภาครัฐ ธุรกิจเอกชนและสถาบันกลางต่างๆ เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลให้เกิดอย่างแพร่หลาย โดยเร่งรัดกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้มีผลใช้บังคับ และเสริมด้วยสถาบันที่เป็นกลางต่างๆ จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลและให้รางวัล พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้ธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางบรรษัทภิบาล และส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนที่มีความพร้อม
กระจายหุ้นไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น
(3) ปรับปรุงกระบวนการ/วิธีการทำงานของกลไกกระจายอำนาจ โดยเฉพาะในภารกิจที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ควรจะได้มีการกำหนดกลไกขึ้นมาดำเนินการเป็นการเฉพาะ เช่น การถ่ายโอนบุคลากรด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข เป็นต้น พร้อมทั้งเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความพร้อมที่จะรองรับภารกิจ บุคลากร และงบประมาณที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันควรมีการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการทำงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับทุนทางสังคมในพื้นที่ เพื่อสร้างพลังในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(4) พัฒนากลไกตรวจสอบภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอ ปรับปรุงกระบวนการ วิธีการและขอบเขตการทำงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบดังกล่าว ขณะเดียวกันควรมีมาตรการที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เกิดกลไกตรวจสอบอิสระจากภาคประชาชน สื่อมวลชน ตลอดจนนักวิชาการ ซึ่งจะทำให้มี
กระบวนการตรวจสอบเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในสังคมไทยยิ่งขึ้น
4.2 การพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศจะต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อผลักดันให้สังคมไทยโดยรวมบรรลุระดับเศรษฐกิจที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Economy) และมีการพัฒนาที่สมดุล ดังนั้นการพัฒนา ในระยะต่อไปจะต้องให้ความสำคัญในเรื่อง คน องค์ความรู้ นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ
และเทคโนโลยี ดังนี้
(1) ปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ โดยภาคเกษตรต้องเพิ่มผลิตภาพและขยายห่วงโซ่มูลค่าให้โตเต็มศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับโครงสร้างการผลิตโดยใช้เครือข่ายวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคบริการและการท่องเที่ยวต้องมุ่งขยายฐานไปสู่ภาคบริการใหม่ที่มีศักยภาพ และยกระดับแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ ภาคการค้าต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มกับภาคการผลิตทั้งในด้านการค้าภายในและการค้าระหว่างประเทศ และพัฒนาความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในกรอบภูมิภาคและทวิภาคี
(2) ใช้กระบวนการเครือข่ายวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมโยงในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม โดยจัดทำแผนที่คลัสเตอร์ของประเทศ ขยายผลการสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคลัสเตอร์ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของการพัฒนาคลัสเตอร์
(3) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เข้มแข็งบนพื้นฐานการพัฒนาสังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และมีความสามารถทางด้านนวัตกรรม โดยกำหนดแนวทางการจัดตั้งสำนักงานจัดการสิทธิทางเทคโนโลยีกลาง ปฏิรูประบบวิจัยและพัฒนาของประเทศให้มีเอกภาพ และผลักดันการดำเนินงานสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และหน่วยงานเฉพาะด้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
(4) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคการผลิตและบริการ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการนำร่องในการผลิตกำลังคน ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เข้ามาร่วมจัดการศึกษา เร่งผลักดันระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และเร่งให้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ไปสู่การปฏิบัติโดยเร็ว
(5) พัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงต้นทุน (Comparative Cost Advantage) เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
(6) จัดตั้งศูนย์ Economic Intelligence เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของชาติในส่วนของภาคการผลิต การค้า และบริการอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่หน่วยงานต่างๆ พัฒนาขึ้นเข้าด้วยกัน
4.3 การลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
(1) เร่งรัดการกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน จัดที่ดินทำกินและที่ดินอยู่อาศัย พร้อมสาธารณูปโภคและปรับปรุงคุณภาพดินให้ทั่วถึงและเพียงพอ แก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ตลอดจนการจัดหาอาชีพเสริมในช่วงที่ว่างจากการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนยากจน
(2) จัดหาและจัดสรรน้ำให้เพียงพอ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายพื้นที่ชลประทาน ขยายระบบชลประทานจุลภาค และการขุดบ่อน้ำในไร่นาให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง
(3) พัฒนาที่อยู่อาศัยแก่คนยากจนให้มีคุณภาพและทั่วถึง โดยส่งเสริมการจัดทำโครงการที่อยู่อาศัย ลดภาระรายจ่ายด้านที่อยู่อาศัย สำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง และคนยากจนในชนบท
(4) การให้ความคุ้มครองทางสังคม ให้ความช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนยากจนและด้อยโอกาส เพื่อตัดวงจรแห่งความยากจน รวมทั้งการพัฒนาระบบประกันภัยจากภัยธรรมชาติแก่ประชาชนและคนจนที่ตั้งบ้านเรือนในพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนพัฒนาการให้บริการทางสังคมและจัดสวัสดิการสังคมที่เข้าถึง สอดคล้องกับความต้องการของคนยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุที่ยากจน และแรงงานที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนอกระบบ
(6) ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ เร่งรัดศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้เข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมและสุขภาพอนามัยของรัฐ สิทธิการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสให้คนจนได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นในการบังคับใช้กฎหมาย
(7) ปรับปรุงการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความยากจนและตัวชี้วัดความยากจนเชิงโครงสร้าง ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ จัดทำแผนปฏิบัติการเชิงบูรณาการตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบครบวงจร เชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในทุกระดับทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่
(8) เร่งรัดการดำเนินมาตรการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและเขตพื้นที่ชนบท เพื่อให้ผลประโยชน์การพัฒนากระจายไปสู่ประชาชนในชนบท ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคนต่างๆในสังคม
4.4 พัฒนาทุนทางสังคมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง
(1) เร่งรัดการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่เน้นการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเป็นระบบครบวงจร การเสริมสร้างสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจแก่คนไทยทุกกลุ่มอายุอย่างถ้วนหน้า
(2) เร่งปฏิรูปและสร้างโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระบบและนอกระบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละชุมชนท้องถิ่น พัฒนาความร่วมมือ ในการผลิตกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคมในการบริหารจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยปรับกฎระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกระบวนการยุติธรรมให้เอื้ออำนวย
(4) ส่งเสริมการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ โดยเน้นการบริหารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการปรับแก้ไขกฎระเบียบให้ขยายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบตามลักษณะการประกอบอาชีพ
(5) สนับสนุนสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยเน้นการสร้างวินัย ทักษะชีวิตและการมีจิตสำนึกสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว ส่งเสริมการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์รวมทั้งประเพณีที่ดีงามในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
4.5 การพัฒนาที่ยั่งยืน
(1) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกมิติ ในมิติเศรษฐกิจ ควรเร่งสร้างกระแสการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานควบคู่กับการเร่งพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน มิติสังคม ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและต่อยอดทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการประยุกต์ใช้เพื่อสืบทอดให้คงอยู่และช่วยเอื้อให้ประเทศการพัฒนาการสู่ความยั่งยืน พร้อมไปกับการพัฒนาให้มีคนไทย มีคุณภาพชีวิต และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น มิติสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่นและเสียง ที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค
(2) ส่งเสริมการสร้างกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนกับทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ส่วนท้องถิ่น และชุมชน โดยต้องเร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ รวมทั้งการออก
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการกำหนดสิทธิหน้าที่ ตลอดจนกระบวนการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างชัดเจน
(3) ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาประเทศในมิติต่างๆ บนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้และการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ด้านทรัพยากร การค้าการลงทุน และสิทธิต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศได้อย่างรู้เท่าทัน
4.6 การพัฒนาในระดับภาคเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนในภาค
การพัฒนาในระดับภาคควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นในกระบวนการพัฒนาทุกระดับ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ โดยมีประเด็นเสนอแนะการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้
(1) ควรมีการศึกษาเพื่อวางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่เพิ่มเติมในรายละเอียด ให้สามารถชี้แนะรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ ระบบชุมชน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกัน
(2) ควรมีการศึกษาทบทวนการแบ่งกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ภายใต้ระบบบริหารงานผู้ว่า CEO ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ ความเชื่อมโยงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงของการพัฒนาทางกายภาพและโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
(3) ควรมีการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกันระหว่างแนวทางของต่ละยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยงกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงกับกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมของประเทศ รวมทั้งแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
(4) ควรให้ความสำคัญกับการกำกับ ติดตามและประเมินผล ที่มีการพัฒนาตัวชี้วัดที่ชัดเจนในระดับพื้นที่ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และวัดผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงยุทธศาสตร์ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
(2) การส่งเสริมให้คนมีงานทำ มีการกระจายโอกาสการมีงานทำ ส่งเสริมการจ้างงาน และพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานไทย ให้บริการจัดหางานทั้งในและต่างประเทศ ดำเนินการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถแก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ตลอดจนแรงงานที่มีฝีมือและกึ่งฝีมือในตลาดแรงงานให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้บริการปรึกษาด้านเทคโนโลยีครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 97.3 ในปี 2547 อีกทั้งมีการให้บริการคุ้มครองคนหางานไม่ให้ถูกหลอกจากนายหน้าและบริษัทจัดหางาน
(3) การปรับระบบการคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และขยายการคุ้มครองกรณีว่างงาน ส่งผลให้ปี 2547 มีลูกจ้างได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจำนวนประมาณ 7.4 ล้านคน มีสถานประกอบการอยู่ในระบบประกันสังคมจำนวน 321,620 แห่ง จัดทำกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 ส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระบบทวิภาคีและไตรภาคี รวมทั้งจัดทำแนวทางประสานการจัดโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้ด้อยโอกาสและคนยากจน
(4) การพัฒนาทุนทางสถาบัน มีการสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมบทบาทของสถาบันทางสังคมต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ อาทิ สถาบันองค์กรชุมชน องค์กรชุมชนเมืองและชนบท มีการจัดเวทีประชาสังคม การฝึกผู้นำชุมชนและเครือข่าย การบูรณาการแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน ด้านสถาบันครอบครัว มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว ด้านสถาบันทางศาสนา มีการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กลุ่มศาสนาในสถานศึกษาทุกศาสนาเพื่อบูรณะศาสนสถานและกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนงานวิจัยด้านศาสนา
(5) การพัฒนาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านวัฒนธรรม การสร้างเครือข่ายทรัพยากรบุคคล ผู้ผลิตนวัตกรรม ภูมิปัญญา และสรรหาครูภูมิปัญญาไทยจากทุกภูมิภาคของประเทศ พร้อมทั้งจัดตั้งเครือข่ายภูมิปัญญาชาติ จัดให้มี E-CULTURE เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางวัฒนธรรม มีการจัดตั้งศูนย์สืบค้นวัฒนธรรมท้องถิ่น
ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม การเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับต่างประเทศใน 9 สาขา การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์เผยแพร่ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน
3.5 การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สะสมมานานให้บรรเทาเบาบางลง อาทิ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้ ดิน น้ำ ควบคู่กับการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานส่วนใหญ่ยังมีความล่าช้า และตามไม่ทันกับความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
(1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้ถ่ายโอนภารกิจไปแล้วกว่าร้อยละ 60 แต่ยังมีความล่าช้าในการเพิ่มรายได้ให้ส่วนท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินการได้เพียงร้อยละ 23.5 ในปี 2548 จากเป้าหมายที่ต้องให้ส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้รัฐบาลร้อยละ 35 ภายในปี 2549 นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและร่างกฎหมายใหม่ที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ การปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การศึกษาเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ และร่างพระราชบัญญัติการจัดการมลพิษโรงงานและมลพิษจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(2) การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ได้มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมเชิงป้องกัน ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ อาทิ การประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้น การพัฒนาป่าชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมาย การดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการป่าไม้ รวมทั้งการจัดตั้ง
กลไกการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่า ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการป้องและปราบปรามการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ระดับชาติและระดับจังหวัด ในส่วนการอนุรักษ์ดินได้ดำเนินการโครงการหมู่บ้านพัฒนาที่ดิน 1,177 แห่งทั่วประเทศ การสร้างเครือข่ายหมอดินอาสา และขยายผลการใช้วิธีการอนุรักษ์ดินโดยใช้หญ้าแฝก
(3) การแก้ไขปัญหามลพิษ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเสียทั้งในแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำชายฝั่ง ได้แก่ การจัดทำระบบการจัดการและกำหนดมาตรฐานน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมทั้งการสำรวจเพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ 77 แห่ง ในด้านการกำจัดกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้มีการออกมาตรการและข้อกำหนดเพื่อควบคุมที่ชัดเจนภายใต้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 การจัดทำคู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมที่มีมลพิษสูง และพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการโครงการรณรงค์การจัดการครัวเรือนและโรงเรียนเพื่อลดขยะชุมชน ตลอดจนการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการผลิตที่สะอาด ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
3.6 ผลการพัฒนาในระดับภาคในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ผลการพัฒนาในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจขยายตัวดีอย่างมีเสถียรภาพและต่อเนื่องในทุกภูมิภาค อัตราการว่างงานลดลงอยู่ในภาวะปกติ ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความอยู่ดีมีสุขโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาทางด้านทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังเป็นประเด็นที่ต้องรีบแก้ไขปรับปรุง ดังนี้
(1) เศรษฐกิจในทุกภูมิภาคขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจประเทศ โดยเศรษฐกิจภาคกลางเติบโตดีกว่าทุกภาค ในระยะ 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.1 โดยภาคกลางขยายตัวสูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 8.0 รองลงมาได้แก่ภาคเหนือร้อยละ 5.3 ส่วนภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการขยายตัวในระดับใกล้เคียงกันคือร้อยละ 4.8 ร้อยละ 4.6 และ ร้อยละ 4.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคกลางและกรุงเทพมหานครมีบทบาทต่อการผลิตของประเทศมากที่สุดถึงร้อยละ 71.7 ของการผลิตรวม ในปี 2547 และเป็นฐานอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางด้านการบริการ การเงิน และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญมีสัดส่วนการผลิตถึงร้อยละ 60 ของประเทศ สำหรับปัญหาการว่างงานคลี่คลายลงมาก เช่นเดียวกับปัญหาความยากจนลดลงมากในทุกภูมิภาค สัดส่วนคนจนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 12.0 โดยคนจนยังกระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือมากที่สุด ขณะที่สถานการณ์การกระจายรายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
(2) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในทุกภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยยังต้องเผชิญกับภาวะความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น คุณภาพการศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และสัมพันธภาพในครอบครัวที่เสื่อมถอย ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในทุกภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ภาวะเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจที่
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการตายของมารดาจากการคลอดบุตรลดลง แต่อัตราการตายของทารกกลับเพิ่มขึ้น แม้อัตราการเรียนรู้ของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 เกือบทุกวิชา นอกจากนี้ ปัญหาการดำรงชีวิตในครอบครัวที่มีความเปราะบางจากการหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้น และครอบครัวมีความสามารถในการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่ประชาชนยังมีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาท้องถิ่น
(3) การอนุรักษ์ป่าไม้โดยรวมยังไม่บรรลุเป้าหมาย แต่มีการส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่คุณภาพแหล่งน้ำจืดมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีปัญหามลพิษทางเสียงและฝุ่นละออง แม้ว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลง แต่ได้มีการส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนทั้งป่าชายเลนและ ป่าเศรษฐกิจของภาคเอกชน รวมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนมีสิทธิบริหารป่าชุมชน ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนและ
ป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ป่าชุมชนมากที่สุดร้อยละ 78 ของพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด สำหรับคุณภาพแหล่งน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเจ้าพระยาตอนล่าง ท่าจีนตอนล่าง ลำตะคองตอนล่าง และทะเลสาบสงขลา บริเวณ อ. เมือง ในด้านมลพิษทางเสียงในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ยังมีปัญหามีระดับเสียงเกินเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับคุณภาพอากาศยังมีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก และก๊าซโอโซนและก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
4 ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระยะต่อไป
4.1 การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการมีระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย เพื่อให้เกิดพลังของกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นกว้างขวาง พร้อมทั้งแก้ไขกฎหมาย กฎ/ระเบียบต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรค และเร่งรัดประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ดังนี้
(1) การพัฒนาระบบราชการให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกับการยกระดับขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ โดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของภารกิจ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับระบบการเงิน และระบบบัญชี ตลอดจนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) การบูรณาการภาครัฐ ธุรกิจเอกชนและสถาบันกลางต่างๆ เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลให้เกิดอย่างแพร่หลาย โดยเร่งรัดกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้มีผลใช้บังคับ และเสริมด้วยสถาบันที่เป็นกลางต่างๆ จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลและให้รางวัล พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้ธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางบรรษัทภิบาล และส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนที่มีความพร้อม
กระจายหุ้นไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น
(3) ปรับปรุงกระบวนการ/วิธีการทำงานของกลไกกระจายอำนาจ โดยเฉพาะในภารกิจที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ควรจะได้มีการกำหนดกลไกขึ้นมาดำเนินการเป็นการเฉพาะ เช่น การถ่ายโอนบุคลากรด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข เป็นต้น พร้อมทั้งเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความพร้อมที่จะรองรับภารกิจ บุคลากร และงบประมาณที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันควรมีการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการทำงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับทุนทางสังคมในพื้นที่ เพื่อสร้างพลังในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(4) พัฒนากลไกตรวจสอบภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอ ปรับปรุงกระบวนการ วิธีการและขอบเขตการทำงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบดังกล่าว ขณะเดียวกันควรมีมาตรการที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เกิดกลไกตรวจสอบอิสระจากภาคประชาชน สื่อมวลชน ตลอดจนนักวิชาการ ซึ่งจะทำให้มี
กระบวนการตรวจสอบเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในสังคมไทยยิ่งขึ้น
4.2 การพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศจะต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อผลักดันให้สังคมไทยโดยรวมบรรลุระดับเศรษฐกิจที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Economy) และมีการพัฒนาที่สมดุล ดังนั้นการพัฒนา ในระยะต่อไปจะต้องให้ความสำคัญในเรื่อง คน องค์ความรู้ นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ
และเทคโนโลยี ดังนี้
(1) ปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ โดยภาคเกษตรต้องเพิ่มผลิตภาพและขยายห่วงโซ่มูลค่าให้โตเต็มศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับโครงสร้างการผลิตโดยใช้เครือข่ายวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคบริการและการท่องเที่ยวต้องมุ่งขยายฐานไปสู่ภาคบริการใหม่ที่มีศักยภาพ และยกระดับแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ ภาคการค้าต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มกับภาคการผลิตทั้งในด้านการค้าภายในและการค้าระหว่างประเทศ และพัฒนาความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในกรอบภูมิภาคและทวิภาคี
(2) ใช้กระบวนการเครือข่ายวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมโยงในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม โดยจัดทำแผนที่คลัสเตอร์ของประเทศ ขยายผลการสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคลัสเตอร์ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของการพัฒนาคลัสเตอร์
(3) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เข้มแข็งบนพื้นฐานการพัฒนาสังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และมีความสามารถทางด้านนวัตกรรม โดยกำหนดแนวทางการจัดตั้งสำนักงานจัดการสิทธิทางเทคโนโลยีกลาง ปฏิรูประบบวิจัยและพัฒนาของประเทศให้มีเอกภาพ และผลักดันการดำเนินงานสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และหน่วยงานเฉพาะด้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
(4) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคการผลิตและบริการ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการนำร่องในการผลิตกำลังคน ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เข้ามาร่วมจัดการศึกษา เร่งผลักดันระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และเร่งให้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ไปสู่การปฏิบัติโดยเร็ว
(5) พัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงต้นทุน (Comparative Cost Advantage) เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
(6) จัดตั้งศูนย์ Economic Intelligence เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของชาติในส่วนของภาคการผลิต การค้า และบริการอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่หน่วยงานต่างๆ พัฒนาขึ้นเข้าด้วยกัน
4.3 การลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
(1) เร่งรัดการกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน จัดที่ดินทำกินและที่ดินอยู่อาศัย พร้อมสาธารณูปโภคและปรับปรุงคุณภาพดินให้ทั่วถึงและเพียงพอ แก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ตลอดจนการจัดหาอาชีพเสริมในช่วงที่ว่างจากการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนยากจน
(2) จัดหาและจัดสรรน้ำให้เพียงพอ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายพื้นที่ชลประทาน ขยายระบบชลประทานจุลภาค และการขุดบ่อน้ำในไร่นาให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง
(3) พัฒนาที่อยู่อาศัยแก่คนยากจนให้มีคุณภาพและทั่วถึง โดยส่งเสริมการจัดทำโครงการที่อยู่อาศัย ลดภาระรายจ่ายด้านที่อยู่อาศัย สำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง และคนยากจนในชนบท
(4) การให้ความคุ้มครองทางสังคม ให้ความช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนยากจนและด้อยโอกาส เพื่อตัดวงจรแห่งความยากจน รวมทั้งการพัฒนาระบบประกันภัยจากภัยธรรมชาติแก่ประชาชนและคนจนที่ตั้งบ้านเรือนในพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนพัฒนาการให้บริการทางสังคมและจัดสวัสดิการสังคมที่เข้าถึง สอดคล้องกับความต้องการของคนยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุที่ยากจน และแรงงานที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนอกระบบ
(6) ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ เร่งรัดศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้เข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมและสุขภาพอนามัยของรัฐ สิทธิการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสให้คนจนได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นในการบังคับใช้กฎหมาย
(7) ปรับปรุงการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความยากจนและตัวชี้วัดความยากจนเชิงโครงสร้าง ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ จัดทำแผนปฏิบัติการเชิงบูรณาการตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบครบวงจร เชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในทุกระดับทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่
(8) เร่งรัดการดำเนินมาตรการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและเขตพื้นที่ชนบท เพื่อให้ผลประโยชน์การพัฒนากระจายไปสู่ประชาชนในชนบท ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคนต่างๆในสังคม
4.4 พัฒนาทุนทางสังคมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง
(1) เร่งรัดการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่เน้นการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเป็นระบบครบวงจร การเสริมสร้างสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจแก่คนไทยทุกกลุ่มอายุอย่างถ้วนหน้า
(2) เร่งปฏิรูปและสร้างโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระบบและนอกระบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละชุมชนท้องถิ่น พัฒนาความร่วมมือ ในการผลิตกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคมในการบริหารจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยปรับกฎระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกระบวนการยุติธรรมให้เอื้ออำนวย
(4) ส่งเสริมการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ โดยเน้นการบริหารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการปรับแก้ไขกฎระเบียบให้ขยายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบตามลักษณะการประกอบอาชีพ
(5) สนับสนุนสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยเน้นการสร้างวินัย ทักษะชีวิตและการมีจิตสำนึกสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว ส่งเสริมการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์รวมทั้งประเพณีที่ดีงามในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
4.5 การพัฒนาที่ยั่งยืน
(1) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกมิติ ในมิติเศรษฐกิจ ควรเร่งสร้างกระแสการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานควบคู่กับการเร่งพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน มิติสังคม ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและต่อยอดทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการประยุกต์ใช้เพื่อสืบทอดให้คงอยู่และช่วยเอื้อให้ประเทศการพัฒนาการสู่ความยั่งยืน พร้อมไปกับการพัฒนาให้มีคนไทย มีคุณภาพชีวิต และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น มิติสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่นและเสียง ที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค
(2) ส่งเสริมการสร้างกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนกับทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ส่วนท้องถิ่น และชุมชน โดยต้องเร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ รวมทั้งการออก
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการกำหนดสิทธิหน้าที่ ตลอดจนกระบวนการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างชัดเจน
(3) ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาประเทศในมิติต่างๆ บนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้และการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ด้านทรัพยากร การค้าการลงทุน และสิทธิต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศได้อย่างรู้เท่าทัน
4.6 การพัฒนาในระดับภาคเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนในภาค
การพัฒนาในระดับภาคควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นในกระบวนการพัฒนาทุกระดับ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ โดยมีประเด็นเสนอแนะการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้
(1) ควรมีการศึกษาเพื่อวางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่เพิ่มเติมในรายละเอียด ให้สามารถชี้แนะรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ ระบบชุมชน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกัน
(2) ควรมีการศึกษาทบทวนการแบ่งกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ภายใต้ระบบบริหารงานผู้ว่า CEO ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ ความเชื่อมโยงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงของการพัฒนาทางกายภาพและโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
(3) ควรมีการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกันระหว่างแนวทางของต่ละยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยงกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงกับกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมของประเทศ รวมทั้งแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
(4) ควรให้ความสำคัญกับการกำกับ ติดตามและประเมินผล ที่มีการพัฒนาตัวชี้วัดที่ชัดเจนในระดับพื้นที่ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และวัดผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงยุทธศาสตร์ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-