แท็ก
ประกันสุขภาพ
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
1. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
2. หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์ของโครงการ
4. การดำเนินงานตามโครงการ
5. ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข
1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วน
หน้าเพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตราฐานมีประสิทธิภาพอย่างทั่ว
ถึง สำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนิน
การสร้างหลักประกันคุณภาพถ้วนหน้า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งสำนักงานประกันสุขภาพขึ้นมาเมื่อวันที่ 24
ตุลาคม 2534 ในระยะแรกมีบทบาทด้านการประสานงานและสนับสนุนงานด้านวิชาการแก่หน่วยงานในสังกัด
กระทรวงที่มีหน้าที่จัดบริการสาธารณสุข ต่อมาในปีงบประมาณ 2536 กระทรวงฯ ได้กำหนดนโยบายประกันสุขภาพ
โดยความสมัครใจ ให้สอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาลในปัจจุบัน ให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเองโดยจัด
ทำเป็นบัตรประกันสุขภาพราคา 1000 บาท/บัตร ในเงินจำนวนนี้ ประชาชนสมทบ 500 บาท/บัตร และรัฐบาล
สมทบ 500 บาท/บัตร เป็นบัตรครอบครัวมีอายุ 1 ปี นอกจากนี้ยังมีงานในโครงการสวัสดิการประชาชนด้านการ
รักษาพยาบาลใน 2 ส่วน คือ สวัสดิการผู้มีรายได้น้อย และสวัสดิการสำหรับประชาชนผู้ที่ รัฐบาลควรช่วยเหลือ
เกื้อกูลซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เด็กอายุ 0-12 ปี ผู้พิการ พระภิกษุหรือผู้นำทางศาสนา
ทหารผ่านศึก นักเรียนระดับมัธยมต้น รัฐบาลได้ออกบัตรให้โดยเมื่อทำการรักษาไม่ต้องเก็บ ยกเว้น ค่ารักษา
พยาบาลที่กระทรวงกำหนด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีความสามารถเข้าถึงบริการทาง
การแพทย์ทุกครอบครัวนับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ในระยะต่อมาประมาณปี 2544 รัฐบาลได้ดำเนินการหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า ให้เป็นแนวทางเดียว
กันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็นโดยถือเป็น ”สิทธิ”
ขั้นพื้นฐานของประชาชน ไม่ใช่เป็นรัฐสงเคราะห์หรือช่วยเหลือประชาชน (Public Assistance) ทั้งนี้โดยเป็น
ไปตามเจตนารมภ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 ”บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน
ในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” เนื่องจากในช่วงปี 2544-2545 เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน กระทรวง
สาธารณสุขได้รับมอบภารกิจให้ดำเนินการสร้างหลักประกันคุณภาพ ทั้งนี้โดยได้มีการทดลองดำเนินการในปี 2544
เป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ทดลองดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา นครสวรรค์ ยโสธร ปทุมธานี
สมุทรสาคร และ ยะลา โดยมีสถานบริการภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดร่วมเข้าโครงการ และระยะที่ 2 ได้ทดลอง
ดำเนินการแบบเต็มรูปแบบในพื้นที่รวม 15 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี นครราชสีมา
สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ นราธิวาส โดย
มีสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการ ในปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลได้ขยายผลการดำเนินงานไปสู่
จังหวัดที่เหลือ โดยยึดรูปแบบการดำเนินงานตามระยะที่ 2 เป็นหลัก ทั้งนี้โดยให้แต่ละจังหวัดประเมินความพร้อม
ของตนเอง และเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการ (สำนักงานประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ
สุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า, 2544: 1)
2 หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดหลักการสำคัญในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้
1. กระบวนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับและ
เป็นเจ้าของร่วมกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน โดยมีเป้าหมายคือ สุขภาวะ ตามหลักการ
สุขภาพพอเพียง
2. ประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และในระยะถัดไปเมื่อ
ระบบการจัดการลงตัวแล้ว ประชาชนควรจะมีสิทธิในการเลือกขึ้นทะเบียนและใช้บริการจากหน่วยบริการระดับต้น
หรือเครือข่ายหน่วยบริการ ระดับต้นที่ตนเองพึงพอใจ และใกล้บ้าน/ที่ทำงาน เพื่อเป็นสถานพยาบาลประจำบุคคล
หรือประจำครอบครัว
3. สถานพยาบาลทั้งของรัฐ และเอกชนที่จะให้บริการจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานและได้
รับการรับรองคุณภาพ (Quality accreditation) โดยถือว่าการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเป็นเงื่อนไขที่จำ
เป็น ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ
4. ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ จะให้ความสำคัญกับการมีและใช้หน่วยบริการระดับต้น (Primary
care) เป็นจุดบริการ ด่านแรก ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการแบบผสมผสาน (ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ) กรณีที่เกินความสามารถหน่วยบริการระดับต้นจะรับผิดชอบส่งผู้ป่วยไปรับ
บริการต่อที่ สถานพยาบาลอื่น
5. สนับสนุนให้หน่วยบริการระดับต้นด้วยกันเอง และหน่วยบริการระดับต้นกับสถานพยาบาลระดับ
อื่น ให้บริการ ร่วมกันในลักษณะเครือข่าย (Provider network) โดยอาจจะเป็นเครือข่ายของภาครัฐด้วยกัน
เอง หรือระหว่างภาครัฐ กับเอกชน
6. ระบบการเงินการคลังเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องเป็นระบบที่สามารถควบ
คุมค่าใช้จ่ายได้ใน ระยะยาว (Cost containment system) และต้องระวังไม่ให้เกิดสภาพที่ประชาชนมาพึ่ง
บริการมากเกินความจำเป็น กลไกการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลจะต้องเป็นการจ่ายแบบปลายปิด (Close end)
และเป็นการจ่ายเงินแบบมุ่งเน้น ผลลัพธ์การดำเนินงาน (performance related payment)
7. สิทธิประโยชน์หลักและรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงิน (payment mechanism) ให้แก่ผู้ให้
บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะบริการโดยกองทุนประกันสุขภาพกี่กองทุนก็ตาม
8. ระบบประกันสุขภาพในอนาคตหรือระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรจะประกอบด้วยกองทุนประกัน
สุขภาพเพียง กองทุนเดียว แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านอาจจะมี 2 กองทุนที่มีเอกภาพในการบริหารงาน มีชุดสิทธิ
ประโยชน์หลักเหมือนกัน (อาจจะมีกองทุนย่อยเพื่อบริหารจัดการการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อให้สามารถ
ควบคุมค่าใช้จ่ายและทราบข้อมูลการใช้บริการ)
รูปแบบระบบประกันสุขภาพในอนาคต จะแสดงถึงแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
ทุกระดับและเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน โดยประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการที่มีคุณภาพใน
สถานพยาบาลระดับต้นที่ตนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกขึ้นทะเบียน สถานพยาบาลทุกแห่งที่ร่วมโครงการจะต้องมีมาตรฐาน
และได้รับการรับรองคุณภาพ หน่วยบริการระดับต้น หรือระดับปฐมภูมิ (Primary care) กับ ระดับทุติยภูมิ
(Secondary care) และระดับตติยภูมิ (Tertiary care) เน้นให้บริการร่วมกันในลักษณะเครือข่าย ระบบการ
เงินการคลังต้องเป็นระบบที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ กลไกการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลจะเป็นการจ่ายเงิน
แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การดำเนินงาน (Performance related payment) กลไกการจ่ายเงินแก่ ผู้ให้บริการหรือ
สถานพยาบาลต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน ในส่วนของรูปแบบเครือข่ายมีหลักการจัดบริการที่มีคุณภาพกระจายอย่างทั่ว
ถึง และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เน้นระบบที่มี ประสิทธิภาพ บูรณาการ และมีการส่งต่อในระดับต่างๆได้
อย่างไม่มีช่องว่าง ไม่ซ้ำซ้อน และสามารถจัดบริการที่ดูแลประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมบริการ
สุขภาพพื้นฐานตามสิทธิประโยชน์ของประชาชนภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมาก และได้ชี้ประเด็น
ว่าคนไทยต้องมีหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 52 กำหนดว่า "บุคคลย่อม มีสิทธิเสมอ
กันในการได้รับการบริการสาธารณสุขที่ได้มาตราฐานตามที่กฎหมายกำหนด
2. เมื่อเจ็บป่วยประชาชนส่วนใหญ่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่าย จนอาจเป็นเหตุ
ให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น
3. ประชาชนไทยจำนวนถึง 20 ล้านคนไม่อยู่ในการดูแลของระบบประกันใดเลย ส่วนประชาชน
อีก 23 ล้านคนได้รับการดูแลด้วยระบบสงเคราะห์ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่สามารถประกันมาตรฐานคุณภาพบริการได้
4. ประชาชนในระบบสวัสดิการสุขภาพจำนวน 5 ระบบ (รวมถึงระบบสงเคราะห์) ได้รับบริการที่
เหลื่อมล้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีโอกาสดีกว่าที่มีจำนวนเพียงร้อย ละ 20 ของประชาชนทั้งประเทศ
5. ตลาดเสรีขาดประสิทธิภาพในการให้บริการสุขภาพ เนื่องจากประชาชน(ผู้บริโภค) ขาดข้อมูล
และความเข้าใจเพียงพอที่จะซื้อบริการอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งยังขาดอำนาจต่อรองใดๆจึงเป็นการยากยิ่งที่
ประชาชนแต่ละคนจะรับภาระซื้อบริการสุขภาพ หากยังไม่มีการจัดระบบที่รัดกุมเพียงพอ
6. แม้การเพิ่มรายได้แก่ประชาชนจะยังทำได้ยาก แต่การมีหลีกประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถลดราย
จ่ายที่อาจทำให้บุคคลเสี่ยงต่อการสิ้นเนื้อประดาตัว หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงมีผลสำคัญต่อการยกระดับความ
สามารถของประเทศในการแก้ไขปัญหาความยากจน
กระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่าไม่ใช่สิ่ง
ต่อไปนี้
1. ไม่ใช่ "บริการสงเคราะห์" "บริการกึ่งสงเคราะห์" "บริการราคาถูก" หรือ "บริการที่มุ่งแก้
ปัญหาสุขภาพแบบเฉพาะหน้า " เท่านั้น
2. ไม่ใช่ บริการที่ต้องมีการสมัครจึงจะได้รับ หากแต่เป็นสิทธิตามกฎหมายของประชาชนชาวไทยทุก
คน
3. ไม่ใช่ การทุ่มงบประมาณไปที่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง โดยขาดการปรับปรุงระบบบริหาร
จัดการ และไม่มีการประกันสิทธิของประชาชน
โดยสรุป โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
บริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นสิทธิตามกฎหมายของประชาชน ชาวไทยทุกคน
3 วัตถุประสงค์ของโครงการ
จากการประมวลกรอบแนวความคิด ของกระทรวงสาธารณสุข ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าโครงการ
30 บาท รักษาทุกโรค ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทุกคน
ได้สามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายขั้นพื้นฐานของประชาชน มีเป้า
หมายการดำเนินงานให้ประชานมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบสุขภาพได้ ในการนี้ประชาชนจะต้อง
สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพ
ได้ โดยถือว่า ”สุขภาพ” เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน และเพื่อประชาชนทุกคน (All for Health and
Health for All) เน้นระบบที่สร้างสุขภาพ มากกว่า การซ่อมสุขภาพ หรือที่พูดกันว่า ”สร้างนำซ่อม”
ในการกำหนดกรอบแนวความคิดของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความหมายของหลักประกันสุขภาพถ้วน
หน้าว่า หมายถึง ”สิทธิของประชาชนคนไทยทุกคนที่จะได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานอย่างเสมอหน้า ด้วยเกียรติ
ศักดิ์ศรี ที่เท่าเทียมกัน โดยที่ภาระด้านค่าใช้จ่ายไม่เป็นอุปสรรคที่จะได้รับสิทธินั้น” จากกรอบแนวคิดตามหลักการ
และเหตุผลดังกล่าว สำนักงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ดังนี้ ”ประชาชนไทยทุก
คน มีหลักประกันสุขภาพ ที่ได้มาตรฐาน และเสมอภาค”
4 การดำเนินงานตามโครงการ
กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจในการสร้างหลักประกันสุขภาพ ได้มีการทดลองดำเนินการในปี 2544
เป็น 2 ระยะ ในระยะที่1 ทดลองดำเนินการในพื้นที่จังหวัดพะเยา นครสรรค์ ยโสธร ปทุมธานี สมุทรสาคร และ
ยะลา รวม 6 จังหวัด มีโรงพยาบาลภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเข้าร่วมโครงการ และในระยะที่ 2 ได้
ดำเนินการเต็มรูปแบบในพื้นที่ 15 จังหวัด จังหวัดคือ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี นครราชสีมา สุรินทร์
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ นราธิวาส ต่อมาในปี
2545 ได้ขยายการดำเนินงานไปยังทุกจังหวัดและใช้วิธีดำเนินการเต็มรูปแบบเช่นเดียวกับระยะที่ 2 ทั้งนี้ให้ แต่ละ
จังหวัดประเมินตนเองในเรื่องของความพร้อม และเตรียมการรองรับการดำเนินการ สำนักงานประกันคุณภาพ
กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นองค์การบริหารระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในส่วนกลาง จะมีบทบาทหน้าที่ในการ
กำหนดรูปแบบวิธีการในการขึ้นทะเบียนและออกบัตร การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารจัดการโครงการภายใต้
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ และคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ สำหรับในส่วนของ
จังหวัด จะมีคณะกรรมการเพื่อดำเนินการในพื้นที่ประกอบด้วยหน่วยงานของรัฐ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้
แทนฝ่ายวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนประชาชนหรือภาคประชาสังคม โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพ
ของพื้นที่ให้สอดคล้องกับนโยบาย จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ และจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพให้แก่
หน่วยบริการตามกรอบนโยบายที่กำหนด เนื่องจากระบบการบริหารจัดการงบประมาณภายใต้โครงการ 30 บาท ใช้
วิธีการจัดสรรเงินตามรายหัวประชากรที่มีสิทธิโดยใช้เลข 13 หลักตามบัตรประจำตัวประชาชน ในการนี้
ทางกระทรวงมหาดไทยจะได้เร่งดำเนินการออกบัตรให้ครอบคลุมชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่ประมาณ 479,461 คน ซึ่งคาด
ว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือนตุลาคม 2545 อย่างไรก็ตามจะมีการพิจารณาให้สิทธิในกลุ่มประชาชนคนไทยก่อน โดย
แก้ไขคนไทยที่ไม่มีหลักฐานทางราชการ เช่น นักโทษในเรือนจำ คนที่ตกสำรวจในปี 2499 พระภิกษุ คนในสลัมทั้ง
ในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ชาวเล อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่ ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยจะจัดหน่วยงานบริการเฉพาะ
กิจ ออกไปทำหลักฐานทางราชการที่ถูกต้องให้กับคนไทยเหล่านี้ก่อน
นอกจากกำหนดโครงสร้างองค์กรเพื่อการบริหารแล้ว ยังได้กำหนดรูปแบบของเครือข่ายโดยยึดหลัก
การในการทำให้เกิดบริการและคุณภาพกระจายอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ บูรณาการ ลดปัญหาการให้บริการที่ซ้ำ
ซ้อน เน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง เป็น
ต้น ส่วนการจัดหน่วยบริการจะเน้นถึงตัวบุคลากร ด้านการจัดการ ด้านอุปกรณ์ อาคาร และสถานที่ มีการกำหนด
ลักษณะของการจัดเครือข่าย นอกจากนี้ก็ยังมีการกำหนดมาตรฐานสถานบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ประกอบด้วยบริการ 3 ระดับ ได้แก่ บริการขั้นปฐมภูมิ บริการขั้นทุติยภูมิ และบริการขั้นตติยภูมิ โดยกำหนด
มาตรฐานการบริการขั้นต่ำของทั้ง 3 ระดับ
กลุ่มเป้าหมายของผู้มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องไม่เป็นข้าราชการพลเรือนหรือบุคคลใน
ครอบครัวที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิประกันสังคม อย่างไรก็ตามผู้มีสิทธิ
บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ประเภทไม่เสียค่าธรรมเนียม และประเภทเสียค่า
ธรรมเนียม ซึ่งประเภทหลังนี้เป็นกลุ่มที่ใช้บริการในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคอย่างแท้จริง
ในการขึ้นทะเบียนและออกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะมีการคัดกรองคุณสมบัติของผู้มีสิทธิตาม
กำหนดด้วยการสำรวจและแจ้งสิทธิ ในการนี้จะยึดฐานข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์
นอกจากที่กล่าวมาแล้วการดำเนินการที่ผ่านมายังให้มีการประชาสัมพันธ์และการรับเรื่องราวร้อง
ทุกข์ มีการกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ และให้มีการรายงานผลการให้บริการ
สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาดังกล่าวข้างต้นนั้น เนื่องจากโครงการนี้เพิ่งดำเนินการ ดังนั้นทางสำนัก
งานประกันสุขภาพจึงได้จัดทำเป็น ”คู่มือการดำเนินงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการ
ปฏิบัติงานมีความเข้าใจตรง อย่างไรก็ตามจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจากการสืบค้นข้อมูล พบว่ายังไม่
มีหน่วยงานใดที่ทำการประเมินผลการดำเนินการโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นสิ่งที่นำเสนอข้างต้นจึงไม่ใช่
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่จะเป็นแนวทางที่กำหนดในการดำเนินการ
ข้อมูลจำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด
จากภาพรวมจากการเปรียบเทียบจำนวนประชากรตามสิทธิของเดือนพฤษภาคม 2545 ถึงเดือน
มิถุนายน 2546 พบว่าในระดับประเทศมีประชากรตามสิทธิเพิ่มจาก 61,047,466 คน เป็น 62,358,248 คน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในจำนวนนี้มีประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมจาก 23,943,329 คน
เป็น 24,640,959 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียมจาก
20,912,478 คน เป็น 26,724,054 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ดังตารางที่ 2.1
ตารางที่ 2.1 จำนวนประชากรตามสิทธิ์งบประมาณและจำนวนสถานพยาบาลจำแนกตามภูมิภาค
-1 -2 -3 -4 -5 -6
ภาค ประชากรตามสิทธิ์ (คน) สิทธิ์ไม่เสียค่าธรรมเนียม (คน) สิทธิ์แบบเสียค่าธรรมเนียม (คน) งบประมาณจัดสรร (บาท) สถานพยาบาล (แห่ง)
กลาง 15,338,053 4,564,743 5,665,762 804,330,206 232
ตะวันออก 4,188,969 1,494,782 1,404,010 258,907,575 78
ตะวันออก 21,430,588 9,914,503 6,638,180 1,427,119,864 318
เฉียงเหนือ
เหนือ 12,104,805 5,198,024 3,811,289 784,637,270 220
ใต้ 8,356,916 3,468,907 9,204,813 549,057,276 159
Error 736,764 NA NA
ค่าว่าง 202,153 NA NA
รวม 62,358,248 24,640,959 20,971,651 3,824,052,191 1,007
ที่มา : จากรายงานของสำนักประกันคุณภาพ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ สดมภ์ (2) เป็นข้อมูลของเดือนมิถุนายน 2546
สดมภ์ (3) (4) และ (6) เป็นข้อมูลของเดือนพฤษภาคม 2546
สดมภ์ (5) งบประมาณจัดสรรเดือนตุลาคม 2545 — มกราคม 2546
(รวม 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ)
Error หมายถึง ผู้ที่ไม่สามารถถูกระบุได้ว่ามีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดใด หรือโซนใดในกรุงเทพฯ
ค่าว่าง หมายถึง ผู้ไม่มีสิทธิ์ใดๆ เป็นกลุ่มของประชาชนที่ยังไม่มาขอรับสิทธิ
ภาพรวมจากการเปรียบเทียบจำนวนประชากรตามสิทธิของเดือนพฤษภาคม 2545 ถึงเดือน
มิถุนายน 2546 พบว่าในระดับประเทศมีประชากรตามสิทธิเพิ่มจาก 61,047,466 คน เป็น 62,358,248 คน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในจำนวนนี้มีประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมจาก 23,943,329 คน
เป็น 24,640,959 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียมจาก
20,912,478 คน เป็น 20,971,651 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 และประชากรที่ยังไม่มาขอใช้สิทธิจาก 736,764
คน เป็น 202,153 คน ลดลงร้อยละ 95 แม้จะได้มีการรายงานตัวเลขจำนวนประชากรตามสิทธิมาแล้ว แต่ถ้า
พิจารณาตัวเลขที่รายงานนับว่ามีความน่าเชื่อถือเนื่องจากเห็นได้ชัดว่าสิทธิ์ประกันสุขภาพประเภทต่างๆ มีจำนวนลด
ลงเกือบทุกประเภท และมาเพิ่มในส่วนที่เป็นสิทธิ์ประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม และแบบเสียค่า
ธรรมเนียม 30 บาทต่อครั้ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างแท้จริง
5 ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายมุ่งให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า แต่ยังมี
ประชากรบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ เช่น นักโทษในเรือนจำ คนที่ตกสำรวจ พระภิกษุ ผู้ที่อาศัยอยู่ใน
สลัม ชาวเล ชาวเกาะ เป็นต้น แนวทางแก้ไขสำหรับกรณีเช่นนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานขอความร่วมมือ
จากกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ดูแลคนไทยก่อนชนกลุ่มน้อย
ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการบริหารโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค นั้นมีนักวิชาการ
บางท่านตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขของประชากรที่เข้าข่าย 30 บาท รักษาทุกโรค ยังไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริงเป็นการคาด
เดาบนพื้นฐานข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ โครงการนี้มีต้นทุน ซึ่งต้องใช้เงินของประชาชน อาจต้องมีการเพิ่มภาษีจาก
ประชาชน ในทางกฎหมายก็นับว่ามี ช่องโหว่เปิดช่องให้เกิดการรั่วไหลของงบประมาณ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ทำให้ผู้
ปฏิบัติทำงานได้ลำบาก ทั้งด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ และการขาดแคลนบุคลากร
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในด้านกฎหมายก็คือพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นธรรมนูญใหม่ยังไม่ออกมา
เป็นกฎหมาย ซึ่ง พรบ. นี้ เป็นกฎหมายแม่ที่เน้นในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพเป็นสำคัญ จะเป็นตัวนำหลัก
ประกันสุขภาพที่หมายถึงการซ่อมแซมสุขภาพ นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงการควบคุมโรค แต่พบว่า พรบ. หลักประกัน
สุขภาพ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ได้ออกมาก่อน พรบ. หลักประกันสุขภาพนับเป็นกฎหมายฉบับที่ 2 ที่ประชาชน
จำนวน 50,000 คน เข้าชื่อและผลักดันให้เกิดขึ้นตามมาตรา 170 อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่กว้างขวาง
เท่า พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ ต้องมีกฎหมายลูกมารองรับ ซึ่งก็ได้แก่
กฎหมายประกันสุขภาพถ้วนหน้า กฎหมายปฏิรูประบบราชการ และการกระจายอำนาจ กฎหมายนี้ต้องการให้
ประชาชนเข้าใจแนวคิดในเรื่องของการประกันสุขภาพว่าเป็นสิทธิของประชาชนในการกำหนดนโยบาย เป็นความ
ต้องการให้พลังประชาคมทุกส่วน เครือข่ายทุกข่าย เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นทุนของสังคมที่จะขับเคลื่อนไปสู่ภาวะ
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย เน้นการสร้างความรู้ เชื่อมประสาน และการมีส่วนร่วมของสังคม เพราะต้องการส่ง
ผลในแง่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนคนไทย การทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายสำคัญนี้ และทำให้เป็น
จริงได้นับเป็นเรื่องยาก วิธีการที่รัฐบาลที่นำมาใช้เพื่อให้สามารถออกกฎหมายสำคัญนี้ได้ก็คือ เริ่มจากการ
ร่างกรอบ ระดมความคิดเห็น จากนั้นก็ร่างแนวคิด แล้วจึงร่าง พรบ. เมื่อได้ร่าง พรบ. เสร็จแล้ว ได้ให้ทุก
อำเภอแสดงความคิดเห็น และจัดสมัชชาระดับจังหวัดทุกจังหวัดซึ่งเพิ่งจะเสร็จสิ้นไป นำข้อคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ ที่
รวบรวมไว้ทั้งหมดมาสังเคราะห์ และนำมาในเวทีสมัชชาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม 2545 ที่ศูนย์ประชุมไบเท
ค โดยวันที่ 8 จะเป็นการเปิดสมัชชาเฉพาะประเด็น และวันที่ 9 เป็นการปิดสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นการรับฟัง
ครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะยกร่าง พรบ. รัฐบาลคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในการออกกฎหมายเนื่องจากเวทีสมัชชาจะเป็น
เวทีที่ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไข
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
2. หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์ของโครงการ
4. การดำเนินงานตามโครงการ
5. ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข
1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วน
หน้าเพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตราฐานมีประสิทธิภาพอย่างทั่ว
ถึง สำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนิน
การสร้างหลักประกันคุณภาพถ้วนหน้า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งสำนักงานประกันสุขภาพขึ้นมาเมื่อวันที่ 24
ตุลาคม 2534 ในระยะแรกมีบทบาทด้านการประสานงานและสนับสนุนงานด้านวิชาการแก่หน่วยงานในสังกัด
กระทรวงที่มีหน้าที่จัดบริการสาธารณสุข ต่อมาในปีงบประมาณ 2536 กระทรวงฯ ได้กำหนดนโยบายประกันสุขภาพ
โดยความสมัครใจ ให้สอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาลในปัจจุบัน ให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเองโดยจัด
ทำเป็นบัตรประกันสุขภาพราคา 1000 บาท/บัตร ในเงินจำนวนนี้ ประชาชนสมทบ 500 บาท/บัตร และรัฐบาล
สมทบ 500 บาท/บัตร เป็นบัตรครอบครัวมีอายุ 1 ปี นอกจากนี้ยังมีงานในโครงการสวัสดิการประชาชนด้านการ
รักษาพยาบาลใน 2 ส่วน คือ สวัสดิการผู้มีรายได้น้อย และสวัสดิการสำหรับประชาชนผู้ที่ รัฐบาลควรช่วยเหลือ
เกื้อกูลซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เด็กอายุ 0-12 ปี ผู้พิการ พระภิกษุหรือผู้นำทางศาสนา
ทหารผ่านศึก นักเรียนระดับมัธยมต้น รัฐบาลได้ออกบัตรให้โดยเมื่อทำการรักษาไม่ต้องเก็บ ยกเว้น ค่ารักษา
พยาบาลที่กระทรวงกำหนด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีความสามารถเข้าถึงบริการทาง
การแพทย์ทุกครอบครัวนับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ในระยะต่อมาประมาณปี 2544 รัฐบาลได้ดำเนินการหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า ให้เป็นแนวทางเดียว
กันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็นโดยถือเป็น ”สิทธิ”
ขั้นพื้นฐานของประชาชน ไม่ใช่เป็นรัฐสงเคราะห์หรือช่วยเหลือประชาชน (Public Assistance) ทั้งนี้โดยเป็น
ไปตามเจตนารมภ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 ”บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน
ในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” เนื่องจากในช่วงปี 2544-2545 เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน กระทรวง
สาธารณสุขได้รับมอบภารกิจให้ดำเนินการสร้างหลักประกันคุณภาพ ทั้งนี้โดยได้มีการทดลองดำเนินการในปี 2544
เป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ทดลองดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา นครสวรรค์ ยโสธร ปทุมธานี
สมุทรสาคร และ ยะลา โดยมีสถานบริการภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดร่วมเข้าโครงการ และระยะที่ 2 ได้ทดลอง
ดำเนินการแบบเต็มรูปแบบในพื้นที่รวม 15 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี นครราชสีมา
สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ นราธิวาส โดย
มีสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการ ในปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลได้ขยายผลการดำเนินงานไปสู่
จังหวัดที่เหลือ โดยยึดรูปแบบการดำเนินงานตามระยะที่ 2 เป็นหลัก ทั้งนี้โดยให้แต่ละจังหวัดประเมินความพร้อม
ของตนเอง และเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการ (สำนักงานประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ
สุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า, 2544: 1)
2 หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดหลักการสำคัญในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้
1. กระบวนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับและ
เป็นเจ้าของร่วมกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน โดยมีเป้าหมายคือ สุขภาวะ ตามหลักการ
สุขภาพพอเพียง
2. ประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และในระยะถัดไปเมื่อ
ระบบการจัดการลงตัวแล้ว ประชาชนควรจะมีสิทธิในการเลือกขึ้นทะเบียนและใช้บริการจากหน่วยบริการระดับต้น
หรือเครือข่ายหน่วยบริการ ระดับต้นที่ตนเองพึงพอใจ และใกล้บ้าน/ที่ทำงาน เพื่อเป็นสถานพยาบาลประจำบุคคล
หรือประจำครอบครัว
3. สถานพยาบาลทั้งของรัฐ และเอกชนที่จะให้บริการจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานและได้
รับการรับรองคุณภาพ (Quality accreditation) โดยถือว่าการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเป็นเงื่อนไขที่จำ
เป็น ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ
4. ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ จะให้ความสำคัญกับการมีและใช้หน่วยบริการระดับต้น (Primary
care) เป็นจุดบริการ ด่านแรก ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการแบบผสมผสาน (ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ) กรณีที่เกินความสามารถหน่วยบริการระดับต้นจะรับผิดชอบส่งผู้ป่วยไปรับ
บริการต่อที่ สถานพยาบาลอื่น
5. สนับสนุนให้หน่วยบริการระดับต้นด้วยกันเอง และหน่วยบริการระดับต้นกับสถานพยาบาลระดับ
อื่น ให้บริการ ร่วมกันในลักษณะเครือข่าย (Provider network) โดยอาจจะเป็นเครือข่ายของภาครัฐด้วยกัน
เอง หรือระหว่างภาครัฐ กับเอกชน
6. ระบบการเงินการคลังเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องเป็นระบบที่สามารถควบ
คุมค่าใช้จ่ายได้ใน ระยะยาว (Cost containment system) และต้องระวังไม่ให้เกิดสภาพที่ประชาชนมาพึ่ง
บริการมากเกินความจำเป็น กลไกการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลจะต้องเป็นการจ่ายแบบปลายปิด (Close end)
และเป็นการจ่ายเงินแบบมุ่งเน้น ผลลัพธ์การดำเนินงาน (performance related payment)
7. สิทธิประโยชน์หลักและรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงิน (payment mechanism) ให้แก่ผู้ให้
บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะบริการโดยกองทุนประกันสุขภาพกี่กองทุนก็ตาม
8. ระบบประกันสุขภาพในอนาคตหรือระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรจะประกอบด้วยกองทุนประกัน
สุขภาพเพียง กองทุนเดียว แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านอาจจะมี 2 กองทุนที่มีเอกภาพในการบริหารงาน มีชุดสิทธิ
ประโยชน์หลักเหมือนกัน (อาจจะมีกองทุนย่อยเพื่อบริหารจัดการการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อให้สามารถ
ควบคุมค่าใช้จ่ายและทราบข้อมูลการใช้บริการ)
รูปแบบระบบประกันสุขภาพในอนาคต จะแสดงถึงแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
ทุกระดับและเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน โดยประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการที่มีคุณภาพใน
สถานพยาบาลระดับต้นที่ตนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกขึ้นทะเบียน สถานพยาบาลทุกแห่งที่ร่วมโครงการจะต้องมีมาตรฐาน
และได้รับการรับรองคุณภาพ หน่วยบริการระดับต้น หรือระดับปฐมภูมิ (Primary care) กับ ระดับทุติยภูมิ
(Secondary care) และระดับตติยภูมิ (Tertiary care) เน้นให้บริการร่วมกันในลักษณะเครือข่าย ระบบการ
เงินการคลังต้องเป็นระบบที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ กลไกการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลจะเป็นการจ่ายเงิน
แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การดำเนินงาน (Performance related payment) กลไกการจ่ายเงินแก่ ผู้ให้บริการหรือ
สถานพยาบาลต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน ในส่วนของรูปแบบเครือข่ายมีหลักการจัดบริการที่มีคุณภาพกระจายอย่างทั่ว
ถึง และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เน้นระบบที่มี ประสิทธิภาพ บูรณาการ และมีการส่งต่อในระดับต่างๆได้
อย่างไม่มีช่องว่าง ไม่ซ้ำซ้อน และสามารถจัดบริการที่ดูแลประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมบริการ
สุขภาพพื้นฐานตามสิทธิประโยชน์ของประชาชนภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมาก และได้ชี้ประเด็น
ว่าคนไทยต้องมีหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 52 กำหนดว่า "บุคคลย่อม มีสิทธิเสมอ
กันในการได้รับการบริการสาธารณสุขที่ได้มาตราฐานตามที่กฎหมายกำหนด
2. เมื่อเจ็บป่วยประชาชนส่วนใหญ่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่าย จนอาจเป็นเหตุ
ให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น
3. ประชาชนไทยจำนวนถึง 20 ล้านคนไม่อยู่ในการดูแลของระบบประกันใดเลย ส่วนประชาชน
อีก 23 ล้านคนได้รับการดูแลด้วยระบบสงเคราะห์ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่สามารถประกันมาตรฐานคุณภาพบริการได้
4. ประชาชนในระบบสวัสดิการสุขภาพจำนวน 5 ระบบ (รวมถึงระบบสงเคราะห์) ได้รับบริการที่
เหลื่อมล้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีโอกาสดีกว่าที่มีจำนวนเพียงร้อย ละ 20 ของประชาชนทั้งประเทศ
5. ตลาดเสรีขาดประสิทธิภาพในการให้บริการสุขภาพ เนื่องจากประชาชน(ผู้บริโภค) ขาดข้อมูล
และความเข้าใจเพียงพอที่จะซื้อบริการอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งยังขาดอำนาจต่อรองใดๆจึงเป็นการยากยิ่งที่
ประชาชนแต่ละคนจะรับภาระซื้อบริการสุขภาพ หากยังไม่มีการจัดระบบที่รัดกุมเพียงพอ
6. แม้การเพิ่มรายได้แก่ประชาชนจะยังทำได้ยาก แต่การมีหลีกประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถลดราย
จ่ายที่อาจทำให้บุคคลเสี่ยงต่อการสิ้นเนื้อประดาตัว หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงมีผลสำคัญต่อการยกระดับความ
สามารถของประเทศในการแก้ไขปัญหาความยากจน
กระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่าไม่ใช่สิ่ง
ต่อไปนี้
1. ไม่ใช่ "บริการสงเคราะห์" "บริการกึ่งสงเคราะห์" "บริการราคาถูก" หรือ "บริการที่มุ่งแก้
ปัญหาสุขภาพแบบเฉพาะหน้า " เท่านั้น
2. ไม่ใช่ บริการที่ต้องมีการสมัครจึงจะได้รับ หากแต่เป็นสิทธิตามกฎหมายของประชาชนชาวไทยทุก
คน
3. ไม่ใช่ การทุ่มงบประมาณไปที่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง โดยขาดการปรับปรุงระบบบริหาร
จัดการ และไม่มีการประกันสิทธิของประชาชน
โดยสรุป โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
บริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นสิทธิตามกฎหมายของประชาชน ชาวไทยทุกคน
3 วัตถุประสงค์ของโครงการ
จากการประมวลกรอบแนวความคิด ของกระทรวงสาธารณสุข ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าโครงการ
30 บาท รักษาทุกโรค ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทุกคน
ได้สามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายขั้นพื้นฐานของประชาชน มีเป้า
หมายการดำเนินงานให้ประชานมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบสุขภาพได้ ในการนี้ประชาชนจะต้อง
สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพ
ได้ โดยถือว่า ”สุขภาพ” เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน และเพื่อประชาชนทุกคน (All for Health and
Health for All) เน้นระบบที่สร้างสุขภาพ มากกว่า การซ่อมสุขภาพ หรือที่พูดกันว่า ”สร้างนำซ่อม”
ในการกำหนดกรอบแนวความคิดของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความหมายของหลักประกันสุขภาพถ้วน
หน้าว่า หมายถึง ”สิทธิของประชาชนคนไทยทุกคนที่จะได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานอย่างเสมอหน้า ด้วยเกียรติ
ศักดิ์ศรี ที่เท่าเทียมกัน โดยที่ภาระด้านค่าใช้จ่ายไม่เป็นอุปสรรคที่จะได้รับสิทธินั้น” จากกรอบแนวคิดตามหลักการ
และเหตุผลดังกล่าว สำนักงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ดังนี้ ”ประชาชนไทยทุก
คน มีหลักประกันสุขภาพ ที่ได้มาตรฐาน และเสมอภาค”
4 การดำเนินงานตามโครงการ
กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจในการสร้างหลักประกันสุขภาพ ได้มีการทดลองดำเนินการในปี 2544
เป็น 2 ระยะ ในระยะที่1 ทดลองดำเนินการในพื้นที่จังหวัดพะเยา นครสรรค์ ยโสธร ปทุมธานี สมุทรสาคร และ
ยะลา รวม 6 จังหวัด มีโรงพยาบาลภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเข้าร่วมโครงการ และในระยะที่ 2 ได้
ดำเนินการเต็มรูปแบบในพื้นที่ 15 จังหวัด จังหวัดคือ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี นครราชสีมา สุรินทร์
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ นราธิวาส ต่อมาในปี
2545 ได้ขยายการดำเนินงานไปยังทุกจังหวัดและใช้วิธีดำเนินการเต็มรูปแบบเช่นเดียวกับระยะที่ 2 ทั้งนี้ให้ แต่ละ
จังหวัดประเมินตนเองในเรื่องของความพร้อม และเตรียมการรองรับการดำเนินการ สำนักงานประกันคุณภาพ
กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นองค์การบริหารระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในส่วนกลาง จะมีบทบาทหน้าที่ในการ
กำหนดรูปแบบวิธีการในการขึ้นทะเบียนและออกบัตร การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารจัดการโครงการภายใต้
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ และคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ สำหรับในส่วนของ
จังหวัด จะมีคณะกรรมการเพื่อดำเนินการในพื้นที่ประกอบด้วยหน่วยงานของรัฐ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้
แทนฝ่ายวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนประชาชนหรือภาคประชาสังคม โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพ
ของพื้นที่ให้สอดคล้องกับนโยบาย จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ และจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพให้แก่
หน่วยบริการตามกรอบนโยบายที่กำหนด เนื่องจากระบบการบริหารจัดการงบประมาณภายใต้โครงการ 30 บาท ใช้
วิธีการจัดสรรเงินตามรายหัวประชากรที่มีสิทธิโดยใช้เลข 13 หลักตามบัตรประจำตัวประชาชน ในการนี้
ทางกระทรวงมหาดไทยจะได้เร่งดำเนินการออกบัตรให้ครอบคลุมชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่ประมาณ 479,461 คน ซึ่งคาด
ว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือนตุลาคม 2545 อย่างไรก็ตามจะมีการพิจารณาให้สิทธิในกลุ่มประชาชนคนไทยก่อน โดย
แก้ไขคนไทยที่ไม่มีหลักฐานทางราชการ เช่น นักโทษในเรือนจำ คนที่ตกสำรวจในปี 2499 พระภิกษุ คนในสลัมทั้ง
ในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ชาวเล อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่ ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยจะจัดหน่วยงานบริการเฉพาะ
กิจ ออกไปทำหลักฐานทางราชการที่ถูกต้องให้กับคนไทยเหล่านี้ก่อน
นอกจากกำหนดโครงสร้างองค์กรเพื่อการบริหารแล้ว ยังได้กำหนดรูปแบบของเครือข่ายโดยยึดหลัก
การในการทำให้เกิดบริการและคุณภาพกระจายอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ บูรณาการ ลดปัญหาการให้บริการที่ซ้ำ
ซ้อน เน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง เป็น
ต้น ส่วนการจัดหน่วยบริการจะเน้นถึงตัวบุคลากร ด้านการจัดการ ด้านอุปกรณ์ อาคาร และสถานที่ มีการกำหนด
ลักษณะของการจัดเครือข่าย นอกจากนี้ก็ยังมีการกำหนดมาตรฐานสถานบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ประกอบด้วยบริการ 3 ระดับ ได้แก่ บริการขั้นปฐมภูมิ บริการขั้นทุติยภูมิ และบริการขั้นตติยภูมิ โดยกำหนด
มาตรฐานการบริการขั้นต่ำของทั้ง 3 ระดับ
กลุ่มเป้าหมายของผู้มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องไม่เป็นข้าราชการพลเรือนหรือบุคคลใน
ครอบครัวที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิประกันสังคม อย่างไรก็ตามผู้มีสิทธิ
บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ประเภทไม่เสียค่าธรรมเนียม และประเภทเสียค่า
ธรรมเนียม ซึ่งประเภทหลังนี้เป็นกลุ่มที่ใช้บริการในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคอย่างแท้จริง
ในการขึ้นทะเบียนและออกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะมีการคัดกรองคุณสมบัติของผู้มีสิทธิตาม
กำหนดด้วยการสำรวจและแจ้งสิทธิ ในการนี้จะยึดฐานข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์
นอกจากที่กล่าวมาแล้วการดำเนินการที่ผ่านมายังให้มีการประชาสัมพันธ์และการรับเรื่องราวร้อง
ทุกข์ มีการกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ และให้มีการรายงานผลการให้บริการ
สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาดังกล่าวข้างต้นนั้น เนื่องจากโครงการนี้เพิ่งดำเนินการ ดังนั้นทางสำนัก
งานประกันสุขภาพจึงได้จัดทำเป็น ”คู่มือการดำเนินงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการ
ปฏิบัติงานมีความเข้าใจตรง อย่างไรก็ตามจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจากการสืบค้นข้อมูล พบว่ายังไม่
มีหน่วยงานใดที่ทำการประเมินผลการดำเนินการโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นสิ่งที่นำเสนอข้างต้นจึงไม่ใช่
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่จะเป็นแนวทางที่กำหนดในการดำเนินการ
ข้อมูลจำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด
จากภาพรวมจากการเปรียบเทียบจำนวนประชากรตามสิทธิของเดือนพฤษภาคม 2545 ถึงเดือน
มิถุนายน 2546 พบว่าในระดับประเทศมีประชากรตามสิทธิเพิ่มจาก 61,047,466 คน เป็น 62,358,248 คน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในจำนวนนี้มีประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมจาก 23,943,329 คน
เป็น 24,640,959 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียมจาก
20,912,478 คน เป็น 26,724,054 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ดังตารางที่ 2.1
ตารางที่ 2.1 จำนวนประชากรตามสิทธิ์งบประมาณและจำนวนสถานพยาบาลจำแนกตามภูมิภาค
-1 -2 -3 -4 -5 -6
ภาค ประชากรตามสิทธิ์ (คน) สิทธิ์ไม่เสียค่าธรรมเนียม (คน) สิทธิ์แบบเสียค่าธรรมเนียม (คน) งบประมาณจัดสรร (บาท) สถานพยาบาล (แห่ง)
กลาง 15,338,053 4,564,743 5,665,762 804,330,206 232
ตะวันออก 4,188,969 1,494,782 1,404,010 258,907,575 78
ตะวันออก 21,430,588 9,914,503 6,638,180 1,427,119,864 318
เฉียงเหนือ
เหนือ 12,104,805 5,198,024 3,811,289 784,637,270 220
ใต้ 8,356,916 3,468,907 9,204,813 549,057,276 159
Error 736,764 NA NA
ค่าว่าง 202,153 NA NA
รวม 62,358,248 24,640,959 20,971,651 3,824,052,191 1,007
ที่มา : จากรายงานของสำนักประกันคุณภาพ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ สดมภ์ (2) เป็นข้อมูลของเดือนมิถุนายน 2546
สดมภ์ (3) (4) และ (6) เป็นข้อมูลของเดือนพฤษภาคม 2546
สดมภ์ (5) งบประมาณจัดสรรเดือนตุลาคม 2545 — มกราคม 2546
(รวม 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ)
Error หมายถึง ผู้ที่ไม่สามารถถูกระบุได้ว่ามีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดใด หรือโซนใดในกรุงเทพฯ
ค่าว่าง หมายถึง ผู้ไม่มีสิทธิ์ใดๆ เป็นกลุ่มของประชาชนที่ยังไม่มาขอรับสิทธิ
ภาพรวมจากการเปรียบเทียบจำนวนประชากรตามสิทธิของเดือนพฤษภาคม 2545 ถึงเดือน
มิถุนายน 2546 พบว่าในระดับประเทศมีประชากรตามสิทธิเพิ่มจาก 61,047,466 คน เป็น 62,358,248 คน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในจำนวนนี้มีประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมจาก 23,943,329 คน
เป็น 24,640,959 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ประชากรที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียมจาก
20,912,478 คน เป็น 20,971,651 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 และประชากรที่ยังไม่มาขอใช้สิทธิจาก 736,764
คน เป็น 202,153 คน ลดลงร้อยละ 95 แม้จะได้มีการรายงานตัวเลขจำนวนประชากรตามสิทธิมาแล้ว แต่ถ้า
พิจารณาตัวเลขที่รายงานนับว่ามีความน่าเชื่อถือเนื่องจากเห็นได้ชัดว่าสิทธิ์ประกันสุขภาพประเภทต่างๆ มีจำนวนลด
ลงเกือบทุกประเภท และมาเพิ่มในส่วนที่เป็นสิทธิ์ประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม และแบบเสียค่า
ธรรมเนียม 30 บาทต่อครั้ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างแท้จริง
5 ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายมุ่งให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า แต่ยังมี
ประชากรบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ เช่น นักโทษในเรือนจำ คนที่ตกสำรวจ พระภิกษุ ผู้ที่อาศัยอยู่ใน
สลัม ชาวเล ชาวเกาะ เป็นต้น แนวทางแก้ไขสำหรับกรณีเช่นนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานขอความร่วมมือ
จากกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ดูแลคนไทยก่อนชนกลุ่มน้อย
ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการบริหารโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค นั้นมีนักวิชาการ
บางท่านตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขของประชากรที่เข้าข่าย 30 บาท รักษาทุกโรค ยังไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริงเป็นการคาด
เดาบนพื้นฐานข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ โครงการนี้มีต้นทุน ซึ่งต้องใช้เงินของประชาชน อาจต้องมีการเพิ่มภาษีจาก
ประชาชน ในทางกฎหมายก็นับว่ามี ช่องโหว่เปิดช่องให้เกิดการรั่วไหลของงบประมาณ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ทำให้ผู้
ปฏิบัติทำงานได้ลำบาก ทั้งด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ และการขาดแคลนบุคลากร
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในด้านกฎหมายก็คือพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นธรรมนูญใหม่ยังไม่ออกมา
เป็นกฎหมาย ซึ่ง พรบ. นี้ เป็นกฎหมายแม่ที่เน้นในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพเป็นสำคัญ จะเป็นตัวนำหลัก
ประกันสุขภาพที่หมายถึงการซ่อมแซมสุขภาพ นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงการควบคุมโรค แต่พบว่า พรบ. หลักประกัน
สุขภาพ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ได้ออกมาก่อน พรบ. หลักประกันสุขภาพนับเป็นกฎหมายฉบับที่ 2 ที่ประชาชน
จำนวน 50,000 คน เข้าชื่อและผลักดันให้เกิดขึ้นตามมาตรา 170 อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่กว้างขวาง
เท่า พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ ต้องมีกฎหมายลูกมารองรับ ซึ่งก็ได้แก่
กฎหมายประกันสุขภาพถ้วนหน้า กฎหมายปฏิรูประบบราชการ และการกระจายอำนาจ กฎหมายนี้ต้องการให้
ประชาชนเข้าใจแนวคิดในเรื่องของการประกันสุขภาพว่าเป็นสิทธิของประชาชนในการกำหนดนโยบาย เป็นความ
ต้องการให้พลังประชาคมทุกส่วน เครือข่ายทุกข่าย เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นทุนของสังคมที่จะขับเคลื่อนไปสู่ภาวะ
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย เน้นการสร้างความรู้ เชื่อมประสาน และการมีส่วนร่วมของสังคม เพราะต้องการส่ง
ผลในแง่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนคนไทย การทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายสำคัญนี้ และทำให้เป็น
จริงได้นับเป็นเรื่องยาก วิธีการที่รัฐบาลที่นำมาใช้เพื่อให้สามารถออกกฎหมายสำคัญนี้ได้ก็คือ เริ่มจากการ
ร่างกรอบ ระดมความคิดเห็น จากนั้นก็ร่างแนวคิด แล้วจึงร่าง พรบ. เมื่อได้ร่าง พรบ. เสร็จแล้ว ได้ให้ทุก
อำเภอแสดงความคิดเห็น และจัดสมัชชาระดับจังหวัดทุกจังหวัดซึ่งเพิ่งจะเสร็จสิ้นไป นำข้อคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ ที่
รวบรวมไว้ทั้งหมดมาสังเคราะห์ และนำมาในเวทีสมัชชาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม 2545 ที่ศูนย์ประชุมไบเท
ค โดยวันที่ 8 จะเป็นการเปิดสมัชชาเฉพาะประเด็น และวันที่ 9 เป็นการปิดสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นการรับฟัง
ครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะยกร่าง พรบ. รัฐบาลคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในการออกกฎหมายเนื่องจากเวทีสมัชชาจะเป็น
เวทีที่ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไข
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-