แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
5.3 การประมาณการเศรษฐกิจในกรณีสูง
การประมาณการเศรษฐกิจในกรณีสูง ซึ่งอยู่ในด้านสูงของช่วง ประมาณการถือเป็นเป้าหมายที่สามารถ
บรรลุได้โดยจะต้องมี การดำเนินนโยบายที่สำคัญได้แก่
(1) เร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้อนุมัติเพิ่มเติม 50,000 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายได้ทันในปีงบ
ประมาณ 2548 นี้ โดยที่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพและความ โปร่งใสของรายจ่ายงบประมาณ การเร่งรัด
การใช้จ่าย ของรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นรายได้และการขยายตัว
ของ เศรษฐกิจฐานราก
(2) เร่งรัดการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการเตรียม ความพร้อมและเริ่มลงทุนโครงการ
ขนาดใหญ่
(3) เร่งรัดมาตรการเพื่อฟื้นฟูการก่อสร้างหลังเกิดธรณีพิบัติ ภัย โดยจะต้องให้เป้าหมายระยะการ
ดำเนินงานทั้งใน ด้านการจัดระเบียบ การวางผังเมือง และการสนับสนุน ด้านสินเชื่อมีความสอดคล้องกัน
(4) ควบคุมการระบาดของไข้หวัดนก และเร่งรัดการส่งออกไก่สุก
(5) เร่งรัดการผลิตแก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน
(6) ทยอยขึ้นราคาน้ำมันดีเซล เพื่อให้สะท้อนต้นทุนแท้จริง มากขึ้น แต่การปรับราคาควรดำเนินการ
อย่างค่อยเป็น ค่อยไป โดยเริ่มปรับเล็กน้อยและติดตามแนวโน้ม เศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศไประยะหนึ่ง และ
เร่งรัด มาตรการของรัฐบาลที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อประชาชน นอกจากนั้นควร
ดู แลไม่ให้ผู้ผลิตขึ้นราคาเกินการเพิ่มขึ้นของต้นทุน โดย คำนึงถึงต้นทุนทุกอย่าง เช่น ต้นทุนการนำเข้าที่อาจลด ลงใน
ช่วงค่าเงินบาทแข็ง และการใช้กำลังการผลิตที่สูง ขึ้นซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยลดลง เป็นต้น
(7) การดำเนินนโยบายการเงิน ที่สนับสนุนการขยายตัวของ เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
5.4 การประมาณการเศรษฐกิจรายสาขา เป็นดังนี้
(1) การใช้จ่ายของครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.6
ในปี 2547 จากผล กระทบของราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภค ที่ลดลง
(2) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.7 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 15.3 ในปี
2547 เล็กน้อย และเป็นการปรับเพิ่มจากการประมาณการเดิม จากการ ลงทุนภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นในการฟื้นฟูจาก
ความเสีย หายของภาคธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร อาคารบ้านเรือน และอาคารพาณิชย์ ในขณะที่ข้อมูลการลงทุนภาค
เอกชน ในไตรสุดท้ายปี 2547 แสดงว่าแนวโน้มของการลงทุนยัง ดีกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนความเชื่อมั่น
ของ นักลงทุนทั้งต่างชาติและไทยว่าการชะลอตัวของความ ต้องการสินค้าทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศจะ
ไม่รุนแรง
(3) การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 สูงกว่าร้อยละ 11.7 ในปี 2547 ตาม
แผนการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐานที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้บางส่วน ภายในปี 2548 และการลงทุนอีกบางส่วน
ที่จะใช้จากงบ ประมาณกลางปี 50,000 ล้านบาท รวมทั้งการเร่งดำเนิน การในส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิให้แล้ว
เสร็จตามที่ กำหนดไว้เดิม สำหรับการประมาณการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่ เท่ากับร้อยละ 8.6 ซึ่งสูงกว่าที่
ประมาณการ เดิมจากการใช้จ่ายในการฟื้นฟูจากความเสียหายจาก ธรณีพิบัติภัย
(4) การส่งออกสินค้าและบริการ ปริมาณการส่งออกสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ต่ำกว่าร้อยละ 7.0
ในปี 2547 เล็ก น้อย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปริมาณการส่งออก บริการยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแม้ว่าการท่อง
เที่ยวจะได้รับ ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย โดยคาดว่าจำนวนนักท่อง เที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.0 จาก
ปี 2547
การส่งออกสินค้าจะมีมูลค่า 110.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 14.8 หรือมีมูลค่าประมาณ
4,251.1 พันล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 สำหรับปริมาณการส่งออกสิน ค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อย
ละ 5.9 ปรับลด ลงจากการประมาณการเดิม จากการปรับลดการ ประมาณการปริมาณการส่งออกและการส่ง
ออกบริการ และต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปี 2547
(5) การนำเข้าสินค้าและบริการ การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 113.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 20.2 โดยที่ ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ชะลอลงกว่าการ ขยายตัวร้อยละ 12.1 ในปี 2547
เล็กน้อย แม้ว่าการลง ทุนภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจจะขยายตัวเร็วกว่าในปี 2547 ภายใต้ข้อสมมุติฐานการดำเนิน
มาตรการในการดู แลด้านการนำเข้ามากขึ้น และราคาสินค้านำเข้าในรูปเงิน ดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10 ซึ่งเป็นการปรับ เพิ่มเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มราคาสิน ค้านำเข้าและส่งออกของสินค้าใน
หมวดต่าง ๆ ยังเพิ่มขึ้น มากตลอดช่วงปลายปี 2547 เมื่อคิดเป็นเงินบาทการนำ เข้าสินค้ามีมูลค่าเท่ากับ 4,367.7
พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย ละ 14.9 จากปี 2547
การนำเข้าบริการ ณ ราคาคงที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากค่า ใช้จ่ายคนไทยเดินทางไปเที่ยวในต่าง
ประเทศ และค่าใช้ จ่ายในการขนส่งสินค้าและค่าประกันภัย รวมทั้งการส่ง กลับผลประกอบการของบริษัทต่างชาติ ดัง
นั้นปริมาณ การนำเข้าสินค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ ในปี 2548 จึง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ชะลอลงกว่าการ
ขยายตัว ร้อยละ 12.1 ในปี 2547
(6) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้ามีแนวโน้ม ขาดดุลประมาณ 3.2 พันล้านดอลลาร์
สรอ.จากที่เกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 เนื่องจากมูลค่าการ นำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออก
และประเทศเริ่มเสีย เปรียบในด้านราคาสินค้าออกโดยเปรียบเทียบกับราคา สินค้านำเข้า (Term of trade)
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ ด้านการท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มดีขึ้นถ้าการฟื้นฟูความ เสียหายจากธรณีพิบัติภัยดำเนินไปตาม
แผนที่กำหนดไว้ และจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในฤดูการท่องเที่ยวใน ช่วงปลายปี ซึ่งจะทำให้ดุลบริการและเงินโอน
รวมกันเกิน ดุลประมาณ 5.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่า 5.6 พัน ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 เล็กน้อย ซึ่ง
สามารถชด เชยการขาดดุลการค้าได้และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยัง คงเกินดุลประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ซึ่งเทียบ เท่ากับร้อยละ 1.0 ของ GDP แต่ลดลงมากเมื่อเปรียบ เทียบกับการเกินดุล 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
คิดเป็น ร้อยละ 4.5 ของ GDP ในปี 2547
(7) อัตราเงินเฟ้อ เท่ากับร้อยละ 3.0-3.2 สูงกว่าอัตราเงิน เฟ้อร้อยละ 2.7 ในปี 2547 เนื่อง
จากราคาสินค้าที่ปรับ เพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าจ้าง เงิน เดือนที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยที่ราคาผู้ผลิตที่
เพิ่มสูงขึ้นในปี 2547 จะส่งผลต่อเนื่องต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2548 และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากเป็น
หมวดอาหารและ เครื่องดื่ม และราคาหมวดขนส่ง
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548
2546 2547 ณ ธ.ค. 47 ณ มี.ค. 48
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,930.4 6,576.0 7,130.1 7,198.8
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.9 6.1 5.5-6.5 5.5 - 6.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 11.9 14.4 12.2 15.6
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.5 15.3 13.0 15.7
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.8 11.7 10.0 15.3
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.4 5.7 5.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.6 5.5 5.3
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.0 4.1 7.0 8.6
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 7.8 6.4 5.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 107.4 110.3
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23.0 11.8 14.8
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 7.0 5.8 5.5
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.7 12.1 8.4 9.4
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 94.4 107.7 113.4
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.9 15.5 20.2
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.7 12.1 9.5 10.2
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.7 -0.4 -3.2
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 7.3 6.4 1.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.5 3.4 1.0
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 2.9-3.2 3.0-3.2
GDP Deflator 1.9 4.6 3.5 3.6
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การประมาณการเศรษฐกิจในกรณีสูง ซึ่งอยู่ในด้านสูงของช่วง ประมาณการถือเป็นเป้าหมายที่สามารถ
บรรลุได้โดยจะต้องมี การดำเนินนโยบายที่สำคัญได้แก่
(1) เร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้อนุมัติเพิ่มเติม 50,000 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายได้ทันในปีงบ
ประมาณ 2548 นี้ โดยที่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพและความ โปร่งใสของรายจ่ายงบประมาณ การเร่งรัด
การใช้จ่าย ของรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นรายได้และการขยายตัว
ของ เศรษฐกิจฐานราก
(2) เร่งรัดการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการเตรียม ความพร้อมและเริ่มลงทุนโครงการ
ขนาดใหญ่
(3) เร่งรัดมาตรการเพื่อฟื้นฟูการก่อสร้างหลังเกิดธรณีพิบัติ ภัย โดยจะต้องให้เป้าหมายระยะการ
ดำเนินงานทั้งใน ด้านการจัดระเบียบ การวางผังเมือง และการสนับสนุน ด้านสินเชื่อมีความสอดคล้องกัน
(4) ควบคุมการระบาดของไข้หวัดนก และเร่งรัดการส่งออกไก่สุก
(5) เร่งรัดการผลิตแก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน
(6) ทยอยขึ้นราคาน้ำมันดีเซล เพื่อให้สะท้อนต้นทุนแท้จริง มากขึ้น แต่การปรับราคาควรดำเนินการ
อย่างค่อยเป็น ค่อยไป โดยเริ่มปรับเล็กน้อยและติดตามแนวโน้ม เศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศไประยะหนึ่ง และ
เร่งรัด มาตรการของรัฐบาลที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อประชาชน นอกจากนั้นควร
ดู แลไม่ให้ผู้ผลิตขึ้นราคาเกินการเพิ่มขึ้นของต้นทุน โดย คำนึงถึงต้นทุนทุกอย่าง เช่น ต้นทุนการนำเข้าที่อาจลด ลงใน
ช่วงค่าเงินบาทแข็ง และการใช้กำลังการผลิตที่สูง ขึ้นซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยลดลง เป็นต้น
(7) การดำเนินนโยบายการเงิน ที่สนับสนุนการขยายตัวของ เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
5.4 การประมาณการเศรษฐกิจรายสาขา เป็นดังนี้
(1) การใช้จ่ายของครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.6
ในปี 2547 จากผล กระทบของราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภค ที่ลดลง
(2) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.7 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 15.3 ในปี
2547 เล็กน้อย และเป็นการปรับเพิ่มจากการประมาณการเดิม จากการ ลงทุนภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นในการฟื้นฟูจาก
ความเสีย หายของภาคธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร อาคารบ้านเรือน และอาคารพาณิชย์ ในขณะที่ข้อมูลการลงทุนภาค
เอกชน ในไตรสุดท้ายปี 2547 แสดงว่าแนวโน้มของการลงทุนยัง ดีกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนความเชื่อมั่น
ของ นักลงทุนทั้งต่างชาติและไทยว่าการชะลอตัวของความ ต้องการสินค้าทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศจะ
ไม่รุนแรง
(3) การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 สูงกว่าร้อยละ 11.7 ในปี 2547 ตาม
แผนการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐานที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้บางส่วน ภายในปี 2548 และการลงทุนอีกบางส่วน
ที่จะใช้จากงบ ประมาณกลางปี 50,000 ล้านบาท รวมทั้งการเร่งดำเนิน การในส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิให้แล้ว
เสร็จตามที่ กำหนดไว้เดิม สำหรับการประมาณการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่ เท่ากับร้อยละ 8.6 ซึ่งสูงกว่าที่
ประมาณการ เดิมจากการใช้จ่ายในการฟื้นฟูจากความเสียหายจาก ธรณีพิบัติภัย
(4) การส่งออกสินค้าและบริการ ปริมาณการส่งออกสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ต่ำกว่าร้อยละ 7.0
ในปี 2547 เล็ก น้อย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปริมาณการส่งออก บริการยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแม้ว่าการท่อง
เที่ยวจะได้รับ ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย โดยคาดว่าจำนวนนักท่อง เที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.0 จาก
ปี 2547
การส่งออกสินค้าจะมีมูลค่า 110.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 14.8 หรือมีมูลค่าประมาณ
4,251.1 พันล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 สำหรับปริมาณการส่งออกสิน ค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อย
ละ 5.9 ปรับลด ลงจากการประมาณการเดิม จากการปรับลดการ ประมาณการปริมาณการส่งออกและการส่ง
ออกบริการ และต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปี 2547
(5) การนำเข้าสินค้าและบริการ การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 113.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 20.2 โดยที่ ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ชะลอลงกว่าการ ขยายตัวร้อยละ 12.1 ในปี 2547
เล็กน้อย แม้ว่าการลง ทุนภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจจะขยายตัวเร็วกว่าในปี 2547 ภายใต้ข้อสมมุติฐานการดำเนิน
มาตรการในการดู แลด้านการนำเข้ามากขึ้น และราคาสินค้านำเข้าในรูปเงิน ดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10 ซึ่งเป็นการปรับ เพิ่มเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มราคาสิน ค้านำเข้าและส่งออกของสินค้าใน
หมวดต่าง ๆ ยังเพิ่มขึ้น มากตลอดช่วงปลายปี 2547 เมื่อคิดเป็นเงินบาทการนำ เข้าสินค้ามีมูลค่าเท่ากับ 4,367.7
พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย ละ 14.9 จากปี 2547
การนำเข้าบริการ ณ ราคาคงที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากค่า ใช้จ่ายคนไทยเดินทางไปเที่ยวในต่าง
ประเทศ และค่าใช้ จ่ายในการขนส่งสินค้าและค่าประกันภัย รวมทั้งการส่ง กลับผลประกอบการของบริษัทต่างชาติ ดัง
นั้นปริมาณ การนำเข้าสินค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ ในปี 2548 จึง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ชะลอลงกว่าการ
ขยายตัว ร้อยละ 12.1 ในปี 2547
(6) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้ามีแนวโน้ม ขาดดุลประมาณ 3.2 พันล้านดอลลาร์
สรอ.จากที่เกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 เนื่องจากมูลค่าการ นำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออก
และประเทศเริ่มเสีย เปรียบในด้านราคาสินค้าออกโดยเปรียบเทียบกับราคา สินค้านำเข้า (Term of trade)
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ ด้านการท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มดีขึ้นถ้าการฟื้นฟูความ เสียหายจากธรณีพิบัติภัยดำเนินไปตาม
แผนที่กำหนดไว้ และจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในฤดูการท่องเที่ยวใน ช่วงปลายปี ซึ่งจะทำให้ดุลบริการและเงินโอน
รวมกันเกิน ดุลประมาณ 5.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่า 5.6 พัน ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 เล็กน้อย ซึ่ง
สามารถชด เชยการขาดดุลการค้าได้และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยัง คงเกินดุลประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ซึ่งเทียบ เท่ากับร้อยละ 1.0 ของ GDP แต่ลดลงมากเมื่อเปรียบ เทียบกับการเกินดุล 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
คิดเป็น ร้อยละ 4.5 ของ GDP ในปี 2547
(7) อัตราเงินเฟ้อ เท่ากับร้อยละ 3.0-3.2 สูงกว่าอัตราเงิน เฟ้อร้อยละ 2.7 ในปี 2547 เนื่อง
จากราคาสินค้าที่ปรับ เพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าจ้าง เงิน เดือนที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยที่ราคาผู้ผลิตที่
เพิ่มสูงขึ้นในปี 2547 จะส่งผลต่อเนื่องต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2548 และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากเป็น
หมวดอาหารและ เครื่องดื่ม และราคาหมวดขนส่ง
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548
2546 2547 ณ ธ.ค. 47 ณ มี.ค. 48
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,930.4 6,576.0 7,130.1 7,198.8
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.9 6.1 5.5-6.5 5.5 - 6.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 11.9 14.4 12.2 15.6
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.5 15.3 13.0 15.7
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.8 11.7 10.0 15.3
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.4 5.7 5.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.6 5.5 5.3
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.0 4.1 7.0 8.6
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 7.8 6.4 5.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 107.4 110.3
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23.0 11.8 14.8
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 7.0 5.8 5.5
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.7 12.1 8.4 9.4
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 94.4 107.7 113.4
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.9 15.5 20.2
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.7 12.1 9.5 10.2
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.7 -0.4 -3.2
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 7.3 6.4 1.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.5 3.4 1.0
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 2.9-3.2 3.0-3.2
GDP Deflator 1.9 4.6 3.5 3.6
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-