-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารพาณิชย์ลดความต้องการลงทุนลง และมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปรับลดลงในพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
-เงินบาทในวันจันทร์ปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินเยน ก่อนจะค่อนข้างทรงตัวในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงปรับฐาน และนักลงทุนชะลอการทำธุรกรรม ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี โดยเฉพาะการปรับสูงขึ้นของตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองเพิ่มขึ้น จึงลดการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นลง และบางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยความต้องการกู้ยืมและความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสมดุล อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6875 3.75 และ 3.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.78125 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ สำหรับ
อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 - 3.78 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท แต่เนื่องจาก Range ของอัตราผลตอบแทนต่ำสุดและสูงสุดที่ เสนอประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน ค่อนข้างกว้าง จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน เพียง 3,460 ล้านบาท ทำให้มีตราสารภาครัฐออกใหม่ทั้งสิ้น 21,960 ล้านบาท โดยตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ส่วนพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน อัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง และใน
สัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 1,960 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 58,925 ล้านบาท คิดเป็น 11,785 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 59 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-15 basis points เนื่องจากยังมีการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีก 11-30 basis points เนื่องจากตลาดได้ตอบรับเรื่องอัตราดอกเบี้ย (Price in) มาพอสมควรแล้ว เช่นเดียวกับผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่ปรับตัวลดลง ซึ่งการปรับตัวลดลงของ
อัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 103 และ 53 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับพันธบัตรไทย โดยพันธบัตร ฯ อายุต่ำกว่า 1 ปีมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ลดลงในพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 48 40.87
เฉลี่ย 7-11 พ.ย. 48 41.05
14 พ.ย. 48 41.08
15 พ.ย. 48 41.14
16 พ.ย. 48 41.14
17 พ.ย. 48 41.14
18 พ.ย. 48 41.14
เฉลี่ย 14-18 พ.ย. 48 41.12
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในวันจันทร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามทิศทางค่าเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงเนื่องจากมีเงินทุนไหลออกจากญี่ปุ่นเพื่อซื้อพันธบัตรต่างประเทศในระดับสูง ประกอบกับเงินบาทถูกกดดันจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวที่ประมาณ 41.14 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเป็นช่วงปรับฐาน และนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการทำธุรกรรมหลังจากศาลปกครองระงับการกระจายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าแสนล้านดอลลาร์ สรอ. และสามารถชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ในเดือนเดียวกันได้ นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ของสหรัฐฯ ยังคงออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป อันจะทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ กว้างขึ้นไปอีก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปรับลดลงในพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
-เงินบาทในวันจันทร์ปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินเยน ก่อนจะค่อนข้างทรงตัวในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงปรับฐาน และนักลงทุนชะลอการทำธุรกรรม ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี โดยเฉพาะการปรับสูงขึ้นของตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองเพิ่มขึ้น จึงลดการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นลง และบางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยความต้องการกู้ยืมและความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสมดุล อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6875 3.75 และ 3.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.78125 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ สำหรับ
อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 - 3.78 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท แต่เนื่องจาก Range ของอัตราผลตอบแทนต่ำสุดและสูงสุดที่ เสนอประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน ค่อนข้างกว้าง จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน เพียง 3,460 ล้านบาท ทำให้มีตราสารภาครัฐออกใหม่ทั้งสิ้น 21,960 ล้านบาท โดยตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ส่วนพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน อัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง และใน
สัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 1,960 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 58,925 ล้านบาท คิดเป็น 11,785 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 59 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-15 basis points เนื่องจากยังมีการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีก 11-30 basis points เนื่องจากตลาดได้ตอบรับเรื่องอัตราดอกเบี้ย (Price in) มาพอสมควรแล้ว เช่นเดียวกับผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่ปรับตัวลดลง ซึ่งการปรับตัวลดลงของ
อัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 103 และ 53 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับพันธบัตรไทย โดยพันธบัตร ฯ อายุต่ำกว่า 1 ปีมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ลดลงในพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 48 40.87
เฉลี่ย 7-11 พ.ย. 48 41.05
14 พ.ย. 48 41.08
15 พ.ย. 48 41.14
16 พ.ย. 48 41.14
17 พ.ย. 48 41.14
18 พ.ย. 48 41.14
เฉลี่ย 14-18 พ.ย. 48 41.12
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในวันจันทร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามทิศทางค่าเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงเนื่องจากมีเงินทุนไหลออกจากญี่ปุ่นเพื่อซื้อพันธบัตรต่างประเทศในระดับสูง ประกอบกับเงินบาทถูกกดดันจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวที่ประมาณ 41.14 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเป็นช่วงปรับฐาน และนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการทำธุรกรรมหลังจากศาลปกครองระงับการกระจายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าแสนล้านดอลลาร์ สรอ. และสามารถชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ในเดือนเดียวกันได้ นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ของสหรัฐฯ ยังคงออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป อันจะทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ กว้างขึ้นไปอีก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-