เมื่อเร็วๆ นี้นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการสัมมนา ระดมความคิด-ร่วมจัดทำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า โครงการสัมมนานี้เป็นโครงการที่ สศช. ได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี เพื่อชี้แนะการใช้ศักยภาพของพื้นที่เป็นฐานในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค สร้างความสมดุลของการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความมั่งคั่ง อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในภูมิภาคทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นฐานสนับสนุนการบริหารงานแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด การทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ระดับภาค และเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ ภาคและเมือง
สำหรับข้อเสนอการพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับประเทศ ได้แก่ การเชื่อมโยงพื้นที่ซึ่งอยู่ในแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้ ของประเทศ เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจด้านเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยว ตลอดจนการค้าขายชายแดนได้สนับสนุนและเสริมสร้างบทบาทของประเทศ ให้เป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังเสนอให้เมืองและชุมชนบริเวณแนวการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้พัฒนาสร้างความเข้มแข็งและรักษาสมดุลทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงที่เน้นการพัฒนาระบบราง เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับข้อเสนอการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ประกอบด้วย
- ภาคกลาง จะมีบทบาทเป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะต้องรักษาความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจด่านหน้า โดยเฉพาะในด้านบริการ ด้านเศรษฐกิจ ความรู้ และศูนย์กลางการขนส่ง และโลจิสติกส์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีบทบาทเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงสู่อินโดจีนโดยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวเขตเศรษฐกิจที่เป็นประตูเชื่อมโยงแนวตะวันออก-ตะวันตก(เมาะละแหม่ง-แม่สอด-ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร-สะหวันเขต-ดานัง) และแนวเหนือ-ใต้ (แหลมฉบัง-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย-เวียงจันทร์-คุนหมิง)
- ภาคเหนือ จะเป็นฐานเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวเขตเศรษฐกิจเชื่อมโยงแนวตะวันออก-ตะวันตก จากเมาะละแหม่ง-แม่สอด-ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงมุกดาหาร-สะหวันเขต-ดานัง และแนวเหนือ-ใต้ จากภาคเหนือผ่าน นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย-คุนหมิง
- ภาคใต้ จะเป็นสะพานเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงของประเทศ โดยการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย แนวตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ ระนอง-ชุมพร-ท่าเรือบางสะพาน/พังงา-กระบี่-สุราษฏร์ธานี และสตูล-สงขลา โดยสตูลเชื่อมไปสู่ท่าเรือปีนังและเมดาน
ที่ประชุมได้เห็นชอบกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงการวิเคราะห์บทบาท และมิติเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และกายภาพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งให้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ชัดเจน มีทั้งเขตอนุรักษ์ เขตเมือง และเขตพื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเน้นการพัฒนาเมือง และระบบชุมชน ให้เกิดศูนย์กลาง (Node หรือ Center) ได้ตามระดับของเมืองและชุมชนอย่างสอดคล้องกับศักยภาพ เป็นระบบหลายศูนย์กลาง เน้นโครงข่ายเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพทั้งระบบราง ระบบขนส่งทางน้ำ นอกจากนี้ ยังมีด้านพลังงานกับการพัฒนาเมือง การใช้ทรัพยากรน้ำที่เหมาะสม เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมและชุมชน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การสัมมนาในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความเข้าใจร่วมกันในสาระกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้ความชัดเจน ได้ข้อเสนอแนะและประเด็นสำคัญที่ควรดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงกรอบยุทธศาสตร์ฯ และจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า โครงการสัมมนานี้เป็นโครงการที่ สศช. ได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี เพื่อชี้แนะการใช้ศักยภาพของพื้นที่เป็นฐานในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค สร้างความสมดุลของการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความมั่งคั่ง อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในภูมิภาคทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นฐานสนับสนุนการบริหารงานแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด การทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ระดับภาค และเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ ภาคและเมือง
สำหรับข้อเสนอการพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับประเทศ ได้แก่ การเชื่อมโยงพื้นที่ซึ่งอยู่ในแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้ ของประเทศ เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจด้านเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยว ตลอดจนการค้าขายชายแดนได้สนับสนุนและเสริมสร้างบทบาทของประเทศ ให้เป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังเสนอให้เมืองและชุมชนบริเวณแนวการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้พัฒนาสร้างความเข้มแข็งและรักษาสมดุลทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงที่เน้นการพัฒนาระบบราง เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับข้อเสนอการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ประกอบด้วย
- ภาคกลาง จะมีบทบาทเป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะต้องรักษาความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจด่านหน้า โดยเฉพาะในด้านบริการ ด้านเศรษฐกิจ ความรู้ และศูนย์กลางการขนส่ง และโลจิสติกส์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีบทบาทเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงสู่อินโดจีนโดยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวเขตเศรษฐกิจที่เป็นประตูเชื่อมโยงแนวตะวันออก-ตะวันตก(เมาะละแหม่ง-แม่สอด-ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร-สะหวันเขต-ดานัง) และแนวเหนือ-ใต้ (แหลมฉบัง-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย-เวียงจันทร์-คุนหมิง)
- ภาคเหนือ จะเป็นฐานเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวเขตเศรษฐกิจเชื่อมโยงแนวตะวันออก-ตะวันตก จากเมาะละแหม่ง-แม่สอด-ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงมุกดาหาร-สะหวันเขต-ดานัง และแนวเหนือ-ใต้ จากภาคเหนือผ่าน นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย-คุนหมิง
- ภาคใต้ จะเป็นสะพานเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงของประเทศ โดยการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย แนวตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ ระนอง-ชุมพร-ท่าเรือบางสะพาน/พังงา-กระบี่-สุราษฏร์ธานี และสตูล-สงขลา โดยสตูลเชื่อมไปสู่ท่าเรือปีนังและเมดาน
ที่ประชุมได้เห็นชอบกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงการวิเคราะห์บทบาท และมิติเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และกายภาพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งให้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ชัดเจน มีทั้งเขตอนุรักษ์ เขตเมือง และเขตพื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเน้นการพัฒนาเมือง และระบบชุมชน ให้เกิดศูนย์กลาง (Node หรือ Center) ได้ตามระดับของเมืองและชุมชนอย่างสอดคล้องกับศักยภาพ เป็นระบบหลายศูนย์กลาง เน้นโครงข่ายเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพทั้งระบบราง ระบบขนส่งทางน้ำ นอกจากนี้ ยังมีด้านพลังงานกับการพัฒนาเมือง การใช้ทรัพยากรน้ำที่เหมาะสม เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมและชุมชน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การสัมมนาในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความเข้าใจร่วมกันในสาระกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้ความชัดเจน ได้ข้อเสนอแนะและประเด็นสำคัญที่ควรดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงกรอบยุทธศาสตร์ฯ และจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-