- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ก่อน ทำให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับตัวลดลง
- เงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และการปรับสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 20 ก.ย.
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์มูลค่ารวม 5 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินเป็นจำนวนมากในระบบธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลง แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 3.1875 3.25 3.25 และ 3.28125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 ต่อปี ขณะที่ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ในวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.1- 3.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.17 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท โดยตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงมาก ตอบรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในสัปดาห์ก่อน และมีการออกพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 4 และ 6 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 15,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,500 ล้านบาท
การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 65,758 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,152 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้น 3-31 basis points ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว จากการที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับลดลงอีก 105 และ 33 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 20 ก.ย. นี้ ทำให้ US Treasury Yield เกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-16 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่ปรับตัวลดลง
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 48 41.15
เฉลี่ย 5 - 9 ก.ย. 48 40.97
12 ก.ย. 48 40.83
13 ก.ย. 48 40.87
14 ก.ย. 48 40.88
15 ก.ย. 48 40.94
16 ก.ย. 48 40.95
เฉลี่ย 12 - 16 ก.ย. 48 40.89
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามการแข็งค่าของเงินเยน ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 11 ก.ย. ที่เป็นไปด้วยดี โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยนำโดยนายกรัฐมนตรีโคอิซูมิชนะการเลือกตั้ง อย่างเป็นเอกฉันท์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินรูเปียที่อ่อนค่าลงเนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับของราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยบวกจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งแสดงนัยว่าความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์พายุ เฮอร์ริเคนจะเป็นปัจจัยชั่วคราว ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมวันที่ 20 ก.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ก่อน และแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ ส่งออกไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ก่อน ทำให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับตัวลดลง
- เงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และการปรับสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 20 ก.ย.
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์มูลค่ารวม 5 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินเป็นจำนวนมากในระบบธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลง แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 3.1875 3.25 3.25 และ 3.28125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 ต่อปี ขณะที่ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ในวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.1- 3.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.17 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท โดยตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงมาก ตอบรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในสัปดาห์ก่อน และมีการออกพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 4 และ 6 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 15,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,500 ล้านบาท
การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 65,758 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,152 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้น 3-31 basis points ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว จากการที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับลดลงอีก 105 และ 33 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 20 ก.ย. นี้ ทำให้ US Treasury Yield เกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-16 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่ปรับตัวลดลง
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 48 41.15
เฉลี่ย 5 - 9 ก.ย. 48 40.97
12 ก.ย. 48 40.83
13 ก.ย. 48 40.87
14 ก.ย. 48 40.88
15 ก.ย. 48 40.94
16 ก.ย. 48 40.95
เฉลี่ย 12 - 16 ก.ย. 48 40.89
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามการแข็งค่าของเงินเยน ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 11 ก.ย. ที่เป็นไปด้วยดี โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยนำโดยนายกรัฐมนตรีโคอิซูมิชนะการเลือกตั้ง อย่างเป็นเอกฉันท์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินรูเปียที่อ่อนค่าลงเนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับของราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยบวกจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งแสดงนัยว่าความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์พายุ เฮอร์ริเคนจะเป็นปัจจัยชั่วคราว ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมวันที่ 20 ก.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ก่อน และแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ ส่งออกไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-