แถลงข่าว วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.30 น.
ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2563 และแนวโน้มปี 2564
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
www.nesdc.go.th
962 ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
NESDC ECONOMIC REPORT
? เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่สาม (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2563 ร้อยละ 1.3 (QoQ_SA)
? ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าลดลงในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัว การส่งออกบริการลดลงต่อเนื่อง ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรมกลับมาขยายตัว ส่วนการผลิตสาขาอุตสาหกรรม สาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาการขายส่ง การขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ลดลงในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่สาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ ลดลงต่อเนื่อง
? รวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยลดลงร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2562 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมลดลงร้อยละ 6.6 ร้อยละ 1.0 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.3 ของ GDP
? แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ? 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ (3) การกลับมาขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน ในประเทศ และ (4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ.จะขยายตัวร้อยละ 5.8 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 5.7 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 ? 2.0 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP
? ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การควบคุม การแพร่ระบาดและการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงภายในประเทศ โดย (i) การดำเนินการ ตามมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และ (ii) การจัดหาและบริหารจัดการวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างรวดเร็วและจัดลำดับความสำคัญโดยคานึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและการรักษาความต่อเนื่องของการผลิตในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศควบคู่ไปกับ การจัดลำดับความสำคัญตามหลักการทางสาธารณสุข (2) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ (3) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องซึ่งการฟื้นตัวยังมีข้อจำกัดจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ รวมทั้งการพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มเติม (4) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรค (ii) การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสินค้าไทยควบคู่ ไปกับการดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่ฐานการผลิตสำคัญอย่างเข้มงวด (iii) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ (iv) การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (v) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า (vi) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญ ๆ เพื่อลดแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาท และ (vii) การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับ (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 ? 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง (ii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (iv) การขับเคลื่อนการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ (v) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง (7) การเตรียมความพร้อมสำหรับ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (8) การเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งและการดูแลรายได้เกษตรกร และ (9) การติดตามและเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ประมาณการเศรษฐกิจ ปี 2564
(%YoY)
2562
2563
2564(f)
ทั้งปี
ทั้งปี
Q3
Q4
ทั้งปี
GDP (CVM)
2.3
-6.1
-6.4
-4.2
2.5 - 3.5
การลงทุนรวม1/
2.0
-4.8
-2.6
-2.5
5.7
ภาคเอกชน
2.7
-8.4
-10.6
-3.3
3.8
ภาครัฐ
0.1
5.7
17.6
0.6
10.7
การบริโภคภาคเอกชน
4.0
-1.0
-0.6
0.9
2.0
การอุปโภคภาครัฐบาล
1.7
0.8
2.5
1.9
5.1
มูลค่าการส่งออกสินค้า2/
-3.3
-6.6
-8.2
-1.5
5.8
ปริมาณ2/
-3.7
-5.9
-7.6
-1.6
3.8
มูลค่าการนำเข้าสินค้า2/
-5.6
-13.5
-19.4
-5.9
6.5
ปริมาณ2/
-5.7
-11.8
-18.1
-5.5
4.0
ดุลบัญชีเดินสะพัด
7.0
3.3
5.3
-0.8
2.3
ต่อ GDP (%)
เงินเฟ้อ
0.7
-0.8
-0.7
-0.4
1.0 - 2.0
หมายเหตุ: 1/ การลงทุนรวม หมายถึง การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น
2/ ฐานข้อมูลดุลการชาระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
15 กุมภาพันธ์ 2564
2
NESDC
Economic Outlook
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ทั้งปี 2563 และแนวโน้มปี 2564
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่สาม ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าลดลงในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัว และการส่งออกบริการลดลงต่อเนื่อง ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรมกลับมาขยายตัว การผลิตสาขาอุตสาหกรรม สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ลดลงในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่สาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ ลดลงต่อเนื่อง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ขยายตัวจากไตรมาสที่สาม ของปี 2563 ร้อยละ 1.3 (QoQ_SA) รวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยลดลงร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2562
1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.7 และร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่สองและที่สาม ตามลำดับ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 7.5 ตามการขยายตัวเร่งขึ้นในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มบริการด้านการศึกษา ร้อยละ 4.9 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย กลุ่มการใช้น้าประปา ไฟฟ้าและพลังงานขยายตัวร้อยละ 1.5 ส่วนการใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคารลดลงต่อเนื่องร้อยละ 58.7 และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 1.1 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.8 ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 9.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 19.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงต่อเนื่องร้อยละ 12.4 การปรับตัวดีขึ้นของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.3 เทียบกับ 43.0 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการ และค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ โดยอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีอยู่ที่ร้อยละ 28.6 (สูงกว่าร้อยละ 22.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อน)
รวมทั้งปี 2563 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.0 และการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 0.8
2) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่สาม โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 3.2 และการลงทุนในสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 3.8 ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 17.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 20.0 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 21.8 อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 11.2 เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสเดียวกัน ของปีงบประมาณก่อน
รวมทั้งปี 2563 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 4.8 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 8.4 ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 5.7
3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 58,095 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 8.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณ การส่งออกลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพาราขยายตัวร้อยละ 25.4 มันสาปะหลังขยายตัวร้อยละ 30.2 ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวร้อยละ 29.8 คอมพิวเตอร์ขยายตัวร้อยละ 2.6 เครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 11.2 รถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 0.5 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 6.1 และปิโตรเคมีขยายตัวร้อยละ 0.5 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ น้าตาลลดลงร้อยละ 67.4 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 11.4 รถกระบะและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 10.9 และเคมีภัณฑ์ลดลงร้อยละ 0.6 การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีน อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง (15) ลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 0.9 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 0.4
รวมทั้งปี 2563 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 226,716 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.6 โดยปริมาณและราคาส่งออกลดลงร้อยละ 5.9 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับ เมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 7,091 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.9 จากปี 2562
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563
เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2563-4.21.305001,0001,5002,0002,5003,0003,5004,0004,5005,000-15.0-10.0-5.00.05.010.0 พันล้านบาท%GDP ณ ราคาประจาปี (แกนขวา)GDP (YoY) (แกน้าย)GDP (QoQ_ปรับ ดูกาล) (แกน้าย)ที่มา: สศช.
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
15 กุมภาพันธ์ 2564
3
NESDC
Economic Outlook
4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาสร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และปริมาณน้าที่เพียงพอต่อ การเพาะปลูก ได้แก่ ข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ไก่เนื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ไข่ไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 มันสาปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เป็นต้น ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น กลุ่มไม้ผลลดลงร้อยละ 22.0 อ้อยลดลงร้อยละ 10.8 ยางพาราลดลงร้อยละ 0.8 และปาล์มน้ามันลดลงร้อยละ 2.7 เป็นต้น และหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 12 ร้อยละ 4.5 ในขณะที่หมวดประมงปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 5.6 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน โดยเฉพาะราคายางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.2 ราคาปาล์มน้ามันเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.4 ราคาสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 และราคากลุ่มไม้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง ได้แก่ ราคาข้าวเปลือกลดลงร้อยละ 10.8 และราคาไก่เนื้อลดลงร้อยละ 9.4 เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ 12.1
รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 3.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.6 ในปี 2562 สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 4.4 ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
5) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.7 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 0.5 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นมากจากการลดลงร้อยละ 23.3 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.22 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.63 ในไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.33 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตน้าตาล ลดลงร้อยละ 43.9 การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ลดลงร้อยละ 17.2 และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 7.7 เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตยานยนต์ ร้อยละ 3.7 การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 6.8 และการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกาเนิดไฟฟ้า ร้อยละ 32.5 เป็นต้น
รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 5.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 8.8 และอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 61.15
6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ปรับตัวลดลงร้อยละ 35.2 ตามการลดลงของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 39.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยในไตรมาสนี้มีรายรับ จากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.159 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 57.1 ในไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการเปิดประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA : STV) ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จานวน 10,822 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.49 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.69 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลงจากร้อยละ 70.71 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 36.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปี 2562 โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มีจานวน 6.70 ล้านคน ลดลงร้อยละ 83.2 รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 0.441 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 76.2 (เป็นข้อมูลจากบัญชีดุลการชาระเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.482 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.4 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 29.51
7) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 21.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 22.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 68.1 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลงร้อยละ 71.0 ในไตรมาสก่อนหน้า บริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงลดลงร้อยละ 12.7 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการขนส่งทางน้าลดลงร้อยละ 4.3 ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 22.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 22.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 27.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.8 ไตรมาสก่อนหน้า
รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 21.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2562 โดยบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงลดลงร้อยละ 19.1 บริการขนส่งทางน้าลดลงร้อยละ 1.1 และบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 59.4 ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 18.2 ขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 20.4
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564
สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ? 3.5 โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (1) แนวโน้มการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ (3) การกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ และ (4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 5.7 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 ? 2.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 4
Economic Outlook NESDC
การบริโภคภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.7 และร้อยละ 0.6
ในไตรมาสที่สองและที่สาม ตามลำดับ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 7.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการขยายตัวเร่งขึ้นในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มบริการด้านการศึกษาที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ
1.7 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย กลุ่มการใช้น้าประปา ไฟฟ้าและพลังงานขยายตัวร้อยละ 1.5
ส่วนการใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคารลดลงต่อเนื่องร้อยละ 58.7 การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน
ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่าย
เพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า
และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 9.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 19.6 ในไตรมาสก่อน
หน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่
การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 12.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 13.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.3 เทียบกับระดับ 43.0 ในไตรมาสก่อนหน้า
รวมทั้งปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2562
การลงทุนภาคเอกชน: ลดลงร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการลดลงในอัตราที่ชะลอลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ในขณะที่การลงทุนในหมวด
ก่อสร้างลดลง โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.9 ใน
ไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 3.8 เทียบกับการ
ลดลงร้อยละ 13.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการจาหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ
และยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และร้อยละ 5.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.6
และร้อยละ 9.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างลดลงร้อยละ 3.8
เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างใน
เขตเทศบาลร้อยละ 7.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีการจาหน่ายวัสดุ
ก่อสร้างในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.6 จากระดับ
45.4 ในไตรมาสก่อนหน้า
รวมทั้งปี 2563 การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 8.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 2562 โดยการ
ลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือและการก่อสร้างลดลงร้อยละ 10.0 และร้อยละ 2.2 เทียบกับการขยายตัว
ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2563 และทั้งปี 2563 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้
ด้านการใช้จ่าย
การบริโภคภาคเอกชน
กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.9
ปรบั ตวั ดขี นึ้ จากการลดลง
ร้อยละ 0.6 ในไตรมาส
ก่อนหน้า
ในไตรมาสที่สี่ของ
ปี 2563 การบริโภค
ภาคเอกชนกลับมา
ขยายตัวอย่างช้า ๆ
ในขณะที่การลงทุน
ภาคเอกชนและ
การส่งออกสินค้าลดลง
ในอัตราที่ชะลอลง
การลงทุนภาคเอกชนลดลง
ร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้น
จากการลดลงร้อยละ 10.6
ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยการลงทุนในหมวด
เครื่องจักรเครื่องมือลดลง
ในอัตราที่ชะลอลง ในขณะ
ที่การลงทุนหมวดก่อสร้าง
ปรับตัวลดลง
40.0
45.0
50.0
55.0
60.0
65.0
70.0
75.0
-8.0
-6.0
-4.0
-2.0
0.0
2.0
4.0
6.0
59 60 61 62 63
%YoY การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนี
การบริโภคภาคเอกชน (แกนซ้าย)
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ (แกนขวา)
ที่มา: สศช. และ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่มา: สศช. ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมธุรกิจพลังงาน
-60.0
-10.0
40.0
-10.0
-5.0
0.0
5.0
10.0
59 60 61 62 63
%YoY
การบริโภคภาคเอกชนและเครื่องชี้ที่สำคัญ
การบริโภคภาคเอกชน (แกนซ้าย)
ดัชนีปริมาณการจาหน่ายน้ามันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ามันดีเซล
ดัชนีปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน
ดัชนีปริมาณการนำเข้าสินค้าหมวดสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม
ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
%YoY
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 5
Economic Outlook NESDC
มูลค่าการส่งออกสินค้าใน
รูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลง
ร้อยละ 1.5 เทียบกับ
การลดลงร้อยละ 8.2
ในไตรมาสก่อนหน้า
สอดคล้องกับการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และ
การขยายตัวของการส่งออก
สินค้าหลายรายการที่ได้รับ
ประโยชน์จากการระบาด
ของโรคโควิด-19 และ
มาตรการกีดกันทางการค้า
เมื่อหักทองคาออกแล้ว
มูลค่าการส่งออกลดลง
ร้อยละ 0.9
การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าสอดคล้องกับ
กา รฟื้นตัวข อง เศรษ ฐ กิจ ปร เ ทศคู่ค้า แล กา รข ยา ยตัวใ นเ กณ ฑ์ดีข อง กา รส่งอ อก สิน ค้า
หลายรายการที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการกีดกันการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน
การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 มีมูลค่า 58,095 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อ
เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการลดลง
ร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้า
ประมงร้อยละ 1.4 และร้อยละ 17.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.1 และ 16.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ
ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.0 ในไตรมาสก่อนหน้า
ส่วนราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า
เมื่อหักการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ
10.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกในรูปของเงินบาท มีมูลค่า 1,778 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบ
กับการลดลงร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า
รวมทั้งปี 2563 การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ 226,716 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.6
โดยปริมาณส่งออกและราคาส่งออกลดลงร้อยละ 5.9 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับ การส่งออกในรูปเงินบาท
มีมูลค่า 7,091 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.1 ในปี 2562
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 10.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.8 ตามการขยายตัวของปริมาณการส่งออก ยางพารา และ
มันสาปะหลัง ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกยางพารา และน้าตาล
โดยมูลค่าการส่งออกยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 ตามการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศจีน
มาเลเซีย และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ประกอบกับกระบวนการผลิตในโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนเริ่มฟื้นตัว ทาให้
ความต้องการของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายประเทศ
ทาให้ความต้องการถุงมือยางเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และราคาส่งออก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 มันสาปะหลัง มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 ตามการขยายตัวของมูลค่าการ
ส่งออกไปยังประเทศจีน ไต้หวัน และมาเลเซีย เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เนื่องจาก
อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลักเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่ต้องการมันสาปะหลังไปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิต
แอลกอฮอล์ ส่วนราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.4 น้าตาล มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 67.4 ตามการลดลงของ
มูลค่าการส่งออกไปยังประเทศกัมพูชา ลาว และจีน เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 72.4
เนื่องจากผลผลิตอ้อยในประเทศลดลง ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เนื่องจากผลผลิตในประเทศ
ที่มา: สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-20.0
-16.0
-12.0
-8.0
-4.0
0.0
4.0
8.0
12.0
59 60 61 62 63
%YoY การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง
การลงทุนภาคเอกชน ก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องจักร
-20.0
-10.0
0.0
10.0
20.0
Q4/59 Q4/60 Q4/61 Q4/62 Q4/63
%YoY มูลค่า ปริมาณ และราคาส่งออก
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
มูลค่าการส่งออกสินค้า
เกษตรขยายตัวตาม
การเพิ่มขึ้นของการส่งออก
ยางพารา และ
มันสาปะหลัง เป็นสำคัญ
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
-50.0
0.0
50.0
100.0
150.0
200.0
Q4/59 Q4/60 Q4/61 Q4/62 Q4/63
%YoY
สินค้าส่งออกจาแนกตามกิจกรรมการผลิต
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
15 กุมภาพันธ์ 2564
6
NESDC
Economic Outlook
ผู้ส่งออกสำคัญ ๆ ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 10.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 29.8) อาหารสัตว์ (ขยายตัวร้อยละ 22.4) คอมพิวเตอร์ (ขยายตัวร้อยละ 2.6) เครื่องปรับอากาศ (ขยายตัวร้อยละ 11.2) รถยนต์นั่ง (ขยายตัวร้อยละ 0.5) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ขยายตัวร้อยละ 9.3) และปิโตรเคมี (ขยายตัวร้อยละ 0.5) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญอื่น ๆ ที่ลดลง เช่น รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 10.9) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 11.4) เคมีภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 0.6) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 27.3) และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ลดลงร้อยละ 0.5) เป็นต้น มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลงร้อยละ 19.9 โดยปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 17.9 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 2.4 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ ปลา (ลดลงร้อยละ 10.8) และกุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 26.8) เป็นต้น สินค้าส่งออกอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 38.0 เป็นผลจากการลดลงของมูลค่าการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปที่ลดลงร้อยละ 37.5
สินค้าส่งออกสำคัญ ในรูปดอลลาร์ สรอ.
%YoY
2562
2563
สัดส่วน Q4/63 (%)
ทั้งปี
Q1
Q2
Q3
Q4
ทั้งปี
Q1
Q2
Q3
Q4
สินค้าเกษตร
-8.4
-2.1
-4.9
-8.9
-17.8
-1.2
-10.4
4.6
-7.9
10.2
7.0
ข้าว
-25.9
-10.6
-23.9
-35.0
-33.2
-11.4
-24.9
0.7
-18.3
-0.9
1.7
ยาง
-10.0
-8.9
-11.8
-3.9
-15.2
-14.9
-2.7
-41.0
-35.5
25.4
2.0
มันสาปะหลัง
-21.7
-14.2
-8.5
-27.3
-37.7
5.3
-18.3
0.3
27.9
30.2
0.8
ผลไม้
38.4
66.0
39.0
41.4
9.8
11.8
-20.8
47.4
-3.3
10.9
1.0
สินค้าอุตสาหกรรม
-3.9
-1.7
-5.4
-4.9
-3.4
-8.7
-2.8
-20.6
-10.1
-1.8
90.1
อาหาร
2.4
1.0
-3.7
4.2
8.6
-6.3
3.1
-4.6
-8.8
-13.6
6.7
น้าตาล
3.3
-15.0
-19.6
10.9
54.9
-36.4
20.2
-28.0
-49.6
-67.4
0.5
ปลากระป๋องและปลาแปรรูป
-1.1
7.7
0.9
-3.0
-8.4
5.5
-3.4
17.9
10.1
-2.3
1.3
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
10.0
9.0
5.9
4.3
21.1
4.1
12.5
5.0
7.2
-6.0
0.6
เครื่องดื่ม
6.8
-0.7
11.9
5.0
11.4
-4.2
3.8
-11.1
0.3
-8.8
1.1
ผลิตภัณฑ์ยาง
-8.6
4.8
-23.1
-14.2
-0.5
23.4
7.2
23.4
34.1
29.8
3.3
อาหารสัตว์
4.3
12.6
-0.6
2.1
3.7
18.7
10.3
24.0
18.0
22.4
0.9
อิเล็กทรอนิกส์
-6.7
-11.4
-9.4
-6.7
0.7
1.3
5.2
-6.8
1.6
4.9
16.7
- คอมพิวเตอร์
22.0
42.7
21.1
26.4
6.6
0.6
11.0
5.8
-14.4
2.6
0.3
- ชิ้นส่วนและอุปกรณ์
-9.4
-18.9
-12.1
-10.6
5.2
-2.4
15.0
-9.1
-1.8
-11.4
5.6
- แผงวงจรและชิ้นส่วน
-8.9
-11.3
-14.3
-8.6
-1.1
-5.7
-6.3
-5.1
-9.7
-1.8
3.3
เครื่องใช้ไฟฟ้า
1.0
-4.5
1.9
2.7
5.2
0.2
5.8
-18.8
5.6
9.5
6.0
- เครื่องปรับอากาศ
4.4
-3.3
10.6
4.0
8.2
-3.4
14.8
-28.8
-7.2
11.2
1.9
- เตาไมโครเวฟ เตาอบ
-14.0
-13.4
-20.7
-7.7
-13.3
24.6
-6.5
6.7
71.8
30.2
0.3
- ตู้เย็น
7.6
0.1
6.9
9.1
15.5
7.1
1.1
-12.8
21.9
18.4
0.9
- ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า
3.9
-6.2
6.0
7.5
9.1
2.8
12.6
-4.8
4.7
-0.5
1.9
ผลิตภัณฑ์โลหะ
-6.8
-5.0
-8.6
-4.6
-9.1
-5.2
1.7
-20.0
-8.9
7.1
4.9
ยานยนต์
-3.1
-2.9
-3.5
-0.5
-5.8
-17.8
-4.7
-47.8
-19.4
0.4
15.2
- รถยนต์นั่ง
-7.6
-8.2
-12.9
-4.4
-4.9
-18.6
-7.3
-44.7
-22.9
0.5
4.2
- รถกระบะและรถบรรทุก
-3.8
11.1
-4.3
1.0
-22.3
-32.5
-21.2
-67.1
-29.5
-10.9
2.4
- ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์
-0.7
-0.9
0.9
0.2
-3.2
-13.6
0.7
-45.0
-16.0
6.1
7.5
เครื่องจักรและอุปกรณ์
-6.2
-3.3
-6.4
-6.9
-8.1
-8.2
-8.5
-23.4
-9.6
9.3
9.2
เคมีภัณฑ์
-17.7
-7.2
-18.0
-18.8
-26.0
-10.9
-14.8
-20.4
-6.7
-0.6
3.0
ปิโตรเคมี
-8.7
-6.2
-10.2
-9.1
-9.3
-10.3
-10.7
-18.9
-11.7
0.5
5.5
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
-22.0
-9.3
-14.4
-29.8
-30.9
-26.7
-4.5
-42.9
-32.4
-27.3
2.3
สินค้าประมง
-6.5
-15.0
-9.2
-2.8
0.4
-15.2
-6.7
-12.7
-19.8
-19.9
0.7
กุ้ง, ปู, กั้ง และล็อบสเตอร์
-6.3
-14.3
-7.4
1.1
-5.9
-21.6
-13.8
-15.3
-27.1
-26.8
0.4
ปลา
-6.4
-17.4
-14.6
-9.0
18.9
-3.0
2.3
9.4
-11.0
-10.8
0.2
สินค้าส่งออกอื่นๆ
80.3
6.7
66.2
317.3
-11.5
58.7
212.1
68.5
27.3
-38.0
1.1
ทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูป
84.9
7.6
68.2
348.2
-16.4
62.3
223.0
73.3
28.8
-37.5
1.0
มูลค่าสินค้าส่งออกรวมตามสถิติ
-2.6
-1.9
-3.8
-0.5
-4.4
-6.0
1.0
-15.2
-7.8
-2.0
100.0
มูลค่าสินค้าส่งออกรวมตามสถิติดุลการชาระเงิน
-3.3
-3.7
-4.2
-0.3
-5.2
-6.6
1.3
-17.7
-8.2
-1.5
99.5
มูลค่าสินค้าส่งออกไม่รวมทองคา
-5.0
-4.0
-5.8
-5.0
-5.0
-9.0
-3.3
-21.3
-10.5
-0.9
98.5
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนและไตรมาส ก่อนหน้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลง สอดคล้องกับภาวการณ์ผลิต ในประเทศ
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
15 กุมภาพันธ์ 2564
7
NESDC
Economic Outlook
ตลาดส่งออก: การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียขยายตัว ขณะที่ตลาดจีน อาเยน (9) สหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง (15) ลดลง การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.0 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 4.2 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 14.8 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นสำคัญ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดจีนลดลงร้อยละ 2.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังอาเซียน (9) ลดลงร้อยละ 13.6 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 14.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) และกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ลดลงร้อยละ 15.0 และร้อยละ 12.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.0 และร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลาง (15) ลดลงร้อยละ 13.0 ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 49,864 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 5.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 19.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 5.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 18.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย ปริมาณการนำเข้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าทุนลดลงร้อยละ 6.2 และร้อยละ 9.8 ตามลำดับ ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่วนราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคา มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.0 ในรูปของเงินบาท การนำเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 1,526 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.8 ในไตรมาสก่อนหน้า
มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลง ร้อยละ 5.9 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 19.4 ในไตรมาสก่อนหน้า
การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสำคัญอื่น ๆ ปรับตัวลดลง
ตลาดส่งออกสำคัญ ในรูปดอลลาร์ สรอ.
%YOY
2562
2563
สัดส่วน Q4/63 (%)
ทั้งปี
Q1
Q2
Q3
Q4
Q2
Q3
Q4
ทั้งปี
Q1
มูลค่าการส่งออกรวมตามสถิติศุลกากร (ล้านดอลลาร์ สรอ.)
246,269
62,110
60,963
63,597
59,598
51,698
58,653
58,392
100.0
231,468
62,725
(%YoY)
-2.6
-1.9
-3.8
-0.5
-4.4
-15.2
-7.8
-2.0
-6.0
1.0
สหรัฐอเมริกา
11.8
32.0
3.3
7.7
5.5
8.9
17.6
16.0
15.4
9.6
-2.6
ญี่ปุ่น
-1.7
-1.4
-2.5
2.8
-5.3
-13.5
-12.2
4.2
10.8
-6.7
-5.5
สหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร
-6.0
-7.2
-7.4
-5.3
-4.0
-28.0
-10.5
-1.8
8.0
-10.6
-2.3
สหราชอาณาจักร
-5.4
-1.1
0.2
-5.1
-15.4
-19.8
-8.0
-41.6
-19.4
-9.9
1.3
จีน
-3.8
-10.3
-9.0
2.8
1.6
12.1
-0.2
-2.6
13.0
2.0
-0.9
อาเซียน (9)
-8.3
-4.4
-5.9
-14.2
-8.3
-22.4
-14.9
-13.6
23.6
-11.7
4.2
- อาเซียน (5)*
-9.8
-7.6
-8.7
-12.7
-9.9
-19.7
-19.0
-15.0
12.7
-12.2
5.3
- CLMV**
-6.3
0.1
-2.0
-16.2
-6.2
-25.9
-9.2
-12.0
10.9
-11.1
2.8
ตะวันออกกลาง (15)
0.4
-0.3
-5.6
1.9
5.6
-19.7
-24.2
-13.0
3.2
-13.3
2.8
ออสเตรเลีย
-5.1
-10.2
-9.5
14.0
-14.9
-15.9
-8.9
14.8
4.3
-3.9
-2.3
ฮ่องกง
-3.8
-13.6
-5.1
-5.4
-1.1
-8.6
-13.9
-2.0
4.6
-3.6
12.3
อินเดีย
-6.5
1.4
4.3
-7.8
-14.3
-67.2
-21.6
9.0
2.8
-25.2
-11.4
เกาหลีใต้
-4.3
-5.9
-0.3
-10.2
-0.9
-25.3
-7.1
-0.7
1.9
-10.3
-4.9
ไต้หวัน
0.9
-14.4
-5.3
10.3
15.3
-11.9
-14.7
-5.8
1.7
-5.6
13.5
หมายเหตุ: * อาเซียน (5) ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 8 Economic Outlook NESDC รวมทั้งปี 2563 การนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 186,896 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 13.5 โดยปริมาณและราคานำเข้าลดลงร้อยละ 11.7 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 12.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.3 ในปี 2562 ในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้านำเข้า อื่น ๆ ปรับตัวลดลงทุกหมวดสินค้า โดยมูลค่าการนำเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของราคานำเข้าร้อยละ 3.0 ในขณะที่ ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ วัสดุที่ทาด้วยโลหะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 16.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 9.8 ในขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น เครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.2 ในขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้า สำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น ยาและเวชภัณฑ์ และสิ่งทอ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 3.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 35.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงในอัตราชะลอลง ของการนำเข้าหมวดทองคา (ไม่รวมทองรูปพรรณ) และหมวดยานยนต์ ซึ่งลดลงร้อยละ 4.1 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 30.0 Q4/59 Q4/60 Q4/62 Q4/62 Q4/63 %YoY สินค้านำเข้าจาแนกตามภาคเศรษฐกิจ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 Q4/59 Q4/60 Q4/62 Q4/62 Q4/63 %YoY มูลค่า ปริมาณ และราคานำเข้า กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 9 NESDC Economic Outlook สินค้านำเข้าสำคัญ ในรูปดอลลาร์ สรอ. %YoY 2562 2563 สัดส่วน Q4/63 (%) ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 สินค้าอุปโภคบริโภค 3.0 -0.03 2.8 9.5 0.1 -8.2 -0.6 -15.4 -12.1 -4.6 11.6 อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์นม 5.2 5.4 4.9 10.2 1.1 4.0 11.1 -0.3 1.4 4.0 3.0 ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และประมง -4.1 -3.6 2.8 -2.9 -12.5 -8.9 -12.5 -25.7 -8.5 13.9 2.0 ยาและเวชภัณฑ์ -4.3 -7.9 -11.1 4.9 -1.4 -0.4 0.8 8.9 -1.0 -10.0 1.2 สิ่งทอ 3.5 8.2 4.3 4.6 -2.1 -13.6 -2.0 -22.6 -17.6 -12.4 1.1 วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง -7.2 -0.6 -5.9 -7.7 -14.1 -11.6 -2.0 -23.9 -17.6 -2.0 53.2 ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า -5.9 -4.7 -7.4 -6.4 -5.0 1.6 1.4 -3.2 -0.03 8.2 14.6 - แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน -4.6 -1.1 -6.5 -4.5 -6.2 8.3 2.7 5.6 7.6 17.1 5.9 วัสดุที่ทาด้วยโลหะ -6.1 -4.9 -3.8 -6.4 -9.2 -16.6 -6.3 -27.1 -27.2 -4.2 8.3 น้ามันดิบ -21.2 -0.4 -12.2 -20.6 -46.0 -20.0 3.3 -52.8 -28.1 2.2 7.5 เคมีภัณฑ์ -8.0 -1.3 -9.8 -7.2 -13.6 -4.7 -3.7 -10.5 -12.8 10.2 5.9 พลาสติก -5.5 -3.2 -5.9 -1.8 -11.1 -7.3 -2.6 -7.6 -19.9 1.6 3.7 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 7.8 10.0 -2.7 0.7 25.2 -41.6 -12.9 -63.8 -29.4 -53.2 1.7 ก๊าซธรรมชาติ 10.5 43.5 10.6 0.7 -3.1 -24.9 -12.7 -20.0 -33.4 -34.3 1.4 สินค้าทุน -2.2 -9.0 -5.1 3.9 2.0 -12.0 -4.1 -18.3 -16.8 -8.9 24.4 เครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน 2.1 4.0 -1.1 5.9 -0.3 -11.7 0.7 -21.0 -18.7 -7.7 8.9 อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม -9.4 -4.3 -15.0 -18.0 -1.5 -4.6 -12.3 -1.4 7.4 -9.2 4.4 หม้อแปลง เครื่องกาเนิดไฟฟ้ามอเตอร์ และเครื่องเก็บประจุไฟฟ้า -8.7 4.7 -15.9 -13.8 -7.1 -4.7 -4.4 -13.0 -13.9 13.0 2.1 เครื่องชั่ง ตวง วัด 8.8 23.2 14.5 7.5 -7.3 -16.5 -13.8 -31.2 -25.1 5.7 1.7 คอมพิวเตอร์ 12.0 9.2 8.4 21.7 8.0 -1.64 -14.1 8.1 -1.6 -0.6 1.0 อุปกรณ์สานักงาน (ยกเว้นคอมพิวเตอร์) 0.2 -1.7 0.0 -0.7 3.3 2.6 -12.8 -21.3 13.1 32.5 0.7 สินค้านำเข้าอื่นๆ -5.6 10.3 2.0 -29.3 3.8 -21.5 -6.4 -45.9 -35.7 -3.3 10.8 ทองคา (ไม่รวมทองรูปพรรณ) -33.4 -50.7 7.0 -56.6 12.5 -33.3 17.5 -76.1 -60.8 -4.1 3.7 ยานยนต์ 3.9 10.9 1.9 5.3 -1.9 -22.8 -5.5 -39.3 -37.4 -10.0 5.0 - ชิ้นส่วนยานยนต์ -1.3 8.7 -1.4 0.9 -12.2 -20.8 -5.7 -39.7 -37.0 0.7 4.0 มูลค่าสินค้านำเข้ารวมตามสถิติศุลกากร -4.8 -1.4 -4.1 -6.5 -7.1 -12.4 -2.9 -23.8 -18.6 -4.2 100.0 มูลค่าสินค้านำเข้ารวมตามสถิติดุลการชาระเงิน -5.6 -2.9 -4.0 -7.2 -8.0 -13.5 -3.1 -25.0 -19.4 -5.9 90.1 มูลค่าสินค้านำเข้าไม่รวมทองคา -4.1 -0.2 -4.3 -3.0 -8.7 -12.7 -3.7 -23.1 -17.8 -6.0 86.4 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.5 ส่งผลให้อัตราการค้าเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นระดับ 108.6 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 รวมทั้งปี 2563 อัตราการค้าอยู่ที่ 109.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 108.3 ในปี 2562 เนื่องจากราคานำเข้าลดลง ร้อยละ 2.0 เร็วกว่าการลดลงของราคาส่งออกร้อยละ 0.8 ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ดุลการค้าเกินดุล 8.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (252.6 พันล้านบาท) ต่ากว่าการเกินดุล 13.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (424.9 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าการเกินดุล 6.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (180.7 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี 2563 ดุลการค้าเกินดุล 39.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (1,249.4 พันล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 26.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (826.9 พันล้านบาท) ในปี 2562 ดัชนีปริมาณสินค้านำเข้าจาแนกตามภาคเศรษฐกิจ ดัชนีปริมาณสินค้านำเข้า 2562 2563 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 สินค้าอุปโภคบริโภค 2.2 -0.2 2.4 8.2 -1.3 -9.4 -2.1 -16.2 -13.1 -6.2 วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง -5.9 -1.0 -5.4 -4.6 -12.6 -6.2 2.1 -14.2 -13.4 1.0 สินค้าทุน -3.2 -9.0 -5.4 2.1 -0.3 -13.1 -5.7 -19.4 -17.6 -9.8 ดัชนีปริมาณนำเข้ารวม -5.7 -3.1 -3.9 -7.0 -8.7 -11.7 -2.2 -21.0 -18.1 -5.5 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดุลการค้าเกินดุล 8.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ากว่าการเกินดุลใน ไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าการเกินดุล ในไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 10 NESDC Economic Outlook ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาสที่ร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง ร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่สาม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ปริมาณน้าที่เพียงพอ ต่อการเพาะปลูก และฐานที่ต่ำของผลผลิตบางรายการในปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรร้อยละ 1.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้แก่ (1) ข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยในช่วงฤดูเพาะปลูก (2) ไก่เนื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ตามการเพิ่มขึ้นของการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศ (3) ไข่ไก่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 (4) มันสาปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพมันสาปะหลังเพิ่มขึ้น และ (5) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ตามการเพิ่มขึ้น ของพื้นที่เพาะปลูกที่เกิดจากแรงจูงใจด้านราคาในช่วงก่อนหน้า และนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทานาของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 22.0) อ้อย (ลดลง ร้อยละ 10.8) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 5.6) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.8) และปาล์มน้ามัน (ลดลง ร้อยละ 2.7) เป็นต้น ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.2 เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลงและความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ(2) ปาล์มน้ามัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.4 ตามการลดลงของปริมาณผลผลิต (3) สุกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคไวรัสหมู (PRRS) ทาให้ต้นทุนการเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของความต้องการเนื้อสุกรในตลาดต่างประเทศซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร ในประเทศจีน กัมพูชา ลาว เวียดนาม และเมียนมา และ (4) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 โดยเฉพาะทุเรียนตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคทุเรียนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาข้าวเปลือก ลดลงร้อยละ 10.8 ราคาไก่เนื้อ ลดลงร้อยละ 9.4 และราคาไข่ไก่ ลดลงร้อยละ 1.7 การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 12.1 รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 3.4 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 0.6 ในปี 2562 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 4.4 ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 การผลิตสาขาเกษตรกรรมกลับมาขยายตัวช้า ๆ เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ในขณะที่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งการขายปลีก และการซ่อมแซมฯ และสาขาอุตสาหกรรมลดลงน้อยกว่าในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม สาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ ลดลงต่อเนื่องและสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง ดัชนีราคาสินค้านำเข้าจาแนกตามภาคเศรษฐกิจ ดัชนีราคาสินค้านำเข้า %YoY 2562 2563 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 สินค้าอุปโภคบริโภค 0.8 0.1 0.3 1.1 1.5 1.3 1.5 1.0 1.1 1.7 วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง -1.3 0.4 -0.6 -3.3 -1.8 -5.8 -4.0 -11.3 -4.9 -3.0 สินค้าทุน 1.1 -0.1 0.3 1.7 2.3 1.2 1.7 1.3 0.9 1.0 ดัชนีราคานำเข้ารวม 0.2 0.2 -0.1 -0.2 0.8 -2.0 -0.9 -5.1 -1.5 -0.5 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการค้า %YoY 2562 2563 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 อัตราการค้า* 108.3 108.8 108.3 108.3 108.0 109.7 109.4 111.7 109.3 108.6 %YOY 0.2 0.2 0.2 0.6 -0.4 1.3 0.6 3.2 0.9 0.5 หมายเหตุ : *อัตราการค้า (Terms of Trade : TOT) คือ ราคาสินค้าส่งออกเทียบกับราคาสินค้านำเข้าของแต่ละประเทศ หาก TOT ปรับดีขึ้น หมายถึงประเทศนั้น ๆ ได้ประโยชน์มากขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากสินค้าที่ส่งออกได้ราคาสูงขึ้นเทียบกับราคาที่นำเข้า ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้าที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 11 Economic Outlook NESDC สาขาอุตสาหกรรม: ลดลงร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และสอดคล้องกับการ ลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสำคัญ ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง อื่น ๆ ลดลงร้อยละ 7.7 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วงลดลงร้อยละ 1.8 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการผลิตชิ้นส่วนและ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสที่ร้อยละ 6.8 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม กลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 0.5 น้อยกว่า การลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสำคัญ ๆ เช่น เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการผลิตน้ามันปาล์มและ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้นลดลงร้อยละ 15.9 และลดลงร้อยละ 3.3 ตามลำดับ ในขณะที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ที่ร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 23.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิต ยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 30.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกาเนิดไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 32.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 8.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การผลิตน้าตาลลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ที่ร้อยละ 43.9 สำหรับอัตรา การใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 64.22 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.63 ในไตรมาสก่อนหน้าและ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.33 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการใช้กาลังการผลิตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 90.26) การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริม สำหรับยานยนต์ (ร้อยละ 90.07) การฆ่าสัตว์ปีกและการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสด (ร้อยละ 85.50) การผลิตน้ามันพืช (ยกเว้นน้ามันปาล์ม) (ร้อยละ 83.25) การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 82.34) ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 3.7) การผลิตชิ้นส่วนและ แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 6.8) การผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกาเนิดไฟฟ้า (ร้อยละ 32.5) การผลิต เครื่องใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 18.8) การผลิตยางนอกและยางใน (ร้อยละ 11.4) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า ขั้นมูลฐาน (ร้อยละ 5.0) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ร้อยละ 11.0) การแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก (ร้อยละ 7.2) การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง (ร้อยละ11.9) และการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ รักษาโรค (ร้อยละ 9.8) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตน้าตาล (ร้อยละ 43.9) การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 17.2) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ร้อยละ 7.7) การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ (ร้อยละ 19.2) การผลิตน้ามันปาล์ม (ร้อยละ 15.9) การผลิตเครื่องปรุงอาหารประจาโต๊ะ (ร้อยละ 19.7) การผลิตสัตว์และ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้าสด (ร้อยละ 9.6) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ3.3) การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา (ร้อยละ 16.9) และการผลิตรองเท้า (ร้อยละ 26.8) รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 5.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 2562 ดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 8.8 และอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 61.15 เทียบกับร้อยละ 65.99 ในปี 2562 สาขาอุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้น จากไตรมาสก่อนหน้า ตาม อุตสาหกรรมการผลิตที่มี การกลับมาขยายตัวของ สัดส่วนส่งออกในช่วง ร้อยละ 30 ? 60 และ การลดลงในอัตราที่ช้าลง ของ อุตสาหกรรมการผลิต เพื่อการส่งออก และ อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อ บริโภคภายในประเทศ อัตราการใช้กาลังการผลิต เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.22 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 60.63 ในไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.33 ในไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ราคายางพารา ปาล์มน้ามัน อ้อย และมันสาปะหลัง ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลง ที่มา: สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร -50 0 50 100 150 Q4/59 Q4/60 Q4/61 Q4/62 Q4/63 (%YoY) ข้าวเปลือก มันสาปะหลัง ยางแผ่นดิบชั้น 3 ปาล์มน้ามัน อ้อย -20 -10 0 10 20 Q4/59 Q4/60 Q4/61 Q4/62 Q4/63 (%YoY) ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ดัชนีรายได้เกษตรกร ที่มา: สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ตามการเพิ่มขึ้นดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 12 Economic Outlook NESDC สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ปรับตัวลดลงร้อยละ 35.2 ตามการลดลงของจานวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศ แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 39.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการท่องเที่ยว ภายในประเทศทปี่ รบั ตวั ดขี นึ้ โดยในไตรมาสนมี้ รายรบั จากนกั ทอ่ งเทยี่ วชาวไทยอยทู่ 0.159 ลา นลา นบาท ลดลง ร้อยละ 45.1 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลงร้อยละ 57.1 ในไตรมาสก่อนหน้าสอดคล้องกับการปรับตัวดี ขึ้นของการท่องเที่ยวในประเทศหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรกสิ้นสุดลง และการดำเนินมาตรการ กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐ นอกจากนั้น การดำเนินมาตรการเปิดประเทศสำหรับนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA : STV) ส่งผลให้ในไตรมาสนี้เริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้า มาท่องเที่ยวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จานวน 10,822 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) แต่จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสนี้ยังลดลงร้อยละ 99.9 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.49 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.69 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ากว่าร้อยละ 70.71 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนั้น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม 2563 เริ่มทาให้การท่องเที่ยวในประเทศในช่วงปลายปีมีข้อจำกัดอีกครั้ง รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 36.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปี 2562 โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจานวน 6.70 ล้านคน ลดลงร้อยละ 83.2 รายรับจาก นักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 0.441 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 76.2 (เป็นข้อมูลจากบัญชีดุลการชาระเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.482 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.4 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 29.51 เทียบกับร้อยละ 70.08 ในปี 2562 สาขาการขายส่ง การขายปลีก และการ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: ลดลงร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจาก การลดลงร้อยละ 6.1 สอดคล้องกับการเริ่มกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการเริ่ม ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของกิจกรรมการผลิต สาขาเกษตร อุตสาหกรรม และภาคการส่งออก และ สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ร้อยละ 3.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และ จักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 6.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วยดัชนีหมวด ร้านขายปลีกอุปกรณ์อื่น ๆ ชนิดใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 11.2 (เช่น ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้างฯ เป็นต้น) น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 14.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และหมวดร้านขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์ลดลงร้อยละ 11.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่หมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 4.2 และดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 3.1 น้อยกว่าการลดลง ร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีหมวดการขายส่งสินค้าทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในขณะที่หมวดการ ขายส่งอาหารเครื่องดื่มและยาสูบลดลงร้อยละ 5.9 และหมวดการขายส่งของใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 7.2 ส่วน ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ปรับตัวดีขึ้นมาก จากการลดลงร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดย หมวดการขายยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 หมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และหมวดการบารุงรักษาและการซ่อมยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ลดลงร้อย 3.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2562 สาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหารลดลงต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 35.2 ตามการลดลงของ จานวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศ ในขณะที่ การท่องเที่ยวในประเทศ ปรับตัวดีขึ้น แม้จะยังอยู่ ในระดับต่ากว่าช่วง เดียวกันของปีก่อน อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 32.49 เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 26.69 ในไตรมาส ก่อนหน้า แต่ต่ากว่าร้อยละ 70.71 ในไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.9 อัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.2 ที่มา: สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) -60.0 -50.0 -40.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 60.0 70.0 80.0 90.0 100.0 Q4/59 Q4/60 Q4/61 Q4/62 Q4/63 %Cap U (แกน ย) MPI Export<30% Export 30-60% Export>60% (ร้อยละ) (%YoY) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ยังไม่มีการเผยแพร่ ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกี -120 -90 -60 -30 0 30 0.0 0.2 0.4 0.6 60 61 62 63 (ล้านล้านบาท) (ร้อยละ) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ %YoY (แกนขวา) มาตรการ VOA (1 พ.ค. ? 31 ต.ค. 62) มาตรการ VOA (14 ม.ค. 30 เม.ย. 62) มาตรการ VOA (15 พ.ย. 61 13 ม.ค. 62) เหตุเรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต (5 ก.ค. 61) มาตรการ VOA (1 ธ.ค. 59 28 ก.พ. 60) มาตรการ VOA (1 พ.ค. ? 31 ต.ค. 62) มาตรการ VOA (1 พ.ย. 62 ? 30 เม.ย. 63) การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และ จกั รยานยนตล์ ดลงรอ้ ยละ 3.1 น้อยกวา การลดลงใน ไตรมาสกอ่ นหน้า สอดคลอ้ ง กบั การเรมิ่ กลบั มาขยายตวั ของการใช้จา ยภาคครวั เรอื น และการเรมิ่ ปรบั ตวั ในทศิ ทาง ทดี่ ขี นึ้ ของการผลติ ในสาขา เกษตร อุตสาหกรรมและการ ส่งออก กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 13 NESDC Economic Outlook สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: ลดลงร้อยละ 21.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 22.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของบริการขนส่งทางอากาศึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยในไตรมาสนี้บริการขนส่งลดลงร้อยละ 23.6 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 24.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) บริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 68.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 71.0 ในไตรมาสก่อนหน้า (2) บริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงลดลงร้อยละ 12.7 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า (3) บริการขนส่งทางน้าลดลงร้อยละ 4.3 ในขณะที่บริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 22.1 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ เมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 22.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 27.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.8 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 21.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2562 โดยบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงลดลงร้อยละ 19.1 บริการขนส่งทางน้าลดลงร้อยละ 1.1 และบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 59.4 ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 18.2 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 20.4 สาขาไฟฟ้า ก๊า และระบบปรับอากาศ: ลดลงร้อยละ 13.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าและกิจกรรมโรงแยกก๊างได้รับผลกระทบจากการลดลงของอุณหภูมิเฉลี่ย และการระบาดของโรคโควิด-19 โดย (1) กิจกรรมการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 12.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 9.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนสอดคล้องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในระดับต่ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และการลดลงต่อเนื่องของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส สอดคล้องกับการขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกาเนิดไฟฟ้า และ (2) กิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของปริมาณก๊าซที่ส่งเข้าโรงแยกก๊าซ สอดคล้องกับการลดลงของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและภาคขนส่ง รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศลดลงร้อยละ 8.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในปี 2562 โดยกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 8.5 และกิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 7.2 สาขาก่อสร้าง: ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของการก่อสร้างภาคเอกชนและการชะลอตัวลงของการก่อสร้างภาครัฐ โดยการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 28.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 19.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า) ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการลดลงของการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และอาคารโรงงาน) ในขณะที่การก่อสร้างในหมวดการบริการและขนส่ง และการก่อสร้างอื่น ๆ ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสตามการเพิ่มของดัชนีราคาหมวดกระเบื้องปูพื้นและแผ่นเซรามิก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8) และหมวดคอนกรีตผสมเสร็จ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0) เป็นสำคัญ รวมทั้งปี 2563 การผลิตสาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี 2562 โดยเป็นผลสำคัญมาจากการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 5.7 (การก่อสร้างของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 8.4 และการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 0.6) ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.2 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 21.1 ตาม การลดลงของบริการขนส่งทุกประเภท โดยเฉพาะบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 68.1เนื่องจากได้รับผลผกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 13.3 ตาม การลดลงของกิจกรรม การผลิตไฟฟ้า และกิจกรรมโรงแยกก๊าซ สาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.3 ตามการลดลงของการก่อสร้างภาคเอกชน และการชะลอตัวลงของการก่อสร้างภาครัฐ กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 14 Economic Outlook NESDC ผู้มีงานทา: ปรับตัวดีขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ในขณะที่อัตรา การว่างงานลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 จานวนผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.2 สูงกว่าการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผู้มีงานทาภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 32.30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และ เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการ เช่น ข้าวเปลือก มันสาปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เช่นเดียวกับผู้มีงานทานอกภาคเกษตร (สัดส่วน ร้อยละ 67.70) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ตามการเพิ่มขึ้นของจานวนผู้มี งานทา ในสาขาก่อสร้างและสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้มีงานทาใน สาขาการผลิตอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมยานยนต์ฯ ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.86 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.90 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจานวน 7.3 แสนคน เทียบกับผู้ว่างงานจานวน 3.7 แสนคนในช่วงเดียวกันในปีก่อน เฉลี่ยทั้งปี 2563 มีผู้ว่างงานจานวน 6.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.7 0.0 0.6 1.2 1.8 2.4 36.0 36.4 36.8 37.2 37.6 38.0 38.4 38.8 4Q59 4Q60 4Q61 4Q62 4Q63 การจ้างงาน อัตราการว่างงาน (แกนขวา) (ล้านคน) (%) ผู้มีงานทาขยายตัวร้อยละ 2.2 ตามการขยายตัวของภาคเกษตร อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 1.9 ที่มา: สานักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จานวนผู้มีงานทาปรับตัว เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนหน้า ตาม การเพิ่มขึ้นของผู้มีงาน ทาภาคเกษตรและผู้มี งานทานอกภาคเกษตร อัตราการว่างงานอยู่ที่ ร้อยละ 1.9 ลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสก่อนหน้าแต่ ยังอยู่ในระดับสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อน การจ้างงานจาแนกตามสาขาการผลิต %YOY สัดส่วน Q4/63 2562 2563 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ผู้มีงานทารวม 100.00 -0.7 0.9 -0.3 -2.1 -1.1 0.2 -0.7 -1.9 1.2 2.2 - ภาคเกษตร 32.30 -2.9 -4.2 -4.0 -1.8 -1.6 -0.2 -3.7 -0.3 -0.1 3.0 - นอกภาคเกษตร 67.70 0.4 3.2 1.5 -2.3 -0.9 0.4 0.5 -2.5 1.8 1.9 อุตสาหกรรม 15.53 -2.1 1.0 -0.5 -5.2 -3.9 -2.3 -1.4 -4.4 -1.4 -1.8 ก่อสร้าง 5.89 3.7 10.5 6.2 -2.2 0.2 1.9 -0.2 -6.3 6.6 9.1 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ 16.44 -0.5 2.4 -0.4 -4.1 0.1 0.5 -1.1 -1.0 4.6 -0.4 ที่พักแรมและบรกิ รด้านอาหาร 7.62 0.8 -0.2 1.1 3.1 -0.7 0.9 3.7 -2.8 -0.4 3.1 กาลังแรงงานรวม (ล้านคน) 38.2 38.4 38.4 38.0 38.0 38.6 38.2 38.2 38.7 39.1 จานวนผู้มีงานทา (ล้านคน) 37.6 37.7 37.8 37.5 37.5 37.7 37.4 37.1 37.9 38.3 จานวนผู้ว่างงาน (แสนคน) 3.7 3.5 3.8 3.9 3.7 6.5 3.9 7.5 7.4 7.3 อัตราการว่างงาน (%) 1.0 0.9 1.0 1.0 1.0 1.7 1.0 2.0 1.9 1.9 ที่มา: สานักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 15 Economic Outlook NESDC การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม ? ธันวาคม 2563) รัฐบาลจัดเก็บ รายได้สุทธิ 515,747.8 ล้านบาท ต่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 เนื่องจาก (1) การนาส่งรายได้ ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงานลดลงตามผลประกอบการในปี 2563 ประกอบกับฐานที่สูงในปีก่อนหน้าจากการ นาส่งรายได้รัฐวิสาหกิจเหลื่อมมาจากปีงบประมาณ 2562 และการดำเนินมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าเพื่อ บรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ (2) การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงตามผล ประกอบการของนิติบุคคล เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่ จ่าย (ภ.ง.ด. 53) จากอัตราร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 1.5 (3) การจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดลง และ (4) การจัดเก็บภาษีน้ามันและผลิตภัณฑ์น้ามันลดลงจากฐานการ จัดเก็บที่สูงในปีก่อนหน้า เนื่องจากในเดือนตุลาคม 2562 มีการเปลี่ยนวิธีการชาระภาษีจากชาระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เป็นชาระภายใน 10 วัน หลังจากนาสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ทาให้ในเดือนตุลาคม 2562 มีรายได้ภาษีจากการเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 21 วัน (One?time revenues) ใน Q1/FY 2564 การเบิกจ่ายงบประมาณ ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 โดยเป็นผลมาจาก การเบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจาปี งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และ เงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงิน โควิด-19 ขณะที่ การเบิกจ่ายงบประมาณ กันไว้เบิกเหลื่อมปีลดลง การจัดเก็บรายได้สุทธิ ของรัฐบาลลดลง และ ต่ากว่าเป้าหมาย โดย การนาส่งรายได้ของ รัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และการจัดเก็บรายได้ ภาษีลดลง เนื่องจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของ โควิด-19 รวมทั้งความ จำเป็นในการดำเนิน มาตรการทางภาษีและ มาตรการลดภาระ ค่าครองชีพ ด้านการคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งสิ้น 1,162,574.6 ล้านบาท1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 (รายจ่ายประจาเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1 และรายจ่ายลงทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.7) ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2564 จานวน 938,433.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 28.6 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 28.6 (สูงกว่าร้อยละ 22.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) จาแนกเป็น การเบิกจ่ายรายจ่ายประจา 865,471.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.0 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 32.8 (สูงกว่าร้อยละ 26.6 ใน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 72,961.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 180.1 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 11.2 (สูงกว่าร้อยละ 4.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การขยายตัวในเกณฑ์สูงของการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 เป็นผลมาจาก ฐานการเบิกจ่ายที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนซึ่งมีความล่าช้าของการประกาศใช้พระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจาปี 2563 (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จานวน 79,898.8 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.9 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 37.1 สูงกว่าร้อยละ 30.6 ใน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จานวน 86,929.6 ล้านบาท2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 35.5 เนื่องจากการปรับเพิ่ม แผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง การประปาส่วน ภูมิภาค และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกาหนดให้ อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท จานวน 60,686.2 ล้านบาท -40 -20 0 20 40 60 80 100 -400,000 -200,000 0 200,000 400,000 600,000 800,000 1,000,000 1,200,000 58 59 60 61 62 63 64 ล้านบาท ร้อยละ ที่มา: GFMIS การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี รายจ่ายลงทุน (แกนซ้าย) รายจ่ายประจา (แกนซ้าย) อัตราการขยายตัวของการเบิกจ่ายรวม (แกนขวา) ใน Q1/FY 2564 อัตรา เบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจาปีอยู่ที่ ร้อยละ 28.6 โดยมีอัตราเบิกจ่าย รายจ่ายประจาและ รายจ่ายลงทุน ร้อยละ 32.8 และ ร้อยละ 11.2 ตามลำดับ 28.6 11.2 0 5 10 15 20 25 30 35 Q1/54 Q1/55 Q1/56 Q1/57 Q1/58 Q1/59 Q1/60 Q1/61 Q1/62 Q1/63 Q1/64 ร้อยละ ที่มา: GFMIS อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีในไตรมาสแรก เทียบกับอัตราการเบิกจ่ายเฉลี่ย อัตราการเบิกจ่ายรวม อัตราการเบิกจ่ายลงทุน อัตราเบิกจ่ายรวมเฉลี่ย อัตราเบิกจ่ายลงทุนเฉลี่ย เฉลี่ย = เฉลี่ย = 1 การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ประกอบด้วย (1) งบประมาณรายจ่ายประจาปี (2) งบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี (3) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจของ สคร. ซึ่งไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจาปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี และ (4) เงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 2 รวมรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจาปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จานวน 3,373.5 ล้านบาท กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 16 Economic Outlook NESDC หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,136,114.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.1 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 7,997,294.3 ล้านบาท (ร้อยละ 51.2 ของ GDP) และเงินกู้จาก ต่างประเทศ 138,820.3 ล้านบาท (ร้อยละ 0.9 ของ GDP) โดยแบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล 7,054,937.3 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 787,186.9 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้าประกัน) 286,376.9 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 7,613.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.7 ร้อยละ 9.7 ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ ฐานะการคลัง: ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 412,504 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 27,409 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 340,810 ล้านบาท ทาให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดสุทธิ 99,103 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของ ปีงบประมาณ 2563 จานวน 572,104 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีจานวนทั้งสิ้น 473,001 ล้านบาท ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้น เดือนธันวาคม 2563 มี จานวนทั้งสิ้น 473,001 ล้านบาท 0 10 20 30 40 50 60 0 2,000 4,000 6,000 8,000 10,000 ร้อยละ พันล้านบาท ที่มา: สานักงานบริหารหนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง หนี้ต่างประเทศ หนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง ต่อ GDP (แกนขวา) 0 50,000 100,000 150,000 200,000 250,000 300,000 350,000 400,000 0 100,000 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 700,000 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 ที่มา: กระทรวงการคลัง สถานะเงินคงคลัง สถานะเงินคงคลัง ณ สิ้นงวด (แกนซ้าย) กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล (แกนขวา) ล้านบาท ล้านบาท ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 และครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับดีขึ้น แต่การฟื้นตัวจะยังเป็นไปอย่างช้า ๆ จึง ยังมีความจำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูงจากสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ระลอกใหม่ และประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงการว่างงานที่อยู่ ในระดับสูง ขณะที่สถานการณ์ทางด้านการเงินแม้ว่าจะยังมีเสถียรภาพ แต่ยังคงมีความเปราะบางในภาค ครัวเรือนและในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับ ประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดียวกับ ไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00 -0.25 ต่อปี พร้อมทั้งประกาศจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับดังกล่าวไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานเต็มศักยภาพ และเงินเฟ้อปรับขึ้นสูงกว่าระดับเป้าหมาย อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประกาศปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งปี 2563 คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยปรับลดใน เดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนพฤษภาคม ครั้งละร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 1.25 ต่อปี ณ สิ้นปี 2562 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี ณ สิ้นปี 2563 ล่าสุดเดือนมกราคม 2564 คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยและธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจ หลักและประเทศในภูมิภาคอาทิ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย นโยบายไว้ในระดับเดิม กนง. ยังคงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 0.50 ต่อปี สอดคล้องกับ การดำเนินนโยบาย การเงินของประเทศ เศรษฐกิจหลัก และ ประเทศส่วนใหญ่ใน ภูมิภาค กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 17 NESDC Economic Outlook อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ร้อยละ) ณ สิ้นงวด 2562 2563 2564 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. ก.พ. สหรัฐฯ 1.50-1.75 2.25-2.50 2.25-2.50 1.75-2.00 1.50-1.75 0.00-0.25 0.00-0.25 0.00-0.25 0.00-0.25 0.00-0.25 0.00-0.25 0.00-0.25 สหภาพยุโรป 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 อังกฤษ 0.75 0.75 0.75 0.75 0.75 0.10 0.10 0.10 0.10 0.10 0.10 0.10 ญี่ปุ่น -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 -0.10 แคนาคา 1.75 1.75 1.75 1.75 1.75 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 ออสเตรเลีย 0.75 1.50 1.25 1.00 0.75 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 นิวซีแลนด์ 1.00 1.75 1.50 1.00 1.00 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25 รัสเซีย 6.25 7.75 7.50 7.00 6.25 4.25 6.00 4.50 4.25 4.25 4.25 4.25 จีน 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 เกาหลีใต้ 1.25 1.75 1.75 1.50 1.25 0.50 0.75 0.50 0.50 0.50 0.50 0.50 อินเดีย 5.15 6.25 5.75 5.40 5.15 4.00 4.40 4.00 4.00 4.00 4.00 4.00 อินโดนีเซีย 5.00 6.00 6.00 5.25 5.00 3.75 4.50 4.25 4.00 3.75 3.75 3.75 ฟิลิปปินส์ 4.00 4.75 4.50 4.00 4.00 2.00 3.25 2.25 2.25 2.00 2.00 2.00 มาเลเซีย 3.00 3.25 3.00 3.00 3.00 1.75 2.50 2.00 1.75 1.75 1.75 1.75 ไทย 1.25 1.75 1.75 1.50 1.25 0.50 0.75 0.50 0.50 0.50 0.50 0.50 ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่มา: รวบรวมโดย สศช. ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดิม ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.49 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.36 ต่อปี เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงอัตราดอกเบี้ย เงินฝากและอัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.03 ต่อปี และเฉลี่ยร้อยละ 6.13 ต่อปี ตามลำดับ ด้านธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจากเฉลี่ยร้อยละ 0.62 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้าลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.55 ต่อปี แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ย MLR ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.13 ต่อปี ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งปี 2563 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.68 ต่อปี และร้อยละ 5.57 ต่อปี เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 1.43 ต่อปี และร้อยละ 6.25 ต่อปี ในปีก่อนหน้า ตามลำดับ ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.12 ต่อปี และร้อยละ 6.22 ต่อปี จากเฉลี่ยร้อยละ 1.60 ต่อปี และร้อยละ 6.55 ต่อปี ในปีก่อนหน้า ตามลำดับ ในเดือนมกราคม 2564 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและสถาบันการเงินเฉพาะกิจคงอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการลดลงของอัตราเงินเฟ้อ สินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ยอดสินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้าขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 4.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อในระบบของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 6.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทางการเงินของภาครัฐที่ดำเนินการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 8.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สถาบันการเงินที่รับฝากเงินส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิม อย่างไรก็ดีธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางมี การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งในระบบของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวต่อเนื่อง กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 18 Economic Outlook NESDC ตามการเร่งขึ้นของสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อให้กู้ยืมในสาขาสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย (ขยายตัว ร้อยละ 15.5) กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ (ขยายตัวร้อยละ 0.7) สาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศ (ขยายตัวร้อยละ 1.6) และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (ขยายตัวร้อยละ 23.3) และสาขาการบริหาร ราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ (ขยายตัวร้อยละ 166.5) ในส่วนของสินเชื่อให้ กู้ยืมในสาขาสำคัญ ๆ ที่ลดลง ได้แก่ สาขาการผลิต (ลดลงร้อยละ 1.5) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 0.7) และสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง (ลดลงร้อยละ 4.1) ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามขยายตัวดีต่อเนื่องของสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย และการซื้อหรือ เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและประกันภัย) พบว่า สินเชื่อคงค้างปรับตัวลดลงร้อยละ 21.4 เป็นการลดลง ต่อเนื่อง 6 ไตรมาสติดต่อกัน และลดลงในเกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารที่ ขยายตัวร้อยละ 15.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2563 ยอดคงค้างสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงิน ณ สิ้นปีขยายตัวร้อยละ 4.4 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 2.3 ณ สิ้นปี 2562 โดยเป็นการเร่งตัวขึ้นจากทั้งสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อภาคเอกชน (รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ของสถาบันรับฝากเงิน ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย 3.6 4.4 -2 0 2 4 6 8 10 -2 0 2 4 6 8 10 Q1 58 Q1 59 Q1 60 Q1 61 Q1 62 Q1 63 % YOY % YOY สินเชื่อภาคเอกชน (รวมดอกเบี้ยค้างรับ) สินเชื่อธุรกิจ (แกนขวา) สินเชื่อครัวเรือน (แกนขวา) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.62 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.25 จากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้า ตามสถานะการซื้อสุทธิทั้งในตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนไทยของนักลงทุนต่างชาติ และตามการอ่อนค่าลง ของเงินดอลลาร์ สรอ. โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ย ในไตรมาสสี่อยู่ที่ 92.16 จุด ลดลงจาก ระดับ 94.05 จุด ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐฯ วงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และงบประมาณรายจ่ายประจาปี วงเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. มีความ ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนหัน มาถือสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศในตลาดเกิดใหม่ซึ่งรวมถึงประเทศไทย แม้ว่าในเดือนพฤศจิกายนธนาคารแห่ง ประเทศไทยได้มีการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทและแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างให้กับตลาด อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความสมดุลมากขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/ คู่แข่งอื่น ๆ เคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยในไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 122.48 เพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.42 สำหรับค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาคเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับ ค่าเงินบาท โดยค่าเงินของประเทศ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย และเวียดนาม แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.0 ร้อยละ 4.5 ร้อยละ 2.4 ร้อยละ 2.3 ร้อยละ 2.3 ร้อยละ 2.0 ร้อยละ 1.6 ร้อยละ 1.4 ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ทั้งปี 2563 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.80 ? 33.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (ค่าเฉลี่ย 31.29 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ.) อ่อนค่าลงจากปี 2562 ร้อยละ 0.80 (ค่าเฉลี่ย 31.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) โดยปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่อค่าเงินบาทที่สำคัญมาจากแนวโน้มการลดลงของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ? 19 และมาตรการจำกัดการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ ค่าเงินบาทเทียบกับ ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนกลับมา ถือสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ภายหลังมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของสหรัฐฯ มี ความชัดเจนมากขึ้น และ การพัฒนาวัคซีน โรคโควิด-19 มี ความก้าวหน้าอย่าง ต่อเนื่อง กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 19 Economic Outlook NESDC ในเดือนมกราคม 2564 ค่าเงินบาทอยู่ที่เฉลี่ย 30.01 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.30 ตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่มีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทตลอดทั้งเดือน เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน ตามสถานการณ์การเมืองภายในประเทศสหรัฐฯ ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี ความสัมพันธ์ระหว่างจีน และสหรัฐฯ ภายหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นบัญชีบริษัทสัญชาติจีน ตามคาสั่งพิเศษ (Executive order) ว่าด้วยการไม่ให้ชาวอเมริกันลงทุนในธุรกิจที่กองทัพจีนเป็นเจ้าของหรืออยู่ใน การควบคุมของทางการจีน และคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคงปริมาณเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) รวมทั้งการเข้ารับตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของนายโจ ไบเดน ซึ่ง ได้มีการส่งสัญญาณจะเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า/ คู่แข่ง ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย NEER ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.11 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาสปิดที่ 1,449.4 จุด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.2 จากไตรมาสก่อนหน้า และเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอื่นใน ภูมิภาค โดยมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศ (2) ความก้าวหน้าของ การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (3) สถานการณ์การเมืองของสหรัฐฯ ที่มีความชัดเจนมากขึ้น ภายหลังผล การเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างไม่เป็นทางการคาดว่านายโจ ไบเดน จะได้รับชัยชนะ (4) มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของสหรัฐฯ รอบใหม่วงเงิน 9 แสนดอลลาร์ สรอ. และ (5) การบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่าง สหภาพยุโรปกับสหราชอาณาจักรกรณี Brexit ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมามีสถานะซื้อสุทธิในตลาด หลักทรัพย์ไทยครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส รวมทั้งปี 2563 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นปี 2563 ปรับลดลง 130.5 จุด จาก ณ สิ้นปี 2562 หรือ คิดเป็นร้อยละ 8.3 ทั้งนี้ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทยในปี 2563 มีความผันผวนค่อนข้างรุนแรง ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดและการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 ปัจจัยทางด้านการเมืองทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ รวมทั้งทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในเดือนมกราคม 2564 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2563 ร้อยละ 1.2 มาอยู่ที่ 1,467.0 จุด เป็นผลมาจากความชัดเจนที่มีมากขึ้นของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ?American Rescue Plan? วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ภายหลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศจะเร่งผลักดันมาตรการ ดังกล่าว และการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้กับประชาชนในหลายประเทศ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในไตรมาสสี่ของปี 2563 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงตาม ความต้องการเงินทุนเพื่อบริหารสภาพคล่องของนักลงทุน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในระดับต่า ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แม้ว่าสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯ จะมีความชัดเจนมากขึ้น ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และความคืบหน้าในการทดลองวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สี่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิทั้งในตราสารหนี้ระยะสั้นและตราสารหนี้ ระยะยาว มูลค่า 1.4 พันล้านบาท และมูลค่า 15.4 พันล้านบาท ตามลำดับ และมีพันธบัตรครบกาหนดอายุ 8.0 พันล้านบาท ทาให้มีเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นในตลาดตราสารหนี้ 8.8 พันล้านบาท ต่อเนื่องจาก การเพิ่มขึ้น 38.5 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า 29.0 29.5 30.0 30.5 31.0 31.5 32.0 32.5 33.0 95 33.5 100 105 110 115 120 125 130 ดัชนี NEER REER บาท/ดอลลาร์ สรอ. (แกนขวา) บาท/ดอลลาร์ สรอ. เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่มา: CEIC, ธนาคารแห่งประเทศไทย ดัชนีราคาตลาด หลักทรัพย์ (SET Index) ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้า ตาม การผ่อนคลายล็อกดาวน์ ภายในประเทศ และ ความก้าวหน้าใน การพัฒนาวัคซีน โควิด-19 อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ระยะยาวปรับตัวลดลง ตามความต้องการ พันธบัตรที่เพิ่มสูงขึ้น 700 900 1100 1300 1500 1700 1900 10,000 20,000 30,000 40,000 50,000 60,000 70,000 80,000 90,000 58 59 60 61 62 63 64 ล้านบาท ดัชนี Value SET Index (RHS) ดัชนีหลักทรัพย์และมูลค่าอขายเฉลี่ยต่อวันปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่มา: SET กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 20 Economic Outlook NESDC รวมทั้งปี 2563 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงทั้งพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว โดยอัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ณ สิ้นปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 0.36 เทียบกับร้อยละ 1.21 ณ สิ้นปี 2562 ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.28 เทียบกับร้อยละ 1.49 ณ สิ้นปี 2562 ทั้งนี้ รวมทั้งปี 2563 ดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมกราคม 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทุกช่วงอายุ ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากนักลงทุนปรับสถานการณ์ลงทุนไปถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น หลังจากคลายความกังวลต่อ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ภายหลังมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหลายประเทศ และ ความชัดเจนต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีมากขึ้น ขณะเดียวกันได้รับผลจากการเพิ่มปริมาณ การออกพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตราสารหนี้ ระยะสั้น มูลค่า 1.9 พันล้านบาท แต่ยังซื้อสุทธิในพันธบัตรระยะยาว 2.0 พันล้านบาท และมีพันธบัตรครบ กาหนดอายุ 0.7 พันล้านบาท ทาให้มีเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติลดลง 0.6 พันล้านบาท ต่อเนื่องจาก การลดลง 18.2 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ ในไตรมาสที่สามของปี 2563 เงินทุนไหลออกสุทธิ 4.93 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลมาจากการไหลออกสุทธิของเงินลงทุนทั้งในรูปแบบการลงทุนทางตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการนาเงินออกไปลงทุนโดยตรงและการลงทุนในตลาดตราสารทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีเงินไหลเข้าจากรูปแบบอื่น ๆ (เงินกู้ สินเชื่อการค้า เงินฝาก และบัญชีลูกหนี้ และเจ้าหนี้อื่น ๆ) อย่างต่อเนื่อง รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 3.52 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนาเงินออกไปลงทุน โดยตรงและลงทุนในตลาดตราสารทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย และการนาเงินลงทุนออกจากตลาด ตราสารทุนของนักลงทุนต่างชาติ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นและระยะยาวปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่มา: ThaiBMA 0.0 1.0 2.0 3.0 1M 6M 2Y 4Y 6Y 8Y 10Y 12Y 14Y 16Y 18Y 20Y 22Y 24Y 26Y 28Y ร้อยละ Q3/2563 Q4/2563 ม.ค. 64 เงินทุนเคลื่อนย้าย (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 2562 2563 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 - การลงทุนโดยตรง -5.3 -3.0 0.0 -0.1 -2.2 -3.0 -5.4 -4.2 นักลงทุนไทย -10.1 -3.4 -1.9 -3.4 -1.4 -5.8 -5.2 -4.1 นักลงทุนต่างชาติ 4.8 0.4 1.9 3.3 -0.9 2.8 -0.2 0.0 - การลงทุนในหลักทรัพย์ -8.6 -2.4 2.2 -6.4 -2.0 -7.2 1.3 -3.3 นักลงทุนไทย -7.7 -1.1 -0.4 -2.8 -3.4 0.1 2.8 -2.5 นักลงทุนต่างชาติ -1.0 -1.3 2.6 -3.7 1.5 -7.3 -1.5 -0.7 อื่น ๆ -1.7 -0.8 -4.6 5.0 -1.3 1.9 13.9 2.5 เงินทุนเคลื่อนย้าย -15.7 -6.2 -2.4 -1.6 -5.5 -8.4 9.8 -4.9 ที่มา: ธปท. เงินทุนเคลื่อนย้ายไหล ออกสุทธิ ตามการนาเงิน ออกไปลงทุนโดยตรงและ การลงทุนในตลาดตราสาร ทุนของนักลงทุนไทยใน ต่างประเทศ กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 21 Economic Outlook NESDC ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (34.5 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 11.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (350.6 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน และการเกินดุล 6.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (205.6 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมา จากการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 9.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบกับการเกินดุล 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เป็นสำคัญ ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 8.2 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. (สูงกว่าการเกินดุล 6.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมทั้งปี 2563 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 16.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (518.6 พันล้านบาท) เทียบกับ การเกินดุล 38.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (1,179.7 พันล้านบาท) ในปี 2562 เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 258.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (7,747.6 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 224.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (6,756.9 พันล้านบาท) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ -0.4 เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ -0.7 ในไตรมาสที่สามของปี 2563 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มผักและผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้า และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดพลังงานร้อยละ 8.4 ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.23 รวมทั้งปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ -0.8 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 เทียบกับ ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.5 ในปี 2562 ตามลำดับ ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่สาม ของปี 2563 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และการปรับตัวที่ดีขึ้นในหมวด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ ราคาหมวด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ราคา หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวลดลงร้อยละ 20.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 25.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.1 ในไตรมาส ก่อนหน้า4 รวมทั้งปี 2563 ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 2562 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย -15,000 -10,000 -5,000 0 5,000 10,000 15,000 20,000 Q4/59 Q4/60 Q4/61 Q4/62 Q4/63 ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้า และดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ -6 -4 -2 0 2 4 6 Q4/59 Q4/60 Q4/62 Q4/62 Q4/63 %YoY ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 0.4 ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล เทียบกับการเกินดุลใน ช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสก่อนหน้า เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 258.1 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. 3 ในเดือนมกราคม 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.3 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.2 4 ในเดือนมกราคม 2564 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.6 เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ -0.4 เทียบกับ เฉลี่ยร้อยละ -0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย ในหมวดอาหารและ เครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หมวดที่มิใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ลดลงตาม หมวดพลังงาน เป็นสำคัญ ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลง ร้อยละ 0.5 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 1.6 ใน ไตรมาสก่อนหน้า กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 22 NESDC Economic Outlook 2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ามันไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ราคาน่ามันดิบปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้า ราคาน้ามันดิบอยู่ในระดับต่ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สี่ ของปี 2563 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 44.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 27.2 จากค่าเฉลี่ย 60.9 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย 42.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่สามของปี 2563 การปรับตัวลดลงของราคาน้ามันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจาก (1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความวิตกกังวลจากการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทาให้ความต้องการน้ามันดิบยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่า (2) หลายประเทศในยุโรปกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์และเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น (3) กลุ่มโอเปกพลัส ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงคงระดับการลดกาลังผลิต และมีการเพิ่มกาลังการผลิตในลิเบีย (ได้รับยกเว้นจากข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ามันดิบจากกลุ่มโอเปกพลัส) อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปี 2563 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 41.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 32.9 จากเฉลี่ย 61.9 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปีก่อน ราคาน้ามันดิบในตลาดโลก ปี ราคา (ดอลลาร์ สรอ. /บาร์เรล) อัตราการขยายตัว (%YOY) WTI BRENT DUBAI OMAN เฉลี่ย WTI BRENT DUBAI OMAN เฉลี่ย 2560 ทั้งปี 50.9 54.8 53.0 53.2 53.0 18.1 21.6 27.8 27.4 23.7 2561 ทั้งปี 65.1 71.8 69.5 69.8 69.1 27.8 31.1 31.2 31.3 30.4 2562 ทั้งปี 56.9 64.0 63.3 63.6 61.9 -12.6 -10.9 -9.0 -8.9 -10.3 Q1 54.9 63.8 63.2 63.3 61.3 -12.8 -5.2 -0.9 -1.2 -5.0 Q2 59.6 68.2 67.2 67.4 65.6 -12.4 -9.4 -7.0 -6.8 -8.9 Q3 56.4 62.0 61.0 61.5 60.2 -18.9 -18.4 -17.6 -17.3 -18.0 Q4 56.7 62.3 62.1 62.4 60.9 -4.8 -9.7 -8.9 -9.0 -8.1 ทั้งปี 39.2 43.0 42.1 42.1 41.6 -31.0 -32.8 -33.5 -33.8 -32.9 2563 Q1 45.8 50.5 50.5 50.5 49.3 -16.6 -20.9 -20.1 -20.2 -19.6 Q2 28.0 33.4 30.5 30.4 30.6 -53.1 -51.1 -54.5 -54.9 -53.4 Q3 40.9 43.4 43.1 42.9 42.6 -27.4 -30.0 -29.4 -30.2 -29.3 Q4 42.7 45.2 44.7 44.7 44.3 -24.7 -27.5 -27.9 -28.4 -27.2 ต.ค. 39.7 41.6 40.9 40.9 40.8 -26.4 -30.1 -31.4 -31.7 -30.0 พ.ย. 41.1 43.5 43.1 43.1 42.7 -27.9 -30.6 -30.7 -31.2 -30.2 ธ.ค. 46.9 50.0 49.8 49.6 49.1 -21.5 -23.2 -23.4 -23.9 -23.0 2564 ม.ค. 51.9 55.1 54.7 54.5 54.1 -10.0 -13.5 -15.1 -15.6 -13.7 ที่มา: บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และสานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 23 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งเศรษฐกิจกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ ภายหลังจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติมากขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและผลจากการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตและการใช้จ่ายภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (Composite PMI) ในหลายประเทศที่กลับมาอยู่ในระดับสูงกว่าระดับ 50 อย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภายในประเทศได้รับแรงสนับสนุนจากผลของมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังที่มีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการปรับตัวของผู้บริโภคต่อมาตรการควบคุมการระบาด และผลจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้จ่ายที่ถูกเลื่อนมาจาก ช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม โดยหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย และสิงคโปร์ เริ่มกลับมาขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้าย อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนปรับตัวลดลงมากขึ้นเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของจานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ รวมถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสส่งผลให้หลายประเทศมีการบังคับใช้มาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้งในช่วงปลายปี 2563 อาทิ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และออสเตรีย ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สี่ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ยังคงดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 ดังจะเห็นได้จาก ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ยังคงดำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง อาทิ การกาหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่าเป็นประวัติการณ์ การเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่าแก่ธนาคารพาณิชย์ และการเข้าค้าประกันสินเชื่อ นอกจากนี้ ธนาคารกลางของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ขณะเดียวกัน ประเทศเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น ได้ดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 อาทิ การดำเนินกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาวของสหภาพยุโรป และงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ของญี่ปุ่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อน และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ sa) การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในไตรมาสที่สี่อยู่ที่ระดับ 55.7 และระดับ 56.7 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.4 และระดับ 53.2 ซึ่งสูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง และสูงกว่าระดับ 52.1 และ 51.7 ในไตรมาสที่สี่ของปีก่อน ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ตามการขยายตัวของการลงทุนในที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวดีขึ้นสอดคล้องกับตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 13.1 และร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่สองและสาม แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 3.6 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ในไตรมาสที่สี่ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ดำเนินมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือ เยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ วงเงินรวม 9 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งครอบคลุมมาตรการให้เงินช่วยเหลือประชาชนทั่วไป ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก เงินสนับสนุนการตรวจหาเชื้อและวัคซีน การช่วยเหลือด้านอาหารและค่าครองชีพ นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เมื่อวันที่ 15 ? 16 ธันวาคม 2563 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00?0.25 และส่งสัญญาณที่จะยังคงมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการซื้อสินทรัพย์ (Large-Scale Asset Purchase: LSAP) โดยเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างน้อย 8 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (Mortgage-backed securities) อย่างน้อย 4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน โดยรวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.5 จากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2562 และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 11 ปี นับจากที่ลดลงร้อยละ 2.5 ในช่วงวิกฤตการเงินในปี 2551 - 2552 3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สี่ของปี 2563 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการกลับมาขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะ การลงทุนในที่อยู่อาศัย และการปรับตัวดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 24 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจยูโรโ น ลดลงร้อยละ 5.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนลดลงร้อยละ 0.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.4 ในไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ swda.) ตามการลดลงของเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ๆ อาทิ เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี และออสเตรีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ทาให้ต้องมีการบังคับใช้มาตรการควบคุม การระบาดที่เข้มงวดอีกครั้ง โดยดัชนีการค้าปลีกของยูโรโซนในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่สี่ลดลงร้อยละ 4.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงมากขึ้น และการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากภาคบริการที่ชะลอลง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.0 จากระดับ 51.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในเดือนพฤศจิกายนดัชนีลดลงมาอยู่ที่ 41.7 ต่าสุดในรอบ 6 เดือน อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 54.6 สูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส เทียบกับระดับ 52.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.3 เป็นการติดลบติดต่อกันเป็น ไตรมาสที่สอง และต่าสุดในรอบ 23 ไตรมาส สำหรับการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 รัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาวของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 ? 2570 วงเงิน 1.0743 ล้านล้านยูโร ขณะเดียวกันในการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 มีมติยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 รวมทั้งการปรับเพิ่มวงเงินภายใต้การดำเนินมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ภายใต้ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) จาก 1.35 ล้านล้านยูโรเป็น 1.85 ล้านล้านยูโร และขยายการเข้าซื้อพันธบัตรตามโปรแกรมดังกล่าวออกไปอย่างน้อยจนถึงเดือนมีนาคม 25655 นอกจากนี้ ยังขยายระยะเวลามาตรการ Pandemic Emergency Longer-Term Refinancing Operations (PELTROs) ออกไปจนถึงปี 2565 โดยรวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจยูโรโซนลดลงร้อยละ 6.8 จากการขยายตัว ร้อยละ 1.3 ในปี 2562 และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 7 ปี นับจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในปี 2556 เนื่องจากผลกระทบของวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.2 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 46.7 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ากว่า 50.0 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 8 สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส นอกจากนี้ ดัชนีการค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 5 ไตรมาส สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส ทั้งนี้ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มเติมเป็นครั้งที่ 3 ภายในปีที่ผ่านมา มูลค่า 73.6 ล้านล้านเยน (ร้อยละ 13.1 ของ GDP ปี 2562)6 ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติงบประมาณเพื่อช่วยลดผลกระทบของการแพร่ระบาดไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 277.8 ล้านล้านเยน สำหรับนโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2563 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ (-0.1) และการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) ช่วงอายุ 10 ปี ให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 (Yield Curve Control)7 โดยรวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในปี 2562 และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี เศรษฐกิจยูโรโซนลดลงร้อยละ 5.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลดลงของอุปสงค์ภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกที่สองของโควิด-19 ในหลายประเทศสมาชิกสำคัญ เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากการปรับตัว ดีขึ้นของการผลิตอุตสาหกรรม การส่งออก และการค้าปลีก ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการอนุมัติมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมอีกมูลค่า 73.6 ล้านล้านเยน 5 ECB จะเข้าซื้อพันธบัตรตามโปรแกรมดังกล่าวอย่างน้อยจนถึงเดือนมีนาคม 2565 หรือจนกระทั่ง ECB พิจารณาว่าวิกฤตการณ์จากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว นอกจากนี้ ECB ยังระบุว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบันหรือต่ากว่าระดับปัจจุบัน จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น ใกล้เคียงแต่จะไม่เกินระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 อย่างยั่งยืน 6 มาตรการที่สำคัญประกอบด้วย (i) มาตรการเงินอุดหนุนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ (ii) มาตรการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ เพื่อรักษาการจ้างงาน (iii) งบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการควบคุมการระบาดของโควิด-19 (iv) มาตรการเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ภายหลังการระบาดสิ้นสุดลง และ (v) การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการภัยพิบัติ 7 นอกจากนี้ BOJ ยังขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ Special Funds Supplying Operations to Facilitate Financing in Response to the Novel Coronavirus ซึ่งเป็นสินเชื่อไม่มีดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินเพื่อนาไปปล่อยต่อให้กับผู้ประกอบการ ออกไปจากสิ้นเดือนมีนาคม 2564 เป็นสิ้นเดือนกันยายน 2564 พร้อมทั้งยกเลิกเพดานในการปล่อยกู้จากเดิมกาหนดไว้ที่ 100,000 ล้านเยนต่อหนึ่งสถาบันการเงิน เป็นการไม่จำกัดจานวนการปล่อยกู้ต่อหนึ่งสถาบันการเงิน กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 25 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 ไตรมาส ตามการปรับตัวดีขึ้นของทุกสาขาการผลิต โดยภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.8 เร่งขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Caixin Manufacturing PMI) ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 53.8 เป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูงที่ร้อยละ 17.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 8.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุด ในรอบ 31 ไตรมาส นอกจากนี้ การค้าปลีกภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 6.6 เป็นการกลับมาขยายตัว ครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส สำหรับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 รัฐบาลจีนมีมติให้ขยายการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้โดยการขยายเวลาชาระหนี้ต่อไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2564 พร้อมทั้งยังคงมาตรการทางการคลังอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัว ของเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่าและยังคงสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์8 และเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตร (Reverse repo) อายุ 7 วัน ไว้ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นระดับต่าที่สุดในประวัติการณ์ โดยรวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.0 ในปี 2562 และเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำสุดในรอบ 44 ปี อย่างไรก็ดี ถือเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงประเทศเดียวที่ยังคงขยายตัว เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการปรับตัวดีขึ้นทั้งการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ยกเว้นเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ลดลงในอัตราที่สูงขึ้น โดยเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 4.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 25 ไตรมาส ตามการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน และการขยายตัวของการอุปโภคภาครัฐบาลและการส่งออก เศรษฐกิจฮ่องกงลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ห้า โดยลดลงร้อยละ 3.0 แต่เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของการลงทุนรวมและการเร่งขึ้นของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่หก เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามและเหตุการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองเป็นสำคัญ ส่วนเศรษฐกิจสิงคโปร์ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สี่ โดยลดลงร้อยละ 3.8 แต่เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการก่อสร้าง ภาคบริการ และการส่งออก ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ลดลงร้อยละ 1.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ แม้จะยังคงมีแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของการส่งออก และการปรับตัวดีขึ้นของภาคอุตสาหกรรมการผลิต สำหรับอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามราคาในหมวดอาหารและหมวดที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาในหมวดการขนส่งและหมวดกิจกรรมนันทนาการส่วนใหญ่ลดลงต่อเนื่อง โดยรวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 3.0 เท่ากับปีก่อนหน้า ขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์และเกาหลีใต้ลดลงครั้งแรกในรอบ 19 ปีและ 22 ปี ตามลำดับ โดยลดลงร้อยละ 5.8 และร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.7 และร้อยละ 2.0 ในปี 2562 ส่วนเศรษฐกิจฮ่องกงลดลงติดต่อกันเป็นปีที่สอง โดยลดลงร้อยละ 6.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.2 ในปี 2562 เศรษฐกิจจีนขยายตัว ร้อยละ 6.5 เป็น การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 ไตรมาสตามการปรับตัวดีขึ้นทุกองค์ประกอบของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ NIEs ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวขึ้นของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ยกเว้นเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ลดลงในอัตราที่สูงขึ้น 8 ในช่วงไตรมาสที่สี่ ธนาคารกลางจีน (PBOC) คงอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินสารองส่วนเกินที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง (Interest on Excess Reserve) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะกลางอายุ 1 ปีสำหรับสถาบันการเงินไว้ (Medium-Term Lending Facility: MLF) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Loan Prime Rate: LPR) ระยะ 1 ปี ไว้ในระดับต่าที่ร้อยละ 0.35 ร้อยละ 2.95 และร้อยละ 3.85 ตามลำดับ ส่วนสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio: RRR) คงไว้ที่ร้อยละ 9.4 กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 26 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเยน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและ ภาคการส่งออกในหลายประเทศซึ่งกลับมาขยายตัว สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่สาม เป็นผลมาจากการขยายตัวสูงขึ้นในทุกภาคการผลิตและภาคการส่งออก สำหรับเศรษฐกิจฟิลิปปินส์และเศรษฐกิจอินโดนีเซียลดลงร้อยละ 8.3 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ ฟื้นตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 11.4 และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคการผลิตอุตสาหกรรมสอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของภาคการส่งออก รวมทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลงในอัตราที่ ชะลอลง ขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียลดลงร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภายในประเทศลดลง ร้อยละ 3.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ในส่วนของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนธนาคารกลางมาเลเซียยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งปี 2563 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากร้อยละ 7.0 และต่าสุดในรอบ 35 ปี ขณะที่เศรษฐกิจฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 23 ปี โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 9.5 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 5.0 ในปี 2562 เช่นเดียวกับเศรษฐกิจมาเลเซียที่ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 12 ปีที่ร้อยละ 5.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.3 ในปีก่อนหน้าซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 12 ปี 9 ธนาคารกลางเวียดนาม (1 ตุลาคม 2563) ฟิลิปปินส์ (23 พฤศจิกายน 2563 ) และอินโดนีเซีย (18 ? 19 พฤศจิกายน 2563) ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายจากร้อยละ 3.00 ร้อยละ 2.25 และร้อยละ 4.00 เป็นร้อยละ 2.50 ร้อยละ 2.00 และร้อยละ 3.75 ตามลำดับ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการส่งออกที่กลับมาขยายตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจ และมูลค่าการส่งออกของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ (%YoY) GDP มูลค่าส่งออกสินค้า 2561 2562 2563 2561 2562 2563 ทั้งปี ทั้งปี Q3 Q4 ทั้งปี ทั้งปี ทั้งปี Q3 Q4 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี สหรัฐฯ 3.0 2.2 -2.8 -2.5 -3.5 7.9 -1.5 -13.5 -5.7 -7.2 -7.6 -2.3 -13.2 ยูโรโ น 1.9 1.3 -4.3 -5.1 -6.8 8.7 -2.5 -4.0 1.2* -3.2 6.0 - -8.9* สหราชอาณาจักร 1.3 1.4 -8.7 -7.8 -9.9 10.2 -3.4 -12.6 -7.6* -14.7 0.5 - -14.7* ออสเตรเลีย 2.9 1.9 -4.1 - - 11.3 5.3 -13.1 4.3 0.4 0.4 11.4 -7.7 ญี่ปุ่น 0.6 0.3 -5.7 - - 5.7 -4.4 -12.0 3.3 2.6 -0.1 7.2 -9.1 จีน 6.7 6.0 4.9 6.5 2.3 9.7 -0.1 8.9 17.0 11.4 21.1 18.3 4.0 อินเดีย 6.8 4.9 -7.5 - - 8.8 -0.1 -5.3 -4.3 -4.7 -8.6 0.1 -14.8 เกาหลีใต้ 2.9 2.0 -1.1 -1.4 -1.0 5.4 -10.4 -3.5 4.1 -3.8 4.1 12.6 -5.5 ไต้หวัน 2.8 3.0 3.9 4.9 3.0 5.9 -1.5 6.0 11.7 11.2 12.0 12.0 4.9 ฮ่องกง 2.8 -1.2 -3.6 -3.0 -6.1 6.8 -4.1 2.3 6.4 0.1 6.7 12.4 -0.5 สิงคโปร์ 3.4 0.7 -5.6 -3.8 -5.8 10.3 -5.2 -2.1 -1.7 -5.1 -4.4 4.5 -4.1 อินโดนีเย 5.2 5.0 -3.5 -2.2 -2.1 6.6 -6.8 -6.5 6.7 -3.5 9.4 14.6 -2.6 มาเลเย 4.8 4.3 -2.6 -3.4 -5.6 14.2 -3.4 3.5 6.6 1.1 5.7 13.3 -2.6 ฟิลิปปินส์ 6.3 6.0 -11.4 -8.3 -9.5 0.9 2.3 -6.5 0.8 -1.2 4.0 -0.2 -10.1 เวียดนาม 7.1 7.0 2.7 4.5 2.9 13.3 8.4 10.6 15.1 12.2 10.7 22.7 7.0 หมายเหตุ: * ข้อมูลถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่มา: CEIC รวบรวมโดย สศช. กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 27 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวภายหลังจากการลดลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศที่ได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของ หลายประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยเฉพาะสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของการอนุมัติและการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักนับตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ประกอบกับผลจากการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมทั้งด้านการเงินและการคลังที่มีอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลัก อาทิ การประกาศใช้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของยูโรโซน และญี่ปุ่น รวมทั้งการพิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน การขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศกาลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนสมมติฐานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาวัคซีนที่สามารถตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ได้ดีควบคู่ไปกับการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ๆ จนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ความสามารถในการกระจายวัคซีนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มประเทศ โดยในกรณีฐานคาดว่า กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักจะสามารถกระจายวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดภายในครึ่งแรกของปี 2564 และร้อยละ 75 ภายในสิ้นปี 2564 ส่วนประเทศกาลังพัฒนาและเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียคาดว่าจะสามารถกระจายวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 50 ภายในสิ้นปี 2564 และร้อยละ 75 ภายในครึ่งแรกของปี 2565 (2) ไม่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างและยืดเยื้อมากขึ้น รวมทั้งไม่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสจนทาให้ประเทศต่าง ๆ ต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง และ (3) ไม่มีการลุกลามของวิกฤตการณ์จากภาคการผลิตสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินและการคลังในประเทศสำคัญ ๆ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่า เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในช่วงปี 2564 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีภายหลังจากประเทศอุตสาหกรรมหลักมีการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ได้มากพอสำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ได้มากขึ้น ในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.0 ในปี 2563 ตามลำดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ดังนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 3.5 ในปี 2563 นับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุด ในรอบ 16 ปี และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการใช้จ่ายภายในประเทศ และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยสหรัฐฯ เริ่มมีการกระจายวัคซีนนับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 และปัจจุบันมีขีดความสามารถในการกระจายวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงวันละ 1.47 ล้านโดสต่อวัน ทั้งนี้ เครื่องชี้ที่สำคัญ ๆ ในเดือนมกราคม 2564 สะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 59.2 และ 58.3 ตามลำดับ ถือเป็นระดับสูงในรอบ 36 เดือน และ 2 เดือน และเป็นระดับที่สูงกว่าก่อนการแพร่ระบาดที่ระดับ 51.9 และ 53.4 ในเดือนมกราคม 2563 ตามลำดับ ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนมกราคม 2564 ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 เป็นการลดลงระดับต่าที่สุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาดและลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 เทียบกับอัตราการว่างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2563 ที่ร้อยละ 14.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งครอบคลุมมาตรการให้เงินช่วยเหลือประชาชนทั่วไป ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก รวมทั้งแผนการลงทุนขนาดใหญ่ตามแนวนโยบายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ควบคู่ไปกับการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องโดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่า รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ที่ช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับตลาดเงินและตลาดทุน เศรษฐกิจยูโรโ น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.8 ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.8 ในการประมาณการครั้งก่อน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่จะทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 54.8 เทียบกับ 47.9 ในเดือนมกราคมปีก่อน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มที่เผชิญกับข้อจำกัดจากการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่ยังคงมีรุนแรงในหลายประเทศ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคบริการ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการในเดือนมกราคม 2564 อยู่ที่ 45.4 ต่ากว่าระดับ 52.5 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับต่ากว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สอดคล้องกับการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังลดลงตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง ทั้งนี้ เศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2564 จะได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ ประกอบด้วย (1) กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาวของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 ? 2570 วงเงิน 1.0743 ล้านล้านยูโร ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะมนตรียุโรป (European Council) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 (2) แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU วงเงิน 0.75 ล้านล้านยูโร (3) โครงการ EU4Health มูลค่า 5.1 ล้านบาท ที่มุ่งเน้นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยกระดับขีดความสามารถทางสาธารณสุข และ (4) การช่วยเหลือทางการเงินให้กับประเทศสมาชิก 16 ประเทศ 4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2564 กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 28 NESDC Economic Outlook ในรูปแบบของเงินกู้จากสหภาพยุโรปภายใต้มาตรการสนับสนุนชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านการว่างงานในกรณีฉุกเฉิน (SURE) มูลค่ารวม 8.74 หมื่นล้านยูโร ทั้งนี้ได้มีการเบิกจ่ายให้กับแต่ละประเทศสมาชิกไปแล้ว ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 รวม 1.4 หมื่นล้านยูโร นอกจากนี้ ในด้านนโยบายการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรตาม Pandemic Emergency Purchase Programme จาก 1.35 ล้านล้านยูโรเป็น 1.85 ล้านล้านยูโรจนถึงเดือนมีนาคม 2565 หรือจนกว่า ECB จะพิจารณาว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว และล่าสุดในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ECB ได้มีมติให้ดำเนินนโยบายการเงินแบบ ผ่อนคลายต่อไป โดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ทั้งนี้ คาดว่า ECB มีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการทางการเงินแบบ ผ่อนคลายต่อไปตลอดทั้งปี 2564 จนกว่าอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนจะปรับสูงขึ้นใกล้เคียงกับระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.4 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.7 ในปี 2563 นับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 9 ปี ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลของการดำเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มกลับมาขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ขณะเดียวกัน การลงทุนภาครัฐจะได้แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐจากงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2564 เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 106.6 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีก่อนหน้า ถือเป็นงบประมาณรายจ่ายประจาปีที่มีวงเงินสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อช่วยลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการทางการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจ โดยล่าสุดในการประชุมเมื่อวันที่ 20 - 21 มกราคม 2564 BOJ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ (-0.1) และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (JGBs) อายุ 10 ปี ที่ร้อยละ 0.0 รวมถึงให้เลื่อนกาหนดการสิ้นสุดมาตรการนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไปอีก 1 ปี อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2564 ยังมีข้อจำกัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่กลับมาทวีความรุนแรงขึ้นจนทาให้รัฐบาลญี่ปุ่นจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่มีการระบาดรุนแรงรวมถึงกรุงโตเกียว มีผลตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม ถึงวันที่ 7 มีนาคม 2564 ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือนมกราคม 2564 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.8 และ 46.1 ต่าที่สุดในรอบ 2 เดือน และ 5 เดือน ตามลำดับ สอดคล้องกับการลดลงของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดระลอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ซึ่งหากต้องเลื่อนการจัดออกไปจะทาให้การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในปี 2563 และปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5 ในการประมาณครั้งก่อน เนื่องจากความสาเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือนมกราคม 2564 ซึ่งอยู่ที่ 51.5 และ 52.0 ตามลำดับ สูงกว่าระดับ 51.1 และ 51.8 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการผ่อนคลายลงของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนจะได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการสำคัญ เช่น การให้เงินช่วยเหลือในการดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดและการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเร่งเบิกจ่ายเงินประกันตนผู้ตกงานและขยายเวลาให้แรงงานต่างชาติ การลดการจัดเก็บภาษีและงดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนประกันสังคม และการเร่งการลงทุนภาครัฐ ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางจีน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดเงิน 5 แสนล้านหยวน (ประมาณ 7.7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ.) เข้าสู่ระบบการเงินผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) และอัดฉีดเงินอีก 2 พันล้านหยวน เข้าสู่ตลาดผ่านทางข้อตกลงเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ (reverse repos) เพื่อรักษาสภาพคล่องในระบบให้เพียงพอ นอกจากนี้ ยังได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ที่ร้อยละ 3.85 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 รวมถึงผลจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้างตามแนวทางของแผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 14 ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2564 ? 2568 โดยมีหลักการสำคัญที่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Cir culation) เพื่อมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับเศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความไม่แน่นอนจากการพึ่งพิงเศรษฐกิจต่างประเทศมากจนเกินไป10 10 แผนการพัฒนาดังกล่าวจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ (Internal Circulation) และเศรษฐกิจภาคต่างประเทศ (External Circulation) มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ (1) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต่อประชากรเพิ่มขึ้นเป็นระดับประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2578 (2) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการพึ่งพิงจากต่างชาติ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านเซมิคอนดักเตอร์ และ (3) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา การลดความเหลื่อมล้าทางรายได้ระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองขนาดเล็ก และการปฏิรูปที่ดิน กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 29 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยได้แรงสนับสนุนสำคัญจากการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออก สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมถึงการฟื้นตัวของ อุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และการดำเนินมาตรการทางการคลังและการเงินเพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ จะขยายตัวร้อยละ 3.3 ร้อยละ 4.1 และร้อยละ 5.9 ตามลำดับ ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 1.0 ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 6.0 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐาน การประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.9 ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในฮ่องกงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งหากสถานการณ์กลับมารุนแรงจนส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและยืดเยื้อมากขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจของฮ่องกงในปี 2564 ขยายตัวต่ากว่ากรณีฐาน ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไต้หวันในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน โดยเร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2563 ตามแนวโน้มการส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเยน มีแนวโน้มจะฟื้นตัวดีขึ้นตามภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการส่งออกสินค้าที่เริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักและจีนที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของกลุ่มประเทศอาเซียน อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศและข้อจำกัดของความสามารถในการกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงของแต่ละประเทศจะเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2564 โดยคาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจมาเลเซียและฟิลิปปินส์ จะขยายตัวร้อยละ 6.4 และร้อยละ 6.1 ตามลำดับ ปรับลดลงจากร้อยละ 6.5 และร้อยละ 7.0 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศในช่วงเดือนมกราคม 2564 ที่ยังมีความรุนแรงและมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี ส่วนเศรษฐกิจอินโดนีเซียและเวียดนามคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0 และร้อยละ 6.2 เท่ากับ การประมาณการครั้งก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.7 และการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปีก่อน ตามลำดับ แม้กระนั้นก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทาให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 ขยายตัวต่ากว่าที่คาดการณ์ในกรณีฐานซึ่งจะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการระบาดระลอกใหม่ที่อาจมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่คาด จนทาให้ประเทศต่าง ๆ ต้องกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดและยังต้องจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศต่อไปในช่วงที่เหลือของปี 2564 ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกต่างไปจากกรณีฐาน (2) ประสิทธิภาพของวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนของประเทศต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่คาด รวมทั้งหากเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสจนส่งทาให้วัคซีนที่ผลิตออกมาไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดได้ หรือการขยายกาลังการผลิตวัคซีนเป็นไปอย่างล่าช้าจนไม่เพียงพอที่จะกระจายให้กับประเทศต่าง ๆ ได้ตามสมมติฐานการประมาณการในกรณีฐาน (3) ความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ภายใต้การดำเนินงานของประธานาธิบดีคนใหม่ ความผันผวนของเงินลงทุนระหว่างประเทศภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และเสถียรภาพทางการเมือง อาทิ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวัน สถานการณ์ทางการเมืองในฮ่องกงและเมียนมา รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และ (4) ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทาให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อ่อนแอลงจนทาให้หนี้สินอยู่ในระดับสูงขึ้น ควบคู่ไปกับตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และอัตราการว่างงานสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงช่องว่างทางนโยบาย (Policy Space) ของแต่ละประเทศลดลงจากการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับการแพร่ระบาดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดสำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 30 NESDC Economic Outlook ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 13 มกราคม 2564 ชี้ให้เห็นว่าหลายประเทศเริ่มมีความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยอิสราเอลเป็นประเทศที่มีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนสูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 62.9 ต่อประชากรทั้งหมด ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วและมีฐานการผลิตวัคซีนอยู่ภายในประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ มีสัดส่วนการฉีดวัคซีนอยู่ที่ร้อยละ 19.2 และร้อยละ 12.8 ต่อประชากรทั้งหมด ตามลำดับขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังมีสัดส่วนการฉีดวัคซีนไม่มากนัก อาทิ สหภาพยุโรปร้อยละ 3.8 จีนร้อยละ 2.2 สิงคโปร์ร้อยละ 3.0 อินเดียร้อยละ 0.4 และอินโดนีเซียร้อยละ 0.3 และมีอีกหลายประเทศในภูมิภาคที่ยังไม่ได้เริ่มฉีดวัคซีน อาทิ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประเทศที่เริ่มมีประชากรได้รับวัคซีนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจะเห็นได้ว่า จานวนผู้ป่วยติดเชื้อของประเทศดังกล่าวเริ่มมีแนวโน้มลดลง สถานการณ์การฉีดวัคีนในปัจจุบัน สัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคีนต่อประชากรทั้งหมด (ร้อยละ) ประเทศ ประเทศ ประมาณการ ครึ่งแรก ปี 2564 สิ้นปี 2564 ครึ่งแรก ปี 2565 อิสราเอล 71 >75 >75 >75 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 48 >75 >75 >75 อังก ษ 21 50 >75 >75 สหรัฐฯ 14 50 >75 >75 ยุโรป 4 20 >75 >75 สิงคโปร์ 4 60 >75 >75 จีน 3 40 >75 >75 อินเดีย 1 60 >75 >75 อินโดนีเย 0.5 7 40 67 มาเลเย 0 44 >75 >75 ญี่ปุ่น 0 30 >75 >75 ฟิลิปปินส์ 0 25 68 >75 เกาหลีใต้ 0 20 >75 >75 ไทย 0 12 50 70 ที่มา: รวบรวมโดย สศช. ข้อมูล ณ วันที่ 13 มกราคม 2564 สัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคีนต่อประชากรทั้งหมด(ร้อยละแกนขวา) จานวนผู้ติดเชื้อรายวันเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง(พันคนแกน้าย)-101030507090024681019 ธ.ค. 632 ม.ค. 6416 ม.ค. 6430 ม.ค. 64อิสราเอล0510152025303501020304050607013 ธ.ค. 6327 ธ.ค. 6310 ม.ค. 6424 ม.ค. 647 ก.พ. 64อังก ษ02468101205010015020025030020 ธ.ค. 633 ม.ค. 6417 ม.ค. 6431 ม.ค. 64สหรัฐฯ0.00.51.01.52.02.53.005010015020025030027 ธ.ค. 6310 ม.ค. 6424 ม.ค. 647 ก.พ. 64สหภาพยุโรป กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 31 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจาก (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความคืบหน้าของการอนุมัติและการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ประกอบกับผลจากการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมทั้งด้านการเงินและการคลังที่มีอย่างต่อเนื่อง (2) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจาปี งบลงทุนรัฐวิสาหกิจตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และงบประมาณภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท11 (3) การกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนรวม และ (4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ได้แก่ (1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่อาจมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่คาดจนนาไปสู่การดำเนินมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดมากขึ้น (2) แนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (3) เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจท่ามกลางตลาดแรงงานและกิจกรรมทางธุรกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ (4) ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง และ (5) ความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก 5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 ปัจจัยสนับสนุน 1) การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลัง ของปี 2563 โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ที่ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องของประเทศสำคัญ โดยเฉพาะประเทเศรษฐกิจหลัก อาทิ การประกาศใช้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของยูโรโซน และญี่ปุ่น รวมทั้งการพิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของการอนุมัติและการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศเศรษฐกิจหลักที่เร็วกว่าการคาดการณ์ และส่งผลให้จานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มปรับตัวลดลงในหลายประเทศ อาทิ อิสราเอล สหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรป 2) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจาปีและมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจาปี 2564 ซึ่งในกรณีฐานคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายสะสมทั้งปีงบประมาณ 2564 ทั้งสิ้น ร้อยละ 93.5 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจาและงบประมาณรายจ่ายลงทุนร้อยละ 98.0 และร้อยละ 75 ของกรอบงบประมาณ ตามลำดับ ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณ 2564 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 3,072,000 ล้านบาท เทียบกับ 2,944,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2563 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ขณะที่งบประมาณเหลื่อมปี 2564 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณ หรือคิดเป็นวงเงินประมาณทั้งสิ้น 183,000 ล้านบาท (2) การเบิกจ่ายภายใต้ พระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการเบิกจ่าย ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งสิ้น 800,000 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2564 ทั้งสิ้น 510,000 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563 และ (3) การเบิกจ่ายภายใต้งบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยคาดว่าจะมีอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 70.0 จากวงเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติ เทียบกับร้อยละ 65.0 ในปีงบประมาณ 2563 และ (4) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรการช่วยเหลือแรงงานและนายจ้างที่ได้รับผลกระทบ และมาตรการช่วยเหลือแรงงานและนายจ้างที่ได้รับผลกระทบ และมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 3) การกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ภายในประเทศ การบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวภายหลังจากที่ลดลงในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการฟื้นตัวของฐานรายได้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวตามการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากมาตรการทางเศรษฐกิจที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน อาทิ โครงการ คนละครึ่ง เราชนะ และช้อปดีมีคืน รวมถึงมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องและมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในระลอกใหม่ที่จำกัดเพียงเฉพาะบางพื้นที่ (Partial lockdown) ตามระดับความรุนแรงการแพร่ระบาด ทาให้พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดน้อยสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปได้ ขณะเดียวกัน การบริโภคยังได้รับแรงสนับสนุนจากการที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถปรับตัวได้ต่อการป้องกันโรคและการรักษาระยะห่างได้มากขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลความถี่สูง (High frequency data) ล่าสุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2564 สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงของการระบาดระลอกใหม่ ยังคงมีการเดินทางและการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่ในระดับสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับในระลอกแรก นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจานวนผู้ติดเชื้อใหม่ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการระบาดเริ่มผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว ข้อมูล ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 มีจานวนผู้ติดเชื้อใหม่ 126 คน เริ่มปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดที่มีจานวนผู้ติดเชื้อใหม่ 959 คน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ประกอบกับแผนการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนภายในประเทศหากเป็นไปตามที่วางไว้และสามารถกระจายได้มากขึ้นในช่วง 11 พระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติด เชื้อไวรัส โคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 32 NESDC Economic Outlook ครึ่งหลังของปี ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนบรรยากาศความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจมากขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวได้ในปี 2564 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก การเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้กาลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งแนวโน้มการขยายตัวสูงของการลงทุนภาครัฐและการลงทุนในส่วนของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้นักลงทุนภาคเอกชนมีการขยายการลงทุนมากขึ้น 4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ในเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งแรกในรอบ 11 ปี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจโลกที่ลดลงร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นระดับต่าที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2564 สามารถกลับมาขยายตัวได้ภายใต้แนวโน้มการฟื้นตัวของการส่งออก การผลิต และอุปสงค์ภายในประเทศ ข้อมูลความถี่สูงชี้ให้เห็นสัญญาณการเริ่มฟื้นตัวของการเดินทาง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกใหม่จะมีจานวนผู้ติดเชื้อรายวันและผู้ติดเชื้อสะสมที่สูงกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรก แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะน้อยกว่าการแพร่ระบาดในระลอกแรก เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่มีการดำเนินการเพียงบางพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง (Partial lockdown) ทาให้พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดน้อยสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับตัวของผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากขึ้นต่อมาตรการควบคุมและการรักษาระยะห่าง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลความถี่สูง (High frequency data) ในเดือนมกราคม 2564 ทั้งข้อมูลดัชนี Apple mobility และข้อมูลจานวนการจองภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกันรายวัน ชี้ให้เห็นว่าในช่วงของการระบาดระลอกใหม่ ประชาชนยังคงเดินทางเนื่องจากยังไม่มีการล็อคดาวน์และเป็นช่วงวันหยุดปีใหม่ และเริ่มลดลงภายหลังจากการควบคุมพื้นที่บางส่วน ก่อนที่จะค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่มีการประกาศลดระดับความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่นับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2564 เป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการเดินทางออกมาทากิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในกลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ อาทิ จังหวัดในภาคเหนือและภาคใต้ ยังชี้ให้เห็นว่ายังมีการเดินทางน้อยและมีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าพื้นที่อื่น ๆ 02040608010012014005,00010,00015,00020,00025,00030,00035,000202224262830135791113151719212325272931246ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64ทั้งประเทศ0204060801001200100200300400500600700202224262830135791113151719212325272931246ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64สมุทรสาครและพื้นควบคุมสูงสุด 4 จังหวัด015304560759001,0002,0003,0004,0005,0006,000202224262830135791113151719212325272931246ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ0408012016002004006008001,0001,2001,4001,6001,8002,000202224262830135791113151719212325272931246ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต กระบี่ ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษ ร์ธานี จานวนการจองภายใต้โครงการฯ ที่เช็คอินสาเร็จ ดัชนี Apple Mobility (แกนขวา) ระดับของมาตรการควบคุม (20% = เฝ้าระวังและ 100% = ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด)ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประมวลผลโดย สศช. กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 33 NESDC Economic Outlook 1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดและความล่าช้าของการกระจายวัคีน ข้อมูลผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันในปัจจุบันทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะเริ่มแสดงให้เห็นทิศทางลดลงจากจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมกราคม 2564 อย่างไรก็ดี หลายประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ อาทิ อิตาลี ฟินแลนด์ บราซิล ตุรกี และอิหร่าน รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ขณะเดียวกัน ยังมีความไม่แน่นอนของวัคซีนทั้งด้านประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในกรณีที่มีการกลายพันธุ์ของไวรัส นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากความล่าช้าของการกระจายวัคซีนของแต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากกระบวนการผลิตและการส่งมอบวัคซีนมีความล่าช้า และขีดจำกัดของระบบสาธารณสุขและการบริหารจัดการของแต่ละประเทศที่ไม่มีความพร้อมและไม่สามารถรองรับการกระจายวัคซีนในปริมาณที่มากได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) แนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากยังคงมีความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ รวมทั้งความไม่แน่นอนของการกระจายวัคซีนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยวเป็นวงกว้างและเพียงพอต่อการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยด้านการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศเศรษฐกิจหลักหลายประเทศจะเริ่มมีความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนมากขึ้นและคาดว่าจะสามารถกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ภายในปี 2564 แต่สำหรับประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่จะมีความล่าช้ากว่าประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งอาจทาให้ประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยวและประเทศไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องยังคงดำเนินมาตรการจำกัดและควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศไว้นานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะทาให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวล่าช้าออกไปกว่าที่คาดในกรณีฐานที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้มีการเดินทางเข้ามามากขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉพาะกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วให้เดินทางเข้ามาได้โดยไม่ต้องกักตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 3) เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจโดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้สินในช่วงการระบาดของโรค ท่ามกลางตลาดแรงงานและกิจกรรมทางธุรกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของครัวเรือนและการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย อาทิ การเลื่อนและลดภาระชาระหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans) ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาสที่สามของปี 2563 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 แต่เมื่อพิจารณาสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mention Loans) ต่อสินเชื่อรวมทั้งหมดในไตรมาสที่สามของปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาสที่สามของปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 86.6 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 83.8 ของ GDP ในไตรมาสก่อนหน้าและร้อยละ 78.9 ของ GDP ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับสถานการณ์ตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สะท้อนจากอัตราการว่างงานในไตรมาสที่สี่ซึ่งอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 1.86 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.90 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 0.98 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการว่างงานสูงมากในสาขาที่ยังคงมีข้อจำกัดของการฟื้นตัว ได้แก่ สาขาที่พักแรม สาขาตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว สาขาการบริหารสานักงาน และสาขาการก่อสร้างอาคาร สอดคล้องกับจานวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานประกอบกิจการที่หยุดกิจการชั่วคราวของนายจ้าง12 ณ สิ้นสุดไตรมาส พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 761,000 คน ในไตรมาสที่สาม เป็น 1,207,000 คน ในไตรมาสที่สี่ แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังเป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ 4) สถานการณ์ภัยแล้ง ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณน้าใช้ได้จริงในเขื่อนและอ่างเก็บน้าทั่วประเทศ ณ อยู่ที่ 16,424 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2 ของความจุรวมของเขื่อนและอ่างเก็บน้าทั่วประเทศ และน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังของช่วงเวลาเดียวกันซึ่งอยู่ที่ระดับ 22,698 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนที่มีปริมาณน้าน้อยเป็นประวัติการณ์ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ในกรณีที่ปริมาณในเขื่อนยังไม่เพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะใช้สำหรับทาการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวนาปรังปีการเพาะปลูก 2563-2564 ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับผลกระทบจากภัยแล้งต่อเนื่องเป็นปีที่สอง และอาจไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างที่คาดการณ์ 5) ความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก โดยมีเงื่อนไขในเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ทิศทางการเปลี่ยนแปลงนโยบายระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ภายใต้การดำเนินงานของประธานาธิบดีคนใหม่ (2) ความผันผวนของเงินลงทุนระหว่างประเทศภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุน (3) การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศสำคัญในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเนื่องจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (4) ความเสี่ยงจากปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและยังคงเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดที่รุนแรง อาทิ สเปน อิตาลี บราซิล อาร์เจนติน่า เปรู ตุรกี และแอฟริกาใต้ และ (5) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และเสถียรภาพทางการเมือง อาทิ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวัน สถานการณ์ทางการเมืองในฮ่องกงและเมียนมา รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง 12 แรงงานที่ได้รับสิทธิคุ้มครองตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 34 Economic Outlook NESDC เครื่องชี้ภาคแรงงานยังสะท้อนความเปราะบางของตลาดแรงงานไทย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของไทย สะท้อนจากอัตราการว่างงานในไตรมาสที่สี่ ของปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 1.86 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 0.98 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาแยก ตามสาขาการผลิต พบว่าแต่ละสาขาการผลิตได้รับผลกระทบแตกต่างกัน โดยอัตราการว่างงานในบางสาขาที่เผชิญกับข้อจำกัดของการฟื้นตัว โดยเฉพาะสาขาบริหารที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับสูง อาทิ สาขาตัวแทนธุรกิจการเดินทาง สาขาที่พักแรม ธุรกิจจัดนาเที่ยว และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง สาขาการบริหารสานักงาน บริการสนับสนุนสานักงานและบริการสนับสนุนทางธุรกิจอื่น ๆ และสาขาการก่อสร้าง อาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผู้ประกันตนที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงงาน (มาตรา 38) ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยในเดือน ธันวาคม 2563 มีจานวนทั้งสิ้น 395,013 คน เพิ่มขึ้นจาก 161,984 คนในเดือนมกราคม 2563 แม้ว่าจะเริ่มปรับตัวลดลงอย่างช้า ๆ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังคงมีความเปราะบางทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ และความล่าช้าของ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ดังนั้น มาตรการในระยะต่อไปจึงควรมุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคเศรษฐกิจและ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ มาตรการส่งเสริมการรักษาระดับการจ้างงาน มาตรการสร้างงานใหม่เพื่อรองรับผู้ว่างงาน และมาตรการพัฒนา ทักษะแรงงาน เพื่อช่วยแรงงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบซึ่งอาจต้องเปลี่ยนสายงานสายอาชีพใหม่ 3.17 10.34 28.85 7.23 0 5 10 15 20 25 30 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2561 2562 2563 อัตราการว่างงานแยกรายสาขาการผลิต อัตราการว่างงานรวม การก่อสร้างอาคาร ที่พักแรม ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว การบริหารสานักงาน ร้อยละ 0 1 2 3 4 5 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 2562 2563 แสนคน ผู้ประกันตนที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จาแนกตามประเภทกิจการ ปี 2562 2563 อื่น ๆ การบริหารราชการฯ กิจกรรมการบริหารฯ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า การขายส่งและการขายปลีกฯ การก่อสร้าง การผลิตอุตสาหกรรม ที่มา: สานักงานสถิติแห่งชาติ และสานักงานประกันสังคม กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 35 NESDC Economic Outlook 1) สมมติฐานการแพร่ระบาดและวัคีน การประมาณการเศรษฐกิจในครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานในกรณีฐานที่สำคัญ ดังนี้ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัดและไม่รุนแรงขึ้นกว่าในปัจจุบัน และการแพร่ระบาดไม่ลุกลามไปยังกลุ่มจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งจะนาไปสู่มาตรการควบคุมอย่างเป็นวงกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่าจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศจะเริ่มผ่านพ้นจุดสูงสุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ภายในเดือนมีนาคม และ (2) ความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 สามารถสร้างการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของร่างการมนุษย์ได้ดี และ (3) การกระจายวัคซีนสามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่องและตามเป้าหมายที่คาดไว้ในกรณีฐาน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มประเทศ โดยคาดว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะสามารถกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดภายในครึ่งแรกของปี 2564 และร้อยละ 75 ภายในปี 2564 ขณะที่กลุ่มประเทศกาลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ จะสามารถกระจายวัคซีนให้ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดภายในปี 2564 และร้อยละ 75 ภายในครึ่งแรกของปี 2565 สำหรับประเทศไทย ในกรณีฐานคาดว่าจะสามารถกระจายวัคซีนในปริมาณมากขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปี ส่งผลให้ร้อยละ 50 ของประชากรไทยจะได้รับวัคซีนภายในปี 2564 และร้อยละ 75 ภายในครึ่งแรกของปี 2565 ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานการระบาดและ การกระจายวัคซีนดังกล่าวจึงคาดว่าประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติและประเทศไทยเริ่มพิจารณาเตรียมการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศและเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 แต่ยังอยู่บนเงื่อนไขของการรักษาความปลอดภัยด้านการเดินทางและการป้องกันการระบาดของโรคเป็นสำคัญ 2) เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.0 ในปี 2563 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักที่มีสัญญาณการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ จีน และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของการอนุมัติและการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักนับตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจทั้งในด้านการเงินและการคลังของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ 3) ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2564 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 29.5 ? 30.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย 31.3 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563 และแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย 30.3 - 31.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ส่งผลให้เงินลงทุนมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยสู่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ประสิทธิภาพของวัคซีน และทิศทางการดำเนินนโยบายของเศรษฐกิจประเทศหลักภายใต้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชะลอการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 ตารางสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 ข้อมูลจริง ประมาณการ 2564 2561 2562 2563 ณ 16 พ.ย. 2563 ณ 15 ก.พ. 2564 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก (%)1/ 3.8 3.0 -3.5 4.9 5.2 สหรัฐอเมริกา 3.0 2.2 -3.5 3.4 4.8 ยูโรโซน 1.9 1.3 -6.8 4.8 4.3 ญี่ปุ่น2/ 0.3 0.7 -5.7 2.4 2.4 จีน 6.7 6.1 2.3 7.5 7.7 อัตราการขยายตัวปริมาณการค้าโลก (%) 3.9 1.0 -11.0 5.0 6.7 อัตราแลกเปลี่ยน 32.3 31.0 31.3 30.3 ? 31.3 29.5 ? 30.5 ราคาน้ามัน (ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล) 69.5 63.3 42.1 41.0 ? 51.0 48.0 ? 58.0 ราคาส่งออก (%) 3.4 0.3 -1.0 0.5 ? 1.5 1.5 ? 2.5 ราคานำเข้า (%) 5.6 0.2 -2.0 1.0 ? 2.0 2.0 ? 3.0 รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ (ล้านล้านบาท) 1.82 1.85 0.44 0.49 0.32 หมายเหตุ: 1/ เศรษฐกิจโลกคานวณ Trade weight เฉพาะ 15 เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ในปี 2562 2/ เป็นตัวเลขคาดการณ์ เนื่องจากข้อมูลมีถึงไตรมาสที่สาม ที่มา: สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 36 NESDC Economic Outlook 4) ราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 48.0 ? 58.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 42.1 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนที่ 41.0 ? 51.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันที่สำคัญ ได้แก่ (1) แนวโน้มการฟื้นตัวดีกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ามันทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยล่าสุดในเดือนมกราคม 2564 สานักบริหารสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (US Energy Information Administration: EIA) คาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ามันทั่วโลกทั้งปี 2564 จะเพิ่มขึ้น 5.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปี 2563 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.9 ในปี 2563 (2) ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ามันเพื่อการส่งออก (OPEC) และกลุ่มประเทศพันธมิตร (OPEC+) ในการปรับลดกาลังการผลิตในปี 2564 โดยล่าสุดประเทศซาอุดิอาระเบียจะปรับลดกาลังการผลิตเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2564 (3) ปริมาณน้ามันดิบคงคลังของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่า โดยล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 70.7 ของความจุกักเก็บรวม ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 44 สัปดาห์ และต่ากว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ และ (4) ความขัดแย้งที่ภูมิรัฐศาสตร์ ของประเทศในกลุ่มโอเปค ซึ่งจะส่งผลให้การปรับลดกาลังการผลิตล่าช้าออกไป อาทิ การยึดเรือบรรทุกน้ามันสัญชาติอิหร่านที่อินโดนีเซีย และเหตุระเบิดในซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจฉุดรั้งอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับแนวโน้มการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน (2) จานวนแท่นขุดเจาะน้ามันดิบของสหรัฐฯ ใน 7 จุดสำคัญที่เพิ่มขึ้น โดยล่าสุด ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 305 แท่น เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า และ (3) ปริมาณน้ามันดิบและเชื้อเพลิงชนิดเหลวอื่น ๆ คงคลังเพื่อการพาณิชย์รวมของสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าที่ EIA คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2563 5) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าในปี 2564 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ? 2.5 และร้อยละ 2.0 ? 3.0 โดยมีค่ากลางของช่วงสมมติฐานราคาส่งออกและราคานำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 และร้อยละ 2.0 ในปี 2563 ตามลำดับ และเป็นปรับเพิ่มสมมติฐานจากการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันดิบในตลาดโลก และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 6) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.32 ล้านล้านบาท ลดลงจาก 0.44 ล้านล้านบาท ในปี 2563 หรือ คิดเป็นการลดลงร้อยละ 27.1 และปรับลดลงจาก 0.49 ล้านล้านบาท ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับลดประมาณการจานวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 จาก 5.0 ล้านคน เป็น 3.2 ล้านคนในกรณีฐาน หรือลดลงร้อยละ 52.9 จากปี 2563 โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกที่ยังมีความยืดเยื้อและการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนของประสิทธิภาพของวัคซีนท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัส และความไม่แน่นอนของการกระจายวัคซีนของหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวรวมทั้งไทย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กาหนดมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในกรณีฐานคาดว่าประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยจะสามารถกระจายวัคซีนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ส่งผลให้คาดว่าน่าจะสามารถพิจารณาผ่อนคลายเกณฑ์การกักตัวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ ลดระยะเวลากักตัวลงหรือไม่มีการกักตัว ซึ่งจะส่งผลให้มีจานวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้มากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี แต่จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะพิจารณาเปิดรับเฉพาะกลุ่ม อาทิ นักท่องเที่ยวที่เดินทางจากประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดการติดเชื้อลงได้อย่างมีนัยสำคัญ 7) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2564 ร้อยละ 93.5 ของงบประมาณ ซึ่งเป็นการปรับลดจากสมมติฐานการเบิกจ่ายร้อยละ 94.4 ในประมาณการครั้งก่อน โดยแบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจา ร้อยละ 98.0 เท่ากับประมาณการครั้งก่อน และอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ร้อยละ 75.0 ลดลงจากร้อยละ 80.0 ในประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 ที่อยู่ในระดับต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปีอยู่ที่ร้อยละ 85.0 เท่ากับสมมุติฐานการประมาณการครั้งก่อน (3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 70.0 ของวงเงินงบประมาณ เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา และ (4) การใช้เงินภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการเบิกจ่ายสะสม ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 รวม 402,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปี 2564 รวม 510,000 ล้านบาท เทียบกับวงเงินเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2563 ที่ 290,000 ล้านบาท โดยงบประมาณเบิกจ่ายสะสมถึงสิ้นปีงบประมาณ 2564 คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 800,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 80.0 ของวงเงินกู้รวม ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70.0 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลเนื่องจากการปรับเพิ่มสมมติฐานการเบิกจ่ายในส่วนของมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศ ได้แก่ โครงการเราชนะและโครงการเรารักกัน ที่มีวงเงินรวมกันทั้งสิ้น 247,000 ล้านบาท กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 37 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ? 3.5 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.0) เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 ? 2.0 เทียบกับร้อยละ (-0.8) ในปี 2563 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ 2.3 ของ GDP เทียบกับร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ในการแถลงข่าววันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ? 3.5 โดยมีค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เป็นการปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงจากร้อยละ 3.5 ? 4.5 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 4.0) ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 พ ศจิกายน 2563 รวมทั้งการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและการปรับเปลี่ยนสมมติฐานประมาณการที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1) การปรับประมาณการการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ส่งผลให้ภาครัฐดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในบางพื้นที่นับตั้งแต่ในวันที่ 3 มกราคม 2564 โดยมีระดับความเข้มงวดของการควบคุมการเดินทางและปิดสถานที่แตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่13 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ให้ฟื้นตัวได้อย่างล่าช้ากว่าที่คาดในการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่าในปี 2564 การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน จะขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน 2) การปรับประมาณการการขยายตัวของการส่งออกบริการ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าที่คาดของภาคการท่องเที่ยว เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดทั้งในประเทศและหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศของไทยและประเทศต้นทาง และทาให้การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าสมมติฐานในการประมาณครั้งก่อน โดยคาดว่าในปี 2564 จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 3.2 ล้านคน ลดลงจาก 5.0 ล้านคน ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับ 6.7 ล้านคน ในปี 2563 ส่งผลให้คาดว่าจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 3.2 แสนล้านบาท ลดลงจาก 4.9 แสนล้านบาทในการประมาณการครั้งก่อน และ 4.4 แสนล้านบาทในปี 2563 3) การปรับประมาณการการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐ ให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 ที่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนไปร้อยละ 11.2 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด ซึ่งต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ในการประมาณเศรษฐกิจครั้งก่อน ดังนั้น ในการประมาณการครั้งนี้จึงได้มีการปรับลดสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 2564 เป็นร้อยละ 75.0 ลดลงจากร้อยละ 80 ในการประมาณการครั้งก่อน ส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในปีงบประมาณ 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ ร้อยละ 93.5 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 94.4 ในการประมาณการครั้งก่อน 4) การปรับสมมติฐานเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวดีกว่าที่คาดของเศรษฐกิจประเทศหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ จีน อินเดีย และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มที่จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนของประเทศพัฒนาแล้วที่จะทาให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและอุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวเร็วกว่า ที่คาดการณ์ ส่งผลให้คาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยฟื้นตัวดีกว่าที่คาดการณ์ ประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 13 ตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด ? 19) (ศบค.) ที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 ได้กาหนดกลุ่มจังหวัดออกเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวัง ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม 2564 ได้มีการยกระดับ 5 จังหวัดขึ้นเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 38 NESDC Economic Outlook 1) การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นจาก การลดลงร้อยละ 1.0 ในปี 2563 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 2.4 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและทาให้ต้องมีการดำเนินมาตรการควบคุมในบางพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีฐานคาดว่าจะสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ในภายในไตรมาสแรก และการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปีจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของฐานรายได้จากภาคการส่งออกรายได้เกษตรกร และมาตรการเยียวยาผลกระทบและกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศของภาครัฐ และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2563 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานการเบิกจ่ายสะสมภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จากร้อยละ 70 ของวงเงินกู้ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 80 ในการประมาณการครั้งนี้ และสอดคล้องกับสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2564 ร้อยละ 98.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 97.4 ในปี 2563 2) การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.8 ในปี 2563 โดยการลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 12.4 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2564 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 75 ของวงเงินงบประมาณ ต่ากว่าร้อยละ 80 ในสมมติฐานการประมาณครั้งที่ผ่านมา ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.4 ในปี 2563 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก 3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.6 ในปี 2563 และเป็น การปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกจากร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เป็นร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ รวมทั้งการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม การปรับลดสมมติฐานรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของจานวนนักท่องเที่ยวที่ยังมีความล่าช้า ทาให้การส่งออกบริการอยู่ในระดับ ต่ากว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้าทาให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการรวมลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในการประมาณการครั้งก่อน และการลดลงร้อยละ 19.4 ในปี 2563 4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.5 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มปริมาณการนำเข้าสินค้าโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการส่งออก และการปรับเพิ่มราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. เป็นร้อยละ 2.5 ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันดิบ เมื่อรวมกับการปรับลดประมาณการการนำเข้าบริการ คาดว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2564 จะลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับการลดลงร้อยละ 13.3 ในปี 2563 5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุล 4.08 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 3.98 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563 และเพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 3.79 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มเร็วกว่ามูลค่าการนำเข้า และเมื่อรวมกับการขาดดุลบริการที่มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 2.3 ของ GDP เทียบกับการเกินดุล 1.65 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของ GDP ในปี 2563 6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 โดยเป็นการกลับมาเพิ่มขึ้นของระดับราคาเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อร้อยละ (-0.8) ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 ? 1.7 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามสมมติฐานราคาน้ามันดิบและราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 39 NESDC Economic Outlook เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวและขยายตัวของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่าย การลงทุน และการดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ และแนวโน้มการกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ภาคเอกชนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปยังมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดจากความไม่แน่นอน ของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของ ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมทั้งความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง และความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2564 จึงควรให้ความสำคัญกับ 1) การควบคุมการแพร่ระบาดและการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงภายในประเทศเพื่อให้จานวนผู้ติดเชื้อลดลงและอยู่ในวงจำกัด โดยมุ่งเน้น (1) การดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และ (2) การจัดหาและบริหารจัดการวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในเวลาที่รวดเร็ว และจัดลำดับความสำคัญโดยคานึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและการรักษาความต่อเนื่องของการผลิตในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ควบคู่ไปกับการจัดลำดับความสำคัญตามหลักการทางสาธารณสุข 2) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้าเติมปัญหาเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อบรรยากาศ ความเชื่อมั่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 3) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องซึ่งการฟื้นตัวยังมีข้อจำกัดจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ รวมทั้งการพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ยังประสบปัญหาสภาพคล่องและภาระหนี้สินเพิ่มเติม โดยควรให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงิน การคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนมาตรการเดิมให้ตอบสนองภาคเศรษฐกิจและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากขึ้น (2) การพิจารณามาตรการทางการเงินเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ให้ประคับประคองกิจการและสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วงวิกฤต (3) การพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และควรให้ความสำคัญกับแรงงานในภาคเศรษฐกิจหรือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ มาตรการส่งเสริมการรักษาระดับการจ้างงาน มาตรการสร้างงานใหม่เพื่อรองรับผู้ว่างงาน และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงานผ่าน การยกระดับ (Upskill) และปรับศักยภาพ (Reskill) เพื่อช่วยแรงงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบซึ่งอาจต้องเปลี่ยนสายงานสายอาชีพใหม่ และ (4) การรณรงค์ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศไทยมากขึ้น 4) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่าย ดังนี้ (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2564 ไม่ต่ากว่าร้อยละ 93.5 แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจาร้อยละ 98.0 และ งบลงทุนร้อยละ 75.0 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด (2) การเบิกจ่ายงบเหลื่อมปีให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.0 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.0 ของงบประมาณทั้งหมด และ (4) โครงการตามพระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ให้มีการเบิกจ่ายสะสมภายในปีงบประมาณ 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0 ของวงเงินกู้ 5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า เพื่อสร้างรายได้จากต่างประเทศและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 (2) การสร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัยของสินค้าไทยควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่การผลิตอย่างเข้มงวด (3) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ ๆ ในลักษณะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์หรือพหุภาคี เพื่อขยายฐานตลาดส่งออกให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมแนวทางการเจรจาที่ชัดเจนเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) นอกจากนี้ ยังควรเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กาลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ เช่น สหภาพยุโรป (EU) สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) และสหราชอาณาจักรภายหลัง Brexit (4) การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ที่อาจถูกหยิบยก เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (5) การเร่งรัดพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกาหนดของประเทศผู้นำเข้า (6) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญ ๆ เพื่อลดแรงกดดันจาก การเพิ่มขึ้นของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านและแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่า และ (7) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง 6. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 40 NESDC Economic Outlook 6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (1) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 - 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบาย การส่งเสริมการลงทุนของประเทศ (2) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและ การประกอบธุรกิจในประเทศไทย (3) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยใช้จุดเด่นด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน ความพร้อมและความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และศักยภาพของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับการลงทุน (4) การส่งเสริม การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) 10 จังหวัด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น และ (5) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน และการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและภาคบริการที่สำคัญ ๆ 7) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องสามารถฟื้นตัวได้ทันทีที่มีการกระจายวัคซีนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยวเป็นวงกว้างและเพียงพอต่อการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยด้านการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 8) การเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งและการดูแลรายได้เกษตรกร โดยให้ความสำคัญกับ (1) การติดตามสถานการณ์น้าทั้งในและนอกเขตชลประทานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งการดูแล ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบจากปัญหาจากภัยแล้ง (2) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้าเพื่อการเกษตร (3) การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในภาคเกษตรไปสู่พืชที่ใช้น้าน้อย (4) การดูแลปัญหาราคาสินค้าบางรายการที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ (5) การส่งเสริมช่องทางการตลาดและการค้าออนไลน์เพื่อสนับสนุนการขายสินค้าจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคโดยตรง และเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตให้กับเกษตรกรมากขึ้น (6) การส่งเสริมและขยายผลการรวมกลุ่มและการรวมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้มีการประหยัดต่อขนาด ลดการทางานต่าระดับ รวมทั้งการจัดการให้สามารถใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร โดยภาครัฐสนับสนุน แรงจูงใจในลักษณะที่เหมาะสม และ (7) การดำเนินมาตรการสินเชื่อเพื่อชะลอการเข้าสู่ตลาดของผลผลิต 9) การติดตามและการเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 41 NESDC Economic Outlook มาตรการสำคัญที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาตรการ รายละเอียด 1.มาตรการช่วยเหลือภาคครัวเรือน มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ขยายระยะเวลาการคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG (ม.ค. - มี.ค. 64) ปรับลดอัตราค่า Ft จาก -12.43 สตางค์ เป็น -15.32 สตางค์ (ม.ค. - เม.ย. 64) ขยายเวลายกเว้นการเก็บอัตราค่าไฟฟาต่าสุด (Minimum Charge) (ม.ค. - มี.ค. 64) บรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้าประปาแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ต.ค. 63 - ก.ย. 64) บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ค่าน้าประปา ค่าไฟฟ้า ค่าอินเตอร์เน็ต) สำหรับประชาชนทั่วไปและกิจการขนาดเล็ก (สำหรับรอบบิล ก.พ. - มี.ค. 64) การขยายเวลาการชาระภาษี ขยายระยะเวลากรณีการยื่นรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชาระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 โดย ปีภาษี 2562 เลื่อนเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 จากเดิมกาหนดวันที่ 8 เมษายน 2563 และปีภาษี 2563 เลื่อนเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 จากวันที่ 8 เมษายน 2564 มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกาลังื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และประชาชนทั่วไป การเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจานวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน (สิ้นสุด มี.ค. 64) โครงการคนละครึ่ง โดยรัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน ไม่เกินคนละ 3,500 บาทตลอดโครงการ โดยใช้ซื้อสินค้าผ่าน g-wallet (สิ้นสุด มี.ค. 64) โครงการช้อปดีมีคืน สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซื้อสินค้าจานวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท นาไปลดหย่อนภาษีปีภาษี 2563 มาตรการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มเปราะบาง และเกษตรกร โครงการเราชนะ (เงินช่วยเหลือค่าครองชีพแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร กลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกินคนละ 7,000 บาท) (ก.พ. - มี.ค. 64) โครงการเรารักกัน (เงินช่วยเหลือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่เกิน 4,000 บาท) (มี.ค. - เม.ย. 64) มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจาของธนาคารออมสิน วงเงินสินเชื่อรวม 25,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานรากของธนาคารออมสิน วงเงิน 10,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงิน 20,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าเพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานรากสำหรับสานักงานธนานุเคราะห์ของธนาคารออมสิน วงเงิน 2,000 ล้านบาท 2. มาตรการช่วยภาคท่องเที่ยว โครงการเราเที่ยวด้วยกัน รับส่วนลดค่าที่พักร้อยละ 40 จานวน 15 คืน/คน จานวน 6 ล้านสิทธิ คูปองสำหรับใช้จ่ายสูงสุด 900 บาทต่อวัน และเงินคืนค่าตั๋วเครื่องบินสูงสุด 2,000 บาท (ก.ค. 63 - เม.ย. 64) โครงการกาลังใจ รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) เดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ การเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) วีซ่าท่องเที่ยวพิเศษสำหรับบุคคลที่ประสงค์จะเดินทางมาพานักระยะยาว (Long Stay) ภายในประเทศไทย มาตรการ Workation Thailand ทางาน เที่ยวได้ รวมใจ ช่วยชาติ รัฐบาลจะร่วมมือให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ และรัฐวิสาหกิจ ช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ด้วยการซื้อห้องพักเพื่อให้เกิดสภาพคล่องสามารถรักษาการจ้างงาน มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาตรการแพ็กเกจ (Amazing Thailand Plus Special Package) ในลักษณะบริการครบวงจร ทั้งการจองตั๋วเครื่องบิน การขอวีซ่าและกระบวนการเดินทางเข้าประเทศ การจองโรงแรม/ที่พัก/ สถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ) และบริการท่องเที่ยว กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 42 NESDC Economic Outlook มาตรการ รายละเอียด 3. มาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ SMEs มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยและลดค่าธรรมเนียมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบการเงิน (FIDF) รวมทั้งการปรับวิธีคิดดอกเบี้ยผิดนัดชาระหนี้ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (Soft loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ภายใต้พระราชกาหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft loan) กรอบวงเงิน 500,000 ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย (โครงการ DR BIZ) มาตรการขยายเวลาการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 (สิ้นสุด 30 มิ.ย. 64) การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มาตรการกาหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit term) ในประเทศไทย (ลูกหนี้การค้าจะต้องชาระหนี้ให้แก่คู่ค้าภายใน 30 - 45 วัน) มาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่อง โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม (มาตรการ Soft Loan ของ ธนาคารออมสิน) วงเงินสินเชื่อรวม 150,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย วงเงิน 10,000 ล้านบาท มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสานักงานประกันสังคม วงเงิน 30,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานรากของธนาคารออมสิน วงเงิน 10,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทยของธนาคารออมสิน วงเงิน 5,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ SME มีที่ มีเงิน สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวของธนาคารออมสิน วงเงิน 10,000 ล้านบาท มาตรการเสริมสภาพคล่อง (ด้านการค้าประกันสินเชื่อ) โครงการค้าประกันสินเชื่อ SMEs ไทยสู้ภัยโควิด (ภายใต้โครงการค้าประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 วงเงิน 150,000 ล้านบาท) กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท (บสย.) โครงการค้าประกันสินเชื่อ Micro ไทยสู้ภัยโควิด (ภายใต้โครงการค้าประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 วงเงิน 25,000 ล้านบาท) กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท (บสย.) โครงการค้าประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส (บสย.) กรอบวงเงิน 57,000 ล้านบาท ระยะ 8 ปี โดย ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 ได้มีการค้าประกันสินเชื่อรวม 3,000 ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านโครงการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละรายเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะภายหลังมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตาม พ.ร.ก. Soft loan สิ้นสุดอาทิ การพัก การชะลอ และการลดค่างวดการชาระหนี้ 4. มาตรการช่วยเหลือแรงงาน ลดหย่อนเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน ปรับลดการจ่ายประกันสังคมตามมาตรา 33 เป็นร้อยละ 3 จากปกติร้อยละ 5 สำหรับเดือนมกราคม 2564 และปรับลดเป็นร้อยละ 0.5 จากปกติร้อยละ 5 สำหรับเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2564 รวมระยะเวลา 3 เดือน มาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ตามที่ส่งเงินสมทบไม่เกิน 90 วัน คุ้มครองผู้ประกันตนตามมาตรา 33 กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้างและลาออก มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน มาตรการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเงินค่าจ้าง ร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา การจัดงาน Job Expo Thailand 2020 ล้านงานเพื่อล้านคน และการพัฒนาระบบจับคู่งาน (ไทยมีงานทา.com) โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 43 NESDC Economic Outlook กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 กุมภาพันธ์ 2564 44 NESDC Economic Outlook รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ Email : mspo-center@nesdc.go.th หรือ โทร. 0-2280-4085 ต่อ 6504 และ 6459 ประมาณการเศรษฐกิจ ปี 25641/ ข้อมูลจริง ประมาณการ ปี 2564 2561 2562 2563 ณ 16 พ.ย. 63 ณ 15 ก.พ. 64 GDP (ณ ราคาประจาปี: พันล้านบาท) 16,368.7 16,898.1 15,703.0 16,528.5 16,174.1 รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 236,861.1 243,787.1 225,913.8 237,178.6 232,094.0 GDP (ณ ราคาประจาปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 506.4 544.3 501.8 536.6 539.1 รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 7,328.2 7,852.7 7,219.2 7,700.6 7,736.5 อัตราการขยายตัวของ GDP (CVM, %) 4.2 2.3 -6.1 3.5 - 4.5 2.5 - 3.5 การลงทุนรวม (CVM, %)2/ 3.8 2.0 -4.8 6.6 5.7 ภาคเอกชน (CVM, %) 4.1 2.7 -8.4 4.2 3.8 ภาครัฐ (CVM, %) 2.8 0.1 5.7 12.4 10.7 การบริโภคภาคเอกชน (CVM, %) 4.6 4.0 -1.0 2.4 2.0 การอุปโภคภาครัฐบาล (CVM, %) 2.6 1.7 0.8 4.7 5.1 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.4 -3.0 -19.4 0.1 -0.2 มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 251.1 242.7 226.7 233.9 239.9 อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)3/ 7.5 -3.3 -6.6 4.2 5.8 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)3/ 3.9 -3.7 -5.9 3.2 3.8 ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.3 -5.2 -13.3 0.3 -0.5 มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 228.7 216.0 186.9 196.0 199.0 อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)3/ 13.7 -5.6 -13.5 5.3 6.5 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)3/ 7.7 -5.7 -11.8 3.8 4.0 ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 22.4 26.7 39.8 37.9 40.8 ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 28.4 38.2 16.5 13.9 12.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 7.0 3.3 2.6 2.3 เงินเฟ้อ (%) ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.1 0.7 -0.8 0.7 - 1.7 1.0 - 2.0 GDP Deflator 1.4 0.9 -1.0 0.7 - 1.7 1.0 - 2.0 ที่มา: สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 หมายเหตุ: 1/ เป็นข้อมูลที่คานวณบนฐานบัญชีประชาชาติอนุกรมใหม่ ซึ่ง สศช. เผยแพร่ทาง www.nesdc.go.th 2/ การลงทุนรวม หมายถึง การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น 3/ ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเป็นไปตามฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ