- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากการเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดยาว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและพันธบัตรฯ สหรัฐ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในพันธบัตรฯ ระยะสั้น และลดลงในพันธบัตรฯ ระยะยาว
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากยอดดุลการค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ธปท. แม้ว่าตลาดจะมีการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน และเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แต่ไม่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากนัก
สภาพคล่องและอัตรดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดยาวเนื่องในวันแรงงาน จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน
ปิดตลาดสูงขึ้นจากระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.1875 ต่อปี มาอยู่ร้อยละ 2.21875 และ 2.21875 - 2.25 ต่อปี ตามลำดับ ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในระบบเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบการเงิน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 และ 2.28125 ต่อปี ในวันจันทร์และวันอังคาร ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.925 - 2.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2.15 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.22 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 46,800 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนลดลงค่อนข้างมาก ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่มีค่อนข้างสูง พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย และมีการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท รวม 4 รุ่น โดยแบ่งประมูล 2 วันวันละ 2 รุ่น เนื่องจากในสัปดาห์หน้ามีวันทำการเพียง 3 วันเท่านั้น โดยตั๋วเงินคลังที่เปิดประมูลในวันจันทร์ที่ 25 เม.ย. มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ส่วนตั๋วเงินคลังที่เปิดประมูลในวันที่ 29 เม.ย. มีอัตรา
ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตอบรับการเพิ่มขึ้นของอุปทานในเดือน พ.ค. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อายุ 10 ปี วงเงิน 1,800 ล้านบาท และอายุ 15 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 10 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 64,617 ล้านบาท หรือเท่ากับ 12,923 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 85.6 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับในตลาดแรก โดยพันธบัตรฯ อายุไม่เกิน 1 ปีและต่ำกว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 7-13 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุมากกว่า 2 ปี ปรับตัวลดลง 5-26 basis points ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประกาศปรับลดอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของ ธปท. ทำให้นักลงทุนคาดว่า ธปท. อาจเผชิญกับข้อจำกัดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การปรับลดลงอย่างมากของอัตราผลตอบแทนทำให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 100 และ 10 basis points ตามลำดับ สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury เป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ ไทย โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 4-6 basis points และพันธบัตรฯ อายุ 3 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนลดลง 0-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากมีการกดดันจากนานาประเทศให้ทางการจีนปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากตัวเลขดุลการค้าในเดือนมีนาคมที่ขาดดุลอีก 1.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไป ตลอดจนการปรับตัวลดลงค่อนข้างมากของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนัก ลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากการปรับลดอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจปี 2548 ของ ธปท. ลงเหลือร้อยละ 4.5 - 5.5 ประกอบกับตลาดมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ กว้างขึ้น ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่าง
ต่อเนื่องในช่วงปลายสัปดาห์ แม้ว่าผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการกล่าวแสดงความเห็นว่าจีนมีความพร้อมในการปรับค่าเงินหยวนที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ยังไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่ชัดเจน ซึ่งเป็น
ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการปรับตัวลดลงของยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ และตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรกออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากนัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและพันธบัตรฯ สหรัฐ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในพันธบัตรฯ ระยะสั้น และลดลงในพันธบัตรฯ ระยะยาว
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากยอดดุลการค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ธปท. แม้ว่าตลาดจะมีการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน และเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แต่ไม่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากนัก
สภาพคล่องและอัตรดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดยาวเนื่องในวันแรงงาน จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน
ปิดตลาดสูงขึ้นจากระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.1875 ต่อปี มาอยู่ร้อยละ 2.21875 และ 2.21875 - 2.25 ต่อปี ตามลำดับ ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในระบบเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบการเงิน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 และ 2.28125 ต่อปี ในวันจันทร์และวันอังคาร ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.925 - 2.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2.15 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.22 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 46,800 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนลดลงค่อนข้างมาก ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่มีค่อนข้างสูง พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย และมีการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท รวม 4 รุ่น โดยแบ่งประมูล 2 วันวันละ 2 รุ่น เนื่องจากในสัปดาห์หน้ามีวันทำการเพียง 3 วันเท่านั้น โดยตั๋วเงินคลังที่เปิดประมูลในวันจันทร์ที่ 25 เม.ย. มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ส่วนตั๋วเงินคลังที่เปิดประมูลในวันที่ 29 เม.ย. มีอัตรา
ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตอบรับการเพิ่มขึ้นของอุปทานในเดือน พ.ค. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อายุ 10 ปี วงเงิน 1,800 ล้านบาท และอายุ 15 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 10 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 64,617 ล้านบาท หรือเท่ากับ 12,923 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 85.6 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับในตลาดแรก โดยพันธบัตรฯ อายุไม่เกิน 1 ปีและต่ำกว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 7-13 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุมากกว่า 2 ปี ปรับตัวลดลง 5-26 basis points ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประกาศปรับลดอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของ ธปท. ทำให้นักลงทุนคาดว่า ธปท. อาจเผชิญกับข้อจำกัดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การปรับลดลงอย่างมากของอัตราผลตอบแทนทำให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 100 และ 10 basis points ตามลำดับ สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury เป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ ไทย โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 4-6 basis points และพันธบัตรฯ อายุ 3 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนลดลง 0-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากมีการกดดันจากนานาประเทศให้ทางการจีนปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากตัวเลขดุลการค้าในเดือนมีนาคมที่ขาดดุลอีก 1.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไป ตลอดจนการปรับตัวลดลงค่อนข้างมากของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนัก ลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากการปรับลดอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจปี 2548 ของ ธปท. ลงเหลือร้อยละ 4.5 - 5.5 ประกอบกับตลาดมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ กว้างขึ้น ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่าง
ต่อเนื่องในช่วงปลายสัปดาห์ แม้ว่าผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการกล่าวแสดงความเห็นว่าจีนมีความพร้อมในการปรับค่าเงินหยวนที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ยังไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่ชัดเจน ซึ่งเป็น
ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการปรับตัวลดลงของยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ และตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรกออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากนัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-