- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ต่อปี เพื่อชะลอความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน
- สถาบันการเงินเน้นทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาด R/P 1 วัน ขณะที่ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดี โดยหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลงในขณะที่พันธบัตรฯ สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตามค่าเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก และความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากประธาน FED แสดงความมั่นใจต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (9 มิ.ย.) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจนและมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมัน การปรับสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต และภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังคงมีปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องในระยะต่อไป และมีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองไว้ในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในผลตอบแทนที่สูงขึ้นหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในวันพฤหัสบดี จึงมีการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ในช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย. ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.46878 2.46875 และ 2.5 ต่อปี สำหรับระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 2.46 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดสัปดาห์จากร้อยละ 2.27 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.46 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 31,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกรุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์นี้
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 85,995 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,199 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ถึงแม้ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-16 basis points และพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากตลาดได้มีการคาดการณ์และปรับตัวไปล่วงหน้าแล้ว (ในช่วง 6 สัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-18 basis points อายุ 1-2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 21 basis points) สำหรับดัชนีราคา (Clean price index) ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 70 basis points ทั้งนี้คาดว่าเนื่องจากไม่มีการประมูลพันธบัตรระยะยาวในตลาดแรก นักลงทุนจึงต้องเข้ามาซื้อขายพันธบัตรระยะยาวในตลาดรอง ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 27 basis points US Treasury Yield สัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-14 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.57 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตามการแข็งค่าของเงินเยน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอาจมีการกดดันให้ทางการจีนพิจารณาปรับขึ้นค่าเงินหยวนอีกครั้งในการประชุมกลุ่มประเทศอุตหสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศ (G-8) นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. อีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน พ.ค. ที่ออกมากต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์
สรอ. เพื่อชำระหนี้ของผู้นำเข้า และความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงต่อรัฐสภาว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสนับสนุน
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป ทั้งนี้ การประชุมกลุ่ม G-8 ในวันที่ 11 มิ.ย. ได้มีการตกลงเพื่อลดความไม่สมดุลของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเน้นให้สหรัฐฯ ลดการขาดดุลงบประมาณลง ขณะที่ต้องการให้สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ไม่ได้มีการพูดถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนแต่อย่างใด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- สถาบันการเงินเน้นทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาด R/P 1 วัน ขณะที่ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดี โดยหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลงในขณะที่พันธบัตรฯ สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตามค่าเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก และความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากประธาน FED แสดงความมั่นใจต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (9 มิ.ย.) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจนและมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมัน การปรับสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต และภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังคงมีปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องในระยะต่อไป และมีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองไว้ในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในผลตอบแทนที่สูงขึ้นหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในวันพฤหัสบดี จึงมีการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ในช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย. ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.46878 2.46875 และ 2.5 ต่อปี สำหรับระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 2.46 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดสัปดาห์จากร้อยละ 2.27 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.46 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 31,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกรุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์นี้
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 85,995 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,199 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ถึงแม้ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-16 basis points และพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากตลาดได้มีการคาดการณ์และปรับตัวไปล่วงหน้าแล้ว (ในช่วง 6 สัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-18 basis points อายุ 1-2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 21 basis points) สำหรับดัชนีราคา (Clean price index) ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 70 basis points ทั้งนี้คาดว่าเนื่องจากไม่มีการประมูลพันธบัตรระยะยาวในตลาดแรก นักลงทุนจึงต้องเข้ามาซื้อขายพันธบัตรระยะยาวในตลาดรอง ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 27 basis points US Treasury Yield สัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-14 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.57 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตามการแข็งค่าของเงินเยน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอาจมีการกดดันให้ทางการจีนพิจารณาปรับขึ้นค่าเงินหยวนอีกครั้งในการประชุมกลุ่มประเทศอุตหสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศ (G-8) นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. อีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน พ.ค. ที่ออกมากต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์
สรอ. เพื่อชำระหนี้ของผู้นำเข้า และความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงต่อรัฐสภาว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสนับสนุน
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป ทั้งนี้ การประชุมกลุ่ม G-8 ในวันที่ 11 มิ.ย. ได้มีการตกลงเพื่อลดความไม่สมดุลของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเน้นให้สหรัฐฯ ลดการขาดดุลงบประมาณลง ขณะที่ต้องการให้สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ไม่ได้มีการพูดถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนแต่อย่างใด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-