GDP QUARTERLY REPORT
HIGHLIGHT OF Q1/2005
GDP GROWTH BY SECTOR (YoY)
2004E 1Q04 2Q04 3Q04 4Q04 1Q05
Agriculture -3.9 -2.0 -5.8 -5.2 -3.3 -8.2
Non-agriculture 7.2 7.7 7.7 7.1 6.5 4.5
GDP 6.1 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
GDP ในไตรมาสที่ 1/2548 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 เนื่องจากการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศอันเนื่อง
จาก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งภาวะภัยแล้ง
* เศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 เทียบกับร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 4/2547
เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เหตุการณ์ธรณีพิบัติ และความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
* ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรลดลงร้อยละ 8.2 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง 5 ไตรมาส อันเนื่อง
มาจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตหลักลดลงเช่น ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ในขณะที่การผลิตด้านปศุสัตว์มีภาวะดีขึ้น
* ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.5 เนื่องจากการผลิตชะลอตัวในสาขาอุตสาหกรรมและขนส่ง ใน
ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารมีอัตราการขยายตัวลดลงเนื่องจากผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ส่วนสาขา
การเงินยังคงขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
ดุลการค้าและบริการในราคาประจำปี ขาดดุลสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในขณะที่การบริโภคครัวเรือนและ
การสะสมทุนขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาสก่อน
* ดุลการค้าในราคาประจำปีขาดดุลสูงถึง 124,500 ล้านบาท นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี
2540 เป็นผลจากการนำเข้าขยายตัวสูงกว่าการส่งออก ในขณะที่ดุลบริการยังคงเกินดุลถึง 70,372 ล้านบาท
* การบริโภคของครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.5 โดยเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ยังปรับตัวสูง
ขึ้น ภาวะภัยแล้ง และเหตุการณ์ธรณีพิบัติ
* การลงทุนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.8 ชะลอลงจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุน
ภาครัฐขยายตัวร้อยละ 29.2 สูงกว่าร้อยละ 28.2 ในไตรมาสก่อน ส่วนภาคเอกชนชะลอลงเหลือร้อยละ 10.6
เทียบกับร้อยละ 12.7 ในไตรมาส 4/2547
GDP ไตรมาส 1/48
GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ผลจากภัยแล้ง ราคาน้ำมัน และ Tsunami
GDP (%)
2547 2548
2547 1Q47 2Q47 3Q47 4Q47 1Q48
ภาคเกษตร -3.9 -2.0 - 5.8 -5.2 -3.3 -8.2
ภาคนอกเกษตร 7.2 7.7 7.7 7.1 6.5 4.5
GDP 6.1 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
GDP ปรับฤดูกาล 6.1 1.4 0.8 1.7 1.5 -0.6
* ภาพรวม : GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่ำกว่าร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับค่าฤดู
กาลแล้ว GDP หดตัวลงร้อยละ 0.6 อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวทั้งการบริโภคและการลงทุน ขณะที่อุปสงค์ภายนอก
ประเทศสุทธิลดลงอย่างมาก
* ด้านการผลิต : ขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเนื่องจากการผลิตภาคเกษตรหดตัว
ร้อยละ 8.2 ส่วนภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่แล้ว
- เกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 8.2 หมวดพืชผลลดลงร้อยละ 16.7 จากภาวะภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ทั้ง
ข้าวและอ้อยมีผลผลิตลดลง ขณะที่หมวด
- ปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 24.0 เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่เพิ่มขึ้น ตอบสนองความต้องการ
ของผู้บริโภคที่มีความมั่นใจในการบริโภคมากขึ้น ส่วนหมวดประมงชะลอลงเหลือร้อยละ 8.4 ตามภาวะการส่งออกกุ้งที่
ลดลง
- อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอตัวลงทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ตามการชะลอของอุปสงค์
รวม และการลดลงของวัตถุดิบจากภาค
- เกษตร นอกจากนั้นยังมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายประเภทปิดซ่อมบำรุงโรงงาน เช่น โรงกลั่น
น้ำมันและอุตสาหกรรมโลหะ เป็นต้น
- การก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 13.3 การก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอตัวลง
เล็กน้อย ส่วนการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 16.0 ชะลอลงจากร้อยละ 35.5 ในไตรมาสที่แล้ว
- ขนส่งคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 4.9 เป็นผลจากการบริการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 14.9
ขณะที่บริการขนส่งลดลงร้อยละ 0.3 ตามจำนวนสินค้าและนักท่องเที่ยวที่น้อยลง และการขนส่งทางอากาศที่หดตัวลง
ร้อยละ 2.3
- โรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 2.0 จากธุรกิจโรงแรมที่ลดลงร้อยละ 7.4 ตามจำนวนนัก
ท่องเที่ยวที่น้อยลงหลังจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์ Tsunami ส่วนบริการภัตตาคารขยายตัวเล็กน้อยเพียงร้อย
ละ 0.9 จากการบริโภคในประเทศที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
- การเงิน ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.2 เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ยังคงดีขึ้น ทั้ง
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมบริการ
* ด้านการใช้จ่าย : อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัว แต่อุปสงค์ภายนอกประเทศสุทธิลดลงอย่างมาก
- การใช้จ่ายในประเทศ ยังคงขยายตัวทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล การบริโภคของครัวเรือน และ
การลงทุน
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 16.0 ส่วนการใช้จ่ายของครัว
เรือนขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.4 ในไตรมาสที่แล้ว ปัจจัยสำคัญคือ ผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณี
พิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันต่อการท่องเที่ยว และการหยุดจัดงานฉลองปีใหม่ตอนต้นปี นอกจากนี้
การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนเช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด ใหญ่ ลดลงร้อยละ 0.2 โดยเฉพาะ
การซื้อรถยนต์ลดลงถึงร้อยละ 5.6 เป็นผลจากภาวะราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชน
เปลี่ยนไปซื้อรถที่ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งมีราคาต่ำกว่า
(2) การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 14.8 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.6 ชะลอ
ลงจากร้อยละ 12.7 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นการชะลอทั้งการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนการลงทุนของภาค
รัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2
- การส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงอย่างมากถึงร้อยละ
47.3
(1) การส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 0.1 โดยเป็นผลมาจากภาวะซบ
เซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก และปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับ
รายได้จากการท่องเที่ยวก็ชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.5 เนื่องจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่ง
ทะเลอันดามัน
(2) การนำเข้าสินค้าและบริการในราคาปีฐานขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.8 จากร้อยละ 3.9
ในไตรมาสที่แล้ว การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เป็นผลจากการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบ และสินค้าทุน
โดยเฉพาะน้ำมัน เหล็ก เครื่องจักรกล และทองคำ ส่วนรายจ่ายด้านบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ปัจจัยสำคัญมา
จากรายจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35.8
อัตราขยายตัวเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y)
GDP ด้านการผลิต
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547 2548
2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
เกษตร 9.2 8.7 -3.9 10.1 9.9 9.2 6.5 -2.0 -5.8 -5.2 -3.3 -8.2
นอกเกษตร 90.8 6.7 7.2 6.2 6.0 6.6 7.8 7.7 7.7 7.1 6.5 4.5
อุตสาหกรรม 38.7 10.4 8.4 10.2 11.2 9.3 10.8 10.2 7.3 8.4 7.6 3.6
ไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ 3.3 4.6 5.5 4.3 7.0 4.4 2.8 3.7 5.4 8.0 4.9 8.5
ก่อสร้าง 2.6 3.3 12.7 -5.5 0.1 6.4 13.3 14.3 7.3 9.4 22.2 13.3
การค้า 13.9 3.5 3.0 3.5 3.9 3.3 3.4 3.5 2.7 2.8 2.9 2.8
ขนส่ง 10.1 3.7 7.7 6.0 0.6 4.3 4.0 5.9 10.4 8.4 6.5 4.9
โรงแรม ภัตตาคาร 3.6 -3.7 12.2 -2.5 -13.1 -1.3 1.0 1.8 28.4 16.3 6.1 -2.0
การเงิน 3.5 16.2 14.2 14.3 15.0 15.2 20.2 12.9 16.7 11.6 15.7 17.2
อื่น ๆ 15.1 4.5 5.0 2.6 2.8 5.3 7.3 7.3 6.5 3.3 3.2 5.2
GDP 100.0 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
GDP ด้านการใช้จ่าย
น้ำหนัก 2546 2547 2548
2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
การใช้จ่ายของครัวเรือน 54.5 6.4 5.7 6.7 5.9 5.6 7.5 6.2 5.7 5.6 5.4 4.5
-ไม่รวมรายจ่ายนักท่องเที่ยว 52.9 7.2 5.6 7.1 7.5 6.0 8.1 5.8 5.4 6.1 5.1 3.6
การใช้จ่ายของรัฐบาล 8.4 2.0 4.1 -8.1 4.6 4.2 7.9 7.0 4.9 0.3 5.2 16.0
การลงทุน 22.4 11.9 14.4 7.7 9.0 10.9 20.3 16.7 12.9 12.0 16.2 14.8
- ภาคเอกชน 16.5 17.5 15.3 18.3 16.4 15.8 19.4 18.6 16.1 14.2 12.7 10.6
- ภาครัฐ 6.0 -0.8 11.7 -16.6 -7.6 3.3 23.7 10.3 3.8 8.1 28.2 29.2
การส่งออก 65.6 7.0 7.8 12.6 4.7 4.2 7.1 6.2 11.8 8.4 5.2 -0.1
- สินค้า 53.6 9.5 7.0 14.9 10.1 5.1 8.6 6.3 6.7 9.2 5.9 -0.5
- บริการ 12.1 -2.9 11.4 4.1 -19.5 0.2 1.4 5.8 43.3 4.5 2.1 1.3
หัก : การนำเข้า 52.9 7.7 12.2 12.6 1.5 3.8 13.4 13.5 20.1 12.5 3.9 10.8
- สินค้า 45.1 9.7 12.1 14.2 3.8 4.6 17.1 14.3 19.8 13.3 2.3 11.7
- บริการ 7.8 -3.0 12.8 4.5 -10.6 -0.5 -4.8 9.5 21.8 7.4 13.3 6.1
GDP 100.0 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
HIGHLIGHT OF Q1/2005
GDP GROWTH BY SECTOR (YoY)
2004E 1Q04 2Q04 3Q04 4Q04 1Q05
Agriculture -3.9 -2.0 -5.8 -5.2 -3.3 -8.2
Non-agriculture 7.2 7.7 7.7 7.1 6.5 4.5
GDP 6.1 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
GDP ในไตรมาสที่ 1/2548 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 เนื่องจากการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศอันเนื่อง
จาก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งภาวะภัยแล้ง
* เศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 เทียบกับร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 4/2547
เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เหตุการณ์ธรณีพิบัติ และความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
* ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรลดลงร้อยละ 8.2 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง 5 ไตรมาส อันเนื่อง
มาจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตหลักลดลงเช่น ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ในขณะที่การผลิตด้านปศุสัตว์มีภาวะดีขึ้น
* ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.5 เนื่องจากการผลิตชะลอตัวในสาขาอุตสาหกรรมและขนส่ง ใน
ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารมีอัตราการขยายตัวลดลงเนื่องจากผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ส่วนสาขา
การเงินยังคงขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
ดุลการค้าและบริการในราคาประจำปี ขาดดุลสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในขณะที่การบริโภคครัวเรือนและ
การสะสมทุนขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาสก่อน
* ดุลการค้าในราคาประจำปีขาดดุลสูงถึง 124,500 ล้านบาท นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี
2540 เป็นผลจากการนำเข้าขยายตัวสูงกว่าการส่งออก ในขณะที่ดุลบริการยังคงเกินดุลถึง 70,372 ล้านบาท
* การบริโภคของครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.5 โดยเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ยังปรับตัวสูง
ขึ้น ภาวะภัยแล้ง และเหตุการณ์ธรณีพิบัติ
* การลงทุนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.8 ชะลอลงจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุน
ภาครัฐขยายตัวร้อยละ 29.2 สูงกว่าร้อยละ 28.2 ในไตรมาสก่อน ส่วนภาคเอกชนชะลอลงเหลือร้อยละ 10.6
เทียบกับร้อยละ 12.7 ในไตรมาส 4/2547
GDP ไตรมาส 1/48
GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ผลจากภัยแล้ง ราคาน้ำมัน และ Tsunami
GDP (%)
2547 2548
2547 1Q47 2Q47 3Q47 4Q47 1Q48
ภาคเกษตร -3.9 -2.0 - 5.8 -5.2 -3.3 -8.2
ภาคนอกเกษตร 7.2 7.7 7.7 7.1 6.5 4.5
GDP 6.1 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
GDP ปรับฤดูกาล 6.1 1.4 0.8 1.7 1.5 -0.6
* ภาพรวม : GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่ำกว่าร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับค่าฤดู
กาลแล้ว GDP หดตัวลงร้อยละ 0.6 อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวทั้งการบริโภคและการลงทุน ขณะที่อุปสงค์ภายนอก
ประเทศสุทธิลดลงอย่างมาก
* ด้านการผลิต : ขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเนื่องจากการผลิตภาคเกษตรหดตัว
ร้อยละ 8.2 ส่วนภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่แล้ว
- เกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 8.2 หมวดพืชผลลดลงร้อยละ 16.7 จากภาวะภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ทั้ง
ข้าวและอ้อยมีผลผลิตลดลง ขณะที่หมวด
- ปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 24.0 เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่เพิ่มขึ้น ตอบสนองความต้องการ
ของผู้บริโภคที่มีความมั่นใจในการบริโภคมากขึ้น ส่วนหมวดประมงชะลอลงเหลือร้อยละ 8.4 ตามภาวะการส่งออกกุ้งที่
ลดลง
- อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอตัวลงทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ตามการชะลอของอุปสงค์
รวม และการลดลงของวัตถุดิบจากภาค
- เกษตร นอกจากนั้นยังมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายประเภทปิดซ่อมบำรุงโรงงาน เช่น โรงกลั่น
น้ำมันและอุตสาหกรรมโลหะ เป็นต้น
- การก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 13.3 การก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอตัวลง
เล็กน้อย ส่วนการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 16.0 ชะลอลงจากร้อยละ 35.5 ในไตรมาสที่แล้ว
- ขนส่งคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 4.9 เป็นผลจากการบริการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 14.9
ขณะที่บริการขนส่งลดลงร้อยละ 0.3 ตามจำนวนสินค้าและนักท่องเที่ยวที่น้อยลง และการขนส่งทางอากาศที่หดตัวลง
ร้อยละ 2.3
- โรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 2.0 จากธุรกิจโรงแรมที่ลดลงร้อยละ 7.4 ตามจำนวนนัก
ท่องเที่ยวที่น้อยลงหลังจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์ Tsunami ส่วนบริการภัตตาคารขยายตัวเล็กน้อยเพียงร้อย
ละ 0.9 จากการบริโภคในประเทศที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
- การเงิน ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.2 เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ยังคงดีขึ้น ทั้ง
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมบริการ
* ด้านการใช้จ่าย : อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัว แต่อุปสงค์ภายนอกประเทศสุทธิลดลงอย่างมาก
- การใช้จ่ายในประเทศ ยังคงขยายตัวทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล การบริโภคของครัวเรือน และ
การลงทุน
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 16.0 ส่วนการใช้จ่ายของครัว
เรือนขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.4 ในไตรมาสที่แล้ว ปัจจัยสำคัญคือ ผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณี
พิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันต่อการท่องเที่ยว และการหยุดจัดงานฉลองปีใหม่ตอนต้นปี นอกจากนี้
การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนเช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด ใหญ่ ลดลงร้อยละ 0.2 โดยเฉพาะ
การซื้อรถยนต์ลดลงถึงร้อยละ 5.6 เป็นผลจากภาวะราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชน
เปลี่ยนไปซื้อรถที่ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งมีราคาต่ำกว่า
(2) การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 14.8 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.6 ชะลอ
ลงจากร้อยละ 12.7 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นการชะลอทั้งการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนการลงทุนของภาค
รัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2
- การส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงอย่างมากถึงร้อยละ
47.3
(1) การส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 0.1 โดยเป็นผลมาจากภาวะซบ
เซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก และปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับ
รายได้จากการท่องเที่ยวก็ชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.5 เนื่องจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่ง
ทะเลอันดามัน
(2) การนำเข้าสินค้าและบริการในราคาปีฐานขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.8 จากร้อยละ 3.9
ในไตรมาสที่แล้ว การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เป็นผลจากการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบ และสินค้าทุน
โดยเฉพาะน้ำมัน เหล็ก เครื่องจักรกล และทองคำ ส่วนรายจ่ายด้านบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ปัจจัยสำคัญมา
จากรายจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35.8
อัตราขยายตัวเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y)
GDP ด้านการผลิต
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547 2548
2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
เกษตร 9.2 8.7 -3.9 10.1 9.9 9.2 6.5 -2.0 -5.8 -5.2 -3.3 -8.2
นอกเกษตร 90.8 6.7 7.2 6.2 6.0 6.6 7.8 7.7 7.7 7.1 6.5 4.5
อุตสาหกรรม 38.7 10.4 8.4 10.2 11.2 9.3 10.8 10.2 7.3 8.4 7.6 3.6
ไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ 3.3 4.6 5.5 4.3 7.0 4.4 2.8 3.7 5.4 8.0 4.9 8.5
ก่อสร้าง 2.6 3.3 12.7 -5.5 0.1 6.4 13.3 14.3 7.3 9.4 22.2 13.3
การค้า 13.9 3.5 3.0 3.5 3.9 3.3 3.4 3.5 2.7 2.8 2.9 2.8
ขนส่ง 10.1 3.7 7.7 6.0 0.6 4.3 4.0 5.9 10.4 8.4 6.5 4.9
โรงแรม ภัตตาคาร 3.6 -3.7 12.2 -2.5 -13.1 -1.3 1.0 1.8 28.4 16.3 6.1 -2.0
การเงิน 3.5 16.2 14.2 14.3 15.0 15.2 20.2 12.9 16.7 11.6 15.7 17.2
อื่น ๆ 15.1 4.5 5.0 2.6 2.8 5.3 7.3 7.3 6.5 3.3 3.2 5.2
GDP 100.0 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
GDP ด้านการใช้จ่าย
น้ำหนัก 2546 2547 2548
2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
การใช้จ่ายของครัวเรือน 54.5 6.4 5.7 6.7 5.9 5.6 7.5 6.2 5.7 5.6 5.4 4.5
-ไม่รวมรายจ่ายนักท่องเที่ยว 52.9 7.2 5.6 7.1 7.5 6.0 8.1 5.8 5.4 6.1 5.1 3.6
การใช้จ่ายของรัฐบาล 8.4 2.0 4.1 -8.1 4.6 4.2 7.9 7.0 4.9 0.3 5.2 16.0
การลงทุน 22.4 11.9 14.4 7.7 9.0 10.9 20.3 16.7 12.9 12.0 16.2 14.8
- ภาคเอกชน 16.5 17.5 15.3 18.3 16.4 15.8 19.4 18.6 16.1 14.2 12.7 10.6
- ภาครัฐ 6.0 -0.8 11.7 -16.6 -7.6 3.3 23.7 10.3 3.8 8.1 28.2 29.2
การส่งออก 65.6 7.0 7.8 12.6 4.7 4.2 7.1 6.2 11.8 8.4 5.2 -0.1
- สินค้า 53.6 9.5 7.0 14.9 10.1 5.1 8.6 6.3 6.7 9.2 5.9 -0.5
- บริการ 12.1 -2.9 11.4 4.1 -19.5 0.2 1.4 5.8 43.3 4.5 2.1 1.3
หัก : การนำเข้า 52.9 7.7 12.2 12.6 1.5 3.8 13.4 13.5 20.1 12.5 3.9 10.8
- สินค้า 45.1 9.7 12.1 14.2 3.8 4.6 17.1 14.3 19.8 13.3 2.3 11.7
- บริการ 7.8 -3.0 12.8 4.5 -10.6 -0.5 -4.8 9.5 21.8 7.4 13.3 6.1
GDP 100.0 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.3 3.3
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-