ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 21, 2022 09:33 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
แถลงข่าว วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30 น.
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผล ของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวจาก ไตรมาสที่สามของปี 2564 ร้อยละ 1.8 (QoQ_SA) ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ กลับมาขยายตัว สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ขยายตัวต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงชะลอตัว ส่วนสาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร และสาขาการก่อสร้างลดลง รวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจาก การลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ การส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 4.6 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การป์องกันและควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงและในสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว (ii) การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม (iii) การเร่งรัดมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ โดย (i) การติดตามและประเมินผลมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (ii) การดูแลกลไกตลาดเพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า รวมทั้งผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ (iii) การพิจารณาการใช้จ่ายภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 และ 2566 โดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชน เพื่อรองรับแรงงานย้ายกลับภูมิลำเนา (4) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยให้ความสำคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการจูงใจในการชำระหนี้และบรรเทาภาระหนี้สินที่สำคัญ (5)การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักควบคู่กับการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การพัฒนาสินค้าส่งออกให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (iii) การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ (iv) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัด การเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา (v) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง (ii) การแก้ไขปัญหา ที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก (iv) การส่งเสริม การลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค (v) การลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (8) การติดตาม เฝ์าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ และ (9) การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่สามของปี 2564 การส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ กลับมาขยายตัว สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ขยายตัวต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงชะลอตัว ส่วนสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขา การก่อสร้างลดลง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2564 ร้อยละ 1.8 (QoQ_SA)

เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563

2564 %GDP (YoY) (แกนซ้าย)GDP ณ ราคาประจำปี (แกนขวา)10.0

GDP (QoQ_ปรับฤดูกาล) (แกนซ้าย)5,000 5.0 4,000 1.9 0.0 1.8 3,000 -5.0 2,000 -10.0 1,000 -15.0 0Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4

59 60 61 62 63 64 ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ1) ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการคลี่คลายลงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวต่อเนื่องของ การใช้จ่ายกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ การใช้จ่ายลดลงร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน ขณะที่การใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรมลดลงในอัตราที่ชะลอลง การใช้จ่ายลดลงร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า และการใช้จ่ายในลดลงร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงในอัตราที่ชะลอลง การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับ การเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากระดับ 34.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับ 38.9 ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 11.4 และการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวสูงร้อยละ 38.5 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ส่วนอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำอยู่ที่ร้อยละ 35.5 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 23.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 32.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.3 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 3.2 2) ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยขยายตัวร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการลงทุนรัฐบาลร้อยละ 11.6 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 15.9 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 16.0 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 24.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 12.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) ขณะที่ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ 3) มีมูลค่า70,543 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 21.3 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 7.1) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 25.7) รถกระบะ (ร้อยละ 55.4) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 25.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 28.7) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 51.7) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 25.8) ข้าว (ร้อยละ 13.2) ยางพารา (ร้อยละ 31.4) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 56.2) และน้ำตาล (ร้อยละ 85.2) เป็นต้น เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 15.1) และปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 20.8 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 32.2

การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 269,588 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 18.8 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ 4) ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตหมวดปศุสัตว์ หมวดประมง และข้าวเปลือก เป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญอื่นขยายตัวต่อเนื่อง โดยผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อ้อย (ร้อยละ 99.5) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 26.8) และกลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 3.8) เป็นต้น ส่วนผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น สุกร (ลดลงร้อยละ 22.7) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลง ร้อยละ 18.7) และข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 2.5) เป็นต้น ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.5 ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตร สำคัญ ๆ เช่น ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 16.6) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 24.9) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 7.2) และสุกร (ลดลงร้อยละ 2.3) เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อ้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4) ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0) มันสำปะหลัง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9) ไก่เนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) เป็นต้น การลดลงของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.7

สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.5 ในปี 2563 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 5) ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องของ การส่งออกสินค้า และการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย- 60 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้าและ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้าในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 65.43 สูงกว่าร้อยละ 59.34 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 63.77 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่น การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 15.8) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 8.6) การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ร้อยละ 98.7) และการผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 4.4) เป็นต้น เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 10.1) การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ลดลงร้อยละ 42.8) การผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 15.4) และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน (ลดลงร้อยละ 12.3) เป็นต้น

สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 5.6 ในปี 2563 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.73 6) ลดลงร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 19.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของ การท่องเที่ยวในประเทศและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยในไตรมาสนี้มี ลดลงร้อยละ 47.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 91.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการคลี่คลายลงของสถานการณ์การระบาดของ โรคโควิด-19 ในประเทศ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐ ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและครอบคลุมในทุกจังหวัด และ การดำเนินมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นจากฐานต่ำ อย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเปิดประเทศแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ (Test & Go) การกระจายวัคซีน และการผ่อนคลายมาตรการเดินทาง ของหลายประเทศ ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 26.25 สูงกว่าร้อยละ 5.46 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 32.49 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 14.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 37.5 ในปี 2563 โดยกิจกรรมการบริการที่พักแรมลดลงร้อยละ 30.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 50.7 ในปี 2563 และกิจกรรมการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 8.3 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 27.1 ในปี 2563 7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้น ของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมการผลิต สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดยดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 10.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 23.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในปี 2563 8) ขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของบริการขนส่ง ทางอากาศและการขยายตัวต่อเนื่องของบริการขนส่งทางน้ำ ในขณะที่บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงปรับตัวลดลง การปรับตัวดีขึ้นของสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่งร้อยละ 3.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย (1) ดัชนีบริการขนส่งทางอากาศ ขยายตัวร้อยละ 20.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (2) ดัชนีบริการขนส่งทางน้ำ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 5.5 และ (3) ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง ลดลงร้อยละ 0.8 สำหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.5 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 14.8 สอดคล้องกับการขยายตัวของรายรับผู้ประกอบการ

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นการลดลงร้อยละ 22.9 ในปี 2563 โดยบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลง ร้อยละ 5.1 บริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 0.3 และบริการขนส่งทางขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 28.8 ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 20.2 9)เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมการผลิตไฟฟ้าขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่กิจกรรมโรงแยกก๊าซปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 โดย (1) กิจกรรมการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม และ (2) กิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.2 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

สาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบการปรับอากาศลดลงร้อยละ 2.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.0 ในปี 2563 โดยกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.4 และกิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 4.0

ขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

  • 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และ (4) แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

Economic Outlook 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชน:ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของความรุนแรงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และการดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้า ไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.3 การใช้จ่ายหมวดบริการลดลงร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงานขยายตัวร้อยละ 16.4 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ ในขณะที่การใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรมลดลงร้อยละ 0.2 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า ร้อยละ 1.6 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงร้อยละ 8.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 21.3 ในไตรมาสก่อนหน้า การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากระดับ 34.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับ 38.9 รวมทั้งปี 2564 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในปี 2563

การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวการบริโภคภาคเอกชนและเครื่องชี้ที่สำคัญ8.0 การบริโภคภาคเอกชน (แกนซ้าย)

80.0 %YoY ดัชนีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล

%YoY ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ (แกนขวา)6.0 70.0

8.0 ดัชนีปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน

70.0 ดัชนีปริมาณการนำเข้าสินค้าหมวดสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม4.0 60.0

6.0 ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลดัชนี%YoY 2.0 50.0 4.0 35.0 0.0 40.0 2.0 -2.0 30.0 0.0 0.0 -4.0 20.0

-4.0 -35.0 -6.0 10.0

-6.0 -8.0 0.0 -8.0 -70.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 59 60 61 62 63 64 59 60 61 62 63 64 ที่มา: สศช. และ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่มา: สศช. ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมธุรกิจพลังงานการลงทุนภาคเอกชน: ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือ ขณะที่การลงทุนในหมวดการก่อสร้างยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดยานพาหนะ สอดคล้องกับการลดลงของยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ ประกอบกับการชะลอตัวลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.7 และร้อยละ 11.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 22.0 และร้อยละ 16.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในหมวดการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของแรงขับเคลื่อนจากการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48.1 จากระดับ 41.3 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2564 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 8.2 ในปี 2563 โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 4.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.7 ขณะที่หมวด การก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.3 ในปี 2563 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 มีมูลค่า70,543 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เร่งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าประมง ขยายตัวร้อยละ 23.9 และร้อยละ 9.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 16.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 18.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกสินค้าประมง และอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 20.8 ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 24.2 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกในรูปของเงินบาท มีมูลค่า 2,355 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 21.6 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2564 การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ 269,588 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 18.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยปริมาณการส่งออกและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ การส่งออกในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 8,633 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.8 ในปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 22.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 43.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 ตามการขยายตัวของปริมาณการส่งออกข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำตาล ขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.8 ตามการลดลงของราคาส่งออกข้าว และมันสำปะหลัง สำหรับมูลค่าการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ จีน และแองโกลา เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 37.1 ขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 17.4 ยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังตลาดจีนและสหรัฐฯ เป็นสำคัญ โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ มันสำปะหลัง มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลักที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 ขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 3.4 น้ำตาล มูลค่าการส่งออกขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ร้อยละ 85.2 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเกาหลีใต้ เป็นสำคัญ โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.4 และร้อยละ 24.0 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 21.8 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 22.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 7.1) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 25.7) รถกระบะ (ร้อยละ 55.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 8.3) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 25.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 28.7) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 51.7) และอาหารสัตว์ (ร้อยละ 25.8) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญอื่น ๆ ที่ลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 15.1) และปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 12.1 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ (ร้อยละ 21.6) และปลา (ร้อยละ 0.9) สินค้าส่งออกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 60.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกทองคำที่ยัง ไม่ขึ้นรูปร้อยละ 67.9 เป็นสำคัญ

สินค้าส่งออกสำคัญ ในรูปดอลลาร์ สรอ. ตลาดส่งออก: การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.3 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดจีนขยายตัวร้อยละ 17.3 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 20.8 ตามการขยายตัวของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 42.9 (ตามการขยายตัวของ การส่งออกไปยังตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นสำคัญ) การส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ขยายตัวร้อยละ 13.4 (ตามการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา เป็นสำคัญ) การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 14.6 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นสำคัญ และการส่งออก ไปยังตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 33.6 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และไม้และผลิตภัณฑ์ เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเครื่องจักรกล และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 59,666 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 31.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมบางสาขาที่ยังคงขยายตัว อย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตชิ้นส่วนและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน การผลิตผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับเหล็กและโลหะ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ เป็นต้น โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนำเข้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค ร้อยละ 20.5 ร้อยละ 13.4 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคานำเข้าวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 21.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 18.3 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน (รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน) และวัสดุที่ทำด้วยโลหะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 ในรูปของเงินบาท การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 1,992 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2564 การนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 229,633 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.3 ในปี 2563

%YoY ในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสินค้าทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้านำเข้าอื่น ๆ ลดลง โดยมูลค่าการนำเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.1 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันดิบ และวัสดุที่ทำด้วยโลหะ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น ยาและเวชภัณฑ์ และเครื่องประดับ (ยกเว้นไข่มุกและอัญมณี) เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 4.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการนำเข้าหมวดทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) ซึ่งลดลงร้อยละ 6.7 อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 3.8 ส่งผลให้อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 107.9 ลดลงจากระดับ 110.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และระดับ 109.8 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2564 อัตราการค้าอยู่ที่ 109.0 ปรับตัวลดลงจาก 110.2 ในปี 2563 เนื่องจากราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 3.3 ดุลการค้าเกินดุล 10.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการเกินดุล 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า และการเกินดุล 8.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เมื่อคิดในรูปเงินบาทในไตรมาสที่สี่ ของปี 2564 ดุลการค้าเกินดุล 362.7 พันล้านบาท สูงกว่าการเกินดุล 304.7 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า และการเกินดุล 266.9 พันล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี 2564 ดุลการค้าเกินดุล 40.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 40.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563 เมื่อคิดในรูปเงินบาท ดุลการค้าเกินดุล 1,279.8 พันล้านบาท เทียบกับการเกินดุล 1,281.3 พันล้านบาท ในปี 2563 ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง: ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตหมวดปศุสัตว์ หมวดประมง และข้าวเปลือก เป็นสำคัญ ในขณะที่ผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญอื่นขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ ในไตรมาสนี้ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5 ตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อย และผลผลิตอ้อยต่อไร่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดวันเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบเร็วกว่าฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา (2) ปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากได้รับแรงจูงใจด้านราคาในช่วงที่ผ่านมา และ (3) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะมะม่วง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่วนผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ (1) สุกร ลดลงร้อยละ 22.7 เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรปรับลดปริมาณการเลี้ยงสุกร ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงสุกรปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ค่าลูกสุกร ค่าอาหารสัตว์ อาทิ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และราคากากถั่วเหลือง ค่าควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสุกร อาทิ โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever: ASF) และ โรคเพิร์ส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome : PRRS) และค่าขนส่ง เป็นต้น (2) กุ้งขาวแวนนาไม ลดลงร้อยละ 18.7 ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ค่าอาหารสัตว์และค่าขนส่ง ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปรับลดการเลี้ยงกุ้ง และ (3) ข้าวเปลือก ลดลงร้อยละ 2.5 ตามปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม 2564 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.5 ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) ข้าวเปลือก ลดลงร้อยละ 16.6 เนื่องจากตลาดโลกมีการแข่งขันสูง และสต็อกข้าวเปลือกภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์สูง (2) กลุ่มไม้ผล ลดลงร้อยละ 24.9 โดยเฉพาะทุเรียน ตามปริมาณความต้องการบริโภคทุเรียนจาก ต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะประเทศจีน (3) ยางพารา ลดลงร้อยละ 7.2 ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับความต้องการยางพาราจากตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลง และ (4) สุกร ลดลงร้อยละ 2.3 ตามปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ลดลงในช่วงการดำเนินมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในประเทศและประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ราคาอ้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4) ราคาปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0) ราคามันสำปะหลัง (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.9) ราคาไก่เนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6) และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) เป็นต้น การลดลงของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.7 รวมทั้งปี 2564 สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง ร้อยละ3.5 ในปี 2563 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2

รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 4.7 ราคาปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการลดลงของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตรในขณะที่ราคาข้าวเปลือกและยางพาราปรับตัวลดลง (%YoY)ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรดัชนีราคาสินค้าเกษตร(%YoY)

ยางแผ่นดิบชั้น 3 ปาล์มน้ำมัน20 ดัชนีรายได้เกษตรกร อ้อย 150 10 100 050 0-10 -50 -20 -100 Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 2560 2561 2562 2563 2564 2560 2561 2562 2563 2564 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม: ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ในประเทศ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 61.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการผลิตจักรยานยนต์และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 15.4 และร้อยละ 12.3 ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60)เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับ การส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง โดยการผลิตสำคัญ ๆ ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 และการผลิตเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงและการผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋องลดลงร้อยละ 10.1 และร้อยละ 9.8 ตามลำดับ และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่า ร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน โดยการผลิตสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจนเพิ่มขึ้นร้อยละ 98.7 การผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 การผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรคเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบและการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐานลดลงร้อยละ 42.8 และร้อยละ 9.9 ตามลำดับ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 65.43 สูงกว่าร้อยละ 59.34 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 63.77 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในอุตสาหกรรมสำคัญ 30 รายการ มีอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 94.42) การฆ่าสัตว์ปีกและการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง (ร้อยละ 85.67) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 83.06) และการผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 81.47) ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 15.8) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 8.6) การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ร้อยละ 98.7) การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 4.4) การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 31.0) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ร้อยละ 27.5) การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 34.5) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ร้อยละ 8.8) การผลิตน้ำตาล (ร้อยละ14.6) และการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ร้อยละ 25.5) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 10.1) การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ลดลงร้อยละ 42.8) การผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 15.4) การผลิตเครื่องใช้ ในครัวเรือน (ลดลงร้อยละ 12.3) การทอผ้า (ลดลงร้อยละ 10.2) การผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง (ลดลงร้อยละ 9.8) การผลิตถัง กระป๋อง ถังกลมขนาดใหญ่ และภาชนะบรรจุที่คล้ายกันที่ทำจากโลหะ (ลดลงร้อยละ 11.3) การผลิตปูนซีเมนต์ ปูนไลม์ (ปูนขาว) และปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ10.1) การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 9.9) และการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 11.0) เป็นต้น รวมทั้งปี 2564 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 5.6 ในปี 2563 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.73

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 (ร้อยละ)อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65.43 (%YoY) ยังไม่มีการเผยแพร่100.0

%Cap U (แกนซ้าย)MPI 40.0 (ล้านล้านบาท)

รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ%YoY (แกนขวา)0.6 90.0 Export<30%Export 30-60%30.0 30 80.0 Export>60%20.0

070.0 10.0 60.0 0.0 0.4

-30 50.0 -10.0 40.0 -20.0

A 30.0 -30.0 0.2 A 20.0 -40.0 มาตรการVOA (5 ก.ค. 61)มาตรการVOA มาตรการVO มาตรการVOA มาตรการVOA (15 พ.ย. 61 - 13 ม.ค. 62)มาตรการVO

การแพร่ระบาดของทางเข้าประเทศเป็นเวลา 6 เดือน-90 (1 พ.ค. -31 ต.ค. 62)(1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61)เหตุเรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต(14 ม.ค. - 30 เม.ย. 62)(1 พ.ค. -31 ต.ค. 62)(1 พ.ย. 62 -30 เม.ย. 63)โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 10.0 -50.0

0.0 การไม่อนุญ-120 0.0 -60.0 Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4

2560 2561 2562 2563 2564 2561 2562 2563 2564 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ลดลงร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 19.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการท่องเที่ยวในประเทศและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยในไตรมาสนี้ รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยมีจำนวน 0.084 ล้านล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 91.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการคลี่คลายลงของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐ ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและครอบคลุมในทุกจังหวัด และการดำเนินมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว สำหรับจังหวัดที่มีผู้เยี่ยมเยือนคนไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 4.08 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 12.83) ชลบุรี จำนวน 2.19 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 6.88) และกาญจนบุรี จำนวน 2.11 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 6.63) เป็นต้น ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวน 342,024 คน เพิ่มขึ้นจากฐานต่ำอย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเปิดประเทศแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ (Test & Go) การกระจายวัคซีน และการผ่อนคลายมาตรการเดินทางของหลายประเทศ โดยนักท่องเที่ยวสำคัญที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในไตรมาสนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป 213,859 คน(สัดส่วนร้อยละ 62.53) ภูมิภาคเอเชียตะวันออก 51,873 คน (สัดส่วนร้อยละ 15.17) และภูมิภาคอเมริกา 33,732 คน (สัดส่วนร้อยละ 9.86) เป็นต้น สำหรับอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 26.25 สูงกว่าร้อยละ 5.46 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 32.49 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนรวมทั้งปี 2564 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 14.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 37.5 ในปี 2563 โดยกิจกรรมการบริการที่พักแรมลดลงร้อยละ 30.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ การลดลงร้อยละ 50.7 ในปี 2563 และกิจกรรมการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 8.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 27.1 ในปี 2563 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมทั้ง การขยายตัวของกิจกรรมการผลิตสาขาเกษตรกรรมฯ และสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดยดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 10.5 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 23.9 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2564 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในปี 2563 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: ขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของบริการขนส่งทางอากาศและการขยายตัวต่อเนื่องของบริการขนส่งทางน้ำ ในขณะที่บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงปรับตัวลดลง การปรับตัวดีขึ้นของสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่งร้อยละ 3.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) ดัชนีบริการขนส่งทางอากาศ ขยายตัวร้อยละ 20.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศ เป็นสำคัญ และสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศของไทย (2) ดัชนีบริการขนส่งทางน้ำ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 5.5 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีปริมาณตู้สินค้าและการขยายตัวของการส่งออกสินค้า และ (3) ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง ลดลงร้อยละ 0.8 สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้า ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน จำนวนรถโดยสารสาธารณะ และปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ สำหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.5 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 14.8 สอดคล้องกับการขยายตัวของรายรับผู้ประกอบการ รวมทั้งปี 2564 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 22.9 ในปี 2563 โดยบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลงร้อยละ 5.1 บริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 0.3 และบริการขนส่งทางขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 28.8 ในขณะที่บริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 20.2 สาขาไฟฟ์า ก๊าซ ไอน้ำและระบบการปรับอากาศ: เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายภาครัวเรือนซึ่งส่งผลให้กิจกรรมการผลิตไฟฟ้าขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่กิจกรรมโรงแยกก๊าซปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 โดย (1) กิจกรรม การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม และ (2) กิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.2 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาส ก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าของการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งรวมทั้งปี 2564 สาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบการปรับอากาศลดลงร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 8.0 ในปี 2563 โดยกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.4 และกิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 4.0 สาขาการก่อสร้าง:ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างภาคเอกชน ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐบาลกลับมาขยายตัว โดยในไตรมาสนี้การก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 0.7 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 10.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 14.8) ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของ การก่อสร้างอื่น ๆ เป็นสำคัญ ในขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัยขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 9.8 ตามการเพิ่มของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6) และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9) รวมทั้งปี 2564 สาขาการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในปี 2563 โดยการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 4.7 (การก่อสร้างของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 7.0 ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 0.1) ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.6

ผู้มีงานทำ: ปรับตัวลดลงตามการลดลงของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร ในขณะที่ผู้มีงานทำในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าและอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 จำนวนผู้มีงานทำลดลงร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 66.76) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.1 ตามการลดลงของจำนวนผู้มีงานทำในสาขาการก่อสร้างและสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้มีงานทำ ในสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.7 ในขณะที่ ผู้มีงานทำภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 33.24) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 1.3 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการ เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน และกลุ่มผลไม้ เป็นต้น สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.64 ต่ำกว่าร้อยละ 2.25 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.86 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจำนวน 6.3 แสนคน ต่ำกว่าผู้ว่างงานจำนวน 7.3 แสนคนในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยทั้งปี 2564 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.93 เทียบกับร้อยละ 1.69 ในปี 2563

ผู้มีงานทำลดลงร้อยละ 1.0 ตามการลดลงของภาคนอกเกษตร

อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.64 (ล้านคน)การจ้างงานอัตราการว่างงาน (แกนขวา)(%)38.8 2.4 38.4 38.0 1.8 37.6 37.2 1.2 36.8

0.6 36.4 36.0 0.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4

2561 2562 2563 2564 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)

การจ้างงานจำแนกตามสาขาการผลิต%YOY สัดส่วน 2563 2564 Q4/64 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ผู้มีงานทำรวม100.00 0.2 -0.7 -1.9 1.2 2.2 0.2 0.4 2.0 -0.6 -1.0 - ภาคเกษตร33.24 -0.2 -3.7 -0.3 -0.1 3.0 1.8 2.8 2.4 1.0 1.3 - นอกภาคเกษตร66.76 0.4 0.5 -2.5 1.8 1.9 -0.6 -0.6 1.8 -1.3 -2.1 อุตสาหกรรม 15.40 -2.3 -1.4 -4.4 -1.4 -1.8 -0.9 -2.2 -2.2 2.1 -1.2 ก่อสร้าง 5.53 1.9 -0.2 -6.3 6.6 9.1 -1.1 4.5 5.1 -7.3 -6.9 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ 16.77 0.5 -1.1 -1.0 4.6 -0.4 -0.4 -1.0 -1.4 0.2 0.7 ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 7.05 0.9 3.7 -2.8 -0.4 3.1 -3.1 -0.1 5.4 -9.3 -7.9 กำลังแรงงานรวม (ล้านคน)38.6 38.2 38.2 38.7 39.1 38.7 38.7 38.8 38.6 38.6 จำนวนผู้มีงานทำ (ล้านคน)37.7 37.4 37.1 37.9 38.3 37.8 37.6 37.8 37.7 37.9 จำนวนผู้ว่างงาน (ล้านคน)0.65 0.39 0.75 0.74 0.73 0.75 0.76 0.73 0.87 0.63 อัตราการว่างงาน (%)1.69 1.03 1.95 1.90 1.86 1.93 1.96 1.89 2.25 1.64 หมายเหตุ : ข้อมูลทั้งปี 2564 คำนวณโดย สศช. ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)

ด้านการคลัง การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 557,173.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 โดย (1) การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ (i) การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศและการนำเข้าสินค้า (ii) การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และ (iii) การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (2) การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บอากรขาเข้า และ (3) การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.0 จากการนำส่งรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และรายได้นำส่งระหว่างปีของรัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการดีขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2564 อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง และธนาคารออมสิน อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตและส่วนราชการอื่นลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 19.6 ตามลำดับ การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงเป็นผลจาก (1) ภาษียาสูบ เนื่องจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมในประเทศมีการเร่งชำระภาษีเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและนำสินค้าออกสู่ตลาดในเดือนกันยายน 2564 ก่อนการประกาศโครงสร้างภาษียาสูบใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2564 (2) ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลดลง และผู้ประกอบอุตสาหกรรมลดการนำเข้าน้ำมัน (3) ภาษีรถยนต์ สอดคล้องกับ การลดลงของยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประกอบกับสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และ (4) ภาษีเบียร์ เป็นผลจาก การดำเนินมาตรการปิดสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ในเดือนตุลาคม 2564 ประกอบกับฐานรายได้ภาษีเบียร์ที่สูงในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นลดลง เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน ซึ่งมีการนำส่งเงินเหลือจ่ายของกรมบังคับคดีและมีรายได้จากค่าใบอนุญาตวิทยุคมนาคม (5G) ในเดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับประมาณการรายได้ในเอกสารงบประมาณ การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 สูงกว่าประมาณการ 29,651 ล้านบาท (ร้อยละ 5.6) โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการ 49,695 ล้านบาท (ร้อยละ 13.7) การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรสูงกว่าประมาณการ 306 ล้านบาท (ร้อยละ 1.2) และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 6,362 ล้านบาท (ร้อยละ 15.1) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน และการไฟฟ้านครหลวง ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตต่ำกว่าประมาณการ 9,447 ล้านบาท (ร้อยละ 6.6) เนื่องจากประมาณการรายได้ของกรมสรรพสามิต ได้รวมผลของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ซึ่งมีความจำเป็นต้องชะลอการดำเนินการออกไป เพื่อบรรเทาภาระ ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคจากการระบาดของโรคโควิด-19 การจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นต่ำกว่า ประมาณการ 5,384 ล้านบาท (ร้อยละ 16.5) จากการปรับลดอัตราค่าปรับและค่าธรรมเนียมของส่วนราชการ เพื่อบรรเทาผลกระทบให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การใช้จ่ายของรัฐบาล ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,295,042.1 ล้านบาท1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 1,097,379.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.3 และรายจ่ายลงทุน 197,662.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9 ประกอบด้วย (1)การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 จำนวน 983,541.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 31.7 สูงกว่าร้อยละ 28.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำแนกเป็น (i) รายจ่ายประจำ 886,605.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 35.5 สูงกว่าร้อยละ 32.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ (ii) รายจ่ายลงทุน 96,935.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 16.0 สูงกว่าร้อยละ 12.1 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวของรายจ่ายประจำเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายในหมวดงบรายจ่ายอื่น ส่วนรายจ่ายลงทุนเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และหมวดงบรายจ่ายอื่น

การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีในไตรมาสแรกล้านบาทรายจ่ายลงทุน (แกนซ้าย)ร้อยละร้อยละเทียบกับอัตราการเบิกจ่ายเฉลี่ย1,200,000 รายจ่ายประจำ (แกนซ้าย)100 35 เฉลี่ย= 27.9 1,000,000 อัตราการขยายตัวของการเบิกจ่ายรวม (แกนขวา)

80 30 800,000

60 25 600,000

16.0 40 15 400,000 200,000 20 10 เฉลี่ย= 13.6 005-200,000

Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1 -20

Q1/54Q1/55Q1/56Q1/57Q1/58Q1/59Q1/60Q1/61Q1/62Q1/63Q1/64Q1/65 -400,000 -40 อัตราการเบิกจ่ายรวมอัตราการเบิกจ่ายลงทุน2560 2561 2562 2563 25642565 อัตราเบิกจ่ายรวมเฉลี่ยอัตราเบิกจ่ายลงทุนเฉลี่ยที่มา: GFMIS ที่มา: GFMIS (2)การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 75,530.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5 โดยมีอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 31.8 ต่ำกว่าร้อยละ 37.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (3)การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จำนวน 53,608.0 ล้านบาท2 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 38.3 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายที่ลดลงของ (i) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ii) การรถไฟแห่งประเทศไทย (iii) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (iv) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ (v) การไฟฟ้า นครหลวง เป็นสำคัญ และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 พ.ศ. 2563 - 2564 (วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท)จำนวน 190,540.1 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 183,409.2 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 7,130.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.3 และร้อยละ 3.7 ของการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 ตามลำดับ 1 หนี้สาธารณะคงค้างณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 9,644,256.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.6 ของ GDP และอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐซึ่งกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 70.0 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 9,463,589.4 ล้านบาท (ร้อยละ 58.5 ของ GDP) และเงินกู้จากต่างประเทศ 180,667.2 ล้านบาท (ร้อยละ 1.1 ของ GDP) แบ่งเป็น (1) หนี้ของรัฐบาล 8,536,092.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.5 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 844,061.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 257,035.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (4) หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 7,066.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง

พันล้านบาทร้อยละ

ล้านบาท12,000 70 สถานะเงินคงคลัง ณ สิ้นงวด (แกนซ้าย)ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง 10,000 60 กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล (แกนขวา)700,000 400,000 8,000 50 600,000

300,000 40 500,000 6,000

30 250,000 400,000 4,000

20 200,000 300,000 2,000 10 150,000 00200,000

100,000 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1 100,000 50,000 2560 2561 2562 2563 2564 2565 00หนี้ในประเทศหนี้ต่างประเทศหนี้สาธารณะคงค้าง ต่อ GDP (แกนขวา)Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1

2560 2561 2562 2563 2564 2565 ที่มา: สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ที่มา: กระทรวงการคลังฐานะการคลังของรัฐบาลในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 527,999 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 28,586 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 305,020 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดสุทธิ 251,565 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ ของปีงบประมาณ 2564 จำนวน 588,747 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 337,182 ล้านบาท ภาวะการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2564 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการประชุม 2 ครั้ง ได้แก่ การประชุม ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 และครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมมีมติ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดย กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน และการระบาดของของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ยังอยู่ต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของโรค รวมทั้งความเสี่ยงด้านเครดิตที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการกระจายตัวของสินเชื่อ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SMEs นอกจากนี้ เห็นว่าการคงนโยบายการเงินไว้ในระดับที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม การประสานนโยบายของหน่วยงานภาครัฐจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการดำเนินมาตรการทางการเงินการคลังที่เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาคที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00 - 0.25 ร้อยละ 0.00 และร้อยละ (-0.01) ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ รัสเซีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 0.25 ร้อยละ 8.50 ร้อยละ 0.75 และร้อยละ 1.00 ต่อปี ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 0.10 ร้อยละ 6.75 ร้อยละ 0.25 และ ร้อยละ 0.75 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ รวมทั้งปี 2564 คณะกรรมการนโยบายการเงินคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี สอดคล้องกับ การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาค ในเดือนมกราคม 2565 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 1.25 ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ธนาคารกลางอังกฤษ และรัสเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 0.50 และร้อยละ 9.50 ตามลำดับ ขณะที่ กนง. ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง และ SFIs คงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.49 ร้อยละ 6.60 และร้อยละ 6.13 ต่อปี ตามลำดับ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.45 ร้อยละ 0.50 และร้อยละ 0.93 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยลดลงตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในประเทศ รวมทั้งปี 2564 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.45 และร้อยละ 5.43 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 0.68 และร้อยละ 5.57 ต่อปี ในปีก่อนหน้า ตามลำดับ ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.96 และร้อยละ 6.13 ต่อปี จากเฉลี่ยร้อยละ 1.12 และร้อยละ 6.22 ต่อปี ในปีก่อนหน้า ตามลำดับ ในเดือนมกราคม 2565 ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า สินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ยอดสินเชื่อ คงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากการขยายตัว ร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 6.0 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท ที่มีความคืบหน้ามากขึ้น โดย ณ วันที่ 31 มกราคม 2565 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อแล้วทั้งสิ้น 147,564 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.03 ของวงเงิน ด้านสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจาก การขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 8.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ในส่วนสินเชื่อครัวเรือนชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัว ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 5.7 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อคงค้างในสาขาสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ สาขาการผลิต (ขยายตัวร้อยละ 8.1) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (ขยายตัวร้อยละ 8.1) สาขาการก่อสร้าง (ขยายตัวร้อยละ 7.0) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (ขยายตัว ร้อยละ 6.8) และกิจการทางการเงินและการประกันภัย (ขยายตัวร้อยละ 5.0) ในส่วนของสินเชื่อคงค้างในสาขาสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร (ลดลงร้อยละ 5.5) และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ (ลดลงร้อยละ 2.8) ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอตัวลง จากการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อเพื่อการจัดหา ที่อยู่อาศัย สำหรับสินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ให้กู้ยืมแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและประกันภัย) ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยสินเชื่อคงค้างในสาขาสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบปรับอากาศ สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขณะที่สินเชื่อคงค้างในสาขาที่สำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ สาขา การก่อสร้าง และสาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน รวมทั้งปี 2564 สินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 4.4 ในปี 2563

สินเชื่อภาคเอกชน (รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ของสถาบันรับฝากเงิน

ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า%YOY

สินเชื่อภาคเอกชน (รวมดอกเบี้ยค้างรับ)%YOY 10 สินเชื่อธุรกิจ (แกนขวา)10 สินเชื่อครัวเรือน (แกนขวา)8864.4 64.3 442200Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 -2 -2 2559 2560 2561 2562 2563 2564 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 32.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 1.37 สอดคล้องกับการปรับตัวแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับ สกุลเงินหลักอื่น ๆ โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ยอยู่ที่ 95.18 เพิ่มขึ้นจากระดับ 92.76 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วงเดือนตุลาคมค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงจากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยปรับตัวแข็งค่าขึ้น จากทิศทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศ รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนธันวาคมค่าเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลงตามความกังวลต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ในช่วง ไตรมาสที่สี่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค อาทิ ค่าเงินของประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และฮ่องกง ที่อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 3.2 ร้อยละ 2.2 ร้อยละ 1.2 ร้อยละ 0.7 ร้อยละ 0.4 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินของประเทศจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไต้หวันปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ร้อยละ 0.8 ร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ เป็นต้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยในไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 114.55 จุด ลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.23 รวมทั้งปี 2564 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.86 - 33.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (ค่าเฉลี่ย 32.00 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ.) อ่อนค่าลงจากปี 2563 ร้อยละ 2.27 (ค่าเฉลี่ย 31.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) โดยเป็นผลเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2564 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.24 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.95 จากค่าเฉลี่ย 33.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่ง ตามสถานการณ์ของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอาการป่วยของผู้ติดเชื้อมีความรุนแรงค่อนข้างน้อยและอัตราเสียชีวิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำ รวมทั้งรัฐบาลกลับมาผ่อนคลายมาตรการป้องกันและเปิดรับนักท่องเที่ยวภายใต้มาตราการ Test & Go อีกครั้ง ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงต้นไตรมาสดัชนีราคาหลักทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ขณะที่ในช่วงกลางไตรมาส ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ทยอยปรับตัวลดลง ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโดวิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ หลายประเทศได้มีการดำเนินมาตรการป้องกันที่เข้มงวดมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายไตรมาสดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์กลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอนมีสัญญาณบ่งชี้ว่าความรุนแรงของอาการป่วยน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา ประกอบกับการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศได้มากกว่าร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด รวมทั้งภาคการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาสดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1,657.6 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากไตรมาส ก่อนหน้า ทั้งนี้ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย สำหรับ กลุ่มธุรกิจสำคัญ ๆ ที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการเงิน (ร้อยละ 10.4) กลุ่มเทคโนโลยี (ร้อยละ 10.1) กลุ่มทรัพยากร (ร้อยละ 3.1) และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (ร้อยละ 1.6) ขณะที่กลุ่มธุรกิจสำคัญ ๆ ที่ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (ร้อยละ 1.8) กลุ่มบริการ (ร้อยละ 1.0) และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (ร้อยละ 0.8) ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสำคัญ ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย (ร้อยละ 4.7) มาเลเซีย (ร้อยละ 1.9) จีน (ร้อยละ 2.0) และสิงคโปร์ (ร้อยละ 1.2) ขณะที่ดัชนีหลักทรัพย์ของประเทศสำคัญๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เกาหลีใต้ (ร้อยละ 3.0) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 2.2) รวมทั้งปี 2564 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 199.5 จุด หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.8 จาก ณ สิ้นปี 2563 ในเดือนมกราคม 2565 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1,648.8 จุด ปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.5 จากสิ้นเดือนธันวาคม 2564 เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อการดำเนินนโยบายการเงินที่มีความเข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังจากการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดเพื่อชะลอการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ

เงินบาทอ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้าดัชนีหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยปรับลดลงดัชนีบาท/ดอลลาร์ สรอ.ล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้า

ดัชนี130 29.0 110,000 Value SET Index (RHS)2000 125 29.5 30.0 90,000 120 30.5

80,000 31.0 115

70,000 31.5 1600 110 32.0 60,000 1800 105 32.5 50,000 33.0 100 40,000 33.5 95 34.0 30,000 1200 ม.คเม.ยก.คต.คม.คเม.ยก.คต.คม.คเม.ยก.คต.คม.คเม.ยก.คต.คม.ค

10,000 1000 .-61 .-61 .-61 .-61 .-62 .-62 .-62 .-62 .-63 .-63 .-63 .-63 .-64 .-64 .-64 .-64 .-65 NEER REER บาท/ดอลลาร์ สรอ. (แกนขวา)59 60 61 62 63 64 65 ที่มา: CEIC, ธนาคารแห่งประเทศไทยที่มา: SET อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดวงเงินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ประกอบกับความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของ ปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 0.51 ต่อปี ทรงตัวจากสิ้นไตรมาสก่อนหน้า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.90 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.89 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิ 76.7 พันล้านบาท เทียบกับสถานะขายสุทธิ 7.7 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการระดมทุนใหม่ผ่านตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 357.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มพลังงาน และ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นทั้งพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 0.51 เทียบกับร้อยละ 0.36 ณ สิ้นปี 2563 ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.90 เทียบกับร้อยละ 1.28 ณ สิ้นปี 2563 ในส่วนของดัชนีราคาปรับตัวลดลงร้อยละ 8.6 ในเดือนมกราคม 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 1 ปี และอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 0.51 ต่อปี และร้อยละ 2.13 ต่อปี ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 69.6 พันล้านบาท ต่อเนื่องจากการซื้อสุทธิ 26.0 พันล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นทรงตัว ขณะที่ระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ

3.0 2.0

Q3/2564 1.0 Q4/2564 ม.ค.-65 0.0

1M6M2Y4Y6Y8Y10Y12Y14Y16Y18Y20Y22Y24Y26Y28Y ที่มา: ThaiBMA เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ ในไตรมาสที่สามของปี 2564 เงินทุนไหลเข้าสุทธิ 2.20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการไหลออกสุทธิ 1.93 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการนำเงินเข้ามาลงทุนโดยตรง และลงทุนในตลาดตราสารทุนของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งการลงทุนอื่น ๆ (ประกอบด้วยเงินกู้ สินเชื่อการค้า เงินฝาก และบัญชีลูกหนี้ และเจ้าหนี้อื่น ๆ) อย่างไรก็ดี ยังมีเงินไหลออกจากการนำเงินออกไปลงทุนโดยตรงของนักลงทุนไทยอย่างต่อเนื่อง รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 เงินทุนไหลออกสุทธิ 4.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเงินออกไปลงทุนโดยตรงและการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในต่างประเทศของนักลงทุนไทย และการนำเงินลงทุนออกจากตลาดตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ

เงินทุนเคลื่อนย้าย

2563 2564 (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)

ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 9M Q1 Q2 Q3 - การลงทุนโดยตรง -23.9 -2.7 -5.7 -3.4 -12.2 -1.8 1.1 -1.7 -1.2 นักลงทุนไทย -19.0 -5.3 -5.4 -3.7 -4.6 -10.3 -3.3 -3.1 -3.9 นักลงทุนต่างชาติ -4.9 2.7 -0.3 0.3 -7.5 8.5 4.4 1.3 2.8 - การลงทุนในหลักทรัพย์ -12.2 -8.5 2.8 -2.5 -3.9 -13.3 -9.7 -3.8 0.2 นักลงทุนไทย -4.1 0.1 2.8 -1.8 -5.2 -13.9 -10.1 -3.7 -0.1 นักลงทุนต่างชาติ -8.1 -7.3 -1.5 -0.8 1.4 0.6 0.4 -0.1 0.2 อื่น ๆ 24.0 1.6 8.9 -0.4 14.0 10.2 3.5 3.6 3.2 เงินทุนเคลื่อนย้าย -12.0 -9.6 6.0 -6.3 -2.0 -4.9 -5.1 -1.9 2.2 ที่มา: ธปท. ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (70.2 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (13.9 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการขาดดุล 5.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (168.4 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 13.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบกับการขาดดุล 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เป็นสำคัญ ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 10.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (สูงกว่าการเกินดุล 8.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมทั้งปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 10.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (353.2 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 21.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (662.3 พันล้านบาท) ในปี 2563 เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 246.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 258.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดในรูปเงินบาท เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 8,212.1 พันล้านบาท สูงกว่า 7,747.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราเงินเฟ์อทั่วไป ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคากลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ และไข่และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ร้อยละ 3.5 ร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.7 และดัชนีราคาหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 3รวมทั้งปี 2564 อัตราเงินเฟ์อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 อัตราเงินเฟ์อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เทียบกับร้อยละ -0.8 และร้อยละ 0.3 ในปี 2563 ตามลำดับ

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 %YoY เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 10.0

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน8.0 6.0 ดัชนีราคาผู้ผลิต4.0 2.0 0.0 -2.0 -4.0 -6.0

Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4

59 60 61 62 63 64 ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้นในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมร้อยละ 67.7 และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ส่วนดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 57.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ในไตรมาสก่อนหน้าขณะที่ดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรและการประมง ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดมากกว่าปีก่อน ขณะที่ความต้องการของตลาดชะลอตัว รวมทั้งปี 2564 ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.6 ในปี 2563 43

ความเคลื่อนไหวของราคาสุกรภายในประเทศและแนวโน้มในระยะต่อไปในเดือนมกราคม 2565 ราคาสุกรปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงและสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (2562-2564) โดยสถานการณ์ราคาขายปลีกสุกรเนื้อแดงเฉลี่ยทั้งประเทศ ในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ 193.36 บาท/กก. เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าราคาเฉลี่ย 142.82 บาท/กก. โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาสุกรเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากปริมาณผลผลิตสุกรภายในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับในช่วงฤดูร้อนมีการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever: ASF) และโรคเพิร์ส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) สูงกว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสุกรภายในประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตสุกรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ ราคาลูกสุกรขุน ราคาอาหารสัตว์ (เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกากถั่วเหลือง เป็นต้น) ราคาพลังงาน และต้นทุนในการควบคุมและป้องกัน โรคระบาดในสุกร ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการบริโภคสุกรเนื้อแดงภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564

ในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดดำเนินแนวทางการแก้ไข อาทิ การดำเนินการตรวจสอบสต็อกและให้ผู้ประกอบการรายงานสต็อกเนื้อสุกรชำแหละ การจัดจุดจำหน่ายสุกรเนื้อแดง การห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2565) เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรเนื้อแดงภายในประเทศ การช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ การจัดสินเชื่อพิเศษสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมทั้งการดูแลราคาจำหน่ายสุกรเนื้อแดงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุน ที่เกิดขึ้นจริง ขณะที่คาดว่าราคาสุกรเนื้อแดงภายในประเทศจะเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวลดลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้มากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ภายหลังผลผลิตสุกรมีชีวิตภายในประเทศรอบใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

ในไตรมาสที่สี่ของ ปี 2564 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 78.4 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.2 จากราคาเฉลี่ย 44.3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย 71.9 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจาก (1) กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร (โอเปกพลัส) ดำเนินการเพิ่มการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดมีแนวโน้มชะลอตัว (2) ปริมาณน้ำมันดิบสำรองทางการค้าของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 428 ล้านบาร์เรล ลดลงร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (3) ความคลายกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่มีแนวโน้มไม่รุนแรง

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 69.4 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.4 จากเฉลี่ย 42.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปีก่อนหน้า 3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สี่ของปี 2564 เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวดีขึ้นต็อเนื่องจากไตรมาสก็อนหน้าทั้งกลุมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักและกลุมเศรษฐกิจเกิดใหม็และประเทศกำลังพัฒนา ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจาก การผ็อนคลายมาตรการควบคุมการแพร็ระบาดและความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน ขณะเดียวกัน การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการส็งออกที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีซึ่งจะช็วยสนับสนุนเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพิงการส็งออกเป็นหลัก อย็งไรก็ดี ในช็วงปลายไตรมาสหลายประเทศเริ่มเผชิญกับข้อจำกัดการแพร็ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่มีแนวโน้มแพร็ระบาดเร็วกว็สายพันธุ์เดลต้าสะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม็ที่เพิ่มขึ้นอย็งรวดเร็ว ส็งผลให้บางประเทศกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมการแพร็ระบาดและจำกัดการเดินทางระหว็งประเทศอีกครั้ง อาทิ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ซึ่งมีการยกระดับมาตรการแก็ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดสูง สำหรับเศรษฐกิจจีนชะลอลงต็อเนื่อง ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากผลของการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร็ระบาด ที่เข้มงวดที่มุงเน้นไม็ให้มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ (Zero-tolerance covid-19 policy) และการดำเนินมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ท็มกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาพลังงานในตลาดโลก ได้สร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้เร็งตัวสูงขึ้นมากกว็เป้าหมายนโยบายการเงินในหลายประเทศ ส็งผลให้ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก ได้แก็ สหรัฐฯ และยูโรโซน ส็งสัญญาณการลดระดับการผ็อนคลายนโยบายทางการเงินอย็งต็อเนื่อง ส็วนธนาคารกลางหลายแห็งได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดัน ด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น5 ขณะที่ธนาคารกลางจีนมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.5 (Advance Estimate) เร็งขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก็อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.9 เร็งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก็อนหน้า (%QoQ saar.) โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนที่ไม็ใช็การก็อสร้าง (Non-residential) สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตในภาคบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการในไตรมาสที่สี่เฉลี่ยอยูที่ 58.1 เพิ่มขึ้นจาก 56.6 ในไตรมาสก็อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยูที่ระดับ 58.1 ลดลงจาก 61.7 ในไตรมาสก็อน เนื่องจากผลกระทบของปัญหาการชะงักงันของห็วงโซ็อุปทานที่ยังคงยืดเยื้อและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ แรงส็งจากการใช้จ็ยภาครัฐบาล เริ่มลดลงตามการสิ้นสุดของมาตรการทางการคลัง อาทิ นโยบายการเปลี่ยนจากเงินกู้เป็นเงินให้เปล็สำหรับ ภาคธุรกิจ และนโยบายให้เงินช็วยเหลือภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบของรัฐบาลท้องถิ่น เป็นต้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อเร็งตัวสูงขึ้นโดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่สี่เฉลี่ยอยูที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 39 ปี และสูงกว็เป้าหมายนโยบายการเงินระยะยาวที่ร้อยละ 2.0 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดพลังงานและหมวดที่อยูอาศัยเป็นหลัก ประกอบกับค็จ้าง6 ที่เพิ่มสูงตามภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวมากขึ้นต็อเนื่อง7 สอดคล้องกับอัตราการว็งงานที่ลดลงมาอยูที่ร้อยละ 4.2 เทียบกับร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก็อนหน้าและเป็นการลดลงต็อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 6 ทั้งนี้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เร็งตัวขึ้นส็งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 - 3 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2564 มีมติในการปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งจะส็งผลให้สามารถยุติการดำเนินมาตรการผ็อนคลายปริมาณการเงิน (QE) ได้ในเดือนมีนาคม 2565 8 นอกจากนี้ ยังได้ส็งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกเร็วและมากกว็ที่คาดไว้เดิมในการแถลงการณ์ครั้งก็อนเมื่อเดือนกันยายน9 โดยรวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.7 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.4 ในปีก็อน เศรษฐกิจยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 4.6 เร็งขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก็อนหน้า โดยเป็นผลจากการเร็งขึ้นของเศรษฐกิจประเทศสมาชิกสำคัญ ๆ อาทิ เบลเยียม สเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี อย็งไรก็ตาม เมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก็อนหน้า (%QoQ swda.) การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศ สะท้อนจากการเร็งขึ้นของดัชนีการค้าปลีกและการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงาน โดยอัตราการว็งงานลดลงมาอยูในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย็งไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในช็วงปลายไตรมาสที่สี่ทำให้รัฐบาลหลายประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง ส็งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยูที่ -6.7 ต่ำสุดในรอบ 3 ไตรมาส ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการชะลอลง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการอยูที่ระดับ 58.2 และ 54.5 เทียบกับระดับ 60.9 และ 58.4 ในไตรมาสก็อนหน้า ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 และ 3 ไตรมาส ตามลำดับ ภายใต้การฟื้นตัวของการใช้จ็ยภายในประเทศและการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานส็งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นมาอยูที่เฉลี่ยร้อยละ 4.6 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 25 ปี นับตั้งแต็มีการจัดเก็บข้อมูลและสูงกว็เป้าหมายนโยบายการเงิน ส็งผลให้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ ทางการเงิน10 แต็ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.0 ต็อไป สำหรับการดำเนินมาตรการทางการคลัง ที่สำคัญภายใต้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU Recovery and Resilience Facility วงเงินรวม 6.725 แสนล้านยูโร ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เบิกจ็ยเงินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (Recovery and Resilience Facility) ในส็วนของเงินกู้เบื้องต้น (Pre-inancing) มูลค็ประมาณ 2.8 พันล้านยูโรระหว็งไตรมาสนี้ ส็งผลให้คณะกรรมาธิการยุโรปได้เบิกจ็ยเงินกู้เบื้องต้นแล้วให้กับ 20 ประเทศ มูลค็ประมาณ 5.43 หมื่นล้านยูโร นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เบิกจ็ยเงินทุน (Grant) เพิ่มเติมให้กับสเปนมูลค็ 1 หมื่นล้านยูโร โดยรวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 5.4 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 6.4 ในปีก็อน เศรษฐกิจญี่ปุ่น ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 (%YoY) ชะลอตัวจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก็อนหน้า และเมื่อมีการปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.3 (%QoQ sa.) ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก็อนหน้า โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังสถานการณ์การแพร็ระบาดเริ่มคลี่คลายลง ส็งผลให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) นับตั้งแต็วันที่ 30 กันยายน 2564 ดัชนีการค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้น จากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ผ็นมา สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยูที่ระดับ 39.1 เทียบกับระดับ 37.2 ในไตรมาสที่ผ็นมา ขณะเดียวกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยูที่ระดับ 54.0 เทียบกับระดับ 52.4 ในไตรมาสก็อนหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยูที่เฉลี่ยร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก็อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน เป็นสำคัญ อย็งไรก็ตาม ยังคงต่ำกว็ระดับเป้าหมายนโยบายการเงินที่ร้อยละ 2.0 ส็งผลให้ในการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เมื่อวันที่ 16 - 17 ธันวาคม 2564 มีมติยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ -0.1 และรักษาระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) ช็วงอายุ 10 ปี ให้อยูที่ระดับร้อยละ 0.0 (Yield Curve Control) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต็อไป โดยรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้งปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.7 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.5 ในปีก็อน และเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งแรกในรอบ 3 ปี เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก็อนหน้าและเป็นการขยายตัวต่ำที่สุด ในรอบ 6 ไตรมาส ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ส็วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการ

11 ควบคุมการแพร็ระบาดที่เข้มงวดที่มุงเน้นไม็ให้มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ นอกจากนี้ เครื่องชี้ที่สำคัญ ยังชี้ให้เห็นการชะลอตัวของภาคการส็งออกและการลงทุน โดยการส็งออกของจีนขยายตัวร้อยละ 22.7 ชะลอลงจากร้อยละ 23.9 ในไตรมาสก็อนหน้า เนื่องจากยังคงเผชิญกับข้อจำกัดทางด้านอุปทานจากมาตรการควบคุมการแพร็ระบาดที่เข้มงวดซึ่งกระทบฐานการผลิตและการขนส็ง อาทิ การปิดเมืองหนิงโบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของท็เรือขนส็งสินค้าขนาดใหญ็ และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ขณะเดียวกัน การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ยังเป็นผลมาจากนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและ

12 มีการแข็งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งส็วนหนึ่งนำไปสูการเพิ่มความเข้มงวดของการปล็อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพื่อชะลอการลงทุนและการแก้ไขปัญหาผิดนัดชำระหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส็งผลให้การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลงร้อยละ 7.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก็อนหน้า ภายใต้ทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจส็งผลให้ธนาคารกลางจีน (PBOC) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ได้ปรับลดสัดส็วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล็อง (Required Reserve Ratio: RRR) ลงจากร้อยละ 8.9 เป็นร้อยละ 8.4 ซึ่งเป็น

13 การปรับลดเป็นครั้งที่สองของปี รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงเพื่อสนับสนุนบริษัทขนาดเล็กนอกจากนี้ PBOC ยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ระยะเวลา 1 ปี ลงจากระดับร้อยละ 3.85 มาอยูที่ระดับร้อยละ 3.80 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยรวมเศรษฐกิจจีนในปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 2.2 ในปี 2563 เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ขยายตัวตามภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส็งออก เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงฐานการขยายตัวที่ต่ำในปีก็อน โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัว ร้อยละ 6.1 เทียบกับร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก็อนหน้า ตามการขยายตัวของภาคการผลิตโดยเฉพาะในกลุมเคมีภัณฑ์และอุตสาหกรรมสาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิศวกรรมการผลิตความแม็นยำสูง (Precision Engineering) และการขยายตัวของทั้งภาคการก็อสร้างและภาคบริการ เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้วขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก็อน เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 4.1 เทียบกับร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก็อนหน้า ตามการขยายตัวอย็งต็อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ็ยภาครัฐบาล และการส็งออกสินค้า เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก็อน ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1.00 เป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่สองของปี เศรษฐกิจฮ็องกงขยายตัวร้อยละ 4.8 ชะลอลงจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก็อนหน้า โดยมีแรงสนับสนุนการขยายตัวตามการบริโภคภายในประเทศและการส็งออกสินค้า เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจฮ็องกงขยายตัวร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก็อน ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 4.9 เร็งขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก็อนหน้า ตามการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก็อน โดยรวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และฮ็องกงขยายตัวร้อยละ 7.6 ร้อยละ 4.0 และร้อยละ 6.4 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.1 ร้อยละ 0.9 และร้อยละ 6.5 ในปีก็อนหน้า ตามลำดับ ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 6.3 ต็อเนื่องจากร้อยละ 3.4 ในปี 2563 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 7.7 และร้อยละ 5.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 6.9 และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อน ตามลาดับ ขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนามขยายตัวร้อยละ 3.6 และร้อยละ 5.2 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 4.5 และร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน ตามลาดับ โดยเศรษฐกิจได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยฐานการผลิตสาคัญที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในไตรมาสก่อน อาทิ เขตอุตสาหกรรมบั๊กซางและโฮจิมินท์ของประเทศเวียดนาม และเขตอุตสาหกรรมเซลังงอและกัวลาลัมเปอร์ของประเทศมาเลเซีย สามารถกลับมาทาการผลิตได้อีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสาคัญ ในส่วนของ การดาเนินนโยบายเศรษฐกิจ หลายประเทศยังคงดาเนินมาตรการทางการคลังอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าอย่างต่อเนื่อง14 โดยทั้งปี 2564 เศรษฐกิจมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 3.1 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 5.6 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.6 ร้อยละ 2.1 และร้อยละ 9.6 ตามลาดับ ขณะที่เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากร้อยละ 2.9 ในปีก่อน . แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2565 เศรษฐกิจโลกในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราชะลอลงตามการชะลอตัวของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก เนื่องจากการลดลงของแรงสนับสนุนด้านการคลังของภาครัฐ และการปรับทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางประเทศหลักท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความยืดเยื้อของภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานโลก เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีน ที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามการดาเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดที่มุ่งเน้นไม่ให้มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ (Zero-tolerance covid-19 policy) และการแก้ไขปัญหาทางการเงินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกลายเป็นสายพันธุ์หลักทั่วโลกนับตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2564 ส่งผลให้จานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงสุด เป็นประวัติการณ์ในหลายประเทศในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2565 อาทิ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงสะท้อนจากอัตราป่วยหนักและการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่า ประกอบกับความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนและการปรับตัวของประชาชนและภาคธุรกิจในการรับมือกับการระบาด ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ไม่ได้ดาเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดในระดับเดียวกับการแพร่ระบาดระลอกก่อนหน้า จึงคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะยังดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนเงื่อนไขและสมมติฐานที่สาคัญ ดังนี้ (1) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนต่อเศรษฐกิจเป็นไปอย่างจากัดและไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ใหม่เพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนให้ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ จนนาไปสู่การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงและยืดเยื้อ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิต ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดและจากัดการเดินทางระหว่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้นอีกครั้ง (2) การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในประเทศเศรษฐกิจหลักยังอยู่ภายใต้ขีดความสามารถ ในการควบคุมดูแลโดยนโยบายการเงินที่ยังเอื้ออานวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดพันธบัตรของประเทศเศรษฐกิจหลักไม่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงและรวดเร็ว และ (3) การปฏิรูปโครงสร้างและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของจีนไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนให้ชะลอตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน และก่อให้เกิดความผันผวน ในตลาดเงินตลาดทุน ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 6.0 ตามลาดับ ชะลอลงจากร้อยละ 5.6 และร้อยละ 8.0 ในปี 2564 ตามลาดับ เป็นการปรับลดจากสมมติฐานการประมาณครั้งที่ผ่านมาที่ร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.5 โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศสาคัญ ๆ ดังนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2565 ชะลอลงจากร้อยละ 5.7 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 5.0 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ดังจะเห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยรวมในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ 51.1 ต่าสุดในรอบ 18 เดือน นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงจะต้องเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 7.5 เป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตขยายตัวร้อยละ 9.7 อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 9.8 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะยุติการดาเนินมาตรการผ่อนคลายปริมาณการเงินเร็วกว่ากาหนดเดิม รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในเดือนมีนาคม 256515 ประกอบกับการลดลงของแรงสนับสนุนจากภาคการคลังเนื่องจากความล่าช้าของโครงการลงทุนภายใต้แผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Investment and Jobs Act) วงเงินรวม 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. และความไม่แน่นอนของโครงการลงทุน ด้านสวัสดิการทางสังคมและการรับมือปัญหาโลกร้อน (Build Back Better Package) วงเงินรวม 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ที่อยู่ระหว่าง รอการพิจารณาของวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม รายได้ครัวเรือนและอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตามตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวได้ อย่างแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.4 ในเดือนมกราคม 2564 ขณะเดียวกัน การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm payroll) อยู่ที่ 149.6 ล้านตาแหน่ง เพิ่มขึ้นจาก 143.0 ล้านตาแหน่ง ในเดือนเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 ในปี 2565 เทียบกับร้อยละ 5.2 ในปี 2564 และปรับลดจากร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ทาให้จานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์และจานวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ และส่งผลให้บางประเทศกลับมาดาเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและจากัดการเดินทางระหว่างประเทศระยะสั้นในช่วงเดือนมกราคม 2565 อาทิ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และออสเตรีย ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการในเดือนมกราคม 2565 ลดลงมาอยู่ที่ 51.1 ต่าสุดในรอบ 9 เดือน ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในภูมิภาค รวมถึงความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปและจีนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องภายหลังจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดลงและการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศสมาชิกภายในสหภาพยุโรป ประกอบกับการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนมีความคืบหน้าเป็นลาดับ นอกจากนี้ เศรษฐกิจยังจะได้รับแรงสนับสนุนจากการที่สหภาพยุโรปสามารถบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับการลดอัตราภาษีนาเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม และการจัดทากฎเกณฑ์เพื่อกากับดูแลภาคบริการในประเทศ (Joint Initiative on Services Domestic Regulation) ขององค์กรการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ซึ่งจะนาไปสู่ความโปร่งใสและการลดขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าภาคบริการระหว่างประเทศ16 รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ในระยะปานกลางของสหภาพยุโรป17 และการดาเนินนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องและธนาคารกลางสหภาพยุโรปยังไม่ได้ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปี 256518 เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2565 เทียบกับร้อยละ 1.7 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดจากร้อยละ 3.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการยังมีข้อจากัดจากการแพร่ระบาด ของสายพันธุ์โอมิครอนที่ส่งผลให้จานวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศและจานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทาให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจกลับมาดาเนินมาตรการควบคุมและยกเลิกการเดินทางระหว่างประเทศอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม 2564 และส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการเดือนมกราคม 2565 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 47.6 จาก 51.6 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังได้รับแรงสนับสนุนสาคัญจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2565 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 55.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 36 เดือน นอกจากนี้ ยังมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาลภายใต้มีกรอบงบประมาณของปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ 107.6 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากปีงบประมาณ 2564 และมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มเติมมูลค่า 56 ล้านล้านเยน19 (คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของ GDP) ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดาเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง20 เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2565 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.1 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดการประมาณการลงจาก ร้อยละ 5.5 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศที่เผชิญกับข้อจากัดจากการดาเนินมาตรการของภาครัฐ ที่เข้มงวดมากขึ้นทั้งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโดยไม่ให้มีผู้ติดเชื้อ (Zero-tolerance covid-19 policy) ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง21 ขณะเดียวกัน ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีแนวโน้มชะลอลงเนื่องจากปัญหาสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งผลต่อการลงทุนและความเชื่อมั่น ภาคธุรกิจ ประกอบกับผลกระทบจากความยืดเยื้อของภาวะชะงักงันในห่วงโซ่อุปทานทั้งการขาดแคลนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ และความล่าช้าในการขนส่งทางทะเล อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมของธนาคารกลางจีนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ22 ควบคู่ไปกับการดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลัง อย่างต่อเนื่อง23 ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายในการจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวในเดือนกุมภาพันธ์และเอเชียนเกมส์ในเดือนกันยายน นอกจากนี้ ภาคการผลิตและการส่งออกของจีนจะได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการทาตามข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2565 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 3.0 ร้อยละ 3.0 ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.0 ร้อยละ 6.4 ร้อยละ 6.3 และร้อยละ 7.6 ในปี 2564 ตามลาดับ และเป็นปรับลดจากการประมาณในครั้งก่อนที่ร้อยละ 3.2 ร้อยละ 3.2 ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.5 ตามลาดับ เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ส่งผลให้จานวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจะได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมถึงแรงขับเคลื่อนจากการดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง24 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนมากขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวตามการผ่านคลาย การควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ โดยคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จะขยายตัว ร้อยละ 5.3 ร้อยละ 5.7 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 6.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.7 ร้อยละ 3.1 ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 2.6 ตามลาดับ อย่างไรก็ดี เป็นการปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 5.5 ร้อยละ 5.8 ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.7 โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ส่งผลให้จานวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รวมทั้งความยืดเยื้อจากปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน ที่มีแนวโน้มจะทาให้แรงขับเคลื่อนจากการส่งออกน้อยลงกว่าที่คาด แม้กระนั้นก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทาให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2565 ขยายตัวต่ากว่าที่คาดการณ์ในกรณีฐานซึ่งจะต้องติดตาม และประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่คาด จนอาจนาไปสู่การกลับมาดาเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดและการจากัดการเดินทางระหว่างประเทศ (2) ความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาพลังงานในตลาดโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศเศรษฐกิจหลักเร็วและมากกว่าที่คาด และส่งผลกระทบต่อความผันผวนในตลาดเงินโลก ซึ่งเป็นข้อจากัดสาคัญของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนาที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สินเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศมาก (3) ความยืดเยื้อของปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) โดยเป็นผลเนื่องจาก (i) ปัญหาการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งส่งผลให้เกิด ความล่าช้าในการขนส่งทางทะเล และทาให้ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง และ (ii) การขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตที่สาคัญ อาทิ ยานยนต์ คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จักรยานยนต์ และเครื่องใช้ในครัวเรือน (4) ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจจีน ที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนสูง และ (5) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาระหว่างรัสเซียและยูเครนและชาติพันธมิตร ความขัดแย้งในตะวันออกกลางโดยเฉพาะสหรัฐฯ กับอิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับกลุ่มกบฏ ในเยเมน ที่จะส่งผลกระทบต่อความผันผวนของราคาพลังงาน รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่จะส่งผลต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่าในปี 2564 โดยมีแรงขับเคลื่อนจาก การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ แม้จะเผชิญกับการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน แต่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขอย่างจากัดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 และส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดได้ตามลาดับ นอกจากนี้ เศรษฐกิจยังจะได้รับแรงสนับสนุนสาคัญจากการฟื้นตัวของภาคบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและ ปริมาณการค้าโลก อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจากัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ให้ขยายตัวได้ต่ากว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัส แรงกดดัน ด้านเงินเฟ้อจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก รวมทั้งข้อจากัดจากเงื่อนไขด้านฐานะทางการเงินของ ภาคครัวเรือนและธุรกิจ ความยืดเยื้อของปัญหาข้อจากัดในห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกท่ามกลางแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อและปัญหาความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ 5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 1) การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง25 ภายหลังการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศในวงจากัด26 ประกอบกับความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน27 และการปรับพฤติกรรมของประชาชนและภาคธุรกิจต่อแนวทางในการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลและป้องกันการระบาดมากขึ้น ภายใต้แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจตามการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ลดลงจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของภาครัฐ ขณะเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในเกณฑ์ดีตามการขยายตัวของภาคการผลิตและการส่งออก ประกอบกับแรงขับเคลื่อนจากความคืบหน้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการขอรับและการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2562 - 2564 2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการเปิดประเทศโดยอนุญาตให้ชาวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบแล้วจากทุกประเทศสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องเข้ารับการกักตัวผ่านมาตรการ Test and Go ซึ่งเริ่มดาเนินการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้มีจานวนนักท่องเที่ยวในช่วงพฤศจิกายนและธันวาคม 2564 รวม 321,752 คน และต่อมาภายหลังจากการกลับมาดาเนินมาตรการอีกครั้งนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา28 ส่งผลให้จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 48,181 คน และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 มีจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมอยู่ที่ 151,774 คน เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 20,172 คนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวที่สาคัญอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 สอดคล้องกับการคาดการณ์ขององค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ที่คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะขยายตัวได้ร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 78 ในปี 2565 3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนสาคัญ จากการขยายตัวต่อเนื่องของกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก เนื่องจากความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจในกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนรวมทั้งไทยที่พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นหลักขยายตัวได้ โดยสินค้าส่งออกสาคัญที่คาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดี อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับประโยชน์จากการ Work-from-home ยานยนต์และชิ้นส่วนตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมที่จะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ามัน เช่น พลาสติก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกของไทยยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการเข้าร่วมยื่นสัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ที่คาดว่าจะสร้างโอกาสทางการค้าในการส่งออกสินค้าสาคัญ ๆ ของไทยมากขึ้น 4) แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐทั้งจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจาปี งบรัฐวิสาหกิจ และกรอบการใช้จ่ายภายใต้ พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2565 ในกรณีฐาน คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุน ณ สิ้นปีงบประมาณ อยู่ที่ร้อยละ 75.0 ของงบประมาณทั้งหมด ส่งผลให้คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งสิ้น 4.538 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากปีงบประมาณ 2564 (2) การเบิกจ่ายภายใต้งบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สาคัญ โดยคาดว่าจะมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 70.0 จากวงเงินลงทุนรวม 4.688 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากปีงบประมาณ 2564 (3) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ วงเงิน 1 ล้านล้านบาทคาดว่าจะมีการเบิกจ่าย ในปีงบประมาณ 2565 ทั้งสิ้น 1.307 แสนล้านบาท (ร้อยละ 13.07 ของวงเงินกู้) ส่งผลให้มีการเบิกจ่ายครบวงเงินกู้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2565 และ (4) การใช้เงินภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งมีการเบิกจ่ายสะสม ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 2.7697 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2565 รวม 3.902 แสนล้านบาท (ร้อยละ 78.0 ของวงเงินกู้) และเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566 ข้อจากัดและปัจจัยเสี่ยง 1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทาให้เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้ รวดเร็วมากขึ้น29 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ และมีความจาเป็นที่ประเทศต่าง ๆ ต้องกระจายวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster doses) เพิ่มเติมเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต จึงถือเป็นข้อจากัดมากขึ้น ในหลายประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาและกลุ่มประเทศรายได้น้อยที่ยังมีสัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนในระดับต่า เช่นเดียวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศของไทยที่เผชิญกับการกลับมาระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน จึงยังจาเป็น ต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควบคู่ไปกับการติดตามความพร้อมของการกระจายวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้มีความเพียงพอต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะความสามารถในการควบคุมอัตราการป่วยที่มีอาการรุนแรงและการเสียชีวิตให้อยู่ในระดับต่าและไม่เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่จะรองรับได้ รวมทั้งการติดตามแนวโน้มและความเป็นไปได้ของการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต 2) แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ซึ่งอาจเป็นข้อจากัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ อัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามปัจจัยทางด้านอุปทานที่ส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดพลังงานและราคาอาหารสดบางประเภทเร่งตัวสูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และภาวะการชะงักงันในห่วงโซ่การผลิตโลกที่ได้ส่งผลต่อแรงกดดันทางด้านต้นทุนการผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า การส่งผ่านต้นทุนการผลิตไปยังผู้บริโภคยังมีจากัด ดังจะเห็นได้จากเดือนมกราคม 2565 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 68.7) และหมวดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 56.2) เป็นสาคัญ ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ในหมวดพลังงาน (ร้อยละ 19.2) และหมวดอาหารสด (ร้อยละ 3.1) เป็นสาคัญ โดยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป คาดว่าจะเริ่ม ผ่อนคลายลงตามแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ประกอบกับผลจากมาตรการของภาครัฐในการดูแลราคาพลังงานและราคาสินค้าภายในประเทศ ทั้งนี้ มีปัจจัยสาคัญต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปที่ยังต้องติดตาม อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะประเด็นความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่จะส่งผลต่อราคาพลังงานในตลาดโลก และความยืดเยื้อกว่าที่คาด ของปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตที่จะเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และจะเป็นข้อจากัดต่อการฟื้นตัวของการบริโภค ในระยะต่อไป 3) เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจจากการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้สิน ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัว สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สามของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 89.3 เทียบกับร้อยละ 78.8 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงการระบาด ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mention Loans: SMLs) ต่อสินเชื่อรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 12.1 เทียบกับร้อยละ 4.8 และร้อยละ 3.2 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ตามลาดับ ภาระหนี้สินภาคเอกชนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถ ในการชาระหนี้ภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในระยะต่อไป ประกอบกับตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เมื่อเทียบกับช่วงก่อน การระบาด สะท้อนจากอัตราการว่างงานในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 แม้จะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังสูงกว่าร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันของปี 2562 นอกจากนี้ พบว่าการว่างงานยังสูงในสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจากัด ในการฟื้นตัว ได้แก่ กิจกรรมโรงแรม และการบริการด้านอาหาร และภาคการก่อสร้าง ขณะเดียวกันจานวนผู้ทางานต่าระดับและ ผู้เสมือนว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง 4) แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจากัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศที่ยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว ดังนี้ (1) ปัญหาชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตโลก เนื่องจากการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางทะเล สะท้อนจากค่าระวางเรือที่ยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงสองเดือนแรกของปี 2565 รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งหากยังคงมีความยืดเยื้อไปจนถึง ช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะเป็นข้อจากัดสาคัญต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกและการฟื้นตัวของภาคการส่งออกของไทย รวมทั้งเป็นความเสี่ยง ที่จะสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตในระยะต่อไป และ (2) การขาดแคลนแรงงานต่างด้าว พบว่าการนาเข้าแรงงานต่างชาติยังเป็นไปอย่างล่าช้า โดยข้อมูลสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างด้าวของสานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในเดือนธันวาคม 2564 ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทางานทั่วประเทศอย่างถูกกฎหมายจานวนทั้งสิ้น 2,350,677 คน เทียบกับ 2,512,328 คน และ 3,005,376 คนในเดือนเดียวกันของปี 2563 และ 2562 ตามลาดับ ภาวะตึงตัวของตลาดแรงงานดังกล่าวจะเป็นข้อจากัดสาคัญของการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ 5) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็วและอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีในปัจจุบัน (2) การเร่งตัวขึ้นของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศเศรษฐกิจหลักเพิ่มสูงเกินกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศสาคัญ ๆ มีแนวโน้มที่จะดาเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ในขณะที่การฟื้นตัวที่ล่าช้าของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกลุ่มประเทศรายได้น้อยทาให้ธนาคารกลางในหลายประเทศยังจาเป็นที่จะต้องดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชาระหนี้ของประเทศกาลังพัฒนาและประเทศรายได้น้อยที่มีสัดส่วนของหนี้ต่างประเทศสูงจนอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ (3) ความผันผวนในตลาดการเงินโลกและเงินลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ที่จะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมทั้งการปฏิรูปการกากับดูแลธุรกิจของรัฐบาลจีนและการผิดนัดชาระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่อาจทาให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวกว่าที่คาดและส่งผลต่อความผันผวนของราคาสินทรัพย์ (4) ทิศทางการดาเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จีน รวมถึงจุดยืนของสหรัฐฯ จีน และไต้หวันในการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) และ (5) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สาคัญ ประกอบด้วย ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนและ ชาติพันธมิตร รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลางระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ และระหว่างกบฏในเยเมนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจสร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจโลกและระดับราคาพลังงานสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศและทั่วโลก และการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการแพร่เชื้อสูง ดังจะเห็นได้จากจานวนผู้ติดเชื้อ ในหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่พบว่าความรุนแรงของการระบาดมีแนวโน้มที่จะน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้าสะท้อนจาก อัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่า ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนมกราคม 2565 พบว่าทั่วโลกมีอัตราการส่วนผู้เสียชีวิตต่อ จานวนผู้ป่วยยืนยันอยู่ที่ร้อยละ 0.26 เทียบกับร้อยละ 2.13 ในช่วงเดือนมกราคม 2564 ขณะที่ ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตต่อจานวน ผู้ป่วยยืนยันอยู่ที่ร้อยละ 0.13 เทียบกับร้อยละ 1.27 ในช่วงเดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเสียชีวิตและสัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสจะพบว่ามีทิศทางในทางตรงกันข้ามกัน นั่นคือ โดยเฉลี่ยประเทศที่อัตราการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในระดับต่าจะมีโอกาสที่จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาระดับรายได้ประชากรต่ออัตราการฉีดวัคซีนพบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยประเทศที่มีรายได้น้อยจะมีอัตรา การฉีดวัคซีนที่ต่ากว่า ดังนั้น จึงยังเป็นประเด็นความท้าทายของทั่วโลกและโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่าในการจัดสรรวัคซีนให้ ครอบคลุมเพียงพอ เพื่อนาไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค หากยังมีหลายประเทศที่มีสัดส่วน ประชากรได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่าจะเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอนท่ามกลางโอกาสของ การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสในระยะต่อไปการเพิ่มขึ้นของค่าระวางเรือและการหยุดชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานของโลก: ปัจจัยสาคัญต่อภาคการผลิตและการส่งออกของไทยในปี 2565 ข้อมูลจากสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยชี้ว่าค่าระวางเรือจากไทยไปยังท่าเรือปลายทางสาคัญยังคงเพิ่มขึ้นในหลายเส้นทาง เช่น เส้นทางไปท่าเรือเซียงไฮ้เพิ่มขึ้นจาก 200 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ตู้ขนาด 20 ฟุตในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เป็น 900 ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เส้นทางไปท่าเรือโฮจิมินท์เพิ่มจาก 250 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ตู้ขนาด 20 ฟุตในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เป็น 550 ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เส้นทางไปท่าเรือเมลเบิร์นเพิ่มขึ้นจาก 450 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ 1 ตู้ขนาด 20 ฟุตในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เป็น 4,050 ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของค่าระวางเรือดังกล่าวเป็นผลจากความต้องการตู้คอนเทนเนอร์ที่สูงขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ขณะที่ท่าเรือหลายแห่งยังประสบปัญหาการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ออกจากท่าเรือ อย่างไรก็ดี เริ่มเห็นสัญญาณว่าค่าระวางตู้ไปสหรัฐฯ ฝั่งตะวันตกเริ่มปรับลดลง เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 จากการที่ท่าเรือ Long Beach, Los Angeles ประกาศว่าจะใช้มาตรการเรียกเก็บค่าวางตู้แบบทบต้น (เริ่มต้นที่วันละ 100 ดอลลาร์ สรอ.) ที่คาดว่าจะประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป1/ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2564 ระยะเวลาการรอคอย Chipset อยู่ที่ประมาณ 25 สัปดาห์จากที่เคยอยู่ระดับ 16 สัปดาห์ในเดือนสิงหาคม 2564 อย่างไรก็ดี ประเทศสาคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์มีแผนการที่จะสร้างโรงงานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ใหม่รวมกันจานวน 29 โรงงาน มูลค่ารวมกันประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. แต่คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในช่วงปี 2566 ดังนั้น จึงคาดว่าในปี 2565 ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ จะยังคงเป็นประเด็นสาคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญที่จะส่งผลต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกรวมถึงไทย1) สมมติฐานด้านการแพร่ระบาด การประมาณการครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานในกรณีฐานที่สาคัญ ดังนี้ (1) การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนแม้จะมีจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้น แต่จานวนผู้ป่วยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตยังทรงตัวในระดับต่าและไม่เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่จะบริหารจัดการได้โดยไม่มีการปรับเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบควบคุมการระบาดเพิ่มเติมและมีผ่อนคลายมาตรการมากขึ้นตามลาดับภายหลังผ่านพ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี (2) ไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่จากไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าในระดับปัจจุบัน จนทาให้ประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยต้องบังคับใช้มาตรการควบคุมการระบาดและ การจากัดการเดินทางระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด โดยประเทศไทยสามารถเปิดให้ชาวต่างชาติทุกประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ โดยไม่ต้องกักตัวตามมาตรการ Test and Go ในช่วงที่เหลือของปี 2565 ได้อย่างต่อเนื่อง และ (3) การกระจายวัคซีนโดยเฉพาะเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมสัดส่วนประชากรอย่างเพียงพอในระดับที่สามารถช่วยลดจานวนผู้ป่วยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตให้อยู่ในระดับต่า นอกจากนี้ การกลายพันธุ์ของไวรัสไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกัน และยังคงสามารถลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตลงได้อย่างมีนัยสาคัญ 2) เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 6.0 ตามลาดับ ชะลอตัวลงจากการขยายตัว ในเกณฑ์สูงร้อยละ 5.6 และร้อยละ 8.0 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.5 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่คาดไว้เดิมเนื่องจากการปรับลดการคาดการณ์วงเงินลงทุนจากมาตรการ Build Back Better แนวโน้ม การดาเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ เร็วกว่าที่คาดตามอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น และความยืดเยื้อของปัญหาความชะงักงันในห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงมากกว่าที่คาดเนื่องจากผลกระทบจากมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดที่เข้มงวดโดยการไม่ให้มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศที่ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ 3) ค่าเงินบาทในปี 2565 คาดว่าจะเ ลี่ยอยู่ในช่วง 32.2 ? 33.2 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจาก 32.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2564 และอ่อนค่าลงจาก 32.0 ? 33.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับค่าเงินบาทในช่วง 1 มกราคม - 17 กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 33.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่ากว่าที่คาดไว้เดิม สอดคล้องกับการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 คาดว่าค่าเงินบาทจะเริ่มทรงตัวมากขึ้นตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 4) ราคาน้ามันดิบดูไบเ ลี่ยในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 72.0 ? 82.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 69.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2564 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนที่ 67.0 ? 77.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพื่อให้สอดคล้องกับราคาน้ามันดูไบในช่วง 1 มกราคมถึง 17 กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 85.9 สูงกว่าที่คาดไว้ โดยปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบในปี 2565 ที่สาคัญ ได้แก่ (1) ปัจจัยจากปัญหาความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนและความไม่สงบในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ยังคงมีความไม่แน่นอน และ (2) ปัจจัยพื้นฐานจากความต้องการใช้น้ามันทั่วโลกเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ปริมาณการผลิตยังคงมีจากัด ภายหลังกลุ่ม OPEC+ ยังมีมติคงการเพิ่มกาลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ อยู่ที่ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ ขณะเดียวกันปริมาณน้ามันดิบคงคลังของสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ OECD มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจฉุดรั้งอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ (1) ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มกาลังการผลิตของกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ จานวนแท่นขุดเจาะน้ามันดิบในสหรัฐฯ แคนาดา และอ่าวเม็กซิโกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นสัปดาห์ 11 กุมภาพันธ์ 2565 มีจานวน 669 แท่น นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 99 สัปดาห์ ส่วนจานวนแท่นขุดเจาะน้ามันดิบในประเทศอื่น ๆ ในเดือนมกราคมอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือน (2) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และ (3) แนวโน้มการบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ และชาติมหาอานาจกับอิหร่าน ที่อาจส่งผลให้อิหร่านส่งออกน้ามันได้อีกครั้ง 5) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าในปี 2565 ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าเ ลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ? 1.5 และร้อยละ 1.0 ? 2.0 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.3 ในปี 2564 ตามลาดับ และเป็นการปรับเพิ่มสมมติฐานจากร้อยละ 0.0 ? 1.0 และร้อยละ 0.5 ? 1.5 ตามลาดับ ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันดิบในตลาดโลก รวมถึงปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานโลกที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าระวางเรือสาหรับการขนส่งระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง 6) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2565 รวม 0.47 ล้านล้านบาท และมีจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 5.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 0.15 ล้านล้านบาท และ 4.3 แสนคนในปี 2564 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจาก 0.44 ล้านล้านบาท และ 5 ล้านคนในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาภายหลังมีมาตรการเปิดประเทศโดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2564 ที่สูงกว่าที่คาดอยู่ที่ 321,752 คน ส่งผลให้จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 อยู่ที่ 4.3 แสนคน สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 2 แสนคนในการประมาณการครั้งก่อน ประกอบกับการกลับมาดาเนินมาตรการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนแล้วโดยไม่ต้องมีการกักตัวผ่านมาตรการ Test & Go อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขณะเดียวกัน ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นต้นทางของนักท่องเที่ยวยังคงผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างต่อเนื่องและหลายประเทศในภูมิภาคเริ่มเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น 7) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2565 ร้อยละ 93.5 ของงบประมาณ เท่ากับสมมติฐานในประมาณการครั้งก่อน โดยแบ่งเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาและอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 98.0 และร้อยละ 75.0 ตามลาดับ และเทียบกับร้อยละ 98.0 และร้อยละ 65.0 ในปีงบประมาณก่อนหน้า (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปีอยู่ที่ร้อยละ 82.9 เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับร้อยละ 91.1 ในปีงบประมาณ 2564 (3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 70.0 ของวงเงินงบประมาณเท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา คิดเป็นวงเงินลงทุนประมาณ 3.28 แสนล้านบาท และ (4) การใช้เงินภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการเบิกจ่ายสะสม ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 9.442 แสนล้านบาท และคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายครบวงเงินกู้ภายใน สิ้นปีงบประมาณ 2565 และ (5) การใช้เงินภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งมีการเบิกจ่ายสะสม ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 2.7697 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2565 รวม 3.902 แสนล้านบาท (ร้อยละ 78.0 ของวงเงินกู้) และเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566ประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 3.5 ? 4.5 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 4.0) เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในปี 2564 สาหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.5 ? 2.5 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP เทียบกับการขาดดุลร้อยละ 2.2 ในปี 2564 ในการแถลงข่าววันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 ? 4.5 โดยมีค่ากลางการประมาณการที่ร้อยละ 4.0 เท่ากับการประมาณในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและการปรับเปลี่ยนสมมติฐานประมาณการที่สาคัญ ๆ ดังนี้ 1) การปรับสมมติฐานเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีแนวโน้มชะลอตัวเร็วกว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 6.0 ตามลาดับ เป็นการปรับลดประมาณการลงจากร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.5 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออก การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ต่ากว่าที่คาดการณ์ 2) การปรับสมมติฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงจากการเปิดประเทศในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2564 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสนใจและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากกว่าการคาดการณ์ในกรณีฐาน ทั้งนี้ ในปี 2565 รัฐบาลได้กลับมาดาเนินมาตรการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนแล้วโดยไม่ต้องมีการกักตัวผ่านมาตรการ Test & Go อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นต้นทางของนักท่องเที่ยวผ่อนคลาย การเดินทางระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และหลายประเทศในภูมิภาคเริ่มเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้คาดว่าในปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจานวนรวมทั้งสิ้น 5.5 ล้านคน และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 4.7 แสนล้านบาท เทียบกับ 5.0 ล้านคน และ 4.4 แสนล้านบาท ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งส่งผลให้แรงขับเคลื่อนจากการส่งออกบริการสูงกว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา 3) การปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ ให้สอดคล้องกับวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2566 ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจาที่น้อยกว่าสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา และการปรับองค์ประกอบการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท ให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติ องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1) การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564 และเป็นการปรับเพิ่มจากร้อยละ 4.3 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการลดลงในความรุนแรงของผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดจาก การขยายตัวร้อยละ 0.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามกรอบวงเงินรายจ่ายประจาภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2566 ที่กาหนดไว้ที่ 2.39 ล้านล้านบาท ลดลงจาก 2.47 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งการปรับองค์ประกอบให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท 2) การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2564 โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และปรับลดลงจากร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการคงสมมติฐานการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจาปี 2565 และการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในปี 2564 และยังคงเท่ากับ การประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับลดปริมาณการส่งออกและการปรับขึ้นราคาส่งออก ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณ การส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับลดลงจากร้อยละ 4.4 ในการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกในปี 2565 มีแนวโน้มจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.5 ? 1.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.0 ? 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามัน ขณะที่คาดว่า การส่งออกบริการจะขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังการดาเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการเริ่มกลับมาฟื้นตัวของการขนส่งสินค้าภายหลังสถานการณ์มีแนวโน้มคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้าทาให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 9.0 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 10.4 ในปี 2564 4) มูลค่าการนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.9 เทียบกับร้อยละ 23.4 ในปี 2564 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับเพิ่มราคานาเข้าในปี 2565 ที่คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.0 ? 2.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 - 1.5 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันและแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท ขณะที่ปรับลดปริมาณการนาเข้าสินค้าโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 สอดคล้องกับแนวโน้มการขยายตัวน้อยกว่าที่คาดของการลงทุนรวมและการส่งออกสินค้า ขณะที่การนาเข้าบริการคาดว่าจะ ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวสูงในปีก่อนหน้า โดยรวมคาดว่าปริมาณการนาเข้าสินค้าและบริการในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 17.9 ในปี 2564 5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุล 3.97 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 4.00 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 3.57 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าการนาเข้าสินค้าที่มากกว่ามูลค่าการส่งออก ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะเกินดุลอยู่ที่ 7.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของ GDP เทียบกับการขาดดุล 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นการขาดดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP ในปี 2564 และการเกินดุล 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 1.0 ของ GDP ในการประมาณการครั้งก่อน 6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2565 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 ? 2.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 ? 1.9 ในประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันดิบและราคาสินค้าอาหารสดที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 6. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2565 ควรให้ความสาคัญกับ 1) การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจากัด โดยให้ความสาคัญกับ (1) การเร่งกระจายวัคซีนให้เพียงพอและครอบคลุมทั่วถึง (2) การดาเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความเข้มข้น ในการควบคุมและกากับติดตามอย่างเคร่งครัดตามมาตรการ Covid-free setting สาหรับองค์กรและหน่วยงาน และมาตรการ Universal prevention สาหรับบุคคล (3) การดูแลควบคุมกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคและการลักลอบเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย และ (4) การเตรียมความพร้อมของการระบาดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2) การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสามารถกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจากัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดย่อมที่ยังประสบปัญหาสภาพคล่องและภาระหนี้สิน โดยให้ความสาคัญกับ (1) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินการคลังที่ได้ดาเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณามาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมโดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังมีข้อจากัดในการเข้าถึง และสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจากัด ในการฟื้นตัว ได้แก่ การปรับเงื่อนไขในมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ การเร่งรัดให้สถาบันการเงินช่วยเหลือ ด้านสภาพคล่องให้รวดเร็วมากขึ้น และการพิจารณาวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสาหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้สามารถเริ่มดาเนินธุรกิจได้ในระยะต่อไป (2) การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม โดยเฉพาะแรงงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบซึ่งอาจต้องเปลี่ยนสายงานสายอาชีพใหม่ รวมทั้งแรงงานในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อลดปัญหาการเลิกจ้างในระยะต่อไป (3) การเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ และ (4) การประชาสัมพันธ์มาตรการของภาครัฐให้ประชาชนและธุรกิจมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ 3) การรักษาแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยให้ความสาคัญกับ (1) การติดตามและประเมินผลมาตรการต่าง ๆ ที่ดาเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดาเนินการ ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดาเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) การดูแลกลไกตลาดเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่อต้นทุนการผลิต และภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่า และ (3) การพิจารณาการใช้จ่ายภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจาปี 2565 และ 2566 โดยให้ความสาคัญมากขึ้นกับโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชน เพื่อสนับสนุนให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบและย้ายกลับภูมิลาเนามีโอกาสในการประกอบอาชีพและมีงานทาในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัว 4) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน เพื่อลดข้อจากัดการขยายตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยให้ความสาคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขด้านรายได้และสภาพปัญหาของลูกหนี้แต่ละราย/กลุ่มเป็นสาคัญ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการจูงใจในการรวมหนี้ และบรรเทาภาระหนี้สินที่สาคัญ ได้แก่ หนี้สินด้านการศึกษา การเช่าซื้อ และหนี้สินที่เกิดจากการบริโภค 5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ให้สามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาระดับการจ้างงาน ในภาคการผลิต โดยให้ความสาคัญกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสาคัญไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ และการสนับสนุนการค้าชายแดน (2) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกาหนดของประเทศผู้นาเข้า (3) การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบ การขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการเรื่องการขนถ่ายสินค้าระหว่างท่าเรือกับจุดรับส่งสินค้า เพื่อลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (4) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กาลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสาคัญใหม่ ๆ รวมทั้งการเร่งรัดกระบวนการพิจารณาในการตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศเป็นสาคัญ และ (5) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต 6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสาคัญ (1) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2562-2564 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (2) การแก้ไขปัญหา ที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในภาคการผลิต (3) การดาเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอานวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น (4) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดาเนินการไปแล้ว รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค (5) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สาคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กาหนดไว้ และ (6) การพัฒนากาลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้นโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2565 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93.4 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด รวมทั้ง การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกาหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาทในส่วนที่เหลือ (2) การขับเคลื่อน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งรัดดาเนินการในโครงการที่สาคัญ ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้ดาเนินการแล้ว อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการรถไฟชานเมือง โครงการลงทุนสาคัญด้านพลังงาน เป็นต้น และ (3) การเพิ่มพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal space) โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่าย เพื่อให้ฐานะการคลังอยู่ในระดับที่เพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้ความไม่แน่นอนและความผันผวนในระยะต่อไป 8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโลก ควบคู่ไปกับการรักษาบรรยากาศทางการเมืองเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบาง 9) การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่า

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ