นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อ 11 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ “กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551)” ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำเสนอ และมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงาน มาตรการ และเป้าหมายของการพัฒนาในระยะ 4 ปี เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินเสนอรัฐบาลต่อไป
กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจัดทำภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกจะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศ จึงต้องพิจารณาปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อไทยใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก 2) การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม 4) การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และ 5) การเปลี่ยนแปลงด้านแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค
นอกจากบริบทการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงได้กำหนดหลักพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม 4 ประการ คือ 1) สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน 2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ โดยเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้า 3) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และ 4) นโยบายสังคมเชิงรุก
ทั้งนี้ เป้าหมายของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ทั้งสาขาเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการเพิ่มจีดีพีของประเทศจาก 6.5 ล้านล้านบาทในปี 2547 เป็น 9.5 ล้านล้านบาทในปี 2551 โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยนร้อยละ 6.6 ต่อปี
ด้านยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มี 6 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 2) ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ 3) ยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงรุก 5) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการต่างประเทศ และ 6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจัดทำภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกจะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศ จึงต้องพิจารณาปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อไทยใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก 2) การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม 4) การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และ 5) การเปลี่ยนแปลงด้านแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค
นอกจากบริบทการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงได้กำหนดหลักพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม 4 ประการ คือ 1) สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน 2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ โดยเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้า 3) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และ 4) นโยบายสังคมเชิงรุก
ทั้งนี้ เป้าหมายของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ทั้งสาขาเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการเพิ่มจีดีพีของประเทศจาก 6.5 ล้านล้านบาทในปี 2547 เป็น 9.5 ล้านล้านบาทในปี 2551 โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยนร้อยละ 6.6 ต่อปี
ด้านยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มี 6 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 2) ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ 3) ยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงรุก 5) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการต่างประเทศ และ 6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-