แท็ก
ภาคเหนือ
นายสุรพันธุ์ จุ่นพิจารณ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ เปิดเผยว่า สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ (สพน.) ได้ทำการสำรวจปัญหาความยากจนของ กลุ่มภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (กลุ่มล้านนา) จากผู้ที่มาลงทะเบียนคนจน พบว่า ปัญหาที่ดินทำกิน เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดถึง 38.2% ของปัญหาทั้งหมด โดยลักษณะปัญหาคือ ไม่มีที่ดินทำกิน มีที่ดินไม่พอเพียง ปัญหาการบุกรุกที่ดิน การขาดเอกสารสิทธิ์ รองลงมาคือปัญหาหนี้สินของประชาชน 36.8% ครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบ-นอกระบบ และปัญหาอื่นๆ 13.2%
สำหรับความรุนแรงของปัญหานั้น จังหวัดที่ประชาชนมีปัญหาที่ดินทำกินมากที่สุดได้แก่ จ.เชียงใหม่ มีหนี้สินมากที่สุดคือ จ.แพร่ ส่วนปัญหาที่มีผู้มาลงทะเบียนน้อยที่สุดเรียงตามลำดับคือ คนเร่ร่อน อาชีพผิดกฎหมาย และนักเรียนนักศึกษาต้องการหารายได้ ทั้งนี้ปัญหาที่มีสัดส่วนการได้รับความช่วยเหลือจากจังหวัดมากที่สุดคือ ปัญหาคนเร่ร่อน (70.7%) รองลงมาคือ ปัญหานักเรียนนักศึกษาต้องการหารายได้ (48.8%) ปัญหาอาชีพผิดกฎหมาย (29.2%) ปัญหาหนี้สินประชาชน (15.8) ปัญหาถูกหลอกลวง (13.3%) ปัญหาที่ดินทำกิน (5.7%) ปัญหาที่อยู่อาศัย (1%) และปัญหาอื่นๆ
ผู้อำนวยการฯ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาอุปสรรคในการแก้ปัญหาคือ งบประมาณที่ยังไม่มีระเบียบวิธีเบิกจ่ายที่ชัดเจน ขาดการประสานงานอย่างบูรณาการ ระบบข้อมูลและการจัดการข้อมูลยังไม่เพียงพอ และทัศนคติของชาวบ้านยังมีความเข้าใจผิดคิดว่า การช่วยเหลือที่รัฐ/จังหวัดลงไปนั้น จะเป็นการช่วยเหลือให้ฟรีทุกอย่าง
สำหรับแนวทางแก้ปัญหานั้น ควรมุ่งที่การเสริมสร้างทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นรากฐานการผลิตทางการเกษตร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้มีโอกาสเชื่อมโยงสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจและทรัพยากรบุคคลให้สามารถสร้างงานและรายได้ตามศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ เช่น การพัฒนาเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ สนับสนุนการพัฒนา Value Chain ภาคเกษตร พัฒนาต่อยอดหัตถกรรมสู่ตลาดโลก พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมเซรามิค ฟื้นฟูและพัฒนาสู่เมืองมรดกโลก และเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับกลุ่มอนุภูมิในการเป็นศูนย์กลางการบินของเชียงใหม่ เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำหรับความรุนแรงของปัญหานั้น จังหวัดที่ประชาชนมีปัญหาที่ดินทำกินมากที่สุดได้แก่ จ.เชียงใหม่ มีหนี้สินมากที่สุดคือ จ.แพร่ ส่วนปัญหาที่มีผู้มาลงทะเบียนน้อยที่สุดเรียงตามลำดับคือ คนเร่ร่อน อาชีพผิดกฎหมาย และนักเรียนนักศึกษาต้องการหารายได้ ทั้งนี้ปัญหาที่มีสัดส่วนการได้รับความช่วยเหลือจากจังหวัดมากที่สุดคือ ปัญหาคนเร่ร่อน (70.7%) รองลงมาคือ ปัญหานักเรียนนักศึกษาต้องการหารายได้ (48.8%) ปัญหาอาชีพผิดกฎหมาย (29.2%) ปัญหาหนี้สินประชาชน (15.8) ปัญหาถูกหลอกลวง (13.3%) ปัญหาที่ดินทำกิน (5.7%) ปัญหาที่อยู่อาศัย (1%) และปัญหาอื่นๆ
ผู้อำนวยการฯ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาอุปสรรคในการแก้ปัญหาคือ งบประมาณที่ยังไม่มีระเบียบวิธีเบิกจ่ายที่ชัดเจน ขาดการประสานงานอย่างบูรณาการ ระบบข้อมูลและการจัดการข้อมูลยังไม่เพียงพอ และทัศนคติของชาวบ้านยังมีความเข้าใจผิดคิดว่า การช่วยเหลือที่รัฐ/จังหวัดลงไปนั้น จะเป็นการช่วยเหลือให้ฟรีทุกอย่าง
สำหรับแนวทางแก้ปัญหานั้น ควรมุ่งที่การเสริมสร้างทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นรากฐานการผลิตทางการเกษตร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้มีโอกาสเชื่อมโยงสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจและทรัพยากรบุคคลให้สามารถสร้างงานและรายได้ตามศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ เช่น การพัฒนาเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ สนับสนุนการพัฒนา Value Chain ภาคเกษตร พัฒนาต่อยอดหัตถกรรมสู่ตลาดโลก พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมเซรามิค ฟื้นฟูและพัฒนาสู่เมืองมรดกโลก และเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับกลุ่มอนุภูมิในการเป็นศูนย์กลางการบินของเชียงใหม่ เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-