- ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในวันจันทร์ ก่อนจะเริ่มมีการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.75-1.96875 และร้อยละ 2-2.03125 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง แต่ดัชนีราคายังคงปรับตัวสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ สหรัฐฯ มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
- เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ จากปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย การประกาศขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอีก 3 บาทต่อลิตร และทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้น เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี และแถลงการณ์ของประธาน Fed ที่แสดงนัยว่า Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้นในการประชุมครั้งต่อไป หลังจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มปรับสูงขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการดำรงเงินสดสำรองต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นค่อนข้างมากจากร้อยละ 1.78125 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.96875 ต่อปี อย่างไรก็ตามความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเริ่มปรับลดลงและความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังจากการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและรายจ่ายจากภาครัฐที่เพิ่มเข้ามาในระบบการเงินมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วันส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 2.03125 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในปลายสัปดาห์นี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันยังคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยInterbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 - 2.375 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตร ธปท.อายุ 364 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ซึ่งในสัปดาห์นี้มีผู้
เสนอประมูลตราสารทุกประเภทในตลาดแรกลดลงจากสัปดาห์ก่อนและนอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ10 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาทด้วย
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 82,036 ล้านบาทคิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 16,407 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 84.4 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ พันธบัตร ธปท.รองลงมาเป็นตั๋วเงินคลัง ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 17 และ 12 basis points ตามลำดับอัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับลดลง ถึงแม้ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 แต่ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยเท่าใดนัก โดยอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์ของพันธบัตรฯ เกือบทุกช่วงอายุลดลง 1-5 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี และอายุ 2-3 ปีที่มี
อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-4 basis points สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury ทุกช่วงอายุปรับตัวสูงขึ้นหลังจาก Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางสัปดาห์
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.66 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมากร้อยละ 0.7 โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีปัจจัยกดดันภายในประเทศ ได้แก่ การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ความกังวลของนักลงทุนต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการตัดสินใจปรับเพิ่มราคาน้ำมันดีเซลอีก 3 บาทต่อลิตร และการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทยที่เริ่มลดลง สำหรับปัจจัยกดดันภายนอกประเทศ ได้แก่
ทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนซึ่งอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด และเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี และแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ซึ่งแสดงความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 0.25 ในการประชุมครั้งต่อไป ปัจจัยกดดันดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและปรับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคม 2548 ที่ระดับ 38.88 บาทดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง แต่ดัชนีราคายังคงปรับตัวสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ สหรัฐฯ มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
- เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ จากปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย การประกาศขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอีก 3 บาทต่อลิตร และทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้น เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี และแถลงการณ์ของประธาน Fed ที่แสดงนัยว่า Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้นในการประชุมครั้งต่อไป หลังจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มปรับสูงขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการดำรงเงินสดสำรองต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นค่อนข้างมากจากร้อยละ 1.78125 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.96875 ต่อปี อย่างไรก็ตามความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเริ่มปรับลดลงและความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังจากการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและรายจ่ายจากภาครัฐที่เพิ่มเข้ามาในระบบการเงินมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วันส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 2.03125 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในปลายสัปดาห์นี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันยังคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยInterbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 - 2.375 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตร ธปท.อายุ 364 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ซึ่งในสัปดาห์นี้มีผู้
เสนอประมูลตราสารทุกประเภทในตลาดแรกลดลงจากสัปดาห์ก่อนและนอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ10 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาทด้วย
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 82,036 ล้านบาทคิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 16,407 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 84.4 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ พันธบัตร ธปท.รองลงมาเป็นตั๋วเงินคลัง ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 17 และ 12 basis points ตามลำดับอัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับลดลง ถึงแม้ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 แต่ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยเท่าใดนัก โดยอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์ของพันธบัตรฯ เกือบทุกช่วงอายุลดลง 1-5 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี และอายุ 2-3 ปีที่มี
อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-4 basis points สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury ทุกช่วงอายุปรับตัวสูงขึ้นหลังจาก Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางสัปดาห์
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.66 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมากร้อยละ 0.7 โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีปัจจัยกดดันภายในประเทศ ได้แก่ การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ความกังวลของนักลงทุนต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการตัดสินใจปรับเพิ่มราคาน้ำมันดีเซลอีก 3 บาทต่อลิตร และการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทยที่เริ่มลดลง สำหรับปัจจัยกดดันภายนอกประเทศ ได้แก่
ทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนซึ่งอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด และเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี และแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ซึ่งแสดงความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 0.25 ในการประชุมครั้งต่อไป ปัจจัยกดดันดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและปรับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคม 2548 ที่ระดับ 38.88 บาทดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-