ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 21, 2022 09:44 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค แถลงข่าว วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น.

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.5 (%YoY) เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของปี 2565 ตามลาดับ และเมื่อปรับผลของฤดูกาล ออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสที่สองของปี 2565 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรก ของปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1

ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การส่งออกสินค้าชะลอตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง

ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมฯ สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาการไฟฟ้าและก๊าซฯ ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนสาขาการก่อสร้างและสาขาเกษตรกรรมปรับตัวลดลง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน และการขยายตัวของ การผลิตภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.4 ตามลาดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2566 ควรให้ความสาคัญกับ (1) การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (2) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย และการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก 2566/2567 (3) การรักษาแรงขับเคลื่อน จากการส่งออกสินค้า โดย (i) การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การติดตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการค้าโลก เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก (iii) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกาหนดของประเทศผู้นาเข้า (iv) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กาลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (v) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (4) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย (i) การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวสามารถรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ อย่างเต็มศักยภาพ (ii) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน (iii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรม ที่เกี่ยวเนื่อง และ (iv) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การดูแลด้านสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (ii) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (iii) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (iv) การดาเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอานวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย (v) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (vi) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ที่สาคัญ และ (vii) การพัฒนากาลังแรงงานทักษะสูง (6) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (7) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และ (8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของปี 2565 ตามลาดับ ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การส่งออกสินค้าชะลอตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมฯ สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาการไฟฟ้าและก๊าซฯ ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนสาขาการก่อสร้างและสาขาเกษตรกรรมปรับตัวลดลง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสที่สองของปี 2565 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565

1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.0 เร่งขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 7.1 ในไตรมาสแรก และไตรมาส ที่สองของปี 2565 ตามลาดับ และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 39 ไตรมาส ตามการใช้จ่ายที่ขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวด โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 15.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และ กลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรม การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 18.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของ การใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะและการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมาอยู่ที่ระดับ 37.6 จากระดับ 34.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.5

2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส ตามการลดลงของรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ขณะเดียวกัน รายจ่ายการโอน เพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสาหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 17.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ขยายตัวร้อยละ 1.6 สาหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาในไตรมาสนี้อยู่ที่ ร้อยละ 21.4 (ต่ากว่าร้อยละ 22.5 ในไตรมาสก่อนหน้าและร้อยละ 23.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 2.9

3) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 13.9 ขณะที่การลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 9.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรัฐบาลลดลงร้อยละ 11.8 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 1.1 สาหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.2 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.2 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ากว่าร้อยละ 24.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.3 ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 7.0

4) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 71,980 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 4.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 10.3) รถกระบะและรถบรรทุก (ร้อยละ 12.8) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 11.6) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 13.6) อุปกรณ์และเครื่องมือด้านการแพทย์ (ร้อยละ 9.9) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 22.0) น้าตาล (ร้อยละ 121.4) ข้าว (ร้อยละ 12.4) และยางพารา (ร้อยละ 0.2) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 7.2) เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 8.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 13.2) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 8.0) ทุเรียน (ลดลงร้อยละ 53.0) และผลไม้อื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 39.4) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกงลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 6.4 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 18.1

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 219,791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 10.2 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.4 และร้อยละ 4.5 ตามลาดับ

5) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 ตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสาคัญที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและสภาพอากาศไม่เอื้ออานวยในหลายพื้นที่ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลง เช่น กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 26.3) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 1.4) สุกร (ลดลงร้อยละ 2.2) และมันสาปะหลัง (ลดลงร้อยละ 3.1) เป็นต้น ส่วนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือก (ร้อยละ 10.9) ปาล์มน้ามัน (ร้อยละ 9.4) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 8.6) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.0) เป็นต้น ดัชนีราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ เช่น สุกร (ร้อยละ 50.4) กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 28.4) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 20.1) ไก่เนื้อ (ร้อยละ 40.1) และมันสาปะหลัง (ร้อยละ 32.6) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ปาล์มน้ามัน (ลดลงร้อยละ 9.8) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 17.7 รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในช่วงเดียวกันของ ปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4

6) สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของ ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 8.1 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน การส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 22.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 1.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สาหรับอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.55 สูงกว่าร้อยละ 61.10 ในไตรมาสก่อนหน้าและสูงกว่าร้อยละ 58.51 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์ (ร้อยละ 36.1) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 17.3) และน้าตาล (ร้อยละ 46.1) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 32.4) เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 12.7) และพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลงร้อยละ 10.9) เป็นต้น

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.40

7) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 53.6 และเร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 44.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในประเทศ โดยในไตรมาสนี้ นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจานวน 3.608 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากการดาเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และสถานการณ์ด้านการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ส่วนรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.158 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1,497.1 เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 และการดาเนินนโยบายกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง สาหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 47.80 สูงกว่าร้อยละ 42.09 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 5.46 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 43.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 17.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 5.688 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,863.1 และอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 42.02

8) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดยดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 37.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดการขายยานยนต์ เป็นสาคัญ ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดการขายส่งสินค้าทั่วไป และ ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ อาทิ ร้านขายปลีกเครื่องประดับ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6

9) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของบริการขนส่ง ทางอากาศ และบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียง เป็นสาคัญ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่งร้อยละ 115.0 เทียบกับร้อยละ 27.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีบริการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 809.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 148.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีบริการขนส่งทางน้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สาหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 2.9 สอดคล้องกับการขยายตัวของรายรับผู้ประกอบการ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 บริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1

10) สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นของกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีการผลิตไฟฟ้า ก๊าซ และ ระบบปรับอากาศ โดยดัชนีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจเป็นสาคัญ ในขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ส่วนดัชนีการผลิตโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 3.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของปริมาณการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในขณะที่ การใช้ก๊าซในภาคขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.6 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 4.3 และดัชนีการผลิตโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 5.3

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 - 2566

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 เทียบกับร้อยละ1.2 ในปี 2564 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สาคัญจาก (1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ (3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และ (4) การขยายตัว ในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัว ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.4 ตามลาดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565

ด้านการใช้จ่าย

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน: ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.0 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 และ

ร้อยละ 7.1 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของปี 2565 ตามลาดับ และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ

39 ไตรมาส ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง และการปรับตัวดีขึ้นของ

ฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้การใช้จ่ายขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวด โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัว

ร้อยละ 15.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายในกลุ่ม

โรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรมร้อยละ 88.4 และร้อยละ 7.8 ตามลาดับ การใช้จ่าย

ในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 18.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของ

การใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 33.9 เทียบกับร้อยละ 10.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และการใช้จ่าย หมวด

สินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและ

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการใช้จ่าย

หมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของ

การใช้จ่ายในกลุ่มเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 และร้อยละ

4.5 ตามลาดับ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมาอยู่ที่

ระดับ 37.6 จากระดับ 34.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ

0.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า

ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนหมวดเครื่องจักรเครื่องมือ ขณะที่การลงทุนหมวดก่อสร้างกลับมา

ขยายตัว โดยการลงทุนหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 13.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาส

ก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงของปริมาณการจาหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ

และยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 18.5 และร้อยละ 21.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.5

และร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ ขณะที่การลงทุนหมวดก่อสร้าง กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรก

ในรอบ 8 ไตรมาสร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้น

ของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศ และดัชนีการจาหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นเป็น

ร้อยละ 18.5 และร้อยละ 11.8 ตามลาดับ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้ซึ่งอยู่ที่ระดับ

49.5 เทียบกับระดับ 49.3 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.9

ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ

ประเทศคู่ค้า การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สามของปี 2565 มีมูลค่า 71,980 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ

6.7 ชะลอลงจากร้อยละ 9.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ชะลอลงจากร้อยละ

4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.3 ขณะที่ปริมาณการส่งออก

สินค้าเกษตร และประมงลดลงร้อยละ 17.6 และร้อยละ 3.3 ตามลาดับ ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4

ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เกษตร และประมง

เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ร้อยละ 5.4 และร้อยละ 4.6 ตามลาดับ เมื่อหักการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว

มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการส่งออกในรูปของ

เงินบาท มีมูลค่า 2,622 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 20.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่า 219,791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ

10.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 18.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ

5.4 และร้อยละ 4.5 ตามลาดับ การส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่า 7,610 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.0

เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 18.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 13.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 17.6 ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกทุเรียน และผลไม้อื่น ๆ เป็นสาคัญ

ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกน้าตาล เป็นสาคัญ โดยมูลค่าการส่งออก

ทุเรียน และผลไม้อื่น ๆ ลดลงร้อยละ 53.0 และร้อยละ 39.4 ตามลาดับ มูลค่าการส่งออกข้าวขยายตัวร้อยละ

12.4 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศอิรัก และแคนาดา เป็นสาคัญ โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 15.3 ขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 2.5 ยางพาราขยายตัวร้อยละ 0.2

ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นสาคัญ โดยปริมาณการส่งออก

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 4.0 ขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 3.6 น้าตาลขยายตัวร้อยละ 121.4

ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลีใต้ เป็นสาคัญ โดยปริมาณและราคา

ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.4 และร้อยละ 11.0 ตามลาดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ

7.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 10.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ชะลอลง

จากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสาคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องจักรและ

อุปกรณ์ (ร้อยละ 10.3) รถกระบะและรถบรรทุก (ร้อยละ 12.8) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 11.6) ชิ้นส่วน

เครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 13.6) อุปกรณ์และเครื่องมือด้านการแพทย์ (ร้อยละ 9.9) และเครื่องใช้ในห้องน้าและ

เครื่องสาอาง (ร้อยละ 9.0) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสาคัญอื่น ๆ ที่ลดลง ได้แก่ รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 7.2)

เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 8.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 13.2) มูลค่า

การส่งออกสินค้าประมงขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลง

ร้อยละ 3.3 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลา (ร้อยละ 6.5) สินค้าส่งออกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ

24.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 23.7 เป็นสาคัญ ตลาดส่งออก: การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักขยายตัว ส่วนการส่งออกไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกงลดลง โดยการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.8 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 15.0 ตามการขยายตัวของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 11.9 (ตามการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นสาคัญ) การส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัวร้อยละ 30.1 (ตามการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา เป็นสาคัญ) การส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 31.9 ตามการขยายตัวของรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดอินเดียขยายตัวร้อยละ 13.6 ตามการเพิ่มขึ้นของ การส่งออกเคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นสาคัญ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียกลับมาขยายตัวร้อยละ 17.8 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นสาคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดจีนลดลงร้อยละ 18.1 ตามการลดลงของการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นสาคัญ เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นลดลง ร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของการส่งออกเคมีภัณฑ์ ทองแดงและของทาด้วยทองแดง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสาคัญ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงลดลงร้อยละ 22.6 ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นสาคัญ การนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 71,558 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เร่งขึ้นจาก

ร้อยละ 22.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศและราคาน้ามัน

ที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยปริมาณการนาเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

ส่วนราคานาเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวม

การนาเข้าทองคา มูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 ในไตรมาสก่อนหน้า

ในรูปของเงินบาท การนาเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 2,605 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การนาเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 204,917 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ

20.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 24.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปริมาณและราคานาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ

6.7 และร้อยละ 13.1 ตามลาดับ ส่วนการนาเข้าในรูปเงินบาทมีมูลค่า 7,108 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ

32.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 24.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในรายหมวด มูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยมูลค่าการนาเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 12.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5

เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคานาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 สินค้าสาคัญที่มีมูลค่า

การนาเข้าเพิ่มขึ้น เช่น อาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์นม ยาและเวชภัณฑ์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น มูลค่า

การนาเข้าหมวดสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ชะลอลงจากร้อยละ 29.4 ในไตรมาส

ก่อนหน้า โดยปริมาณการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคา

นาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 สินค้าสาคัญที่มีมูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้น เช่น น้ามันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และชิ้นส่วน

อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น มูลค่าการนาเข้าหมวดสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03 เทียบกับ

การเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนาเข้าลดลงร้อยละ 3.0 ส่วนราคานาเข้าเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 3.2 สินค้าสาคัญที่มีมูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้น เช่น หม้อแปลง เครื่องกาเนิดไฟฟ้า มอเตอร์และเครื่องเก็บ

ประจุไฟฟ้า เป็นต้น มูลค่าการนาเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 140.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.9

ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการนาเข้าสินค้ากลุ่มทองคา (ไม่รวมทองรูปพรรณ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 245.8 อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคานาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 4.4 ส่งผลให้อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 98.8 ลดลงจากระดับ 107.9 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และระดับ 100.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 100.7 เทียบกับระดับ 109.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคานาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 4.5

ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ดุลการค้าเกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ากว่าการเกินดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า และการเกินดุล 9.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เมื่อคิดในรูปเงินบาทในไตรมาสที่สามของปี 2565 ดุลการค้าเกินดุล 17.1 พันล้านบาท ต่ากว่าการเกินดุล 178.4 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า และการเกินดุล 308.8 พันล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 ดุลการค้าเกินดุล 14.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (502.1 พันล้านบาท) ต่ากว่า การเกินดุล 29.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (935.3 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง: ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 ตามการลดลงของผลผลิตพืช

เกษตรสาคัญเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและสภาพอากาศไม่เอื้ออานวยในหลายพื้นที่

โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 2.0 ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลง ได้แก่ (1) กลุ่มไม้ผล ลดลงร้อยละ

26.3 โดยเฉพาะทุเรียน (ลดลงร้อยละ 54.8) และมังคุด (ลดลงร้อยละ 84.8) เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออานวย

และเงาะ (ลดลงร้อยละ 53.4) เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกเงาะปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกเงาะไปปลูกพืชอื่นทดแทน

(2) ยางพารา ลดลงร้อยละ 1.4 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออานวย ประกอบกับมีการระบาดของโรคใบร่วง

ยางพารา (Hevea phytophthora leaf fall) ในบางพื้นที่ (3) สุกร ลดลงร้อยละ 2.2 เนื่องจากปริมาณ

แม่พันธุ์สุกรในระบบลดลง ประกอบกับเกษตรกรชะลอการนาสุกรเข้าเลี้ยงในฟาร์ม เป็นผลมาจากความกังวล

เกี่ยวกับการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African swine fever: ASF) ในช่วงที่ผ่านมา และ

(4) มันสาปะหลัง ลดลงร้อยละ 3.1 เนื่องจากเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูก อย่างไรก็ตาม

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก (ร้อยละ 10.9) ปาล์มน้ามัน

(ร้อยละ 9.4) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 8.6) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.0) เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตร

เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ เช่น (1) สุกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4

เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกรที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรจากตลาดในประเทศ

ปรับตัวเพิ่มขึ้น (2) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 โดยเฉพาะทุเรียน (ร้อยละ 50.4) ตามปริมาณผลผลิต

ทุเรียนที่ปรับตัวลดลง (3) ข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ตามปริมาณความต้องการบริโภคข้าวที่ปรับตัว

เพิ่มขึ้นทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ (4) ไก่เนื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 เนื่องจากต้นทุนการผลิต

ไก่เนื้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้น และ (5) มันสาปะหลัง เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 32.6 ตามปริมาณผลผลิตมันสาปะหลังที่ปรับตัวลดลง และความต้องการใช้มันสาปะหลังเพื่อผลิต

อาหารเลี้ยงสัตว์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญบางรายการปรับตัวลดลง

เช่น ปาล์มน้ามัน (ลดลงร้อยละ 9.8) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้

เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 17.7

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7

ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 2.8 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม: ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

ตามการกลับมาขยายตัวของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะการขยายตัวในเกณฑ์สูงของกลุ่ม

อุตสาหกรรมการผลิตที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมร้อยละ 8.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มี

สัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 22.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1

ในไตรมาสก่อนหน้า โดย การผลิตยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 36.1 เนื่องจากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วน

รถยนต์ที่สาคัญ (ชิปและเซมิคอนดักเตอร์) คลี่คลายลง ประกอบกับคาสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น

การผลิตน้าตาลขยายตัวร้อยละ 46.1 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจาฤดูการผลิต

ปี 2564/65 และการผลิตจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.0 ตามการเพิ่มขึ้นของคาสั่งซื้อภายในประเทศเป็นสาคัญ

อย่างไรก็ตาม การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นลดลงร้อยละ 19.3 ตามการลดลง

ของการผลิตเครื่องใช้ในครัวที่ทาจากโลหะเป็นสาคัญ เป็นผลมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ (เหล็ก) ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5

เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน

โดยการผลิตสาคัญ ๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 การผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรคเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 ตามการเพิ่มขึ้นของคาสั่งซื้อ

ยาสาเร็จรูป (ยาเม็ดและยาผง) ภายในประเทศ และการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ และสิ่งที่คล้ายกันเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 91.7 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานลดลงร้อยละ 12.7 เป็นผลมาจาก

การขาดแคลนวัตถุดิบ (เหล็ก) เนื่องจากประเทศสาคัญ อาทิ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ปรับลดการผลิตเหล็กขั้นต้นลง

และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ

1.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง

โดยการผลิตสาคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 12.9 การผลิต

เครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากความต้องการซื้อ

เครอื่ งปรบั อากาศในตลาดตา งประเทศ (สหรฐั อเมรกิ และออสเตรเลยี ) ปรบั ตวั เพมิ่ ขนึ้ และการผลติ เสอื้ ผา เครอื่ งแตง่ กาย

(ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ขยายตัวตามการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเบลเยี่ยม

เป็นสาคัญ ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5

ร้อยละ 32.4 เป็นผลมาจากการการยกเลิกการผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Hard Disk Drive: HDD) ที่มีความจุน้อย

ประกอบกับเทคโนโลยีที่พัฒนาประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทาให้หน่วยความจุเพิ่มขึ้น สาหรับอัตราการใช้

กาลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.55 สูงกว่าร้อยละ 61.10 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ

58.51 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในอุตสาหกรรมสาคัญ 30 รายการ มีการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้กาลัง

การผลิตสูงกว่าร้อยละ 80 จานวน 5 รายการ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสาหรับยานยนต์ (ร้อยละ

88.25) การฆ่าสัตว์ปีกและการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง (ร้อยละ 88.11) การผลิตพลาสติกและ

ยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 87.21) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 83.38) และการผลิต

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 81.54) ตามลาดับ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 36.1) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้

จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 17.3) การผลิตน้าตาล (ร้อยละ 46.1) การผลิตจักรยานยนต์ (ร้อยละ 90.0)

การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 12.9) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 23.6)

การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และ ปูนปลาสเตอร์ (ร้อยละ 14.3) การผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้

รักษาโรค (ร้อยละ 26.6) การผลิตอาหารสัตว์สาเร็จรูป (ร้อยละ 10.0) และการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ

และสิ่งที่คล้ายกัน (ร้อยละ 91.7) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 32.4)

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 12.7) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลง

ร้อยละ 10.9) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ลดลงร้อยละ 18.9) การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา (ลดลงร้อยละ 24.1)

การผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน (ลดลงร้อยละ 11.7) การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ลดลงร้อยละ 18.7)

การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ลดลงร้อยละ 28.2) การแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก (ลดลงร้อยละ 7.4)

และการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง (ลดลงร้อยละ 10.0) เป็นต้น

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 5.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และอัตราการใช้กาลัง

การผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.40

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 53.6 และเร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 44.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในประเทศ โดยในไตรมาสนี้ นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจานวน 3.608 ล้านคน (คิดเป็น 1 ใน 3 ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) ซึ่งเป็นผลมาจากการดาเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และสถานการณ์ด้านการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวสาคัญที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในไตรมาสนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2.135 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 59.17) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22,455.0 ภูมิภาคยุโรป 0.587 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 16.28) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,840.2 และภูมิภาคเอเชียใต้ 0.403 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 11.16) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59,730.5 ตามลาดับ ส่วนรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยมีจานวน 0.158 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1,497.1 เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง การดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคบริการ ด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและครอบคลุมในทุกจังหวัด ส่งผลให้ประชาชนมีความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น สาหรับจังหวัดที่มีผู้เยี่ยมเยือนคนไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ ชลบุรี 2.994 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 5.96) กาญจนบุรี 2.756 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 5.48) และประจวบคีรีขันธ์ 2.357 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 4.69) สาหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 47.80 สูงกว่าร้อยละ 42.09 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 5.46 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 43.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 17.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 5.688 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,863.1 และอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 42.02

สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดย (1) ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 37.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดการขายยานยนต์ เป็นสาคัญ ทั้งปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (2) ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดการขายส่งสินค้าทั่วไป และ (3) ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ อาทิ ร้านขายปลีกเครื่องประดับ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการขายส่งและ การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของบริการขนส่งทางอากาศ และบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียง เป็นสาคัญ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่งร้อยละ 115.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 27.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) ดัชนีบริการขนส่งทางอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 809.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 148.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้นของปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศ (2) ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้า ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง อาทิ น้ามันดีเซล น้ามันเบนซิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซธรรมชาติสาหรับยานยนต์ จานวนรถบรรทุก จดทะเบียน และปริมาณผู้ใช้บริการรถสาธารณะ ตามลาดับ และ (3) ดัชนีบริการขนส่งทางน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของดัชนีปริมาณตู้สินค้าและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางน้าของไทย สาหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 2.9 สอดคล้องกับการขยายตัวของรายรับผู้ประกอบการ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 บริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1

สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศ: เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นของกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีการผลิตไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ โดย (1) ดัชนีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ เป็นสาคัญ ในขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการปฏิบัติงานในสถานที่พักอาศัย (Work From Home: WFH) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2564 ประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ย ทั่วประเทศต่ากว่าไตรมาสก่อนหน้าและต่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วน (2) ดัชนีการผลิตโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 3.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของปริมาณการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติสาหรับยานยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.6 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 4.3 และดัชนีการผลิตโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 5.3

สาขาการก่อสร้าง: ลดลงร้อยละ 2.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐ ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 5.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลลดลงร้อยละ 10.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 12.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า) และการก่อสร้างภาคเอกชนกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาสร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย (เช่น ห้องชุด และบ้านเดี่ยว) เป็นสาคัญ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่การก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และอาคารโรงงาน) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า สาหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 5.6 ตามการเพิ่มของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9) หมวดซีเมนต์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ อาทิ อลูมิเนียม อิฐ หิน ดิน ทราย และยางมะตอย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0) เป็นสาคัญ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 5.5 ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.2 สาหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0

ผู้มีงานทา: จานวนผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ตามการเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงของผู้มีงานทานอกภาคเกษตร ในขณะที่ผู้มีงานทาภาคเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ส่วนอัตราการว่างงานต่ากว่าไตรมาสก่อนหน้าและต่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สามของปี 2565 จานวนผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผู้มีงานทานอกภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 68.66) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.3 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาในสาขา การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ สาขาอุตสาหกรรม และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร เป็นสาคัญ ในขณะที่ผู้มีงานทาภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 31.34) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.4 สอดคล้องกับการลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญบางรายการ เช่น กลุ่มไม้ผล ยางพารา สุกร และ มันสาปะหลัง เป็นต้น สาหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.23 ต่ากว่าร้อยละ 1.37 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าร้อยละ 2.29 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจานวน 4.91 แสนคน ต่ากว่าผู้ว่างงานจานวน 5.47 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าผู้ว่างงานจานวน 9.11 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 ผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ชะลอตัวจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.38

สถานการณ์ด้านแรงงานในระบบประกันสังคม: จานวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นไตรมาสที่ 6 โดยสัดส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์กรณีว่างงานตามมาตรา 33 ต่ากว่าไตรมาสก่อน

หน้า และต่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

รวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 3.3 ประกอบด้วย ผู้ประกันตนภาคบังคับตามมาตรา 33 เพิ่มขึ้น

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้น

ของผู้ประกันตนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (อาทิ สาขาอุตสาหกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก

การซ่อมยานยนต์ฯ และสาขาการก่อสร้าง) และผู้ประกันตนตามความสมัครใจ (มาตรา 40) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9

ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากแรงส่งของมาตรการสร้างแรงจูงใจให้

แรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลทยอยหมดลง ในขณะที่ผู้ประกันตนตาม

ความสมัครใจ (มาตรา 39) ลดลงร้อยละ 2.9 สาหรับสัดส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์กรณีว่างงานตาม

มาตรา 33 ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่ากว่าร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าร้อยละ 2.5 ในไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์กรณีว่างงานตามมาตรา 33 เฉลี่ยจานวน 2.28 แสนคน

ต่ากว่าจานวน 2.45 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าจานวน 2.73 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในปี 2565 ต่อภาคเกษตร

ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์อุทกภัยและสภาพอากาศแปรปรวน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปรากฎการณ์ลานีญา

(La Nina) ที่มีกาลังแรงขึ้น อิทธิพลจากร่องมรสุม และพายุดีเปรสชันโนรู ทาให้มีฝนตกหนัก ประกอบกับฝนตกสะสมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565

ส่งผลให้มีปริมาณน้าสูงกว่าปกติ ทั้งนี้ จากข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-1 ในเดือนกันยายน 2565 พบว่ามีพื้นที่ประสบอุทกภัยครอบคลุมใน 66 จังหวัด1 จานวน

5.33 ล้านไร่2

หรือคิดเป็นสดั สว่ นร้อยละ 33.33 ของพนื้ ทปี่ ระสบอทุ กภยั ทวั่ ทุกจังหวดั จานวน 15.99 ลา นไร่2 ในปี 2554

เมอื่ พิจารณาถึงผลกระทบจากสถานการณอ์ ทกภยั ทสี่ รา งความเสยี หายตอ่ ภาคเกษตร ข้อมลู จาก ศนู ยต์ ดิ ตามและแก้ไขปญั หาภยั พิบตั ดิ นการเกษตร กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์ รายงานว่าในปี 2554 ด้านการเกษตรได้รับผลกระทบโดยแบ่งเป็น หมวดพืช เกษตรกรได้รับผลกระทบ 1.29 ล้านราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ

12.75 ล้านไร่ หมวดประมง เกษตรกรได้รับผลกระทบ 132,726 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับผลกระทบ 272,052 ไร่ กระชัง 300,739 ตรม. และหมวดปศุสัตว์

เกษตรกรได้รับผลกระทบ 254,670 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 30.31 ล้านตัว แปลงหญ้า 17,776 ไร่ ในขณะที่ในปี 2565 ได้รับผลกระทบโดยแบ่งเป็นหมวดพืช

เกษตรกรได้รับผลกระทบ 649,807 ราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 5.51 ล้านไร่ หมวดประมง เกษตรกรได้รับผลกระทบ 30 ,350 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า

ได้รับผลกระทบ 45,988 ไร่ กระชัง 54,580 ตรม. และหมวดปศุสัตว์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 90,432 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 8.59 ล้านตัว แปลงหญ้า 4,870 ไร่

ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสถานการณ์

ปริมาตรน้าในเขื่อน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน

2565 มีปริมาตรน้าที่ใช้การได้อยู่ที่ระดับ

35,513.85 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ

50.1 ของระดบั น้าเก็บกักของอ่างเก็บน้า (นอ้ ยกว่า

ปี 2554 ร้อยละ 14.1) และปริมาณฝนสะสม

รวมทั้งประเทศอยู่ที่ระดับ 1824.9 มม. (น้อยกว่า

ปี 2554 ร้อยละ 1.2) สาหรับปรากฏการณ์เอนโซ

(ENSO) กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าปรากฏการณ์

เอนโซยังคงสภาวะเป็นลานีญาต่อเนื่องไปจนถึง

เดือนมีนาคมปี 2566 ส่งผลให้ปริมาณฝนในช่วง

ทเ หลอื ของปี 2565 มแ นวโนม้ สงู กว่าคา เฉลยี่ ปกติ สถานการณ์แรงงานในประเทศไทยภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศได้คลี่คลายลง ประกอบกับการดาเนินมาตรการส่งเสริมการจ้างงานของภาครัฐ ส่งผลให้สถานการณ์การทางานของกาลังแรงงานปัจจุบันปรับตัวดีขึ้น โดยข้อมูลที่เผยแพร่โดยสานักงานสถิติแห่งชาติ ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2565 พบว่า มีผู้อยู่ในกาลังแรงงานปัจจุบันจานวน 40.089 ล้านคน ประกอบด้วย (1) ผู้มีงานทา 39.566 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีงานทาสัญชาติไทย 37.092 ล้านคน และผู้มีงานทาต่างชาติ 2.474 ล้านคน และ (2) ผู้ว่างงาน 0.491 ล้านคน ฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2562 ที่มีจานวน 39.030 ล้านคน

เมื่อพิจารณากาลังแรงงานปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2565 เปรียบเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2562 พบว่า ผู้มีงานทาเพิ่มขึ้น 1.038 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7) โดยสาขาการผลิตสาคัญที่ผู้มีงานทาเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ และอุตสาหกรรม ส่วนสาขาการผลิตสาคัญที่ผู้มีงานทาลดลง ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาการก่อสร้าง และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้มีงานทาสัญชาติไทยเพิ่มขึ้น 1.786 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาการผลิตสาคัญ ยกเว้นสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารที่ลดลง ขณะที่กลุ่มผู้มีงานทาต่างชาติลดลง 0.748 ล้านคน (ลดลงร้อยละ 23.2) เนื่องจากในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผู้มีงานทาต่างชาติเดินทางกลับประเทศ โดยเฉพาะแรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา ทาให้เกิดการขาดแคลนผู้มีงานทาต่างชาติในทุกสาขาการผลิตสาคัญ ประกอบด้วย สาขาอุตสาหกรรม ลดลง 0.245 ล้านคน (ลดลงร้อยละ 22.3) สาขาการก่อสร้าง ลดลง 0.173 ล้านคน (ลดลงร้อยละ 27.7) สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ ลดลง 0.122 ล้านคน (ลดลงร้อยละ 24.2) และสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลง 0.082 ล้านคน (ลดลงร้อยละ 20.4) อย่างไรก็ตาม ผู้มีงานทาต่างชาติเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนจากข้อมูลในไตรมาสแรกของปี 2565 จานวนผู้มีงานทาต่างชาติมีจานวน 2.348 ล้านคน ไตรมาสที่สองมีจานวน 2.266 ล้านคน และในไตรมาสที่สามมีจานวน 2.474 ล้านคน

นอกจากนี้ เมื่อจาแนกผู้มีงานทาต่างชาติตามฝีมือแรงงาน ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2565 ประกอบด้วย (1) แรงงานประเภททั่วไป 2.229 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 90.11) โดยแรงงานประเภทนี้ประกอบด้วย 4 สัญชาติสาคัญได้แก่ เมียนมา จานวน 1.604 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 71.94) กัมพูชา จานวน 0.431 ล้านคน (สัดส่วนร้อย 19.34) ลาว จานวน 0.194 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 8.72) และเวียดนาม จานวน 150 คน (สัดส่วนร้อยละ 0.01) และ (2) แรงงานฝีมือและอื่น ๆ จานวน 0.245 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 9.89) การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2565 (กรกฎาคม - กันยายน 2565) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 671,214.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.0 เป็นผลจากการจัดเก็บ (1) ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกาไรสุทธิ (ภ.ง.ด. 50) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 53) และภาษีจากการจาหน่ายเงินกาไร (ภ.ง.ด. 54) สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามผลประกอบการของนิติบุคคล ที่ปรับตัวดีขึ้น (2) ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ตามการขยายตัวของมูลค่าการนาเข้า ราคาน้ามันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ (3) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5 สอดคล้องกับการขยายตัวของปริมาณการผลิตและการส่งมอบรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกปิคอัพ และรถจักรยานยนต์ และ (4) อากรขาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ตามมูลค่าการนาเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า

อย่างไรก็ตาม การนาส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 49.5 เนื่องจากฐานที่สูงในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการนาส่งรายได้จากกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งเพิ่มเติม ประกอบกับการนาส่งรายได้เหลื่อมเดือนของสานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขณะที่การจัดเก็บภาษีน้ามันและผลิตภัณฑ์น้ามันลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.7 เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสาหรับน้ามันดีเซลลิตรละไม่เกิน 5 บาท ในระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม - 20 กันยายน 2565 เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนจากปัญหาราคาน้ามันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น

ในปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2,530,633.5 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้าร้อยละ 6.5 และสูงกว่าประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 5.4 โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมศุลกากร และการนาส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 15.5 ร้อยละ 10.5 และ

ร้อยละ 0.6 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตต่ากว่าประมาณการร้อยละ 15.7

เนื่องจากการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสาหรับน้ามันดีเซลเป็นสาคัญ ขณะที่การนาส่งรายได้ของหน่วยงานอื่นต่ากว่า

ประมาณการร้อยละ 13.5

การใช้จ่ายของรัฐบาล ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 840,398.91 ล้านบาท

ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.3 แบ่งเป็น (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี

63,389.4 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.3 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.4

จาแนกเป็น (i) รายจ่ายประจา 543,862.7 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.8 (อัตราการเบิกจ่าย

ร้อยละ 21.4 ต่ากว่าร้อยละ 23.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) และ (ii) รายจ่ายลงทุน 119,526.7 ล้านบาท

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.5 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.2 ต่ากว่าร้อยละ 24.0 ในไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน) ทั้งนี้ การลดลงของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปี พ.ศ. 2565 และการเร่งรัด

การเบิกจ่ายในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้การเบิกจ่ายรายจ่ายประจาและรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้ลดลง (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกนั ไวเ บิกเหลอื่ มปี จานวน 48,711.3 ลา นบาท เพมิ่ ขนึ้ จากไตรมาสเดยี วกนั ของปีกอ่ น ร้อยละ 21.2 ตามลาดับ

ร้อยละ 36.1 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท.

จากัด (มหาชน)) จานวน 74,903 ล้านบาท2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 21.6 เป็นผลมาจาก

การเบิกจ่ายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (4) การเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ จานวน

163.5 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy

Loan: DPL) โครงการจัดทาระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) และ

(5) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 พ.ศ. 2563 - 2564 จานวน 60,673.7 ล้านบาท

รวมทั้งปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีการใช้จ่ายรวม 3,755,102.7 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อน

หน้า ร้อยละ 8.9 แบ่งเป็น (1) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2,932,563.2 ล้านบาท ลดลงจาก

ปีก่อนร้อยละ 2.6 ตามการลดลงของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปี พ.ศ. 2565 เป็นสาคัญ จาแนกเป็น

(i) รายจ่ายประจา 2,516,573.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 และ (ii) รายจ่ายลงทุน 415,989.8 ล้านบาท ลดลง

ร้อยละ 2.9 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายสะสม อัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายประจา และรายจ่ายลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 94.6

ร้อยละ 99.2 และร้อยละ 73.7 ตามลาดับ สูงกว่าร้อยละ 91.7 ร้อยละ 96.4 และร้อยละ 70.9 ตามลาดับ

ในปีงบประมาณก่อนหน้า (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 213,677.6 ล้านบาท โดยมีอัตรา

การเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 90.1 เทียบกับการเบิกจ่าย 196,497.3 ล้านบาท และอัตราเบิกจ่าย 91.1

ในปีงบประมาณ 2564 (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน)) 239,364.0

ล้านบาท3 ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.0 (4) การเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ 163.5 ล้านบาท และ

(5) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 พ.ศ. 2563 - 2564 393,929.2 ล้านบาท

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีการเบิกจ่ายเงินกู้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 ทั้ง 2 ฉบับ วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท

รวมทั้งสิ้น 1,376,604.6 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และ

สาธารณสุขฯ จานวน 220,223.3 ล้านบาท (2) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา

และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการฯ จานวน 858,323.9 ล้านบาท และ

(3) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฯ จานวน 298,057.3 ล้านบาท ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 52,992 ล้านบาท

เมื่อรวมกับการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 28,988 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 60,108

ล้านบาท ทาให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดสุทธิ 36,104 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จานวน 587,915 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565

มีจานวนทั้งสิ้น 624,019 ล้านบาท

รวมทั้งปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณ 595,443 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุล

เงินนอกงบประมาณ 50,468 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 681,183 ล้านบาท ส่งผลให้

รัฐบาลเกินดุลเงินสดหลังกู้สุทธิ 35,272 ล้านบาท ในไตรมาสทสี่ มของปี 2565 อตั ราดอกเบยี้ นโยบายของไทยปรบั เพมิ่ ขนึ้ จากรอ้ ยละ 0.50 เป็นรอ้ ยละ 1.00 ตอ่ ปี

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 และการประชุม

ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ที่ประชุมมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละร้อยละ 0.25 ต่อปี

ทาให้อัตราดอกเบยี้ นโยบายเพมิ่ ขนึ้ จากรอ้ ยละ 0.50 ตอ่ ปี เป็นรอ้ ยละ 1.00 ตอ่ ปี โดย กนง. ประเมนิ วา เศรษฐกจิ ไทย

มแ นวโน้มฟนื้ ตวั ตอ่ เนอื่ ง ตามการฟนื้ ตวั ของภาคการทอ่ งเทยี่ วและการบรโ ภคภาคเอกชน ขณะทอั่ตราเงนิ เฟอ้ ยงั ทรงตวั

อยู่ในระดับสูงจากการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดีในระยะถัดไปอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงตามราคา

น้ามันโลกและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่จะทยอยคลี่คลายลง นอกจากนี้ กนง. เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

อย่างค่อยเป็นค่อยไปเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว จะช่วยรักษา

เสถียรภาพราคา ควบคู่กับการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

อย่างไรก็ดี หากแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าเปลี่ยนแปลงไปจากที่ประเมินไว้ กนง. พร้อมที่จะ

ปรบั ขนาดและเงอื่ นเวลาของการขนึ้ อัตราดอกเบยี้ นโยบายให้เหมาะสมตอ่ ไป ทงั้ นี้ การดาเนินนโยบายการเงนิ ของไทย

สอดคล้องกับประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาค อาทิ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป อินโดนีเซีย และเวียดนาม

เป็นต้น ที่เริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.00 ร้อยละ 3.50 และร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 1.25

ร้อยละ 4.25 และร้อยละ 3.50 ต่อปี ตามลาดับ ส่วนประเทศสาคัญอื่น ๆ ยังคงดาเนินนโยบายการเงินในทิศทาง

เข้มงวดต่อเนื่อง ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ อังกฤษ อินเดีย แคนาดา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ปรับขึ้น

อัตราดอกเบยี้ นโยบายมาอยทู่ รี่ อ้ ยละ 3.00 - 3.25 รอ้ ยละ 2.25 รอ้ ยละ 5.90 รอ้ ยละ 3.25 รอ้ ยละ 2.50 รอ้ ยละ 2.35

และร้อยละ 3.00 ต่อปี ตามลาดับ ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดียวกับไตรมาส

ก่อนหน้าที่ร้อยละ (-0.10) ต่อปี ด้านธนาคารกลางจีนและรัสเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 3.65

และร้อยละ 7.50 ต่อปี ในเดือนตุลาคม 2565 ธนาคารกลางสหภาพยุโรป แคนาดา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และนิวซีแลนด์ ปรับขึ้นอัตรา

ดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 2.00 ร้อยละ 3.75 ร้อยละ 3.00 ร้อยละ 2.60 ร้อยละ 4.75 ร้อยละ 4.50 และร้อยละ 3.50 ต่อปี ตามลาดับ

ล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2565 ธนาคารกลางสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย และมาเลเซีย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 3.75 - 4.00

ร้อยละ 3.00 ร้อยละ 2.85 และร้อยละ 2.75 ต่อปี ตามลาดับ

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางที่เร็วและแรงส่งผลกระทบต่อตลาดทุนในหลายประเทศ

ในช่วงปี 2565 ธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักดาเนินนโยบายการเงินในทิศทางเข้มงวดขึ้น

โดยการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วงในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามของปี 2565 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.25 - 0.50 ในไตรมาสแรกของปี 2565 เป็นร้อยละ 3.00 - 3.25

ในไตรมาสทสี่ มของปี 2565 รวมทงั้ ธนาคารกลางประเทศอนื่ ๆ อาทิ ธนาคารกลางแคนาดา ออสเตรเลยี เกาหลใ ต้ ฟลิ ปิ ปินส และเวยี ดนาม เป็นตน้

การปรบั ขนึ้ อตั ราดอกเบยี้ นโยบายทเ รว็ และแรงของธนาคารกลางตา ง ๆ ดงั กล่าว ทาใหต้ ลาดทุนเกดิ ความผันผวน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์

ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลจากการดาเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 ดัชนีอุตสาหกรรม

ดาวโจนส์ของสหรัฐฯ (Dow Jones Industrial Average) ลดลงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ

แคนาดา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 2.21 ร้อยละ 1.43 ร้อยละ 7.59 ร้อยละ 6.73 และร้อยละ 5.47

ตามลาดับ สาหรับสภาวะตลาดตราสารหนี้ พบว่าส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และอายุ 2 ปี ของประเทศ

ต่าง ๆ ดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของนักลงทุนในเชิงลบต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตและอาจมีโอกาสเกิดภาวะ

เศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในบางประเทศ สาหรับประเทศไทย ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ในช่วงไตรมาสที่สามของ

ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า และภาวะตลาดตราสารหนี้ พบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับ

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ตลาดทุนไทยยังมีเงินทุนไหลเข้าจากการลงทุนนักลงทุนต่างชาติ

ต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2565 นักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิในหลักทรัพย์ไทยจานวน 3,940

ล้านดอลลาร์ สรอ. และจานวน 797 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลาดับ ธนาคารพาณิชย์ คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs)

คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่

และขนาดกลางคงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.49 ต่อปี และร้อยละ

6.60 ต่อปี ตามลาดับ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือน ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.45 ต่อปี และร้อยละ 0.50

ต่อปี ตามลาดับ ขณะที่ SFIs คงอัตราดอกเบี้ย MLR ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.13 ต่อปี แต่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

เงินฝากประจา 12 เดือน จากเฉลี่ยร้อยละ 0.78 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.77 ต่อปี อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และ

เงินฝากที่แท้จริงยังคงอยู่ในระดับต่า ตามอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่ยังเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง

ในเดือนตุลาคม 2565 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากเป็นร้อยละ 5.71

ต่อปี และร้อยละ 0.68 ต่อปี ตามลาดับ ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่สถาบัน

การเงินเฉพาะกิจยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิม แต่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือนเป็นเฉลี่ย

ร้อยละ 0.8 ต่อปี

สินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2565

ยอดสินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอตัวจากร้อยละ 4.1 ในไตรมา ส

ก่อนหน้า โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 3.8 ตามความต้องการสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจในภาคการค้า รวมทั้งเพื่อรองรับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี สินเชื่อธรุกิจชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของ

เงินให้กู้ยืมแก่ธุรกิจ SMEs โดยสินเชื่อตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการ

สินเชื่อฟื้นฟูฯ) ภายใต้วงเงิน 250,000 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 มีการอนุมัติสินเชื่อแล้วทั้งสิ้น

197,421.85 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 78.97 ของวงเงิน ขณะที่สินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งตัวขึ้น

จากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง

เป็นผลจากการเร่งซื้อก่อนสถาบันเงินจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ประกอบกับมาตรการลด

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสาหรับที่อยู่อาศัยของรัฐบาล และมาตรการการผ่อนคลาย

หลักเกณฑ์การกากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ

LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2565

สินเชื่อคงค้างในระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

ตามสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ในส่วนของสินเชื่อธุรกิจ

ขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์

ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวร้อยละ 3.7

ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.1 ไตรมาสก่อนหน้า ส่วนสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.9

ในไตรมาสก่อนหน้า

สาหรบั สนิ เชอื่ ในระบบธนาคารพาณชิ ยใ นสาขาสาคญั ๆ ทขี่ ยายตวั ไดแ ก่ สาขาการขายสง่ และการขายปลกี การซอ่ ม

ยานยนต์และจักรยานยนต์ (ร้อยละ 9.2) สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย (ร้อยละ 9.1) สาขาการผลิต

(ร้อยละ 5.1) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ร้อยละ 4.1) สาขาการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล (ร้อยละ 3.9) สาขา

การก่อสร้าง (ร้อยละ 3.2 และกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 0.2) ขณะที่สินเชื่อคงค้างในสาขาสาคัญ ๆ ที่ปรับตัว

ลดลง ได้แก่ สาขาการทาเหมืองแร่และเหมืองหิน (ลดลงร้อยละ 10.7) กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์

(ลดลงร้อยละ 7.0) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง (ลดลงร้อยละ 5.2) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

(ลดลงร้อยละ 3.9) และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศ (ลดลงร้อยละ 1.8) ด้านสินเชื่อคงค้างที่ให้กู้ยืมแก่

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและประกันภัย) ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ร้อยละ 0.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สาหรับสินเชื่อคงค้างในสาขาสาคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์

สาขาการก่อสร้าง และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศ ขณะที่สินเชื่อคงค้างในสาขาที่สาคัญ ๆ

ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สาขาการผลิต

กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน และการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์

และจักรยานยนต์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2565

ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 36.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 5.75 จากค่าเฉลี่ย 34.44 บาทต่อ

ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.

เมื่อเทียบเงินสกุลหลักอื่น ๆ โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ยอยู่ที่ 108.26 เพิ่มขึ้นจากระดับ

102.62 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการดาเนินนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น

และความกังวลต่อการเข้าสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก (Global recession risk) นอกจากนี้ ค่าเงินสกุล

หลักอื่น ๆ ในตะกร้าดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวอ่อนค่าลงที่สาคัญ ได้แก่ (1) การดาเนินนโยบายการเงิน

แบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) (2) การดาเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวของประเทศอังกฤษ

(3) เศรษฐกิจในยุโรปที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น และ

(4) เศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการดาเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

(Zero-Covid) และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ สาหรับค่าเงินสกุลอื่นที่สาคัญในภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนค่าลง

เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ได้แก่ ค่าเงินของประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย จีน ไต้หวัน

มาเลเซีย อินโดนิเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ปรับตัวอ่อนค่าร้อยละ 7.0 ร้อยละ 6.6 ร้อยละ 6.2 ร้อยละ 3.3

ร้อยละ 3.2 ร้อยละ 3.1 ร้อยละ 3.1 ร้อยละ 2.6 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

ตามลาดับ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยในไตรมาสที่สามอยู่ที่ 113.55 จุด ลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาส

ก่อนหน้าร้อยละ 2.1 สะท้อนถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ

ในเดือนตุลาคม 2565 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 37.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 2.40

จากค่าเฉลี่ย 37.03 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการดาเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เข้มงวดขึ้น

ต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กลับมาทวีความรุนแรงขึ้น

ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุน

ที่สาคัญมาจาก (1) ภาคการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง (2) ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้นภายหลังสถานการณ์

โรคโควิด-19 คลี่คลายลง และภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทาให้บรรยากาศการท่องเที่ยวกลับเข้าสู่ภาวะ

ปกติมากขึ้น และ (3) การประกาศผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2565 ของบริษัทจดทะเบียน

มีกาไรสุทธิรวม 3.5 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาสดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดที่

1,590 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า สาหรับกลุ่มธุรกิจที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่สาคัญ ได้แก่

กลุ่มเทคโนโลยี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2) กลุ่มบริการ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7) กลุ่มทรัพยากร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6) และ

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1) ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย

เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสาคัญ ๆ ในภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง

ได้แก่ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีน (ลดลงร้อยละ 15.2) ไต้หวัน (ลดลงร้อยละ 9.5) เกาหลีใต้ (ลดลงร้อยละ 7.6)

ฟิลิปปินส์ (ลดลงร้อยละ 6.7) เวียดนาม (ลดลงร้อยละ 5.5) และมาเลเซีย (ลดลงร้อยละ 3.4) เป็นต้น ขณะที่

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสาคัญ ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 8.3) และ

อินโดนีเซีย (ร้อยละ 1.9)

ในเดือนตุลาคม 2565 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1,609 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกันยายน 2565

ร้อยละ 1.2 ตามการประกาศผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 ของบริษัทจดทะเบียนที่เริ่ม

ทยอยประกาศ นาโดยกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ

(Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่ชะลอตัวลง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 อัตราผลตอบแทน

พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น ตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้ม

ชะลอตัวลง และอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งธนาคารกลางของประเทศสาคัญ ๆ ยังคงปรับขึ้น

อัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2565 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล

อ้างอิงอายุ 2 ปี และอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.88 ต่อปี และร้อยละ 3.21 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.75 ต่อปี

และร้อยละ 2.90 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ 27.3

พันล้านบาท ต่อเนื่องจากสถานะขายสุทธิ 28.9 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า และมีตราสารหนี้ครบอายุ

ไถ่ถอน 26.5 พันล้านบาท สาหรับการระดมทุนใหม่ผ่านตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 540.9 พันล้านบาท

ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ กลุ่มพลังงาน และ

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ในเดือนตุลาคม 2565 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน

ก่อนหน้า สอดคล้องกับทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินในทิศทางเข้มงวดขึ้นต่อเนื่องของธนาคารกลาง

ในหลายประเทศ รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนตุลาคมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล

อายุ 2 ปี และอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.88 ต่อปี และร้อยละ 3.26 ต่อปี ตามลาดับ โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ

20.2 พันล้านบาท ต่อเนื่องจากการขายสุทธิ 22.2 พันล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 7.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

(253.1 พันล้านบาท) เทียบกับการขาดดุล 4.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (144.9 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน และการขาดดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (279.0 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจาก

การขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 7.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นการขาดดุลต่อเนื่อง

เป็นไตรมาสที่ 10 (ต่ากว่าการขาดดุล 13.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) ขณะที่

ดุลการค้าเกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ากว่าการเกินดุล 9.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน)

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 17.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (617.1 พันล้านบาท) เทียบกับ

การขาดดุล 8.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (278.9 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ 199.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 244.7

พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 เมื่อคิดในรูปเงินบาท เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน

กันยายน 2565 อยู่ที่ 7,561.9 พันล้านบาท ต่ากว่า 8,293.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สามของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.3 เทียบกับร้อยละ 6.5

ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เร่งขึ้นจาก

ร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคาในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้า กลุ่มผักและผลไม้ และอาหาร

สาเร็จรูป ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ร้อยละ 10.0 และร้อยละ 8.8 ตามลาดับ สอดคล้องกับราคาในหมวดอาหารสด

ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหาร

และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นต่อร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้น

ของดัชนีราคากลุ่มไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปาและแสงสว่าง และกลุ่มยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 31.5 และร้อยละ 11.9 ตามลาดับ ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.1 เทียบกับร้อยละ

2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า4

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่เฉลี่ย

ร้อยละ 2.3 ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 ชะลอลงจาก

การเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคากลุ่มปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ

81.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 9.1 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคา

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.4 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.9

ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคาในหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรและการประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เร่งขึ้นจาก

การเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เร่งขึ้นจากการเพิ่มร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อนหน้า5

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 ดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4

2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ามันดิบในไตรมาสที่สามของปี 2565

ราคาน้ามันดิบ ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

ราคาน้ามันดิบอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 96.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 จากราคาเฉลี่ย 71.9 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 11.3 จากราคา 108.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสก่อนหน้า

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจาก (1) นักลงทุนยังคงกังวลต่อภาวะอุปทาน ที่มีแนวโน้มตึงตัว หลังจากสหภาพยุโรปเตรียมจะคว่าบาตรการนาเข้าน้ามันดิบและผลิตภัณฑ์น้ามันอื่น ๆ จากรัสเซียในช่วงเดือนธันวาคมของปีนี้ ขณะที่รัสเซียได้หยุดการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศในยุโรปผ่าน Nord Stream 1 (2) ปริมาณเฉลี่ยน้ามันดิบสารองทางการค้าของสหรัฐฯ ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่สามของปี 2565 อยู่ที่ 426 ล้านบาร์เรล ลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับ 431 ล้านบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (3) กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ามัน และชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ยังคงไม่สามารถเพิ่มกาลังการผลิตได้ ตามเป้าหมายที่วางไว้ และยังมีแนวโน้มลดกาลังการผลิตเพื่อรักษาระดับราคาน้ามันดิบอย่างต่อเนื่อง

รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 100.2 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.9 จากค่าเฉลี่ย 66.4 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน 3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สามของปี 2565

เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สามของปี 2565 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องแต่มีทิศทางของการขยายตัวที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มประเทศ โดยเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักเริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศและการผลิต ภายหลังธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วและแรงอย่างต่อเนื่องเพื่อลดแรงกดดันของเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันเศรษฐกิจยูโรโซนและสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบจากวิกฤตพลังงานที่รุนแรงอันเป็นผลจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนและการด่าเนินมาตรการคว่าบาตรที่ยังคงยืดเยื้อ ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่สามสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจีนขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายเมืองส่าคัญ นอกจากนี้ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศก่าลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียยังคงขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของ ภาคการส่งออกสินค้าและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.8 (Advance Estimate) เท่ากับในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อขจัดปัจจัยฤดูกาลเทียบกับไตรมาสที่สอง เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.6 (%QoQ saar.) ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีแรงสนับสนุนหลักจากการลงทุนนอกภาคที่อยู่อาศัย (Non-residential) การใช้จ่ายของรัฐบาล และการส่งออกสินค้าที่เร่งตัวขึ้น ขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงตามการลดลงของการบริโภคสินค้าไม่คงทน นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวตามการลดลงอย่างต่อเนื่องของการลงทุนในภาคที่อยู่อาศัย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับเพิ่มขึ้นและแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ส่าหรับตลาดแรงงานยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เท่ากับไตรมาสก่อนหน้าและเป็นระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Personal Consumption Expenditures) อยู่ที่ร้อยละ 6.3 ลดลงจากร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า6 แต่ยังคงสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ส่งผลให้ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2565 และวันที่ 20 - 21 กันยายน 2565 มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งติดต่อกัน เป็นร้อยละ 3.00 - 3.25 (ปรับเพิ่มครั้งละร้อยละ 0.75) นับเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน 5 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 2.1 ชะลอลงจากร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการชะลอตัวในทุกประเทศเศรษฐกิจหลัก7 ตามการชะลอลงของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นตามราคาพลังงานอันเป็นผลจาก ความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่น่าไปสู่การด่าเนินมาตรการคว่าบาตรอย่างต่อเนื่อง8 โดยอัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาสที่สามอยู่ที่ร้อยละ 9.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอยู่ในระดับ 95.6 ต่าสุดเป็นประวัติการณ์ สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.3 และ 49.9 ซึ่งเป็นการลดลงต่ากว่าระดับ 50 ครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของ ปี 2563 และไตรมาสแรกของปี 2564 ตามล่าดับ ภายใต้แนวโน้มการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม และวันที่ 8 กันยายน 2565 มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ9 โดยมีเป้าหมายให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงมาอยู่ในระดับเป้าหมายระยะปานกลางที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่มาตรการทางการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยังคงมีการด่าเนินการอย่างต่อเนื่อง10

3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สามของปี 2565

6 ส่าหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ขยายตัวร้อยละ 8.3 ชะลอลงจากร้อยละ 8.6 ในไตรมาสก่อน

7 เศรษฐกิจเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ขยายตัวร้อยละ 1.1 ร้อยละ 1.0 ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากร้อยละ 1.7 ร้อยละ 4.2 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ

8 ภูมิภาคยุโรปเผชิญปัญหาในการน่าเข้าก๊าซธรรมชาติผ่านท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1 (Nord Stream 1) อย่างต่อเนื่อง โดยรัสเซียได้ระงับการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อดังกล่าวเป็นเวลา 10 วันในช่วงเดือนกรกฎาคม จากนั้นก็ได้มีการลดปริมาณการส่งก๊าซธรรมชาติลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ของก่าลังการขนส่งของท่อก๊าซ โดยรัสเซียแจ้งว่ามีการรั่วซึมของท่อส่งก๊าซ จากนั้น จึงได้มีการระงับการส่งก๊าซตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ส่งผลให้ทางสหภาพยุโรปได้ประกาศมาตรการเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 อาทิ (1) มาตรการประหยัดการใช้ไฟฟ้า โดยประเทศสมาชิกจะต้องลดการใช้ไฟฟ้าลงร้อยละ 5 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้า ณ ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ประเทศสมาชิกทุกประเทศได้ตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวม (2) การปันผลก่าไรจากผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นราคาของพลังงาน โดยจะจัดเก็บจากภาคเอกชนที่มีก่าไร (Taxable Profit) เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้ามากกว่าร้อยละ 20 และ (3) มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังออกมาตรการคว่าบาตรเพิ่มเติมที่ส่าคัญในช่วงไตรมาสที่สาม ได้แก่ (1) ห้ามน่าเข้าทองค่าจากรัสเซีย (2) เพิ่มสินค้า ในรายการสินค้าที่ห้ามส่งออกไปยังรัสเซียซึ่งรวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งอาจจะน่าไปใช้ทางทหารได้ (3) เรือสัญชาติรัสเซียห้ามเข้าเทียบท่าเรือในหลายประเทศ (4) ห้ามรับฝากเงินจากบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อบุคคลผิดกฎหมายที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้า และ (5) เพิ่มรายชื่อ 45 บุคคลและ 10 หน่วยงาน ที่จะถูกจ่ากัดการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์

9 โดยอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations Rate อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility และดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารกลางไว้ อยู่ที่ร้อยละ 1.25 ร้อยละ 1.50 และ ร้อยละ 0.75 ตามล่าดับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2565 โดยก่อนหน้านี้ ECB ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่าคัญมาแล้วในวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี อย่างไรก็ตาม ECB จะยังคงการน่าเงินต้นที่ได้จากสินทรัพย์ภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) และโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) โดยโครงการ PEPP จะด่าเนินการต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2567 และโครงการ APP จะด่าเนินการต่อไปเท่าที่ยังมีความจ่าเป็น รวมถึงการด่าเนินมาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องโดยการรีไฟแนนซ์ผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าให้แก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ 3 (TLTROs III) นอกจากนี้ ECB ยังคงใช้กลไกเพื่อลดผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Transmission Protection Instrument: TPI) โดยการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิก ที่เผชิญความผันผวนในตลาดการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

10 มาตรการทางการคลังที่ส่าคัญภายใต้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU Recovery and Resilience Facility วงเงินรวมมากกว่า 7 แสนล้านยูโร โดยในการประชุมเพื่อหามาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (Recovery and Resilience Dialogue) ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 ระบุว่าคณะกรรมการได้จ่ายเงินกู้และเงินทุนให้กับ 21 ประเทศ มูลค่าประมาณ 3.30 แสนล้านยูโร เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.8 เทียบกับร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและ ภาคบริการภายหลังจากการเริ่มผ่อนคลายข้อจ่ากัดในการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ สะท้อนจากดัชนีการค้าปลีกที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมถึงแรงสนับสนุนจากการด่าเนินนโยบายการเงิน11 และนโยบายการคลัง12 แบบผ่อนคลาย เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตและการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการอ่อนค่าลงของค่าเงินเยนส่งผลต่อต้นทุนการน่าเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ PMI ภาคอุตสาหกรรมลดลงมาอยู่ที่ 51.5 จาก 54.1 และ 53.2 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2565 ตามล่าดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 2.0 เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ส่วนการน่าเข้าขยายตัวร้อยละ 17.5 ส่งผลให้ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนสิงหาคม 2565 ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 2.8 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังจากรัฐบาลได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายเมืองใหญ่ที่ส่าคัญ อาทิ เมืองเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และหนานจิง ส่งผลให้เริ่มมี การจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สะท้อนจากมูลค่าการค้าปลีกที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Caixin PMI) ภาคบริการที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.3 จาก 44.0 ในไตรมาสก่อน และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส ขณะเดียวกัน ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 49.3 เพิ่มขึ้นจาก 48.6 ในไตรมาสก่อน แม้ว่าจะยังต่ากว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม เนื่องจากยังมีการล็อกดาวน์ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่าคัญ13 เช่นเดียวกับการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 ชะลอลงจากร้อยละ 12.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงเผชิญข้อจ่ากัดจากปัญหาการขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินของภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงเดือนสิงหาคม เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรง ส่งผลให้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรชะลอตัว โดยการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ลดลงร้อยละ 8.0 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน ภายใต้แนวโน้มข้อจ่ากัดในภาคอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 รัฐบาลจีนจึงได้ประกาศมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติมวงเงินทั้งสิ้น 1 ล้านล้านหยวน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนและอุดหนุนการบริโภค รวมถึงสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นในการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละพื้นที่ ขณะที่ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง14

เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออก สะท้อนจากดัชนีการค้าปลีกและมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง15 โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวันในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 4.4 ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.1 ต่อเนื่องจากร้อยละ 4.5 ร้อยละ 2.9 และร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อน ตามล่าดับ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจฮ่องกงลดลงร้อยละ 4.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 1.3 และนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม ตามการลดลงของการส่งออกสินค้า โดยในไตรมาสที่สามมูลค่าการส่งออกสินค้าของฮ่องกงลดลงร้อยละ 11.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมลดลงมาอยู่ที่ 50.5 เทียบกับ 53.0 ในไตรมาสก่อนหน้า

เศรษฐกิจประเทศกลุ่มอาเซียน ขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกและภาคการผลิต ในหลายประเทศชะลอตัวจากที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส่าคัญโดยเฉพาะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 5.7 เทียบกับร้อยละ 5.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับร้อยละ 7.2 ในไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนามขยายตัวร้อยละ 14.2 และร้อยละ 13.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 8.9 และร้อยละ 7.7 ในไตรมาสที่สอง ตามล่าดับ ทั้งนี้ ธนาคารกลางของประเทศกลุ่มอาเซียนได้เริ่มด่าเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด16 เพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อลดแรงกดดันด้านการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน

11 เมื่อวันที่ 21 - 22 กันยายน 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติให้ยังคงด่าเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ (-0.1) และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ช่วงอายุ 10 ปี ที่ร้อยละ 0 (Yield curve control)

12 เมื่อเดือนกันยายน 2565 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพที่เพิ่มสูง วงเงิน 3.5 ล้านล้านเยน เพิ่มเติมจากมาตรการที่ประกาศในเดือนเมษายน 2565 โดยมีมาตรการที่ส่าคัญอาทิ มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น มาตรการตรึงราคาข้าวสาลีและน่ามัน

13 ล่าสุดในวันที่ 1 กันยายน 2565 รัฐบาลจีนได้ประกาศล็อคดาวน์เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ซึ่งมีประชากรอยู่ 21 ล้านคนและเป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่เนื่องจากเป็นฐานการผลิตของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ หลังจากได้มีการผ่อนคลายมาตรการในเมืองดังกล่าวมาแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม

14 โดยในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 PBOC ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Medium-term Lending Facility: MLF) ประเภท 1 ปี ลงเหลือร้อยละ 2.75 จากร้อยละ 2.85 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่สองในปี 2565 นอกจากนี้ PBOC ยังได้เพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดการเงินผ่านการท่า Reverse Repos วงเงินรวม 2 พันล้านหยวน นอกจากนี้ ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 PBOC ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีลงเป็นร้อยละ 3.65 จากเดิมร้อยละ 3.70 และปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีลงเป็นร้อยละ 4.30 จากร้อยละ 4.45

15 ดัชนีมูลค่าการค้าปลีกของสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 12.9 ร้อยละ 7.2 และร้อยละ 12.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 15.1 ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 9.6 ในไตรมาสที่สอง ตามล่าดับ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.5 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 20.8 ร้อยละ 13.0 และร้อยละ 15.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ

16 ธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2565 จากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 4.25 ในขณะที่ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2565 จากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 4.25 เช่นกัน ส่วนธนาคารกลางของมาเลเซียได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 8 กันยายน 2565 จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.5 และธนาคารกลางเวียดนามได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2565 จากร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 5.0

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2566

เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย สอดคล้องกับการด่าเนินนโยบายการเงินที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตพลังงานที่ยังคงยืดเยื้อจากการด่าเนินมาตรการคว่าบาตรและการลดการน่าเข้าพลังงานจากรัสเซีย และเศรษฐกิจกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ขณะที่บางประเทศมีความเสี่ยงจากปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สินต่างประเทศสูง ส่วนเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นอย่างช้า ๆ ตามแนวโน้ม การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการจ่ากัดการเดินทางท่ามกลางความเสี่ยงและข้อจ่ากัดจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนเงื่อนไขและสมมติฐานที่ส่าคัญ ดังนี้ (1) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ ไม่น่าไปสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและยาวนาน และไม่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกจนท่าให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ในประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศรายได้น้อยที่มีปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจนส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม (2) ความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และจีน รวมถึงความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ไม่ขยายไปสู่การใช้ก่าลังทางการทหารในพื้นที่อื่น ๆ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง รวมถึงการแบ่งขั้วทางอ่านาจทางการเมืองโลก ไม่น่าไปสู่มาตรการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงจนส่งผลต่อปริมาณการค้าโลกถดถอยอย่างรุนแรง (3) ตลาดพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์สามารถปรับตัวได้ดีขึ้นตามล่าดับ และไม่มีการปรับลดการน่าเข้าพลังงานโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติอย่างฉับพลันจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน ในภูมิภาคยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤตการขาดแคลนพลังงานและอาหารจนน่าไปสู่การเพิ่มขึ้นที่รุนแรงของระดับราคาพลังงานและสินค้า ที่ส่าคัญ และ (4) การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ไม่น่าไปสู่การบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการจ่ากัดการเดินทางระหว่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้นอีกครั้งจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.0 ในปี 2565 ตามลาดับ โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศส่าคัญ ๆ ดังนี้

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 ในปี 2566 ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 1.7 และร้อยละ 5.9 ในปี 2565 และปี 2564 ตามล่าดับ โดยเป็นผลมาจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในภาคที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มชะลอลงอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage loan rate) สะท้อนจากข้อมูลยอดการขายบ้านเดี่ยวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่มีนาคม 2565 และดัชนีสถานการณ์ตลาดบ้าน (Housing Market Index) ปรับตัวลดลงต่าสุดในรอบ 28 เดือน ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 102.5 ลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ แนวโน้มการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจะท่าให้ภาคการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัว สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคมที่ลดลงสู่ระดับ 50.4 เทียบกับ 52.0 ในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นระดับต่าสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการที่ปรับลดลงจากระดับ 49.3 ในเดือนก่อนหน้าเป็น 47.8 ในเดือนตุลาคม และเป็นการอยู่ในระดับต่ากว่า 50 เป็นเดือน 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2566 แรงกดดันเงินเฟ้อจะเริ่มผ่อนคลายลงตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ แต่จะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายนโยบายการเงินที่ร้อยละ 2.0 ส่งผลให้คาดว่าในกรณีฐานธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและลดขนาดงบดุลอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 256617 เพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากปี 2565 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของรัฐบาลผ่านโครงการลงทุนภายใต้ Inflation Reduction Act ในการสนับสนุนความมั่นคงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ CHIPS and Science Act มูลค่า 2.48 แสนล้านดอลลาร์สรอ. ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐฯ

เศรษฐกิจยูโรโซนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.6 ในปี 2565 ตามการชะลอตัวของภาคการผลิต โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อซึ่งน่าไปสู่การด่าเนินมาตรการคว่าบาตรอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการลดการน่าเข้าพลังงานจากรัสเซีย ท่าให้ภาคการผลิตเผชิญกับต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของหลายประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง อาทิ เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และเช็กเกีย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น ขณะเดียวกัน อุปสงค์ภายในประเทศมีข้อจ่ากัดเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างต่อเนื่อง18 เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในปี 2566 ตามต้นทุนพลังงานและค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ ข้อมูลในเดือนตุลาคม 2565 ชี้ให้เห็นสัญญาณการชะลอตัวในภาคการผลิต สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือนตุลาคม 2565 ที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.1 และ 48.6 ต่าสุดในรอบ 29 เดือน และ 20 เดือน ตามล่าดับ เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2565 ลดลงมาอยู่ที่ (-27.6) รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่าสุดในรอบ 18 เดือน 23 เดือน และ 19 เดือน ตามล่าดับ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากการด่าเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ ในระยะปานกลางของสหภาพยุโรป19

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 1.4 ในปี 2565 โดยมีแรงสนับสนุนที่ส่าคัญจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศตามความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น (Pent-up demand) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่คลี่คลายลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวสะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ลดลง และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่าในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์20 นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นชัดเจนภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่มีเงื่อนไขนับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2565 ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการด่าเนินนโยบายการเงิน21 และนโยบายการคลัง22 เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินเยน โดย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2565 ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. นับเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 32 ปี ส่งผลให้ต้นทุนการน่าเข้าสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอันจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและท่าให้ดุลการค้าของญี่ปุ่นมีแนวโน้มขาดดุลอย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในปี 2565 โดยมีแรงสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากแนวโน้ม การผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดมากขึ้นภายหลังจากการบังคับใช้อย่างเข้มงวดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงโดยในเดือนตุลาคม 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ร้อยละ 2.1 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการด่าเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ23 รวมถึงการด่าเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางจีน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2566 ยังคงมีข้อจ่ากัดจากปัญหาการขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยยอดขายอสังหาริมทรัพย์สะสม 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 9.9 ล้านล้านหยวน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 26.3 และเป็นระดับต่าสุดนับตั้งแต่ปี 2560 นอกจากนี้ ภาคการส่งออกและอุตสาหกรรมการผลิต

17 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการฯ ได้ประกาศแผนการลดขนาดงบดุลต่อเนื่องจาก การประชุมครั้งก่อน โดยธนาคารกลางจะปรับลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลลงเดือนละ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. และปรับลดการถือครองตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นหลักประกันการจ่านอง (MBS) ลงเดือนละ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ.

18 ธนาคารกลางยุโรปในการประชุมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ส่าคัญ ได้แก่อัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations Rate อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility และดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารกลางจากร้อยละ 1.25 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 2.00 ร้อยละ 2.25 และ ร้อยละ 1.50 ตามล่าดับ

19 ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาวของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 - 2570 วงเงิน 1.07 ล้านล้านยูโร รวมถึงงบประมาณเพิ่มเติมจากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU และมาตรการสนับสนุนชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านการว่างงานในกรณีฉุกเฉิน (SURE) วงเงิน 8 แสนล้านยูโรและ 9.4 หมื่นล้านยูโร ตามล่าดับ

20 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นได้ประกาศเพิ่มค่าจ้างขั้นต่าทั่วประเทศ 30 - 33 เยนต่อชั่วโมง โดยมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

21 เมื่อวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติให้ยังคงด่าเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น ไว้ที่ร้อยละ -0.1 และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ช่วงอายุ 10 ปี ที่ร้อยละ 0 (Yield curve control) โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะด่าเนินนโยบายการเงิน แบบขยายตัวต่อไปจนกระทั่งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสามารถรักษาระดับที่ร้อยละ 2 อีกทั้งธนาคารกลางญี่ปุ่นประเมินว่า Output Gap ในปัจจุบันยังคงมีค่าต่ากว่าศูนย์

22 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 คณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาการขยายตัวของเศรษฐกิจและเยียวยาผลกระทบจาก ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมวงเงิน 39.0 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.6 ของ GDP โดยมีมาตรการที่ส่าคัญได้แก่ (1) มาตรการเยียวยาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน่ามันและค่าจ้าง วงเงิน 12.2 ล้านล้านเยน (2) มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคส่วนและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนอ่อนค่า วงเงิน 4.8 ล้านล้านเยน (3) มาตรการเร่งการด่าเนินมาตรการทุนนิยมยุคใหม่ (New form of capitalism) วงเงิน 6.7 ล้านล้านเยน และ (4) มาตรการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม วงเงิน 10.6 ล้านล้านเยน อาทิ มาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 มาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

23 รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ส่าคัญ ได้แก่ การลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะในระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งยังปรับเพิ่มเพดานการกู้ยืมส่าหรับรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภครวมถึงการให้รัฐบาลท้องถิ่นเข้าควบคุมโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จพร้อมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องผ่านธนาคารพาณิชย์เพื่อให้โครงการสามารถด่าเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ได้ประกาศมาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีมาตรการส่าคัญ อาทิ มาตรการสนับสนุนด้านเงินลงทุน พื้นที่ส่าหรับการด่าเนินกิจการ ด้านการขนส่ง รวมถึงด้านทรัพยากรบุคคล การสนับสนุนด้านการลงทุน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนรวมถึงการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนานวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีมาตรการเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติน่าผลก่าไรที่ได้รับกลับมาลงทุนเพื่อต่อยอดในประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้มาตรการ CHIPS and Science Act ของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปขยายตัวต่ากว่าช่วงก่อนหน้าการแพร่ระบาด

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มขยายตัวช้าลงตามการชะลอตัวของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส่าคัญ รวมทั้งแรงกดดันจากระดับราคาสินค้าในตลาดโลกที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ขณะเดียวกันอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอลง เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ และเป็นการชะลอตัวลงภายหลังจากเร่งขึ้นมากในปี 2565 โดยคาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2566 ชะลอลงจากร้อยละ 2.9 ในปี 2565 และคาดว่าธนาคารกลางเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะด่าเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง24 ส่าหรับเศรษฐกิจสิงคโปร์และไต้หวันคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 2.5 ในปี 2566 ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 และร้อยละ 3.1 ในปี 2565 ส่วนเศรษฐกิจฮ่องกงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 0.4 ในปีก่อนหน้า ตามแนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดทั้งของฮ่องกงและจีน รวมถึงการผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศของฮ่องกง25

เศรษฐกิจประเทศกลุ่มอาเซียน มีแนวโน้มขยายตัวตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของหลายประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าระหว่างประเทศยังคงมีข้อจ่ากัดจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าส่าคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ท่าให้ธนาคารกลางต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ต่อเนื่องจากในช่วงปลายปี 256526 นอกจากนี้ เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐน้อยลงภายหลังจากการสิ้นสุดลงของมาตรการทางการคลังเพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาด โดยหลายประเทศต้องปรับลดการขาดดุลงบประมาณเพื่อชดเชยการเพิ่มขึ้นของ หนี้สาธารณะในช่วงที่ผ่านมา27 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2566 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จะขยายตัวร้อยละ 4.5 ร้อยละ 4.2 ร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5.2 ชะลอตัวจากร้อยละ 4.8 ร้อยละ 5.2 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 7.0 ในปี 2565 ตามล่าดับ กฎหมาย Inflation Reduction Act และกฎหมาย The CHIPS and Science Act ของสหรัฐฯ

ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มีการตราร่างกฎหมายส่าคัญ 2 ฉบับที่มีวงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์มูลค่ารวมประมาณ 9.85

ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มีการตราร่างกฎหมายส่าคัญ 2 ฉบับที่มีวงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์มูลค่ารวมประมาณ 9.85 แสนล้าน

ดอลลาร์ สรอ. เพื่อมุ่งเน้นบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงผ่านการลดการขาดดุลของภาครัฐ ควบคู่ไปกับการจัดสรรงบประมาณส่าหรับการลงทุนและพัฒนา

ในสาขาเศรษฐกิจที่ส่าคัญทั้งด้านพลังงาน สาธารณสุข และอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) กฎหมาย Inflation

Reduction Act มูลค่า 7.37 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และ (2) กฎหมาย The CHIPS and Science Act มูลค่า 2.48 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการเพิ่มเติมจาก

กฎหมาย Infrastructure Investment and Jobs Act มลู ค่า 5.50 แสนลา นดอลลาร สรอ. ทไ ดป้ ระกาศใชเ มอื่ 15 พฤศจิกายน 2564 โดยมรี ยละเอยี ดสรปุ ได้ ดงั นี้

1) กฎหมาย Inflation Reduction Act ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อผ่านการลด

การขาดดุลภาครัฐ ขณะเดียวกันมีการเพิ่มการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนที่ส่าคัญ ประกอบด้วย (1) การลงทุนในด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

งบประมาณ 3.91 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. อาทิ การลงทุนในด้านความมั่นคงทางพลังงานจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดเพื่อเป้าหมาย

ในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การให้เครดิตภาษีแก่ครัวเรือนหรือผู้ประกอบการที่ใช้พลังงานสะอาด และ (2) การใช้จ่ายด้านสาธารณสุข (Healthcare

Affordability Program) งบประมาณ 1.08 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้จะมีการปฏิรูประบบภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลเพื่อมาใช้จ่ายตามโครงการดังกล่าว

อาทิ การขึ้นอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่าส่าหรับภาคเอกชนรายใหญ่เป็นร้อยละ 15 ภาษีการซื้อคืนหุ้นร้อยละ 1 รวมถึงการปรับโครงสร้างราคา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์

โดยรายงานการวิเคราะห์ของส่านักงบประมาณประจ่ารัฐสภาสหรัฐฯ (Congress Budget. Office: CBO)1 ประมาณการว่ากฎหมายดังกล่าวจะลดการขาดดุลของสหรัฐฯ

ได้ประมาณ 2.37 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงระยะเวลา 10 ปี (2565 - 2574)

2) กฎหมาย CHIPS and Science Act มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน

กลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และการเสริมสร้างความมั่นคงทางการค้าในอนาคต มูลค่าการลงทุนรวม 2.48 แสนล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (2565 - 2569) โดยกฎหมายแบ่งการจัดสรรงบประมาณ 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

หรือกฎหมาย Creating Helpful Incentives to Produce Semiconductors (CHIPS) มูลค่า 5.42 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ส่าหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและ

สร้างแรงจูงใจแก่ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ รวมทั้งงบส่าหรับเครดิตภาษีอีก 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (2) ด้านการวิจัยพัฒนา การส่งเสริมการแข่งขันและ

นวัตกรรม มูลค่า 1.7 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมุ่งเน้นการให้ทุนสนับสนุนหน่วยงานวิจัยทั่วสหรัฐฯ และ (3) งบประมาณจัดสรรเพิ่มเติมขอ งศาลฎีกา

(Supreme Court Security Funding Act) มูลค่า 20 ล้านดอลลาร์ สรอ.

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2564 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP เทียบกับการขาดดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP ในปี 2564

ในการแถลงข่าววันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ส่านักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทย ในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 3.2 เท่ากับขอบบนของช่วงการประมาณการร้อยละ 2.8 - 3.2 ในการแถลงข่าวครั้งก่อนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 โดยมีการปรับองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี และการปรับเปลี่ยนสมมติฐาน การประมาณการที่ส่าคัญ ๆ ดังนี้

1) การปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน จากร้อยละ 4.4 ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นร้อยละ 5.4 เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.0 ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งส่งผลให้ในช่วงสามไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 6.5 และสูงกว่า ที่คาดการณ์ไว้เดิม และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติมากขึ้น การปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานและฐานรายได้ และการด่าเนินมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายของภาครัฐบาล

2) การปรับประมาณการการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจากร้อยละ 3.1 ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 3.9 เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.0 ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งส่งผลให้ในช่วงสามไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 5.3 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม อย่างไรก็ดี คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามแนวโน้มการชะลอตัวของการส่งออก

3) การปรับประมาณการการขยายตัวของการส่งออกสุทธิ โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับลดลงจากร้อยละ 3.4 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับสมมติฐานเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ขณะที่คาดว่าปริมาณการน่าเข้าสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี และการปรับเพิ่มการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน

6. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566

เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่ส่าคัญจากการฟื้นตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน และการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงและข้อจ่ากัดจากความผันผวนและแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เงื่อนไขทางการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจากภาระหนี้สิน ที่อยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่อาจท่าให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ากว่าที่คาดการณ์

ปัจจัยสนับสนุน

1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ตามความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มกลับมาเป็นปกติมากขึ้น ภายหลังจากการเปิดให้มี การเดินทางระหว่างประเทศทั้งของไทยและประเทศต้นทางนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง28 นับตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นมา ประกอบกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินจากต่างประเทศ ส่งผลให้ในเดือนตุลาคม 2565 มีจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยทั้งสิ้น 1,437,841 คน หรือคิดเป็น 46,382 คนต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยสูงขึ้นจาก 17,387 คนต่อวัน และ 39,218 คนต่อวันในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม ตามล่าดับ ขณะเดียวกันในกรณีฐานคาดว่าประเทศจีนจะเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมและเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 256629 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังประเทศไทยคาดว่าจะมีจ่านวนสูงขึ้นอย่างมีนัยส่าคัญ สอดคล้องกับการคาดการณ์ขององค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ที่ประเมินว่าจ่านวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2566 จะอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านคน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 71 เมื่อเทียบกับปี 2565 นอกจากนี้ การท่องเที่ยวภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นปกติมากขึ้นและเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย

2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ โดยการลงทุนภาคเอกชนในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2564 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 6.36 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนยังคงอยู่ในระดับสูง 4.39 แสนล้านบาท และมีการอนุมัติให้การส่งเสริม การลงทุนและการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งสิ้น 5.02 และ 3.57 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 และ 57.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล่าดับ โดยคาดว่าแนวโน้มการส่งเสริมการลงทุนในปี 2566 จะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนระยะ 5 ปี (ปี 2566 - 2570) ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566 เป็นต้นไป สอดคล้องกับมูลค่าการน่าเข้าวัตถุดิบและ

28 ศบค. ได้ประกาศยกเลิกมาตรการ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีการกักตัว นอกจากนี้ยังได้มีการประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 จากการเป็นโรคต้องห้ามส่าหรับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

29 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ทางคณะกรรมการสาธารณสุขของจีน (National Health Commission) ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด โดยมีรายละเอียดที่ส่าคัญดังนี้ มาตรการส่าหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศจ่าต้องมีผลตรวจเชื้อโควิด (PCR Test) ที่ไม่พบการติดเชื้อเป็นเวลา 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง จากเดิมที่จะต้องมีการตรวจถึง 2 ครั้ง รวมถึงการลดจ่านวนวันส่าหรับการกักตัวในโรงแรมเหลือ 5 วัน จากเดิม 7 วันส่าหรับผู้ที่ไม่พบการติดเชื้อ แต่ยังต้องท่าการกักตัวที่บ้านต่อเป็นเวลา 3 วันเช่นเดิม และมาตรการควบคุมภายในประเทศ ประกอบด้วย การลดจ่านวนวันกักตัวจาก 5 วัน เหลือ 3 วันส่าหรับผู้มีความเสี่ยงสูงจากการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโดยให้ท่าการกักตัวภายในบ้าน ส่าหรับผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งยังตรวจไม่พบเชื้อ ไม่ต้องท่าการกักตัว นอกจากนี้ ยังได้ยกเลิกการกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการยกเลิกบทลงโทษส่าหรับสายการบิน ที่มีผู้โดยสารติดเชื้อเดินทางเข้าประเทศ สินค้าขั้นกลาง เมื่อไม่รวมสินค้ากลุ่มเชื้อเพลิงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.4 ขณะที่ปริมาณการน่าเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางขยายตัว ร้อยละ 5.5 โดยกลุ่มสินค้าที่มูลค่าการน่าเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องจักร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ประกอบกับแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในหลายอุตสาหกรรมส่าคัญ อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของการลงทุนภาครัฐในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวตามกรอบวงเงินลงทุนประจ่าปีงบประมาณ 2566 วงเงิน 6.95 แสนล้านบาท เทียบกับ 6.13 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2565 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ส่าคัญ ซึ่งคาดว่าจะมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในปี 2566 เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก และโครงการพัฒนาระบบส่งและจ่าหน่าย ระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภายในประเทศ สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดผ่อนคลายลงอย่างต่อเนื่องภายหลังจากกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่สูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 47.7 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 5 และถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 39 เดือน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของฐานรายได้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะรายได้ในภาคเกษตรกรรมและ ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของตลาดแรงงานเข้าสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด สะท้อนจากอัตราการว่างงานในไตรมาสที่สามของปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.23 เทียบกับร้อยละ 1.93 และร้อยละ 1.10 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและปี 2562 ตามล่าดับ สอดคล้องกับจ่านวนผู้มีงานท่าที่เพิ่มขึ้นเป็น 39.57 ล้านคน เทียบกับ 37.71 ล้านคนในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

4) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคการเกษตร ตามแนวโน้มการขยายตัวของผลผลิตการเกษตร โดยมีปัจจัยสนับสนุนส่าคัญจากปริมาณน่าที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ดังจะเห็นได้จากปริมาณน่าใช้การได้ในเขื่อนหลักลุ่มแม่น่าเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบ่ารุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 14,056 ล้านลูกบาศก์เมตร สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 83.3 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรในปีการเพาะปลูก 2566/2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (2566 - 2570) : บทบาทสาคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนของไทยในระยะถัดไป

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ออกประกาศมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริม การลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยก่าหนด 7 หมุดหมายส่าคัญของยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ และยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลาง การลงทุนของภูมิภาค ประกอบด้วย (1) การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยยกระดับอุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีความโดดเด่นควบคู่กับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งของ Supply Chain (2) การเร่งเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ Smart & Sustainability (3) การผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและประตูการค้าการลงทุนของภูมิภาค (4) การส่งเสริม SMEs และ Startup ให้เข้มแข็งและเชื่อมต่อกับโลก (5) การส่งเสริมการลงทุนตามศักยภาพพื้นที่เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง (6) การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม และ (7) ส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีศักยภาพให้ออกไปลงทุน ในต่างประเทศเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยผ่านกลไกขับเคลื่อนที่ส่าคัญ 3 ด้าน ได้แก่ (1) สิทธิประโยชน์ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี (Whole Package) (2) การบริการแบบครบวงจรทั้งก่อนและหลังการลงทุน และ (3) การสร้างระบบนิเวศและปรับปรุงกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุน

นอกจากนี้ เพื่อบรรลุหมุดหมายดังกล่าว ได้มีการก่าหนด 9 มาตรการส่าคัญส่าหรับส่งเสริมการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ประกอบด้วย (1) มาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความส่าคัญต่อการพัฒนาประเทศ (2) มาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม (Retention and Expansion Program) (4) มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร (Relocation Program) (5) มาตรการกระตุ้นการลงทุนในระยะฟื้นฟูเศรษฐกิจ (6) มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ Smart & Sustainability (7) มาตรการส่งเสริมการลงทุน SMEs (8) มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย และ (9) มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ทั้งนี้ ภายใต้ 9 มาตรการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว มีทั้งการปรับปรุงมาตรการเดิมให้ตรงจุดมากขึ้น ลดความซับซ้อน และเพิ่มมาตรการใหม่ อาทิ มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม (Retention and Expansion Program) และมาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร (Relocation Program) ซึ่งถือเป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อเน้นย่าการเป็นฐานการลงทุนส่าหรับอุตสาหกรรมใหม่และศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการยกจุดแข็งของไทยที่สามารถตอบโจทย์ความท้าทายของโลก ทั้งความมั่นคงด้านอาหาร การเป็นแหล่งพลังงานสะอาด และการมีฐานอุตสาหกรรมสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นปัจจัยส่าคัญที่เอื้อต่อการลงทุนในอนาคต รวมถึงออกมาตรการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค เพิ่มเติม เพื่อสร้างโอกาสและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ ?เศรษฐกิจใหม่? โดยมีเป้าหมายส่าคัญ 3 ด้าน ได้แก่ (1) Innovative: เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ (2) Competitive: เศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวเร็ว และสร้างการเติบโตสูง และ (3) Inclusive: เศรษฐกิจที่ค่านึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้างโอกาสและลดปัญหา ความเหลื่อมล่า

การส่งเสริมการลงทุนในระยะต่อไปของไทยท่ามกลางโอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น จะเป็นการส่งเสริม การลงทุนของประเทศเพื่อน่าไปสู่การปรับห่วงโซ่อุปทานและการสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตซึ่งก่อให้เกิดโอกาสด้านการลงทุนและเพื่อบรรลุเป้าหมาย การเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค (Regional Hub) ที่ส่าคัญ 5 ด้าน ได้แก่ (1) Tech Hub ศูนย์กลางการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (2) BCG Hub เป็นศูนย์กลางการลงทุนตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (3) Talent Hub ศูนย์รวมผู้มีศักยภาพจากทั่วโลก (4) Logistics & Business Hub ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ตลอดจนเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ และ (5) Creative Hub ศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งการออกแบบ แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ เกมและอีสปอร์ต การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สาคัญในกลุ่มอาเซียนและนัยต่อเศรษฐกิจไทย

ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบที่ส่าคัญ ทั้งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความขัดแย้ง เชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้ออันส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตโลก รวมทั้งความตึงเครียดของประเทศมหาอ่านาจ ทั้งนี้ จึงมีค่าถามที่น่าสนใจ คือเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งไทยจะได้รับผลกระทบหรือประโยชน์มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการลงทุนระหว่างประเทศที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะต่อไป เมื่อพิจารณาจากข้อมูลพบว่า ในปี 2564 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 1.74 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.1 กลับมาขยายตัวร้อยละ 42.3 จากการลดลงร้อยละ 29.7 (เงินลงทุน 1.22 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ในปี 2563 นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศก่าลังพัฒนาและกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 30.0 และร้อยละ 19.3 ตามล่าดับ สะท้อนให้เห็นศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตและลงทุนที่ส่าคัญของโลก โดยในกลุ่มประเทศก่าลังพัฒนาพบว่าภูมิภาคอาเซียนเป็นฐานของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอันดับสองรองจากจีน ขณะเดียวกันพบว่า สัดส่วนการลงทุน FDI ต่อโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.0 ในปี 2564 เทียบกับสัดส่วนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 7.4 ในช่วงปี 2554 - 2560 โดยสาขาที่มีการเข้ามาลงทุนในอาเซียนเป็นสัดส่วนที่สูง ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ และดิจิทัล

ภายใต้กระแสการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศยุโรป พบว่า กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้รับความสนใจในการเป็นฐานการผลิตที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากแต่ละประเทศ ในภูมิภาคอาเซียนมีจุดเด่นในด้านการเข้าไปลงทุนที่แตกต่างกันทั้งความได้เปรียบด้านโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับและการเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ส่าคัญ ในการผลิตแบตเตอรี่ ประกอบกับตลาดภายในประเทศที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้สูง ส่าหรับประเทศไทย เมื่อพิจารณาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยในปี 2564 พบว่ามีมูลค่า 11.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นอัตราขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 335.62 และมีสัดส่วนร้อยละ 6.6 ต่อการลงทุนรวมในอาเซียน ถือเป็นอันดับห้ารองจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย ตามล่าดับ โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนในสาขาการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และการผลิตแบตเตอรี่ส่าหรับยานยนต์ไฟฟ้า และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามาขอรับการส่งเสริม การลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 275,624 ล้านบาท3 โดยจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 45,024 ล้านบาท รองลงมาคือ ไต้หวัน 39,256 ล้านบาท และญี่ปุ่น 37,591 ล้านบาท โดยการลงทุนจากจีนและไต้หวันส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มีมูลค่าเงินลงทุนรวมอยู่ที่ 76,876 ล้านบาท และกิจการที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด คือ กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุน อยู่ที่ 53,991 ล้านบาท โดยในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐของไทยได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าผ่านมาตรการลดภาษีน่าเข้ารถยนต์และชิ้นส่วน และการลดภาษีสรรพสามิตที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศมากขึ้น และส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้น ข้อมูลนับตั้งแต่ปี 2560 ถึงปัจจุบัน มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จากต่างประเทศ ที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้ว รวมจ่านวนทั้งสิ้น 13 ราย ประกอบด้วย MITSUBISHI, TOYOTA, MAZDA, TAKANO, SKYWELL, MG, NISSAN, HONDA, FOMM, BENZ, GWM, BYD และ HORIZON PLUS และในจ่านวนนี้มีบริษัทผู้ผลิตจ่านวน 2 ราย ได้แก่ ฟอม์ม (FOMM) และทากาโน่ (TAKANO) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้ด่าเนินการผลิตและจัดจ่าหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์แล้ว

การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ

กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 3,185,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ

2.7 โดยแบ่งเป็นงบรายจ่ายประจ่า 2,520,329.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากปีก่อน และวงเงินรายจ่ายลงทุน 664,670.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 17.8 จากปีก่อน ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2566 พบว่า มีวงเงินงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจรวมทั้งสิ้น 443,351

ล้านบาท1 แบ่งเป็น (i) งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง2 วงเงิน 226,247 ล้านบาท และ (ii) งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทมหาชนจ่ากัด

และบริษัทในเครือ 5 แห่ง วงเงิน 217,077 ล้านบาท และหากจ่าแนกตามสาขาการลงทุน พบว่า มีสัดส่วนงบลงทุนในสาขาพลังงาน สาขาขนส่ง

สาขาสาธารณูปการ และสาขาอื่น ๆ ร้อยละ 61.0 ร้อยละ 24.5 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 8.5 ตามล่าดับ โดยในปี 2566 คาดว่าจะมีการเบิกจ่าย

งบลงทุนรัฐวิสาหกิจในโครงการส่าคัญ จ่านวน 65 โครงการ วงเงินรวม 141,063.37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.8 ของวงเงินงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

ทั้งนี้ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2566 ได้แก่ การลงทุนในสาขาขนส่ง (5 โครงการ) สาขาพลังงาน

(3 โครงการ) สาขาพาณิชย์และบริการ (1 โครงการ) และสาขาสาธารณูปการ (1 โครงการ) โดยรวมคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนใน 10 โครงการ

ทั้งสิ้น 83,945.12 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.5 ของประมาณการเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการส่าคัญรวมจ่านวน 65 โครงการ ดังนั้น เพื่อให้การลงทุน

ภาครัฐสามารถขยายตัวและเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2566 และระยะต่อไป จึงควรให้ความส่าคัญกับการเร่งรัดการลงทุนที่ผูกพันสัญญาไว้แล้ว

และเร่งด่าเนินการโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุนแล้วให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็ว ข้อจากัดและปัจจัยเสี่ยง

ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงที่ต้องติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสาคัญ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ภาวะตลาดการเงินตึงตัว และต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นจนอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวและมีความเสี่ยง ที่เศรษฐกิจของบางประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ทิศทางการด่าเนินนโยบายการเงินที่เริ่มแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจหลักและเศรษฐกิจอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดความความผันผวนในตลาดเงิน ตลาดทุน และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อ กลุ่มประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเปราะบางและมีสัดส่วนหนี้สิ้นที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง (2) ความยืดเยื้อของปัญหา ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่อาจน่าไปสู่การด่าเนินมาตรการคว่าบาตรและมาตรการตอบโต้เพิ่มเติม โดยเฉพาะหากน่าไปสู่การระงับการน่าเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียอย่างฉับพลันและไม่สามารถจัดหาแหล่งพลังงานจากประเทศอื่นหรือสะสมปริมาณคงคลัง (Stock) ได้อย่างเพียงพอ ประกอบกับปัญหาระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะกรณีไต้หวัน ที่อาจน่าไปสู่การด่าเนินมาตรกีดกันทางการค้าและการลงทุนที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบซ่าเติมต่อปัญหาห่วงโซ่การผลิตโลก และ (3) แนวโน้มการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดของเศรษฐกิจจีน แม้ว่าภายใต้กรณีฐานคาดว่ารัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเป็นล่าดับนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่กลับมารุนแรงมากขึ้น30 ซึ่งอาจน่าไปสู่การกลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดอีกครั้ง จนส่งผลให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศช้ากว่าที่คาด ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจีนยังเผชิญกับปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าและการลงทุนของสหรัฐฯ จากประเด็นความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวัน

2) ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย โดยในภาคธุรกิจสัดส่วนหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mention Loans: SMLs) ต่อสินเชื่อรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่สองของปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.6 กับร้อยละ 11.7 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.2 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ตามล่าดับ เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สองของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 88.2 เทียบกับร้อยละ 78.8 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ ภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นข้อจ่ากัดต่อการฟื้นตัวทั้งของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถในการช่าระหนี้ภายใต้ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs ครัวเรือนรายได้น้อย รวมถึงลูกหนี้ที่ได้รับการพักช่าระหนี้ภายใต้มาตรการพักช่าระหนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งก่าลังจะสิ้นสุดลง

3) ความเสี่ยงจากการกลับมาแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่อนคลายลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนมีความคืบหน้าตามล่าดับ31 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาทิ โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1 BQ.1.1 BA5 BN1 และ XBB รวมถึงสายพันธุ์ผสมเดลตาครอน XBC ที่มีศักยภาพสูง ในการหลบหนีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน และมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดได้เร็วและรุนแรงมากกว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ก่อนหน้า นอกจากนี้ อัตราการได้รับวัคซีนของประเทศที่มีรายได้น้อย ส่งผลให้เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีโอกาสที่จะแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง และเป็นความเสี่ยงที่จะท่าให้เชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ในระยะต่อไป ความมั่นคงทางพลังงานของสหภาพยุโรปจากผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออันน่าไปสู่การด่าเนินมาตรการคว่าบาตรจากกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปต่อรัสเซีย และส่งผลให้

รัสเซียตอบโต้ด้วยการลดการส่งออกน่ามันดิบและก๊าซธรรมชาติให้แก่ประเทศในสหภาพยุโรป1 ซึ่งสร้างความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางพลังงานต่อภูมิภาค

เนื่องจากสหภาพยุโรปมีอัตราการพึ่งพิงการน่าเข้าพลังงานจากรัสเซียในสัดส่วนที่สูง ข้อมูลในปี 2563 พบว่าสหภาพยุโรปมีการน่าเข้าพลังงานร้อยละ 57.5

ของพลังงานที่ใช้งานทั้งหมด และเป็นการน่าเข้าจากรัสเซียทั้งสิ้นร้อยละ 24.4 หรือคิดเป็นสัดส่วนการพึ่งพิงการน่าเข้าจากรัสเซียร้อยละ 14.0 ของพลังงาน

ที่ใช้งานทั้งหมด2 โดยลิทัวเนีย กรีซ และเนเธอร์แลนด์มีสัดส่วนการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียในสัดส่วนที่สูงที่สุด จึงนับว่าหลายประเทศในภูมิภาคมีโอกาสที่จะ

ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและเผชิญกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางพลังงานมาก

ภายใต้ความเสี่ยงดังกล่าวจึงท่าให้ประเทศในสหภาพยุโรปมีการปรับตัวและกระจายโครงสร้างการน่าเข้าพลังงานจากแหล่งในประเทศอื่น ๆ

นอกเหนือจากรัสเซียมากขึ้น โดยเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการน่าเข้าน่ามันดิบและก๊าซธรรมชาติของสหภาพยุโรป พบว่าสัดส่วนการน่าเข้า

น่ามันดิบจากรัสเซียปรับลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยการเพิ่มการน่าเข้าจากสหรัฐฯ อิรัก และซาอุดิอาระเบีย เป็นหลัก ขณะที่การน่าเข้าก๊าซธรรมชาติ

ยังมีการน่าเข้าจากรัสเซียในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า แม้จะมีการเพิ่มการน่าเข้าจากก๊าซธรรมชาติจากสหรัฐฯ จ่านวนมากก็ตาม ดังนั้น หากในระยะ

ต่อไป สหภาพยุโรปไม่สามารถหาอุปทานก๊าซธรรมชาติหรือแหล่งพลังงานอื่น ๆ มาทดแทนการน่าเข้าจากรัสเซียได้ก็จะส่งผลต่อความมั่นคงทางพลังงานของ

ภูมิภาคอย่างมีนัยส่าคัญ ขณะเดียวกัน ประเทศต่าง ๆ ได้ด่าเนินการส่ารองพลังงาน (Stock) เอาไว้ ดังจะเห็นได้ว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติส่ารองของสหภาพ

ยุโรปอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้าอย่างมีนัยส่าคัญ โดยในสัปดาห์ที่ 41 ของปี 2565 มีก๊าซธรรมชาติส่ารองที่ 102,971 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบกับ 82,325

ล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2564 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 แนวโน้มดังกล่าวสะท้อนว่าในช่วงของฤดูหนาวที่มีความต้องการใช้พลังงานสูงนั้น สหภาพยุโรป

มีปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เพียงพอส่าหรับฤดูหนาวในปี 2565 ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในปี 2565 ได้ ขณะที่ในปี 2566 หากปริมาณพลังงานส่ารองทยอยหมดลง

ก็อาจส่งผลให้วิกฤติพลังงานในภูมิภาคทวีความรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในภาพรวม 1) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.0 ในปี 2565 โดยเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การด่าเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ความยืดเยื้อของประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนโดยเฉพาะจากการด่าเนินมาตรการคว่าบาตรของภูมิภาคยุโรปในการลด การพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซีย รวมทั้งประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจาก CHIP and Science Act ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบซ่าเติมปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลก ขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศก่าลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศหลักที่จะส่งผลให้ภาคการผลิตและภาคการส่งออกชะลอตัวลง

2) ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2566 ในช่วง 35.5 - 36.5 อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 35.2 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2565 โดยเป็นผลจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาทต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 สอดคล้องกับการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. (US Dollar trade weighted index) ตามการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนตุลาคมอยู่ที่เฉลี่ย 37.9 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเฉลี่ย 34.4 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.และ 36.4 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม ตามล่าดับ อย่างไรก็ตาม คาดว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างช้า ๆ สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย การกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และแนวโน้มการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฉพาะในช่วงหลังของปี 2566

3) ราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2566 อยู่ในช่วง 85.0 - 95.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงจากเฉลี่ย 98.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2565 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น ที่จะส่งผลให้อุปสงค์ต่อน่ามันดิบลดลง สอดคล้องกับการประมาณการโดยส่านักบริหารสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (US Energy Information Administration: EIA) ณ เดือนตุลาคม 2565 ที่คาดว่าความต้องการใช้น่ามันทั่วโลกในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในการประมาณของเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ จ่านวนแท่นขุดเจาะน่ามันของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ 622 แท่น สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 ประกอบกับการเร่งระบายน่ามันดิบออกจากคลังน่ามันส่ารองของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรตามที่ได้มีการตกลงกันเดือนมีนาคม 2565 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจจะท่าให้ราคาน่ามันดิบในตลาดโลก มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถปรับตัวลดลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแนวโน้มการปรับลดก่าลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน่ามันและพันธมิตร (OPEC+) และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุม และทิศทางการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.

4) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในปี 2566 ลดลงร้อยละ (-0.5) - 0.5 และร้อยละ (-1.5) - (-0.5) เทียบกับการขยายตัวจากร้อยละ 4.3 และร้อยละ 12.5 ในปี 2565 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน่ามันดิบในตลาดโลก แนวโน้มการชะลอตัวลงเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แนวโน้มการลดลงของค่าระวางเรือส่าหรับการขนส่งระหว่างประเทศ รวมถึงฐานการขยายตัวที่สูงในปี 2565

5) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2566 รวม 1.20 ล้านล้านบาท โดยมีจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 23.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 0.57 ล้านบาท และ 10.2 ล้านคน ในปี 2565 ตามความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีมากขึ้นภายหลังการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต้นทางนักท่องเที่ยว รวมทั้งการเปิดด่านชายแดน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเทศต้นทางที่ส่าคัญ อาทิ มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น นอกจากนี้ ภายใต้กรณีฐาน คาดว่ารัฐบาลจีนจะเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างประเทศได้ภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

6) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 93.0 ของงบประมาณทั้งหมด เทียบกับร้อยละ 94.6 ในปีงบประมาณ 2565 โดยแบ่งเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าที่ร้อยละ 98.0 เทียบกับร้อยละ 99.2 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ขณะที่อัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 75.0 เทียบกับร้อยละ 73.7 ในปีงบประมาณก่อนหน้า (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปีคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 86.0 ของงบประมาณทั้งหมด และเทียบกับร้อยละ 90.1 ในปีงบประมาณ 2565 โดยแบ่งเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าที่ร้อยละ 90.0 เทียบกับร้อยละ 93.1 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ขณะที่อัตรา การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 85.0 เทียบกับร้อยละ 88.8 ในปีงบประมาณก่อนหน้า และ (3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 70.0 ของวงเงินงบประมาณ คิดเป็นวงเงินลงทุนประมาณ 3.45 แสนล้านบาท ประมาณการเศรษฐกิจปี 2566

ในการแถลงข่าววันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ส่านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2565 ส่าหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่า จะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 เทียบกับร้อยละ 6.3 ในปี 2565 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP เทียบกับการขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP ในปี 2565

องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับ การขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 5.4 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ และตลาดแรงงาน ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.2 ในปี 2565 สอดคล้องกับการลดลงของกรอบงบประมาณรายจ่ายประจ่าภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2566 วงเงิน 2,489,923 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 จากกรอบวงเงิน 2,535,682 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 รวมถึงการสิ้นสุดของแรงสนับสนุนจากงบประมาณภายใต้ พระราชก่าหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาท

2) การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในปี 2565 โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัว ร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 3.9 ในปี 2565 สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและภาคการส่งออก ขณะที่ (2) การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 2565 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2566 วงเงิน 695,077 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากวงเงิน 612,566 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 รวมถึงแรงสนับสนุนจากความคืบหน้าในการด่าเนินการโครงการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ส่าคัญของรัฐวิสาหกิจ

3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบกับร้อยละ 7.5 ในปี 2565 โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 ในปี 2565 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ส่วนราคาสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.5) - 0.5 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในปี 2565 ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ตามจ่านวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 จะอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท เทียบกับ 0.57 ล้านล้านบาท ในปีก่อนหน้า ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เทียบกับร้อยละ 8.2 ในปี 2565

4) มูลค่าการนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบกับร้อยละ 17.8 ในปี 2565 โดยคาดว่าปริมาณการน่าเข้า จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในปีก่อนหน้า สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้า ขณะที่ราคาสินค้าน่าเข้าคาดว่าจะลดลงร้อยละ (-0.5) - (-1.5) เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.5 ในปี 2565 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน่ามันดิบ ขณะที่การน่าเข้าบริการคาดว่าจะขยายตัวจากปีก่อนหน้าตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการเดินทางออกนอกประเทศของคนไทย ท่าให้คาดว่าปริมาณการน่าเข้าสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 6.8 ในปี 2565

5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุล 1.77 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 1.91 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2565 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้า ขณะที่ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้คาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะเกินดุล 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP เทียบกับการขาดดุล 1.82 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นการขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP ในปี 2565

6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2566 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 เทียบกับร้อยละ 6.3 ในปี 2565 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน่ามันดิบ

7. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่ส่าคัญจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของ อุปสงค์ภายในประเทศ และการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับข้อจ่ากัดและความเสี่ยงจากความผันผวนและแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจจะส่งผลกระทบภาคการส่งออกและภาคการผลิต นอกจากนี้ เงื่อนไขทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจยังมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจ่ากัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ย อยู่ในช่วงขาขึ้น รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศในระยะต่อไป ซึ่งอาจท่าให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ากว่าการคาดการณ์ในกรณีฐาน ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2565 และปี 2566 จึงควรให้ความส่าคัญกับ

1) การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็นไปอย่างตรงจุดและเหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้แต่ละราย โดยให้ความส่าคัญต่อการแก้ไขภาระหนี้เดิมและการปรับโครงสร้างหนี้ ควบคู่ไปกับการจัดการหนี้นอกระบบ เพื่อให้มีความสามารถในการช่าระหนี้และไม่ให้เป็นข้อจ่ากัดต่อการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและเศรษฐกิจในระยะยาว

Economic Outlook

2) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยให้ความส่าคัญกับการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก 2566/2567 ที่มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูง

3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า ให้สามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ควบคู่ไปกับการรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิต โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ได้ประโยชน์จาก การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (2) การติดตามสถานการณ์การค้าโลกท่ามกลางแนวโน้มการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอ่านาจที่น่าไปสู่การยกระดับการด่าเนินมาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อศึกษาวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย (3) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อก่าหนดของประเทศผู้น่าเข้า (4) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี ที่ก่าลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าส่าคัญใหม่ ๆ รวมทั้งการเร่งรัดกระบวนการพิจารณา ในการตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศเป็นส่าคัญ และ (5) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน

4) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมส่าหรับปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยวให้เหมาะสมและเพียงพอเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ การพิจารณาความเพียงพอของเที่ยวบิน การเตรียมความพร้อมด้านแรงงาน รวมทั้งการพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่ออ่านวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย ให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ (2) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง และยกระดับศักยภาพและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน โดยเฉพาะการให้ความส่าคัญกับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ่านวยความสะดวก การบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรักษามาตรฐานความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว (3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรม ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีก่าลังซื้อสูง โดยเฉพาะกลุ่มพ่านักระยะยาว และ (4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมถึงการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การดูแลด้านสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เพื่อให้กิจการที่มีศักยภาพสามารถด่าเนินธุรกิจต่อไปได้ (2) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (3) การแก้ไขปัญหา ที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในภาคการผลิต (4) การด่าเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอ่านวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ควบคู่ไปกับการดึงดูดนักลงทุนจากกลุ่มประเทศใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ (5) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ด่าเนินการไปแล้ว รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ในแต่ละภูมิภาค (6) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่ส่าคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผน ที่ก่าหนดไว้ และ (7) การพัฒนาก่าลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

6) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2566 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด (2) การขับเคลื่อน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งรัดด่าเนินการในโครงการที่ส่าคัญ ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้ด่าเนินการแล้ว และ (3) การเพิ่มศักยภาพทางการคลังโดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการจัดล่าดับความส่าคัญด้านการใช้จ่าย เพื่อให้ฐานะการคลังอยู่ในระดับที่เพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้ความไม่แน่นอนของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะต่อไป

7) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงและอาจจะสร้างแรงกดดันและส่งผลกระทบซ่าเติมต่อเศรษฐกิจโลกและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งติดตาม และเฝ้าระวังปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง

8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่น เพื่อเตรียมการป้องกันได้อย่างทันท่วงที

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ