ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 21, 2023 13:12 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

NESDC ECONOMIC REPORT
ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566
กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค แถลงข่าว วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น.

ขยายตัวร้อยละ 1.4 (%YoY) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่สามของปี 2565 หลังปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ลดลงจากไตรมาสที่สามของปี 2565 ร้อยละ 1.5 (%QoQ_SA)

การส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี และการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลปรับตัวลดลง

สาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัว สาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศทั้ง การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP

คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของ การลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย อยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

ควรให้ความสำคัญกับ ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและ ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาด การสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิตของภาคการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิต และการขยายผลการทำเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์

โดย (i) การอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (ii) การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้ม การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง (iii) การติดตามประเมินสถานการณ์และเงื่อนไขการค้าโลก (iv) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิต (v) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (vi) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

โดย (i) การแก้ไขปัญหาข้อจำกัดและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งการพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ (ii) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน (iii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และ (iv) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะโครงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ii) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจต่าง ๆ (v) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ และ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น

ขยายตัวร้อยละ 1.4 (%YoY) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่สามของปี 2565 การส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี และการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลปรับตัวลดลง สาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขา การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ลดลงจากไตรมาสที่สามของปี 2565 ร้อยละ 1.5 (%QoQ_SA) เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 5.7 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่าย ในหมวดสินค้าคงทน ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดบริการและการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวดี โดยการใช้จ่ายลดลง ร้อยละ 0.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 2.6 ภายหลังจากเร่งใช้จ่ายและขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 33.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนขยายตัวร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะที่การใช้จ่ายยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 10.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 16.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของบริการในหมวดที่พักแรมและภัตตาคาร และ

ขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของค่าใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.0 จากระดับ 37.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส

ลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 37.6 ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 0.5 ตามการลดลงของค่าใช้จ่ายสำหรับ การรักษาโรคโควิด-19 และค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ลดลงร้อยละ 1.4 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ ร้อยละ 34.1 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 21.4 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 35.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.3 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 0.04 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 5.1 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 14.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาสร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.3 ขณะที่การลงทุนรัฐบาลลดลงร้อยละ 2.2 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 18.6 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 21.2 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 17.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)

การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.1 ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.9

มีมูลค่า 65,814 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกลดลง ร้อยละ 10.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 1.7) เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 23.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 8.4) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 1.5) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 9.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 31.2) ข้าว (ลดลงร้อยละ 2.2) ยาง (ลดลงร้อยละ 36.9) และน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 8.3) เป็นต้น เช่น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 31.3) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 0.5) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 0.2) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 6.2) และเครื่องดื่ม (ร้อยละ 2.2) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักลดลง ขณะที่การส่งออกไปยังตะวันออกกลาง และสหราชอาณาจักรขยายตัว เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลง ร้อยละ 7.3 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8

การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 285,375 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ ร้อยละ 4.2 ตามลำดับ

กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก สภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวย ได้แก่ กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 37.5) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 20.9) อ้อย (ร้อยละ 29.5) กุ้งขาวแวนนาไม (ร้อยละ 11.4) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.1) ได้แก่ สุกร (ลดลงร้อยละ 3.0) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.8) ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 0.7) และ ไข่ไก่ (ลดลงร้อยละ 3.0) เป็นต้น เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าสำคัญ อาทิ กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 38.4) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 27.6) สุกร (ร้อยละ 42.4) ไก่เนื้อ (ร้อยละ 25.6) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 19.0) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 39.2) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 13.7) และกุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 2.5) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้โดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 16.5 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในปี 2564 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0

ลดลงร้อยละ 4.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) และกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 5.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยลดลงร้อยละ 13.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

ลดลงร้อยละ 5.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และ- ขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 22.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 60.20 ต่ำกว่า ร้อยละ 62.61 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 64.51 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 42.5) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 8.7) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลง ร้อยละ 19.6) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ลดลงร้อยละ 38.5) และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 10.5) เป็นต้น

เช่น การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 8.5) การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 30.6) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ (ร้อยละ 6.1) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 3.4) และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ร้อยละ 36.5) เป็นต้น

การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2564 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.61

ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 30.6 แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 53.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามฐานการขยายตัวที่สูงขึ้น โดยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในไตรมาสนี้ มีจำนวน 5.465 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 55.66 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19) ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 0.239 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 362.1 ส่วน

อยู่ที่ 0.186 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 122.3 ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มี 0.425 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.9 สำหรับในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.64 สูงกว่าร้อยละ 26.25 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส

การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 39.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 15.0 ในปี 2564 โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 11.153 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,506.6 รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 1.207 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 217.0 และอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 47.93 สูงกว่าร้อยละ 14.03 ในปี 2564

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคบริการด้านการท่องเที่ยว และการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน สอดคล้องกับ ดัชนีรวมการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7

การผลิตสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในปี 2564

ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 9.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงของบริการขนส่งทางอากาศ และการขยายตัวต่อเนื่องของบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง เป็นสำคัญ สอดคล้องกับดัชนีบริการขนส่ง โดยดัชนีบริการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 179.4 ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และดัชนีบริการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ตามลำดับ ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 4.0 เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 7.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 2.8 ในปี 2564 โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 บริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8

ขยายตัวร้อยละ 0.1 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัว ของกิจกรรมการผลิตไฟฟ้า ในขณะที่กิจกรรมโรงแยกก๊าซปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 สอดคล้องกับการชะลอตัวของดัชนีการผลิตไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ

การผลิตสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564

ขยายตัวร้อยละ 2.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของ อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.3 และร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.6 และร้อยละ 3.0 ในปี 2564 ตามลำดับ การส่งออกบริการกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 65.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.9 ในปีก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 15.3 ในปี 2564 ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.9 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารกลับมาขยายตัวร้อยละ 39.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 15.0 ของปีก่อนหน้า สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.8 ในปี 2564 และสาขาการขายส่งและการขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2564 ส่วนสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2564 ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2564 และสาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.7 สำหรับอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 6.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP

  • โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวในเกณฑ์ดี ของภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.1 และ ร้อยละ 2.7 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.6 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 5.7 แม้จะชะลอตัวลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน และการชะลอตัวของการใช้จ่ายในหมวดกึ่งคงทน ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดบริการและการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนยังขยายตัวดี โดยการใช้จ่าย

ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 2.6 ภายหลังจากการเร่งใช้จ่ายและขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 33.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนขยายตัวร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะที่การใช้จ่าย

ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 10.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 16.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของบริการในหมวดที่พักแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และ

ขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของค่าใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.0 จากระดับ 37.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส โดยเป็นผล มาจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.3 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในปี 2564

โดยการลงทุนในขยายตัวร้อยละ 5.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 17.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศและดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.9 และร้อยละ 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ การชะลอตัวลงของการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจจากระดับ 49.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับ 48.5 ในไตรมาสนี้ ตามการลดลงของความเชื่อมั่น ในภาคการผลิตเป็นสำคัญ ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคที่มิใช่การผลิตปรับตัวดีขึ้น

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.1 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในปี 2564 โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 6.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.0 ขณะที่หมวดก่อสร้างลดลงร้อยละ 1.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.6 ในปี 2564 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาสตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 มีมูลค่า 65,814 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 10.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และประมงที่ลดลงร้อยละ 11.1 ร้อยละ 13.1 และร้อยละ 16.9 ตามลำดับ ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เกษตร และประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการส่งออกในรูปของเงินบาท มีมูลค่า 2,394 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากร้อยละ 18.1 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2565 การส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่า 285,375 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 19.2 ในปี 2564 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ การส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่า 9,997 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 22.1 ในปี 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 10.0 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 13.1 ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกข้าว และยางพารา เป็นสำคัญ ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกข้าวและน้ำตาล เป็นสำคัญ โดยมูลค่าการส่งออกข้าวลดลงร้อยละ 2.2 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ และเบนิน โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ยางพาราลดลงร้อยละ 36.9 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังจีน และมาเลเซีย เป็นสำคัญ โดยปริมาณและราคาส่งออกลดลงร้อยละ 26.3 และร้อยละ 14.4 ตามลำดับ น้ำตาลลดลงร้อยละ 8.3 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นสำคัญ โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 20.4 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 8.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 11.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 1.7) เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 23.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 8.4) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 1.5) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 9.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 31.2) เครื่องปรับอากาศ (ลดลงร้อยละ 1.6) อุปกรณ์และเครื่องมือด้านการแพทย์ (ลดลงร้อยละ 2.9) ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 31.3) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 0.5) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 0.2) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 6.2) และเครื่องดื่ม (ร้อยละ 2.2) มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลงร้อยละ 13.5 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 16.9 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้ง ปู กั้งและล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 16.8) และปลา (ลดลงร้อยละ 14.3) สินค้าส่งออกอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 19.7 เป็นผลจากการลดลงของมูลค่าการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 22.9 เป็นสำคัญ

โดยการส่งออกไปยัง ลดลงร้อยละ 1.3 ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 13.4 ตามการลดลงของการส่งออกเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยัง

ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 7.1 ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยัง ลดลงร้อยละ 17.6 (ตามการลดลงของการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เป็นสำคัญ) การส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV ลดลงร้อยละ 0.9 (ตามการส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา เป็นสำคัญ) การส่งออกไปยัง ลดลงร้อยละ 4.8 ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยัง

ลดลงร้อยละ 6.1 ตามการลดลงของการส่งออกเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังลดลงร้อยละ 2.9 ตามการลดลงของการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ ส่วนการส่งออกไปยังลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 24.7 ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยัง

ขยายตัวร้อยละ 9.1 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังขยายตัวร้อยละ 16.5 ตามการขยายตัวของการส่งออกไก่แปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 62,844 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส ร้อยละ 0.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการผลิตสาขาอุตสาหกรรมและการส่งออก โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ในรูปของเงินบาท การนำเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 2,286 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 รวมทั้งปี 2565 การนำเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 274,561 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 27.7 ในปี 2564 โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และร้อยละ 13.0 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าในรูปเงินบาทมีมูลค่า 9,630 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 26.2 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 30.8 ในปี 2564 ในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยมูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 2.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 5.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 สินค้าสำคัญ ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น โทรศัพท์มือถือ และยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 3.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 11.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และวัสดุที่ทำด้วยโลหะ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 6.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น เครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน อากาศยาน เรือแท่น และรถไฟ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 140.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการนำเข้าสินค้ากลุ่มทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 3.1 ส่งผลให้อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 96.1 ลดลงจากระดับ 102.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากระดับ 95.7 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2565 อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 96.5 เทียบกับระดับ 104.7 ในปี 2564 โดยราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 4.2 ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ดุลการค้ากลับมาเกินดุล 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการขาดดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าการเกินดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เมื่อคิดในรูปเงินบาท ดุลการค้าเกินดุล 108.8 พันล้านบาท เทียบกับการขาดดุล 65.4 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าการเกินดุล 270.5 พันล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี 2565 ดุลการค้าเกินดุล 10.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (367.6 พันล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 32.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (1,034.6 พันล้านบาท) ในปี 2564

สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรร้อยละ 3.4 เทียบการลดลงร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้าผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 ตามการเพิ่มขึ้นของไม้ผลสำคัญ ๆ โดยเฉพาะผลผลิตทุเรียน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 136.4) ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแรงจูงใจด้านราคา และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย (2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เนื่องจากปริมาณน้ำและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น (3) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 เนื่องจากราคาอ้อยในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดวันเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบเร็วกว่าฤดูกาลผลิตปีที่ผ่านมา (4) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น และ (5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง ได้แก่ สุกร (ร้อยละ 3.0) ยางพารา (ร้อยละ 0.8) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 0.7) และไข่ไก่ (ร้อยละ 3.0) เป็นต้น ส่วน

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.4 โดยเฉพาะทุเรียน (ร้อยละ 51.5) ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา (2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ตามปริมาณความต้องการบริโภคข้าวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ ประกอบกับปริมาณผลผลิตข้าวนาปีปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม 2565 (3) เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4 ตามการปรับตัวลดลงของผลผลิตสุกรซึ่งได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต เช่น ราคาลูกสุกร ราคาอาหารสัตว์ (ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกากถั่วเหลือง) ค่าใช้จ่ายในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสุกร และค่าขนส่ง เป็นต้น ประกอบกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรจากตลาด ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น (4) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 ตามการลดลงของปริมาณผลผลิต เนื่องจากต้นทุนการผลิตไก่เนื้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ทั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ และ (5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณความต้องการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 39.2) ราคายางพารา (ลดลงร้อยละ 13.7) และราคากุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 2.5) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 16.5

การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในปี 2564 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0

รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ราคาข้าวเปลือกปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตรในขณะที่ราคาปาล์มน้ำมัน ยางพาราอ้อย และมันสำปะหลังปรับตัวลดลง (%YoY)

(%YoY)ข้าวเปลือกมันสำปะหลังดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรดัชนีราคาสินค้าเกษตรดัชนีรายได้เกษตรกร 20 150 ปาล์มน้ำมันอ้อย 10 100 050 -10 0-20 -50 Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 61 62 63 64 65 61 62 63 64 65 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 5.8 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย

ลดลงร้อยละ 13.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าที่ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส โดยการผลิตสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงลดลงร้อยละ 42.5 การผลิต เฟอร์นิเจอร์ลดลงร้อยละ 38.5 ตามคำสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก เริ่มกลับมาผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของที่เกี่ยวข้องลดลงร้อยละ 26.4 ตามการชะลอตัวของความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods) ในช่วงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ในขณะที่การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ร้อยละ 3.4 โดยเฉพาะแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Integrated Circuit: IC) ที่ใช้สำหรับการผลิตสินค้าที่มีเทคโนโลยีในระดับพื้นฐาน

ลดลงร้อยละ 5.1 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 8.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันดิบจากผู้ผลิตบางราย การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้นลดลงร้อยละ 19.6 ตามการลดลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ ประกอบกับผู้ผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์บางรายปิดปรับปรุงเครื่องจักร และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานลดลงร้อยละ 10.5 ตามการปรับลดกำลังการผลิตเหล็กของผู้ประกอบการ เพื่อรักษาความสมดุลของปริมาณสต็อกเหล็กภายในประเทศในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 30.6 ส่วน

  • เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงมากจากการขยายตัวร้อยละ 22.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 8.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 36.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ การผลิตน้ำตาลขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 46.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของปริมาณอ้อยที่ส่งเข้าโรงงานน้ำตาลเริ่มการเปิดหีบอ้อยปีการผลิต 2565/66 และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของอุปสงค์ต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ในขณะที่การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกลดลงร้อยละ 14.2 สำหรับในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 60.20 ต่ำกว่าร้อยละ 62.61 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 64.51 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในอุตสาหกรรมสำคัญ 30 รายการ มีการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 80 คือการผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 81.90)

เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 42.5) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 8.7) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลงร้อยละ 19.6) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ลดลงร้อยละ 38.5) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 10.5) การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของที่เกี่ยวข้อง (ลดลงร้อยละ 26.4) การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ลดลงร้อยละ 45.8) การผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน (ลดลงร้อยละ 23.5) การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก (ลดลงร้อยละ 14.2) และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 7.5) เป็นต้น

เช่น การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 8.5) การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 30.6) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และ ปูนปลาสเตอร์ (ร้อยละ 6.1) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 3.4) การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ร้อยละ 36.5) การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ (ร้อยละ 13.0) การผลิตน้ำตาล (ร้อยละ 5.3) การผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ร้อยละ 9.1) การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ร้อยละ 3.9) และการผลิตจักรยานยนต์ (ร้อยละ 7.6) เป็นต้น

การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในปี 2564 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.61 โดยในไตรมาสนี้มี (คิดเป็นร้อยละ 55.66 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและเส้นทางการบินของสายการบินระหว่างประเทศ

1 โดย ได้แก่ นักท่องเที่ยว จากภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2.961 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 54.18) ภูมิภาคยุโรป 1.341 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 24.53) และภูมิภาคเอเชียใต้ 0.499 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 9.14) ส่วน

2 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 122.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก การคลี่คลายลงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ส่วนขยาย สำหรับจังหวัดที่มีผู้เยี่ยมเยือนคนไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ ชลบุรี 4.091 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 7.01) กาญจนบุรี 3.142 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 5.38) และประจวบคีรีขันธ์ 2.871 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 4.92) การเพิ่มขึ้นของมูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวเมื่อรวมกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ในไตรมาสนี้

3มี สำหรับ สูงกว่าร้อยละ 49.96 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 26.25 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 39.3 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 15.0 ของปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 11.153 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,506.6 รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 1.207 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 217.0 และอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 47.93 สูงกว่าร้อยละ 14.03 ในปีก่อน

สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดย (1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ อาทิ ร้านขายปลีกเครื่องประดับ เป็นสำคัญ (2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดการขายส่งสินค้าประเภทอื่น ๆ อาทิ การขายส่งเชื้อเพลิงเหลว เป็นสำคัญ และ (3)

เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ และหมวดการขายการบำรุงรักษาและการซ่อมจักรยานยนต์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นสำคัญ ในขณะที่หมวดการขายยานยนต์ปรับตัวลดลง ทั้งปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

การผลิตสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2564

สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่ง ประกอบด้วย (1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.4 ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้นของปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศ (2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้า และ(3) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของดัชนีปริมาณตู้สินค้าและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางน้ำของไทยสำหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 4.0 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของรายรับผู้ประกอบการ

การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ การลดลงร้อยละ 2.8 ในปี 2564 โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 บริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 สาขาการไฟฟ์า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ: ขยายตัวร้อยละ 0.1 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของกิจกรรมการผลิตไฟฟ์า และการปรับตัวลดลงของกิจกรรม โรงแยกก๊าซ สอดคล้องกับการชะลอตัวของดัชนีการผลิตไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ โดย (1) ดัชนีการผลิตไฟฟ์าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจ และการลดลงของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม สอดคล้องกับการลดลงของการผลิตภาคอุตสาหกรรม การชะลอตัวของการใช้จ่าย ภาคครัวเรือน และอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศในไตรมาสนี้ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ (2) ดัชนีการผลิตโรงแยกก๊าซลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 5.1 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของปริมาณการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการลดลงของการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในภาคขนส่ง รวมทั้งปี 2565 การผลิตสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564 สาขาการก่อสร้าง: ขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐ และการขยายตัวต่อเนื่องของการก่อสร้างภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการก่อสร้างภาครัฐกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 3.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้าง ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 11.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า) และการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.9 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (เช่น ห้องชุด และบ้านเดี่ยว) และการก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และอาคารโรงงาน) ในขณะที่การก่อสร้างอื่น ๆ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ร้อยละ 3.5 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6) หมวดกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2) และหมวดผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูป (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7) เป็นสำคัญ รวมทั้งปี 2565 การผลิตสาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2564 โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 3.4 (การก่อสร้างของรัฐบาลลดลงร้อยละ 6.6 ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5) และการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.2

เมื่อพิจารณาการบริการด้านการท่องเที่ยวส่วนบุคคลรายการอื่น ๆ3 (All other personal travel) จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ พบว่ามูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขณะที่มูลค่าบริการรับ ด้านการท่องเที่ยวส่วนบุคคลในรายการสุขภาพและการศึกษาเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเดินทางเข้ามา ในประเทศไทยภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อการดูแลสุขภาพและบริการทางการแพทย์ เป็นอันดับต้น ๆ รองจากการพักผ่อนวันหยุด การซื้อสินค้าและของที่ระลึก และการเยี่ยมญาติหรือเพื่อน โดยมูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวส่วนบุคคลรายการอื่น ๆ ในปี 2565 อยู่ที่ 37,166.4 ล้านบาท (คิดเป็น 1 ใน 3 ของช่วง Pre-Covid) สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามา ในประเทศไทยในปี 2565 อยู่ที่ 11.15 ล้านคน (คิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ยของช่วง Pre-Covid) ขณะที่มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวส่วนบุคคลในรายการสุขภาพ (Health-related) อยู่ที่ 1,695.6 ล้านบาท และรายการการศึกษา (Education-related) อยู่ที่ 1,030.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่ามากกว่าช่วง Pre-Covid

ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 84.3 เลือกที่จะวางแผนและจัดการแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเอง เพิ่มขึ้นจากช่วง Pre-Covid ที่ร้อยละ 64.3 เนื่องจากมีแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันที่หลากหลายอำนวยความสะดวกในการจัดการ สามารถจำกัดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการท่องเที่ยวได้ตามสะดวก และสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้น สอดคล้องกับรูปแบบการค้นหาข้อมูลของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์ร้อยละ 53.0 และเว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยวร้อยละ 25.0 ขณะที่ช่วง Pre-Covid แหล่งข้อมูลหลักคือเว็บไซต์ ด้านการท่องเที่ยว (ร้อยละ 32.5) และการแนะนำจากญาติหรือเพื่อน (ร้อยละ 13.2)

นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสำรวจของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศเลือกเข้าร่วม (ร้อยละ)

ในปี 2565 1 พบว่า นักท่องเที่ยวต่างประเทศเลือกทำกิจกรรมที่เน้นการใช้ชีวิตและการใช้ชีวิตยามค่ำคืน7.7 20.0 เสริมสร้างประสบการณ์มากขึ้น ได้แก่ การใช้ชีวิตยามค่ำคืน การไปใช้บริการร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียง การถ่ายรูป และการพักผ่อนอยู่ในโรงแรมหรือร้านอาหาร/เครื่องดื่ม16.9 20.0 เข้าร่วมกิจกรรมภายในบริเวณโรงแรม มากกว่าการไปท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวถ่ายรูป0.0 17.0 (ใหม่)ทางธรรมชาติหรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เหมือนช่วง Pre-Covid สะท้อนสปาและนวดแผนไทย9.8 16.0 ให้เห็นว่าในบริบทโลกหลังโควิด-19 นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากขึ้นกับปัจจัยพักผ่อนอยู่โรงแรม0.0

12.0 (ใหม่)สิ่งแวดล้อม และการให้บริการอินเตอร์เน็ตและการชำระเงินออนไลน์ เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน3.9 7.0 ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในภาคบริการ อื่นๆ61.8 (การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ/

ประวัติศาสตร์สัดส่วนร้อยละ 26.0)8.0 ด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องให้สอดคล้องกับบริบทด้านการท่องเที่ยว ที่แตกต่างจากเดิมโดยการให้ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้ (1) Pre-Covid 2565 ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพื่อ ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประมวลผลโดย สศช.การบริการสูง การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นกิจกรรมการท่องเที่ยวและ การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวอัจฉริยะ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ข้อมูล และธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการปรับปรุงธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความพึงใจของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (2)

รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในการรับฟังความเห็นในโลกออนไลน์ (Social Listening Tools) ประกอบการปรับ กลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (3) และสินค้าและบริการในธุรกิจต่อเนื่อง เพราะส่งผลโดยตรงต่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลหลักในการหาข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว และ (4)

บริการขนส่งสาธารณะ ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน และการบริการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำกัดเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ยังเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นการใช้ชีวิตและเสริมสร้างประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวตามกระแสของสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเวลาทำการและไม่จำกัดสถานที่ และความนิยม ในการท่องเที่ยวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกระแสสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ

อุตสาหกรรมพลาสติก (Plastics Industry) ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของไทยโดยมีสัดส่วนร้อยละ 7.39 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี โดยอุตสาหกรรมพลาสติกจะรับวัตถุดิบซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในลักษณะของผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป อาทิ การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ก่อสร้าง ผ่านอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก (Plastics converter) โดยในปี 2565 อุตสาหกรรมการผลิต เม็ดพลาสติก1 มีปริมาณผลผลิตรวมอยู่ที่ 15.22 ล้านตัน มีมูลค่าอยู่ที่ 633.64 พันล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.65 ต่อ GDP) แบ่งเป็นมูลค่าการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 67.36 และมูลค่าการส่งออกร้อยละ 28.74

มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกปริมาณการผลิต ปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศ ตันร้อยละและปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติก5,000,000 60.0 ส่งออก(สัดส่วนร้อยละ 28.74)มูลค่าการใช้ผลผลิตจากอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก4,000,000

30.0 การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก167.40 (39.22%)จำหน่ายในประเทศ

การผลิตยางสังเคราะห์ และปิโตรเคมี141.88 (33.24%)2,000,000

0.0 (สัดส่วนร้อยละ 67.36)28.34 (6.64%)1,000,000 การปั่นด้าย การหีบฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์

การผลิตยางนอกและยางใน13.19 (3.09%)

0-30.0 การผลิตเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นมูลฐาน11.23 (2.63%)

พันล้านบาทปริมาณการผลิตปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศ0.00 50.00 100.00150.00200.00 ปริมาณการส่งออกGr.ปริมาณการผลิต (RHS)ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงอุตสาหกรรม ประมวลผลโดยสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติGr.ปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศ (RHS)Gr.ปริมาณการส่งออก (RHS)เมื่อพิจารณาจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตประจำปี 2558 พบว่าการผลิตที่มีมูลค่าการใช้ผลผลิตเม็ดพลาสติกสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอยู่ที่ 167.40 พันล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 39.22) การผลิตยางสังเคราะห์ และปิโตรเคมีอยู่ที่ 141.88 พันล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 33.24) การปั่นด้าย การหีบฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์อยู่ที่ 28.34 พันล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 6.64) การผลิตยางนอกและยางในอยู่ที่ 13.19 พันล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 3.09) และการผลิตเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นมูลฐานอยู่ที่ 11.23 พันล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 2.63) ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลผลิตเม็ดพลาสติกดังกล่าวสามารถนำไปเป็นปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกพบว่าในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 3.25 ล้านตัน ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 21.9 และปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศอยู่ที่ 1.97 ล้านตัน ลดลงต่อเนื่องเป็น ไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 30.7 ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับราคาพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตเม็ดพลาสติกหลักมีความผันผวนสูง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกอยู่ที่ 0.76 ล้านตัน กลับมาขยายตัวร้อยละ 5.3 ภายหลังจากปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย 3 ลำดับแรก ได้แก่ จีน (สัดส่วนร้อยละ 29.36) อินเดีย (สัดส่วนร้อยละ 10.89) และอินโดนีเซีย (สัดส่วนร้อยละ 9.54)

ในระยะต่อไป จึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าในอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งผลิตภัณฑ์พลาสติกขั้นต้น (เม็ดพลาสติก) ผลิตภัณฑ์พลาสติกกึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูปให้มีคุณภาพสูงตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และมีกระแสนิยมในอนาคต เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะที่มีคุณสมบัติสูง (อาทิ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า และการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทางการแพทย์) และการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio-plastics) เป็นต้น โดยการสนับสนุนการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าในอุตสาหกรรมพลาสติก การส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้อุตสาหกรรมพลาสติกไทยมีความเข้มแข็งในด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและส่งผลให้อุตสาหกรรมพลาสติกไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผู้มีงานทำ (สัดส่วนร้อยละ 69.15) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 3.9 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทำในสาขาอุตสาหกรรม สาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมยานยนต์ฯ เป็นสำคัญ ในขณะที่ ผู้มีงานทำ (สัดส่วนร้อยละ 30.85) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 3.4 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการกลับสู่ตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมและบริการ และสอดคล้องกับการลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการ เช่น ยางพารา ข้าวเปลือก และสุกร เป็นต้น สำหรับในไตรมาสนี้อยู่ที่ ร้อยละ 1.15 ต่ำกว่าร้อยละ 1.23 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.66 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวน 4.62 แสนคน ต่ำกว่าผู้ว่างงานจำนวน 4.91 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าผู้ว่างงานจำนวน 6.61 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

มีผู้ว่างงานจำนวน 5.27 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.32

(ล้านคน)(%)การจ้างงานอัตราการว่างงาน (แกนขวา)40.0 2.4 39.6 39.2

1.8 38.8 38.4 38.0 1.2 37.6 37.2

0.6 36.8 36.4 36.0 0.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4 ที่มา: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน หมายเหตุ: 1/ ผู้ประกันตนภาคบังคับ (ม.33) คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มี2/ ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (ม.39) คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออกแต่ต้องการรักษาพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี 3/ ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (ม.40) คือ ผู้ประกันตนในมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ด้านการคลัง การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม - ธันวาคม 2565) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 633,139.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.3 โดยหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) กรมสรรพากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 ตามการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (2) ส่วนราชการอื่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 115.6 เนื่องจากการนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน การนำส่งรายได้จากการสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และรายได้จากการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่วิทยุระบบ FM และ (3) การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 เนื่องจากมีการนำส่งรายได้เหลื่อมจากปีงบประมาณก่อนหน้า นอกจากนี้ กรมศุลกากรมีรายได้จากการชำระอากรย้อนหลังตาม คำพิพากษาคดี กรณีการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.1 ตามการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละไม่เกิน 5 บาท ในระหว่างวันที่ 21 กันยายน - 20 พฤศจิกายน 2565 และในระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน - 20 มกราคม 2565 เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำส่งรายได้พิเศษของส่วนราชการอื่นและรายได้จากการชำระอากรย้อนหลังตาม คำพิพากษาของกรมศุลกากร การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.3 และสูงกว่าประมาณการรายได้ในเอกสารงบประมาณร้อยละ 7.2 การใช้จ่ายของรัฐบาล ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 1,142,071.4 ล้านบาท4 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.8 ตามการลดลงของการใช้จ่ายจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 - 2564 (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19) เป็นสำคัญ โดยมีการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จำนวน982,160.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 0.1 และมีอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 30.8 จำแนกเป็น (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 858,711.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 ตามการลดลงของ การเบิกจ่ายในหมวดงบรายจ่ายอื่น โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 34.1 ต่ำกว่าร้อยละ 35.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ (2) รายจ่ายลงทุน จำนวน 123,449.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.4 ตามการเบิกจ่ายในหมวดงบเงินอุดหนุนทั่วไป โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 18.6 สูงกว่าร้อยละ 17.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีในไตรมาสแรกล้านบาทรายจ่ายลงทุน (แกนซ้าย)ร้อยละ

ร้อยละ1,200,000 รายจ่ายประจำ (แกนซ้าย)100

35 อัตราการขยายตัวของการเบิกจ่ายรวม (แกนขวา)1,000,000 80 30 เฉลี่ย= 29.2 800,000

60 25 600,000 20 400,000 15 เฉลี่ย= 14.9 40 200,000 20 10 000-200,000 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1 -20 Q1-56Q1-57Q1-58Q1-59Q1-60Q1-61Q1-62Q1-63Q1-64Q1-65Q1-66 -400,000

61 62 63 64 65 66 -40

อัตราการเบิกจ่ายรวมเฉลี่ยอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนเฉลี่ยที่มา: GFMIS ที่มา: GFMIS การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 58,925.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.0 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 30.9 การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่นับรวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จำนวน 56,248.8 ล้านบาท5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 4.9 โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายของการไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นสำคัญ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ และการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท จำนวน 51,351.1 ล้านบาท ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 24 มกราคม 2566 มีการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 รวมทั้งสิ้น 1,428,223.6 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 96.4 ของวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยเป็นการเบิกจ่ายสะสมภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขฯ จำนวน 266,174.7 ล้านบาท แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการฯ จำนวน 858,200.3 ล้านบาท และแผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฯ จำนวน 303,848.6 ล้านบาท

ผลการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 พ.ศ. 2563 - 2564 (วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท) หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 10,587,313.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.7 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 10,408,261.0 ล้านบาท (ร้อยละ 98.3 ของหนี้สาธารณะคงค้าง) และเงินกู้จากต่างประเทศ 179,052.0 ล้านบาท (ร้อยละ 1.7 ของหนี้สาธารณะคงค้าง) ฐานะการคลัง: ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 408,421 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 64,577 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 221,105 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดสุทธิ 251,893 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2565 จำนวน 624,019 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 372,126 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง สถานะเงินคงคลัง ภาวะการเงิน ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.00 ต่อปี เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุน ที่สำคัญมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง รวมทั้งความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนและราคาพลังงานที่ยังมีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินของไทย สอดคล้องกับประเทศ ในภูมิภาคและประเทศสำคัญ ๆ ที่ดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางเข้มงวดขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ สหภาพยุโรป อังกฤษ อินเดีย แคนาดา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 - 4.50 ร้อยละ 2.50 ร้อยละ 3.50 ร้อยละ 6.25 ร้อยละ 4.25 ร้อยละ 3.25 ร้อยละ 3.10 และร้อยละ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น จีน และรัสเซีย คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ (-0.10) ร้อยละ 3.65 และร้อยละ 7.50 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งปี 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.25 จากร้อยละ 0.50 ต่อปี ณ สิ้นปี 2564 ในเดือนมกราคม 2566 กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางแคนาดา และเกาหลีใต้ ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.50 และ ร้อยละ 3.50 ต่อปี ตามลำดับ ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ธนาคารกลางสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอังกฤษ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.50 - 4.75 ร้อยละ 3.00 และร้อยละ 4.00 ต่อปีตามลำดับ

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน จากร้อยละ 0.50 และร้อยละ 0.68 เป็นร้อยละ 0.98 ต่อปี และร้อยละ 0.88 ต่อปี ตามลำดับ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) จากร้อยละ 5.55 และร้อยละ 6.49 เป็นร้อยละ 6.00 ต่อปี และร้อยละ 6.84 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะที่ SFIs ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนจากร้อยละ 0.77 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.88 ต่อปี แต่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.59 ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่แท้จริงยังคง อยู่ในระดับต่ำ ตามอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อย่างต่อเนื่อง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 1.05 ต่อปี และร้อยละ 0.91 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 6.49 ต่อปี และร้อยละ 7.19 ต่อปี ตามลำดับ

ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ยอดสินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 2.12 เทียบกับร้อยละ 3.46 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวร้อยละ 2.09 และร้อยละ 2.13 เทียบกับร้อยละ 3.78 และร้อยละ 3.28 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งขอสินเชื่อไปในช่วงก่อนหน้าเพื่อลดต้นทุนทางการเงิน และสินเชื่อตามนโยบายรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคโควิด-19 ทยอยสิ้นสุดลง

ขยายตัวร้อยละ 1.43 จากการขยายตัวร้อยละ 3.56 ในไตรมาสที่แล้ว ตามการชะลอลงของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน โดยสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวร้อยละ 1.71 ชะลอลงจากร้อยละ 3.73 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการชะลอลงของสินเชื่อในสาขาสำคัญ ๆ ประกอบด้วย (1) สาขาการผลิต โดยเฉพาะจากสินเชื่อเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร สินเชื่อเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และสินเชื่อเพื่อการผลิตถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มดังกล่าว (2) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง ส่วนสินเชื่อภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 1.14 ชะลอลงจากร้อยละ 3.38 ในไตรมาสที่แล้ว ตามการชะลอตัวลงของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอื่น ๆ ในกลุ่มสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และสินเชื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ขณะที่สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีสัญญาณการฟื้นตัว

ขยายตัวร้อยละ 3.52 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.56 ในไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวลงของสินเชื่อตามนโยบายรัฐเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจเร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 4.51 เป็นร้อยละ 6.22 ในไตรมาสนี้ ส่วนสินเชื่อ ภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.29 ใกล้เคียงกับการขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.32

สินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะเงินที่ให้กู้ยืมแก่ธุรกิจ SMEs (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย) ที่ลดลงจากไตรมาสที่หนึ่งของปี 2563 จากมูลค่า 4.21 ล้านล้านบาท เป็น 3.10 ล้านล้านบาท ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2564 หรือลดลงร้อยละ 26.43 สอดคล้องกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.78 เป็นร้อยละ 7.98 ของสินเชื่อคงค้างที่ให้กู้ยืมแก่ธุรกิจ SMEs ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง สินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยยอดสินเชื่อคงค้างรวม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย) ณ ไตรมาสที่สี่ของปี 2565 อยู่ที่ 10.08 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9.91 ล้านล้านบาท ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.97 ขณะที่ ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ยังฟื้นตัวได้ในกรอบจำกัด สะท้อนจากยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ไตรมาสที่สี่ของ ปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่หนึ่งของปี 2564 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs เนื่องจากความเสี่ยงของธุรกิจจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะธุรกิจการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับ การส่งออก ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธุรกิจ SMEs ที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณายอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ในรายสาขาธุรกิจ พบว่า สินเชื่อในสาขาสำคัญ ๆ ได้แก่ สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ สาขาการผลิต สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ ยังคงมีมูลค่าคงค้างต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ในสาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 36.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.25 จากค่าเฉลี่ย 36.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบเงินสกุลหลักอื่น ๆ โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ยอยู่ที่ 108.16 ลดลงจากระดับ 108.26 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามทิศทางการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังเริ่มเห็นสัญญาณ การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนเปิดรับความเสี่ยง (Risk-on) และนำเงินมาลงทุนในหลักทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น ภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง และรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Zero-COVID 19) ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยอยู่ที่ 115.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.95 จากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ สำหรับค่าเงินสกุลอื่นที่สำคัญในภูมิภาคเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่ ค่าเงินของประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ 0.7) และฮ่องกง (ร้อยละ 0.3) ขณะที่ค่าเงินของประเทศสำคัญในภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนค่าลง ได้แก่ ค่าเงินของประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 4.2) จีน (ร้อยละ 3.8) ไต้หวัน (ร้อยละ 3.2) อินเดีย (ร้อยละ 3.0) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 2.1) มาเลเซีย (ร้อยละ 2.0) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 1.9) เวียดนาม (ร้อยละ 1.8) และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 1.6)

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.14 - 38.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (ค่าเฉลี่ย 35.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) อ่อนค่าลงร้อยละ 9.58 (ปี 2564 ค่าเฉลี่ย 31.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากนักลงทุนปิดรับความเสี่ยง โดยการถือเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงยื้ดเยื้อ

ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.23 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.49 จากค่าเฉลี่ย 34.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า ตามทิศทางการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ

โดยมีปัจจัยสนับสนุน ที่สำคัญมาจาก (1) ภาวะเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวของไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (2) รัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการประกาศเปิดประเทศในวันที่ 8 มกราคม 2566 (3) นักลงทุนเปิดรับความเสี่ยง (Risk-on) ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิ 52.5 พันล้านบาท เทียบกับจำนวน 37.6 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า และ (4) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ โดย ณ สิ้นไตรมาสดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1,668.7 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8) กลุ่มบริการ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7) ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสำคัญ ๆ ในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 14.4) มาเลเซีย (ร้อยละ 7.2) ไต้หวัน (ร้อยละ 5.3) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 3.8) และ จีน (ร้อยละ 1.8) ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสำคัญ ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เวียดนาม (ลดลงร้อยละ 11.0) และอินโดนีเซีย (ลดลงร้อยละ 2.7)

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้น 11.1 จุด จาก 1,657.6 จุด ณ สิ้นปี 2564 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1,671.5 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 ตามทิศทางการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาลจีน และทิศทางการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)

ในปี 2565 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยอยู่ที่ 35.07 อ่อนค่าลงจาก 31.99 ในปี 2564 สอดคล้องกับดัชนีค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมทั้งการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเงินเฟ้อที่เริ่มผ่อนคลายลง ทำให้นักลงทุนเปิดรับความเสี่ยง (Risk-on) และมีกระแสเงินทุนไหลเข้าในตลาดเกิดใหม่รวมทั้งตลาดทุนไทยเพิ่มขึ้น โดยในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2565 นักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิในตลาดทุนไทยมูลค่า 131,668 ล้านบาท เทียบกับในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2565 ที่มีมูลค่า 10,310 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2566 ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับกระแสเงินทุนไหลเข้าในตลาดทุนไทย รวมทั้งดุลบริการที่มีแนวโน้มกลับมาเกินดุลตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และดำเนินนโยบายเปิดประเทศเต็มรูปแบบ โดยค่าเงินบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2566 ปรับตัวแข็งค่าขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2565 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลของประเทศคู่ค้าคู่แข่ง พบว่าค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินของประเทศคู่ค้าคู่แข่ง สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลจากการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2566 ตามการฟื้นตัวที่ชัดเจนของภาคการท่องเที่ยว

ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2565 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวลดลง สอดคล้องกับดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามกระแสเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ไทย ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของปี 2565 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 2 ปี และอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.63 ต่อปี และร้อยละ 2.64 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 1.88 ต่อปี และร้อยละ 3.21 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิ 79.2 พันล้านบาท เทียบกับสถานะขายสุทธิ 27.3 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการระดมทุนใหม่ผ่านตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 488.7 พันล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นการระดมทุนของกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคาร

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นทั้งพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 1.63 เทียบกับร้อยละ 0.66 ณ สิ้นปี 2564 ขณะเดียวกันพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.64 เทียบกับร้อยละ 1.90 ณ สิ้นปี 2564 สอดคล้องกับดัชนีราคาที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.0

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวลดลง สอดคล้องกับการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมกราคมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี และอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.79 ต่อปี และร้อยละ 2.52 ต่อปี ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิ 25.0 พันล้านบาท ต่อเนื่องจากการซื้อสุทธิ 37.5 พันล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า

ในไตรมาสที่สามของปี 2565 มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 3.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องจาก 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการนำเงินออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของนักลงทุนไทย และการปล่อยเงินกูของธนาคารพาณิชยไทยในต่างประเทศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ยังมีเงินทุนไหลเข้าจากการนำเงินมาลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติ

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (43.5 พันล้านบาท) เทียบกับการขาดดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (56.4 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการขาดดุล 7.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (277.7 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ำกว่าการเกินดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) ขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 11 (ต่ำกว่าการขาดดุล 9.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 16.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (591.8 พันล้านบาท) เทียบกับการขาดดุล 10.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (342.7 พันล้านบาท) ในปี 2564

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 216.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 246.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 เมื่อคิดในรูปเงินบาท เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 7,483.6 พันล้านบาท ต่ำกว่า 8,212.1 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ชะลอลงมาจากร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาในเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคาเนื้อสัตว์ เป็ดและไก่ และไข่และผลิตภัณฑ์นม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ร้อยละ 14.4 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาในเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของดัชนีราคากลุ่มไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง และกลุ่มยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.2 และร้อยละ 7.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 และร้อยละ 11.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ

อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.2 เทียบกับร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 6.1 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.5

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ชะลอลงจากร้อยละ 11.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาใน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของราคาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์จากการประมง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 และร้อยละ 3.8 เทียบกับการเพิ่มร้อยละ 11.9 และร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 71.8 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านราคาใน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของราคาในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เทียบกับร้อยละ 59.4 ในไตรมาสก่อนหน้า7 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 85.1 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 11.8 จากราคา 96.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากราคาเฉลี่ย 78.4 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจาก (1) แนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการควบคุม โควิด-19 ของจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลกทำให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น (2) การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบที่ซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. มีราคาถูกลง และเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองเงินสกุลอื่น และ (3) กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร (โอเปกพลัส) มีมติปรับลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลก

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 96.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 จากค่าเฉลี่ย 69.4 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2564 3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสทิสิของปี 2565 เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจยูโรโซน โดยเป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอย่างต่อเนื่องเพื่อลด แรงกดดันเงินเฟ้อ นอกจากนี้ เศรษฐกิจหลายประเทศทั้งประเทศเศรษฐกิจหลักและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังเผชิญกับการลดลงของ การผลิตภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Manager's Index: PMI) ลดลง

89ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบหลายไตรมาส ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจีนชะลอตัวและขยายตัวต่ำสุดในรอบ 46 ปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศที่กลับมารุนแรงอีกครั้งภายหลังจากเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุม การระบาด ขณะเดียวกัน การชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักและเศรษฐกิจจีนได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของหลายประเทศในภูมิภาค

10 เอเชียให้ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายไตรมาส ทั้งกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) และกลุ่มประเทศอาเซียนท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายนโยบายการเงิน ส่งผลให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ของหลายประเทศยังคงเร่งขึ้น อาทิ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และ

11 ออสเตรเลีย ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหาร ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เริ่มผ่านพ้นจุดสูงสุดและมีทิศทางชะลอลง อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ไตรมาส ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลง เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.0 (Advanced Estimate) ชะลอลงจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และนับเป็นการชะลอตัวลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส เมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.9 (%QoQ saar.) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัย (Residential investment) ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่ำสุดในรอบ 12 ไตรมาส ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ (Personal Consumption Expenditure: PCE) อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากร้อยละ 6.3 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส ตามการลดลงของราคาพลังงานและราคาอาหาร แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเร่งขึ้นโดยเฉพาะในหมวดบริการ ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติให้ปรับขึ้นร้อยละ 0.75 อย่างไรก็ดี ภายใต้การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้การประชุมเมื่อวันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2565 ได้มีมติให้ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับการปรับขึ้นร้อยละ 0.75 ในการประชุม 4 ครั้งก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ช่วงร้อยละ 4.25 - 4.50 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ภาพรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.1 ชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในปีก่อนหน้า เศรษฐกิจยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และนับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำสุด

12 ในรอบ 7 ไตรมาส โดยเป็นการชะลอตัวในทุกประเทศสมาชิกหลัก ตามการชะลอลงของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตด้านพลังงานอันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 46.8 และ 49.0 จากระดับ 48.8 และ 49.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ และเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50.0 เป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องที่ 95.9 ใกล้เคียงกับ 95.3 ในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และลดลงมากเมื่อเทียบกับ 101.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 10.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 9.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเร่งตัวขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.1 นับเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปรับลดขนาดของ

13 การสนับสนุนสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปยังคงดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อลดผลกระทบทางด้านพลังงานและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในปีก่อนหน้า 8 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายผลิต (Manufacturing PMI) ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม อยู่ในต่ำกว่าระดับ 50 ครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส 8 ไตรมาส 5 ไตรมาส และ 5 ไตรมาส ตามลำดับ 9 หากไม่นับปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จนเศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำร้อยละ 2.2 10 มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ของเกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ลดลงครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส 10 ไตรมาส และ 8 ไตรมาส ตามลำดับ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 4 ของเวียดนามที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส 11 อาทิ สหภาพยุโรป มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 10.0 นับเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียอยู่ในระดับร้อยละ 10.7 และร้อยละ 7.8 สูงสุดในรอบ 163 ไตรมาส และ 131 ไตรมาส ตามลำดับ 12 เศรษฐกิจเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ขยายตัวร้อยละ 1.1 ร้อยละ 0.5 ร้อยละ 1.7 และร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ร้อยละ 1.0 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ 13 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม และ 15 ธันวาคม 2565 ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.75 และร้อยละ 0.50 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations Rate อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility และดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารกลางไว้อยู่ที่ร้อยละ 2.50 ร้อยละ 2.75 และ ร้อยละ 2.00 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ECB ยังได้ดำเนินการเสริมสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง โดยการรับซื้อเงินต้นที่ได้จากสินทรัพย์ภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) และโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ทั้งนี้โครงการ PEPP จะดำเนินการต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2567 และโครงการ APP จะดำเนินการต่อไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แล้วจะปรับลดขนาดสินทรัพย์ภายใต้โครงการ APP ในระยะต่อไป สำหรับ มาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องโดยการรีไฟแนนซ์ผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ 3 (TLTROs III) ณ เดือนตุลาคม 2565 ECB ได้ปล่อยเงินกู้ภายใต้โครงการ TLTROs III ไปแล้วทั้งสิ้น 2.1 ล้านล้านยูโร และได้กำหนดให้สามารถชำระเงินกู้ก่อนกำหนด โดยล่าสุดมีผู้ประสงค์ที่จะจ่ายเงินกู้คืน ก่อนกำหนดภายในเดือนมิถุนายน 2566 แล้วทั้งสิ้น 1.2 ล้านล้านยูโร นอกจากนี้ ECB ยังคงใช้กลไกเพื่อลดผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Transmission Protection Instrument: TPI) โดยการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่เผชิญความผันผวนในตลาดการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

Economic Outlook NESDC เศรษฐกิจญิปุ่น ขยายตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยวภายหลังการเริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดและเปิดให้มีการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้

14 นับตั้งแต่ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคบริการที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 51.5 จาก 50.7 ในไตรมาสที่สาม ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวในตลาดแรงงาน15 อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ PMI ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 49.5 ลดลงจาก 51.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 4.6 โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่สาม ส่วนการนำเข้าสินค้ายังคงขยายตัวส่งผลให้ญี่ปุ่นยังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสำคัญอื่น ๆ ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเป็นลำดับ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประกอบกับการอ่อนค่าของเงินเยนจนส่งผลต่อต้นทุนการนำเข้า ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 สูงสุดในรอบ 31 ปี และส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2565 ได้ขยายกรอบอัตราดอกเบี้ยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 10 ปีจากร้อยละ ฑ 0.25 เป็นร้อยละ ฑ 0.5 ตามมาตรการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไว้ที่ร้อยละ 0 (Yield Curve Control) แม้ว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ (-0.1) ก็ตาม ส่งผลให้ค่าเงินเยนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ปรับตัวแข็งค่าขึ้น16 ภาพรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับร้อยละ 2.1 ในปีก่อนหน้า เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ เนื่องจาก การกลับมาแพร่ระบาดอีกรอบดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ การใช้จ่ายภายในประเทศ สะท้อนจากยอดมูลค่าการค้าปลีกลดลงร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Caixin PMI) ภาคบริการที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.7 จากระดับ 53.3 ในไตรมาสก่อน สอดคล้องกับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงสู่ระดับ 86.9 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของจีนยังคงเผชิญกับข้อจำกัดจากการดำเนินมาตรการควบคุมการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่เฉลี่ย 49.2 เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ลดลงร้อยละ 6.9 จากการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนยังคงประสบปัญหาสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ส่งผลให้การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลงร้อยละ 10.0 นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ธนาคาร

17 กลางจีน (PBOC) ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนยังคงมาตรการทางการคลังอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์โดยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการก่อหนี้มากขึ้น ภาพรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับร้อยละ 8.1 ในปี 2564 เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ชะลอลงตามการชะลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้า เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ในไตรมาสที่สี่ขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ชะลอลงจากร้อยละ 4.0 และร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันลดลงร้อยละ 0.9 จากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อน นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 27 ไตรมาส ส่วนเศรษฐกิจฮ่องกงลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อน โดยเป็น การลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 3.6 ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.9 ร้อยละ 4.1 และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ ขณะที่เศรษฐกิจฮ่องกงลดลงร้อยละ 3.5 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 6.4 ในปีก่อนหน้า เศรษฐกิจประเทศกลุ่มอาเซียน ส่วนใหญ่ชะลอตัวตามการลดลงของการส่งออก สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 5.0 ร้อยละ 7.2 ร้อยละ 7.0 และร้อยละ 5.9 ชะลอลงจาก การขยายตัวร้อยละ 5.7 ร้อยละ 7.6 ร้อยละ 14.2 และร้อยละ 13.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อประเทศส่วนใหญ่เร่งขึ้น

18 19 ต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศกลุ่มอาเซียนยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนามขยายตัวร้อยละ 5.3 ร้อยละ 7.6 ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.7 ร้อยละ 5.7 ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 2.6 ในปี 2564 ตามลำดับ 14 ภายหลังจากการเปิดประเทศในเดือนตุลาคม นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,803,146 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าญี่ปุ่นตลอดทั้งปีที่ 3,831,900 คน 15 อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ของญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงจากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ตลอดทั้งปี 2565 อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ลดลงจากปี 2564 ที่ร้อยละ 2.8 16 อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 135 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจาก 147 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. และ 142 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตามลำดับ 17 ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ปรับลดสัดส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Required Reserve Ratio: RRR) ลงจากระดับร้อยละ 8.1 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.8 ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 และยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ระยะเวลา 1 ปี ไว้ที่ร้อยละ 3.65 ต่อไป 18 อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 สูงที่สุดในรอบ 8 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ อยู่ที่ร้อยละ 7.9 สูงที่สุดในรอบ 4 ปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 4.4 สูงที่สุดในรอบ 9 ปี อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 4.5 19 ธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 จากร้อยละ 5.25 เป็นร้อยละ 5.5 ในขณะที่ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 5.5 เช่นกัน ส่วนธนาคารกลางของมาเลเซียได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 จากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 2.75 และธนาคารกลางเวียดนามได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในเดือนตุลาคม 2565 จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 6.0 4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2566 เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2565 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา โดยเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ ขณะเดียวกัน สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนที่อาจเผชิญกับวิกฤตด้านความมั่นคงทางพลังงาน นอกจากนี้ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) และเศรษฐกิจอาเซียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวตามการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าสอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก และบางประเทศ ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สินต่างประเทศสูง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ม ที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงตามแนวโน้มราคาพลังงานและปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกที่คลี่คลาย ซึ่งคาดว่าจะทำให้ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางมีความเข้มงวดน้อยลง ประกอบกับตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งสะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ยังคง อยู่ระดับต่ำ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการดำเนินมาตรการเปิดประเทศเร็วขึ้นกว่าที่คาด ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนเงื่อนไขและสมมติฐานที่สำคัญ ดังนี้ (1) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ ไม่นำไปสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและยาวนาน และไม่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกจนทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศรายได้น้อยที่มีปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจนส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม (2) ความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์ไม่ยกระดับความรุนแรงมากขึ้นจากปัจจุบันจนนำไปสู่การใช้กำลังทางการทหารและการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นวงกว้าง (3) ปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ของเศรษฐกิจจีนและระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนให้ชะลอตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน และก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุน และ (4) การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่นำไปสู่การบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดมากขึ้นอีกครั้งจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2566 มีแนวโน้มทิจะขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.0 เท่ากับสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อนแต่ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 และร้อยละ 5.4 ในปี 2565 โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ๆ ดังนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 ในปี 2566 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และชะลอลงจากร้อยละ 2.1 ในปี 2565

20 ตามการชะลอตัวลงของอุปสงค์ภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัยที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนบ้านสร้างใหม่ จำนวนยอดขายบ้าน และยอดการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคง

21 ปรับตัวลดลง ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับข้อจำกัดจากปัญหาเพดานหนี้สาธารณะ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีปัจจัยสนับสนุนจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ชะลอลงซึ่งคาดว่าจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 6.4 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 5 ส่งผลให้ความเชื่อมั่น20 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติเป็น เอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal funds rate) อีกร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ช่วงร้อยละ 4.50 - 4.75 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 และเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องกันเป็นครั้งที่ 8 อย่างไรก็ดี การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวเป็นการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากการปรับขึ้นร้อยละ 0.5 ในการประชุมในเดือนธันวาคม 2565 และการปรับขึ้นร้อยละ 0.75 ต่อเนื่องกันเป็น 4 ครั้งในการประชุมระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2565 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวลง 21 หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ในปัจจุบันถูกกำหนดไว้ที่ 31.381 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประมาณการเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ว่าระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ กำลังจะถึงเพดานหนี้ที่หนดไว้ดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลกลางมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบาย รวมถึงรัฐบาลจำเป็นต้องปรับลดการใช้จ่ายรวมถึงการกู้เพิ่มเติมที่ได้รับ การยกเว้นเพื่อการใช้จ่ายที่มีความจำเป็นเป็นการเฉพาะซึ่งสามารถดำเนินการได้ถึงต้นเดือนมิถุนายน 2566 ทั้งนี้หากรัฐบาลและรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่สามารถหาข้อตกลงในการปรับขึ้นเพดานหนี้สาธารณะหรือปรับลดงบประมาณรายจ่ายได้จะมีความเสี่ยงที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องหยุดดำเนินการ (Government Shutdown) เช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2561 รวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ

Economic Outlook NESDC ของผู้บริโภคในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 64.9 สูงสุดในรอบ 9 เดือน เช่นเดียวกับตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนมกราคม 2566 ที่ร้อยละ 3.4 ต่ำสุดในรอบ 53 ปี รวมทั้งแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคบริการภายในประเทศ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริการในเดือนมกราคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.9 และ 48.0 จากระดับ 46.2 และ 44.7 ในเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ ทั้งนี้ แรงกดดันเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการลดลงของราคาพลังงาน ส่งผลให้คาดว่าในกรณีฐาน

22 ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนที่จะคงระดับไว้จนถึงสิ้นปี 2566 เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.3 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.5 ในปี 2565 ตามการชะลอตัวของ ภาคการผลิตและอุปสงค์ภายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อจนนำไปสู่การดำเนินมาตรการ

23 คว่ำบาตรอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของหลายประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในสัดส่วนที่สูงให้มีแนวโน้มเผชิญกับการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีหากแต่ละประเทศไม่สามารถปรับโครงสร้างภาคพลังงานได้ทัน นอกจากนี้ อุปสงค์

24 ภายในประเทศยังมีข้อจำกัดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังสูง ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นยังคงลดลงต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมกราคม 2566 ลดลงมาอยู่ที่ (-20.9) และ 0.69 ลดลงมากเมื่อเทียบกับ (-10.9) และ 1.81 ในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ขณะเดียวกัน หลายประเทศสมาชิกยังมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับวิกฤตการณ์

25 หนี้สินท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและสัดส่วนหนี้สาธารณะที่สูง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงได้รับแรงสนับสนุนจาก 26 การดำเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ในระยะปานกลางของสหภาพยุโรปเศรษฐกิจญิปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2566 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในปี 2565 และปรับลดจากการประมาณการครั้งก่อน โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นตามแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศตามความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น (Pent-up demand) ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมทั้งภายในประเทศและการเดินทางระหว่างประเทศ และแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อ

27 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายตัวจากการใช้จ่ายภาครัฐ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินเยนท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าสูงขึ้นอันจะสร้าง แรงกดดันต่อเงินเฟ้อและทำให้ดุลการค้าของญี่ปุ่นมีแนวโน้มขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเริ่มชะลอการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายผ่านการขยายกรอบอัตราดอกเบี้ยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 10 ปี ในกรณีฐานคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในปี 2565 และเป็นการปรับเพิ่มการประมาณการจากร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 และการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศโดยไม่ต้องกักตัวนับตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เร็วกว่าที่คาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Caixin PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ขยายตัวในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ระดับ 49.2 และ 52.9 สูงขึ้นจากระดับ 49.0 และ 48.0 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีภายหลังการผ่อนคลายมาตรการและแรงสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจและการสนับสนุนสินเชื่อ

28 ให้กับภาคเอกชนที่ดำเนินโครงการตามนโยบายของภาครัฐ ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุน ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจีนยังมีความเสี่ยงจากการกลับมาแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น ประกอบกับข้อจำกัดจากปัญหาการขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้มาตรการ CHIPS and Science Act ที่อาจส่งผลต่อภาคการผลิตและการส่งออกของจีน

22 ในกรณีฐาน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 5.00 - 5.25 23 สหภาพยุโรปได้ดำเนินมาตรการกดดันรัสเซียอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีมาตรการร่วมกับประเทศกลุ่ม G7 ในการกำหนดเพดานราคานำเข้าสินค้า Premium-to-crude อาทิ น้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน จากรัสเซียไว้ที่ 100 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลและสินค้า Discount-to-crude อาทิ น้ำมันเตาและแนฟทา ไว้ที่ 45 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล โดยมีผลวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 24 โดยในเดือนมกราคมอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (HICP Flash estimate) อยู่ที่ร้อยละ 8.5 แม้จะชะลอลงจากร้อยละ 9.2 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายมาก นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 5.2 เท่ากับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ECB ได้มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.50 โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations Rate อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารกลางจากร้อยละ 2.50 ร้อยละ 2.75 และร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 3.00 ร้อยละ 3.25 และร้อยละ 2.50 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน และเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในปี 2551 นอกจากนี้ ECB ยังได้ปรับลดการขยายปริมาณเงิน โดยการยุติลงทุนโดยใช้เงินต้นจากพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนของสินทรัพย์ภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) ตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2566 ซึ่งจะส่งผลให้สินทรัพย์ที่ ECB ถือครองลดลงเฉลี่ยประมาณ 1.5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนจนถึงสิ้นไตรมาสที่สองของปี 2566 แล้วจึงพิจารณาแนวทางการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป 25 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรีซ อิตาลี โปรตุเกส สเปน และฝรั่งเศสที่ระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 178.2 ร้อยละ 147.3 ร้อยละ 120.1 ร้อยละ 115.6 และร้อยละ 113.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ตามลำดับ 26 ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาวของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 - 2570 วงเงิน 1.21 ล้านล้านยูโร รวมถึงงบประมาณเพิ่มเติมจากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU วงเงิน 8.07 แสนล้านยูโร นอกจากนี้ เมื่อรวมกับงบประมาณสำหรับมาตรการชั่วคราวเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอื่น ๆ วงเงินงบประมาณทั้งหมดที่จัดสรรในขณะนี้มีมูลค่าถึง 2.02 ล้านล้านยูโร ซึ่งถือเป็นงบประมาณเพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ 27 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศวงเงินงบประมาณในปีงบประมาณ 2566 ที่ 114.4 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากปีงบประมาณ 2565 ซึ่งนับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 28 ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะใช้นโยบายการเงินอย่างรอบคอบในลักษณะที่ตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพโดยเพิ่มสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2566 และออกมาตรการสนับสนุนทางการเงินให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีโครงการสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เช่น การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2603 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามการชะลอตัวของภาคการผลิตและการส่งออก สอดคล้องกับ

29 แนวโน้มเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยคาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.1 ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.1 เทียบกับร้อยละ 2.6 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 3.8 ในปี 2565 ตามลำดับ โดยเป็นการคงสมมติฐานเมื่อเทียบกับการประมาณการครั้งก่อน ขณะที่ เศรษฐกิจฮ่องกงคาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 3.0 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 3.5 ในปีก่อนหน้า เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้ม การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศ และการผ่อนคลายเงื่อนไขการเดินทางระหว่างประเทศของจีน เศรษฐกิจอาเซียน มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมถึงการชะลอลงของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากแรงกดดันของ

30 อัตราเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2566 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จะขยายตัวร้อยละ 4.5 ร้อยละ 4.2 ร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.3 ร้อยละ 8.7 ร้อยละ 7.6 และร้อยละ 8.0 ในปี 2565 ตามลำดับ ยังคงเท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน

แนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ภายหลังจากที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงจากจุดสูงสุดที่ร้อยละ 9.1 ในเดือนมิถุนายน 2565 โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากเฉลี่ยร้อยละ 7.1 ในไตรมาส ที่สี่ของปี 2565 ตามการปรับตัวลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งในกลุ่มพลังงาน อาหาร รถยนต์มือสอง ค่าใช้จ่ายการบริการ และเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคในบ้าน อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานที่ยังตึงตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าการแพร่ระบาด สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2512 และจำนวนลูกจ้างนอกภาคเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่อัตราตำแหน่งงานว่างยังคงสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด ส่งผลให้อาจสร้างแรงกดดันต่อการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างในระยะต่อไป และเพิ่มแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อ (Demand pull ination) ตามการเร่งขึ้นของราคาในหมวดบริการ อันส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป

ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะนำไปสู่ภาวะตลาดเงินตึงตัวและส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอสังหาริมทรัพย์สะท้อนจากดัชนีตลาดบ้าน (Housing Market Index) ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2555 เช่นเดียวกับยอดขายบ้านและระดับราคาบ้านที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศและเศรษฐกิจในภาพรวมให้ชะลอตัว ขณะเดียวกัน การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ในระยะต่อไปโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 แรงขับเคลิอนจากการลงทุนภาครัฐ

การลงทุนภาครัฐเป็นแรงขับเคลิอนสำคัญทิจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนิองในปี 2566 ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการติดตามเร่งรัด การเบิกจ่ายงบลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี โครงการลงทุนสำคัญของรัฐวิสาหกิจ ควบคู่ไปกับการผลักดันโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) เพื่อรักษาแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรอบวงเงินงบลงทุนรวมของภาครัฐมีจำนวนทั้งสิ้น 1,252,029.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากปีก่อน

การลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2566 มีมูลค่าการลงทุนรวม 443,351 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะมีการเบิกจ่ายสูงสุด 10 โครงการ มูลค่า 83,945.12 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.5 ของประมาณการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในโครงการสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโครงการลงทุนในสาขาขนส่ง 5 โครงการ สาขาพลังงาน 3 โครงการ สาขาพาณิชย์และบริการ 1 โครงการ และสาขาสาธารณูปการ 1 โครงการ โดยในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจภายใต้โครงการลงทุนสำคัญ 10 อันดับแรก มูลค่า 12,957.52 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.4 ของประมาณการเบิกจ่าย การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการติดตาม การเร่งรัดการลงทุนที่ผูกพันสัญญาไว้แล้ว รวมทั้งการเร่งดำเนินการโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุนแล้วให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็ว

การลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการร่วมลงทุนที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการฯ) เห็นชอบแล้ว จำนวน 6 โครงการ วงเงินรวม 46,450 ล้านบาท โดยมีมูลค่าเงินลงทุนภาครัฐประมาณ 42,350 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2566 มีโครงการร่วมลงทุนที่คณะกรรมการฯ เห็นชอบแล้วจำนวน 3 โครงการ วงเงินรวม 67,441 ล้านบาท โดยมีมูลค่าเงินลงทุนภาครัฐประมาณ 12,420 ล้านบาท นอกจากนี้คาดว่าจะมีการเสนอโครงการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชนให้คณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มเติม จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย (i) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) (ii) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อน ภูมิพล จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน (iii) โครงการสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (iv) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต - บางปะอิน วงเงินลงทุนรวม 242,420 ล้านบาท และเป็นการลงทุนภาครัฐประมาณ 122,072 ล้านบาท

การลงทุนในโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ปี 2566

โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงที่ต้องติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย อย่างต่อเนื่องเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจนส่งผลให้เกิดภาวะตลาดเงินตึงตัวและต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของบางประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น โดยเฉพาะหากแรงกดดันเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เปราะบางและมีสัดส่วนหนี้สินที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศสูง ที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมที่สำคัญ ได้แก่ (2.1) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงมีความไม่แน่นอนและอาจนำไปสู่การยกระดับความรุนแรงในการดำเนินมาตรการทางการทหารและมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในภูมิภาคยุโรปหากไม่สามารถจัดหาแหล่งพลังงานอื่นได้ทัน รวมทั้งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศที่มีรายได้น้อยและประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าอาหารเป็นหลัก และ (2.2) ปัญหาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ยังคงมีความตึงเครียดและมีแนวโน้มนำไปสู่การดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าและการลงทุนที่รุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อปัญหาห่วงโซ่การผลิตโลก อันเป็นผลเนื่องจากปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ของเศรษฐกิจจีนที่ยังอยู่ระดับสูงและความล่าช้าในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การลงทุนอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับความเสี่ยง จากการกลับมาแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศที่อาจรุนแรงมากขึ้นท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ยังต่ำ จนอาจส่งผลให้ต้องกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง และที่อาจเป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายของรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของสหรัฐฯ

โดยสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ (Special Mention Loans: SMLs) ต่อสินเชื่อรวมของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 12.0 ใกล้เคียงกับร้อยละ 7.6 และร้อยละ 11.7 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 4.8 และร้อยละ 3.2 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาด ตามลำดับ เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สามของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 86.8 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 88.1 ในไตรมาสก่อน แต่ยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 78.8 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ ภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถในการชำระหนี้ภายใต้อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs ครัวเรือนรายได้น้อย รวมทั้งลูกหนี้ที่ได้รับการพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการพักชำระหนี้ที่กำลังจะสิ้นสุดลง และลูกหนี้ กลุ่มเปราะบางของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและผู้ให้บริการทางการเงินแต่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank)

อันเป็นผลเนื่องจาก (1) การลดลงของกรอบวงเงินรายจ่ายประจำในปีงบประมาณ 2566 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีกรอบวงเงินอยู่ที่ 2,520,808.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากปีงบประมาณ 2565 และข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณมีการเบิกจ่าย 858,711.2 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 34.1 ลดลงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (2) การสิ้นสุดของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการและแผนงานภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ ทั้ง 2 ฉบับ วงเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท รวมทั้งมาตรการเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนที่จะเริ่มทยอยสิ้นสุดลง

แม้ว่าในกรณีฐานคาดว่าการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นไป อย่างราบรื่น และคาดว่ากระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 จะแล้วเสร็จและประกาศใช้หลังจากสิ้นสุดปีงบประมาณ 2566 ประมาณ 2 - 4 เดือน แต่เงื่อนไขบรรยากาศทางการเมืองและทิศทางนโยบายหลังการเลือกตั้งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุน ความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และการอนุมัติโครงการลงทุนใหม่ที่อาจมีความล่าช้ามากกว่าที่คาดการณ์ไว้

อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาล 1) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 และร้อยละ 5.4 ในปี 2565 และเท่ากับสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน โดยแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ประกอบกับความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญโดยเฉพาะต่อเศรษฐกิจยูโรโซน นอกจากนี้ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) และเศรษฐกิจอาเซียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวตามการลดลงของการส่งออกสินค้า ทั้งนี้ ในการประมาณการครั้งนี้ มีการปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสำคัญๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ให้สอดคล้องกับข้อมูลไตรมาสที่สี่ของปี 2565 และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลให้แนวโน้มการขยายตัวเปลี่ยนแปลงจากการประมาณการครั้งก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากยังเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้ม การอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและทำให้ดุลการค้าของญี่ปุ่นมีแนวโน้มขาดดุลอย่างต่อเนื่อง และการปรับเพิ่ม ประมาณการเศรษฐกิจจีนภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและเปิดประเทศเร็วกว่าที่คาด 2) ค่าเงินบาทเฉลิยในปี 2566 ในช่วง 32.2 - 33.2 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากเฉลิย 35.1 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2565 และแข็งค่าขึ้นจาก 35.5 - 36.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2565 โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 36.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจาก 36.4 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สาม และยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 33.2 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม 2566 และ 33.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงวันที่ 1-16 กุมภาพันธ์ 2566 ตามแนวโน้มการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายหลังจากแรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง ประกอบกับแนวโน้มการกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลับมาเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนภายหลังจากที่รัฐบาลจีนดำเนินมาตรการเปิดประเทศเร็วกว่าคาดการณ์ไว้เดิม รวมทั้งแนวโน้มการไหลเข้าของเงินทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รวมทั้งไทยภายหลังนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลและหันมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (Risk-on) มากขึ้น 3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลิยในปี 2566 อยู่ในช่วง 80.0 - 90.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงจากเฉลี่ย 96.2 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2565 และลดลงจากสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนที่ 85.0 - 95.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเร็วกว่าที่คาดจากเฉลี่ย 96.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่สาม ลดลงมาอยู่ที่ 84.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2565 อันเป็นผลเนื่องจากความกังวลต่อทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสำคัญโดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของจีนที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดูไบยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 81.2 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วง 1 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ 2566 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจจะทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะไม่ปรับตัวลดลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแนวโน้มการปรับลดกำลัง การผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันและพันธมิตร (OPEC+) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนภายหลังการเปิดประเทศ และทิศทางการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. 4) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ (-1.5) - (-0.5) และร้อยละ (-3.0) - (-2.0) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.2 และร้อยละ 13.0 ในปี 2565 โดยเป็นการปรับลดจากสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ (-0.5) - 0.5 และร้อยละ (-1.5) - (-0.5) ตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และแนวโน้มการลดลงของค่าระวางเรือสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ 5) รายรับจากนักท่องเทิยวต่างประเทศในปี 2566 รวม 1.31 ล้านล้านบาท และจำนวนนักท่องเทิยวต่างชาติทั้งสิ้น 28.0 ล้านคน33 เพิ่มขึ้นจาก 0.58 ล้านล้านบาท และ 11.2 ล้านคนในปี 2565 และเป็นการปรับเพิ่มจาก 1.20 ล้านล้านบาท และ 23.5 ล้านคน ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2565 จำนวนประมาณ 5.5 ล้านคน ส่งผลให้ในปี 2565 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งสิ้น 11.2 ล้านคน สูงกว่าที่คาดไว้เดิมที่ 10.2 ล้านคน ในการประมาณการครั้งก่อน นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการเปิดประเทศของรัฐบาลจีนที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมายังประเทศไทยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ อาทิ รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย ที่มีแนวโน้มที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 6) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 93.0 ของงบประมาณทั้งหมด เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับร้อยละ 94.6 ในปีงบประมาณ 2565 โดยแบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำที่ร้อยละ 98.0 เทียบกับร้อยละ 99.2 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ขณะที่อัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนคาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 75.0 เทียบกับร้อยละ 73.7 ในปีงบประมาณก่อนหน้า (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเหลิอมปี 2566 คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 86.2 ของงบประมาณทั้งหมด เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับร้อยละ 90.1 ในปีงบประมาณ 2565 โดยแบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำที่ร้อยละ 90.0 เทียบกับร้อยละ 93.1 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ขณะที่อัตราการเบิกจ่ายลงทุนคาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 85.0 เทียบกับร้อยละ 88.8 ในปีงบประมาณก่อนหน้า และ (3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณ เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และคิดเป็นวงเงินลงทุนประมาณ 3.45 แสนล้านบาท ประมาณการเศรษฐกิจปี 2566

เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.2) ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP เทียบกับการขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP ในปี 2565 ในการแถลงข่าววันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.2 ปรับลดลงจากร้อยละ 3.0 - 4.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 โดยมีการปรับสมมติฐานการประมาณการและองค์ประกอบในการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้ 1) การปรับลดประมาณการมูลค่าการส่งออกและมูลค่าการนำเข้า ตามการปรับลดสมมติฐานราคาส่งออกและนำเข้าให้สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ และการปรับลดประมาณการปริมาณการส่งออกและนำเข้าให้สอดคล้องกับทิศทางการลดลงของดัชนีปริมาณ การส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ที่มากกว่าที่คาดการณ์ โดยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ปริมาณการส่งออกและ การนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 10.3 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ 2) การปรับประมาณการการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐให้สอดคล้องกับการโอนเปลิยนแปลงกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี

งบประมาณ 2566 โดยปรับลดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำ เป็น 2,520,809 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 จาก 2,535,682 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 ขณะที่ปรับเพิ่มกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนเป็น 664,192 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 จาก 564,319 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 ส่งผลให้ในปี 2566 คาดว่าการอุปโภคภาครัฐบาลจะลดลงร้อยละ 1.5 และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 และขยายตัวร้อยละ 2.4 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามลำดับ 3) การปรับเพิมประมาณการจำนวนและรายรับจากนักท่องเทิยวต่างประเทศ เป็น 28.0 ล้านคน และ 1.31 ล้านล้านบาท เทียบกับ 23.5 ล้านคน และ 1.20 ล้านล้านบาท ในการประมาณการครั้งก่อน ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจาก 11.2 ล้านคน และ 0.58 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ตามการเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 รวมทั้งผลจากการเปิดประเทศของรัฐบาลจีนที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมายังประเทศไทยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 และจะส่งผลให้การส่งออกบริการ รวมถึงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวขยายตัวได้สูงกว่า ที่คาดการณ์

คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวและ ภาคเกษตร รวมทั้งตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.04 ในปี 2565 และเป็นการปรับลดจากการลดลงร้อยละ 0.1 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลด กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำภายหลังการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2566 รวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายจากพระราชกำหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และพระราชกำหนดเงินกู้ฯ 5 แสนล้านบาท

คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.3 ในปี 2565 โดย คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ปรับลดลงจากร้อยละ 2.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับร้อยละ 5.1 ในปี 2565 สอดคล้องกับแนวโน้มการลดลงของ การส่งออกสินค้า และ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.9 ในปี 2565 และเป็น การปรับเพิ่มจากร้อยละ 2.4 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายงบลงทุน ในปีงบประมาณ 2566 และการปรับกรอบงบประมาณหลังการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ

คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในปี 2565 และเป็นการปรับลดลง จากการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลดสมมติฐานราคาส่งออกและการปรับลดประมาณการปริมาณส่งออก โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกจะลดลงร้อยละ 0.6 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน ขณะที่ การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในสมมติฐานประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการเปิดประเทศที่เร็วกว่าที่คาดของจีน ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 8.5 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 6.8 ในปี 2565

คาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 15.3 ในปี 2565 และเทียบกับร้อยละ 1.6 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดสมมติฐานราคานำเข้าและการปรับลดประมาณการปริมาณนำเข้า โดยคาดว่าปริมาณ การนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับลดจากร้อยละ 2.6 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับแนวโน้มการลดลงของการส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การนำเข้าบริการมีแนวโน้มที่จะขยายตัวตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการเดินทางออกนอกประเทศของคนไทย ทำให้คาดว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับลดจากร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 4.1 ในปี 2565

คาดว่าจะเกินดุล 1.21 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2565 และ 1.77 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน ตามแนวโน้มการปรับลดประมาณการมูลค่าการส่งออกที่มากกว่ามูลค่าการนำเข้า ขณะที่ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2566 มีแนวโน้ม ที่จะเกินดุล 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของ GDP เทียบกับการขาดดุล 1.69 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นการขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP ในปี 2565 และเทียบกับการเกินดุล 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นการเกินดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP ในการประมาณการครั้งก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2566 คาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.1 ในปี 2565 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ

ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะ ในสาขาสำคัญที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขภาระหนี้เดิมและการปรับโครงสร้างหนี้ ควบคู่ไปกับการจัดการหนี้นอกระบบ เพื่อให้มีความสามารถในการชำระหนี้และไม่ให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและเศรษฐกิจในระยะยาว โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก 2566/2567 ที่มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูง ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิตของภาคการเกษตรและ การปรับโครงสร้างการผลิตที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต รวมทั้งการขยายผลการทำการเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ที่พึ่งพิงวัตถุดิบทางการเกษตรภายในประเทศ

โดยให้ความสำคัญกับ (1) การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง อาทิ ตลาดตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และอาเซียน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดน เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ CLMV (2) การติดตามประเมินสถานการณ์และเงื่อนไขการค้าโลก (3) การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกโดยมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามความต้องการและข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิต (4) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ (5) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ (6) การอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

โดยให้ความสำคัญกับ (1) การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมสำหรับปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยวให้เหมาะสมและเพียงพอเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ การพิจารณาความเพียงพอของเที่ยวบิน การเตรียมความพร้อมด้านแรงงาน รวมทั้งการพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย ให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ (2) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง และยกระดับศักยภาพและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรักษามาตรฐานความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว (3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะกลุ่มพำนักระยะยาว และ (4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมถึงการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วง ปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (2) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (3) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ควบคู่ไปกับการดึงดูดนักลงทุนจากกลุ่มประเทศใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ (4) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค (5) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และ (6) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

ประกอบด้วย (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด พร้อมทั้งเตรียมการสำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ไม่ให้มีความล่าช้า (2) การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการในโครงการที่สำคัญ ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว และ (3) การเพิ่มศักยภาพทางการคลังโดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการจัดลำดับความสำคัญด้านการใช้จ่าย เพื่อให้ฐานะการคลังอยู่ในระดับที่เพียงพอในการสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้ความไม่แน่นอนของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะต่อไป

ทั้งในช่วงก่อนและหลังการการเลือกตั้ง

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ