คณะรัฐมนตรีอนุมัติแนวทางและงบประมาณการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งท่องเที่ยว และปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ตามที่ สศช. และจังหวัดบุรีรัมย์เสนอ วงเงิน 2,303.912 ล้านบาท พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างบูรณาการ
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแผนงานและโครงการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ (2548-2551) ตามที่ สศช. จังหวัดบุรีรัมย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548
ข้อเสนอโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดทั้งหมดมี 3 ด้านหลัก คือ การพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาเมืองพนมรุ้ง และการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ในวงเงินงบประมาณจำนวน 2,303.912 ล้านบาท
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า แผนงานและโครงการดังกล่าว สศช. ได้ประเมินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและผลตอบแทนจากการลงทุน พบว่า ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในการพัฒนาแหล่งน้ำและการท่องเที่ยว จะช่วยให้จังหวัดบุรีรัมย์มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยประมาณปีละ 1,504 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์จังหวัดประมาณร้อยละ 1.8 ในช่วงปี 2549-2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 ต่อปี รวมทั้งประมาณว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรจังหวัดบุรีรัมย์จะเพิ่มขึ้นจาก 24,929 บาทในปี 2546 เป็นประมาณ 32,292 บาทในปี 2551
ทั้งนี้ ด้านการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำ จะส่งผลให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจากการพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำผิวดิน และระบบประปาบาดาล รวมจำนวนประมาณ 63,700 ครัวเรือน รวมทั้งป่าต้นน้ำในจังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการฟื้นฟู และพื้นที่เกษตรกรรมได้รับประโยชน์จากน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ด้านการท่องเที่ยวและคมนาคม จะทำให้ 1) แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทหินพนมรุ้ง 2) เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัด เพื่อการเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางอารยธรรมขอมภายในประเทศ และการสนับสนุนกิจกรรมการลงทุนของนักธุรกิจภาคเอกชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสการจ้างงานและการกระจายรายได้สู่ชุมชน และ 3) มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มมากขึ้น
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า คณะรัฐมนตรียังได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการแก้ไข ปัญหาภัยแล้งในระยะยาวและระยะเร่งด่วน ในปี 2548-2549 ที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้นำเสนอเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและบรรเทาความเสียหายจากภัยแล้งในปี 2548 ได้แก่
(1) อนุมัติในหลักการการจัดให้มีระบบประปาหมู่บ้านให้แก่หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาด ให้ครบ 14,580 หมู่บ้าน ภายในปี 2551
(2) มอบให้กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ รับไปพิจารณาในรายละเอียดของข้อเสนอขอสนับสนุนเงินกู้เพื่อการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อป้องกันผลกระทบเนื่องจากภาวะภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแผนงานและโครงการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ (2548-2551) ตามที่ สศช. จังหวัดบุรีรัมย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548
ข้อเสนอโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดทั้งหมดมี 3 ด้านหลัก คือ การพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาเมืองพนมรุ้ง และการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ในวงเงินงบประมาณจำนวน 2,303.912 ล้านบาท
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า แผนงานและโครงการดังกล่าว สศช. ได้ประเมินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและผลตอบแทนจากการลงทุน พบว่า ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในการพัฒนาแหล่งน้ำและการท่องเที่ยว จะช่วยให้จังหวัดบุรีรัมย์มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยประมาณปีละ 1,504 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์จังหวัดประมาณร้อยละ 1.8 ในช่วงปี 2549-2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 ต่อปี รวมทั้งประมาณว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรจังหวัดบุรีรัมย์จะเพิ่มขึ้นจาก 24,929 บาทในปี 2546 เป็นประมาณ 32,292 บาทในปี 2551
ทั้งนี้ ด้านการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำ จะส่งผลให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจากการพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำผิวดิน และระบบประปาบาดาล รวมจำนวนประมาณ 63,700 ครัวเรือน รวมทั้งป่าต้นน้ำในจังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการฟื้นฟู และพื้นที่เกษตรกรรมได้รับประโยชน์จากน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ด้านการท่องเที่ยวและคมนาคม จะทำให้ 1) แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทหินพนมรุ้ง 2) เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัด เพื่อการเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางอารยธรรมขอมภายในประเทศ และการสนับสนุนกิจกรรมการลงทุนของนักธุรกิจภาคเอกชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสการจ้างงานและการกระจายรายได้สู่ชุมชน และ 3) มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มมากขึ้น
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า คณะรัฐมนตรียังได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการแก้ไข ปัญหาภัยแล้งในระยะยาวและระยะเร่งด่วน ในปี 2548-2549 ที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้นำเสนอเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและบรรเทาความเสียหายจากภัยแล้งในปี 2548 ได้แก่
(1) อนุมัติในหลักการการจัดให้มีระบบประปาหมู่บ้านให้แก่หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาด ให้ครบ 14,580 หมู่บ้าน ภายในปี 2551
(2) มอบให้กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ รับไปพิจารณาในรายละเอียดของข้อเสนอขอสนับสนุนเงินกู้เพื่อการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อป้องกันผลกระทบเนื่องจากภาวะภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-