ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง "มองให้ไกล ไปให้ถึง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน" ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 โดยได้ร่วมกันกำหนด
แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เปิดเผยว่า การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวคิดการพัฒนาที่
ยั่งยืนในมุมมองที่หลากหลาย เพื่อนำมาปรับใช้ในบริบทไทย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้ทุก
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบาย เห็นความสำคัญ และเข้าใจถึงแนวคิดและวิธีดำเนินการพัฒนาที่
ยั่งยืน ที่เหมาะสมกับบริบทไทยอย่างแท้จริง และสามารถนำไปใช้ปรับปรุงแนวคิดในการกำหนดนโยบายและ
วิธีดำเนินการให้สอดคล้องกันต่อไป
ในการสัมมนาครั้งนี้ สศช. ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย ซึ่ง
ประกอบด้วยแนวคิดและความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาตามแนวคิด
การพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินสถานการณ์ความยั่งยืนของประเทศ และสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน รวมทั้งเสนอประเด็นแนวคิดที่ท้าทายในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนให้บรรลุผล
สำเร็จ และจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมประชุมต่างเห็นพ้องกันในประเด็นของหลักการ และ
แนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยดังนี้
* หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการในการ
พัฒนาแบบยั่งยืนที่เหมาะสมสำหรับบริบทไทย ที่มีดุลยภาพระหว่างมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่าง
เกื้อกูลกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดไป
* การกำหนดแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องทำความเข้าใจกับทุก
ภาคีการพัฒนาเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย รวมทั้งกระบวนการในการกำหนด
แนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาต้องให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
ตัดสินใจตั้งแต่เริ่มแรก โดยให้ความสำคัญกับ 1) บูรณาการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการกำหนด
นโยบายทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้น 2) เข้าใจถึงข้อจำกัดของการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ ความสอดคล้องกับ
หลักเกณฑ์ของธรรมชาติที่มีความเป็นพลวัตร ข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติที่มีทั้งประเภทใช้แล้วหมดไป
และที่ใช้แล้วสามารถฟื้นฟูขึ้นใหม่ได้ และ 3) แนวนโยบายมีความมั่นคง ถึงแม้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
* แนวทางเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย ประกอบด้วย การปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศสู่ภาคบริการมากขึ้น การผลิต บริการ และบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับพันธกรณีระหว่าง
ประเทศ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในมิติต่างๆ อย่างเข้มแข็ง การเสริมสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้
สร้างวัฒนธรรมและจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่อ
คุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเหมาะสมกับสังคมไทย เสริมสร้างเครือข่ายการ
ประสานงานและการทำงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน
ประชาชนในท้องถิ่น และกลุ่มอาสาสมัครในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สศช. จะจัดสัมมนาเรื่องนี้อีก 2 ครั้ง เพื่อหาข้อสรุป
และขยายผลแนวคิดและรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทไทย เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา
และแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้าน
แนวคิดสำหรับการประชุมครั้งที่ 2 และ 3 ซึ่งจะจัดในเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม 2548 ตามลำดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เปิดเผยว่า การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวคิดการพัฒนาที่
ยั่งยืนในมุมมองที่หลากหลาย เพื่อนำมาปรับใช้ในบริบทไทย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้ทุก
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบาย เห็นความสำคัญ และเข้าใจถึงแนวคิดและวิธีดำเนินการพัฒนาที่
ยั่งยืน ที่เหมาะสมกับบริบทไทยอย่างแท้จริง และสามารถนำไปใช้ปรับปรุงแนวคิดในการกำหนดนโยบายและ
วิธีดำเนินการให้สอดคล้องกันต่อไป
ในการสัมมนาครั้งนี้ สศช. ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย ซึ่ง
ประกอบด้วยแนวคิดและความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาตามแนวคิด
การพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินสถานการณ์ความยั่งยืนของประเทศ และสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน รวมทั้งเสนอประเด็นแนวคิดที่ท้าทายในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนให้บรรลุผล
สำเร็จ และจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมประชุมต่างเห็นพ้องกันในประเด็นของหลักการ และ
แนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยดังนี้
* หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการในการ
พัฒนาแบบยั่งยืนที่เหมาะสมสำหรับบริบทไทย ที่มีดุลยภาพระหว่างมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่าง
เกื้อกูลกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดไป
* การกำหนดแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องทำความเข้าใจกับทุก
ภาคีการพัฒนาเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย รวมทั้งกระบวนการในการกำหนด
แนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาต้องให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
ตัดสินใจตั้งแต่เริ่มแรก โดยให้ความสำคัญกับ 1) บูรณาการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการกำหนด
นโยบายทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้น 2) เข้าใจถึงข้อจำกัดของการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ ความสอดคล้องกับ
หลักเกณฑ์ของธรรมชาติที่มีความเป็นพลวัตร ข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติที่มีทั้งประเภทใช้แล้วหมดไป
และที่ใช้แล้วสามารถฟื้นฟูขึ้นใหม่ได้ และ 3) แนวนโยบายมีความมั่นคง ถึงแม้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
* แนวทางเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย ประกอบด้วย การปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศสู่ภาคบริการมากขึ้น การผลิต บริการ และบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับพันธกรณีระหว่าง
ประเทศ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในมิติต่างๆ อย่างเข้มแข็ง การเสริมสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้
สร้างวัฒนธรรมและจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่อ
คุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเหมาะสมกับสังคมไทย เสริมสร้างเครือข่ายการ
ประสานงานและการทำงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน
ประชาชนในท้องถิ่น และกลุ่มอาสาสมัครในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สศช. จะจัดสัมมนาเรื่องนี้อีก 2 ครั้ง เพื่อหาข้อสรุป
และขยายผลแนวคิดและรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทไทย เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา
และแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้าน
แนวคิดสำหรับการประชุมครั้งที่ 2 และ 3 ซึ่งจะจัดในเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม 2548 ตามลำดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-