เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2548” ว่า
เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลง
เล็กน้อยจากไตรมาส 4/47 ร้อยละ 0.6 ทั้งนี้เป็นผลมาจากภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว ธรณีพิบัติภัยใน 6
จังหวัดอันดามัน และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ภาวะการผลิตโดยรวมชะลอตัว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร ลดลงร้อยละ
8.2 หมวดพืชผลลดลงร้อยละ 16.7 เนื่องจากประสบภาวะแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ทำให้ผลผลิต
เกษตรหลักๆ ลดลง ขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 24.0 จากผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่เพิ่มขึ้น และสามารถส่งออก
เนื้อไก่ต้มสุกได้ ส่วนหมวดประมงชะลอลงเหลือร้อยละ 8.4 ตามภาวะการส่งออกกุ้งที่ลดลงจากปัญหาการตอบโต้การ
ทุ่มตลาดจากสหรัฐอเมริกา แม้ว่าปริมาณผลผลิตจะลดลง แต่ระดับรายได้ของเกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากราคา
ผลผลิตเกษตรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ทำให้จีดีพีภาคเกษตรไตรมาส 1/48 ณ ราคาปัจจุบัน ขยายตัวได้ร้อย
ละ 1.4
ส่วนภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่แล้ว โดย
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 2.0 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการบริการ
โรงแรมลดลงร้อยละ 7.4 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงร้อยละ 7.1 โดยเฉพาะจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ
ภัยใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ขณะเดียวกัน สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ
7.6 เป็นการชะลอตัวลงทั้งอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี
ขณะเดียวกัน สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 13.3 ชะลอจากร้อยละ 22.2 เป็นผลมาจากการก่อสร้าง
ภาครัฐและภาคเอกชนชะลอตัวลง สาขาคมนาคมขนส่งก็ชะลอการขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วเหลือร้อยละ 4.9 เนื่อง
จากการขนส่งสินค้าและการขนส่งทางอากาศหดตัวลง ขณะที่บริการโทรคมนาคมขยายตัวสูงกว่าไตรมาสก่อน และสาขา
ค้าส่งค้าปลีกชะลอตัวลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งที่มีความรุนแรง และราคาน้ำมันใน
ประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมในประเทศชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม สาขาที่มีการขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อย
ละ 8.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อน สาขาการเงินและการธนาคารขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 17.2
เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ยังคงดีขึ้น และสาขาบริการอื่นๆ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นผลมา
จากการบริหารราชการแผ่นดิน การศึกษา และการบริการสาธารณสุข
เลขาธิการฯ กล่าวถึงการใช้จ่ายว่า การใช้จ่ายในประเทศ ยังคงขยายตัวทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล
การบริโภคของครัวเรือน และการลงทุน โดยการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 16.0เนื่องจากการปรับเงิน
เดือนและเพิ่มค่าตอบแทนต่างๆ และค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง การลงทุนมีการขยายตัว
ร้อยละ 14.8 เทียบกับร้อยละ 16.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปัจจัยหลักมาจากภาคเอกชนชะลอการลงทุนด้านการก่อ
สร้างและด้านเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่ภาครัฐขยายตัว 29.2 สูงกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เป็นผลมาจากการเพิ่ม
ขึ้นของการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือและด้านก่อสร้างของรัฐบาล และการใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงร้อย
ละ 4.5 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.4 โดยมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศที่สำคัญคือ ผลกระทบจาก
เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ต่อการท่องเที่ยว การหยุดจัดงานฉลองปีใหม่ตอนต้นปี การใช้จ่ายเพื่อซื้อ
สินค้าคงทนลดลงโดยเฉพาะรถยนต์ ประกอบกับภาวะภัยแล้ง และแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายใน
ประเทศ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค แม้ว่ารายได้ภาคเกษตรยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีก็ตาม
ด้านการส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานยังคงลดลงอย่างมากถึงร้อยละ
47.3 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.8 จากการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง
วัตถุดิบ และสินค้าทุน รวมทั้งรายจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศขยายตัวสูงขึ้น ประกอบกับการส่ง
ออกและบริการลดลงร้อยละ 0.1 เป็นผลมาจากภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก และปริมาณ
ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งรายได้จากการท่องเที่ยวชะลอลง ทำให้ขาดดุลการค้า 124,500
ล้านบาท นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 61,496 ล้าน
บาท ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 38.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้บริโภค
ชะลอลงเหลือร้อยละ 2.8
เลขาธิการฯ กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2548 ว่า ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547 โดย
มีปัจจัยบวกด้านราคาและมูลค่าสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยมีแนวโน้มขยาย
ตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเพิ่มขึ้น บรรยากาศและเงื่อนไขด้านการลงทุนที่แสดงว่าการลงทุนภาคเอกชนยังมี
แนวโน้มดี และค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยมีสมมติฐานว่า เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 3.4 ราคาน้ำมันดิบดูไบ
เฉลี่ยบาเรลละ 44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และ 13.0 ตาม
ลำดับ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-5.5 โดยมีความน่าจะเป็นร้อยละ 86.1
ดร.อำพน กล่าวในตอนท้ายว่า กรณีที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.5 จะต้องกระตุ้นการส่งออก
ให้ขยายตัวประมาณร้อยละ 18 ในสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบนำเข้าต่ำ เพิ่มจำนวนนัก
ท่องเที่ยวประมาณ 200,000 คน เร่งรัดการเบิกจ่ายงบกลางประจำปีงบประมาณ 2548 รวม 50,000 ล้านบาท
และเบิกจ่ายงบปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม และค่าใช้จ่ายในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ค้างจ่ายอีก
ประมาณ 48,471 ล้านบาท ส่วนกรณีขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.5 จะมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบหรือ
โอมานอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ซึ่งจะทำให้เงิน
เฟ้อสูงขึ้นกว่าร้อยละ 4
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548
2546 2547 7 มี.ค.48 6 มิ.ย.48
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,930.4 6,576.8 7,198.8 7,195.0
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.9 6.1 5.5 - 6.5 4.5 - 5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 11.9 14.4 15.6 11.9
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.5 15.3 15.7 10.6
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.8 11.7 15.3 15.3
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.4 5.7 5.1
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.6 5.3 4.6
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.0 4.1 8.6 8.6
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 7.8 5.9 5.2
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 110.3 111.1
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23.0 14.8 15.7
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 7.0 5.5 4.7
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.7 12.1 9.4 9.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 94.4 113.4 116.1
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.9 20.2 23.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.7 12.1 10.2 10.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.7 -3.2 -4.9
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 7.3 1.9 0.1
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.5 1.0 0.1
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 3.1 3.6
GDP Deflator 1.9 4.6 3.6 4.4
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มิถุนายน 2548
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สังคมแห่งชาติ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2548” ว่า
เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลง
เล็กน้อยจากไตรมาส 4/47 ร้อยละ 0.6 ทั้งนี้เป็นผลมาจากภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว ธรณีพิบัติภัยใน 6
จังหวัดอันดามัน และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ภาวะการผลิตโดยรวมชะลอตัว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร ลดลงร้อยละ
8.2 หมวดพืชผลลดลงร้อยละ 16.7 เนื่องจากประสบภาวะแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ทำให้ผลผลิต
เกษตรหลักๆ ลดลง ขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 24.0 จากผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่เพิ่มขึ้น และสามารถส่งออก
เนื้อไก่ต้มสุกได้ ส่วนหมวดประมงชะลอลงเหลือร้อยละ 8.4 ตามภาวะการส่งออกกุ้งที่ลดลงจากปัญหาการตอบโต้การ
ทุ่มตลาดจากสหรัฐอเมริกา แม้ว่าปริมาณผลผลิตจะลดลง แต่ระดับรายได้ของเกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากราคา
ผลผลิตเกษตรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ทำให้จีดีพีภาคเกษตรไตรมาส 1/48 ณ ราคาปัจจุบัน ขยายตัวได้ร้อย
ละ 1.4
ส่วนภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่แล้ว โดย
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 2.0 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการบริการ
โรงแรมลดลงร้อยละ 7.4 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงร้อยละ 7.1 โดยเฉพาะจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ
ภัยใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ขณะเดียวกัน สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ
7.6 เป็นการชะลอตัวลงทั้งอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี
ขณะเดียวกัน สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 13.3 ชะลอจากร้อยละ 22.2 เป็นผลมาจากการก่อสร้าง
ภาครัฐและภาคเอกชนชะลอตัวลง สาขาคมนาคมขนส่งก็ชะลอการขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วเหลือร้อยละ 4.9 เนื่อง
จากการขนส่งสินค้าและการขนส่งทางอากาศหดตัวลง ขณะที่บริการโทรคมนาคมขยายตัวสูงกว่าไตรมาสก่อน และสาขา
ค้าส่งค้าปลีกชะลอตัวลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งที่มีความรุนแรง และราคาน้ำมันใน
ประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมในประเทศชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม สาขาที่มีการขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อย
ละ 8.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อน สาขาการเงินและการธนาคารขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 17.2
เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ยังคงดีขึ้น และสาขาบริการอื่นๆ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นผลมา
จากการบริหารราชการแผ่นดิน การศึกษา และการบริการสาธารณสุข
เลขาธิการฯ กล่าวถึงการใช้จ่ายว่า การใช้จ่ายในประเทศ ยังคงขยายตัวทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล
การบริโภคของครัวเรือน และการลงทุน โดยการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 16.0เนื่องจากการปรับเงิน
เดือนและเพิ่มค่าตอบแทนต่างๆ และค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง การลงทุนมีการขยายตัว
ร้อยละ 14.8 เทียบกับร้อยละ 16.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปัจจัยหลักมาจากภาคเอกชนชะลอการลงทุนด้านการก่อ
สร้างและด้านเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่ภาครัฐขยายตัว 29.2 สูงกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เป็นผลมาจากการเพิ่ม
ขึ้นของการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือและด้านก่อสร้างของรัฐบาล และการใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงร้อย
ละ 4.5 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.4 โดยมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศที่สำคัญคือ ผลกระทบจาก
เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ต่อการท่องเที่ยว การหยุดจัดงานฉลองปีใหม่ตอนต้นปี การใช้จ่ายเพื่อซื้อ
สินค้าคงทนลดลงโดยเฉพาะรถยนต์ ประกอบกับภาวะภัยแล้ง และแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายใน
ประเทศ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค แม้ว่ารายได้ภาคเกษตรยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีก็ตาม
ด้านการส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานยังคงลดลงอย่างมากถึงร้อยละ
47.3 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.8 จากการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง
วัตถุดิบ และสินค้าทุน รวมทั้งรายจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศขยายตัวสูงขึ้น ประกอบกับการส่ง
ออกและบริการลดลงร้อยละ 0.1 เป็นผลมาจากภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก และปริมาณ
ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งรายได้จากการท่องเที่ยวชะลอลง ทำให้ขาดดุลการค้า 124,500
ล้านบาท นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 61,496 ล้าน
บาท ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 38.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้บริโภค
ชะลอลงเหลือร้อยละ 2.8
เลขาธิการฯ กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2548 ว่า ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547 โดย
มีปัจจัยบวกด้านราคาและมูลค่าสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยมีแนวโน้มขยาย
ตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเพิ่มขึ้น บรรยากาศและเงื่อนไขด้านการลงทุนที่แสดงว่าการลงทุนภาคเอกชนยังมี
แนวโน้มดี และค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยมีสมมติฐานว่า เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 3.4 ราคาน้ำมันดิบดูไบ
เฉลี่ยบาเรลละ 44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และ 13.0 ตาม
ลำดับ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-5.5 โดยมีความน่าจะเป็นร้อยละ 86.1
ดร.อำพน กล่าวในตอนท้ายว่า กรณีที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.5 จะต้องกระตุ้นการส่งออก
ให้ขยายตัวประมาณร้อยละ 18 ในสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบนำเข้าต่ำ เพิ่มจำนวนนัก
ท่องเที่ยวประมาณ 200,000 คน เร่งรัดการเบิกจ่ายงบกลางประจำปีงบประมาณ 2548 รวม 50,000 ล้านบาท
และเบิกจ่ายงบปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม และค่าใช้จ่ายในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ค้างจ่ายอีก
ประมาณ 48,471 ล้านบาท ส่วนกรณีขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.5 จะมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบหรือ
โอมานอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ซึ่งจะทำให้เงิน
เฟ้อสูงขึ้นกว่าร้อยละ 4
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548
2546 2547 7 มี.ค.48 6 มิ.ย.48
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,930.4 6,576.8 7,198.8 7,195.0
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.9 6.1 5.5 - 6.5 4.5 - 5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 11.9 14.4 15.6 11.9
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.5 15.3 15.7 10.6
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.8 11.7 15.3 15.3
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.4 5.7 5.1
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.6 5.3 4.6
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.0 4.1 8.6 8.6
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 7.8 5.9 5.2
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 110.3 111.1
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23.0 14.8 15.7
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 7.0 5.5 4.7
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.7 12.1 9.4 9.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 94.4 113.4 116.1
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.9 20.2 23.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.7 12.1 10.2 10.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.7 -3.2 -4.9
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 7.3 1.9 0.1
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.5 1.0 0.1
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 3.1 3.6
GDP Deflator 1.9 4.6 3.6 4.4
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มิถุนายน 2548
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-