ท่ามกลางภาวะการแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ประเทศไทยจะต้องปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมอย่างไรให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของโลก รวมไปถึงสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตต่างๆ ให้มากขึ้นซึ่งนายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ความคิดเห็นจากสายตาของผู้ประกอบการได้อย่างน่าสนใจยิ่งใน"สัมภาษณ์พิเศษ" ฉบับนี้
อุตสาหกรรมไทยโตเร็ว ภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
ผลสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย กล่าวได้ว่า เป็นผลมาจากการมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นฐานการผลิต ซึ่งต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นสปริงบอร์ดสำหรับกระโดดไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ รวมทั้งแรงงานของไทยมีราคาถูก ซึ่งดึงดูดใจนักลงทุนให้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่สำคัญรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
"ถ้าพิจารณาดี ๆ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของทุกรัฐบาลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการผลักดันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การเติบโตจึงเกิดอย่างมีทิศทาง ขณะที่ภาคราชการก็ทำงานสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามระบบ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งขึ้นมาได้ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากระบบราชการไทยเป็นตัวขับเคลื่อนผลักดันที่สำคัญ ภาคเอกชนเองก็ทำงานและช่วยกันขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดยั้ง และทำงานร่วมกับภาคราชการได้ดี ส่งผลให้เอกชนเป็นตัวชูโรงในการพัฒนาอยู่ตลอดมา"
การปรับปรุงกลไกภาครัฐ:ทางออกสำหรับปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น(2)
จดหมายข่าว"แผนฯ10" ฉบับที่แล้ว ได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาสำคัญของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 2 ประการ ได้แก่ การปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ เพื่อให้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร มีเครื่องมือที่จะจัดการกับปัญหาได้โดยตรง สำหรับจดหมายข่าว"แผนฯ10"ฉบับนี้ จะขอนำเสนอปัจจัยต่างๆ ที่ควรคำนึงถึงในการจัดการกับการทุจริตภาครัฐให้ได้ผล
วิธีการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐต้องมีรูปแบบเฉพาะ
การดำเนินคดีทุจริตกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของรัฐนั้น นอกจากจะต้องระมัดระวังมิให้มีการล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลเช่นเดียวกับการดำเนินคดีอาญาทั่วไปแล้ว ยังต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หรือผลประโยชน์ของประเทศชาติด้วย ตัวอย่างเช่น ในการจับกุมเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตนอกเหนือจากมาตรการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลแล้ว ยังควรมีกระบวนการตรวจสอบโดยฝ่ายบริหารเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเสนอขอให้ศาลออกหมายจับด้วย เป็นต้น
นอกจากนี้ การดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐอาจต้องมีการพิจารณาดำเนินการในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น อาจต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งศาลปกครองที่เกิดขึ้นจากกระทำทุจริต หรือมีการกำหนดขั้นตอนเพื่อการเยียวยาความเสียหายในทางแพ่งที่รัฐได้บอันเกิดจากการทุจริต เป็นตัน
ดังนั้น การออกแบบวิธีพิจารณากรณีทุจริตในภาครัฐจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่สามารถนำกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอา๗มาใช้ได้ทั้งหมด แต่จำเป็นต้องสร้างรูปแบบการดำเนินคดีที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตัวของการกระทำผิด รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์หรือระบบการประสานงานกัยองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานป้องกนและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เป็นต้น
เจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีต้องมีความรู้รอบด้าน
เจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐ นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ยังจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมากกว่าเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ดำเนินคดีอาญาด้วย อาทิ จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครอง มีความรู้เรื่องกฎหมายมหาชน หรือกฎหมายปกครอง การดำเนินการทางวินัย การตรวจสอบภาษีอากร เทคนิคการสืบสวน การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารหรืองานด้านข่าวกรองการทุจริตเป็นต้น
การทุจริตในภาครัฐอาจไม่มีผู้เสียหายร้องเรียน
การทุจริตในภาครัฐเป็นเรื่องของความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนที่ต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในบางกรณีไม่มีผู้เสียหายที่จะนำเรื่องมาร้องเรียนหรือกล่าวหาดังเช่นคดีอาญาทั่วไป ดังนั้น จึงจำเป้นต้องพัฒนาระบบการเปิดเผยการกระทำผิดขึ้น เพื่อให้มีการรายงานการกระทำผิด เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายโดยไม่ต้องมีการร้องเรียนหรือกล่าวหาจากผู้เสียหาย
หน่วยงานฝ่ายบริหารและป.ป.ช.ไม่ควรแบ่งแยกจากกันโดยเด็ดขาด
สำหรับการจัดตั้งหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของฝ่ายบริหาร ควรเป็นการลดช่องว่างหรือจุดอ่อนของระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกล่าวคือ สิ่งใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำได้ดีอยู่แล้วก็ควรดำเนินการต่อไป ภารกิจใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แบกรับไม่ไหว ก็ควรแบ่งเอาให้องค์กรใหม่รับไปดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม การจัดกรอบภารกิจระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับองค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ไม่ควรเป็นการแบ่งแยกแบบเด็ดขาด ควรมีระบบการส่งต่อและการตรวจสอบระหว่างกันที่เหมาะสม มีการประสานงานและมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรผนึกกำลังกันต้านการทุจริตในภาครัฐ
นอกเหนือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และองค์กรฝ่ายบริหารที่จะตั้งขึ้นใหม่แล้ว ยังมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามทุจริตตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีเป็นต้น
หน่วยงานเหล่านี้ ควรดำเนินการโดยมีแนวนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน และวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน ซึ่งจะต้องอาศัยการประสานงานและติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และนำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ควรมีกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้สามารถกล่าวหาการกระทำทุจริตต่อเจ้าหน้าที่หรือองค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีทุจริตเช่น คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ด้วย
บทส่งท้าย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐของประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังมีข้อด้อยอยู่มาก เนื่องจากขาดองค์กรที่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการจัดการกับการทุจริตในภาครัฐได้โดยตรง ทำให้ภาระการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐทั้งหมดตกอยู่กับองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียว
มาตรการในการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาเป็นกลไกของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยกำหนดขอบเขตภารกิจของแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจนจะช่วยแบ่งเบาภาระในการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐ ทั้งยังทำให้ฝ่ายบริหารสามารถทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ การดำเนินจะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไปอย่างมากด้วย ดังนั้น การออกแบบวิธีการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐจะต้องสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตัวของการกระทำผิด จึงจะทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐได้ต่อไป
อุตสาหกรรมไทยละเลยการพัฒนาบุคลากรและการวิจัยพัฒนา
จากการที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ผลกระทบที่ติดตามมาคือทำให้ไทยขาดความพร้อมหรือละเลยการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรและการส่งเสริมทางด้านการวิจัยและพัฒนา
"อุตสาหกรรมไทยจะเน้นใช้วิธีซื้อเทคโนโลยีเข้ามา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเวลาผ่านไปเรารักษาเทคโนโลยีไว้ไม่ได้ประกอบกับตอนที่ภาคอุตสาหกรรมโตมากๆมีการซื้อตัวบุคลากรกันด้วยราคาสูง โดยเฉพาะวิศวกร การจะรักษาเทคโนโลยีเอาไว้ โรงงานต้องมีวิศวกร แต่ช่วงนั้นวิศวกรเปลี่ยนงานกันบ่อยทำให้ในแต่ละโรงงานมีการพัฒนาเทคโนโลยีได้ไม่ต่อเนื่องซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง คือผลิตคนมาทำ R&D ได้ไม่ทันกับความต้องการ สถาบันการศึกษาก็ไม่สนใจจริงจังที่มาเชื่อมต่อเรื่องนี้กับภาคเอกชน"
พัฒนาบุคลากร การวิจัยและการพัฒนา:ภาครัฐ เอกชนต้องร่วมมือกัน
การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยเพื่อเข้าสู่การแข่งขันบนเวทีโลก จะมองแต่เรื่องต้นทุนการผลิตในเชิงแรงงานหรือในด้านวัตถุดิบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการบริการด้วยการเติมความรู้และเทคโนโลยีให้กับกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาการพัฒนาบุคลากร การวิจัย และพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
“ผมเคยคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเราจะพัฒนา R&D ให้กับผู้ประกอบการกันอย่างไร ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องคงต้องเข้าร่วม เราคิดจะสร้างกองทุนที่สนับสนุน R&D ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากรและเรื่องอื่นๆ ...แต่ปัญหาคือขาดแหล่งทุนสนับสนุน...สุดท้าย อาจจะต้องใช้ลักษณะกึ่งบังคับ เช่น ให้เอกชนเอาเงินมาสนับสนุนกองทุนสักส่วนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าจำเป็นที่ต้องเข้ามาร่วมสร้างตรงนี้ เพราะเสียเงินไปแล้วดีกว่าจ่ายไปแล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา รัฐบาลต้องจริงจังเรื่องนี้ เพราะถ้าไม่ทำ อนาคตเราจะสู้ชาติอื่นไม่ได้”
ต้องพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ(Cluster) ทั้งกระบวนการ
นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมจะต้องมองไปในทิศทางเดียวกันเรื่องการผลิตในลักษณะเดียวกันเรื่องการผลิตในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ ที่มีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการออกแบบ การวิจัยและพัฒนา การตลาด การระดมทุน การบริหารจัดการให้ครบทั้งกระบวนการ
อุตสาหกรรมไทยจะอยู่ได้ ต้องมีพันธมิตรต้องมีระบบเครือข่ายวิสาหกิจ มีระบบ supply chain มารองรับ และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น การบริหารธุรกิจแบบครอบครัวอย่างเดียวไม่ได้ต้องก้าวไปสู่ตลาดหลักทรัพย์ มีคนเข้ามาถือหุ้นจึงจะแข่งขันกับเขาได้ในการแข่งขันระดับสากลซึงของอย่างนี้บังคับกันไม่ได้ แต่มันจะเกิดขึ้นเอง เกิดจากแรงกดดันรอบตัว ควบคู่ไปกับความปรารถนาที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองภายในภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังเดินไปในทางที่ถูกต้องในเรื่องคลัสเตอร์ เรื่องซัพพลายเชน นักธุรกิจรุ่นใหม่สร้างพันธมิตรและทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะเห็นประสบการณ์จากต่างประเทศ มามาก ตอนนี้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีกระทั่งแบ่งกันผลิตชิ้นส่วนขายให้กันเอง ทางเขาทำเก่งตัวไหนหรือทำได้ถูกกว่า เราก็ไปซื้อมา แล้วเอาที่เราทำได้เก่งกว่า ทำได้ถูกกว่าไปให้เขา”
ส่วนเรื่องระบบโลจิสติกส์ ควรเน้นเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ควบคู่ไปกับเรื่องการส่งออก โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการ การเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงิน ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ภายใต้ระบบควบคุมที่ได้มาตรฐานระดับโลก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากยิ่งขึ้น
แบรนด์ไทยเข้มแข็ง...อุตสาหกรรมไทยเข้มแข็ง
นอกจากนี้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตราสินค้าของไทย นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะสิ่งนี้คือพลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จของอุตสาหกรรมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
“การสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็งจะช่วยเรื่องการพึ่งพาฐานการผลิตต่างชาติมาไทยพักหนึ่งก็ย้ายไปที่อื่นที่ถูกกว่า เราต้องป้องกันไม่ให้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน เข้ามาแล้วออกไป เพราะเมื่อไร เราล้มเมื่อนั้น โดยสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องพยายามหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ไทยขึ้นมาสู้ อย่างเรื่องกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น อย่าไปทำเป็นอินเตอร์ เนชันแนลแฟชั่นแข่งกับฝรั่งเศสหรืออิตาลี ทำเป็นทรอปิเคิลแฟชั่นไปก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นอินเตอร์ฯ ทีหลัง หรือไม่ก็หาจุดเด่นที่มาจากเรื่องใกล้ตัวของเรามาเป็นจุดขาย”
อีกประเด็นที่จะช่วยพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยได้เป็นอย่างดี คือการเชื่อมต่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เข้าเป็นเนื้อเดียวกันมองเป้าหมายเดียวกัน โดยกล่าวว่าเรื่อง SMEs นั้นในต่างประเทศ บริษัทใหญ่ๆ มีการเชื่อมต่อกับ SMEs อยู่ตลอดเวลา เพื่อสนับสนุนกัน โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี
ฝากถึงรัฐบาล...
สุดท้ายอยากให้รัฐบาลสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในประเด็นสำคัญดังนี้
* ควรเพิ่ม Processing Power ของประเทศให้มากกว่านี้ เพราะแม้ว่าที่ผ่านมาจะสูงขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มากนัก เพราะเรายังอาศัยการส่งออกเป็นจำนวนมาก จุดนี้ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการส่งออกกับการขายในประเทศให้สมดุล อาจอยู่ประมาณไม่เกินครึ่งต่อครึ่ง
* จริงจังกับการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนา R&D งานวิจัยของรัฐที่มีอยู่ ต้องนำมาให้ภาคเอกชนนำมาใช้ในเชิดพาณิชย์ ให้มากขึ้นแทนที่จะไปซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้
* มุ่งหาตลาดใหม่ๆ เพราะตลาดเก่า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มีการแข่งขันสูง เราจึงต้องมองหาตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น แอฟริกาใต้ อเมริกาใต้ จีน อินเดีย เป็นต้น
* ส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนนอกประเด็นมากขึ้น โดยให้ธนาคาร เช่น SME BANK หรือ EXIM BANK เข้ามาดูแลมากขึ้น มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ในการปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนที่จะไปลงทุนยังต่างประเทศ ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต้องเข้ามาเสริมต้องเข้ามาช่วยปรับฐาน
ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า หากรัฐบาลดำเนินการโดยมุ่งเน้นแนวทางข้างต้น จะสามารถช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สดใสยิ่งขึ้นไปแน่นอน
เรื่องน่ารู้: ทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและการค้าไทย
โลกของยุค Molecular Economic ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีด้านวัสดุ(Material) และนาโนเทคโนโลยี ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อได้มีการผสมผสานกันกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของยุคเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสาร จะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างกว้างขวางในอนาคต รัฐบาลจึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะนาโนเทคโนโลยี เมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศต่างๆ และในอนาคตสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง จะเป็นสินค้าที่เกิดจากนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นผลมาจากการลงทุนด้านการ
วิจัย เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยา และรถยนต์ เป็นต้น
ผลกระทบของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อประเทศไทย
ความก้าวหน้าของการพัฒนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจภาคการผลิต ภาคการบริการ และคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ทั้งนี้เพราะการใช้เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตในระดับต่ำ เช่น การผลิตเสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในด้านต่างๆ ที่ผ่านมายังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ดังนั้น หากยังไม่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรการวิจัยเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีด้านวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี อย่างจริงจังจะทำให้ช่องว่างทางเทคโนโลยีของประเทศไทยมีช่วงกว้างมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาให้ทันระดับการพัฒนาเทคโนโลยี ดังกล่าว และจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งวิถีชีวิตของคนไทยจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตมากขึ้น ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและศีลธรรม เช่น ปัญหาแพร่กระจายของสื่อลามกและความรุนแรง ในอินเตอร์เน็ตสูงขึ้น เป็นต้น
ทิศทางการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา..สู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์
รัฐบาลจึงกำหนดเป็นนโยบายให้การสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาระบบวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการผลิตและการค้าขึ้นมา เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย โดยร่วมกับภาคเอกชนในการวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมผลักดันให้มีการจดทะเบียนลิขสิทธิและสิทธิบัตรของคนไทยทั้งในและนอกประเทศ และให้นำทรัพย์สินทางปัญญานั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างจริงจัง โดยมีกลยุทธ์หลัก ดังนี้
ผลักดันการวิจัยพัฒนา และขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศทั้งระบบ โดยสนับสนุนการทำวิจัยพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี เช่น ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ รวมทั้งการวิจัยพื้นฐาน และการให้บริการ ทางวิทยาศาสตร์ ไปสู่ภูมิภาค
ส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญา และความเป็นไทยที่สอดคล้องกับความต้องการของสาขาการผลิต และบริการที่มีศักยภาพ
ผลักดันให้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยทั้งในและนอกประเทศ และส่งเสริมให้นำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์
พัฒนาระบบบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีเอกภาพทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติและให้มีการติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิดไฮไลท์ แผนฯ 10
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เกี่ยวข้องกับสมาชิกรัฐสภามากน้อยเพียงใด
สมาชิกรัฐสภามีบทบาทเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิด ทิศทางและยุทธศาสตร์ หลักการพัฒนาประเทศ ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็นในเวทีต่างๆ ที่จัดขึ้น อาทิ การประชุมประจำปีของ สศช. การสัมมนาสาธารณะเกี่ยวกับแนวคิด ทิศทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์หลัก หรือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเฉพาะเรื่องตลอดจนให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ทิศทางการพัฒนาประเทศในคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฏร และวุฒิสภา
นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการ และการใช้งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล ทำให้สามารถติดตาม ตรวจสอบ สนับสนุน หรือให้มีการปรับปรุง แก้ไขการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ของหน่วยงานรัฐ ผ่านกระบวนการพิจารณา งบประมาณรายปี หรือกระบวนการกรรมาธิการ ชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยตรงได้ เนื่องจากแผนพัฒนาฯ ถือเป็นแผนด้านการบริหารของรัฐบาล มิใช่แผนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนิติบัญัญัติ จึงไม่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบก่อนทีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นทางการได้ต่อไป
เกาะติดการประชุมประจำปี 2548 ของ สคช.
สคช.พัฒนาดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้ทันสถุนการณ์ และเชื่อมโยงตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ระดับภาค
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สคช.) ดำเนินการปรับดัชนีการพัฒนาที่ยั้งยืนชุดแรกเพื่อติดตามและรายงานผลกระทบการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สมบูรณ์และทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งเตรียมผลักดันตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศให้เชื่อมโยงสู่ระดับภาค เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นายสันติ บางอ้อ ประธานกรรมการกำกับการศึกษาโครงการพัฒนาดัชนี้ชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2548 นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้มีการประกาศใช้ดัชนีชุดแรกไปแล้วเมื่อปีผ่านมา โดย สศช. ร่วมกับสถาบันสิ่วแวดล้อมไทยดำเนินการ "พัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยระยะที่สอง"ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ส่วนด้วยกันคือ
ส่วนแรก พัฒนากรอบแนวคิด ตัวชี้วัดและดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดแรกให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ส่วนที่สอง พัฒนาการเชื่อมโยงและผลักดันกรอบแนวคิด และตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศไปสู่ระดับภาคทั้ง 4 ภาค โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของแต่ละภาคเข้ามาร่วมกระบวนการจัดทำตัวชี้วัดดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนกระตุ้นให้คนไทยทั่วประเทศตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ประธานกรรมการกำกับฯ กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการปรับปรุงดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดแรกนั้น ยังคงอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการไปแล้วหลายรอบ เพื่อทบทวนและพิจารณาตั้งแต่กรอบแนวคิด องค์ประกอบ เทคนิคและเกณฑ์ (Bechmark) ในการพัฒนาแต่ละตัวชี้วัด รวมถึงดัชนีรวม (Composite Index) ซึ่งนำเอาตัวขี้วัดเบื้องต้นจำนวนมารวมเป็นตัวเลขเดียว เพื่อสะท้อนภาพการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ง่ายต่อความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารที่จะนำไปใช้ในการวางแผน กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต
ทั้งนี้ กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยนั้น ยังคงยึดพื้นฐานแนวคิดจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้ง 3 มิติ คือ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ส่วนองค์ประกอบของแต่ละมิติก็จะพัฒนาและหาตัวชี้วัดที่มุ่งไปสู๋เป้าประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1)คุณภาพ 2)เสถียรภาพและการปรับตัว 3)การกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม และ4) ระบบการบริหารจัดการที่ดี
สำหรับผลการปรับปรุงตัวชี้วัด "ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดที่สอง" นี้ คณะผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ปรึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสศช. เห็นพ้องกันว่าในองค์ประกอบและตัวชี้วัดฯ เบื้องต้นที่นำมาจัดทำ Composite Index มีทั้งสิ้น 23 ตัวชี้วัด แบ่งเป็นตัวชี้วัดในมิติเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมจำวน 9,6 และ 8 ตัวชี้วัด ตามลำดับ
ส่วนการพัฒนาตัวชี้วัดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นนั้น ผู้เชี่ยวนาญฯ เห็นพ้องว่า ควรเพิ่มตัวชี้วัดอีกหลายตัวให้เหมาะสมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยมากยิ่งขึ้น เช่น การลงทุนด้าน R&d ต่อ GDP วัฒนธรรม ปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวนเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯรับที่จะนำไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการจัดหาข้อมูลดังกล่าวต่อไป
ประธานกรรมการกำกับฯ กล่าวในท้ายสุดว่า ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดที่สองข้างต้น จะนำไปเผยแพร่พร้อมดัชนีอีก 2 ชุดที่ สศช. ได้พัฒนาขึ้นคือ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อรายงานผลกระทบการพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในงานประชุมประจำปีของ สศช. วันที่ 24 มิถุนายน 2548 นี้
องค์ประกอบและตัวชี้วัดของดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดที่สอง
มิติเศรษฐกิจ
การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
1. ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม
2. การใช้พลังงานต่อ GDP
3. การใช้พลังงานหมุนเวียน
4. ของเสียที่ถูกนำมาใช้ใหม่
การพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ
5. อัตราการว่างงาน
6. สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP
7. ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP
การกระจายมั่งคั่ง
8. สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้
9. สัดส่วนคนยากจนด้านรายได้
มิติสังคม
การพัฒนาศักยภาพและการปรับตัวบนสังคมฐานความรู้
1. จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา
2. ผลคะแนนทดสอบ 4 วิชาหลัก
การพัฒนคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในการดำรงชีวิต
3. อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
4. สุขภาพของประชากร
5. สัดส่วนคดีอาชญากรรมและยาเสพติดต่อประชากร
การสร้างความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม
6. ดัชนีการรับรู้เรื่องคอร์รัปชัน
มิติสิ่งแวดล้อม
การสงวนรักษา
1. สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ประเทศ
2. สัดส่วนพื้นที่ป่าชายเลน
3. ปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ที่จับได้ต่อชั่วโมง
4. การใช้น้ำใต้ดินต่อปริมาณที่สามารถใช้งานได้
การมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
5. สัดส่วนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอย่างต่ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ต่อแหล่งน้ำทั้งหมด
6. คุณภาพอากาศในเมืองหลักที่เกินค่ามาตรฐาน
7. ปริมาณของเสียที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง
8. ปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตร--จบ---
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
อุตสาหกรรมไทยโตเร็ว ภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
ผลสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย กล่าวได้ว่า เป็นผลมาจากการมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นฐานการผลิต ซึ่งต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นสปริงบอร์ดสำหรับกระโดดไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ รวมทั้งแรงงานของไทยมีราคาถูก ซึ่งดึงดูดใจนักลงทุนให้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่สำคัญรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
"ถ้าพิจารณาดี ๆ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของทุกรัฐบาลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการผลักดันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การเติบโตจึงเกิดอย่างมีทิศทาง ขณะที่ภาคราชการก็ทำงานสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามระบบ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งขึ้นมาได้ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากระบบราชการไทยเป็นตัวขับเคลื่อนผลักดันที่สำคัญ ภาคเอกชนเองก็ทำงานและช่วยกันขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดยั้ง และทำงานร่วมกับภาคราชการได้ดี ส่งผลให้เอกชนเป็นตัวชูโรงในการพัฒนาอยู่ตลอดมา"
การปรับปรุงกลไกภาครัฐ:ทางออกสำหรับปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น(2)
จดหมายข่าว"แผนฯ10" ฉบับที่แล้ว ได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาสำคัญของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 2 ประการ ได้แก่ การปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ เพื่อให้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร มีเครื่องมือที่จะจัดการกับปัญหาได้โดยตรง สำหรับจดหมายข่าว"แผนฯ10"ฉบับนี้ จะขอนำเสนอปัจจัยต่างๆ ที่ควรคำนึงถึงในการจัดการกับการทุจริตภาครัฐให้ได้ผล
วิธีการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐต้องมีรูปแบบเฉพาะ
การดำเนินคดีทุจริตกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของรัฐนั้น นอกจากจะต้องระมัดระวังมิให้มีการล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลเช่นเดียวกับการดำเนินคดีอาญาทั่วไปแล้ว ยังต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หรือผลประโยชน์ของประเทศชาติด้วย ตัวอย่างเช่น ในการจับกุมเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตนอกเหนือจากมาตรการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลแล้ว ยังควรมีกระบวนการตรวจสอบโดยฝ่ายบริหารเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเสนอขอให้ศาลออกหมายจับด้วย เป็นต้น
นอกจากนี้ การดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐอาจต้องมีการพิจารณาดำเนินการในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น อาจต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งศาลปกครองที่เกิดขึ้นจากกระทำทุจริต หรือมีการกำหนดขั้นตอนเพื่อการเยียวยาความเสียหายในทางแพ่งที่รัฐได้บอันเกิดจากการทุจริต เป็นตัน
ดังนั้น การออกแบบวิธีพิจารณากรณีทุจริตในภาครัฐจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่สามารถนำกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอา๗มาใช้ได้ทั้งหมด แต่จำเป็นต้องสร้างรูปแบบการดำเนินคดีที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตัวของการกระทำผิด รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์หรือระบบการประสานงานกัยองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานป้องกนและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เป็นต้น
เจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีต้องมีความรู้รอบด้าน
เจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐ นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ยังจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมากกว่าเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ดำเนินคดีอาญาด้วย อาทิ จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครอง มีความรู้เรื่องกฎหมายมหาชน หรือกฎหมายปกครอง การดำเนินการทางวินัย การตรวจสอบภาษีอากร เทคนิคการสืบสวน การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารหรืองานด้านข่าวกรองการทุจริตเป็นต้น
การทุจริตในภาครัฐอาจไม่มีผู้เสียหายร้องเรียน
การทุจริตในภาครัฐเป็นเรื่องของความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนที่ต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในบางกรณีไม่มีผู้เสียหายที่จะนำเรื่องมาร้องเรียนหรือกล่าวหาดังเช่นคดีอาญาทั่วไป ดังนั้น จึงจำเป้นต้องพัฒนาระบบการเปิดเผยการกระทำผิดขึ้น เพื่อให้มีการรายงานการกระทำผิด เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายโดยไม่ต้องมีการร้องเรียนหรือกล่าวหาจากผู้เสียหาย
หน่วยงานฝ่ายบริหารและป.ป.ช.ไม่ควรแบ่งแยกจากกันโดยเด็ดขาด
สำหรับการจัดตั้งหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของฝ่ายบริหาร ควรเป็นการลดช่องว่างหรือจุดอ่อนของระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกล่าวคือ สิ่งใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำได้ดีอยู่แล้วก็ควรดำเนินการต่อไป ภารกิจใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แบกรับไม่ไหว ก็ควรแบ่งเอาให้องค์กรใหม่รับไปดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม การจัดกรอบภารกิจระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับองค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ไม่ควรเป็นการแบ่งแยกแบบเด็ดขาด ควรมีระบบการส่งต่อและการตรวจสอบระหว่างกันที่เหมาะสม มีการประสานงานและมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรผนึกกำลังกันต้านการทุจริตในภาครัฐ
นอกเหนือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และองค์กรฝ่ายบริหารที่จะตั้งขึ้นใหม่แล้ว ยังมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามทุจริตตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีเป็นต้น
หน่วยงานเหล่านี้ ควรดำเนินการโดยมีแนวนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน และวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน ซึ่งจะต้องอาศัยการประสานงานและติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และนำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ควรมีกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้สามารถกล่าวหาการกระทำทุจริตต่อเจ้าหน้าที่หรือองค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีทุจริตเช่น คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ด้วย
บทส่งท้าย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐของประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังมีข้อด้อยอยู่มาก เนื่องจากขาดองค์กรที่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการจัดการกับการทุจริตในภาครัฐได้โดยตรง ทำให้ภาระการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐทั้งหมดตกอยู่กับองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียว
มาตรการในการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาเป็นกลไกของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยกำหนดขอบเขตภารกิจของแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจนจะช่วยแบ่งเบาภาระในการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐ ทั้งยังทำให้ฝ่ายบริหารสามารถทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ การดำเนินจะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไปอย่างมากด้วย ดังนั้น การออกแบบวิธีการดำเนินคดีทุจริตในภาครัฐจะต้องสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตัวของการกระทำผิด จึงจะทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐได้ต่อไป
อุตสาหกรรมไทยละเลยการพัฒนาบุคลากรและการวิจัยพัฒนา
จากการที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ผลกระทบที่ติดตามมาคือทำให้ไทยขาดความพร้อมหรือละเลยการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรและการส่งเสริมทางด้านการวิจัยและพัฒนา
"อุตสาหกรรมไทยจะเน้นใช้วิธีซื้อเทคโนโลยีเข้ามา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเวลาผ่านไปเรารักษาเทคโนโลยีไว้ไม่ได้ประกอบกับตอนที่ภาคอุตสาหกรรมโตมากๆมีการซื้อตัวบุคลากรกันด้วยราคาสูง โดยเฉพาะวิศวกร การจะรักษาเทคโนโลยีเอาไว้ โรงงานต้องมีวิศวกร แต่ช่วงนั้นวิศวกรเปลี่ยนงานกันบ่อยทำให้ในแต่ละโรงงานมีการพัฒนาเทคโนโลยีได้ไม่ต่อเนื่องซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง คือผลิตคนมาทำ R&D ได้ไม่ทันกับความต้องการ สถาบันการศึกษาก็ไม่สนใจจริงจังที่มาเชื่อมต่อเรื่องนี้กับภาคเอกชน"
พัฒนาบุคลากร การวิจัยและการพัฒนา:ภาครัฐ เอกชนต้องร่วมมือกัน
การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยเพื่อเข้าสู่การแข่งขันบนเวทีโลก จะมองแต่เรื่องต้นทุนการผลิตในเชิงแรงงานหรือในด้านวัตถุดิบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการบริการด้วยการเติมความรู้และเทคโนโลยีให้กับกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาการพัฒนาบุคลากร การวิจัย และพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
“ผมเคยคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเราจะพัฒนา R&D ให้กับผู้ประกอบการกันอย่างไร ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องคงต้องเข้าร่วม เราคิดจะสร้างกองทุนที่สนับสนุน R&D ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากรและเรื่องอื่นๆ ...แต่ปัญหาคือขาดแหล่งทุนสนับสนุน...สุดท้าย อาจจะต้องใช้ลักษณะกึ่งบังคับ เช่น ให้เอกชนเอาเงินมาสนับสนุนกองทุนสักส่วนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าจำเป็นที่ต้องเข้ามาร่วมสร้างตรงนี้ เพราะเสียเงินไปแล้วดีกว่าจ่ายไปแล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา รัฐบาลต้องจริงจังเรื่องนี้ เพราะถ้าไม่ทำ อนาคตเราจะสู้ชาติอื่นไม่ได้”
ต้องพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ(Cluster) ทั้งกระบวนการ
นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมจะต้องมองไปในทิศทางเดียวกันเรื่องการผลิตในลักษณะเดียวกันเรื่องการผลิตในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ ที่มีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการออกแบบ การวิจัยและพัฒนา การตลาด การระดมทุน การบริหารจัดการให้ครบทั้งกระบวนการ
อุตสาหกรรมไทยจะอยู่ได้ ต้องมีพันธมิตรต้องมีระบบเครือข่ายวิสาหกิจ มีระบบ supply chain มารองรับ และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น การบริหารธุรกิจแบบครอบครัวอย่างเดียวไม่ได้ต้องก้าวไปสู่ตลาดหลักทรัพย์ มีคนเข้ามาถือหุ้นจึงจะแข่งขันกับเขาได้ในการแข่งขันระดับสากลซึงของอย่างนี้บังคับกันไม่ได้ แต่มันจะเกิดขึ้นเอง เกิดจากแรงกดดันรอบตัว ควบคู่ไปกับความปรารถนาที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองภายในภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังเดินไปในทางที่ถูกต้องในเรื่องคลัสเตอร์ เรื่องซัพพลายเชน นักธุรกิจรุ่นใหม่สร้างพันธมิตรและทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะเห็นประสบการณ์จากต่างประเทศ มามาก ตอนนี้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีกระทั่งแบ่งกันผลิตชิ้นส่วนขายให้กันเอง ทางเขาทำเก่งตัวไหนหรือทำได้ถูกกว่า เราก็ไปซื้อมา แล้วเอาที่เราทำได้เก่งกว่า ทำได้ถูกกว่าไปให้เขา”
ส่วนเรื่องระบบโลจิสติกส์ ควรเน้นเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ควบคู่ไปกับเรื่องการส่งออก โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการ การเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงิน ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ภายใต้ระบบควบคุมที่ได้มาตรฐานระดับโลก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากยิ่งขึ้น
แบรนด์ไทยเข้มแข็ง...อุตสาหกรรมไทยเข้มแข็ง
นอกจากนี้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตราสินค้าของไทย นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะสิ่งนี้คือพลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จของอุตสาหกรรมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
“การสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็งจะช่วยเรื่องการพึ่งพาฐานการผลิตต่างชาติมาไทยพักหนึ่งก็ย้ายไปที่อื่นที่ถูกกว่า เราต้องป้องกันไม่ให้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน เข้ามาแล้วออกไป เพราะเมื่อไร เราล้มเมื่อนั้น โดยสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องพยายามหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ไทยขึ้นมาสู้ อย่างเรื่องกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น อย่าไปทำเป็นอินเตอร์ เนชันแนลแฟชั่นแข่งกับฝรั่งเศสหรืออิตาลี ทำเป็นทรอปิเคิลแฟชั่นไปก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นอินเตอร์ฯ ทีหลัง หรือไม่ก็หาจุดเด่นที่มาจากเรื่องใกล้ตัวของเรามาเป็นจุดขาย”
อีกประเด็นที่จะช่วยพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยได้เป็นอย่างดี คือการเชื่อมต่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เข้าเป็นเนื้อเดียวกันมองเป้าหมายเดียวกัน โดยกล่าวว่าเรื่อง SMEs นั้นในต่างประเทศ บริษัทใหญ่ๆ มีการเชื่อมต่อกับ SMEs อยู่ตลอดเวลา เพื่อสนับสนุนกัน โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี
ฝากถึงรัฐบาล...
สุดท้ายอยากให้รัฐบาลสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในประเด็นสำคัญดังนี้
* ควรเพิ่ม Processing Power ของประเทศให้มากกว่านี้ เพราะแม้ว่าที่ผ่านมาจะสูงขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มากนัก เพราะเรายังอาศัยการส่งออกเป็นจำนวนมาก จุดนี้ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการส่งออกกับการขายในประเทศให้สมดุล อาจอยู่ประมาณไม่เกินครึ่งต่อครึ่ง
* จริงจังกับการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนา R&D งานวิจัยของรัฐที่มีอยู่ ต้องนำมาให้ภาคเอกชนนำมาใช้ในเชิดพาณิชย์ ให้มากขึ้นแทนที่จะไปซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้
* มุ่งหาตลาดใหม่ๆ เพราะตลาดเก่า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มีการแข่งขันสูง เราจึงต้องมองหาตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น แอฟริกาใต้ อเมริกาใต้ จีน อินเดีย เป็นต้น
* ส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนนอกประเด็นมากขึ้น โดยให้ธนาคาร เช่น SME BANK หรือ EXIM BANK เข้ามาดูแลมากขึ้น มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ในการปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนที่จะไปลงทุนยังต่างประเทศ ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต้องเข้ามาเสริมต้องเข้ามาช่วยปรับฐาน
ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า หากรัฐบาลดำเนินการโดยมุ่งเน้นแนวทางข้างต้น จะสามารถช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สดใสยิ่งขึ้นไปแน่นอน
เรื่องน่ารู้: ทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและการค้าไทย
โลกของยุค Molecular Economic ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีด้านวัสดุ(Material) และนาโนเทคโนโลยี ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อได้มีการผสมผสานกันกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของยุคเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสาร จะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างกว้างขวางในอนาคต รัฐบาลจึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะนาโนเทคโนโลยี เมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศต่างๆ และในอนาคตสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง จะเป็นสินค้าที่เกิดจากนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นผลมาจากการลงทุนด้านการ
วิจัย เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยา และรถยนต์ เป็นต้น
ผลกระทบของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อประเทศไทย
ความก้าวหน้าของการพัฒนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจภาคการผลิต ภาคการบริการ และคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ทั้งนี้เพราะการใช้เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตในระดับต่ำ เช่น การผลิตเสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในด้านต่างๆ ที่ผ่านมายังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ดังนั้น หากยังไม่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรการวิจัยเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีด้านวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี อย่างจริงจังจะทำให้ช่องว่างทางเทคโนโลยีของประเทศไทยมีช่วงกว้างมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาให้ทันระดับการพัฒนาเทคโนโลยี ดังกล่าว และจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งวิถีชีวิตของคนไทยจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตมากขึ้น ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและศีลธรรม เช่น ปัญหาแพร่กระจายของสื่อลามกและความรุนแรง ในอินเตอร์เน็ตสูงขึ้น เป็นต้น
ทิศทางการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา..สู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์
รัฐบาลจึงกำหนดเป็นนโยบายให้การสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาระบบวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการผลิตและการค้าขึ้นมา เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย โดยร่วมกับภาคเอกชนในการวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมผลักดันให้มีการจดทะเบียนลิขสิทธิและสิทธิบัตรของคนไทยทั้งในและนอกประเทศ และให้นำทรัพย์สินทางปัญญานั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างจริงจัง โดยมีกลยุทธ์หลัก ดังนี้
ผลักดันการวิจัยพัฒนา และขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศทั้งระบบ โดยสนับสนุนการทำวิจัยพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี เช่น ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ รวมทั้งการวิจัยพื้นฐาน และการให้บริการ ทางวิทยาศาสตร์ ไปสู่ภูมิภาค
ส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญา และความเป็นไทยที่สอดคล้องกับความต้องการของสาขาการผลิต และบริการที่มีศักยภาพ
ผลักดันให้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยทั้งในและนอกประเทศ และส่งเสริมให้นำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์
พัฒนาระบบบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีเอกภาพทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติและให้มีการติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิดไฮไลท์ แผนฯ 10
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เกี่ยวข้องกับสมาชิกรัฐสภามากน้อยเพียงใด
สมาชิกรัฐสภามีบทบาทเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิด ทิศทางและยุทธศาสตร์ หลักการพัฒนาประเทศ ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็นในเวทีต่างๆ ที่จัดขึ้น อาทิ การประชุมประจำปีของ สศช. การสัมมนาสาธารณะเกี่ยวกับแนวคิด ทิศทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์หลัก หรือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเฉพาะเรื่องตลอดจนให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ทิศทางการพัฒนาประเทศในคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฏร และวุฒิสภา
นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการ และการใช้งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล ทำให้สามารถติดตาม ตรวจสอบ สนับสนุน หรือให้มีการปรับปรุง แก้ไขการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ของหน่วยงานรัฐ ผ่านกระบวนการพิจารณา งบประมาณรายปี หรือกระบวนการกรรมาธิการ ชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยตรงได้ เนื่องจากแผนพัฒนาฯ ถือเป็นแผนด้านการบริหารของรัฐบาล มิใช่แผนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนิติบัญัญัติ จึงไม่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบก่อนทีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นทางการได้ต่อไป
เกาะติดการประชุมประจำปี 2548 ของ สคช.
สคช.พัฒนาดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้ทันสถุนการณ์ และเชื่อมโยงตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ระดับภาค
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สคช.) ดำเนินการปรับดัชนีการพัฒนาที่ยั้งยืนชุดแรกเพื่อติดตามและรายงานผลกระทบการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้สมบูรณ์และทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งเตรียมผลักดันตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศให้เชื่อมโยงสู่ระดับภาค เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นายสันติ บางอ้อ ประธานกรรมการกำกับการศึกษาโครงการพัฒนาดัชนี้ชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2548 นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้มีการประกาศใช้ดัชนีชุดแรกไปแล้วเมื่อปีผ่านมา โดย สศช. ร่วมกับสถาบันสิ่วแวดล้อมไทยดำเนินการ "พัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยระยะที่สอง"ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ส่วนด้วยกันคือ
ส่วนแรก พัฒนากรอบแนวคิด ตัวชี้วัดและดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดแรกให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ส่วนที่สอง พัฒนาการเชื่อมโยงและผลักดันกรอบแนวคิด และตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศไปสู่ระดับภาคทั้ง 4 ภาค โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของแต่ละภาคเข้ามาร่วมกระบวนการจัดทำตัวชี้วัดดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนกระตุ้นให้คนไทยทั่วประเทศตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ประธานกรรมการกำกับฯ กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการปรับปรุงดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดแรกนั้น ยังคงอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการไปแล้วหลายรอบ เพื่อทบทวนและพิจารณาตั้งแต่กรอบแนวคิด องค์ประกอบ เทคนิคและเกณฑ์ (Bechmark) ในการพัฒนาแต่ละตัวชี้วัด รวมถึงดัชนีรวม (Composite Index) ซึ่งนำเอาตัวขี้วัดเบื้องต้นจำนวนมารวมเป็นตัวเลขเดียว เพื่อสะท้อนภาพการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ง่ายต่อความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารที่จะนำไปใช้ในการวางแผน กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต
ทั้งนี้ กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยนั้น ยังคงยึดพื้นฐานแนวคิดจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้ง 3 มิติ คือ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ส่วนองค์ประกอบของแต่ละมิติก็จะพัฒนาและหาตัวชี้วัดที่มุ่งไปสู๋เป้าประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1)คุณภาพ 2)เสถียรภาพและการปรับตัว 3)การกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม และ4) ระบบการบริหารจัดการที่ดี
สำหรับผลการปรับปรุงตัวชี้วัด "ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดที่สอง" นี้ คณะผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ปรึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสศช. เห็นพ้องกันว่าในองค์ประกอบและตัวชี้วัดฯ เบื้องต้นที่นำมาจัดทำ Composite Index มีทั้งสิ้น 23 ตัวชี้วัด แบ่งเป็นตัวชี้วัดในมิติเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมจำวน 9,6 และ 8 ตัวชี้วัด ตามลำดับ
ส่วนการพัฒนาตัวชี้วัดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นนั้น ผู้เชี่ยวนาญฯ เห็นพ้องว่า ควรเพิ่มตัวชี้วัดอีกหลายตัวให้เหมาะสมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยมากยิ่งขึ้น เช่น การลงทุนด้าน R&d ต่อ GDP วัฒนธรรม ปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวนเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯรับที่จะนำไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการจัดหาข้อมูลดังกล่าวต่อไป
ประธานกรรมการกำกับฯ กล่าวในท้ายสุดว่า ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดที่สองข้างต้น จะนำไปเผยแพร่พร้อมดัชนีอีก 2 ชุดที่ สศช. ได้พัฒนาขึ้นคือ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อรายงานผลกระทบการพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในงานประชุมประจำปีของ สศช. วันที่ 24 มิถุนายน 2548 นี้
องค์ประกอบและตัวชี้วัดของดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดที่สอง
มิติเศรษฐกิจ
การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
1. ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม
2. การใช้พลังงานต่อ GDP
3. การใช้พลังงานหมุนเวียน
4. ของเสียที่ถูกนำมาใช้ใหม่
การพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ
5. อัตราการว่างงาน
6. สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP
7. ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP
การกระจายมั่งคั่ง
8. สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้
9. สัดส่วนคนยากจนด้านรายได้
มิติสังคม
การพัฒนาศักยภาพและการปรับตัวบนสังคมฐานความรู้
1. จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา
2. ผลคะแนนทดสอบ 4 วิชาหลัก
การพัฒนคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในการดำรงชีวิต
3. อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
4. สุขภาพของประชากร
5. สัดส่วนคดีอาชญากรรมและยาเสพติดต่อประชากร
การสร้างความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม
6. ดัชนีการรับรู้เรื่องคอร์รัปชัน
มิติสิ่งแวดล้อม
การสงวนรักษา
1. สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ประเทศ
2. สัดส่วนพื้นที่ป่าชายเลน
3. ปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ที่จับได้ต่อชั่วโมง
4. การใช้น้ำใต้ดินต่อปริมาณที่สามารถใช้งานได้
การมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
5. สัดส่วนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอย่างต่ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ต่อแหล่งน้ำทั้งหมด
6. คุณภาพอากาศในเมืองหลักที่เกินค่ามาตรฐาน
7. ปริมาณของเสียที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง
8. ปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตร--จบ---
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-