- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่ามีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับตลอดสัปดาห์
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลงเนื่องจาก ธปท. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนจากแรงเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. และแรงซื้อเงินบาทเพื่อเก็งกำไรก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อน ค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการฯ และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (20 เม.ย.) เนื่องจากเห็นว่ามีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2548 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ความไม่สงบในภาคใต้ หรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรจะยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังมีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว และอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม โดยธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการกันสำรองเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการถือเงินสดสำรองไว้ในระดับต่ำในระยะก่อนหน้า ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์บางแห่งดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 2 และ 2.0625 ต่อปี ตามลำดับ ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.1875 ต่อปี ในปลายสัปดาห์นี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ต่อปี ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ ระหว่างร้อยละ 1.85 - 2.2 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ย
ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 36,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นยกเว้น พันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูล พันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 62,118 ล้านบาท หรือเท่ากับ 12,424 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.8 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 78.3 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร รัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 28 และ 27 basis points ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่มีทิศทางลดลง โดยในช่วงต้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธปท.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น แต่เมื่อมีมติ
ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม จึงทำให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลงมา ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน 3 เดือน และ 1 ปี ลดลง 1-3 basis points พันธบัตรฯ อายุ 6 เดือน 2 ปี และ 3 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-1 basis point และพันธบัตรฯ อายุ 5 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนลดลง 5-15 basis points สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-8 basis points ขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาว มีอัตราผลตอบแทนลดลง
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.4 โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากการปรับตัวลดลงอย่างมากของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยตามภาวะตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยนหลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 มีการกดดันให้จีนเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ประกอบกับมีการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ.จากผู้ส่งออกในประเทศ และจากนักลงทุนในตลาดต่างประเทศหลังจากเงินดอลลาร์ สรอ.มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี เป็นปัจจัยกดดันการคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเชิงรุกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ นักลงทุนบางส่วนยังมีการซื้อเงินบาทเพื่อเก็งกำไรก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. หลังจากคาดการณ์ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากคณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งค่อนข้างอยู่เหนือความคาดหมายของตลาด นอกจากนี้ การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ยังเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับตลอดสัปดาห์
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลงเนื่องจาก ธปท. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนจากแรงเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. และแรงซื้อเงินบาทเพื่อเก็งกำไรก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อน ค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการฯ และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (20 เม.ย.) เนื่องจากเห็นว่ามีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2548 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ความไม่สงบในภาคใต้ หรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรจะยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังมีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว และอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม โดยธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการกันสำรองเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการถือเงินสดสำรองไว้ในระดับต่ำในระยะก่อนหน้า ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์บางแห่งดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 2 และ 2.0625 ต่อปี ตามลำดับ ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.1875 ต่อปี ในปลายสัปดาห์นี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ต่อปี ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ ระหว่างร้อยละ 1.85 - 2.2 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ย
ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 36,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นยกเว้น พันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูล พันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 62,118 ล้านบาท หรือเท่ากับ 12,424 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.8 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 78.3 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร รัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 28 และ 27 basis points ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่มีทิศทางลดลง โดยในช่วงต้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธปท.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น แต่เมื่อมีมติ
ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม จึงทำให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลงมา ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน 3 เดือน และ 1 ปี ลดลง 1-3 basis points พันธบัตรฯ อายุ 6 เดือน 2 ปี และ 3 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-1 basis point และพันธบัตรฯ อายุ 5 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนลดลง 5-15 basis points สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-8 basis points ขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาว มีอัตราผลตอบแทนลดลง
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.4 โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากการปรับตัวลดลงอย่างมากของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยตามภาวะตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยนหลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 มีการกดดันให้จีนเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ประกอบกับมีการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ.จากผู้ส่งออกในประเทศ และจากนักลงทุนในตลาดต่างประเทศหลังจากเงินดอลลาร์ สรอ.มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี เป็นปัจจัยกดดันการคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเชิงรุกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ นักลงทุนบางส่วนยังมีการซื้อเงินบาทเพื่อเก็งกำไรก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. หลังจากคาดการณ์ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากคณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งค่อนข้างอยู่เหนือความคาดหมายของตลาด นอกจากนี้ การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ยังเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-