เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติกลุ่มเป้าหมายเฉพาะด้านการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ เรื่อง “ยุทธศาสตร์การปรับรูปแบบการขนส่งของประเทศไทย-Modal Shift Strategy for Thailand” ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานว่า แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน แต่ก็ยังอยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศเพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก วิกฤตการณ์น้ำมันที่ส่งผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็อาจนำไปสู่วิกฤติการได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการใช้พลังงานทดแทน เช่น ก๊าซโซฮอล์ พร้อมๆ กับการประหยัดพลังงานของประเทศ และในระยะยาวประเทศไทยจะต้องมีการพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการปรับโครงสร้างรูปแบบการขนส่งอย่างจริงจัง
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งได้มีการรวมวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ เสถียรภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ และประสิทธิภาพของภาคประชาชน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการลดต้นทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองของลูกค้า และการเพิ่มความเชื่อมั่นในกระบวนการขนส่งสินค้าและการบริการที่ตรงเวลา สินค้าไม่เสียหายและไม่เสื่อมคุณภาพ
การปรับเปลี่ยนการขนส่งเป็นพันธกิจระยะยาวที่รัฐให้ความเอาใจใส่ ทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเน้นระบบการบริหารจัดการที่จะพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่สาธารณะ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง จึงควรให้ความสำคัญกับทิศทางการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ที่ต้องมองให้ไกลและเห็นภาพในอนาคตอย่างชัดเจน และที่สำคัญจะต้องมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธาน ได้มอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยประสานงานหลักเพื่อแปลงกลยุทธ์การพัฒนาโลจิสติกส์ ตามกรอบแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ทั้งนี้ กลยุทธ์การพัฒนาโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูลและฐานข้อมูล การยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การพัฒนาธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การเชื่อมโยงทางการค้ากับภูมิภาค และการปรับปรุงกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย และกระบวนการให้บริการของรัฐ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยมีข้อจำกัดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน คือ ท่าเรือแหลมฉบังที่เป็นประตูการค้าหลักมีประสิทธิภาพน้อยกว่าท่าเรือของคู่แข่ง ปัญหาคอขวดของเส้นทางรอบๆ ท่าเรือแหลมฉบัง และประมาณร้อยละ 88 ของการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ใช้ทางถนน ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าทางรางหรือทางน้ำ และสัดส่วนทางถนนมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การขนส่งทางราง ทางลำน้ำ และขนส่งชายฝั่ง มีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น เมื่อราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นและมีความเป็นไปได้ว่าจะสูงถึง 80 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในเร็วๆ นี้ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันจึงเผชิญกับความเสี่งที่จะขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งของประเทศให้มีสัดส่วนของแต่ละรูปแบบที่นำไปสู่การมีระบบขนส่งที่ประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นภารกิจที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโลจิสติกส์ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยและองค์ความรู้ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับการปรับรูปแบบการขนส่ง ยังมีน้อยเราจึงคิดว่าควรเริ่มต้นโดยการเรียนรู้ จากความผิดพลาดและความสำเร็จของประเทศต่างๆ ก่อน สศช. จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติสามารถที่จะมองภาพรวมได้อย่างลึกซึ้งว่า ประเทศไทยควรจะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างไร โดยเฉพาะการวางแนวทางยุทธศาสตร์และปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องนี้ร่วมกัน อันจะนำมาซึ่งการช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่ระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
น.ส.วิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการฯ กล่าวปิดการประชุมว่า ผลการประชุมทำให้เห็นกรอบแนวทางและทิศทางการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ชัดเจนขึ้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งเป็นเรื่องที่จะต้องผลักดันและเชื่อมโยงในหลายๆ ส่วน ขณะนี้ระดับนโยบายมีเครื่องมือที่จะผลักดันแล้ว โดยกระทรวงคมนาคมได้บรรจุไว้ในแผนระยะสั้นและระยะกลาง รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน ทั้งการปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งและการเปลี่ยนการใช้พลังงาน ได้เร่งทำงานในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ได้มีการติดตามตลอดเวลา และกระทรวงคมนาคมได้เสนอ พ.ร.บ.ขนส่ง และ พ.ร.บ.ยานยนต์ให้กับรัฐบาล นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังได้ให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดมาในเรื่องการศึกษายุทธศาสตร์การปรับระบบการขนส่งและการแก้ไขกฎหมาย ดังนั้น สศช.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลางโลจิสติกส์ จึงต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ทำงานในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์บรรลุผลสำเร็จในเร็ววันนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานว่า แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน แต่ก็ยังอยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศเพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก วิกฤตการณ์น้ำมันที่ส่งผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็อาจนำไปสู่วิกฤติการได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการใช้พลังงานทดแทน เช่น ก๊าซโซฮอล์ พร้อมๆ กับการประหยัดพลังงานของประเทศ และในระยะยาวประเทศไทยจะต้องมีการพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการปรับโครงสร้างรูปแบบการขนส่งอย่างจริงจัง
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งได้มีการรวมวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ เสถียรภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ และประสิทธิภาพของภาคประชาชน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการลดต้นทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองของลูกค้า และการเพิ่มความเชื่อมั่นในกระบวนการขนส่งสินค้าและการบริการที่ตรงเวลา สินค้าไม่เสียหายและไม่เสื่อมคุณภาพ
การปรับเปลี่ยนการขนส่งเป็นพันธกิจระยะยาวที่รัฐให้ความเอาใจใส่ ทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเน้นระบบการบริหารจัดการที่จะพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่สาธารณะ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง จึงควรให้ความสำคัญกับทิศทางการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ที่ต้องมองให้ไกลและเห็นภาพในอนาคตอย่างชัดเจน และที่สำคัญจะต้องมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธาน ได้มอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยประสานงานหลักเพื่อแปลงกลยุทธ์การพัฒนาโลจิสติกส์ ตามกรอบแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ทั้งนี้ กลยุทธ์การพัฒนาโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูลและฐานข้อมูล การยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การพัฒนาธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การเชื่อมโยงทางการค้ากับภูมิภาค และการปรับปรุงกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย และกระบวนการให้บริการของรัฐ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยมีข้อจำกัดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน คือ ท่าเรือแหลมฉบังที่เป็นประตูการค้าหลักมีประสิทธิภาพน้อยกว่าท่าเรือของคู่แข่ง ปัญหาคอขวดของเส้นทางรอบๆ ท่าเรือแหลมฉบัง และประมาณร้อยละ 88 ของการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ใช้ทางถนน ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าทางรางหรือทางน้ำ และสัดส่วนทางถนนมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การขนส่งทางราง ทางลำน้ำ และขนส่งชายฝั่ง มีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น เมื่อราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นและมีความเป็นไปได้ว่าจะสูงถึง 80 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในเร็วๆ นี้ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันจึงเผชิญกับความเสี่งที่จะขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งของประเทศให้มีสัดส่วนของแต่ละรูปแบบที่นำไปสู่การมีระบบขนส่งที่ประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นภารกิจที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโลจิสติกส์ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยและองค์ความรู้ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับการปรับรูปแบบการขนส่ง ยังมีน้อยเราจึงคิดว่าควรเริ่มต้นโดยการเรียนรู้ จากความผิดพลาดและความสำเร็จของประเทศต่างๆ ก่อน สศช. จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติสามารถที่จะมองภาพรวมได้อย่างลึกซึ้งว่า ประเทศไทยควรจะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างไร โดยเฉพาะการวางแนวทางยุทธศาสตร์และปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องนี้ร่วมกัน อันจะนำมาซึ่งการช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่ระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
น.ส.วิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการฯ กล่าวปิดการประชุมว่า ผลการประชุมทำให้เห็นกรอบแนวทางและทิศทางการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ชัดเจนขึ้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งเป็นเรื่องที่จะต้องผลักดันและเชื่อมโยงในหลายๆ ส่วน ขณะนี้ระดับนโยบายมีเครื่องมือที่จะผลักดันแล้ว โดยกระทรวงคมนาคมได้บรรจุไว้ในแผนระยะสั้นและระยะกลาง รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน ทั้งการปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งและการเปลี่ยนการใช้พลังงาน ได้เร่งทำงานในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ได้มีการติดตามตลอดเวลา และกระทรวงคมนาคมได้เสนอ พ.ร.บ.ขนส่ง และ พ.ร.บ.ยานยนต์ให้กับรัฐบาล นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังได้ให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดมาในเรื่องการศึกษายุทธศาสตร์การปรับระบบการขนส่งและการแก้ไขกฎหมาย ดังนั้น สศช.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลางโลจิสติกส์ จึงต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ทำงานในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์บรรลุผลสำเร็จในเร็ววันนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-