อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตภาคกลาง (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม 5.0 8.3 6.6 6.1
นอกเกษตรกรรม 8.6 16.5 93.4 93.9
อุตสาหกรรม 10.0 22.4 65.2 68.9
สาขาอื่นๆ 5.5 2.7 28.2 25.0
GRP 8.4 15.9 100.0 100.0
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 16.5 โดยมีสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักของภาค ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.4 โดยมีหมวดยานยนต์ ขยายตัวสูงตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก หมวดเครื่องจักรสำนักงานฯ ขยายตัวตามการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงขึ้น และตามภาวะการส่งออก รวมทั้ง หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวสูงตามภาวะการส่งออกที่ดี สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ขยายตัวได้ดี เนื่องจากมีการเร่งโอนที่ดินก่อนมาตรการลดหย่อนภาษีจะสิ้นสุดลง สาขาที่ชะลอลงได้แก่ สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สาขาการขนส่งฯ และสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา ชะลอลงร้อยละ 3.3 7.4 และ5.9 ตามลำดับ ส่วนสาขาที่การผลิตหดตัวลง ได้แก่ สาขาการ ทำเหมืองแร่ฯ สาขาการก่อสร้าง และสาขาการบริหารราชการแผ่นดินฯ ซึ่งหดตัวร้อยละ 2.1 9.8 และ 1.4 ตามลำดับ
ภาวะการผลิตรายจังหวัด ส่วนใหญ่เติบโตลดลงจากปีที่ก่อน ยกเว้นจังหวัดสิงห์บุรีและพระนครศรีอยุธยาที่ขยายตัวจากปีก่อนหน้าร้อยละ 9.9 และ 24.2 ตามลำดับมีสาเหตุมาจากการผลิตสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 27.5 และ 28.4 ตามลำดับ โดยจังหวัดสิงห์บุรีขยายตัว
สูงในหมวดอาหาร หมวดกระดาษ และ หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขยายตัวสูงในหมวดยานยนต์ หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า และหมวดวิทยุ โทรทัศน์ฯ จังหวัดอื่นๆ ที่ชะลอลง ได้แก่ สระบุรี อ่างทอง และ ลพบุรี ชะลอลงร้อยละ 8.5 6.2 และ 3.2 ตามลำดับมีสาเหตุหลักจากการผลิตสาขาอุตาสาหกรรมชลอลงส่วนชัยนาท หดตัวร้อยละ 1.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 ในปีก่อนหน้า มีสาเหตุหลักมาจากสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการบริหารราชการแผ่นดินฯ ที่หดตัวลงถึงร้อยละ 37.4 และ3.1 ตามลำดับ
อัตราขยายตัวของ GPP ภาคกลาง (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
จังหวัด 2545 2546 2545 2546
1. สระบุรี 17.7 8.5 19.5 18.3
2. สิงห์บุรี 6.5 9.9 3.4 3.2
3. ชัยนาท 4.6 -1.6 4.5 3.8
4. อ่างทอง 8.6 6.2 3.6 3.3
5. ลพบุรี 4.9 3.2 13.7 12.2
6. พระนครศรีอยุธยา 6.7 24.2 55.3 59.2
รวมทั้งภาค 8.4 15.9 100.0 100.0
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาพรวม การผลิตรวมในปี 2546 ขยายตัวส งขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.0 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการขยายตัว
ของการผลิตนอกภาคเกษตรเป็นหลัก โดยที่การผลิตในสาขาหลักของภาค คือ สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.3 รวมทั้ง สาขาตัวกลางทางการเงิน ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 22.0 การผลิตในสาขาอื่นๆ ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สาขาการบริหารราชการแผ่นดินฯ สาขาการบริการด้านสุขภาพฯ สาขาการให้บริการชุมชนฯ เป็นต้น
การผลิตภาคเกษตร หดตัวลงร้อยละ 0.6 เนื่องจากสาขา การเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ หดตัวร้อยละ 0.3
เป็นผลมาจากหมวดปลูกพืชผล และหมวดการเลี้ยงปศุสัตว์ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผักและผลไม้ รวมทั้ง สุกร ไก่ไข่ มีผลผลิตลดลง ประกอบกับสาขาการประมงหดตัวลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
(ยังมีต่อ).../อัตราขยายตัว..