แผนกลยุทธ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2547 - 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 1, 2005 15:46 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                                 บทที่ 1 
บทนำ
1. สศช. เป็นองค์กรวางแผนกลางที่มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีแผนพัฒนาฯ ใช้เป็นกรอบการพัฒนาประเทศมาตั้งแต่ปี 2504 รวมระยะเวลา 42 ปี ผลการพัฒนาประเทศทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนโครงสร้าง ระบบเศรษฐกิจจากยุคสินค้าเกษตร ไปสู่ยุคของการผลิตทดแทนการนำเข้า และยุคของ การส่งเสริมการส่งออก ในขณะที่ความยากจนและการกระจายรายได้ และการดูแล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นปัญหาหลัก
2. จุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยได้หันมามุ่งเน้น การพัฒนาคน และเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ พร้อมกับปรับเปลี่ยนกระบวนการวางแผนจากส่วนกลาง ไปสู่การวางแผนแบบ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม อย่างไรก็ดีการเปิดเสรีของระบบเศรษฐกิจโดย ขาดความรอบคอบและขาดระบบกำกับตรวจสอบที่ดี จึงนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้เปิดศักราชใหม่ของมิติการมีส่วนร่วม ของประชาชน การสร้างระบบพรรคการเมืองและระบบรัฐสภาที่มีความเข้มแข็ง กระบวนการปฏิรูประบบราชการที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงจากโลกภาย นอกที่มีความเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบการเงินโลกและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การก้าวเข้าสู่ยุคของสังคมความรู้และยุคของนวัตกรรม
4. การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ.2546 ซึ่งออกตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2545 ได้กำหนดแนวทางการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีบทบัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐ มนตรี และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีภายใน 90 วันหลังจากที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาประเทศด้าน ต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้ความจำเป็นที่จะต้องมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีลดความสำคัญลง
5. การปฏิรูประบบบริหารประเทศได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ วางแผนเศรษฐกิจ โดยมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานหลักให้มี ความชัดเจนและมีการประสานงานมากขึ้น คือ
5.1 ด้านการวางแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ดูแลยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยกำหนดให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่าง สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว
5.2 ด้านการงบประมาณ สำนักงบประมาณ ดูแลการจัดสรรงบประมาณประจำปีและ ประมาณการงบประมาณล่วงหน้าตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
5.3 ด้านการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลนโยบายการเงินและระบบการเงินให้ มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
5.4 ด้านการคลัง กระทรวงการคลังดูแลนโยบายการคลังที่มุ่งรักษาเสถียรภาพและ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
6. การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานฯ ในปัจจุบัน และจะมีส่วนกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ สศช. ในระยะยาว จึงทำให้มีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่ สศช. จะต้องทบทวนบทบาทและภารกิจในการวางแผนให้สามารถก้าว ทันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
7. แผนกลยุทธ์หรือแผนการดำเนินงานของ สศช. จะเป็นสัญญาประชาคมที่กำหนดทิศทาง การทำงานขององค์กรในระยะ 4 ปีข้างหน้า และเป็นแผนการดำเนินงานให้กับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ โดยปรับเปลี่ยนบทบาทของ สศช. ไปสู่การเป็นหน่วยงาน วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และการผลักดันแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่ ความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งการเป็นหน่วยงานติดตามประเมินผล ซึ่งการ ดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพัฒนาองค์กร ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง
บทที่ 2
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม
ในการกำหนดกลยุทธ์ของ สศช. ได้ให้น้ำหนักของเงื่อนไขและปัจจัยภายนอกหน่วยงานที่เป็น ตัวกำหนด เพิ่มเติมจากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) ซึ่งให้ความสำคัญกับ การตอบสนองความต้องการของสาธารณะมากขึ้น เงื่อนไขและปัจจัยภายนอกที่ถือว่ามีผล กระทบต่อการดำเนินงานของ สศช. ในอนาคตที่สำคัญได้แก่
1. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ สศช.
1.1 การเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ของโลกได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวนำ กล่าวคือ จากยุค ของการปฏิวัติเขียว ไปสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคของนวัตกรรม ยุค ของเศรษฐกิจใหม่ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวนำ และยุคของสังคมความรู้ ในปัจจุบัน
1.2 การปฏิรูปการเมืองและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ส่งผลให้ระบบ พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกระบวน การประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น 3 ประการคือ
1.2.1 การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการตรวจสอบ การดำเนินงานของรัฐบาล
1.2.2 ระบบพรรคการเมืองมีความเข้มแข็งมากขึ้น
1.2.3 รัฐบาลมีนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินชัดเจน โดยมีการศึกษาและ วิจัยเชิงนโยบายมากขึ้น
1.3 รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 4 ประการได้แก่
1.3.1 การแก้ไขกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดินนำไปสู่การปรับโครงสร้าง ส่วนราชการ โดยยุบรวมและถ่ายโอนภารกิจของกระทรวงทบวงกรม รวมทั้งตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมารองรับภารกิจใหม่
1.3.2 การแก้ไข/บัญญัติกฎหมายใหม่ ๆ (เช่น พ.ร.บ. บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ การแก้ไข พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ 2535 พ.ร.บ. หนี้ สาธารณะ เป็นต้น)
1.3.3 การปฏิรูปกระบวนการจัดทำงบประมาณ โดยมีการจัดทำงบประมาณเชิง ยุทธศาสตร์ และการจัดทำประมาณการงบประมาณล่วงหน้า ตั้งแต่ปี งบประมาณประจำปี 2548 เป็นต้นไป โดยสำนักงบประมาณจะต้อง ประสานงานกับ สศช. ในการจัดทำยุทธศาสตร์งบประมาณ และมีการ ประเมินผลประสิทธิภาพของงบประมาณทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ระดับ แผนงาน/โครงการ และระดับกระทรวง
1.3.4 การเปลี่ยนแปลงของระบบบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันได้นำ ระบบการบริหารงานแนวใหม่มาใช้กล่าวคือ
(1) มีรองนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เสมือนนายกรัฐมนตรีกำกับดูแล การบริหารราชการแผ่นใน 2 มิติคือ มิตินโยบาย ที่เน้นการนำ นโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความบูรณาการ ระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และมติพื้นที่ ที่เน้นการบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ที่มีการแบ่งการกำกับดูแลเป็นกลุ่ม จังหวัด
(2) มีคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงต่าง ๆ และช่วยเหลือรัฐมนตรี ในการดำเนินการให้นโยบายสามารถนำไปปฏิบัติได้รวดเร็วขึ้น
(3) นำระบบบริหารงานแบบบูรณาการในระดับจังหวัดและต่าง ประเทศมาใช้ คือ ระบบผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และทูต CEO โดยเน้นการบริการงานทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น
1.4 การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าน เมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดหน้าที่ที่ สศช. จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใน 4 มาตรา ด้วยกันคือ
1.4.1 มาตรา 13 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายก- รัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการ แผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
1.4.2 มาตรา 14 ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 13 ให้จัดทำเป็นแผน 4 ปี โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามา พิจารณาให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนด เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบ ในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการและการติดตามประเมินผล
1.4.3 มาตรา 19 ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและ ให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ ทั้งนี้เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
1.4.4 มาตรา 22 เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกัน จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการ ดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการ พิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อ ประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ซึ่งในการ ดำเนินการได้กำหนดให้ สศช. และ สงป. ศึกษาจัดทำคู่มือแนวทางการ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547
1.5 ความคาดหวังของรัฐบาลและสาธารณะต่อบทบาทของ สศช. มีมาก หรืออีก นัยหนึ่ง สศช. สถานะอยู่ตรงกลางระหว่างรัฐบาลและประชาชน ทำให้ สศช. ต้องวางตัวเป็นกลางบนพื้นฐานแห่งความถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. ผลกระทบต่อความสำเร็จของบทบาทและการดำเนินงานของ สศช.
2.1 ผลด้านบวกที่ถือเป็นโอกาส
2.1.1 กระตุ้นให้ สศช. ต้องเรียนรู้และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถนำมาประกอบการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และเสนอแนะรัฐบาล
2.1.2 รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐมีความเข้มแข็งในเรื่องของการวางแผนและ กำหนดนโยบาย ทำให้ความจำเป็นของการชี้นำจากหน่วยงานวางแผน ลดน้อยลง และ สศช. จะได้ใช้โอกาสในการปรับเปลี่ยนบทบาทและ ภารกิจให้สามารถมองทิศทางระยะยาวได้มากขึ้น
2.2 ผลด้านลบที่ถือเป็นอุปสรรค
2.2.1 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลกดำเนินไปอยู่ ตลอดเวลา ทำให้ยากต่อการกำหนดแผนงานล่วงหน้าได้เช่นในอดีต โดย เฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการก้าวเข้าสู่สังคม ความรู้ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าขีดความสามารถขององค์กรซึ่ง เป็นผู้ตาม ทำให้ สศช. ต้องปรับปรุงการบริหารงานขององค์กรให้มีความ เป็นพลวัตรให้มากขึ้น
2.2.2 การจัดทำนโยบาย แผนและยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานภาครัฐ ที่ขาด การบูรณาการและระบบการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ จะ เป็นจุดอ่อนของความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ ซึ่ง สศช. สามารถใช้ เป็นโอกาสความได้เปรียบในฐานะหน่วยงานวางแผนที่มีประสบการณ์ เข้าไปช่วยหน่วยงานภาครัฐได้
2.3 บทบาท สศช.
2.3.1 บูรณาการแผนและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานให้มีความสอดคล้องกับ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว โดย สศช. จะต้องหวังผลต่อการ เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย
2.3.2 ต้องมีบทบาทในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย แผนและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
2.3.3 ต้องปรับปรุงองค์กรให้มีความเป็นพลวัตร มีประสิทธิภาพสูง และมี บุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงในการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์
3. เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ จากเงื่อนไขและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ สศช. จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องปรับบทบาทและภารกิจของ สศช. ใหม่ โดยบทบาทภารกิจใหม่จะต้อง คำนึงถึง 4 ประการคือ รู้ เร็ว ริเริ่ม และระบบ ดังนี้
3.1 สร้างองค์กรฐานความรู้ (Knowledge-Based and Learning Organization)
3.2 เพิ่มความเร็วในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานตามนโยบาย รัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงของโลก (Change Management)
3.3 ริเริ่มงานวางแผนในเชิงรุก (Proactive and Creativity)
3.4 สร้างความเป็นเนื้อเดียวของระบบการทำงาน (Synergy)
บทที่ 3
วิสัยทัศน์ ภาระหน้าที่ และวัตถุประสงค์
1. วิสัยทัศน์ หน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุล และยั่งยืนที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง
2. ภาระหน้าที่ การดำเนินงานของ สศช. ไปสู่วิสัยทัศน์ สศช. จะต้องปรับเปลี่ยนภาระหน้าที่ให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยมีการบริหารจัดการและจัดลำดับความสำคัญของ พันธกิจให้มีความบูรณาการ และคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภาครัฐ
2.1 ภาระหน้าที่เดิม เป็นภาระหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ดังนี้
2.1.1 ภาระหน้าที่ตามบทบาท
(1) การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการแปลง แผนพัฒนาฯ ไปสู่การปฏิบัติ ทุก 5 ปี
(2) การวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการวิเคราะห์โครงการ และแผนงานการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (พ.ร.บ. สศช. พ.ศ. 2521, พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือ ดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535, ระเบียบว่าด้วยงบลงทุน ของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522, ระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528)
(3) การพัฒนาข้อมูลเพื่อการวางแผน ได้แก่ การจัดทำข้อมูล ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
(4) การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ รวมทั้งการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาประเทศ
2.1.2 ภาระหน้าที่ตามนโยบาย
(1) การจัดทำวาระแห่งชาติ 4 เรื่องได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาความ ยากจนและการกระจายรายได้ (2) การพัฒนาความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ (3) การพัฒนาทุนทางสังคม และ (4) การพัฒนาที่ยั่งยืน
(2) การจัดทำยุทธศาสตร์ตามนโยบายรัฐบาลและผลักดันโครงการ พัฒนา ได้แก่ (1) การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (2) การจัดระบบ เศรษฐกิจตามแนวชายแดน (Economic Cooperation Strategy) (3) การพัฒนาสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (4) การ จัดระบบศูนย์ราชการ (5) การพัฒนาถนนราชดำเนิน (6) ธนาคาร สมอง (7) เศรษฐกิจพอเพียง และ (8) การพัฒนาเมืองน่าอยู่
2.2 ภาระหน้าที่ใหม่ เมื่อพิจารณาเงื่อนไขและปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกสำนักงานฯ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา สศช. จำเป็นจะต้องปรับบท บาทและภาระหน้าที่ใหม่ โดยยกเลิกการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติระยะ 5 ปีที่เคยเป็นแผนชี้นำการพัฒนาระดับประเทศ เป็นการวางแผน ยุทธศาสตร์ และถ่ายโอนงานวิเคราะห์งบลงทุน งานวิเคราะห์โครงการ และงาน จัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศให้กับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ภาระ หน้าที่ใหม่จะเน้นการวางแผนยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจนในประเด็นของการ พัฒนาในฐานะเป็นหน่วยงานวางแผนเพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงและตอบ สนองลูกค้าของ สศช. ได้อย่างถูกต้อง ภาระหน้าที่ใหม่กำหนดไว้ดังนี้ "ภาระหน้าที่ใหม่หรือพันธกิจใหม่ของ สศช. คือ วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยมีระบบข้อมูลและระบบกำกับติดตามและ ประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ"
2.3 ภาระหน้าที่และภารกิจที่ยกเลิกและถ่ายโอนให้กับหน่วยงานอื่น
2.3.1 งานจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี เป็นงานที่ ยกเลิกและปรับเปลี่ยนไปเป็นการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินระยะ 4 ปีให้กับรัฐบาลภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
2.3.2 งานวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของ รัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2522 เป็นงานที่จะดำเนินการถ่ายโอนให้กับกระทรวง การคลัง ซึ่งมีสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเป็นผู้รับผิดชอบ และปรับภาระหน้าที่ของ สศช. ไปทำหน้าที่วิเคราะห์ภาพรวมและงบลง ทุนรายกระทรวง
2.3.3 งานวิเคราะห์โครงการ เป็นงานที่จะดำเนินการถ่ายโอนให้กระทรวงเจ้า ของโครงการเป็นผู้นำเสนอคณะรัฐมนตรี และปรับภาระหน้าที่ของ สศช. ไปทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์และแผนการลงทุนของประเทศ โดย สศช. จะวิเคราะห์ความคุ้มค่าในระดับยุทธศาสตร์และแผนงาน
2.3.4 งานจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศระยะ 3 ปี ตามระเบียบการก่อ หนี้ต่างประเทศ พ.ศ.2528 เป็นงานที่จะดำเนินการถ่ายโอนให้กับ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีสำนักบริหารหนี้สาธารณะเป็นผู้รับผิดชอบ
3. วัตถุประสงค์ แผนกลยุทธ์ของ สศช. มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานของสำนักงานฯ 3 เรื่องดังนี้
3.1 วางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลและยั่งยืนใน ระยะยาว รวมทั้งผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และมีระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
3.2 ให้บริการข้อมูลข่าวสารและสร้างความรู้ความเข้าใจกับสาธารณะเกี่ยวกับการ พัฒนาประเทศและการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยทำหน้าที่เป็นตัว เชื่อมในการอธิบายนโยบายของรัฐบาลและนโยบายการพัฒนาประเทศ
3.3 พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และปรับปรุงการบริหารงานขององค์กร ให้สอดรับกับภาระหน้าที่ใหม่ มีประสิทธิภาพสูง และเป็นหน่วยงานที่เป็นที่ ภาคภูมิใจของประเทศ
บทที่ 4
ยุทธศาสตร์
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ภาระหน้าที่ และวัตถุประสงค์ ที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการวางแผน และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง สำนักงานฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เชิงรุกและปรับตัวที่เน้นทั้งมิตินโยบายและมิติพื้นที่ และการดำเนินงานที่ครบวงจรของการวาง แผนคือ การวางแผน การผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผล โดยมี 7 ยุทธศาสตร์คือ (1) การวางแผนเพื่อการพัฒนา (2) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (3) การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน (4) การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค (5) การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม (6) การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และ (7) การบริหารจัดการ องค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง
1. ยุทธศาสตร์การวางแผนเพื่อการพัฒนา ยุทธศาสตร์การวางแผนส่วนรวมถือเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการจัดทำแผนการบริหาร ประเทศให้กับคณะรัฐมนตรีภายใต้กรอบนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และนโยบายรัฐบาล และมุ่งให้เกิดการวางกรอบทิศทางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจทั้ง ในระยะสั้นและระยะยาว ในเรื่องหลัก ๆ ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับ ผิดชอบ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้
1.1 การวางแผนเพื่อการพัฒนา
1.1.1 การจัดทำแผนที่นำทางพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยพิจารณาถึงทิศ ทางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใน โลกและผลกระทบที่มีต่อโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย
1.1.2 การวางแผนและจัดทำนโยบายบริหารเศรษฐกิจมหภาค โดยประสาน งานกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมห ภาคในการจัดทำนโยบายการคลัง นโยบายงบประมาณ และการจัดทำ ยุทธศาสตร์งบประมาณประจำปีและงบประมาณระยะปานกลาง โดย คำนึงถึงการสนับสนุนการเจริญเติบโตและเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
1.1.3 การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลง นโยบายต่อรัฐสภาแล้ว และประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของ รัฐที่ส่วนราชการดำเนินการ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนว ทางพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อ ประโยชน์ในการตั้งงบประมาณในปีต่อไป ทั้งนี้ให้รวมถึงภารกิจและ โครงการของหน่วยงานภาครัฐและรวมถึงผลกระทบด้านสังคมนอก
เหนือไปจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ภารกิจนี้เป็นภารกิจตามที่กำหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าน เมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 13 มาตรา 14 และมาตรา 22 ซึ่งต้องปฏิบัติ งานร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐ มนตรี และสำนักงบประมาณ
1.1.4 การวางแผนยุทธศาสตร์เฉพาะเพิ่มเติมนอกเหนือจากยุทธศาสตร์ตาม วาระแห่งชาติ ที่สำคัญได้แก่ ยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบ และยุทธศาสตร์สร้างความมั่งคั่งของชาติ เป็นต้น
1.1.5 การจัดทำรายงานสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเป็น ข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งเป็นภารกิจที่ได้ รับมอบหมายภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 22 และเพื่อรายงานต่อ สาธารณะให้ทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้องของประเทศ
1.1.6 การบริหารจัดการแผนการลงทุนของประเทศ
(1) จัดทำแผนการลงทุนของประเทศ ที่มีความสอดคล้องและเชื่อม โยงกับทิศทางการพัฒนาของแผนระยะยาว แผนยุทธศาสตร์/ แผนปฏิบัติการตามวาระแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล โดยครอบ คลุมการลงทุนทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมของภาครัฐ และมี ลักษณะเป็นแผนที่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลอด เวลา ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนบทบาทด้านการวิเคราะห์งบลงทุนและ โครงการภาครัฐไปเป็นผู้วางแผนการลงทุนด้านเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ
(1) ประสานงานกับกระทรวง ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ในการ ติดตามผลการดำเนินงานและผลักดันแผนการลงทุนของ ประเทศไปสู่การปฏิบัติ
(2) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการลงทุนแก่รัฐบาล ส่วนราช การ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม แผนการลงทุนของประเทศให้บรรลุผลสำเร็จและมีความ รอบคอบทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง รวมถึงทิศทางการลงทุน การจัดเตรียมข้อเสนอ/การศึกษาความ เหมาะสมของโครงการ และการพิจารณาทางเลือกการดำเนิน โครงการในกรณีต่าง ๆ เช่น รูปแบบการลงทุน แหล่งเงิน และ การบริหารจัดการ
(3) ปรับปรุงเทคนิควิธีการวางแผน การจัดเตรียมและประเมินความ คุ้มค่าของโครงการ การวิเคราะห์ทางเลือกและความเสี่ยงในการ ดำเนินโครงการ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเศรษฐ- ศาสตร์และการเงินที่ทันสมัย รวมทั้งมีความคล่องตัวในการ ศึกษาและจัดหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวางทันต่อเหตุการณ์ เพื่อนำ ไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการให้คำ ปรึกษาด้านการลงทุนที่ครบวงจร
(4) จัดทำคู่มือวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนในระดับแผนงาน และโครงการสำหรับหน่วยงานภาครัฐใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงาน
1.1.7 การถ่ายโอนงานการพิจารณางบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจ สศช. จะ ลดบทบาทและทำการถ่ายโอนภารกิจให้กับกระทรวงการคลัง โดยแยก เป็น 2 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ปรับบทบาทของ สศช. จากการเป็นผู้พิจารณาและนำเสนอ งบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ ความเห็นชอบ ไปเป็นผู้วิเคราะห์และให้ความเห็นประกอบ การพิจารณางบลงทุนรัฐวิสาหกิจเป็นรายกระทรวง โดย รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเป็นผู้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ ความเห็นชอบ
ระยะที่ 2 ถ่ายโอนงานพิจารณางบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจ ให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการ คลัง เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีระยะเวลาการถ่ายโอนงาน 1 ปี
1.1.8 การถ่ายโอนงานการวิเคราะห์โครงการลงทุนของภาครัฐ สศช. จะลดบท บาทและถ่ายโอนภารกิจให้กับกระทรวงการคลังและกระทรวงเจ้าของ โครงการ ดังนี้
(1) ถ่ายโอนภารกิจการวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนของภาครัฐกับ เอกชน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนิน การในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้รับ ผิดชอบ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ