-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามความต้องการลงทุนและกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ โดยอัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.75 - 1.78125 และร้อยละ 2.03125 -2.0625 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ 1 เดือน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
-มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองปรับลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและข่าวการลอยตัวน้ำมันดีเซล ตลอดจนการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ จากการปรับสูงขึ้นของยอดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสสี่
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีการโอนเงินประกันสุขภาพและการนำฝากภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบการเงิน ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้นหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในวันอังคารและวันพฤหัสบดี และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.03125 ต่อปี ในวันอังคารและปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์บางรายดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเป็นบางระยะ โดยเฉพาะใน
ตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่1.78125 ต่อปี ในวันพุธและวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ1 เดือน ยังปิดตลาดคงที่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.125 และอัตรากลาง(Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.88 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9 - 1.95 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 32 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และนอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปีวงเงิน 2,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 88,594 ล้านบาทคิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 17,719 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77.3 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท.ถึงแม้ว่ามูลค่าซื้อขายจะลดลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติของตลาดฯเพราะในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งมีการย้ายการลงทุนมาจากตลาดหุ้น เนื่องจากปัจจัยกดดันเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับราคาขายน้ำมันดีเซลในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้การลดลงของปริมาณธุรกรรมไม่ส่งผลกระทบต่อระดับราคาของตราสารหนี้ ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 24 basis points ในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชน
เกือบไม่เปลี่ยนแปลง
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับลดลงเล็กน้อย โดยในต้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นตาม US Treasury Yield และหลังจากนั้นได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้อัตราผล ตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุ 1-2 ปี เพิ่มขึ้น 0-2 basis points และพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 3 ปี ลดลง 0-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.38 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยนความกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและข่าวการลอยตัวน้ำมันดีเซล ตลอดจนความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทผู้นำเข้าน้ำมัน นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทย
และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงเป็นลำดับและปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ระดับ 38.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่
อ่อนค่ามากนัก เนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงต้นสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงซื้อกลับเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุน และเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสี่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากยอดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ในไตรมาสสี่ที่ปรับสูงขึ้นเป็น 187.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ได้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า (22 มี.ค.) ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าจะ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 และจะเป็นปัจจัยกำหนดค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองปรับลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและข่าวการลอยตัวน้ำมันดีเซล ตลอดจนการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ จากการปรับสูงขึ้นของยอดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสสี่
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีการโอนเงินประกันสุขภาพและการนำฝากภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบการเงิน ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้นหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในวันอังคารและวันพฤหัสบดี และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.03125 ต่อปี ในวันอังคารและปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์บางรายดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเป็นบางระยะ โดยเฉพาะใน
ตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่1.78125 ต่อปี ในวันพุธและวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ1 เดือน ยังปิดตลาดคงที่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.125 และอัตรากลาง(Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.88 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9 - 1.95 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 32 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และนอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปีวงเงิน 2,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 88,594 ล้านบาทคิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 17,719 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77.3 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท.ถึงแม้ว่ามูลค่าซื้อขายจะลดลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติของตลาดฯเพราะในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งมีการย้ายการลงทุนมาจากตลาดหุ้น เนื่องจากปัจจัยกดดันเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับราคาขายน้ำมันดีเซลในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้การลดลงของปริมาณธุรกรรมไม่ส่งผลกระทบต่อระดับราคาของตราสารหนี้ ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 24 basis points ในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชน
เกือบไม่เปลี่ยนแปลง
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับลดลงเล็กน้อย โดยในต้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นตาม US Treasury Yield และหลังจากนั้นได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้อัตราผล ตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุ 1-2 ปี เพิ่มขึ้น 0-2 basis points และพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 3 ปี ลดลง 0-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.38 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยนความกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและข่าวการลอยตัวน้ำมันดีเซล ตลอดจนความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทผู้นำเข้าน้ำมัน นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทย
และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงเป็นลำดับและปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ระดับ 38.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่
อ่อนค่ามากนัก เนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงต้นสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงซื้อกลับเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุน และเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสี่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากยอดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ในไตรมาสสี่ที่ปรับสูงขึ้นเป็น 187.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ได้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า (22 มี.ค.) ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าจะ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 และจะเป็นปัจจัยกำหนดค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-