- ความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงเป็นลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทุกช่วงอายุ
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินเยน ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการปรับอ่อนค่าลงของเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากแถลงการณ์ของประธาน Fed ว่าจะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 1.875 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.90625 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นความต้องการ ลงทุนระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีเงินนำฝาก ภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาคเอกชนเข้ามาในระบบ ประกอบกับธนาคาร พาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาด ซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปรับลดลงเป็นลำดับ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตรา ดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.96875 และ 2 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง เคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 1.95 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากระดับร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.85 ต่อปี ในช่วงปลาย สัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้าน บาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท โดยการประมูลในสัปดาห์นี้ได้รับการตอบรับจากนักลงทุน เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลที่มีสัดส่วนเสนอประมูล ค่อนข้างสูง จึงทำให้ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลงจาก สัปดาห์ก่อน ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วันและพันธบัตร ธปท. ที่มี อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 4 และ 5 ปี ที่กระทรวงการคลังค้ำ ประกัน วงเงิน 2,000 และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 81,373 ล้าน บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 16,274 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright 50,621 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.9 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขาย สูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. ตามปริมาณ อุปทานที่เข้าสู่ตลาดค่อนข้างมาก อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) มีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตรา ผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 3-17 ปีปรับลดลง 1-3 basis points และพันธบัตรฯ อายุ 1-2 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ เพิ่มขึ้น 5 basis points ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนลดลง 5 basis points สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้น :ซึ่ง เป็นผลจากการที่ประธาน Fed กล่าวต่อที่ประชุมสภาคองเกรสว่า พื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้ถึงการปรับ ลดลงของอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรระยะยาว ทำให้นักลงทุน คาดการณ์ว่าจะยังคงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และคาดว่า yield ของพันธบัตรระยะยาวจะปรับตัวขึ้นตอบรับคำกล่าวของ ประธาน Fed ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ Yield ของ US Treasury ทุกช่วง อายุปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตราสารระยะยาว อายุ 7 ปีขึ้นไป ปรับตัวขึ้น 15-17 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 38.38 - 38.52 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.43 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท ในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามทิศทางค่าเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขการเกินดุลบัญชี เดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ ของตลาด นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหล เข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่าง ต่อเนื่อง สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์เงินบาทค่อนข้างทรงตัว ก่อนจะ ปรับอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยส่วนหนึ่งจาก ความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินเยนมีทิศทางอ่อนค่าลง เนื่องจากตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นประจำไตรมาสสี่ปรับตัวลดลงอย่าง ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็ง ค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากแถลงการณ์ของ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงนัยว่า Fed จะยังปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ต่อไป ท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้ม ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทุกช่วงอายุ
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินเยน ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการปรับอ่อนค่าลงของเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากแถลงการณ์ของประธาน Fed ว่าจะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 1.875 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.90625 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นความต้องการ ลงทุนระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีเงินนำฝาก ภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาคเอกชนเข้ามาในระบบ ประกอบกับธนาคาร พาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาด ซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปรับลดลงเป็นลำดับ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตรา ดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.96875 และ 2 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง เคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 1.95 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากระดับร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.85 ต่อปี ในช่วงปลาย สัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้าน บาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท โดยการประมูลในสัปดาห์นี้ได้รับการตอบรับจากนักลงทุน เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลที่มีสัดส่วนเสนอประมูล ค่อนข้างสูง จึงทำให้ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลงจาก สัปดาห์ก่อน ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วันและพันธบัตร ธปท. ที่มี อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 4 และ 5 ปี ที่กระทรวงการคลังค้ำ ประกัน วงเงิน 2,000 และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 81,373 ล้าน บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 16,274 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright 50,621 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.9 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขาย สูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. ตามปริมาณ อุปทานที่เข้าสู่ตลาดค่อนข้างมาก อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) มีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตรา ผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 3-17 ปีปรับลดลง 1-3 basis points และพันธบัตรฯ อายุ 1-2 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ เพิ่มขึ้น 5 basis points ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนลดลง 5 basis points สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้น :ซึ่ง เป็นผลจากการที่ประธาน Fed กล่าวต่อที่ประชุมสภาคองเกรสว่า พื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้ถึงการปรับ ลดลงของอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรระยะยาว ทำให้นักลงทุน คาดการณ์ว่าจะยังคงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และคาดว่า yield ของพันธบัตรระยะยาวจะปรับตัวขึ้นตอบรับคำกล่าวของ ประธาน Fed ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ Yield ของ US Treasury ทุกช่วง อายุปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตราสารระยะยาว อายุ 7 ปีขึ้นไป ปรับตัวขึ้น 15-17 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 38.38 - 38.52 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.43 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท ในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามทิศทางค่าเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขการเกินดุลบัญชี เดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ ของตลาด นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหล เข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่าง ต่อเนื่อง สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์เงินบาทค่อนข้างทรงตัว ก่อนจะ ปรับอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยส่วนหนึ่งจาก ความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินเยนมีทิศทางอ่อนค่าลง เนื่องจากตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นประจำไตรมาสสี่ปรับตัวลดลงอย่าง ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็ง ค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากแถลงการณ์ของ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงนัยว่า Fed จะยังปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ต่อไป ท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้ม ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-