ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2008 13:04 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          - เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.7 สูงกว่าการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ในสามไตรมาสแรกและการขยายตัว
เริ่มมีความสมดุลมากขึ้น แม้ว่าการส่งออกสุทธิจะยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก แต่การใช้จ่ายรัฐบาลก็เพิ่มขึ้นมากและการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน
ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งปี 2550 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.8
- ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีเสถียรภาพแต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในไตรมาสสี่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.9 สูงกว่าเฉลี่ยร้อย
ละ 2.0 ในสามไตรมาสแรก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6.18 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งปีอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.3 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
14.92 พันล้านดอลลาร์หรือร้อยละ 6.1 ของ GDP และอัตราการว่างงานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.4
- อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทรงตัว สินเชื่อเร่งตัวมากขึ้น ในขณะที่เงินฝากชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้สภาพคล่องเริ่มลดลง แต่โดยรวม
สภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนค่าลง ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีความผันผวนมากขึ้นตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ
- ฐานะการคลังขาดดุลงบประมาณและขาดดุลเงินสด ซึ่งเป็นไปตามการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สัดส่วน
หนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550 เท่ากับร้อยละ 38.2 ลดลงจากร้อยละ 40.4 ณ สิ้นปี 2549 แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.84 ณ สิ้น
ไตรมาสสาม
- ตลอดปี 2550 ที่ผ่านมามีปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจของประเทศส่งออกสำคัญของไทย
ขยายตัวสูงและเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยต่ำ
ลงในครึ่งแรกของปี และความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจเริ่มดีขึ้นในช่วงปลายปี
- ในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมร้อยละ 4.0-5.0 เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนมี
สัญญาณฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ ปี 2550 และการส่งออกในช่วงปลายปีและในเดือนมกราคมยังแสดงถึงแนวโน้มที่ดีสำหรับสินค้าข้าว มัน
สำปะหลัง ยางพารา อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี2551 จะมีลักษณะที่สมดุลมากขึ้นจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายใน
ประเทศ สนับสนุนโดยหลายปัจจัย ได้แก่ การดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลและการดำเนินนโยบายเร่งด่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยต่ำ อัตราการว่างงานต่ำ ความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจดีขึ้น แต่แรงกดดันจากต้นทุนราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็น
ร้อยละ 3.2-3.7 และยังมีข้อจำกัดจากปัจจัยภายนอกทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกนำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2551 ดุล
บัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณร้อยละ 3.0 ของ GDP
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสที่สี่และตลอดปี 2550
1.1 เศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.7 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.2 4.3 และ 4.8 ในสามไตรมาสแรก
ของปี และรวมทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยเป็นการขยายตัวที่มาจากการส่งออกเป็นหลักในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ
ประเด็นหลัก
- เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.8 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 5.1 ในปี 2549 อันเป็นผลจากการชะลอ
ตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน เป็นสำคัญ ในขณะที่การส่งออกขยายตัวได้ดีทั้งปริมาณและมูลค่า ทั้งนี้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกในรูปของ
เงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 และ 18.1 ตามลำดับปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และ 9.6 ตามลำดับ ดุลการค้าจึง
เกินดุลในระดับสูงถึง 11,972.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เกินดุล 994.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549 และจากการขาดดุลจำนวน
8,283.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2548 ซึ่งเป็นปีที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมากและมีการเก็งราคาทองคำและเหล็ก และการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นมากใน
ขณะนั้น เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลจึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงถึง 14,923 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.1 ของ
GDP การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลสูงขึ้นเป็น 17,102.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่เกินดุล
12,741.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549 จึงเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นตามลำดับ
- การเกินดุลการค้าในระดับสูงในปี 2550 นั้นสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรที่การลงทุน
ชะลอลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 จากที่ขยายตัวในระดับสูงในช่วงปี 2545-2548 ทำให้ความต้องการสินค้าทุนลดลง (2) ส่วนที่เป็นภาวะชั่วคราวอัน
เนื่องจากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ลดลงและทำให้การชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนรุนแรงกว่าการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรปกติ และ(3) ขีดความ
สามารถในการแข่งขันที่แท้จริงเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ที่ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก ซึ่งนับเป็นการ
เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างที่ทำให้ฐานรายได้จากการส่งออกสูงขึ้น และช่วยชดเชยการขาดดุลน้ำมันได้มากขึ้น รวมทั้ง (4) การปรับตัวด้านการใช้
และประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทย จะเห็นว่าในปี 2550 นั้นมีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น สัดส่วนการขยายตัวของปริมาณการใช้
พลังงานต่ออัตราการขยายตัวของกิจกรรมการผลิตและภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น ในปี
2550 ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ และการนำเข้าเชื้อเพลิงรวมจึงลดลงร้อยละ 5.5และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ โดยที่มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและ
เชื้อเพลิงรวมในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ แม้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และร้อยละ
8.2 ตามลำดับ
- โดยภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2550 ยังไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกโดยที่แรงขับเคลื่อนหลักมา
จากการขยายตัวของการส่งออกสุทธิเป็นสำคัญ ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนยังอ่อนแอตลอดทั้งปีและปรับตัวดีขึ้นเพียงช้า ๆ
- ในด้านการส่งออก การขยายตัวก็ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม
ปี 2550 เป็นปีที่การส่งออกสินค้าเกษตรได้รับประโยชน์จากการที่ราคาส่งออกข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด และยางพาราเพิ่มขึ้นมาก และส่งผลให้ราคา
ที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นและรายได้โดยเฉลี่ยของเกษตรกรจากพืชผลทางการเกษตรเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17.6
- ตลาดการส่งออกมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยที่ตลาดใหม่มีความสำคัญต่อการส่งออกของประเทศไทยมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปยัง
ตลาดดั้งเดิมซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจสำคัญของโลกในอดีตมีสัดส่วนลดลง
สัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
2538 2540 2545 2548 2549 2550
สหรัฐฯ 17.8 19.4 19.8 15.3 15.0 12.6
ญี่ปุ่น 16.8 15.1 14.6 13.6 12.6 11.9
EU 15 15.1 15.9 15.0 12.9 13.0 12.8
อาเซียน(9) 21.7 21.8 19.9 22.0 20.8 21.3
ตะวันออกกลาง 4.5 3.3 3.6 4.0 4.4 4.9
ออสเตรเลีย 1.4 1.6 2.4 2.9 3.4 3.8
จีน 2.9 3.0 5.2 8.3 9.0 9.7
อินเดีย 0.5 0.5 0.6 1.4 1.4 1.7
ฮ่องกง 5.2 5.9 5.4 5.6 5.5 5.7
เกาหลีใต้ 1.4 1.8 2.1 2.0 2.1 1.9
ไต้หวัน 2.4 2.7 2.9 2.5 2.6 2.2
อาฟริกาใต้ 0.4 0.4 0.5 0.8 0.8 0.9
อื่น ๆ 9.9 8.3 8.0 8.9 9.3 10.6
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาสของปี 2550 ที่เปรียบเทียบกับในไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สูงขึ้นตามลำดับจากร้อยละ
4.2 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 4.3 ในไตรมาสสอง เป็นร้อยละ 4.8 ในไตรมาสสามและร้อยละ 5.7 ในไตรมาสสุดท้าย และการเปรียบเทียบ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2550 กับไตรมาสก่อนหน้าโดยปรับปัจจัยด้านฤดูกาลและความเคลื่อนไหวผิดปกติเฉพาะครั้งคราวออกแล้ว(Seasonalized
QOQ) แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ผ่านช่วงต่ำสุดในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับทั้งการส่งออก การใช้จ่ายและ
การลงทุนภาคเอกชน
- เศรษฐกิจที่ขยายตัวในปี 2550 ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยมีการจ้างงานเฉลี่ย 36.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ
1.6 จำนวนผู้ทำงานต่ำระดับลดลงร้อยละ 2.2 จาก 577,900 คนในปี 2549 เป็น 565,200 คนในปี 2550 และอัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยอยู่ที่
ร้อยละ 1.4
การใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2549 2550
(ร้อยละ) ทั้งปี ทั้งปี H1 Q3 Q4
อัตราการใช้กำลังการผลิตรวม 73.9 76.1 75.5 75.7 77.7
เครื่องดื่ม 77.1 81.6 81.5 76.6 86.9
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 91.0 91.2 90.3 91.2 92.8
ผลิตภัณฑ์เคมี 93.8 95.7 90.4 101.0 101.0
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 87.2 87.7 87.5 90.8 84.8
วัสดุก่อสร้าง 81.6 79.4 79.4 81.6 77.1
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 79.2 81.8 77.4 85.5 86.8
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 76.1 81.5 74.1 83.8 93.9
ส่งออก <30% ของผลผลิต 79.6 81.0 80.1 82.5 81.1
ส่งออก 30 — 60% ของผลผลิต 71.7 72.2 73.8 68.6 72.5
ส่งออก >60% ของผลผลิต 68.5 72.4 71.1 71.3 76.3
(ยังมีต่อ).../ภาวะเศรษฐกิจ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ