(ต่อ1)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2008 14:40 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสสี่และรวมทั้งปี 2550 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้
- ในไตรมาสสี่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อย
ละ 3.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่สาม และจากที่หดตัวร้อยละ 2.3 และ 0.7 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง โดยที่
การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เร่งตัวขึ้นมากโดยขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 และมีการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 โดย
เฉพาะการนำเข้าเครื่องจักรกลไฟฟ้า(1) เครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะ ที่ขยายตัวสูงขึ้น สำหรับการลง
ทุนก่อสร้างนั้นหดตัวร้อยละ 8.5 หลังจากที่เริ่มขยายตัวในไตรมาสที่สามร้อยละ 0.7 โดยที่การลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และโรงงาน
อุตสาหกรรม หดตัวลงร้อยละ 8.4 และ 26.0 ตามลำดับ แต่การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 11.7
ปัจจัยที่สนับสนุนให้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นตามลำดับในช่วงหลังของปี 2550 นั้นประกอบด้วย (i)ปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการขยาย
การลงทุน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และอัตราการใช้กำลังการผลิตของหลายอุตสาหกรรมที่เกือบเต็มกำลัง เช่น กระดาษและผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เคมี
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์คอนกรีตรถยนต์ ยางรถยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสต์ไดร์ส และเครื่องซักผ้า เป็นต้น รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่อยู่
ในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะตลาดส่งออก ประกอบกับการคาดการณ์การฟื้นตัวของตลาดภายในประเทศ และ (ii) ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นใน
ช่วงปลายปีจากการที่บรรยากาศทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น
หมายเหตุ
(1) การนำเข้าเครื่องจักรกลไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34 ของการนำเข้าสินค้าทุนโดยรวม
****************************************************************************
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดสำหรับการลงทุนและทำให้การการลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ในครึ่งหลังของปี 2550
ได้แก่ (i) ภาคเอกชนยังรอความชัดเจนเรื่องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของภาครัฐ อาทิระบบ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (ii) การรอความ
ชัดเจนเรื่องการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน เช่น การรอดูความชัดเจนของพระราชบัญญัติการดำเนินธุรกิจของคนต่างด้าว
และพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่ง รวมทั้งการรออนุมัติการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการลงทุนของสาขาปิโตรเคมี รวมทั้งความชัดเจนใน
เรื่องขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ และ (iii) ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ แม้จะมีการปรับ
ตัวดีขึ้นบ้างในช่วงปลายปี
ดังนั้นโดยรวมทั้งปี 2550 การลงทุนภาคเอกชนจึงยังอ่อนแอโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ชะลอตัวต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.7
ในปี 2549 และร้อยละ 10.6 ในปี 2548 โดยที่การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และการลงทุนก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.3
- การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวแต่ยังอ่อนแอ ในไตรมาสสี่การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.8
ในไตรมาสที่สาม แต่ยังสูงกว่าการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.1 ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยที่การใช้จ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 2.7 สินค้าไม่คง
ทนประเภทอาหารขยายตัวร้อยละ 2.1 และบริการขยายตัวร้อยละ 4.3 แต่การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 8.9 จากที่ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสสาม อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนที่ลดลงในไตรมาสสี่นี้นั้นเป็นเพราะการเลื่อนการซื้อรถยนต์นั่งออกไป(2) เนื่อง
จากผู้บริโภครอการปรับลดภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกหรือ E20 ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551(3) ทำให้
หมายเหตุ
(2) การใช้จ่ายซื้อสินค้ารถยนต์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 53 ของการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน
(3) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 เห็นชอบให้ลดอัตราภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บในประเภทรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 คน
ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมเอทานอล 20%
หรือที่เรียกว่า อี 20 ลงจากร้อยละ 50 เหลือเพียงร้อยละ 25 — 35 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และข้อมูลเบื้องต้นแสดงว่าในเดือน
มกราคม 2551 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5
****************************************************************************
การจำหน่ายรถยนต์ลดลงมากถึงร้อยละ 45.2 ในเดือนธันวาคมและรวมทั้งไตรมาสที่สี่ปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 22.4 สำหรับการ
ใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนประเภทอื่น ๆ ยังปรับตัวดีขึ้น อาทิ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น หม้อหุงข้าวนอกจากนั้นการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทสินค้า
คงทนยังขยายตัวสูง เช่น กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องประดับ เป็นต้น โดยที่ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 นั้นมูลค่า
การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค(ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและเป็นความต้องการของกลุ่มผู้
บริโภคที่มีอำนาจซื้อสูง
โดยรวมตลอดปี 2550 การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวและมีความเปราะบาง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 เทียบกับร้อยละ 3.2 ในปี
2549 และร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยที่การใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 5.9 การใช้จ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 0.8
และ 3.2 ตามลำดับโดยที่การใช้จ่ายซื้อสินค้าประเภทอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 แสดงให้เห็นว่าภาคครัวเรือนมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย
มากขึ้น โดยจะใช้จ่ายเฉพาะสินค้าจำเป็นเป็นหลัก จากการที่การใช้จ่ายครัวเรือนชะลอตัวลงมากในขณะที่การส่งออกขยายตัวมากทำให้สัดส่วนของการ
ใช้จ่ายครัวเรือนต่อขนาดของเศรษฐกิจในปี 2550 เป็นร้อยละ 51.9 ลดลงจากร้อยละ 54.7 และร้อยละ 53.6 ในปี 2548 และ 2549 ตามลำดับ
- ในไตรมาสสุดท้ายการส่งออกยังขยายตัวได้ดีทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและค่าเงิน
บาทแข็งขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 สูง กว่าที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.1 ในสามไตรมาสแรกที่ผ่านมา
โดยที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ
15.0 และราคาส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6
- สินค้าเกษตรมูลค่าส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.8 เป็นผลมาจากราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.5 ซึ่งเป็นเพราะราคาพืชพลังงาน
เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าส่งออกขยายตัวได้ดี ได้แก่ ข้าว จากปริมาณส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่อง
จากประเทศผู้ผลิตหลายประเทศ อาทิเวียดนาม และอินเดีย ประสบปัญหาภัยธรรมชาติและประกาศงดส่งออกข้าวทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวหันมา
นำเข้าข้าวจากไทย ยางพารา ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำ มันในตลาดโลกและตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อทดแทนการใช้ยาง
สังเคราะห์และมันสำปะหลัง ที่ราคาส่งออกสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อการผลิตเอทานอล แต่ปริมาณการส่งออกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับฐาน
การส่งออกที่สูงมากในปีที่แล้ว
- สินค้าอุตสาหกรรม การส่งออกยังขยายตัวได้ดี การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดีได้แก่
คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบอัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์ และเครื่องสำอางสบู่และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่มูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ เครื่อง
รับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมยังคงขยายตัวได้ดีแม้ว่าสินค้าบางรายการจะชะลอตัวลงตามภาวะการค้าเซมิคอนดักเตอร์โลก
โดยที่การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ 19.4 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า โดยตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
สหรัฐฯ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่นและมาเลเซีย แต่การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าชะลอตัวลง
- เครื่องใช้ไฟฟ้า การส่งออกขยายตัวได้ดี โดยสินค้าที่มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เครื่องปรับ
อากาศและส่วนประกอบที่ได้รับอานิสงส์จากการที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นโดยเฉพาะในแถบภูมิภาคยุโรป ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกสำคัญ
ได้แก่ ออสเตรเลีย สเปน ญี่ปุ่น อิตาลี เป็นต้น ทั้งนี้ การส่งออกเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบยังคงลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากการส่งออกไป
ตลาดสหรัฐฯ ประสบปัญหาจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP)ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา
- อัญมณีและเครื่องประดับ การส่งออกขยายตัวสูงร้อยละ 92.4 แม้ว่าจะประสบปัญหาการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในตลาด
สหรัฐฯ แต่ก็ยังสามารถส่งออกไปตลาดอื่นได้เพิ่มขึ้นและชดเชยผลกระทบ ได้แก่ การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียและฮ่องกง เป็นต้น สินค้าที่การส่ง
ออกขยายตัวได้ดีได้แก่ ไข่มุก ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และอัญมณีสังเคราะห์ เป็นต้น
- การส่งออกไปยังตลาดสำคัญยังคงขยายตัวสูง และตลาดสหรัฐฯ กลับมาขยายตัว การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น EU(15) และอาเซียน (5)
ขยายตัวได้ดีร้อยละ 12.2 7.7 และ 42.2 ตามลำดับ และการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯกลับมาขยายตัวร้อยละ 5.3 หลังจากที่ลดลงใน 2 ไตรมาส
ก่อนหน้า โดยสินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นสูงได้แก่ คอมพิวเตอร์และ ส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
อัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับการส่งออกไปยังตลาดใหม่ยังคงขยายตัวได้ดีทั้ง จีน ยุโรปตะวันออก แอฟริกา ตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามการส่ง
ออกไปอินเดียชะลอลงจึงมีผลให้การส่งออกไปเอเชียใต้ในภาพรวมชะลอตัวลงมาก
ตลาดส่งออกสำคัญ
(%YOY) 2549 2550
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 สัดส่วน
ตลาดหลัก 11.7 11.2 12.4 12.9 2.7 17.7 53.8
สหรัฐ 14.4 -1.2 1.9 -1.7 -9.1 5.3 12.6
ญี่ปุ่น 8.5 10.6 15.5 12.3 3.0 12.2 11.9
EU (15) 18.1 15.6 22.2 24.0 10.4 7.7 12.8
อาเซียน 5 6.7 20.1 11.6 18.8 8.3 42.2 16.5
ตลาดอื่น ๆ 24.6 25.8 24.0 24.7 23.5 30.5 46.2
ฮ่องกง 16.2 21.2 6.1 8.6 28.6 39.4 5.7
ไต้หวัน 23.7 -1.4 32.4 -4.7 -22.3 -5.4 2.2
เกาหลีใต้ 18.2 11.1 14.1 13.7 5.2 12.1 1.9
ตะวันออกกลาง 27.4 29.1 20.2 31.4 31.8 32.2 5.1
อินเดีย 18.3 47.2 64.2 61.6 56.7 17.2 1.7
จีน 27.9 26.5 20.1 34.9 25.9 25.5 9.7
- การส่งออกทั้งปี 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 151,147 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และปริมาณ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.7 โดยที่ราคาในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 3.7
กลุ่มสินค้าที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีในปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า
ยางพารา และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น โดยการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น EU(15) และอาเซียน(5) ขยายตัวได้ดีและมีการขยายฐานการส่ง
ออกไปยังตลาดอื่น ๆ มากขึ้นตามลำดับ(4) ได้แก่ประเทศจีน อินเดีย ยุโรปตะวันออก ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง ซึ่งทำให้สามารถชดเชยการ
ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่หดตัวลงร้อยละ 1.2
- การนำเข้าขยายตัวสูง ในไตรมาสที่สี่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 5.5 โดยที่ปริมาณและราคาการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดยกเว้นหมวดเชื้อเพลิงที่ปริมาณการนำเข้าลดลง
- การนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ตามภาวะการส่งออกที่ยังคงขยายตัวสูง และความต้อง
การภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้สินค้าในหมวดที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ด้ายและเส้นใย ผ้าผืน ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช วัสดุทำจากยาง ผลิตภัณฑ์ทำ
จากพลาสติก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
- การนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 โดยที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ตามภาวะการลงทุนใน
ประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น นอกจากนี้ในเดือนธันวาคมได้มีการนำเข้าแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติมูลค่า 477 ล้านดอลลาร์ สรอ.
หมายเหตุ
(4) สัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ มีสัดส่วนร้อยละ 46.2 ในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 40.5 และ 43.2 ใน 2548
และ 2549
****************************************************************************
(ยังมีต่อ).../สินค้าอุปโภค..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ