(ต่อ3)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 29, 2008 14:02 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                                                การเปลี่ยนแปลงค่าเงิน
2549 2550 2551 อัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับ
ธ.ค. 2 ม.ค. 2550 (ร้อยละ)
Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. Q2 Q3 Q4 ม.ค.51
ดอลลาร์สิงคโปร์ 1.54 1.53 1.52 1.52 1.45 1.43 -0.4 -1.0 -5.1 -6.6
รูเปียอินโดนีเซีย 9,020 9,099 8,973 9,246 9,234 9,406 0.3 3.3 3.2 5.1
วอนเกาหลีใต้ 925.0 939.0 928.7 927.3 920.9 942.1 0.4 0.2 -0.5 1.8
ดอลลาร์ไต้หวัน 32.51 32.92 33.13 32.93 32.43 32.36 2.3 1.7 0.2 -0.1
บาท 35.78 35.54 34.64 34.01 33.89 33.14 -3.9 -5.7 -5.9 -8.1
เปโซฟิลิปปินส์ 49.47 48.61 46.90 45.94 43.18 40.94 -4.4 -6.3 -11.9 -16.5
ริงกิตมาเลเซีย 3.55 3.50 3.43 3.46 3.36 3.27 -2.9 -1.9 -4.9 -7.5
หยวน 7.82 7.76 7.68 7.56 7.43 7.24 -1.6 -3.2 -4.7 -7.2
ที่มา: ธปท.
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงตามภาวะการเคลื่อนย้ายการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์
เฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 19.4 พันล้านบาทในไตรมาสที่สี่ลดลงจาก 21.9 พันล้านบาทในไตรมาสที่สาม แต่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยมีราคาปิดที่
858.1 จุด ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ เทียบกับ 845.5 จุด ณ สิ้นไตรมาสที่สาม โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิรวม 40.9 พันล้านบาท และดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนมากตลอดไตรมาสที่สี่ โดยมีดัชนีสูงสุด 915.03 จุด ณ สิ้นเดือนตุลาคม เนื่องจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ แต่ก็ได้
ปรับลดลงอย่างรุนแรงมาอยู่ที่ 791.71 จุด ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ตามการลดลงของดัชนีราคาตลาดหุ้นทั่วโลกอันเนื่องจากปัญหาวิกฤติ Sub-
prime ที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติต้องลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ และความผันผวนของราคาน้ำมันที่กระทบ
ดัชนีราคาหลักทรัพย์หมวดพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกดดันในระยะสั้นภายในประเทศเอง เช่น คำตัดสินของศาลปกครองกรณีหุ้น ปตท. โดยรวมทั้งปี
2550 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 689.74 จุด ณ สิ้นปี 2549 เป็น 858.1 จุด ณ สิ้นปี 2550 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 17.1 พันล้าน
บาท เพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ยปี 2549 ที่ 16.3 พันล้านบาท และมูลค่าการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในปี 2550 อยู่ที่ 55 พันล้านบาท ลดลงจาก
83.4 พันล้านบาท ในปี 2549 ในเดือนมกราคม 2551 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 784.23 จุดจากการคาดการณ์ว่าวิกฤติ Sub-prime จะส่งผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากกว่าและยืดเยื้อกว่าที่นักลงทุนได้เคยคาดการณ์ไว้เดิม
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรม outright เฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 44.6 พันล้านบาทใน
ไตรมาสสาม เป็น 47.3 พันล้านบาท ในไตรมาสที่สี่ โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 4.6 พันล้านบาท ดัชนีราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อยอัตราผลตอบ
แทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตราสารระยะกลาง โดยรวมทั้งปี 2550 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 45.9 พันล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 40.3 พันล้านบาท และ Yield เฉลี่ยทั้งปีปรับตัวลดลงค่อนข้างมากส่งผลให้ดัชนีราคาเฉลี่ยทั้งปีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
และดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนสุทธิ (Return) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6
- การระดมทุนภาคเอกชน (ไม่รวมตราสารระยะสั้น) ในไตรมาสที่สี่ มีมูลค่ารวม 66.3 พันล้านบาทเทียบกับ 15.44 พันล้านบาทในไตร
มาสที่สาม และ149.3 พันล้านบาทในไตรมาสที่สี่ปี 2549 ซึ่งเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุนของภาคการเงิน 37.6 พันล้านบาท และภาคธุรกิจอื่น 28.6 พัน
ล้านบาท ทั้งนี้ในไตรมาสที่สี่มีการออกจำหน่ายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก ( IPO) ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินค่อนข้างมาก คิดเป็นร้อยละ
60 ของมูลค่าการจำหน่ายหุ้น IPO ทั้งปี ตลอดปี 2550 มีการระดมทุนรวม 69.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 55 จากปี 2549 ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบัน
การเงินระดมทุนลดลงร้อยละ 63 ซึ่งเป็นไปตามภาวะการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนและความผันผวนของดัชนีราคาหลักทรัพย์ สำหรับภาคธุรกิจ
การเงินมีการระดมทุนลดลงร้อยละ 42
1.2 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาสสี่ปี 2550
เศรษฐกิจโลกในไตรมาสสี่ ปี 2550 ชะลอตัวลง เนื่องจากวิกฤต Sub-prime ที่ยังคงยึดเยื้อและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว
ลง และได้ส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัวตามการชะลอตัวของภาคการส่งออกและการลงทุนอัน
เนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงขยายตัวได้ดีโดยได้รับ
ปัจจัยสนับสนุนจากการค้าในภูมิภาคที่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูง สำหรับภาพรวมในปี 2550 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2549 จากผลกระทบ
ของปัญหาตลาดสินเชื่อ sub-prime ในสหรัฐฯ ที่ส่งผลเป็นวงกว้างไปยังตลาดการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงทั่วโลก ประกอบกับแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
เริ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่สาม (หรือร้อยละ 0.6, qoq, annualized ชะลอ
จากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อน) แรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสนี้ขยายตัวดีได้แก่ การส่งออกและการบริโภคภาคครัวเรือน ประกอบ
กับการลงทุนในหมวดที่ไม่ใช่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัว ในขณะที่การลงทุนในที่อยู่อาศัยยังคงหดตัวเนื่องจากปัญหาสินเชื่อ Sub-prime ที่ยัง
ยืดเยื้อและทำให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัว (credit crunch) รวมทั้งการปรับมาตรฐานการให้สินเชื่อให้มีความเข้มงวดขึ้น โดยรวมนั้นการ
ลงทุนหดตัวอย่างต่อเนื่องแนวโน้มของภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวนั้นสะท้อนให้เห็นจากเครื่องชี้สำคัญหลายตัว ได้แก่ ยอดสร้างบ้านใหม่ลดลง
อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2549 เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการลดการสะสมสต็อกบ้านที่อยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันยอดขายบ้าน
ลดลงถึงร้อยละ 24.7 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 8.5 ในไตรมาสสาม ส่งผลให้ราคาขายบ้านโดยเฉลี่ยยังคงลดลงต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อมูลค่า
ของหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ
สำหรับสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านนั้นยังคงอยู่ในช่วงชะลอตัวนับตั้งแต่ปลายปี 2548 โดยขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสที่สี่ นอกจากนี้
การชะลอตัวของการลงทุนได้ส่งผลให้ภาคการผลิตชะลอลงเช่นเดียวกัน โดยดัชนีการผลิตของสถาบันจัดการการผลิต(9) ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ
48.4 ในเดือนธันวาคม 2550 ในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนั้นมีแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสที่สี่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นเป็นร้อย
ละ 4.0 จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.3
ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่อุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัว
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ในไตรมาสสี่ของปี 2550 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร ขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอจากร้อยละ
2.7 ในไตรมาสสาม (หรือร้อยละ 0.4 qoq, sa ชะลอจากร้อยละ0.8 ในไตรมาสสาม) โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เยอรมนี
ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ เป็นสำคัญ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการส่งออกชะลอตัวลงภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้น
นอกจากนี้ฐานะทางการเงินของธนาคารในยุโรปก็ตกต่ำอันเนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องของปัญหา Sub-prime ในสหรัฐฯ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังส่งผล
ให้ธนาคารเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ามากขึ้นและทำให้ธุรกิจประสบปัญหาในการลงทุน ส่วนแรงกดดันต่อเงินเฟ้อนั้นเพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน โดยในไตรมาสสี่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.9 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่
ร้อยละ 1.9 เท่ากับในไตรมาสก่อน
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อน โดยการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูงยังคง
เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยที่การส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนยังขยายตัวได้ดี แต่การส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงตามการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้านการใช้จ่ายภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง
ต่อเนื่องและราคาสินค้าที่สูงขึ้น นอกจากนี้การลงทุนในที่อยู่อาศัยได้หดตัวลงมากเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายปรับปรุงมาตรฐานการก่อสร้างฉบับใหม่ส่ง
ผลให้การอนุมัติก่อสร้างล่าช้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.5 ซึ่งสะท้อนว่าความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดซึ่งได้ยืดเยื้อต่อเนื่องมานานนั้น
เริ่มลดลง ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ยิ่งกว่านั้นนักวิเคราะห์บางกลุ่มยังมองว่าในกรณีที่การส่งออกชะลอตัว
ลงแรงอันเนื่องจากผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัวนั้นธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยและกลับไปสู่อัตราดอกเบี้ยเท่ากับศูนย์
หมายเหตุ
(9) ดัชนีการผลิต หรือ Purchasing Managers’ Index ของ Institution for Supply Management (ISM) เป็นดัชนี
ที่ประมวลจากการตอบแบบสอบถามของผู้จัดการโดยเทียบการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการผลิตจากเดือนก่อนหน้า หากเท่ากับ 50 แสดงว่าไม่เปลี่ยนแปลง
มากกว่า 50 แสดงว่าดีขึ้น น้อยกว่า 50 แสดงว่าแย่ลง
****************************************************************************
- เศรษฐกิจจีน ยังขยายตัวได้ดีแต่เริ่มชะลอลง โดยในไตรมาสที่สี่ขยายตัวร้อยละ 11.2 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.5 ในไตรมาส
ที่สามตามการชะลอตัวการลงทุนและการผลิตของสาขาอุตสาหกรรม โดยผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 17.3 ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง
ธันวาคม ลดลงจากร้อยละ 19.4 ในเดือนมิถุนายน ด้านการใช้จ่ายพบว่าการส่งออกสุทธิสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้น้อยลง เนื่องจากการนำ
เข้าที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าการส่งออก
อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายภายในประเทศที่กลับมาฟื้นตัวได้ช่วยชดเชยให้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวดีในไตรมาสนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
บริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นชัดเจน โดยยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 19.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 16.8 ในไตรมาสก่อน ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
ขยายตัวร้อยละ 24.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 25.8 ในไตรมาสที่สาม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายลดความร้อนแรงทั้งการเพิ่มความ
เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ การปรับเพิ่มอัตราการสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ (Reserve requirement) และ
เงื่อนไขในการขออนุมัติโครงการลงทุนมีความเข้มงวดมากขึ้น ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจนั้นอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสูงต่อเนื่องโดยในไตรมาสที่สี่
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 6.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.7, 3.6 และ 6.1 ในไตรมาสแรก ไตรมาสที่สอง และไตรมาสที่สามตามลำดับ(10) เป็น
ผลจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดีจากอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลของการดำเนินนโยบาย
ทางการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสูง ช่วยชดเชยผลกระทบของการส่งออกสินค้าและบริการที่
ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักที่ชะลอลง โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาค ขณะเดียวกันการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูง
สอดคล้องกับแนวโน้มอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น ในส่วนของแรงกดดันทางด้านราคาเพิ่มขึ้นจากต้นทุนราคาน้ำมันและราคาอาหาร แต่ไม่มาก
เนื่องจากค่าเงินในภูมิภาคที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
- ภาพรวม เศรษฐกิจโลกในปี 2550 ชะลอลงจากปี 2549 โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงอย่างชัดเจน เนื่องจากผล
กระทบของปัญหาตลาดสินเชื่อ sub-prime ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดการเงินทั่วโลก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งตลาดการเงินในสหภาพยุโรปทำ ให้เศรษฐกิจสหภาพยุโรปชะลอตัวลงเช่นกัน อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย
ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ดีตามการส่งออกที่สูงขึ้นจากการค้าภายในภูมิภาคที่ขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดของจีนที่ยังคงสามารถรองรับปริมาณการ
ส่งออกสินค้าจากประเทศในภูมิภาคได้ดี ในส่วนของเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้ว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำ มันอย่างไรก็ดี
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำภายใต้เป้าหมายทางการเงิน ประกอบกับผลจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และแก้ปัญหาภาวะสินเชื่อตึงตัว (credit crunch) รวมทั้งลดความเสี่ยงที่
จะเกิดหนี้เสีย
หมายเหตุ
(10) ในเดือนมกราคมอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.1
****************************************************************************
(ยังมีต่อ).../2.ประมาณการ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ