(ต่อ2)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2008 15:19 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          - สินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวสูงร้อยละ 27.2 โดยที่ราคาในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และปริมาณเพิ่มขึ้นมากร้อยละ 20.8 เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาททำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 3.1 จึงเป็นเหตุจูงใจผู้บริโภคมากขึ้นสินค้าในหมวดที่เพิ่มขึ้นได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกาและส่วนประกอบ เป็นต้น
- เชื้อเพลิง ปริมาณนำเข้าลดลงแต่ราคาเพิ่มขึ้น มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 7.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานที่ผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ได้แก่ ไบโอดีเซล แก๊ส
โซฮอล์ และเอ็นจีวี
- การนำเข้าทั้งปี 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 139,174 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 กลุ่มสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักร
ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคิดเป็นเงินบาทมูลค่าการนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 0.1
- อัตราการค้า (Term of trade) ลดลง ในไตรมาสที่สี่ ราคานำเข้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ซึ่ง
เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จึงทำให้ไทยเสียเปรียบอัตราการค้าต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่สามเป็นต้นมาจึงทำให้ผลประโยชน์สุทธิต่อรายได้จากการส่งออกจึงเริ่มชะลอตัว
- ดุลการค้ายังเกินดุลในระดับสูง 4,473 ล้านดอลลาร์สรอ. ในไตรมาสสี่หรือประมาณ 151,576 ล้านบาท รวมทั้งปี 2550 เกินดุลการค้าทั้งสิ้น 11,973 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณ 412,241 ล้านบาท
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,184 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณ 209,491 ล้านบาทในไตรมาสที่สี่ รวมทั้งปี 2550 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 14,923 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณ 514,517 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.1 ของ GDP
- ด้านการผลิต สาขาการผลิตที่ขยายตัวได้ดีขึ้นจากไตรมาสที่สาม ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 8.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 4.5 และ 5.7 ในสามไตรมาสแรก เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ เช่น การผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์การผลิตหัวอ่านข้อมูลเครื่องปรับอากาศ การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และถุงมือยาง เป็นต้น สำหรับการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์สี
ลดลงค่อนข้างต่อเนื่องจากไตรมาสที่สี่ปี 2548 เนื่องจากการทยอยปิดโรงงานผลิตจอภาพแบบหลอดภาพ(Cathod Ray Tube: CRT) ตามวัฏจักรของอุตสาหกรรมประเภทนี้ (Product life cycle) และประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตจอภาพแบบ Liquid Crystal Display (LCD)ส่วนอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศส่วนใหญ่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปูนซิเมนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และมอเตอร์ไซต์ เป็นต้น สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 7.0 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสสาม ตามภาวะการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีขึ้น สำหรับสาขาการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.2 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ของไตรมาสที่แล้ว
สำหรับสาขาเกษตร ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสสาม โดยผลผลิตพืชที่สำคัญที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้แก่ ปาล์ม ยางพารา และอ้อยสำหรับผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ชะลอตัวลง แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผลผลิตลดลง ส่วนราคา
พืชผลที่สำคัญยังคงเพิ่มขึ้น โดยที่ราคาของกลุ่มพืชน้ำมันกลุ่มวัตถุดิบและเส้นใย และกลุ่มเครื่องดื่มสูงขึ้น
ปี 2550 การผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม ก่อสร้าง และบริการและอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 3.9 5.8 2.1 และ 4.3 ตามลำดับ
- การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีการปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือก เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซลและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ในไตรมาสที่สี่การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันหลังจากที่ปริมาณการใช้ลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วที่ร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตามการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าลดลดร้อยละ 4.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ประชาชนหันไปใช้น้ำมันไบโอดีเซลมากขึ้น โดยการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในไตรมาสที่สี่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 1,391.9 จากฐานการใช้ที่ต่ำมากในปี 2549 สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินโดยรวมลดลงร้อยละ 1.7 โดยปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินรวม 91 และ 95 ลดลงถึงร้อยละ 18.8
หมายเหตุ
(5) รวมน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันตา น้ำมันก๊าด น้ำมันเจ็ทและก๊าซแอลพีจี
****************************************************************************
การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(%YOY) 2550
Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี
รวมการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม -3.2 -2.8 1.5 4.2 -0.2
น้ำมันเบนซิน 2.7 1.6 4.4 -1.7 1.7
ออกเทน (91+ 95) 2.4 -2.8 -4.7 -18.8 -6.1
แก๊สโซฮอล์ 3.8 21.7 46.2 77.0 37.8
น้ำมันดีเซล -0.3 0.7 5.6 1.8 1.8
หมุนเร็ว + หมุนช้า -0.8 -1.1 1.9 -4.0 -1.1
หมุนเร็ว บี 5 1,185.5 1,034.0 1,768.3 1,391.9 1,360.6
ก๊าซแอลพีจี 12.0 13.1 13.6 18.1 14.3
ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ 88.5 116.2 113.3 139.8 117.6
- ปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77 สะท้อนพฤติกรรมการใช้ของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่า หลังจากที่ราคาขายปลีกน้ำ มันภายในประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนอกจากนั้นยังเป็นผลจากการรณรงค์ของรัฐบาล เช่น การเปิดตัวแก๊สโซฮอล์ E20 ออกสู่ตลาด ควบคู่กับการลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงานและรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้
ประชาชนประหยัดพลังงานและหันมาใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 18.1 เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ที่ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 139.8
สำหรับทั้งปี 2550 การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 0.2 โดยปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าลดลงร้อยละ 1.1 ในขณะที่การใช้ไบโอดีเซล (บี5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,360.6 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 รวม ลดลงร้อยละ 6.1 แต่การใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 และ 117.6 ตามลำดับ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ: อัตราการว่างงานต่ำ และมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
- เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ไตรมาสที่สี่ของปี 2550 เงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.9 สูงกว่าร้อยละ 2.4 1.9 และ 1.6 ในไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สามที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้มีการปรับเพิ่มค่าขนส่งรถโดยสารประจำทางตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2550 เป็น
ต้นมา โดยในกรุงเทพฯ รถร่วมบริการ และมินิบัสปรับขึ้น50 สตางค์ รถประจำทางปรับอากาศ ปรับระยะละ1 บาท ส่วนในต่างจังหวัดรถร่วมบริการปรับอากาศชั้น1 และชั้น 2 ปรับ 3 สตางค์/กิโลเมตร รวมถึงการปรับค่าธรรมเนียมโดยสารเครื่องบินปรับค่าเพิ่มขึ้น และราคาขายปลีกก๊าซ
หุงต้มที่ปรับสูงขึ้นตามการอนุมัติของคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 เป็นต้นมา รวมทั้งปี 2550 เงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.3(6)
- เงินเฟ้อพื้นฐานยังต่ำร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสี่ แต่เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.9 และ 0.8 ในไตรมาสสองและสามที่ผ่านมา รวมทั้งปี เงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 1.1
- ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ในไตรมาสสี่ ซึ่งสูงขึ้นมากจากร้อยละ 2.6 1.8 และ 1.5 ในไตรมาสแรก —
ไตรมาสที่สามที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนว่าแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อจะยังเพิ่มขึ้นในปี 2551 จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความต้องการสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น กลุ่มสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นมากได้แก่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก และอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ รวมทั้งปีดัชนีราคาผู้ผลิตเท่ากับร้อยละ 3.3
- การจ้างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 มีจำนวน 36.87 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการจ้างงานในภาคเกษตรจำนวน 15.35 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 21.00 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่สาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สาขาโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ตามภาวะการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และสาขาการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่สาม สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.1 และ ณ สิ้นไตรมาสสี่มีผู้ประกันตนจำนวน 8.78 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามเครื่องชี้บางประการได้แสดงว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นยังไม่ส่งผ่านไปยังตลาดแรงงานเต็มที่ประกอบกับธุรกิจที่ขยายตัวดีนั้นเป็นกลุ่มที่ใช้ทุนเป็นสำคัญ เช่น สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่ลดลงจาก 1.53 เท่า ในไตรมาสที่สี่ปี 2549 เหลือเพียง 0.98 เท่า ในไตรมาสที่สี่ปี 2550
หมายเหตุ
(6) ในเดือนมกราคม 2551 เงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 4.3 และเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 1.2
****************************************************************************
การจ้างงานเฉลี่ยปี 2550 มีจำนวน 36.25 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 โดยการจ้างงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ส่วนอัตราการว่างงานปี 2550 เฉลี่ยร้อยละ 1.4
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 เท่ากับ 87.455 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(7) (และมี Net Forward Position อีก 19.086 พันล้านดอลลาร์) สูงกว่า 80.687 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นกันยายน 2550 (และ Net Forward Position อีก 12.854 พันล้านดอลลาร์) ณ สิ้นปี 2550 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศคิดเป็นประมาณ 3.9 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับการนำเข้า 6.7 เดือน
- ฐานะการคลังขาดดุลเงินสดซึ่งเป็นไปตามการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2551 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.-ธ.ค. 2550) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 329,266 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8.0
และมีรายจ่ายจำนวน 393,274 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 31.0 เป็นผลให้มีดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 64,008 ล้านบาท ซึ่งขาดดุลสูงกว่าไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 ถึง 68,639ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล
จำนวน 51,638 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 33,000 ล้านบาท และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน10,060 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำ นวน 115,646 ล้านบาท ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจำนวน 52,748 ล้านบาทจากระยะเดียวกันของปีงบประมาณก่อนทั้งนี้ รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 42,500 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 73,146 ล้านบาท
หมายเหตุ
(7) ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ94.655 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และ Net Forward Position เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 21.204 พันล้านดอลลาร์)
****************************************************************************
- หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวน 3.17 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.9 ของ GDP เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับร้อยละ 37.84 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2550 และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 40.48 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549
- ภาวะการเงิน : อัตราดอกเบี้ย ณ ราคาตลาด ทรงตัวแต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงเงินฝากชะลอตัวต่อเนื่อง และสินเชื่อเร่งตัวขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อภาคธุรกิจที่เริ่มขยายตัวหลังจากที่หดตัวต่อเนื่อง จึงทำให้สภาพคล่องเริ่มลดลง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนค่าลง ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงตามการเคลื่อนย้ายการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ร้อยละ 3.25 ในช่วงไตรมาสที่สี่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวและแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น สำหรับทั้งปี 2550 ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 5 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 1.75 จุด ในช่วงครึ่งแรกของปี จากร้อยละ 5 ต่อปี ณ สิ้นปี 2549 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2550 และทรงตัวที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี จนถึงสิ้นปี
ตลาดการเงินในต่างประเทศนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed fund rate เป็นครั้งแรกในไตรมาสที่สี่ รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จากร้อยละ 5.25 ในเดือนสิงหาคม เหลือร้อยละ 4.25 ต่อปี ในเดือนธันวาคม และลดต่อเนื่องอีก 2 ครั้ง เหลือร้อยละ 3.0 ต่อปี ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มอ่อนแอลงและมีความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับธนาคารกลางในประเทศยุโรปและญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 และ 0.5 ต่อปีตามลำดับ
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทรงตัวตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงตามภาวะอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ในไตรมาสสี่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือนเฉลี่ยของ 5 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.13 และ 2.32 ตามลำ ดับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา(MLR) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.99 แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนที่แท้จริงเป็นลบเท่ากับร้อยละ -0.89 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.78 สำหรับทั้งปี 2550
อัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลง 219 และ76 bps ตามลำดับ ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 175 bps
- เงินฝากรวมของธนาคารพาณิชย์ชะลอตัว เงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ขยายตัวจากระยะเดียวกันของปี 2549 เพียงร้อยละ 0.1 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 7.0 ในไตรมาสที่สี่ปี 2549 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการโยกย้ายเงินฝากประจำไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท. และกองทุน RMF / LTF เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และธนาคารพาณิชย์หันไประดมทุนด้วยการออกตั๋วแลกเงินมากขึ้นเพื่อลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู
- สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์เร่งตัวขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 3.9 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่สาม
โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 8.4 ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 สินเชื่อให้ภาคธุรกิจกลับมาขยายตัวร้อยละ 0.6 หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 สะท้อนถึงการลงทุนที่เริ่มฟื้นตัว เมื่อพิจารณาสินเชื่อแยกตามประเภทสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัวได้ดี สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรมการผลิตกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 และ 1.7 ตามลำดับ
หลังจากที่หดตัวตั้งแต่ไตรมาสที่สอง สินเชื่อให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มเร่งตัวขึ้น สินเชื่อที่ให้กับตัวกลางทางการเงินกันเอง และสินเชื่อภาคเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวในขณะที่สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างเริ่มหดตัวเป็นครั้งแรกหลังจากที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2549 สำหรับปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตในไตรมาสสี่เพิ่มขึ้นตามการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี แม้ว่ายอดคงค้างบัตรเครดิตและการเบิกเงินสดล่วงหน้ายังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากการ
ที่ประชาชนระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย โดยรวมทั้งปี 2550 สินเชื่อขยายตัวในระดับต่ำในช่วงสามไตรมาสแรกของปีจากการหดตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจเป็นสำคัญ และเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาสที่สี่
- สภาพคล่องเริ่มลดลง โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสสี่ อยู่ที่ร้อยละ 94.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 90.1 ณ สิ้นไตรมาสสามปี 2550 และร้อยละ 91.3 ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ปี 2549 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สินเชื่อเริ่มเร่งตัวมากขึ้นและการโยกย้ายเงินฝากไปลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทอื่น นอกจากนี้สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ที่คำนวณเป็นสัดส่วนของสภาพคล่องที่พร้อมนำไปใช้ปรับตัวลดลง โดยมีมูลค่าประมาณ 822.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม เทียบกับ 909.1 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน แต่ยังอยู่ในระดับสูงเทียบกับ 702.7 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคมปี 2549
- หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง NPLs ในระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นไตรมาสสี่มีมูลค่ารวม 237.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.95 ของสินเชื่อรวม ลดลงจาก 260.7 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.44 ของสินเชื่อรวม
- ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศโดยรวมขาดทุนสุทธิ 8,077 ล้านบาท ในไตรมาสที่สี่ เทียบกับขาดทุนสุทธิ14,741 ล้านบาท ในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 และกำไรสุทธิ 9,371 ล้านบาทในไตรมาสที่สาม โดยในไตรมาสที่สี่ ธนาคารพาณิชย์มีการขาดทุนจากการลงทุนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดทุนในการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ รวมถึงการด้อยค่าของเงินลงทุนประเภทหุ้นและตราสารหนี้ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้น โดยรวมทั้งปี 2550 ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศมีกำไรสุทธิ 8,637 ล้านบาท ลดลง
จาก 54,538 ล้านบาท ในปี 2549
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนค่าลง(8) ค่าเงินบาทในไตรมาสที่สี่มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.34 และ 7.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและระยะเดียวกันของปี 2549 ตามลำดับ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม เนื่องจาก (1) ปัญหาวิกฤติ Sub-prime ในสหรัฐฯ ที่ขยายวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบต่อผลกำไรของสถาบันการเงินใหญ่ๆ ทั่วโลกทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงและ (2) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในไตรมาสสี่มีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาสที่สามและค่าเงิน
สกุลอื่น ๆ สำหรับค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ นั้น ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินรูปีของอินโดนีเซีย แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและสกุลภูมิภาค ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate) เฉลี่ยในไตรมาสที่สี่อ่อนค่าลงจากไตรมาสที่สามที่ร้อยละ1.22 และ ร้อยละ 1.32 ตามลำดับ
โดยเฉลี่ยทั้งปี 2550 ค่าเงินบาทมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 8.89 ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท
และค่าเงินบาทที่แท้จริงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.15 และ 6.0 ตามลำดับ
ในเดือนมกราคม 2551 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.14 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ
1.52 จากค่าเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2550 อันเนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤติ Sub-prime ต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ทำให้ค่าเงิน ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง และการเร่งขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกไทยเป็นสำคัญ
หมายเหตุ
(8) ถ่วงน้ำหนักด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับสกุลเงินต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง และราคาสัมพัทธ์
****************************************************************************
(ยังมีต่อ).../การเปลี่ยนแปลงค่าเงิน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ