(ต่อ4)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 29, 2008 15:33 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2. ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2551
(1) สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2551 ยังคงขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และความยืดเยื้อของวิกฤต sub-prime ที่ทำให้เศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2550 และการปรับตัวในระยะต่อไป รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศสำคัญทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน
และเอเชียในภาพรวม และผลกระทบต่อเนื่องต่อประเทศอื่น ๆ ณ สิ้นเดือนมกราคม เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจแสดงว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้ม
ชะลอตัวมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เนื่องจากปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดสินเชื่อที่คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอยทาง
เศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี และเริ่มมีสัญญาณว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้างมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีการปรับลดประมาณ
การเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ อเมริกา ประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่ม Euro-zone ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาที่
สำคัญ ๆ ทั้งนี้จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุด คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2551 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.9 ในปี
2550 และเป็นการปรับลดการประมาณลงจากร้อยละ 4.5 ที่ใช้เป็นสมมุติฐานในการประมาณการเศรษฐกิจไทยในครั้งที่ผ่านมา
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา %)
2549 2550 2550 2551f 2551f
Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2. Q3. Q4 ณ.ธ.ค. ณ.ก.พ.
โลก * 4.6 4.8 4.9 4.8 5.0 5.3 4.7 4.9 4.5 4.1
USA 2.4 2.6 2.9 1.5 1.9 2.8 2.5 2.2 1.9 1.2
กลุ่มยูโร 2.8 3.3 2.9 3.2 2.5 2.7 2.3 2.7 2.4 2.0
ญี่ปุ่น 1.4 2.2 2.2 2.8 1.6 1.9 1.8 2.0 2.0 1.6
ฮ่องกง 6.8 7.3 6.9 5.6 6.6 6.2 5.8f 6.0f 5.4 5.4
สิงคโปร์ 7.4 7.0 8.2 7.0 9.1 9.5 5.4 7.7 6.0 6.0
เกาหลีใต้ 4.9 4.0 5.0 4.0 5.0 5.2 5.5 4.9 5.0 4.5
ไต้หวัน 5.1 4.0 4.7 4.2 5.2 6.9 6.4 5.3 4.0 4.0
อินโด 5.9 6.1 5.5 6.1 6.4 6.5 6.3 6.2 6.4 6.0
ฟิลิปปินส์ 5.1 5.5 5.4 7.1 7.5 6.6 7.4 7.3 6.0 6.0
มาเลเซีย 6.0 5.7 5.9 5.5 5.8 6.7 5.2f 5.8f 5.8 5.5
จีน 10.6 10.4 11.1 11.1 11.9 11.5 11.2 11.4 10.6 10.0
เวียดนาม 8.8 8.9 8.2 7.7 8.0 8.7 8.8f 8.3f 8.5 8.0
ที่มา จาก CEIC หน่วยงานภาครัฐและค่าเฉลี่ยจากหลายแหล่ง
(2) เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจน เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในเดือนมกราคมส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลัง
เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง อำนาจซื้อของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากหลาย
ปัจจัย ประกอบด้วยการใช้มาตรฐานสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ราคาที่อยู่อาศัยและตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและอาหาร
และภาวการณ์ว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.4 ณ สิ้นปี 2551 จากระดับปัจจุบันร้อยละ 4.7 ในขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลง
เป็นครั้งแรกนับจากปี 2546 นอกจากนี้นักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายในภาคการเงินอันเชื่อมโยงมาจากตลาดสินเชื่อ Sub-prime
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจลงร้อยละ 0.75 ในวันที่ 22
มกราคม และลดลงอีกร้อยละ 0.50 ในวันที่ 30 มกราคม(11) ในขณะเดียวกันสภาคองเกรสได้อนุมัติมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นทางเศรษฐกิจ
มูลค่า 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 1 ของ GDP
การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างรวดเร็วทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
ปรับลดลงตาม ซึ่งเมื่อรวมกับการอัดฉีดสภาพคล่องโดยตรงทำให้ภาวะความตึงตัวในตลาดสินเชื่อผ่อนคลายลงได้ในระดับหนึ่งนอกจากนั้นมาตรการการ
คลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มส่งผลในเดือนเมษายน 2551 นี้ คาดว่าจะช่วยให้การบริโภคปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม
ดัชนี Nonmanufacturing ISM ได้ลดลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดในปี 2543 แม้ว่า ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว และเป็นเครื่องชี้หนึ่งที่
แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม อาจจะอยู่ในภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเริ่มฟื้นตัวในช่วง
ครึ่งหลังของปีและมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2550 อย่างชัดเจน
หมายเหตุ
(11) ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 เป็นต้นมาธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวม 225 จุด
****************************************************************************
(3) เศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ และตลาดการเงินตึงตัวในยุโรปและสหรัฐฯ จะเป็นความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ
อุตสาหกรรม อื่นๆ ณ สิ้นเดือน มกราคม ข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในกลุ่ม Eurozone ยังไม่ชี้ทิศทางที่ชัดเจนเท่าใดนักถึงความ
เสี่ยงของเศรษฐกิจชะลอตัวโดยที่อัตราเงินเฟ้อสูง (Stagflation) ดัชนี PMI ภาคบริการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น
สูงสุดในรอบ 14 ปี อย่างไรก็ตามคาดว่าแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในอเมริกาจะทำให้เศรษฐกิจของ Euro zone ชะลอตัวมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้เดิม โดยเฉพาะการอ่อนตัวของอุปสงค์ในสหรัฐอเมริกาจะซ้ำเติมต่อภาคการส่งออกซึ่งประสบปัญหาจากการแข็งค่าของค่าเงินสกุล Euro
ตลอดช่วงที่ผ่านมา นอกจากนั้นราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้การบริโภคชะลอตัว ในขณะที่การลงทุนมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามแนว
โน้มการอ่อนตัวของภาคการส่งออกและการบริโภคในประเทศรวมทั้งความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของภาคการเงิน อย่างไรก็ตามธนาคารกลาง
ยุโรป ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์แม้ว่าจะยังเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากมี
ความวิตกกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น
ภาพรวมคาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Eurozone จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 ในปี 2551 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.8 ในปี
2550 สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐอเมริกามากกว่าที่คาดไว้และคาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 2551 จะ
ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.6 ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ในปี 2550
แนวโน้มการชะลอตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมนำไปสู่การปรับลดการประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกำลัง
พัฒนาที่สำคัญ ๆ โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10.0 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 14.4 ในปี 2550 เนื่องจากการชะลอตัวของการส่ง
ออกไปยังประเทศอุตสาหกรรมสำคัญ และผลกระทบจากมาตรการการเข้มงวดทางการเงินเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่จะทำให้การลงทุนชะลอ
ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้เงื่อนไขที่การส่งออกชะลอตัวและทำให้มีความเสี่ยงจากกำลังการผลิตส่วนเกินมากขึ้น(excess capacity) นอกจากนี้
ภาคธุรกิจของจีนยังต้องเผชิญกับเงื่อนไขอื่นที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ได้แก่ ราคาที่ดินและราคาพลังงานที่สูงขึ้น และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและ
การคุ้มครองแรงงานที่สูงขึ้น(12) ในขณะที่สินค้าค้างสะต็อกที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีการลดราคาสินค้าซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำกำไรในภาวะที่ต้นทุนอัตรา
ดอกเบี้ยสูงขึ้น สำหรับเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของประเทศคู่ค้า
สำคัญๆ ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย
(4) อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงขาลง การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างรวดเร็วในตลาดสหรัฐฯ และแนวโน้มการ
ชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกโดยเฉลี่ยในปี 2551 ลดลง หลังจากธนาคาร
กลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ในเดือนมกราคม ธนาคารกลางประเทศแคนาดาและธนาคารกลางสหราชอาณาจักรประกาศ
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในขณะที่ธนาคารกลางสหภาพยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.0 หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มในไตร
มาสสองปี 2550 และเป็นที่คาดกันว่าภายใต้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลงมากจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงอีก และอาจลดลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 - 2.25 ณ สิ้นไตรมาสที่สอง ของปี 2551 นี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าธนาคารกลางสหภาพยุโรปจะ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาสที่สองเมื่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อผ่อนคลายลงและเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยใน
ประเทศสำ คัญอื่น ๆ นั้น คาดว่าธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยในขณะที่จีนมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรง
ทางเศรษฐกิจ แนวโน้มความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในลักษณะดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับ
เงินเยน และเงินหยวน แต่สำหรับค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินยูโรนั้นคาดว่าจะค่อนข้างทรงตัว
(12) จีนประกาศใช้ Labour Contract Law ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งภายใต้กฎหมายนี้แรงงานจะได้รับการคุ้ม
ครองมากขึ้น
****************************************************************************
(ยังมีต่อ).../2.2 แนวโน้มเศรษฐกิจ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ