(ต่อ6)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 29, 2008 16:14 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2.2.2 ปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2551
(1) แนวโน้มการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนดีขึ้นการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2550 โดยที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากที่หดตัวร้อยละ1.5 ในครึ่งแรกของปี สำหรับการลงทุนภาครัฐนั้นเร่งตัวมากขึ้นโดยขยายตัวร้อยละ 5.8 และ 4.5 ในไตรมาสที่สามและสี่ตามลำดับจากการเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐ สำหรับในปี 2551 นั้นมีปัจจัยสนับสนุนการลงทุนหลายประการ ได้แก่
(1.1) ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น จะเห็นว่าความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจได้
เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมาเนื่องจากผู้ประกอบการพิจารณาว่าปัจจัยต่าง ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น อาทิ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลง อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น ทิศทางนโยบายรัฐบาลที่ชัดเจนและให้ความสำคัญในการที่จะส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนและเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐเอง
(1.2) อัตราการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2550 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 76.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73.9 ในปี 2549 และร้อยละ 72.1 ในปี 2548 โดยธุรกิจหลายประเภทมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามลำดับและเกือบเต็มกำลังในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมีกระดาษ ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ โลหะ สังกะสี ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าและฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนเอกชน
(1.3) โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วในปี 2549 และ 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีความพร้อมและดำเนินการลงทุนได้ในปี 2551 นั้นมีจำนวนมากโดยในปี 2550 มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน
1,342 ราย วงเงินลงทุน 744.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5 โดยมีการกระจายการลงทุนเพิ่มขึ้นในทุกประเภทกิจการ ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ20.6 กลุ่มบริการและสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 210.2 กลุ่มโลหะภัณฑ์เครื่องจักร และรถยนต์และอุปกรณ์ขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ127.4 กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 กลุ่มเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,327.3 กลุ่มเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.5 และอุตสาหกรรมเบาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 74.7 ของวงเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมเป็นเงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินมากกว่า 1,000 ล้านบาท คิดเป็นจำนวน 107 โครงการได้แก่ การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานและการขยายการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่เพื่อส่งออก การผลิตเอทานอล การผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ การผลิตไฟฟ้า กิจการสำหรับ
ขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือเดินทะเล การผลิตหัวอ่านข้อมูล (Hard disk drive) แผงวงจรไฟฟ้า กิจการโรงแรม และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
(1.4) การดำเนินนโยบายรัฐบาลในการเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศซึ่งได้กำหนดไว้ในนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ได้แก่ การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑลรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ และการพัฒนาขีดความสามารถของการทำอากาศยานสากล เป็นต้น ทั้งนี้โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 นั้นได้กำหนดเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 และเร่งรัดการดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2551 กรอบวงเงินงบประมาณรัฐบาลมีจำ นวน 1,660,000 ล้านบาท(13) เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ6.0 โดยเป็นรายจ่ายประจำ 1,209,546.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 รายจ่ายลงทุนจำนวน 404,677.3 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 โดยกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณจำนวน 165,000 ล้านบาท ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลไปแล้วจำ นวน 575,874 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณรวม สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจนั้นคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินเบิกจ่ายการลงทุนจำนวน 289,756 ล้านบาทและรวมกรอบการลงทุนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อีกจำนวน 53,581 ล้านบาท ซึ่ง ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 มีงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับอนุมัติแล้วจำ นวน 255,993 ล้านบาท โดยมีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 64,507 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.2 โดยที่ได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 90 ซึ่งการลงทุนสำ คัญที่ต้องเร่งรัด คือโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉะบัง โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการสายส่งไฟฟ้า
(2) ปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศที่ดีขึ้นกว่าในปี 2550 ประกอบด้วย
(2.1) อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในปี 2551 ต่ำกว่าในปี 2550 โดยคาดว่าจะยังไม่มีแรงกดดันที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปีอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.25 อัตราเงินกู้ลูกค้าชั้นดีแบบมีระยะเวลา(MLR) เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 5 แห่งเท่ากับร้อยละ 6.99 ลดลงจากร้อยละ 7.63 ณ สิ้นไตรมาสแรก และร้อยละ 7.13 ณ สิ้นไตรมาสที่สอง สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนได้มีการปรับลดลงตามลำดับเป็นเฉลี่ยร้อยละ 2.31 ตั้งแต่เดือนเดือนตุลาคม 2550 จากร้อยละ 2.38 ณ สิ้นไตรมาสที่สอง และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลดลงเป็นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.125 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเริ่มติดลบเล็กน้อย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงลดลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้ดีขึ้นโดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขที่ความเชื่อมั่นของประชาชนปรับตัวดีขึ้น
(2.2) ความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้นซึ่งจะสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน โดยที่ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจได้ปรับตัวดีขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เนื่องจากผู้ประกอบการพิจารณาว่าปัจจัยต่าง ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น อาทิ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลง อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้นทิศทางนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการที่จะส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนและเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐเอง สำหรับผู้บริโภคนั้นในภาพรวมความเชื่อมั่นดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550
(2.3) รายได้ของประชาชนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อจึงทำให้กำลังซื้อที่แท้จริง เพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ(14) และค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับกลุ่มลูกจ้างวันละ 1 — 7 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่
หมายเหตุ
(13) รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้อีกจำนวน 45,775.9 ล้านบาท
(14) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่องการปรับเพิ่มค่าตอบแทนราชการอีกประมาณร้อยละ 4 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 โดยได้เตรียมงบประมาณในระยะเวลา 1 ปีไว้จำนวน 23,960 ล้านบาทซึ่งรวมทั้งการปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคคลากรภาค
ราชการ สำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนรัฐวิสาหกิจนั้น คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครส.) มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2550 ให้ขึ้น
เงินเดือนรัฐวิสาหกิจไม่เกินร้อยละ 4 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วและประกาศให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
****************************************************************************
วันที่ 1 มกราคม 2551 รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรสำ คัญยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งข้าว มันสำ ปะหลังข้าวโพด ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน ดังนั้นจึงคาดว่าปัจจัยสำคัญทั้ง ความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น รายได้ที่แท้จริงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยต่ำ จะช่วยกระตุ้นให้การใช้จ่ายครัวเรือนฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปี 2551
(2.4) การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะสนับสนุนรายได้ของประชาชน ในปี 2550 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.6 โดยที่จำนวนแรงงานทำงานต่ำระดับเท่ากับ 565,200 คนต่ำกว่าจำนวน 577,900 คน ในปี 2549 และมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยเพียงร้อยละ1.4 และมีอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ยังขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ
(3) การดำเนินโยบายของรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ในการที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งแก้ไขปัญหาความยากจนโดยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ ลดรายจ่ายและสร้างโอกาสในอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(4) ในปี 2551 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานมีแนวโน้มดีขึ้น และการใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ไบโอดีเซล เอ็นจีวี จะเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวในภาวะที่ราคาพลังงานสูงได้ดีขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้รถยนต์จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานและรถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมีแรงกระตุ้นจากมาตรการการลดหย่อนภาษีรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน (ECO Car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่าง ๆ ก็ได้เตรียมกำ ลังการผลิตและมีความพร้อมในการที่นำรถยนต์ประเภทดังกล่าวออกสู่ตลาดอาทิบริษัทฮอนด้า ทาทามอร์เตอร์ส และฟอร์ดโฟกัส เป็นต้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็มีส่วนช่วยในการลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน
2.2.3 ข้อจำกัด/ปัจจัยเสี่ยงข้อจำกัดที่สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี2551 คือ ปัญหาราคาน้ำมันสูงที่กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง และการปรับโครงสร้างและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งมีความคืบหน้าไปในระดับหนึ่งแล้วจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยข้อจำกัดดังกล่าวได้
(1) ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงในภาวะที่ตลาดยังคงตึงตัว โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยในปี 2551 จะอยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล(15) สูงกว่าราคาเฉลี่ย 68.83ดอลลาร์ ต่อบาเรลในปี 2550 ทั้งนี้ราคาน้ำ มันดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 87.72 ดอลลาร์ต่อบาเรล ในเดือนมกราคม และเท่ากับ 85.57 ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 แต่คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปีเนื่องจากความต้องการมีแนวโน้มอ่อนตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการผลิตที่เพิ่มขึ้นของประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่มโอเปค แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยทั้งปีจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าในปี 2550 เนื่องจากปัจจัยดังนี้
หมายเหตุ
(15) ราคา WTI เท่ากับ 72.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2550 เทียบกับ 66.02 ดอลลาร์ในปี 2549 สำ หรับในปี 2551 นั้นกรมสารนิเทศการพลังงานสหรัฐฯ (Energy Information Administration: EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะเพิ่มขึ้นเป็นบาร์เรลละ 87 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับน้ำมันดิบเบรนท์นั้น ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 72.60 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 สูงกว่าบาร์เรลละ 65.73 ดอลลาร์ ในปี 2549 และในปี 2551 นั้นคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์โดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็นบาร์เรลละ 84 ดอลลาร์ สรอ.
****************************************************************************
(1.1) ภาวะตลาดน้ำมันตึงตัว เนื่องจากปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการผลิต โดยคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในกลุ่มประเทศเอเชีย นอก OECD หรือกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเอง จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าความต้องการใช้รวมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่คาดว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของกลุ่ม
ประเทศโอเปคประมาณ 1.9 ล้านบาร์เรลและกลุ่มประเทศนอกโอเปคประมาณ 0.9 ล้านบาร์เรล โดยที่ปริมาณกำลังการผลิตส่วนเกิน (spare หรือ surpluscapacity) ยังคงอยู่ที่ระดับ 1.5-2 ล้านบาร์เรลต่อวันอย่างไรก็ตาม EIA คาดการณ์ว่าการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคจะช่วยให้ปริมาณกำลังการผลิตส่วนเกินเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 2 ล้านบาร์เรลต่อวันเป็น 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ณ สิ้นปี 2552 โดยคาดว่ากลุ่มประเทศโอเปคจะยังคงไม่ตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมครั้งต่อไป (วันที่ 5 มี.ค. 51 ณ กรุงเวียนนา) แต่คาดว่าจะทยอยเพิ่มกำลังการผลิตตั้งแต่ช่วงกลางปีเป็นต้นไป จากปัจจัยพื้นฐานที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ตลาดน้ำมันอยู่ในภาวะตึงตัว และราคาจะมีความผันผวนมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยชั่วคราวอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันในตลาดโลกเกิดขึ้น โดยปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ได้แก่
- ความไม่สงบทางการเมืองของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน โดยล่าสุดเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศไนจีเรียกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง หลังจากที่อดีตผู้นำชนกลุ่มน้อยได้ออกมาให้ข่าวว่าจะโจมตีแหล่งผลิต น้ำ มันสำ คัญในประเทศไนจีเรียนอกจากนั้นความขัดแย้งในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น กรณีตุรกีและอิรัก หรือ กรณีประเทศอิหร่านกับสหประชาชาติ ยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญให้ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นในประเทศดังกล่าว ส่งผลให้แท่นขุดเจาะและโรงกลั่นน้ำมันต้องหยุดการผลิตเป็นบางช่วง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงปริมาณการผลิตน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ตามคาดว่าปัญหาความขัดแย้งน่าจะคลี่คลายลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี กอปรกับปริมาณการผลิตที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาน้ำมันให้ทรงตัวหรืออ่อนตัวลงได้
- ปริมาณน้ำมันสำรองของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2550 ปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐ ลดลงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ติดต่อกันและลดลงจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายปีอย่างไรก็ตามสถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2551 ปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับ 300 ล้านบาร์เรล ถ้าหากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาน้ำมันดิบลงได้บ้าง และที่สำคัญจะเห็นว่า
ในปีที่ผ่านมาปัจจัยด้านปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐฯ มักจะส่งผลในเชิงจิตวิทยา กล่าวคือในแต่ละครั้งมีการประกาศตัวเลขปริมาณน้ำมันสำรอง
ของสหรัฐฯ ที่ลดลงก็มักจะส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้าค่อนข้างมาก ซึ่งราคาในตลาดล่วงหน้ามักจะถูกใช้เป็นตัวชี้วัดว่าราคา
น้ำมันในอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร และเป็นโอกาสในการเข้ามาเก็งกำไรของกองทุนต่าง ๆ
(ยังมีต่อ).../การชะลอตัว..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ