(ต่อ8)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2550 และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 4, 2008 11:23 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2.5 การประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงและกรณีต่ำ
2.5.1 การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.5 เศรษฐกิจทั้งปี 2551 จะสามารถขยายตัวในอัตราสูงร้อย ละ 5.0 - 5.5 ได้ภายใต้เงื่อนไข (i) เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 และการส่งออกของไทยเองสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้ข้อจำกัดที่
มากขึ้นและขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 12.0-15.0 และรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 - 7 (ii) การเบิกจ่ายภาครัฐเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยให้ความสำคัญในการเร่งรัดการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการพัฒนาอาชีพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาสังคม (iii) ประชาชนและภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นมากขึ้นตามลำดับภายใต้รัฐบาลใหม่และกระตุ้นให้การใช้จ่ายครัวเรือนฟื้นตัวกลับสู่แนวโน้มปกติ และภาคธุรกิจขยายการลงทุนโดยเฉพาะ
ในกลุ่มที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว และ (iv) ราคาน้ำมันดิบลดลงในครึ่งหลังของปีเนื่องจากมีการปรับเพิ่ม
ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปก และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีไม่เกินบาร์เรลละ 85 ดอลลาร์ สรอ.
2.5.2 การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีร้อยละ 4.5 หรือต่ำกว่า เศรษฐกิจทั้งปี 2551 อาจจะขยายตัวได้ใน ระดับต่ำร้อยละ 4.5 หรือต่ำกว่า ในกรณีที่ (i) เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแรงกว่าที่คาดและขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ 3.5 จากปัญหาราคาน้ำมันและปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพที่
รุนแรงและยืดเยื้อ ซึ่งจะทำให้การ ส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวได้น้อย (ii) การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าร้อยละ 80 และ (iii) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 85 ดอลลาร์ สรอ.
2.6 องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551
2.6.1 ด้านอุปสงค์: องค์ประกอบการขยายตัวด้านอุปสงค์มีความสมดุลมากขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศสนับสนุนการขยายตัวได้มากขึ้นกว่าในปี 2550 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง โดยมีองค์ประกอบการขยายตัว ดังนี้
(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 2550 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.8 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0
(2) การลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ปรับตัวดีขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 1.4 ในปี 2550 โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.7 (ปรับเพิ่มจากการประมาณการเดิมร้อยละ 5.0) และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 6.0
(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการเดิมร้อยละ 10(17) แต่ยังเป็นการชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 ในปี 2550 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีประกอบด้วย ข้าว มันสำปะหลัง อาหารเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
หมายเหตุ
(17) กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าหมายการขยายตัวร้อยละ 10.0-12.5
****************************************************************************
แต่การนำเข้าจะเร่งตัวขึ้นตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายภายในประเทศโดยจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์เดิมร้อยละ 12.5 ซึ่งเร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 9.6 ในปี 2550
(4) คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 5.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุล จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 3.0 ของ GDP
(5) อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในปี 2551 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 3.2-3.7 จากแรงกดดันด้านต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับเพิ่มราคาวัตถุดิบ และการปรับเพิ่มค่าจ้างประกอบกับ ความต้องการสินค้าและบริการในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาผู้ผลิตยังเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 5.1 ซึ่งจะกลายเป็นแรงกดดันต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2551 นี้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีการอนุมัติให้มีการทยอยปรับราคาสินค้าขึ้นไปในหลายรายการโดยที่จะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 อาทิ ผลิตภัณฑ์นม กาแฟผงสำเร็จรูปน้ำมันพืช น้ำปลา ปลากระป๋อง น้ำอัดลม รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ในขณะที่ยังมีสินค้าที่กำลังรอปรับราคาเพิ่มเติมอีก เช่น ก๊าซแอลพีจี ผงซักฟอกปุ๋ยเคมี ยางรถยนต์ เป็นต้น
2.6.2 แนวโน้มสถานการณ์ด้านการผลิต: การผลิตภาคเกษตร และอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับในปี 2550 สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2550 สำหรับภาคการเงินคาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินต่าง ๆ จะอยู่ในช่วงของการปรับตัวภายใต้บริบทใหม่ของภาคการเงิน ทั้งการนำ BASEL II มาใช้ และการใช้พระราชบัญญัติ
สถาบันประกันเงินฝาก เป็นต้น สถานการณ์ด้านการผลิตมีแนวโน้ม ดังนี้
(1) สาขาเกษตรกรรม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
โดยเฉพาะสินค้าที่สำคัญ เช่น
(1.1) ข้าว การผลิตข้าวของไทยมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอ และราคามีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากผลผลิตข้าวในฤดูกาลใหม่ของโลกที่กำลังจะออกมีน้อย เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างเวียดนามลดเป้าส่งออกเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ ประกอบเกิดภัยพิบัติในเขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวของอินเดีย บังคลาเทศ รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐที่อนุมัติยุทธศาสตร์ข้าวไทย ในปีงบประมาณปี 2551 โดย
กำหนดให้ไทยเป็นผู้นำคุณภาพข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นที่หนึ่งของโลก เพื่อเกษตรกรมีรายได้มั่นคง และผู้บริโภคมั่นใจ
(1.2) มันสำปะหลัง ทิศทางของผลผลิตมันสำปะหลังจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้มันสำ ปะหลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประกอบกับความต้องการใช้มันสำ ปะหลังมากขึ้นทั้งในและ
ต่างประเทศ จึงคาดว่าราคามันสำปะหลังจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
(1.3) ยางพารา ทิศทางปริมาณการผลิตและระดับราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการการใช้ยางของโลก และการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคายางสังเคราะห์มีแนวโน้มสูงดังนั้นผู้ประกอบการได้หันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง ยางยืดรัดของ การผลิตยางล้อรถยนต์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ
(1.4) ประมง สถานการณ์การผลิตในปี 2551จะเน้นการผลิตกุ้งที่มีขนาดใหญ่ หรือประมาณร้อยละ 20 ของการผลิตกุ้งทั้งหมด ซึ่งปัจจัยบวกในปี 2551 คือ การส่งเสริมการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระหว่างเกษตรกรและห้องเย็น หรือ โรงงานผู้ผลิตกุ้งเพื่อการส่งออก ปัจจัยลบต่อการส่งออก เช่น ออสเตรเลีย ได้ประกาศมาตรการวิเคราะห์ความ
เสี่ยงการนำเข้ากุ้ง หรือ IRA โดยกำหนดให้สินค้า
กุ้งดิบต้องปลอดโรค เป็นต้น
(2) ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อการส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะการส่งออกเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัวแต่การผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นตามการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้ม
ขยายตัวดี เช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และกระดาษ สำหรับในปี 2551 ปัจจัยที่ต้องดูแล คือ การปรับตัวของ
วิสาหกิจขนาดเล็กขนาดย่อมในเรื่องมาตรฐานคุณภาพสินค้า และการปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของโลกอย่างต่อเนื่องที่ทำให้มีการแข่งขันจากผู้ผลิตที่ต้นทุนต่ำเช่น จีน อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น และผลกระทบราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะต้องเร่งดำเนินการเรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในหลายอุตสาหกรรม
(3) สาขาการก่อสร้าง แ น วโน้มป รับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้อุปสงค์ต่อโครงการที่อยู่อาศัยใกล้ ๆ แนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารโรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวอยู่และความชัดเจนของโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนรวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้คาดว่า escrow account จะมีผลบังคับใช้ได้ภายในปีนี้ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดว่าในปี 2551 ที่อยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพและปริมณฑลที่จะมีการสร้างเสร็จและจดทะเบียนใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น
ประมาณ 20,000 หน่วย จากประมาณ 17,000 หน่วยในปี 2550 และในปี 2549
(4) สาขาบริการท่องเที่ยว ในปี 2551 ได้กำหนดเป้าหมายนักท่องเที่ยว 15.7 ล้านคน จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย 14.5 ล้านคนในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 มีการคาดการณ์รายได้ 600,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 547,500 ล้านบาทในปี 2550 ซึ่งแนวทางการดำ เนินงาน คือ การฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพ เน้นส่งเสริมตลาด
นักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า และกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม เป็นต้น รวมทั้ง
การยกระดับมาตรฐานการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”
(ยังมีต่อ).../3.การบริหาร..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ