การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกช่วยลดแรงกดดันต่อราคาน้ำมันได้บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งหลายฝ่ายเห็นพ้องว่าจะชะลอตัวลงมาก และในปี 2551 นี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อกลุ่มเศรษฐกิจสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเชียและยุโรปมากขึ้นกว่าในปี 2550 จึงคาดว่าความต้องการน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอและลดแรงกดดันต่อราคา อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศโอเปคได้ออกมาประกาศเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า อาจจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงถ้าหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมากเพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันดิบและรายได้จากการ
ส่งออกน้ำมันให้ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
(1.2) ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงนักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการเงินในประเทศสหรัฐฯ จะอ่อนแอลงอีกและทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. จะยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้กองทุนประกันความเสี่ยง (Hedge Funds) และนักลงทุนสถาบันต่าง ๆ กระจายความเสี่ยงจากการถือตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ไปซื้อล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะน้ำมันและการซื้อทองคำ ในขณะเดียวกันการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงทำให้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันพยายามรักษาระดับราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับสูงต่อไป เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในตะวันออกกลางยังคงดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ผูกไว้กับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
(2) แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2551 เท่ากับ 4.3 สูงขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 2.3 ในปี 2550 และร้อยละ 3.2 ในเดือนธันวาคมปี 2550 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับ 1.2 เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นทั้ง ราคาน้ำมัน ราคา
วัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการขอปรับขึ้นราคาสินค้าหลายรายการตามต้นทุนที่สูงขึ้น โดยสินค้าที่ได้รับอนุมัติให้ปรับเพิ่มราคาแล้วได้แก่
น้ำ มันปาล์ม น้ำ มันถั่วเหลือง นมผลิตภัณฑ์นมน้ำตาลทราย เนยสด กาแฟ อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ (ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) และค่าโดยสารเรือประจำทาง และในเดือนกุมภาพันธ์มีสินค้าที่ได้รับอนุมัติให้ปรับเพิ่มราคาแล้ว ได้แก่ เหล็กเส้น ก๊าซหุงต้ม นอกจากนั้นได้มีการปรับเพิ่มค่า ft ไฟฟ้าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — พฤษภาคม 2551 เพิ่มขึ้นอีก 2.75 สตางค์ต่อหน่วยตามต้นทุนราคาแก๊สที่เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาจากดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ในไตรมาสสี่ปี 2550 และร้อยละ 10.0 ในเดือนมกราคม 2551 ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงคาดว่าในระยะต่อไปผู้ประกอบการจะยังผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขที่ความต้องการสินค้าและบริการในประเทศฟื้นตัวมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและฐานราคาที่สูงในครึ่งหลังของปี 2550 จะทำให้ราคาสินค้าชะลอตัวลงได้บ้างในครึ่งหลังปี 2551
(3) ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การปรับตัวของเศรษฐกิจโลกยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำ กัด ซึ่งประกอบด้าย (i) ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง (ii)การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้หากผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์มีความยืดเยื้อตลอดปี 2551 และหากยังมีความเสียหายที่เกิดกับภาคการเงินทั้งในสหรัฐฯ เอง และในยุโรปเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนได้ง่าย และค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดยืนยันว่าปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังยืดเยื้อและการส่งออกของหลายประเทศชะลอตัวชัดเจนขึ้นได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์เป็นต้น และ (iii) สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนมีความชัดเจนมากขึ้นทั้งด้านการส่งออก การลงทุน และปัญหาต้นทุนการผลิตและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งสินค้าค้างสะต็อกเพิ่มขึ้นและมีกำลังการผลิตส่วนเกินการชะลอตัวของเศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่จะช่วยรองรับสินค้าของโลกโดยเฉพาะจากประเทศในเอเชียในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นข้อจำกัดสำหรับการส่งออกของประเทศในเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้หากจีนมีการปรับลดราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและลดการสะสมสะต็อกก็จะทำให้การแข่งขันกับประเทศจีนในตลาดที่สามรุนแรงขึ้น
2.3 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
2.3.1 เศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอลงจากร้อยละ 4.9 ในปี 2550 และเป็นการปรับลดลงจากสมมุติฐานเดิมร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจหลักเป็นสำ คัญ ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ประเทศพัฒนาแล้วเป็นสำคัญ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลกระทบต่อเนื่องของปัญหา sub-prime ที่ยืดเยื้อไปในปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในค่าเงินสกุลหลัก และการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อของประเทศจีน รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะเท่ากับ 80-85 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาเรลปรับเพิ่มขึ้นจากบาเรลละ 75 - 80 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในการประมาณการครั้งก่อน(16) และสูงกว่าราคาเฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ ต่อบาเรลในปี 2550 ทั้งนี้ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 87.72 ดอลลาร์ต่อบาเรล ในเดือนมกราคม และเท่ากับ 85.57 ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551ซึ่งยังเป็นระดับที่สูงเนื่องจากตลาดน้ำมันจะยังตึงตัว แต่คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอลงเล็กน้อยในครึ่งหลังตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่คาดว่าจะเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นในช่วง
ครึ่งหลังของปี แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าที่คาดไว้เดิม และการดำ เนินมาตรการในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้า จะช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตและอัตราเงินเฟ้อ
หมายเหตุ
(16) ราคา WTI เท่ากับ 71.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2550 สูงกว่า 66.02 ดอลลาร์ ในปี 2549 สำหรับในปี 2551 นั้น EIA คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะเพิ่มขึ้นเป็นบาร์เรลละ 86 ดอลลาร์ สรอ. โดยราคาเฉลี่ยเท่ากับ 93 ดอลลาร์ต่อบาเรลในเดือนมกราคม และคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 87 ดอลลาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับน้ำมันดิบเบรนท์ นั้นราคาเฉลี่ยเท่ากับ 72.60 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 สูงกว่าบาร์เรลละ 66.2 ดอลลาร์ ในปี 2549 และในปี 2551 นั้นเป็นที่คาดกันว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์โดยเฉลี่ยจะ เพิ่มขึ้นเป็นบาร์เรลละ 84-85 ดอลลาร์ สรอ.
****************************************************************************
2.4 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.2-3.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.0 ของ GDP
(1) ในการแถลงข่าววันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ สำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2551 สูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.5-5.5 จากร้อยละ 4.0-5.0 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผล ดังนี้
(1.1) ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 แสดงว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมมีแรงส่งดีขึ้น(economic momentum) และการลงทุนภาคเอกชนมีการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม โดยที่ภาคธุรกิจเอกชนหลายประเภทมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามลำ ดับและเกือบเต็มกำ ลังในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมี กระดาษ ผลิตภัณฑ์ซี เม็นต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าและ ฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น รวมทั้งมีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนไว้แล้วในปี 2550 มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยที่ส่วนหนึ่งเป็นโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มกำลัง ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน จึงคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดไว้เดิม ทั้งนี้ในการแถลงนโยบายของรัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” สำหรับประเทศไทย ซึ่งการลงทุนที่มีแนวโน้มดีขึ้นจะมีผลต่อเนื่องต่อการจ้างงานและการใช้จ่ายครัวเรือน แต่ขณะเดียวกันก็จะทำให้การนำเข้าเร่งตัวมากขึ้นกว่าที่คาดไว้เดิม
(1.2) ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกของไทยมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมหลักและภาวะเศรษฐกิจโลกน้อยลง ดังจะเห็นว่าการส่งออกขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ตลอดช่วงปี 2550 ทั้งนี้เนื่องจาก (i)โครงสร้างตลาดส่งออกของประเทศไทยมีการ
กระจายตัวมากขึ้น โดยที่การพึ่งพิงตลาดส่งออกใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในขณะที่การพึ่งพิงตลาดหลักทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสัดส่วนลดลง (ii) ประเทศที่
กลายเป็นตลาดส่งออกที่สำ คัญมากขึ้นสำ หรับประเทศไทยนั้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วขึ้นกว่ากลุ่มประเทศอื่น ซึ่งได้แก่ ประเทศจีน เอเชียใน
ภาพรวม และยุโรปตะวันออก ดังนั้นประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะเอเชียกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก (growth engine) ที่สำคัญมากขึ้นโดยมีสัดส่วนของขนาดเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกที่สูงขึ้น (iii) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบมากขึ้นจากการขยายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติ ในขณะเดียวกันการที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีวงจรชีวิตสั้นลง (productlife cycle) อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็ทำให้มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เร็วขึ้นและกระตุ้นความต้องการในตลาดได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นกว่าในอดีต รวมทั้งประโยชน์ที่มาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของดิจิตอลมากขึ้น (digital content) สำหรับรถยนต์นั้นมีการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้นภายหลังข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก
(iv) ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ (ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด และยางพารา สูงขึ้นมากตามภาวะราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ และราคาน้ำมันซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการพืชพลังงานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าในปี 2551 ราคาสินค้าเกษตรกลุ่มนี้จะสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันโดยที่การส่งออกข้าวนั้นราคาจะเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวสาลีซึ่งผลผลิตในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากผลกระทบภัยธรรมชาติในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา
(2) ในปี 2551 อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนจะขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี ประกอบด้วย การลงทุนในระบบรถไฟขนส่งมวลชน การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากกรอบภาษีรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ (E20) การขยายการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเอทานอล และโครงการผลิต
ไฟฟ้า IPP เป็นต้น
(3) การฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศจะช่วยชดเชยผลกระทบจากการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และการนำเข้าจะเร่งตัวมากขึ้นจากการฟื้นตัวของการลงทุน แรงกดดันจากต้นทุนราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 3.2-3.7 อัตราการว่างงานจะยังต่ำที่ระดับร้อยละ 1.5-2.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลประมาณ 7,500-10,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(ยังมีต่อ).../2.5 การประมาณ..