3. การบริหารจัดการเศรษฐกิจในปี 2551:
ในปี 2551 การบริหารจัดการเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะ
ราคาน้ำมันแพงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการเตรียมปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนได้ใน
ระยะยาวบนแนวทางหลักที่สำคัญอันประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างและเพิ่มคุณค่าของสินค้าเพื่อการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงาน การสร้างฐานเศรษฐกิจในประเทศ (domesticeconomy) และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมการอยู่ดีมีสุขของประชาชน
โดยแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
3.1 การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐทางด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อ
เนื่อง โดยเฉพาะการจัดเตรียมการลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันให้โครงการที่ได้รับ
อนุมัติแล้วเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2551 เพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ตลอดจนการพัฒนาระบบ
โลจิสติกส์ของประเทศ เร่งรัดการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชน และผลักดันการ
ดำเนินการ “ปีแห่งการลงทุน 2551/2552”
3.2 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94
สำหรับงบประมาณรัฐบาล โดยเฉพาะการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และการเพิ่มศักยภาพของชุมชนเมืองรวมทั้งการแก้ปัญหาความยากจน
และการสนับสนุนกิจการขนาดเล็กขนาดย่อมสำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจนั้นกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 90 ทั้งนี้โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการ
ขับเคลื่อนแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3.3 การดูแลค่าครองชีพของประชาชน โดยดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างกำลังซื้อของประชาชน
ในระดับฐานราก โดยดำเนินมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ของประชาชนให้สามารถสร้างโอกาสและความ
รู้เพื่อการมีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน
3.4 การส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการดูแลมาตรฐานสินค้าโดย
เฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด
3.5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวในปี 2550 และเริ่มดำเนินการ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551/2552”
3.6 การผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ( เช่น แผนการใช้
E10/95 E10/91 E20/95 B2 และ B5 เป็นต้น) และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานทั้งจากการพัฒนาพลังงานทางเลือกในประเทศและขยายความ
เชื่อมโยงกับแหล่งพลังงานในภูมิภาค
3.7 การปรับโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้า
และบริการ ควบคู่กับการกำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก เช่น การขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุน SMEs ที่ยังคงเหลือ 3,779 ล้านบาท เป็นต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 - 2551
ข้อมูลจริง ปี 2550 ปี 2551_f
ประมาณการ เบื้องต้น ประมาณการ
2548 2549 3 ธ.ค.50 25 ก.พ.51 3 ธ.ค.50 25 ก.พ.51
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 7,095.6 7,830.30 8,386.3 8,485.2 9,032.0 9,158.3
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 109,440.9 120,763.40 127,064.4 128,563.6 136,848.4 138,762.4
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 176.2 206.6 243.1 245.5 273.7 284.4
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,715 3,186.40 3,683.0 3,720.0 4,146.9 4,309.4
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 5.1 4.5 4.8 4.0-5.0 4.5-5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.8 1.3 1.4 5.8 6.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.7 0.3 0.5 5.0 7.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 3.9 4.5 4.0 8.0 6.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.3 3.0 3.1 2.7 4.5 4.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 3.2 1.9 1.4 3.5 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 2.3 10.2 10.8 10.0 10.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.9 8.5 6.7 7.1 4.1 5.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 109.4 127.9 148.4 151.2 163.3 166.2
อัตราการขยายตัว (%) 15.2 17.0 16.0 18.1 10.0 12.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 4.3 8.3 7.4 7.2 4.0 6.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.7 2.6 2.8 3.5 4.4 6.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 117.6 126.9 139.6 139.2 157.1 161.1
อัตราการขยายตัว (%) 25.8 7.9 10.0 9.6 12.5 15.4
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.9 0.2 2.0 1.5 4.0 6.9
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -8.3 1.0 8.8 12.0 6.2 5.1
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ -7.6 2.2 11.0 14.9 9.3 8.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -4. 1.0 4.5 6.1 3.0 3.0
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 4.5 4.7 2.3 2.3 3.0-3.5 3.2-3.7
GDP Deflator 4.5 5.0 2.6 2.7 3.0-3.5 3.2-3.7
อัตราการว่างงาน 1.8 1.5 1.5 1.4 1.5 1.5
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 25 กุมภาพันธ์ 2551
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on
equity in current account.
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ปัญหาวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และปัญหาต่อเนื่องในภาคการเงินมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐฯ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่มีสัญญาณว่าจะเข้าสู่จุดต่ำสุด ในเดือนธันวาคมปริมาณขายบ้านใหม่ลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปี ในขณะที่
ราคาที่อยู่อาศัยยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องและการลงทุนในที่อยู่อาศัยหดตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างบ้านใหม่ที่ลดลง จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตให้ก่อ
สร้างยังไม่ปรากฏแนวโน้มการฟื้นตัว ความเสียหายในภาคการเงินได้สั่นคลอนความเชื่อมั่นนักลงทุน ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และภาค
การเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งตลาดการเงินอยู่ในภาวะตึงตัว เมื่อประกอบกับราคาน้ำมันและราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความ
มั่งคั่งและอำนาจซื้อของภาคครัวเรือนจึงลดลง ในเดือนธันวาคมการค้าส่งค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยาย
ตัวในระดับที่น่าพอใจโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออก แต่ยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น การผลิตนอกภาคอุตสาหกรรม
ปรับตัวลดลง โดยดัชนีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นองค์ประกอบของ Non-manufacturing ISM index เข้าสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เศรษฐกิจถด
ถอยในปี 2544 การหดตัวของการผลิตในภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการเงิน ภาคบริการ และภาวะความซบเซาของการผลิตภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้
การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือนมกราคมลดลง และอัตราการว่างงานโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.8 และส่งผลกระทบต่อการการบริโภคภาค
เอกชนมากขึ้น
การผลิตนอกภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
2007 2008
ม.ค. Q3 Q4 พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
ดัชนี ISM(มิใช่อุตสาหกรรม) - - - - - 44.6
- กิจกรรมธุรกิจ 57.9 56.0 54.8 54.6 54.4 41.9
ดัชนี ISM(ภาคอุตสาหกรรม) 49.3 51.3 49.6 50.0 48.4 50.7
- คำสั่งซื้อ 52.4 55.0 50.7 52.5 46.9 49.5
- การผลิต 51.5 54.6 50.0 51.3 48.6 55.2
- การส่งออก 52.5 56.0 56.0 58.5 52.5 58.5
ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงจากปัญหาในภาคการเงินที่รุนแรงกว่าที่คาดทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 ครั้งติดต่อกันภายในช่วงสองอาทิตย์ในเดือนมกราคม รวมร้อยละ 1.25 ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุดในระยะเวลา
ที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอเมริกา ในขณะเดียวกันสภาคองเกรสได้ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 150 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งนับเป็น
การส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนยังไม่ปรับตัวดีขึ้น
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสามารถผ่อนคลายภาวะความตึงตัวในภาคการเงินได้ในระดับหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยLIBOR และ
Mortgage rate ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของมาตรการการเงินแบบผ่อนคลายในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ยังคงขึ้นอยู่กับความต้องการ
กู้เงินของภาคเศรษฐกิจจริงและความพร้อมในการให้กู้ของสถาบันการเงิน ภายใต้ภาวะที่ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและภาคการเงินเพิ่มความเข้มงวด
มาตรฐานสินเชื่อ และข้อมูลล่าสุดแสดงว่าระบบสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนั้นการดำเนินนโยบายลดภาษีและการคืน
ภาษี (Tax rebate) ภายใต้กรอบมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น คาดว่าจะเริ่มมีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงในเดือนพฤษภาคม ดังนั้น
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในครึ่งแรกของปีนี้จึงยังมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นช่วงสั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปีมีแนวโน้มที่
ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าร้อยละ 2.2 ในปี 2550 การชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกาได้เริ่มส่งผลต่อทิศทางการค้าโลกในปี 2550 ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ของสหรัฐฯ เริ่มลดลง ดังนั้น แนวโน้มการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถด
ถอยทางเศรษฐกิจที่นำโดยอุปสงค์ภายในประเทศประกอบกับภาวะการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศคู่ค้าสำคัญ
ๆ มากขึ้น และข้อมูลล่าสุดในเดือนธันวาคมแสดงให้เห็นว่า การขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาต่อจีนและสหภาพยุโรปลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในปี 2551 การบริหารจัดการเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะ
ราคาน้ำมันแพงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการเตรียมปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนได้ใน
ระยะยาวบนแนวทางหลักที่สำคัญอันประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างและเพิ่มคุณค่าของสินค้าเพื่อการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงาน การสร้างฐานเศรษฐกิจในประเทศ (domesticeconomy) และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมการอยู่ดีมีสุขของประชาชน
โดยแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
3.1 การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐทางด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อ
เนื่อง โดยเฉพาะการจัดเตรียมการลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันให้โครงการที่ได้รับ
อนุมัติแล้วเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2551 เพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ตลอดจนการพัฒนาระบบ
โลจิสติกส์ของประเทศ เร่งรัดการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชน และผลักดันการ
ดำเนินการ “ปีแห่งการลงทุน 2551/2552”
3.2 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94
สำหรับงบประมาณรัฐบาล โดยเฉพาะการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และการเพิ่มศักยภาพของชุมชนเมืองรวมทั้งการแก้ปัญหาความยากจน
และการสนับสนุนกิจการขนาดเล็กขนาดย่อมสำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจนั้นกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 90 ทั้งนี้โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการ
ขับเคลื่อนแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3.3 การดูแลค่าครองชีพของประชาชน โดยดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างกำลังซื้อของประชาชน
ในระดับฐานราก โดยดำเนินมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ของประชาชนให้สามารถสร้างโอกาสและความ
รู้เพื่อการมีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน
3.4 การส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการดูแลมาตรฐานสินค้าโดย
เฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด
3.5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวในปี 2550 และเริ่มดำเนินการ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551/2552”
3.6 การผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ( เช่น แผนการใช้
E10/95 E10/91 E20/95 B2 และ B5 เป็นต้น) และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานทั้งจากการพัฒนาพลังงานทางเลือกในประเทศและขยายความ
เชื่อมโยงกับแหล่งพลังงานในภูมิภาค
3.7 การปรับโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้า
และบริการ ควบคู่กับการกำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก เช่น การขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุน SMEs ที่ยังคงเหลือ 3,779 ล้านบาท เป็นต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 - 2551
ข้อมูลจริง ปี 2550 ปี 2551_f
ประมาณการ เบื้องต้น ประมาณการ
2548 2549 3 ธ.ค.50 25 ก.พ.51 3 ธ.ค.50 25 ก.พ.51
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 7,095.6 7,830.30 8,386.3 8,485.2 9,032.0 9,158.3
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 109,440.9 120,763.40 127,064.4 128,563.6 136,848.4 138,762.4
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 176.2 206.6 243.1 245.5 273.7 284.4
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,715 3,186.40 3,683.0 3,720.0 4,146.9 4,309.4
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 5.1 4.5 4.8 4.0-5.0 4.5-5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.8 1.3 1.4 5.8 6.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.7 0.3 0.5 5.0 7.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 3.9 4.5 4.0 8.0 6.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.3 3.0 3.1 2.7 4.5 4.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 3.2 1.9 1.4 3.5 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 2.3 10.2 10.8 10.0 10.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.9 8.5 6.7 7.1 4.1 5.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 109.4 127.9 148.4 151.2 163.3 166.2
อัตราการขยายตัว (%) 15.2 17.0 16.0 18.1 10.0 12.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 4.3 8.3 7.4 7.2 4.0 6.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.7 2.6 2.8 3.5 4.4 6.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 117.6 126.9 139.6 139.2 157.1 161.1
อัตราการขยายตัว (%) 25.8 7.9 10.0 9.6 12.5 15.4
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.9 0.2 2.0 1.5 4.0 6.9
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -8.3 1.0 8.8 12.0 6.2 5.1
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ -7.6 2.2 11.0 14.9 9.3 8.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -4. 1.0 4.5 6.1 3.0 3.0
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 4.5 4.7 2.3 2.3 3.0-3.5 3.2-3.7
GDP Deflator 4.5 5.0 2.6 2.7 3.0-3.5 3.2-3.7
อัตราการว่างงาน 1.8 1.5 1.5 1.4 1.5 1.5
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 25 กุมภาพันธ์ 2551
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on
equity in current account.
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ปัญหาวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และปัญหาต่อเนื่องในภาคการเงินมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐฯ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่มีสัญญาณว่าจะเข้าสู่จุดต่ำสุด ในเดือนธันวาคมปริมาณขายบ้านใหม่ลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปี ในขณะที่
ราคาที่อยู่อาศัยยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องและการลงทุนในที่อยู่อาศัยหดตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างบ้านใหม่ที่ลดลง จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตให้ก่อ
สร้างยังไม่ปรากฏแนวโน้มการฟื้นตัว ความเสียหายในภาคการเงินได้สั่นคลอนความเชื่อมั่นนักลงทุน ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และภาค
การเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งตลาดการเงินอยู่ในภาวะตึงตัว เมื่อประกอบกับราคาน้ำมันและราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความ
มั่งคั่งและอำนาจซื้อของภาคครัวเรือนจึงลดลง ในเดือนธันวาคมการค้าส่งค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยาย
ตัวในระดับที่น่าพอใจโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออก แต่ยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น การผลิตนอกภาคอุตสาหกรรม
ปรับตัวลดลง โดยดัชนีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นองค์ประกอบของ Non-manufacturing ISM index เข้าสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เศรษฐกิจถด
ถอยในปี 2544 การหดตัวของการผลิตในภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการเงิน ภาคบริการ และภาวะความซบเซาของการผลิตภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้
การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือนมกราคมลดลง และอัตราการว่างงานโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.8 และส่งผลกระทบต่อการการบริโภคภาค
เอกชนมากขึ้น
การผลิตนอกภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
2007 2008
ม.ค. Q3 Q4 พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
ดัชนี ISM(มิใช่อุตสาหกรรม) - - - - - 44.6
- กิจกรรมธุรกิจ 57.9 56.0 54.8 54.6 54.4 41.9
ดัชนี ISM(ภาคอุตสาหกรรม) 49.3 51.3 49.6 50.0 48.4 50.7
- คำสั่งซื้อ 52.4 55.0 50.7 52.5 46.9 49.5
- การผลิต 51.5 54.6 50.0 51.3 48.6 55.2
- การส่งออก 52.5 56.0 56.0 58.5 52.5 58.5
ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงจากปัญหาในภาคการเงินที่รุนแรงกว่าที่คาดทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 ครั้งติดต่อกันภายในช่วงสองอาทิตย์ในเดือนมกราคม รวมร้อยละ 1.25 ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุดในระยะเวลา
ที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอเมริกา ในขณะเดียวกันสภาคองเกรสได้ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 150 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งนับเป็น
การส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนยังไม่ปรับตัวดีขึ้น
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสามารถผ่อนคลายภาวะความตึงตัวในภาคการเงินได้ในระดับหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยLIBOR และ
Mortgage rate ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของมาตรการการเงินแบบผ่อนคลายในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ยังคงขึ้นอยู่กับความต้องการ
กู้เงินของภาคเศรษฐกิจจริงและความพร้อมในการให้กู้ของสถาบันการเงิน ภายใต้ภาวะที่ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและภาคการเงินเพิ่มความเข้มงวด
มาตรฐานสินเชื่อ และข้อมูลล่าสุดแสดงว่าระบบสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนั้นการดำเนินนโยบายลดภาษีและการคืน
ภาษี (Tax rebate) ภายใต้กรอบมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น คาดว่าจะเริ่มมีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงในเดือนพฤษภาคม ดังนั้น
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในครึ่งแรกของปีนี้จึงยังมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นช่วงสั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปีมีแนวโน้มที่
ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าร้อยละ 2.2 ในปี 2550 การชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกาได้เริ่มส่งผลต่อทิศทางการค้าโลกในปี 2550 ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ของสหรัฐฯ เริ่มลดลง ดังนั้น แนวโน้มการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถด
ถอยทางเศรษฐกิจที่นำโดยอุปสงค์ภายในประเทศประกอบกับภาวะการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศคู่ค้าสำคัญ
ๆ มากขึ้น และข้อมูลล่าสุดในเดือนธันวาคมแสดงให้เห็นว่า การขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาต่อจีนและสหภาพยุโรปลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-