-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนหนาแน่นในตลาด R/P ทุกระยะ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของ พันธบัตรฯ ไทย และสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์สรอ. แข็งค่าขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี แต่เงินบาทไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับสู่ระบบสถาบันการเงินหลังจากผ่านช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมามีความต้องการลงทุนเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6875 3.75 3.75 และ 3.78125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีการขาดดุลเคลียริ่งลดการลงทุนลง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าสถาบัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดในอัตราเดิม
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 - 3.82 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 27,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการออกพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 และ 4 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน ทำ
ให้ ธปท. ลดวงเงินจัดสรรพันธบัตร ธปท. ลง 647 ล้านบาท ดังนั้นมูลค่าตราสารภาครัฐออกใหม่ในสัปดาห์นี้มีมูลค่าเท่ากับ 26,853 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 22,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,853 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 100,440 ล้านบาท คิดเป็น 20,088 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 44 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปรับตัวสูงขึ้นมากในวันพุธ หลังจากมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี จึงทำให้มีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 ปี ขึ้นไปจึงปรับตัวเพิ่มขึ้น 9-39 basis points ส่วนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
เนื่องจากยังมีความต้องการลงทุนในตราสารระยะสั้นที่ยังมีอยู่มาก ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลงต่อเนื่องอีก 144 และ 58 basis points ตามลำดับ ทั้งนี้ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรเพิ่มขึ้นถึง 50-130 basis points โดยสูงขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 7-10 ปี สำหรับในสัปดาห์นี้ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวสูงขึ้น 6-27 basis points ตามการปรับขึ้น Fed Fund Rate อีก 25 basis points และการประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาสสามที่แข็งแกร่งกว่าประมาณการ ทำให้มีการคาดการณ์การปรับขึ้น Fed Fund Rate อย่างต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 48 40.87
เฉลี่ย 25 - 28 ต.ค. 48 40.77
31 ต.ค. 48 40.74
1 พ.ย. 48 40.75
2 พ.ย. 48 40.77
3 พ.ย. 48 40.79
4 พ.ย. 48 40.83
เฉลี่ย 31ต.ค.-4 พ.ย. 48 40.78
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 40.74 - 40.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 ปี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี และระบุในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่าจะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากยังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ระดับร้อยละ 6.2 นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก และการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 4 พันล้านบาทตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของ พันธบัตรฯ ไทย และสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์สรอ. แข็งค่าขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี แต่เงินบาทไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับสู่ระบบสถาบันการเงินหลังจากผ่านช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมามีความต้องการลงทุนเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6875 3.75 3.75 และ 3.78125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีการขาดดุลเคลียริ่งลดการลงทุนลง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าสถาบัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดในอัตราเดิม
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 - 3.82 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 27,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการออกพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 และ 4 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน ทำ
ให้ ธปท. ลดวงเงินจัดสรรพันธบัตร ธปท. ลง 647 ล้านบาท ดังนั้นมูลค่าตราสารภาครัฐออกใหม่ในสัปดาห์นี้มีมูลค่าเท่ากับ 26,853 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 22,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,853 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 100,440 ล้านบาท คิดเป็น 20,088 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 44 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปรับตัวสูงขึ้นมากในวันพุธ หลังจากมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี จึงทำให้มีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 ปี ขึ้นไปจึงปรับตัวเพิ่มขึ้น 9-39 basis points ส่วนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
เนื่องจากยังมีความต้องการลงทุนในตราสารระยะสั้นที่ยังมีอยู่มาก ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลงต่อเนื่องอีก 144 และ 58 basis points ตามลำดับ ทั้งนี้ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรเพิ่มขึ้นถึง 50-130 basis points โดยสูงขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 7-10 ปี สำหรับในสัปดาห์นี้ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวสูงขึ้น 6-27 basis points ตามการปรับขึ้น Fed Fund Rate อีก 25 basis points และการประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาสสามที่แข็งแกร่งกว่าประมาณการ ทำให้มีการคาดการณ์การปรับขึ้น Fed Fund Rate อย่างต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 48 40.87
เฉลี่ย 25 - 28 ต.ค. 48 40.77
31 ต.ค. 48 40.74
1 พ.ย. 48 40.75
2 พ.ย. 48 40.77
3 พ.ย. 48 40.79
4 พ.ย. 48 40.83
เฉลี่ย 31ต.ค.-4 พ.ย. 48 40.78
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 40.74 - 40.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 ปี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี และระบุในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่าจะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากยังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ระดับร้อยละ 6.2 นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก และการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 4 พันล้านบาทตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-