แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี
นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 สศช. ก็ได้เริ่มกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะผู้จัดทำจดหมายข่าว "ยุทธศาสตร์แผนฯ 10" ซึ่งจะเผยแพร่ฉบับปฐมฤกษ์ในเดือนธันวาคมศกนี้ ได้เรียนสัมภาษณ์ ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถึงแนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดังกล่าว จึงขอนำมาเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์ของ สศช. ก่อน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 : มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สศช. ได้ระดมความคิดเห็นจากภาคีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาคเอกชน ภาคราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และองค์การอิสระ อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ โดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ สศช. และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงต่าง ๆ 20 กระทรวงและหน่วยงานกลาง เพื่อระดมความเห็นร่วมกันยกร่างกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จากนั้น ได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2548-2551) ในเดือนมกราคม 2548 เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) ในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
"หลังจากระดมความคิดเห็นในภาครัฐแล้ว สศช. ได้จัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค 4 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2548 เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และได้ระดมความคิดเห็นระดับประเทศ ในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ใน 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ การพัฒนาสังคมเชิงรุก และการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
หลังจากนั้น สศช. ได้ระดมความคิดเห็นในระดับชุมชนใน 36 ตำบล 108 หมู่บ้าน 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อหารือการมีส่วนร่วมของชุมชนใน 3 เรื่อง คือ (1) การรับรู้ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบชุมชน ได้แก่ การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค (2) การเตรียมตัวหรือบทบาทของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง และ (3) ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" คลังความรู้สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
จากกระบวนการจัดทำแผนฯ อย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทำให้ สศช. ได้คลังความรู้ (Stock of Knowledge) ที่จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Common Understanding) ก่อนที่จะดำเนินการจัดทำแผนในขั้นตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง 5 บริบทดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งหลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้สมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะใน 4 เรื่อง คือ (1) ฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (3) นโยบายสังคมเชิงรุก และ (4) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Economy) สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) สังคมที่มีความสุข (Green Society) ตลอดจนความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของการจัดสรรงบประมาณ และนโยบายต่างๆ ในการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรผ่านกระบวนการกระจายอำนาจ จากกระทรวง ทบวง กรม ไปสู่องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และผู้ว่า CEO การสร้างโอกาสให้ประชาชนระดับรากหญ้า โดยจัดสรรทรัพยากรผ่านกิจกรรมใหม่ที่สำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) โครงการ SMEs โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และโครงการ OTOP รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) เป็นต้น
ทั้งนี้ ความรู้ต่างๆ ดังกล่าว จะต้องนำมาประมวลสังเคราะห์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เน้นการสร้างความสุข
ยุทธศาสตร์ของการจัดทำของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เน้นการสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยผ่านการพัฒนาทุน 3 ประการคือ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเริ่มต้นจากคนในระดับปัจเจก ขยายออกไปในระดับครอบครัว ชุมชน สถาบัน และประเทศ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะมุ่งสู่การสร้าง "ความสุข" ให้เกิดขึ้นแก่คนและสังคมไทย
"เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ ความสุขของคนไทยที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการเพิ่มทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จุดเน้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ก็ยังคงเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ 9 เพราะคนเป็นผู้สร้างทุนเหล่านี้ และหากคนมีทุนเหล่านี้อยู่ในตัว เช่น คนมีจิตสำนึกที่ดี ครอบครัวก็จะมีความอบอุ่น อีกทั้งมีรายได้ที่พอเพียงกับการยังชีพ ส่งผลให้ชุมชนมีความสุข จากชุมชนก็จะขยายผลไปยังสถาบันต่างๆ และไปถึงระดับประเทศในที่สุด" เดินหน้าจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อจากนี้ไป สศช. จะประมวลสังเคราะห์คลังความรู้ดังกล่าว และจัดทำรายละเอียดของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน รวมทั้งวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างทุนแต่ละด้านอย่างเป็นระบบ อาทิ ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาคน ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ ควรเริ่มต้นจากการกำหนดจุดร่วมที่ทุกภาคส่วนมีความเห็นพ้องร่วมกัน (Common Understanding) บนพื้นฐานของกระบวนการมีส่วนร่วม (Collaborative Effort) เป็นหลัก
"การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ควรให้ภาคีการพัฒนาพิจารณาถึงสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน (2) ยุทธศาสตร์พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ (3) ยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล แข่งขันได้ (4) ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (5) ยุทธศาสตร์ต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยดูทั้งในแง่บวกและแง่ลบว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี ควรดำเนินการต่อ พร้อมทั้งให้ภาคีการพัฒนากำหนดบทบาทของตนเองว่า จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งพิจารณาสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการไปแล้วด้วยว่า เป็นผลเสียต่อทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร" บทส่งท้าย
การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 กำลังเดินหน้าต่อไป บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม โดยจะจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค 4 ภาค ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2548 และมีเป้าหมายที่จะประกาศใช้แผนในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 เพื่อให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นแผนที่จะสร้างความสุขให้แก่คนในทุกภาคส่วนของสังคมได้อย่างแท้จริง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สศช. ได้ระดมความคิดเห็นจากภาคีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาคเอกชน ภาคราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และองค์การอิสระ อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ โดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ สศช. และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงต่าง ๆ 20 กระทรวงและหน่วยงานกลาง เพื่อระดมความเห็นร่วมกันยกร่างกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จากนั้น ได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2548-2551) ในเดือนมกราคม 2548 เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) ในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
"หลังจากระดมความคิดเห็นในภาครัฐแล้ว สศช. ได้จัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค 4 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2548 เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และได้ระดมความคิดเห็นระดับประเทศ ในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ใน 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ การพัฒนาสังคมเชิงรุก และการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
หลังจากนั้น สศช. ได้ระดมความคิดเห็นในระดับชุมชนใน 36 ตำบล 108 หมู่บ้าน 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อหารือการมีส่วนร่วมของชุมชนใน 3 เรื่อง คือ (1) การรับรู้ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบชุมชน ได้แก่ การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค (2) การเตรียมตัวหรือบทบาทของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง และ (3) ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" คลังความรู้สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
จากกระบวนการจัดทำแผนฯ อย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทำให้ สศช. ได้คลังความรู้ (Stock of Knowledge) ที่จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Common Understanding) ก่อนที่จะดำเนินการจัดทำแผนในขั้นตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง 5 บริบทดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งหลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้สมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะใน 4 เรื่อง คือ (1) ฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (3) นโยบายสังคมเชิงรุก และ (4) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Economy) สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) สังคมที่มีความสุข (Green Society) ตลอดจนความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของการจัดสรรงบประมาณ และนโยบายต่างๆ ในการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรผ่านกระบวนการกระจายอำนาจ จากกระทรวง ทบวง กรม ไปสู่องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และผู้ว่า CEO การสร้างโอกาสให้ประชาชนระดับรากหญ้า โดยจัดสรรทรัพยากรผ่านกิจกรรมใหม่ที่สำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) โครงการ SMEs โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และโครงการ OTOP รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) เป็นต้น
ทั้งนี้ ความรู้ต่างๆ ดังกล่าว จะต้องนำมาประมวลสังเคราะห์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เน้นการสร้างความสุข
ยุทธศาสตร์ของการจัดทำของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เน้นการสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยผ่านการพัฒนาทุน 3 ประการคือ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเริ่มต้นจากคนในระดับปัจเจก ขยายออกไปในระดับครอบครัว ชุมชน สถาบัน และประเทศ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะมุ่งสู่การสร้าง "ความสุข" ให้เกิดขึ้นแก่คนและสังคมไทย
"เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ ความสุขของคนไทยที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการเพิ่มทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จุดเน้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ก็ยังคงเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ 9 เพราะคนเป็นผู้สร้างทุนเหล่านี้ และหากคนมีทุนเหล่านี้อยู่ในตัว เช่น คนมีจิตสำนึกที่ดี ครอบครัวก็จะมีความอบอุ่น อีกทั้งมีรายได้ที่พอเพียงกับการยังชีพ ส่งผลให้ชุมชนมีความสุข จากชุมชนก็จะขยายผลไปยังสถาบันต่างๆ และไปถึงระดับประเทศในที่สุด" เดินหน้าจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อจากนี้ไป สศช. จะประมวลสังเคราะห์คลังความรู้ดังกล่าว และจัดทำรายละเอียดของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน รวมทั้งวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างทุนแต่ละด้านอย่างเป็นระบบ อาทิ ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาคน ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ ควรเริ่มต้นจากการกำหนดจุดร่วมที่ทุกภาคส่วนมีความเห็นพ้องร่วมกัน (Common Understanding) บนพื้นฐานของกระบวนการมีส่วนร่วม (Collaborative Effort) เป็นหลัก
"การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ควรให้ภาคีการพัฒนาพิจารณาถึงสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน (2) ยุทธศาสตร์พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ (3) ยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล แข่งขันได้ (4) ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (5) ยุทธศาสตร์ต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยดูทั้งในแง่บวกและแง่ลบว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี ควรดำเนินการต่อ พร้อมทั้งให้ภาคีการพัฒนากำหนดบทบาทของตนเองว่า จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งพิจารณาสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการไปแล้วด้วยว่า เป็นผลเสียต่อทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร" บทส่งท้าย
การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 กำลังเดินหน้าต่อไป บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม โดยจะจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค 4 ภาค ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2548 และมีเป้าหมายที่จะประกาศใช้แผนในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 เพื่อให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นแผนที่จะสร้างความสุขให้แก่คนในทุกภาคส่วนของสังคมได้อย่างแท้จริง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-