- การลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นมาเริ่มมีผลต่อเศรษฐกิจจริงเมื่อพิจารณาจากสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นโดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2550 และเมื่อรวมสินเชื่อจากสถาบันรับฝากเงินอื่น(ก) สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยที่สินเชื่อส่วนบุคคลและกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ขยายตัวเร็วขึ้น ยกเว้นภาคการก่อสร้าง โดยที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีกเลยตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2550 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ลดลงนั้นเป็นผลจากการที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะเห็นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน กับ MLR เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.25 ณ สิ้นปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.68 ณ สิ้นเดือนเมษายนนี้
- ภาพรวมในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพแต่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากทำให้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามลำดับและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
- ในไตรมาสแรกอัตราการว่างงานเฉลี่ยยังต่ำที่ร้อยละ 1.6 เท่ากับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว
- แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 5.0 สูงขึ้น ตามลำดับจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 (และล่าสุดในเดือนเมษายนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 และเฉลี่ย 4 เดือนเท่ากับร้อยละ 5.3 โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 2.7 นั้นมาจากการที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น) ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นมีลักษณะที่เป็นฐานกว้างมากขึ้น แรงกดดันต่อเงินเฟ้อพื้นฐานจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 0.8 และ 1.1 ในไตรมาสสามและสี่ปี 2550 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 2.1 ในเดือนเมษายน
Contribution to CPI
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 2548 2549 2550 4 เดือนแรกของปี2550
รวมทุกรายการ 4.5 4.7 2.3 5.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.8 1.6 1.5 2.7
ข้าว 0.0 0.1 0.2 0.2
เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 0.4 0.2 0.0 0.6
ผัก และผลไม้ 0.8 0.8 0.6 0.5
หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 2.2 2.0 0.5 2.0
ค่าโดยสารสาธารณะ 0.6 0.8 0.1 0.1
น้ำมันเชื้อเพลิง 2.4 1.6 0.3 2.3
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม 2.7 2.9 0.7 2.5
ที่มา กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ:
(ก) สถาบันรับฝากเงินอื่น ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน และธนาคารเฉพาะกิจ
- ดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่ดุลบริการและรายได้เกินดุลสูงกว่าแนวโน้มปกติซึ่งเป็นผลจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมาก และมีรายได้จากผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้น จึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามเป็นการเกินดุลที่ต่ำ กว่าการเกินดุลจำ นวน 4,689.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกปี 2550
- ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมเพิ่มขึ้นและมีการปรับโครงสร้างการใช้พลังงานให้สมดุลมากขึ้น
- สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องชี้ว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2548 ที่มีการลอยตัวราคาน้ำมันเป็นต้นมา โดยในปี 2550 สัดส่วนปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.95 ลดลงจากร้อยละ 0.9625 ในปี 2549 และไตรมาสแรกของปี 2551 สัดส่วนการใช้น้ำมันสำเร็จรูปต่อ GDP ยังคงลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.9184 นอกจากนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือก เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซลและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้พลังงาน
(%MoM) ------------ 2550 ------------- 2551
ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1
การใช้ผลิตภัณฑ์
ปิโตรเลียมรวม 2.7 2.3 3.8 2.4 0.9
น้ำมันเบนซิน 1.69 2.11 4.39 -1.71 -1.92
ออกเทน (91+95) -6.1 -0.2 -4.7 -18.78 -26.42
แก๊สโซฮอล์ 37.79 12.91 46.23 77.03 111.95
น้ำมันดีเซล 2.13 0.73 5.61 1.81 -0.37
หมุนเร็ว+หมุนช้า -1.22 -1.17 1.78 -4.15 -10.23
หมุนเร็ว บี5 1360.62 1081.61 1768.31 1391.93 787.29
ก๊าซแอลพีจี 14.3 12.59 13.59 18.15 17.59
ก๊าซธรรมชาติสำหรับ
รถยนต์ 117.61 102.92 113.29 139.8 190.52
สถานการณ์การใช้น้ำมันโดยเฉพาะในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นสะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีความสมดุลมากขึ้น จากอดีตที่ประเทศไทยเคยพึ่งพาน้ำมันดีเซลและเบนซินเป็นหลักแต่ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การใช้พลังงานชนิดอื่น เช่น ก๊าซธรรมชาติและไบโอดีเซล มากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางด้านพลังงานเชื้อเพลิงลดลง
ในไตรมาสแรกปริมาณการใช้พลังงานทางเลือกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.9 ในขณะที่การใช้ไบโอดีเซล (บี5)เพิ่มขึ้นร้อยละ 787.3 จากฐานการใช้ที่ยังต่ำ มากเช่นเดียวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 190.5 ในขณะที่ปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชนิดอื่นๆ เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันเบนซินธรรมดาลดลงต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 0.4 15.4 และ 4.2 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมการใช้ของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือกที่มีราคาถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลที่ราคายังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โครงสร้างการใช้พลังงานในสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ มีความสมดุลมากขึ้น เช่น ภาคขนส่งจากที่เคยพึ่งพาน้ำมันเบนซินและดีเซลเป็นหลัก เริ่มปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น และการผลิตไฟฟ้าปรับเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเตามาสู่ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังต้องดูแลโครงสร้างการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ ไม่ให้บิดเบือนผิดกลุ่มเป้าหมายและให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการใช้ก๊าซแอลพีจีที่ถูกนำมาใช้ในรถยนต์นั้นปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลิตภาพแรงงาน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 ในไตรมาสแรกของปีนี้
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการส่งออกทำให้การส่งออกยังขยายตัวได้ดีในช่วงปี 2551 โครงสร้างการส่งออกของไทยที่เปลี่ยนไปทำ ให้ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกของไทยมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมหลักและภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมน้อยลง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่
- โครงสร้างตลาดส่งออกของประเทศไทยมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยที่การพึ่งพิงตลาดส่งออกใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในขณะที่การพึ่งพิงตลาดหลัก ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสัดส่วนลดลง ประเทศที่กลายเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศไทยได้แก่ ประเทศจีนเอเชียในภาพรวม และยุโรปตะวันออก มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วขึ้นกว่ากลุ่มประเทศอื่น ซึ่งประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะเอเชียกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก (growth engine) ที่สำคัญมากขึ้น โดยมีสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกที่สูงขึ้น
- ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบมากขึ้นจากการขยายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติโดยที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีวงจรชีวิตสั้นลง (product life cycle) อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เร็วขึ้น ประกอบกับได้รับประโยชน์จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของดิจิตอลมากขึ้น (digital content) สำหรับรถยนต์นั้นมีการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้นภายหลังข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก
- ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำ คัญ (ข้าว มันสำ ปะหลัง ข้าวโพด และ ยางพารา) สูงขึ้นมากตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ และราคาน้ำมัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการพืชพลังงานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก และผลผลิตข้าวสาลีในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากผลกระทบภัยธรรมชาติในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเวียดนามได้ลดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปี 2551 ลง
- ข้อจำกัดและข้อควรระวังของเศรษฐกิจไทย
- ราคาน้ำ มันที่เพิ่มสูงขึ้นมากส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของประชาชนทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันและค่าเดินทางโดยตรง และผลกระทบผ่านทางราคาสินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะราคาอาหารซึ่งเป็นหมวดการใช้จ่ายจำเป็นของประชาชน (สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 20.5 ของการใช้จ่ายรวม) นั้นจะได้ผลกระทบจากหลายด้านทั้งค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน และผลกระทบจากวิกฤตการราคาข้าวสูงขึ้นมาก โดยที่ผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มรายได้น้อยและประชาชนในชนบทนั้นจะมากกว่าผลกระทบโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าใน 4 เดือนแรกอัตราเงินเฟ้อสำหรับกลุ่มที่มีรายได้น้อยเท่ากับร้อยละ 5.6 และกลุ่มประชาชนในชนบทเท่ากับร้อยละ 8.3 สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศ ซึ่งเป็นเพราะสองกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายสำหรับหมวดอาหารต่อการใช้จ่ายรวมในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยของประเทศ
--สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น--
2538 2540 2545 2549 2550 2551Q1
สหรัฐฯ 17.8 19.4 19.8 15.0 12.6 11.7
ญี่ปุ่น 16.8 15.1 14.6 12.6 11.9 11.3
EU 15 15.1 15.9 15.0 13.0 12.8 12.8
อาเซียน (3) 21.7 21.8 19.9 20.8 21.3 21.6
ตะวันออกกลาง 4.5 3.3 3.6 4.4 4.9 4.8
ออสเตรเลีย 1.4 1.6 2.4 3.4 3.8 4.0
จีน 2.9 3.0 5.2 9.0 9.7 9.9
อินเดีย 0.5 0.5 0.6 1.4 1.7 1.7
ฮ่องกง 5.2 5.9 5.4 5.5 5.7 6.1
เกาหลีใต้ 1.4 1.8 2.1 2.1 1.9 1.9
ไต้หวัน 2.4 2.7 2.9 2.6 2.2 1.7
อาฟริกาใต้ 0.4 0.4 0.5 0.8 0.9 0.9
อื่นๆ 9.9 8.3 8.0 9.3 10.6 11.6
ที่มา ธปท.
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลลดลงจากการขาดดุลการค้า ในไตรมาสแรกดุลบริการและรายได้เพิ่มขึ้นมากได้ช่วยชดเชยการค้าขาดดุลการและรักษาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดให้ยังเกินดุล แต่เป็นการเกินดุลที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก สถานการณ์ดังกล่าวชี้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากเงื่อนไข ดังนี้
(i) ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในขณะที่ปริมาณการนำเข้าเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคาดการณ์ราคาสูงขึ้นจึงนำเข้าเพื่อสะสมสต็อก) มีผลทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าน้ำมันถึง 9.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ใน 4 เดือนแรกของปีนี้ ดังนั้นจึงจำ เป็นต้องรณรงค์การประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ มันและการใช้พลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่อง
ดุลการค้าสินค้า และน้ำมัน
พันล้านดอลลาร์ สรอ. ----------- 2550----------- --- 2551 ---
2548 2549 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1* เม.ย.*
ดุลการค้า(ตามสถิติศุลกากร) -7.3 0.9 12.5 3.5 1.4 2.9 4.6 -1.2 -1.8
- น้ำมัน -17.5 -20.1 -20.1 -4.3 -5.1 -5.4 -5.4 -6.8 -2.4
- สินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน 10.1 21.1 32.6 7.7 6.5 8.3 10.0 5.6 0.6
ทีมา ธนาคารแห่งประเทศไทย
*ข้อมูลเดือนเมษายนจากกระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ ดุลการค้า (ตามสถิติดุลการชำระเงิน) ในไตรมาสแรกขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(ii) การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นมาก สินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยของกลุ่มผู้ที่มีอำนาจซื้อสูงเพิ่มขึ้นมากในภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
(iii) ปริมาณการนำเข้าเหล็ก และทองคำเพิ่มขึ้นมากในภาวะที่คาดว่าราคาจะยังสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสถานการณ์เดียวกับในปี 2548 ที่ได้นำไปสู่การกำหนดให้น้ำมัน เหล็ก และทองคำ เป็นกลุ่มสินค้านำเข้าภายใต้การบริหารจัดการ
(iv) ความต้องการสินค้าทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปตามการฟื้นตัวของการลงทุน ซึ่งเป็นการนำเข้าที่มีความจำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สินค้าทุนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(v) อัตราการค้าลดลง (term of trade) จากการที่ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้นช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้านำเข้า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากทำให้ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้าออกแม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะสูงขึ้นมากก็ตาม แต่โดยเปรียบเทียบแล้วสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันต่อการนำเข้ารวมนั้นสูงกว่าสัดส่วนพืชเกษตรส่งออกต่อมูลค่าการส่งออกรวม การที่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ทันกับราคาสินค้านำเข้าจะมีผลให้ต้องใช้การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเพื่อชำระค่าสินค้านำเข้าในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ดุลการค้าขาดดุลได้ง่ายฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลลดลง ถ้าหากการเคลื่อนย้ายเงินทุนไม่สามารถชดเชยได้จะทำให้ดุลการชำระเงินลดลง และเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวขึ้นจะยังเป็นแรงจูงใจให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนสู่ประเทศไทย และช่วยชดเชยฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงได้ในบางส่วน
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดลงในเดือนเมษายนที่ผ่านมาหลังจากที่เริ่มเพิ่มขึ้นมาตั้งเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการผลักดันการฟื้นตัว แต่มีหลายปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของประชาชน ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศ และราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่เร่งดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันให้มีประสิทธิผลโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
(ยังมีต่อ).../ภาวะเศรษฐกิจใน..
- ภาพรวมในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพแต่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากทำให้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามลำดับและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
- ในไตรมาสแรกอัตราการว่างงานเฉลี่ยยังต่ำที่ร้อยละ 1.6 เท่ากับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว
- แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 5.0 สูงขึ้น ตามลำดับจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 (และล่าสุดในเดือนเมษายนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 และเฉลี่ย 4 เดือนเท่ากับร้อยละ 5.3 โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 2.7 นั้นมาจากการที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น) ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นมีลักษณะที่เป็นฐานกว้างมากขึ้น แรงกดดันต่อเงินเฟ้อพื้นฐานจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 0.8 และ 1.1 ในไตรมาสสามและสี่ปี 2550 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 2.1 ในเดือนเมษายน
Contribution to CPI
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 2548 2549 2550 4 เดือนแรกของปี2550
รวมทุกรายการ 4.5 4.7 2.3 5.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.8 1.6 1.5 2.7
ข้าว 0.0 0.1 0.2 0.2
เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 0.4 0.2 0.0 0.6
ผัก และผลไม้ 0.8 0.8 0.6 0.5
หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 2.2 2.0 0.5 2.0
ค่าโดยสารสาธารณะ 0.6 0.8 0.1 0.1
น้ำมันเชื้อเพลิง 2.4 1.6 0.3 2.3
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม 2.7 2.9 0.7 2.5
ที่มา กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ:
(ก) สถาบันรับฝากเงินอื่น ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน และธนาคารเฉพาะกิจ
- ดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่ดุลบริการและรายได้เกินดุลสูงกว่าแนวโน้มปกติซึ่งเป็นผลจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมาก และมีรายได้จากผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้น จึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามเป็นการเกินดุลที่ต่ำ กว่าการเกินดุลจำ นวน 4,689.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกปี 2550
- ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมเพิ่มขึ้นและมีการปรับโครงสร้างการใช้พลังงานให้สมดุลมากขึ้น
- สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องชี้ว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2548 ที่มีการลอยตัวราคาน้ำมันเป็นต้นมา โดยในปี 2550 สัดส่วนปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.95 ลดลงจากร้อยละ 0.9625 ในปี 2549 และไตรมาสแรกของปี 2551 สัดส่วนการใช้น้ำมันสำเร็จรูปต่อ GDP ยังคงลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.9184 นอกจากนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือก เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซลและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้พลังงาน
(%MoM) ------------ 2550 ------------- 2551
ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1
การใช้ผลิตภัณฑ์
ปิโตรเลียมรวม 2.7 2.3 3.8 2.4 0.9
น้ำมันเบนซิน 1.69 2.11 4.39 -1.71 -1.92
ออกเทน (91+95) -6.1 -0.2 -4.7 -18.78 -26.42
แก๊สโซฮอล์ 37.79 12.91 46.23 77.03 111.95
น้ำมันดีเซล 2.13 0.73 5.61 1.81 -0.37
หมุนเร็ว+หมุนช้า -1.22 -1.17 1.78 -4.15 -10.23
หมุนเร็ว บี5 1360.62 1081.61 1768.31 1391.93 787.29
ก๊าซแอลพีจี 14.3 12.59 13.59 18.15 17.59
ก๊าซธรรมชาติสำหรับ
รถยนต์ 117.61 102.92 113.29 139.8 190.52
สถานการณ์การใช้น้ำมันโดยเฉพาะในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นสะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีความสมดุลมากขึ้น จากอดีตที่ประเทศไทยเคยพึ่งพาน้ำมันดีเซลและเบนซินเป็นหลักแต่ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การใช้พลังงานชนิดอื่น เช่น ก๊าซธรรมชาติและไบโอดีเซล มากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางด้านพลังงานเชื้อเพลิงลดลง
ในไตรมาสแรกปริมาณการใช้พลังงานทางเลือกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.9 ในขณะที่การใช้ไบโอดีเซล (บี5)เพิ่มขึ้นร้อยละ 787.3 จากฐานการใช้ที่ยังต่ำ มากเช่นเดียวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 190.5 ในขณะที่ปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชนิดอื่นๆ เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันเบนซินธรรมดาลดลงต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 0.4 15.4 และ 4.2 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมการใช้ของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือกที่มีราคาถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลที่ราคายังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โครงสร้างการใช้พลังงานในสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ มีความสมดุลมากขึ้น เช่น ภาคขนส่งจากที่เคยพึ่งพาน้ำมันเบนซินและดีเซลเป็นหลัก เริ่มปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น และการผลิตไฟฟ้าปรับเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเตามาสู่ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังต้องดูแลโครงสร้างการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ ไม่ให้บิดเบือนผิดกลุ่มเป้าหมายและให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการใช้ก๊าซแอลพีจีที่ถูกนำมาใช้ในรถยนต์นั้นปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลิตภาพแรงงาน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 ในไตรมาสแรกของปีนี้
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการส่งออกทำให้การส่งออกยังขยายตัวได้ดีในช่วงปี 2551 โครงสร้างการส่งออกของไทยที่เปลี่ยนไปทำ ให้ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกของไทยมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมหลักและภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมน้อยลง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่
- โครงสร้างตลาดส่งออกของประเทศไทยมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยที่การพึ่งพิงตลาดส่งออกใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในขณะที่การพึ่งพิงตลาดหลัก ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสัดส่วนลดลง ประเทศที่กลายเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศไทยได้แก่ ประเทศจีนเอเชียในภาพรวม และยุโรปตะวันออก มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วขึ้นกว่ากลุ่มประเทศอื่น ซึ่งประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะเอเชียกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก (growth engine) ที่สำคัญมากขึ้น โดยมีสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกที่สูงขึ้น
- ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบมากขึ้นจากการขยายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติโดยที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีวงจรชีวิตสั้นลง (product life cycle) อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เร็วขึ้น ประกอบกับได้รับประโยชน์จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของดิจิตอลมากขึ้น (digital content) สำหรับรถยนต์นั้นมีการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้นภายหลังข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก
- ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำ คัญ (ข้าว มันสำ ปะหลัง ข้าวโพด และ ยางพารา) สูงขึ้นมากตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ และราคาน้ำมัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการพืชพลังงานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก และผลผลิตข้าวสาลีในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากผลกระทบภัยธรรมชาติในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเวียดนามได้ลดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปี 2551 ลง
- ข้อจำกัดและข้อควรระวังของเศรษฐกิจไทย
- ราคาน้ำ มันที่เพิ่มสูงขึ้นมากส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของประชาชนทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันและค่าเดินทางโดยตรง และผลกระทบผ่านทางราคาสินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะราคาอาหารซึ่งเป็นหมวดการใช้จ่ายจำเป็นของประชาชน (สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 20.5 ของการใช้จ่ายรวม) นั้นจะได้ผลกระทบจากหลายด้านทั้งค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน และผลกระทบจากวิกฤตการราคาข้าวสูงขึ้นมาก โดยที่ผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มรายได้น้อยและประชาชนในชนบทนั้นจะมากกว่าผลกระทบโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าใน 4 เดือนแรกอัตราเงินเฟ้อสำหรับกลุ่มที่มีรายได้น้อยเท่ากับร้อยละ 5.6 และกลุ่มประชาชนในชนบทเท่ากับร้อยละ 8.3 สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศ ซึ่งเป็นเพราะสองกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายสำหรับหมวดอาหารต่อการใช้จ่ายรวมในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยของประเทศ
--สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น--
2538 2540 2545 2549 2550 2551Q1
สหรัฐฯ 17.8 19.4 19.8 15.0 12.6 11.7
ญี่ปุ่น 16.8 15.1 14.6 12.6 11.9 11.3
EU 15 15.1 15.9 15.0 13.0 12.8 12.8
อาเซียน (3) 21.7 21.8 19.9 20.8 21.3 21.6
ตะวันออกกลาง 4.5 3.3 3.6 4.4 4.9 4.8
ออสเตรเลีย 1.4 1.6 2.4 3.4 3.8 4.0
จีน 2.9 3.0 5.2 9.0 9.7 9.9
อินเดีย 0.5 0.5 0.6 1.4 1.7 1.7
ฮ่องกง 5.2 5.9 5.4 5.5 5.7 6.1
เกาหลีใต้ 1.4 1.8 2.1 2.1 1.9 1.9
ไต้หวัน 2.4 2.7 2.9 2.6 2.2 1.7
อาฟริกาใต้ 0.4 0.4 0.5 0.8 0.9 0.9
อื่นๆ 9.9 8.3 8.0 9.3 10.6 11.6
ที่มา ธปท.
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลลดลงจากการขาดดุลการค้า ในไตรมาสแรกดุลบริการและรายได้เพิ่มขึ้นมากได้ช่วยชดเชยการค้าขาดดุลการและรักษาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดให้ยังเกินดุล แต่เป็นการเกินดุลที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก สถานการณ์ดังกล่าวชี้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากเงื่อนไข ดังนี้
(i) ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในขณะที่ปริมาณการนำเข้าเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคาดการณ์ราคาสูงขึ้นจึงนำเข้าเพื่อสะสมสต็อก) มีผลทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าน้ำมันถึง 9.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ใน 4 เดือนแรกของปีนี้ ดังนั้นจึงจำ เป็นต้องรณรงค์การประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ มันและการใช้พลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่อง
ดุลการค้าสินค้า และน้ำมัน
พันล้านดอลลาร์ สรอ. ----------- 2550----------- --- 2551 ---
2548 2549 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1* เม.ย.*
ดุลการค้า(ตามสถิติศุลกากร) -7.3 0.9 12.5 3.5 1.4 2.9 4.6 -1.2 -1.8
- น้ำมัน -17.5 -20.1 -20.1 -4.3 -5.1 -5.4 -5.4 -6.8 -2.4
- สินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน 10.1 21.1 32.6 7.7 6.5 8.3 10.0 5.6 0.6
ทีมา ธนาคารแห่งประเทศไทย
*ข้อมูลเดือนเมษายนจากกระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ ดุลการค้า (ตามสถิติดุลการชำระเงิน) ในไตรมาสแรกขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(ii) การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นมาก สินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยของกลุ่มผู้ที่มีอำนาจซื้อสูงเพิ่มขึ้นมากในภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
(iii) ปริมาณการนำเข้าเหล็ก และทองคำเพิ่มขึ้นมากในภาวะที่คาดว่าราคาจะยังสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสถานการณ์เดียวกับในปี 2548 ที่ได้นำไปสู่การกำหนดให้น้ำมัน เหล็ก และทองคำ เป็นกลุ่มสินค้านำเข้าภายใต้การบริหารจัดการ
(iv) ความต้องการสินค้าทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปตามการฟื้นตัวของการลงทุน ซึ่งเป็นการนำเข้าที่มีความจำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สินค้าทุนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(v) อัตราการค้าลดลง (term of trade) จากการที่ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้นช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้านำเข้า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากทำให้ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้าออกแม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะสูงขึ้นมากก็ตาม แต่โดยเปรียบเทียบแล้วสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันต่อการนำเข้ารวมนั้นสูงกว่าสัดส่วนพืชเกษตรส่งออกต่อมูลค่าการส่งออกรวม การที่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ทันกับราคาสินค้านำเข้าจะมีผลให้ต้องใช้การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเพื่อชำระค่าสินค้านำเข้าในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ดุลการค้าขาดดุลได้ง่ายฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลลดลง ถ้าหากการเคลื่อนย้ายเงินทุนไม่สามารถชดเชยได้จะทำให้ดุลการชำระเงินลดลง และเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวขึ้นจะยังเป็นแรงจูงใจให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนสู่ประเทศไทย และช่วยชดเชยฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงได้ในบางส่วน
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดลงในเดือนเมษายนที่ผ่านมาหลังจากที่เริ่มเพิ่มขึ้นมาตั้งเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการผลักดันการฟื้นตัว แต่มีหลายปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของประชาชน ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศ และราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่เร่งดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันให้มีประสิทธิผลโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
(ยังมีต่อ).../ภาวะเศรษฐกิจใน..