2. ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ในช่วงที่เหลือของปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาวะความผันผวนในภาคการเงินมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐอย่างชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายนแสดงให้เห็นว่าภาวะความผันผวนในภาคการเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียแม้ว่าจะยังคงมีแนวโน้มของการขยายตัวในเกณฑ์ดีจากการประเมินสถานการณ์ล่าสุด คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.9 ในปี 2550 ขณะที่การปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของภาวะเงินเฟ้อจะเป็นข้อจำกัดของการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและเป็นข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา %)
2549 ----------- 2550 ------------ 2551f
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี ณ.ก.พ. ณ เม.ย.
โลก * 4.9 4.6 5.0 5.3 4.7 5.0 4.1 3.8
USA 2.9 1.5 1.9 2.8 2.5 2.2 1.2 1.0
กลุ่มยูโร 2.9 3.1 2.5 2.6 2.2 2.6 2.0 1.4
ญี่ปุ่น 2.2 2.8 1.6 1.9 1.8 2.1 1.6 1.4
สิงคโปร์ 8.2 6.4 8.7 8.9 5.4 7.7 6.0 4.0
เกาหลีใต้ 5.0 4.0 4.9 5.2 5.7 4.9 4.5 4.2
ฟิลิปปินส์ 5.4 7.1 7.5 6.6 7.4 7.3 6.0 5.8
มาเลเซีย 5.9 5.5 5.7 6.7 7.3 6.3 5.5 5.0
จีน 11.1 11.1 11.9 11.5 11.2 11.4 10.0 9.3
เวียดนาม 8.2 7.7 8.8 8.7 9.3 8.4 8.0 7.3
ที่มา จาก CEIC หน่วยงานภาครัฐและค่าเฉลี่ยจากหลายแห่ง
2.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2551: การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขึ้น แต่การส่งออกชะลอตัว แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
2.2.1 ประเด็นหลัก
- เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นแรงส่งให้กับระบบเศรษฐกิจ(economic momentum) และยังมีปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีในไตรมาสแรกการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่อง และในช่วงต่อไปยังมีปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัว ได้แก่ (i) อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ (ii) ฐานรายได้ของประชาชนหลายกลุ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งกลุ่มเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าเกษตรหลัก (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังปาล์มน้ำมัน) ที่ยังสูงกว่าในปีที่ผ่านมา (iii) การปรับเพิ่มเงินเดือนภาคราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีผลเต็มที่ในปี 2551 รวมทั้งการปรับเพิ่มเติมที่จะมีผลในเดือนกรกฎาคมนี้ และการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเติมที่จะเริ่มมีผลในเดือนมิถุนายนนี้ รวมกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 1-7 บาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมาและ (iv) การดำเนินมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนรวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วยมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- แต่ในช่วงต่อไปมีประเด็นความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการเพื่อไม่ให้กลายเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมประเด็นความเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปี ประกอบด้วย (i)การเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมัน ราคาอาหารและค่าครองชีพโดยภาพรวม และนอกจากนี้ภาวะตลาดแรงงานที่ค่อนข้างตึงตัวและอัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับที่สูงแล้วจะมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ง่ายขึ้นหากการปรับเพิ่มประสิทธิภาพยังช้า (ii) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากการที่การนำเข้าที่เพิ่มเร็วและขาดดุลน้ำมันมาก (iii) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มลดลงในเดือนเมษายนในภาวะที่ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการดำเนินการเพิ่มขึ้นรวมทั้งมีความขัดแย้งภายในประเทศต่อประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ (iv) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวจากผลกระทบจากปัญหา sub-prime ที่เริ่มต้นในปี 2550 ต่อเศรษฐกิจจริงมีมากขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องต่อการส่งออกของประเทศต่าง ๆ ชัดเจนมากขึ้นในปีนี้
- การประเมินสถานการณ์ในไตรมาสแรก ปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยเสี่ยง ในช่วงที่เหลือของปี 2551 ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงกว่าในปี 2550 และองค์ประกอบของการขยายตัวจะมีความสมดุลมากขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากขึ้นในขณะที่ปริมาณการส่งออกสุทธิจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้น้อยกว่าในปี 2550 แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี แต่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออกมาก
2.2.2 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
- เศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ3.8 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2550 และเป็นการปรับลดจากสมมุติฐานเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นการปรับลดการขยายตัวของทุกประเทศเศรษฐกิจหลักและกลุ่มประเทศสำคัญในเอเชีย ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป จีน และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียน (5) การปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงว่าผลกระทบปัญหาsub-prime ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นรุนแรงกว่าที่คาดและในปี 2551 ผลกระทบต่อเนื่องต่อการส่งออกของญี่ปุ่น ยุโรป และเอเชียชัดเจนมากขึ้น ขณะที่การกระตุ้นการลงทุนในประเทศทำให้หลายประเทศมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากและมีผลให้การส่งออกสุทธิสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง
(2) ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากจะเป็นข้อจำกัดต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
(3) อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมากในทุกประเทศจากราคาน้ำ มันและราคาอาหารที่สูงขึ้นมาก โดยที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าต่าง ๆ เป็นฐานกว้างมากขึ้น และกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จึงระมัดระวังที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ
- ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะเท่ากับ 110-120 ดอลลาร์สรอ. ปรับเพิ่มขึ้นจากสมมุติฐานเดิมบาเรลละ 80-85 ดอลลาร์ สรอ.(ช) และสูงกว่าราคาเฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปี 2550 ทั้งนี้ในไตรมาสแรกราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 91.50 ดอลลาร์ สรอ. และตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม ราคาเฉลี่ยเท่ากับบาเรลละ 97.97 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 67.10 โดย ณ วันที่ 22 พฤษภาคม ราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้นเป็น 128.98 ดอลลาร์ สรอ. การปรับสมมุติฐานราคาน้ำมันสูงขึ้นในการประมาณการครั้งนี้เป็นการปรับตามราคาจริงในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่สูงกว่าที่คาด และคาดว่าตลาดน้ำมันจะยังอยู่ในภาวะตึงตัวประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยยังอ่อนค่าลงแต่คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอลงเล็กน้อยในครึ่งหลังตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินดอลลาร์สรอ. ที่คาดว่าจะเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
หมายเหตุ:
(ช) EIA ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI ในปี 2551 เป็น 110 ดอลลาร์ สรอ. และลดลงเล็กน้อยเป็น 103 ดอลลาร์ในปี 2552 (จากคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายนบาเรลละ 101 ดอลลาร์ในปี 2551) ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยบาเรลละ 72 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 และLehmanBrothers คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปี 2551 ที่บาเรลละ 103 ดอลลาร์ สรอ. (จาก 72.60 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550) ก่อนที่ลดลงเป็นบาเรลละ 83 ดอลลาร์ในปี 2552
ราคาน้ำมันดิบและราคาขายปลีกในประเทศ
2549 2550 2551
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรลและ บาทต่อลิตร ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 22 พ.ค.
โอมาน 62.6 55.7 65.2 70.7 83.41 68.75 92.34 129.12
ดูไบ 61.5 55.4 64.8 70.1 85.10 68.83 91.50 128.98
สิงคโปร์ 95 73.2 68.3 85.7 81.7 95.79 82.88 105.1 140.55
สิงคโปร์ HSD 76.5 69.7 81.3 86.5 102.60 86.87 114.4 173.10
ราคาขายปลีกเบนซิน 95 27.6 25.8 29.6 28.8 31.69 29.18 33.05 39.09
ราคาขายปลีกดีเซล 25.6 23.4 25.2 25.9 28.45 25.66 29.36 35.94
ที่มา สำนักงานนโยบายพลังงาน
- ราคาสินค้าออกสินค้าในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ซึ่งราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาส่งออกจะทำให้ประเทศเสียเปรียบอัตราการค้า (Term of trade)มากขึ้นในปีนี้ ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันนำเข้าและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่เพิ่มเร็วกว่าราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมส่งออกของไทย
2.2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.3-5.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP
(1) การแถลงข่าววันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2551 ในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.2-3.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 4.1 ของ GDP
(2) ในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ สศช. ได้คงการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551 ไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.5-5.5 แม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่คาดไว้ ด้วยเหตุผล ดังนี้
(2.1) เศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวสูงกว่าที่คาดไว้ และจะเป็นแรงส่งที่ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง
(2.2) ปริมาณการส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้เดิม ทั้งในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรมีมากขึ้น
(2.3) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงตามเป้าหมายจำนวน 15.7 ล้านคน โดยที่ในไตรมาสแรกมีจำนวน 4.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันถึงร้อยละ 13.3
(2.4) ปัจจัยสนับสนุนที่จะมาชดเชยให้การใช้จ่ายและการลงทุนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับที่ประมาณการไว้เดิม ประกอบด้วย การปรับเพิ่มเงินเดือนและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุน มาตรการสินเชื่อสำหรับประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น
2.2.4 องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551 องค์ประกอบการขยายตัวของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์มีแนวโน้มที่จะมีความสมดุลมากขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศสนับสนุนการขยายตัวได้มากขึ้นกว่าในปี 2550 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง โดยมีองค์ประกอบการขยายตัว ดังนี้
(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี2550 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นคงประมาณการอัตราการขยายตัวที่ระดับเดิมแม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากคาดว่ามาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายที่ออกมาเพิ่มเติมจะช่วยชดเชยผลกระทบ (มาตรการภาษี การปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างขั้นต่ำ และราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นมาก) สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 โดยที่การเบิกจ่ายจะเร่งตัวมากขึ้นในครึ่งหลัง
(2) การลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ปรับตัวดีขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 1.4 ในปี 2550 และเป็นการปรับประมาณการสูงขึ้นจากร้อยละ 6.7 โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.3 (ปรับเพิ่มจากการประมาณการเดิมร้อยละ 7.0) และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 6.0 การปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนนั้น พิจารณาจากการลงทุนปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดในไตรมาสแรกและการนำ เข้าสินค้าทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากประกอบกับการออกมาตรการเพิ่มเติมของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน อาทิ
- มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและ SMEs (ประกอบด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แก่ห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลตามพรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และมีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วน 150,000 แรก (เดิมที่ต้องเสีย 15%) แก่บริษัทหรือห้าง นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท (SME ที่เข้าเกณฑ์ประหยัดรายจ่าย รายละ 22,500 บาท)
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน/เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ การให้บริษัทหรือห้างนิติบุคคลสามารถหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรได้มากขึ้น การยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเพื่อติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การที่บริษัทหรือห้างนิติบุคคลสามารถหักค่าเสื่อมราคา Software ได้ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี การลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 0.1 สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ และการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอน และการจดทะเบียนจำ นองอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 0.01
- โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการเดิมร้อยละ 12.0 แต่ยังเป็นการชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 ในปี 2550 โดยปรับการประมาณการขยายตัวของปริมาณการส่งออกเป็นร้อยละ 6.3 เป็นการปรับเพิ่มตามสถานการณ์ล่าสุดที่แสดงว่าใน 4 เดือนแรกของปี ปริมาณการส่งออกยังขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณการส่งออกจะชะลอลงในช่วงที่เหลือของปีตามภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และเป็นการชะลอตัวลงจากฐานการส่งออกที่สูงในปีที่แล้วนอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มแนวโน้มราคาส่งออกให้สูงขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร สำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีประกอบด้วยข้าวมันสำปะหลังอาหารอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
(4) มูลค่าการนำเข้าจะเร่งตัวขึ้นมากตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 9.6 ในปี 2550 มาก และเป็นการปรับเพิ่มการประมาณการจากเดิมร้อยละ 15.4 โดยปรับเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาสินค้านำเข้าตามสถานการณ์ล่าสุดที่แสดงว่าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดมาก
(5) ดุลการค้าคาดว่าจะยังเกินดุล แต่เป็นการเกินดุลเพียงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุล จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 6.0 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือร้อยละ 2.0 ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เดิมที่ว่าจะเกินดุลประมาณร้อยละ 4.1 ของ GDP
(6) ในปี 2551 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3-5.8 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 3.2-3.7 เนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก การปรับเพิ่มราคาวัตถุดิบ ราคาอาหารและสินค้าเกษตรสูงขึ้น และการปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้าง ประกอบกับความต้องการสินค้าและบริการในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(ยังมีต่อ).../2.2.5 การประมาณการ..
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ในช่วงที่เหลือของปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาวะความผันผวนในภาคการเงินมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐอย่างชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายนแสดงให้เห็นว่าภาวะความผันผวนในภาคการเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียแม้ว่าจะยังคงมีแนวโน้มของการขยายตัวในเกณฑ์ดีจากการประเมินสถานการณ์ล่าสุด คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.9 ในปี 2550 ขณะที่การปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของภาวะเงินเฟ้อจะเป็นข้อจำกัดของการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและเป็นข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา %)
2549 ----------- 2550 ------------ 2551f
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี ณ.ก.พ. ณ เม.ย.
โลก * 4.9 4.6 5.0 5.3 4.7 5.0 4.1 3.8
USA 2.9 1.5 1.9 2.8 2.5 2.2 1.2 1.0
กลุ่มยูโร 2.9 3.1 2.5 2.6 2.2 2.6 2.0 1.4
ญี่ปุ่น 2.2 2.8 1.6 1.9 1.8 2.1 1.6 1.4
สิงคโปร์ 8.2 6.4 8.7 8.9 5.4 7.7 6.0 4.0
เกาหลีใต้ 5.0 4.0 4.9 5.2 5.7 4.9 4.5 4.2
ฟิลิปปินส์ 5.4 7.1 7.5 6.6 7.4 7.3 6.0 5.8
มาเลเซีย 5.9 5.5 5.7 6.7 7.3 6.3 5.5 5.0
จีน 11.1 11.1 11.9 11.5 11.2 11.4 10.0 9.3
เวียดนาม 8.2 7.7 8.8 8.7 9.3 8.4 8.0 7.3
ที่มา จาก CEIC หน่วยงานภาครัฐและค่าเฉลี่ยจากหลายแห่ง
2.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2551: การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขึ้น แต่การส่งออกชะลอตัว แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
2.2.1 ประเด็นหลัก
- เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นแรงส่งให้กับระบบเศรษฐกิจ(economic momentum) และยังมีปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีในไตรมาสแรกการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่อง และในช่วงต่อไปยังมีปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัว ได้แก่ (i) อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ (ii) ฐานรายได้ของประชาชนหลายกลุ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งกลุ่มเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าเกษตรหลัก (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังปาล์มน้ำมัน) ที่ยังสูงกว่าในปีที่ผ่านมา (iii) การปรับเพิ่มเงินเดือนภาคราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีผลเต็มที่ในปี 2551 รวมทั้งการปรับเพิ่มเติมที่จะมีผลในเดือนกรกฎาคมนี้ และการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเติมที่จะเริ่มมีผลในเดือนมิถุนายนนี้ รวมกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 1-7 บาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมาและ (iv) การดำเนินมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนรวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วยมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- แต่ในช่วงต่อไปมีประเด็นความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการเพื่อไม่ให้กลายเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมประเด็นความเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปี ประกอบด้วย (i)การเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมัน ราคาอาหารและค่าครองชีพโดยภาพรวม และนอกจากนี้ภาวะตลาดแรงงานที่ค่อนข้างตึงตัวและอัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับที่สูงแล้วจะมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ง่ายขึ้นหากการปรับเพิ่มประสิทธิภาพยังช้า (ii) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากการที่การนำเข้าที่เพิ่มเร็วและขาดดุลน้ำมันมาก (iii) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มลดลงในเดือนเมษายนในภาวะที่ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการดำเนินการเพิ่มขึ้นรวมทั้งมีความขัดแย้งภายในประเทศต่อประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ (iv) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวจากผลกระทบจากปัญหา sub-prime ที่เริ่มต้นในปี 2550 ต่อเศรษฐกิจจริงมีมากขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องต่อการส่งออกของประเทศต่าง ๆ ชัดเจนมากขึ้นในปีนี้
- การประเมินสถานการณ์ในไตรมาสแรก ปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยเสี่ยง ในช่วงที่เหลือของปี 2551 ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงกว่าในปี 2550 และองค์ประกอบของการขยายตัวจะมีความสมดุลมากขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากขึ้นในขณะที่ปริมาณการส่งออกสุทธิจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้น้อยกว่าในปี 2550 แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี แต่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออกมาก
2.2.2 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
- เศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ3.8 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2550 และเป็นการปรับลดจากสมมุติฐานเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นการปรับลดการขยายตัวของทุกประเทศเศรษฐกิจหลักและกลุ่มประเทศสำคัญในเอเชีย ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป จีน และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียน (5) การปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงว่าผลกระทบปัญหาsub-prime ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นรุนแรงกว่าที่คาดและในปี 2551 ผลกระทบต่อเนื่องต่อการส่งออกของญี่ปุ่น ยุโรป และเอเชียชัดเจนมากขึ้น ขณะที่การกระตุ้นการลงทุนในประเทศทำให้หลายประเทศมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากและมีผลให้การส่งออกสุทธิสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง
(2) ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากจะเป็นข้อจำกัดต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
(3) อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมากในทุกประเทศจากราคาน้ำ มันและราคาอาหารที่สูงขึ้นมาก โดยที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าต่าง ๆ เป็นฐานกว้างมากขึ้น และกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จึงระมัดระวังที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ
- ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะเท่ากับ 110-120 ดอลลาร์สรอ. ปรับเพิ่มขึ้นจากสมมุติฐานเดิมบาเรลละ 80-85 ดอลลาร์ สรอ.(ช) และสูงกว่าราคาเฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปี 2550 ทั้งนี้ในไตรมาสแรกราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 91.50 ดอลลาร์ สรอ. และตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม ราคาเฉลี่ยเท่ากับบาเรลละ 97.97 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 67.10 โดย ณ วันที่ 22 พฤษภาคม ราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้นเป็น 128.98 ดอลลาร์ สรอ. การปรับสมมุติฐานราคาน้ำมันสูงขึ้นในการประมาณการครั้งนี้เป็นการปรับตามราคาจริงในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่สูงกว่าที่คาด และคาดว่าตลาดน้ำมันจะยังอยู่ในภาวะตึงตัวประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยยังอ่อนค่าลงแต่คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอลงเล็กน้อยในครึ่งหลังตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินดอลลาร์สรอ. ที่คาดว่าจะเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
หมายเหตุ:
(ช) EIA ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI ในปี 2551 เป็น 110 ดอลลาร์ สรอ. และลดลงเล็กน้อยเป็น 103 ดอลลาร์ในปี 2552 (จากคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายนบาเรลละ 101 ดอลลาร์ในปี 2551) ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยบาเรลละ 72 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 และLehmanBrothers คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปี 2551 ที่บาเรลละ 103 ดอลลาร์ สรอ. (จาก 72.60 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550) ก่อนที่ลดลงเป็นบาเรลละ 83 ดอลลาร์ในปี 2552
ราคาน้ำมันดิบและราคาขายปลีกในประเทศ
2549 2550 2551
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรลและ บาทต่อลิตร ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 22 พ.ค.
โอมาน 62.6 55.7 65.2 70.7 83.41 68.75 92.34 129.12
ดูไบ 61.5 55.4 64.8 70.1 85.10 68.83 91.50 128.98
สิงคโปร์ 95 73.2 68.3 85.7 81.7 95.79 82.88 105.1 140.55
สิงคโปร์ HSD 76.5 69.7 81.3 86.5 102.60 86.87 114.4 173.10
ราคาขายปลีกเบนซิน 95 27.6 25.8 29.6 28.8 31.69 29.18 33.05 39.09
ราคาขายปลีกดีเซล 25.6 23.4 25.2 25.9 28.45 25.66 29.36 35.94
ที่มา สำนักงานนโยบายพลังงาน
- ราคาสินค้าออกสินค้าในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ซึ่งราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาส่งออกจะทำให้ประเทศเสียเปรียบอัตราการค้า (Term of trade)มากขึ้นในปีนี้ ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันนำเข้าและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่เพิ่มเร็วกว่าราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมส่งออกของไทย
2.2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.3-5.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP
(1) การแถลงข่าววันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2551 ในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.2-3.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 4.1 ของ GDP
(2) ในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ สศช. ได้คงการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551 ไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.5-5.5 แม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่คาดไว้ ด้วยเหตุผล ดังนี้
(2.1) เศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวสูงกว่าที่คาดไว้ และจะเป็นแรงส่งที่ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง
(2.2) ปริมาณการส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้เดิม ทั้งในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรมีมากขึ้น
(2.3) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงตามเป้าหมายจำนวน 15.7 ล้านคน โดยที่ในไตรมาสแรกมีจำนวน 4.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันถึงร้อยละ 13.3
(2.4) ปัจจัยสนับสนุนที่จะมาชดเชยให้การใช้จ่ายและการลงทุนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับที่ประมาณการไว้เดิม ประกอบด้วย การปรับเพิ่มเงินเดือนและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุน มาตรการสินเชื่อสำหรับประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น
2.2.4 องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551 องค์ประกอบการขยายตัวของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์มีแนวโน้มที่จะมีความสมดุลมากขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศสนับสนุนการขยายตัวได้มากขึ้นกว่าในปี 2550 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง โดยมีองค์ประกอบการขยายตัว ดังนี้
(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี2550 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นคงประมาณการอัตราการขยายตัวที่ระดับเดิมแม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากคาดว่ามาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายที่ออกมาเพิ่มเติมจะช่วยชดเชยผลกระทบ (มาตรการภาษี การปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างขั้นต่ำ และราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นมาก) สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 โดยที่การเบิกจ่ายจะเร่งตัวมากขึ้นในครึ่งหลัง
(2) การลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ปรับตัวดีขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 1.4 ในปี 2550 และเป็นการปรับประมาณการสูงขึ้นจากร้อยละ 6.7 โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.3 (ปรับเพิ่มจากการประมาณการเดิมร้อยละ 7.0) และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 6.0 การปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนนั้น พิจารณาจากการลงทุนปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดในไตรมาสแรกและการนำ เข้าสินค้าทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากประกอบกับการออกมาตรการเพิ่มเติมของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน อาทิ
- มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและ SMEs (ประกอบด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แก่ห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลตามพรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และมีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วน 150,000 แรก (เดิมที่ต้องเสีย 15%) แก่บริษัทหรือห้าง นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท (SME ที่เข้าเกณฑ์ประหยัดรายจ่าย รายละ 22,500 บาท)
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน/เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ การให้บริษัทหรือห้างนิติบุคคลสามารถหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรได้มากขึ้น การยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเพื่อติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การที่บริษัทหรือห้างนิติบุคคลสามารถหักค่าเสื่อมราคา Software ได้ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี การลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 0.1 สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ และการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอน และการจดทะเบียนจำ นองอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 0.01
- โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการเดิมร้อยละ 12.0 แต่ยังเป็นการชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 ในปี 2550 โดยปรับการประมาณการขยายตัวของปริมาณการส่งออกเป็นร้อยละ 6.3 เป็นการปรับเพิ่มตามสถานการณ์ล่าสุดที่แสดงว่าใน 4 เดือนแรกของปี ปริมาณการส่งออกยังขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณการส่งออกจะชะลอลงในช่วงที่เหลือของปีตามภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และเป็นการชะลอตัวลงจากฐานการส่งออกที่สูงในปีที่แล้วนอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มแนวโน้มราคาส่งออกให้สูงขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร สำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีประกอบด้วยข้าวมันสำปะหลังอาหารอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
(4) มูลค่าการนำเข้าจะเร่งตัวขึ้นมากตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 9.6 ในปี 2550 มาก และเป็นการปรับเพิ่มการประมาณการจากเดิมร้อยละ 15.4 โดยปรับเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาสินค้านำเข้าตามสถานการณ์ล่าสุดที่แสดงว่าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดมาก
(5) ดุลการค้าคาดว่าจะยังเกินดุล แต่เป็นการเกินดุลเพียงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุล จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 6.0 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือร้อยละ 2.0 ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เดิมที่ว่าจะเกินดุลประมาณร้อยละ 4.1 ของ GDP
(6) ในปี 2551 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3-5.8 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 3.2-3.7 เนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก การปรับเพิ่มราคาวัตถุดิบ ราคาอาหารและสินค้าเกษตรสูงขึ้น และการปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้าง ประกอบกับความต้องการสินค้าและบริการในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(ยังมีต่อ).../2.2.5 การประมาณการ..