เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมผู้บริหาร สศช. ได้ร่วมกันแถลงรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2/2548 ณ ห้องประชาสังคม สศช. เลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานฯ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางสังคมในช่วงไตรมาสที่สองที่ผ่านมา สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้
ภาวะสังคมไทยไตรมาสที่สองปี 2548
- คุณภาพคน : พบว่ากำลังแรงงานมีการศึกษาสูงขึ้น เนื่องจากการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การจ้างงานภาคเกษตรลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.71 ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.62 จากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยว ทำให้อัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 2.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2547 อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานของผู้มีการศึกษาระดับประถมและต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ ปวส. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ความมั่นคงทางสังคม : อาชญากรรมยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งคดีชีวิต ร่างกายและเพศ และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2548 ร้อยละ 2.16 และ 4.39 ตามลำดับ โดยเฉพาะคดียาเสพติดมีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 เนื่องจากยังมีการดำเนินนโยบายการปราบปรามที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการกระทำผิดคดีอาญาเพิ่มขึ้น โดยมีการรับแจ้งเกี่ยวกับเว็บผิดกฎหมายเพิ่มจาก 4,266 คดี ในปี 2545 (เม.ย.-ธ.ค.) เป็น 10,630 คดี และ 6,687 คดีในปี 2547 และ 2548 (ม.ค.-22 ส.ค.) ตามลำดับ โดยเป็นเว็บเกี่ยวกับการขายบริการทางเพศ วัตถุและภาพลามกอนาจาร ประมาณร้อยละ 80
การสร้างหลักประกันด้านรายได้ในลักษณะกองทุนต่าง ๆ ในปี 2547 กองทุนมีเงินสะสม 7.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากปี 2546 เป็นเงินในกองทุนประกันสังคม 1.7 แสนล้านบาท กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2.47 แสนล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.93 แสนล้านบาท ครอบคลุมกำลังแรงงานประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาความมั่นคงของกองทุนและรายได้หลังเกษียณอายุไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงมีนโยบายจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติเพื่อครอบคลุมแรงงานในระบบทั้งหมด 12.45 ล้านคน ส่วนแรงงานนอกระบบมีการออมโดยใช้ชุมชนเป็นกลไกดำเนินการ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงให้ผู้สูงอายุมีรายได้พอเพียงและสามารถเพิ่มเงินออมให้กับประเทศ
- พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : ประชาชนมีการอ่านจากอินเทอร์เน็ต 2.0 ล้านคน เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปีมากที่สุด คือร้อยละ 15.8 รองลงมาเป็นเด็กอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 3.8 โดยนิยมอ่านสารคดี/ความรู้ทั่วไป และข่าวกว่าร้อยละ 60 สำหรับสถานที่ในการอ่านอินเทอร์เน็ตพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 6-9 ปี และ 10-14 ปี จะใช้อินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษา ร้อยละ 54.5 และ 44.7 ตามลำดับ
นอกจากนี้ คนไทยมีแนวโน้มไปใช้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนเมื่อเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.2 ในปี 2534 เป็นร้อยละ 77.5 ในปี 2545 เนื่องจากความครอบคลุมการประกันสุขภาพ ในขณะที่ การซื้อยากินเองและการรักษาแบบพื้นบ้านมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมบริการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาใช้รักษาในสถานพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้น
สำหรับความเป็นอยู่ของข้าราชการพบว่า ปี 2547 สัดส่วนของข้าราชการที่มีบ้านและที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ 23.4 อยู่ระหว่างผ่อนชำระร้อยละ 29.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.7 ในปี 2542 และไม่มีบ้านและที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ 34.5 ลดลงจาก 37.2 ในปี 2542
- สิ่งแวดล้อม : การใช้สารเคมีเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 24,974 ตัน เพิ่มร้อยละ 17 จากไตรมาสแรกในปีเดียวกัน เกษตรกรได้รับผลกระทบจากสารเคมีและเกิดปัญหาตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบ ปริมาณขยะชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น 14.6 ล้านตัน นำกลับมาใช้ใหม่ 3.1 ล้านตัน เป็นขยะรีไซเคิล 2.9 ล้านตัน อยู่ในรูปปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวิภาพ 0.2 ล้านตัน ในภาคเกษตรมีขยะอินทรีย์ประมาณ 82.2 ล้านตัน นำมาใช้ใหม่ 18.6 ล้านตัน ซึ่งยังไม่มากเท่าที่ควร การนำขยะอินทรีย์มาผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในวงแคบ มาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างพลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ปัญหา “ข่มขืน” ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
- สถานการณ์และรูปแบบการข่มขืนเปลี่ยนไป ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมิใช่เฉพาะหญิงสาวเท่านั้น แต่มีตั้งแต่อายุ 2-80 ปี และเหยื่อที่เป็นเด็กชายมีแนวโน้มสูงขึ้น และผู้กระทำผิดไม่ใช่คนแปลกหน้ากับเหยื่ออีกต่อไป ร้อยละ 80 เป็นคนรู้จัก หรือคนใกล้ชิดที่ไว้วางใจ เช่น คู่รัก เพื่อน ครู นายจ้าง/ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลในครอบครัว
มีผู้หญิงที่ถูกข่มขืนและแจ้งความเฉลี่ยวันละ 12 ราย ซึ่งจำนวนผู้ถูกข่มขืน และข่มขืนแล้วฆ่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติการแจ้งความในปี 2546 มีจำนวน 4,820 คดี เพิ่มเป็น 5,052 คดี ในปี 2547 โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีถึงร้อยละ 12 ของคดีทั้งหมด และคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว โดยผู้ถูกข่มขืนมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไปแจ้งความ รวมทั้งเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเป็นผู้กระทำผิดมากขึ้น โดยในปี 2547 เพิ่มเป็น 2,416 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.25 จากปี 2546
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดการข่มขืน สื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะซีดี/ดีวีดีโป๊ เป็นสื่อลามกที่อยู่ใกล้ตัวเยาวชนมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ เว็บ รูปภาพ หนังสือ และวิดีโอโป๊ ตามลำดับ เพื่อน เกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบ ค่านิยมการยอมรับในกลุ่ม และความคึกคะนอง ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแต่งกายยั่วยุ และค่านิยมในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สมควร สุราและยาเสพติด เป็นปัจจัยร่วมทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ขาดสติ และความยั้งคิด ครอบครัว ขาดความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัว ความเชื่อ การสร้างค่านิยมในอดีตของสังคมไทย โดยการให้สิทธิ์ และคุณค่าทางเพศที่แตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
- การคลี่คลายผลกระทบที่เกิดขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการชัดเจนในการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กและผู้หญิง ทั้งนี้ แนวทางแก้ปัญหาคือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรให้ความร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหาให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะครอบครัว สถาบันศึกษา ภาครัฐและภาคประชาชน และสื่อมวลชน ฯลฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ภาวะสังคมไทยไตรมาสที่สองปี 2548
- คุณภาพคน : พบว่ากำลังแรงงานมีการศึกษาสูงขึ้น เนื่องจากการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การจ้างงานภาคเกษตรลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.71 ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.62 จากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยว ทำให้อัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 2.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2547 อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานของผู้มีการศึกษาระดับประถมและต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ ปวส. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ความมั่นคงทางสังคม : อาชญากรรมยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งคดีชีวิต ร่างกายและเพศ และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2548 ร้อยละ 2.16 และ 4.39 ตามลำดับ โดยเฉพาะคดียาเสพติดมีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 เนื่องจากยังมีการดำเนินนโยบายการปราบปรามที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการกระทำผิดคดีอาญาเพิ่มขึ้น โดยมีการรับแจ้งเกี่ยวกับเว็บผิดกฎหมายเพิ่มจาก 4,266 คดี ในปี 2545 (เม.ย.-ธ.ค.) เป็น 10,630 คดี และ 6,687 คดีในปี 2547 และ 2548 (ม.ค.-22 ส.ค.) ตามลำดับ โดยเป็นเว็บเกี่ยวกับการขายบริการทางเพศ วัตถุและภาพลามกอนาจาร ประมาณร้อยละ 80
การสร้างหลักประกันด้านรายได้ในลักษณะกองทุนต่าง ๆ ในปี 2547 กองทุนมีเงินสะสม 7.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากปี 2546 เป็นเงินในกองทุนประกันสังคม 1.7 แสนล้านบาท กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2.47 แสนล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.93 แสนล้านบาท ครอบคลุมกำลังแรงงานประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาความมั่นคงของกองทุนและรายได้หลังเกษียณอายุไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงมีนโยบายจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติเพื่อครอบคลุมแรงงานในระบบทั้งหมด 12.45 ล้านคน ส่วนแรงงานนอกระบบมีการออมโดยใช้ชุมชนเป็นกลไกดำเนินการ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงให้ผู้สูงอายุมีรายได้พอเพียงและสามารถเพิ่มเงินออมให้กับประเทศ
- พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : ประชาชนมีการอ่านจากอินเทอร์เน็ต 2.0 ล้านคน เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปีมากที่สุด คือร้อยละ 15.8 รองลงมาเป็นเด็กอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 3.8 โดยนิยมอ่านสารคดี/ความรู้ทั่วไป และข่าวกว่าร้อยละ 60 สำหรับสถานที่ในการอ่านอินเทอร์เน็ตพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 6-9 ปี และ 10-14 ปี จะใช้อินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษา ร้อยละ 54.5 และ 44.7 ตามลำดับ
นอกจากนี้ คนไทยมีแนวโน้มไปใช้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนเมื่อเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.2 ในปี 2534 เป็นร้อยละ 77.5 ในปี 2545 เนื่องจากความครอบคลุมการประกันสุขภาพ ในขณะที่ การซื้อยากินเองและการรักษาแบบพื้นบ้านมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมบริการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาใช้รักษาในสถานพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้น
สำหรับความเป็นอยู่ของข้าราชการพบว่า ปี 2547 สัดส่วนของข้าราชการที่มีบ้านและที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ 23.4 อยู่ระหว่างผ่อนชำระร้อยละ 29.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.7 ในปี 2542 และไม่มีบ้านและที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ 34.5 ลดลงจาก 37.2 ในปี 2542
- สิ่งแวดล้อม : การใช้สารเคมีเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 24,974 ตัน เพิ่มร้อยละ 17 จากไตรมาสแรกในปีเดียวกัน เกษตรกรได้รับผลกระทบจากสารเคมีและเกิดปัญหาตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบ ปริมาณขยะชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น 14.6 ล้านตัน นำกลับมาใช้ใหม่ 3.1 ล้านตัน เป็นขยะรีไซเคิล 2.9 ล้านตัน อยู่ในรูปปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวิภาพ 0.2 ล้านตัน ในภาคเกษตรมีขยะอินทรีย์ประมาณ 82.2 ล้านตัน นำมาใช้ใหม่ 18.6 ล้านตัน ซึ่งยังไม่มากเท่าที่ควร การนำขยะอินทรีย์มาผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในวงแคบ มาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างพลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ปัญหา “ข่มขืน” ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
- สถานการณ์และรูปแบบการข่มขืนเปลี่ยนไป ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมิใช่เฉพาะหญิงสาวเท่านั้น แต่มีตั้งแต่อายุ 2-80 ปี และเหยื่อที่เป็นเด็กชายมีแนวโน้มสูงขึ้น และผู้กระทำผิดไม่ใช่คนแปลกหน้ากับเหยื่ออีกต่อไป ร้อยละ 80 เป็นคนรู้จัก หรือคนใกล้ชิดที่ไว้วางใจ เช่น คู่รัก เพื่อน ครู นายจ้าง/ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลในครอบครัว
มีผู้หญิงที่ถูกข่มขืนและแจ้งความเฉลี่ยวันละ 12 ราย ซึ่งจำนวนผู้ถูกข่มขืน และข่มขืนแล้วฆ่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติการแจ้งความในปี 2546 มีจำนวน 4,820 คดี เพิ่มเป็น 5,052 คดี ในปี 2547 โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีถึงร้อยละ 12 ของคดีทั้งหมด และคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว โดยผู้ถูกข่มขืนมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไปแจ้งความ รวมทั้งเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเป็นผู้กระทำผิดมากขึ้น โดยในปี 2547 เพิ่มเป็น 2,416 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.25 จากปี 2546
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดการข่มขืน สื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะซีดี/ดีวีดีโป๊ เป็นสื่อลามกที่อยู่ใกล้ตัวเยาวชนมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ เว็บ รูปภาพ หนังสือ และวิดีโอโป๊ ตามลำดับ เพื่อน เกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบ ค่านิยมการยอมรับในกลุ่ม และความคึกคะนอง ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแต่งกายยั่วยุ และค่านิยมในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สมควร สุราและยาเสพติด เป็นปัจจัยร่วมทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ขาดสติ และความยั้งคิด ครอบครัว ขาดความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัว ความเชื่อ การสร้างค่านิยมในอดีตของสังคมไทย โดยการให้สิทธิ์ และคุณค่าทางเพศที่แตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
- การคลี่คลายผลกระทบที่เกิดขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการชัดเจนในการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กและผู้หญิง ทั้งนี้ แนวทางแก้ปัญหาคือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรให้ความร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหาให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะครอบครัว สถาบันศึกษา ภาครัฐและภาคประชาชน และสื่อมวลชน ฯลฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-