แท็ก
จีดีพี
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2548 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 2/2548" ว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วขยายตัวจากไตรมาส 1/48 ร้อยละ 1.9 เป็นผลมาจากอุปสงค์รวมภายในประเทศขยายตัวทั้งการบริโภคและการลงทุน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศสุทธิหดตัวลงมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.9 โดยภาคนอกเกษตรขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ขณะที่ภาคเกษตรหดตัวลงเฉลี่ยร้อยละ 5.4
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ภาวะการผลิตโดยรวมในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 4.4 ปัจจัยสำคัญมาจากภาคนอกเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการผลิตทุกสาขาขยายตัว โดยสาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 ซึ่งเร่งตัวขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากที่หดตัวร้อยละ 2.0 จากการบริการโรงแรมที่ขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 8.8 ชะลอจากร้อยละ13.2 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนชะลอตัวลง
สำหรับสาขาคมนาคมขนส่งขยายตัวในระดับที่ทรงตัวร้อยละ 4.9 จากภาวะราคาค่าโดยสารสูงขึ้น การขนส่งสินค้าและการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 6.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.5 จากการใช้ไฟฟ้าโดยรวมขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคครัวเรือน กิจการขนาดเล็กและกลาง สาขาค้าส่งค้าปลีกและการซ่อมแซมชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.3 เป็นผลมาจากส่วนเหลื่อมทางการค้าลดลง ตามต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันในประเทศที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ สาขาการเงินและการธนาคารก็ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 7.3 จากเดิมที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลง และการประกันชีวิตขยายตัวเพียงเล็กน้อย และสาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากการชะลอตัวลงในการผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และหิน กรวด ทราย ขณะที่การผลิตลิกไนต์ขยายตัวสูงขึ้น
ขณะที่การผลิตภาคเกษตร หดตัวลงร้อยละ 2.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่เคยลดลงถึงร้อยละ 7.9 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากหมวดพืชผลลดลงร้อยละ 6.0 จากภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตพืชส่วนใหญ่ ลดลง โดยเฉพาะข้าวเปลือกนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลัง ขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 9.9 จากการส่งออกไก่ปรุงสุกเพิ่มขึ้น และผลผลิตสุกรเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคของประชาชน ส่วนหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 9.2 จากร้อยละ 8.4 ตามปริมาณการส่งออกกุ้งที่เพิ่มขึ้น และราคาของสัตว์น้ำและปศุสัตว์สูงขึ้น ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นร้อยละ 4.7
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ด้านการใช้จ่ายในประเทศ นั้น การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.7 สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนเล็กน้อย เป็นผลมาจากรายได้ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น การว่างงานที่ลดลง และมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลในการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ผล ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 9.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 16.0 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณชะลอตัวลง และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 14.2 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 15.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากภาคเอกชนขยายการลงทุนในหมวดเครื่องจักร แต่ชะลอการลงทุนด้านการก่อสร้าง และภาครัฐชะลอการลงทุนด้านก่อสร้าง
ด้านการส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานยังคงลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 60.7 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.1 จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าน้ำมัน เหล็ก เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน เครื่องจักรไฟฟ้าและชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ ขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 จากการส่งออกสินค้าหลักชะลอตัว โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ส่วนรายได้ด้านบริการเพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นภายหลังเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลสูงถึง 209,876 ล้านบาท นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 175,613 ล้านบาท ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 40.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7
เลขาธิการฯ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกปี 2548 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.9 แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาก และปัจจัยลบภายในประเทศทั้งภัยแล้ง ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับมีแรงกดดันจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 3.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากการส่งออกกลุ่มสินค้ากุ้งและไก่ อิเล็กทรอนิกส์ และยางพารา แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.2 จากการนำเข้าน้ำมันดิบและเชื้อเพลิง ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านปริมาณและราคา ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลสูงถึง 8,464 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ดุลบริการเกินดุลเพียง 2,255 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและเงินโอน ซึ่งไม่มากพอที่จะชดเชยดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุลถึง 6,207 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา และสินค้าอื่นๆ ประเภทของใช้ในบ้าน ซึ่งจะทำให้สามารถระบายสต็อกสินค้าที่สะสมไว้ในช่วงครึ่งปีแรกที่สูงถึงร้อยละ 5.6 ของ GDP ได้ รวมทั้งมีการบริหารการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การนำเข้าชะลอตัวลง อีกทั้งการท่องเที่ยวฟื้นตัวมากขึ้น ทำให้ดุลบริการเกินดุลต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่ามาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี 12 กรกฎาคม จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ จึงคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมปี 2548 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8-4.3 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 4.0-4.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลประมาณร้อยละ 1.9-2.4 ของจีดีพี และอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีประมาณร้อยละ 2.1
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ภาวะการผลิตโดยรวมในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 4.4 ปัจจัยสำคัญมาจากภาคนอกเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการผลิตทุกสาขาขยายตัว โดยสาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 ซึ่งเร่งตัวขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากที่หดตัวร้อยละ 2.0 จากการบริการโรงแรมที่ขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 8.8 ชะลอจากร้อยละ13.2 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนชะลอตัวลง
สำหรับสาขาคมนาคมขนส่งขยายตัวในระดับที่ทรงตัวร้อยละ 4.9 จากภาวะราคาค่าโดยสารสูงขึ้น การขนส่งสินค้าและการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 6.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.5 จากการใช้ไฟฟ้าโดยรวมขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคครัวเรือน กิจการขนาดเล็กและกลาง สาขาค้าส่งค้าปลีกและการซ่อมแซมชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.3 เป็นผลมาจากส่วนเหลื่อมทางการค้าลดลง ตามต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันในประเทศที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ สาขาการเงินและการธนาคารก็ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 7.3 จากเดิมที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลง และการประกันชีวิตขยายตัวเพียงเล็กน้อย และสาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากการชะลอตัวลงในการผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และหิน กรวด ทราย ขณะที่การผลิตลิกไนต์ขยายตัวสูงขึ้น
ขณะที่การผลิตภาคเกษตร หดตัวลงร้อยละ 2.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่เคยลดลงถึงร้อยละ 7.9 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากหมวดพืชผลลดลงร้อยละ 6.0 จากภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตพืชส่วนใหญ่ ลดลง โดยเฉพาะข้าวเปลือกนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลัง ขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 9.9 จากการส่งออกไก่ปรุงสุกเพิ่มขึ้น และผลผลิตสุกรเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคของประชาชน ส่วนหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 9.2 จากร้อยละ 8.4 ตามปริมาณการส่งออกกุ้งที่เพิ่มขึ้น และราคาของสัตว์น้ำและปศุสัตว์สูงขึ้น ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นร้อยละ 4.7
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ด้านการใช้จ่ายในประเทศ นั้น การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.7 สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนเล็กน้อย เป็นผลมาจากรายได้ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น การว่างงานที่ลดลง และมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลในการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ผล ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 9.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 16.0 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณชะลอตัวลง และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 14.2 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 15.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากภาคเอกชนขยายการลงทุนในหมวดเครื่องจักร แต่ชะลอการลงทุนด้านการก่อสร้าง และภาครัฐชะลอการลงทุนด้านก่อสร้าง
ด้านการส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานยังคงลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 60.7 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.1 จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าน้ำมัน เหล็ก เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน เครื่องจักรไฟฟ้าและชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ ขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 จากการส่งออกสินค้าหลักชะลอตัว โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ส่วนรายได้ด้านบริการเพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นภายหลังเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลสูงถึง 209,876 ล้านบาท นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 175,613 ล้านบาท ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 40.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7
เลขาธิการฯ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกปี 2548 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.9 แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาก และปัจจัยลบภายในประเทศทั้งภัยแล้ง ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับมีแรงกดดันจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 3.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากการส่งออกกลุ่มสินค้ากุ้งและไก่ อิเล็กทรอนิกส์ และยางพารา แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.2 จากการนำเข้าน้ำมันดิบและเชื้อเพลิง ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านปริมาณและราคา ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลสูงถึง 8,464 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ดุลบริการเกินดุลเพียง 2,255 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและเงินโอน ซึ่งไม่มากพอที่จะชดเชยดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุลถึง 6,207 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา และสินค้าอื่นๆ ประเภทของใช้ในบ้าน ซึ่งจะทำให้สามารถระบายสต็อกสินค้าที่สะสมไว้ในช่วงครึ่งปีแรกที่สูงถึงร้อยละ 5.6 ของ GDP ได้ รวมทั้งมีการบริหารการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การนำเข้าชะลอตัวลง อีกทั้งการท่องเที่ยวฟื้นตัวมากขึ้น ทำให้ดุลบริการเกินดุลต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่ามาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี 12 กรกฎาคม จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ จึงคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมปี 2548 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8-4.3 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 4.0-4.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลประมาณร้อยละ 1.9-2.4 ของจีดีพี และอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีประมาณร้อยละ 2.1
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-