แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
โรงแรมโฟร์ซีซั่น
ธนาคารโลก
ข้อมูล
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารโลกได้ร่วมกันจัดการสัมมนาเรื่อง "ผลการสำรวจข้อมูลบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย" ณ โรงแรมโฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ ประธานการสัมมนา กล่าวว่า สศช. ได้ร่วมกับธนาคารโลกสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย จากผู้ประกอบการ 1,500 รายทั่วประเทศ ซึ่งธนาคารโลกได้วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานเรื่อง “บรรยากาศการลงทุน ความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย” (Thailand : Investment Climate, Firm Competitiveness, and Growth) เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
- การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มระดับการเพิ่มผลผลิต บรรยากาศการลงทุนของไทยจัดว่าอยู่ในระดับมาตรฐานสากลและดีกว่าประเทศจีน อินเดีย บราซิล และประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ แต่ยังด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย ดังนั้น จึงควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาให้ไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีที่สุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ การดำเนินงานของกิจการในประเทศมีอุปสรรคที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ กฎระเบียบภาครัฐ การขาดแคลนแรงงานทักษะ และการขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่นอกเขตกรุงเทพฯ
- การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มระดับการเพิ่มผลผลิต กิจกรรมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้เคลื่อนย้ายจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปยังภาคตะวันออกและจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางเพิ่มขึ้น โดยกิจการที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อาทิ เขตอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แต่อย่างไรก็ตามกรุงเทพฯ ก็ยังเป็นเมืองหลวงที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจกระจุกตัวมากที่สุด เนื่องจากมีคุณลักษณะต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิต ส่วนภาคกลางยังมีระดับการเพิ่มผลผลิตที่น้อยกว่ากิจการในกรุงเทพฯ
- การยกระดับศักยภาพทางเทคโนโลยีของกิจการเพื่อเพิ่มการเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตรวมในสาขาการผลิต การเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตรวมที่สูงมากในอดีต เป็นผลจากการโยกย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างสาขาการผลิต เนื่องจากไทยได้เปลี่ยนจากการผลิตที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก มาเป็นการผลิตที่เน้นการใช้เทคโนโลยี การเสริมสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศและระดับกิจการ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตรวมเติบโตขึ้น
- ทักษะแรงงานและระดับการเพิ่มผลผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการผลิตของไทยยังขาดแคลนแรงงานทักษะ ทำให้ต้องจ้างแรงงานที่มีคุณสมบัติต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และมีการใช้ทักษะแรงงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้สูญเสียผลผลิตเกือบร้อยละ 15 โดยเฉลี่ย รวมทั้งมีอัตราตำแหน่งงานว่างสูงมาก และพนักงานไทยมากกว่าร้อยละ 72 ระบุว่ามีข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษมากที่สุด
- การเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกิจการ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการใน 3 ด้าน คือ ทักษะแรงงาน การสร้างนวัตกรรม และการสร้างเครือข่าย ดังนั้น จึงควรมีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถของกิจการในการสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขาดความรู้และการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงยังขาดแคลนที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญมากในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า เนื่องจากการเติบโตของไทยได้รับการขับเคลื่อนจากการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แนวโน้มว่าแรงงานไร้ฝีมือที่เป็นคนไทยในอนาคตจะลดลง ดังนั้นไทยจึงต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน เพื่อที่จะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะกลางและระยะยาวต่อไป โดยผลักดันการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตของประเทศ ควบคู่ไปกับการเสริมความแข็งแกร่งของประสิทธิภาพการผลิตรวมให้มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ ประธานการสัมมนา กล่าวว่า สศช. ได้ร่วมกับธนาคารโลกสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย จากผู้ประกอบการ 1,500 รายทั่วประเทศ ซึ่งธนาคารโลกได้วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานเรื่อง “บรรยากาศการลงทุน ความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย” (Thailand : Investment Climate, Firm Competitiveness, and Growth) เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
- การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มระดับการเพิ่มผลผลิต บรรยากาศการลงทุนของไทยจัดว่าอยู่ในระดับมาตรฐานสากลและดีกว่าประเทศจีน อินเดีย บราซิล และประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ แต่ยังด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย ดังนั้น จึงควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาให้ไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีที่สุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ การดำเนินงานของกิจการในประเทศมีอุปสรรคที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ กฎระเบียบภาครัฐ การขาดแคลนแรงงานทักษะ และการขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่นอกเขตกรุงเทพฯ
- การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มระดับการเพิ่มผลผลิต กิจกรรมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้เคลื่อนย้ายจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปยังภาคตะวันออกและจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางเพิ่มขึ้น โดยกิจการที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อาทิ เขตอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แต่อย่างไรก็ตามกรุงเทพฯ ก็ยังเป็นเมืองหลวงที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจกระจุกตัวมากที่สุด เนื่องจากมีคุณลักษณะต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิต ส่วนภาคกลางยังมีระดับการเพิ่มผลผลิตที่น้อยกว่ากิจการในกรุงเทพฯ
- การยกระดับศักยภาพทางเทคโนโลยีของกิจการเพื่อเพิ่มการเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตรวมในสาขาการผลิต การเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตรวมที่สูงมากในอดีต เป็นผลจากการโยกย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างสาขาการผลิต เนื่องจากไทยได้เปลี่ยนจากการผลิตที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก มาเป็นการผลิตที่เน้นการใช้เทคโนโลยี การเสริมสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศและระดับกิจการ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตรวมเติบโตขึ้น
- ทักษะแรงงานและระดับการเพิ่มผลผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการผลิตของไทยยังขาดแคลนแรงงานทักษะ ทำให้ต้องจ้างแรงงานที่มีคุณสมบัติต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และมีการใช้ทักษะแรงงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้สูญเสียผลผลิตเกือบร้อยละ 15 โดยเฉลี่ย รวมทั้งมีอัตราตำแหน่งงานว่างสูงมาก และพนักงานไทยมากกว่าร้อยละ 72 ระบุว่ามีข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษมากที่สุด
- การเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกิจการ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการใน 3 ด้าน คือ ทักษะแรงงาน การสร้างนวัตกรรม และการสร้างเครือข่าย ดังนั้น จึงควรมีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถของกิจการในการสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขาดความรู้และการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงยังขาดแคลนที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญมากในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า เนื่องจากการเติบโตของไทยได้รับการขับเคลื่อนจากการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แนวโน้มว่าแรงงานไร้ฝีมือที่เป็นคนไทยในอนาคตจะลดลง ดังนั้นไทยจึงต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน เพื่อที่จะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะกลางและระยะยาวต่อไป โดยผลักดันการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตของประเทศ ควบคู่ไปกับการเสริมความแข็งแกร่งของประสิทธิภาพการผลิตรวมให้มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-