(ต่อ7)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2005 15:11 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ภาคใต้                                                                                        
ภาพรวม GRP ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับร้อยละ 4.4 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ทั้งในสาขาเกษตร การล่าสัตว์ และการป่าไม้ รวมทั้ง สาขาการประมง เนื่องจากในปีนี้ราคาสินค้าและปริมาณการผลิตของพืชเกษตรที่สำคัญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน การผลิตภาคนอกเกษตรชะลอตัวลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 4.9 จากเดิมร้อยละ 5.1 ในปีที่ผ่านมา โดยเป็นการชะลอตัวลงของสาขาการขนส่งฯ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการก่อสร้าง และสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา แต่ในขณะเดียวกันสาขาอุตสาหกรรม มีการขยายตัวร้อยละ 6.2 จากร้อยละ 3.1 ในปีที่มีสัดส่วนสูงในภาคนี้มีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 3.2 ขอ งปีที่ผ่านมาเป็นการขยายตัวทั้งสาขาการเกษตรการล่าสัตว์ และการป่าไม้ ที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 เป็นผลจากปัจจัยทางด้านราคาส่งผลให้เกษตรกรเร่งขยายผลผลิตมากขึ้น พืชผลที่สำคัญ ของภาค ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และ การปลูกพืชผัก รวมทั้ง สาขาการประมงขยายตัวร้อยละ 3.6 สูงกว่ากว่าปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากการขยายตัวของทั้งประมงน้ำจืดและประมงทะเล
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตภาคใต้ (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม 3.2 7.4 34.6 35.2
นอกเกษตรกรรม 5.1 4.9 65.4 64.8
อุตสาหกรรม 3.1 6.2 13.7 13.7
โรงแรม ฯ 14.0 -6.2 5.8 5.2
สาขาอื่นๆ 0.5 0.6 45.9 45.9
GRP 4.4 5.8 100.0 100.0
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอตัวลง เล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา สาเหตุเนื่องจากการชะลอตัวลงของสาขาการขนส่งฯ สาขาการก่อสร้าง และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา คือ ร้อยละ 5.3 11.4 และ 3.4 จากเดิมร้อยละ 5.6 27.2 และ 4.8 ในปีที่ผ่านมา สำหรับสาขาโรงแรมและภัตตาคารในปีนี้มีการหดตัวลงจากปีก่อน คือ ร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 14.0 ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) ในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่สาขาที่มีสัดส่วนสูงในภาคนี้ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมและสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ ซึ่งเป็นสาขาที่ผ่านมา โดยเฉพาะหมวดผลิตภัณฑ์ยางฯ ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการส่งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหมวดอื่น ๆ ในสาขาอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป หมวดสิ่งทอ และหมวดสิ่งพิมพ์ สำหรับสาขาการขายส่งขายปลีกฯ ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากปีที่ผ่านมามีการหดตัวลงร้อยละ 1.1
ภาวะการผลิตรายจังหวัด หลายจังหวัดมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ระนอง พังงา กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ตรัง นราธิวาส โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ ซึ่งมีการขยายตัวสูงสุดของภาค คือ ร้อยละ 15.0 จากเดิมร้อยละ 2.4 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการผลิตภาคเกษตรกรรม ในสาขาเกษตร การล่าสัตว์ และป่าไม้ ในส่วนของผลผลิตพืชหลักของจังหวัดคือปาล์มน้ำมันมีการขยายตัวถึงร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่หดตัวลงถึงร้อยละ 14.5 และในสาขาการประมงมีการขยายตัวมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งในการผลิตประมงน้ำจืดและประมงทะเล คือ ร้อยละ 9.3 หลังจากการหดตัวในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 18.7 สำหรับจังหวัดที่มีการผลิตรวมชะลอตัวลง ได้แก่ ภูเก็ต สงขลา พัทลุง และปัตตานี สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) ในช่วงครึ่งปีแรก มีผลทำให้สาขาโรงแรมและภัตตาคารชะลอตัวลง อย่างไรก็ ตาม ในช่วงครึ่งปี หลังภ วะการท่ องเที่ ยวเริ่ม มี แนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงสาขาการก่อสร้าง และสาขา ตัวกลางทางการเงินมีการชะลอตัวลง ประกอบกับการผลิต ภาคเกษตรกรรมมีการหดตัว โดยเฉพาะสาขาการประมงในจังหวัดปัตตานี
(ยังมีต่อ).../อัตราขยาย..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ