ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง อาจเป็นประเทศต้นแบบ (Role Model)ในการจัดทำเป้าหมายฐานข้อมูล MDGs และ MDGs plus ทั้งในด้านกระบวนการ และเนื้อหา ให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป
1.ความเป็นมา
ตลอดระยะเวลา 10 ปี ก่อนช่วงสหัสวรรษ องค์การสหประชาชาติ ให้การสนับสนุนการประชุมระดับนานาชาติเพื่อพยายามกำหนดเป้าหมายการพัฒนาระหว่าง ประเทศ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก UN ต่างเห็นพ้องกันว่าอุปสรรคสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา คือ ขาดการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประเมินการแก้ไขปัญหาความยากจน เป้าหมายและตัวชี้วัดนี้ ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามผลการพัฒนา
ดังนั้น ในคราวการประชุมสุดยอดของเหล่าประเทศสมาชิก UN เมื่อเดือนกันยายน 2543 ซึง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ) ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วยนั้น ได้มีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก UN 191 ประเทศเพื่อยอมรับข้อผูกมัดตามคำประกาศ สหัสวรรษ (Millennium Declaration) ว่าประเทศสมาชิก UN และองค์การระหว่างประเทศต่างเห็นพ้องให้มีการติดตามผลการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) เพื่อประมวลเป้าหมายการพัฒนาที่ปรากฎอยู่ในคำประกาศสหัสวรรษให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดขอบเขตเวลาและตัวชี้วัด เพื่อประเมินเป้าหมายของการพัฒนาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
2. ตัวชี้วัดของ MDGs
จากความเป็นมาข้างต้น MDGs จึงเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของแนวทางในการปฏิบัติตาม Millennium Declaration ที่ประกาศโดยประเทศสมาชิก UN และองค์การระหว่างประเทศ โดย MDGs มีเป้าหมายการพัฒนา เพื่อขจัดความ ยากจนในมิติต่างๆ และให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย
8 ด้าน (รายละเอียดปรากฏตามตารางแนบท้าย) ดังนี้
1) การขจัดความยากจนและความหิวโหย (Eradicate extreme poverty and hunger)
2) การพัฒนาการศึกษาขั้นประถม (Achieve universal primary education)
3) การส่งเสริมความเท่าเทียมกันของเพศหญิง/ชาย (Promote gender equality)
4) การลดอัตราการตายของเด็ก (Reduce child mortality)
5) การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ (Improve maternal health)
6) การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่นๆ (Combat HIV/AIDS, Malaria and other diseases)
7) การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Ensure environmental sustainability)
8) การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโลก (Develop a Global Partnership for Development)
ในแต่ละเป้าหมายทั้ง 8 ประการดังกล่าวก็ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเพื่อใช้ประเมินการปฏิบัติตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเน้นการขจัดความยากจนในมิติต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวชี้วัดของ MDGs เป็นกลุ่มตัวชี้วัดเชิงเสนอแนะ (indicative) ไม่ใช่เชิงชี้นำ (directive) และมีขอบเขตเวลาของการดำเนินการแต่ละ เป้าหมายให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2015
3. สศช. และ โครงการจัดทำฐานข้อมูล MDGs
เนื่องจากการรายงานความก้าวหน้าของ MDGs จะมีขึ้นทุกๆ 5 ปี โดยการรายงานความก้าวหน้าครั้งแรกจะมีขึ้นในปีพ.ศ. 2548 ดังนั้น โครงการจัดทำฐานข้อมูล MDGs จึงเป็นกลไกสำคัญในการติดตามความก้าวหน้าของ MDGs อย่างเป็นระบบโดยผ่านกระบวนมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อาทิ องค์การระหว่างประเทศ ผู้กำหนดนโยบาย ประชาสังคม ชุมชน สาธารณชน และสื่อมวลชน ในส่วนของประเทศไทย สศช. ได้ร่วมมือกับคณะทำงาน UN ประจำประเทศไทย ได้รับงบประมาณจาก UN เพื่อสนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูล MDGs ของประเทศไทย โดย งบประมาณนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการจ้าง ที่ปรึกษา การสัมมนาย่อยระหว่างการจัดทำ และการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ การจัดทำ MDGs ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานที่หลากหลาย และมีความ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน ดังนั้น สศช. จึงเป็นแกนหลักฝ่ายไทยในการ จัดทำโครงการฐานข้อมูล และติดตามผล MDGs ตลอดจนเผยแพร่ผลวิเคราะห์ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ MDGs
4.1 สศช. ได้รับความร่วมมือจากธนาคารโลกในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการติดตามผล MDGs ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2545 ณ ห้องจามจุรี 1 โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนในการจัดทำฐาน ข้อมูล และการติดตามผลการพัฒนาตาม เป้าหมาย MDGs ตลอดจนสร้างความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการติดตามผลการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างกลไกในการติดตามผลการพัฒนาตามเป้าหมาย MDGs ในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนประมาณ 70 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ของ สศช. และเจ้าหน้าที่จากองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น การประชุมเชิงปฏิบัติการ MDGs สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
? ในส่วนของการดำเนินการตาม เป้าหมาย MDGs นั้น คาดว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนกำหนด แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตามเป้าหมาย
? การคัดเลือกเกณฑ์/ตัวชี้วัดที่ จะใช้ติดตามผลแต่ละ เป้าหมาย ควรดำเนินการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพื่อให้มั่นใจว่า ตัวชี้วัดที่จะใช้มีการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่ความต่อเนื่องของโครงการติดตามผลการพัฒนาฯ
? ในส่วนของเป้าหมายการพัฒนานั้น ประเทศไทยอาจตั้ง เป้าหมายในเชิง MDGs plus เช่น การขยายเป้าหมายด้านความยากจน จากระดับประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการขจัดความยากจนในแต่ละภูมิภาค หรือกำหนดเป้าหมายคุณภาพป่าไม้ นอกเหนือไปจากปริมาณป่าไม้ในประเทศ
? ปัจจุบันยังไม่มีการเริ่มจัดทำฐานข้อมูล และการติดตามผลการพัฒนาตามเป้าหมาย MDGs ในประเทศต่างๆมากนัก ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง อาจเป็นประเทศตัวอย่างในการจัดทำฐานข้อมูล MDGs และ MDGs plus ทั้งในด้านกระบวนการ และเนื้อหา ให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป
? บทบาทของ สศช. เป็นแกนกลางประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ องค์การระหว่างประเทศ เพื่อจัดทำฐานข้อมูล และติดตามผลการพัฒนา MDGs ของประเทศ และเป็นศูนย์กลางของแหล่งความรู้ (Resource Center) ที่เกี่ยวกับ MDGs ของประเทศ
4.2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับธนาคารโลก เอสแคป และธนาคารพัฒนาเอเชีย จะจัดการสัมมนาระดับภูมิภาค เรื่อง Regional Seminar for Asian Managers on Monitoring and Evaluation of Poverty Reduction Program ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2545 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบภาพรวมของกลยุทธ์การลดความยากจน ซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมาย MDGs และความ ต้องข้อมูลสถิติ
4.3 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซีย และซิฟิก(เอสแคป) จะจัดการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสถิติ (Committee on Statistics) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2545 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พิจารณาประเด็นปัญหาระดับโลกและภูมิภาค ที่มีนัยต่อการดำเนินงานของสำนักงานสถิติในภูมิภาค อาทิ การประเมินความก้าวหน้าในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาของที่ประชุมสุดยอดแห่ง สหัสวรรษ อันจะนำไปสู่การจัดทำรายงานของประเทศ (Country paper) ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1.ความเป็นมา
ตลอดระยะเวลา 10 ปี ก่อนช่วงสหัสวรรษ องค์การสหประชาชาติ ให้การสนับสนุนการประชุมระดับนานาชาติเพื่อพยายามกำหนดเป้าหมายการพัฒนาระหว่าง ประเทศ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก UN ต่างเห็นพ้องกันว่าอุปสรรคสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา คือ ขาดการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประเมินการแก้ไขปัญหาความยากจน เป้าหมายและตัวชี้วัดนี้ ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามผลการพัฒนา
ดังนั้น ในคราวการประชุมสุดยอดของเหล่าประเทศสมาชิก UN เมื่อเดือนกันยายน 2543 ซึง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ) ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วยนั้น ได้มีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก UN 191 ประเทศเพื่อยอมรับข้อผูกมัดตามคำประกาศ สหัสวรรษ (Millennium Declaration) ว่าประเทศสมาชิก UN และองค์การระหว่างประเทศต่างเห็นพ้องให้มีการติดตามผลการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) เพื่อประมวลเป้าหมายการพัฒนาที่ปรากฎอยู่ในคำประกาศสหัสวรรษให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดขอบเขตเวลาและตัวชี้วัด เพื่อประเมินเป้าหมายของการพัฒนาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
2. ตัวชี้วัดของ MDGs
จากความเป็นมาข้างต้น MDGs จึงเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของแนวทางในการปฏิบัติตาม Millennium Declaration ที่ประกาศโดยประเทศสมาชิก UN และองค์การระหว่างประเทศ โดย MDGs มีเป้าหมายการพัฒนา เพื่อขจัดความ ยากจนในมิติต่างๆ และให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย
8 ด้าน (รายละเอียดปรากฏตามตารางแนบท้าย) ดังนี้
1) การขจัดความยากจนและความหิวโหย (Eradicate extreme poverty and hunger)
2) การพัฒนาการศึกษาขั้นประถม (Achieve universal primary education)
3) การส่งเสริมความเท่าเทียมกันของเพศหญิง/ชาย (Promote gender equality)
4) การลดอัตราการตายของเด็ก (Reduce child mortality)
5) การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ (Improve maternal health)
6) การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่นๆ (Combat HIV/AIDS, Malaria and other diseases)
7) การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Ensure environmental sustainability)
8) การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโลก (Develop a Global Partnership for Development)
ในแต่ละเป้าหมายทั้ง 8 ประการดังกล่าวก็ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเพื่อใช้ประเมินการปฏิบัติตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเน้นการขจัดความยากจนในมิติต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวชี้วัดของ MDGs เป็นกลุ่มตัวชี้วัดเชิงเสนอแนะ (indicative) ไม่ใช่เชิงชี้นำ (directive) และมีขอบเขตเวลาของการดำเนินการแต่ละ เป้าหมายให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2015
3. สศช. และ โครงการจัดทำฐานข้อมูล MDGs
เนื่องจากการรายงานความก้าวหน้าของ MDGs จะมีขึ้นทุกๆ 5 ปี โดยการรายงานความก้าวหน้าครั้งแรกจะมีขึ้นในปีพ.ศ. 2548 ดังนั้น โครงการจัดทำฐานข้อมูล MDGs จึงเป็นกลไกสำคัญในการติดตามความก้าวหน้าของ MDGs อย่างเป็นระบบโดยผ่านกระบวนมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อาทิ องค์การระหว่างประเทศ ผู้กำหนดนโยบาย ประชาสังคม ชุมชน สาธารณชน และสื่อมวลชน ในส่วนของประเทศไทย สศช. ได้ร่วมมือกับคณะทำงาน UN ประจำประเทศไทย ได้รับงบประมาณจาก UN เพื่อสนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูล MDGs ของประเทศไทย โดย งบประมาณนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการจ้าง ที่ปรึกษา การสัมมนาย่อยระหว่างการจัดทำ และการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ การจัดทำ MDGs ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานที่หลากหลาย และมีความ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน ดังนั้น สศช. จึงเป็นแกนหลักฝ่ายไทยในการ จัดทำโครงการฐานข้อมูล และติดตามผล MDGs ตลอดจนเผยแพร่ผลวิเคราะห์ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ MDGs
4.1 สศช. ได้รับความร่วมมือจากธนาคารโลกในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการติดตามผล MDGs ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2545 ณ ห้องจามจุรี 1 โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนในการจัดทำฐาน ข้อมูล และการติดตามผลการพัฒนาตาม เป้าหมาย MDGs ตลอดจนสร้างความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการติดตามผลการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างกลไกในการติดตามผลการพัฒนาตามเป้าหมาย MDGs ในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนประมาณ 70 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ของ สศช. และเจ้าหน้าที่จากองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น การประชุมเชิงปฏิบัติการ MDGs สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
? ในส่วนของการดำเนินการตาม เป้าหมาย MDGs นั้น คาดว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนกำหนด แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตามเป้าหมาย
? การคัดเลือกเกณฑ์/ตัวชี้วัดที่ จะใช้ติดตามผลแต่ละ เป้าหมาย ควรดำเนินการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพื่อให้มั่นใจว่า ตัวชี้วัดที่จะใช้มีการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่ความต่อเนื่องของโครงการติดตามผลการพัฒนาฯ
? ในส่วนของเป้าหมายการพัฒนานั้น ประเทศไทยอาจตั้ง เป้าหมายในเชิง MDGs plus เช่น การขยายเป้าหมายด้านความยากจน จากระดับประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการขจัดความยากจนในแต่ละภูมิภาค หรือกำหนดเป้าหมายคุณภาพป่าไม้ นอกเหนือไปจากปริมาณป่าไม้ในประเทศ
? ปัจจุบันยังไม่มีการเริ่มจัดทำฐานข้อมูล และการติดตามผลการพัฒนาตามเป้าหมาย MDGs ในประเทศต่างๆมากนัก ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง อาจเป็นประเทศตัวอย่างในการจัดทำฐานข้อมูล MDGs และ MDGs plus ทั้งในด้านกระบวนการ และเนื้อหา ให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป
? บทบาทของ สศช. เป็นแกนกลางประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ องค์การระหว่างประเทศ เพื่อจัดทำฐานข้อมูล และติดตามผลการพัฒนา MDGs ของประเทศ และเป็นศูนย์กลางของแหล่งความรู้ (Resource Center) ที่เกี่ยวกับ MDGs ของประเทศ
4.2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับธนาคารโลก เอสแคป และธนาคารพัฒนาเอเชีย จะจัดการสัมมนาระดับภูมิภาค เรื่อง Regional Seminar for Asian Managers on Monitoring and Evaluation of Poverty Reduction Program ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2545 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบภาพรวมของกลยุทธ์การลดความยากจน ซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมาย MDGs และความ ต้องข้อมูลสถิติ
4.3 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซีย และซิฟิก(เอสแคป) จะจัดการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสถิติ (Committee on Statistics) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2545 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พิจารณาประเด็นปัญหาระดับโลกและภูมิภาค ที่มีนัยต่อการดำเนินงานของสำนักงานสถิติในภูมิภาค อาทิ การประเมินความก้าวหน้าในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาของที่ประชุมสุดยอดแห่ง สหัสวรรษ อันจะนำไปสู่การจัดทำรายงานของประเทศ (Country paper) ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-