สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ
คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา
"โครงการคลัสเตอร์สัญจร ครั้งที่ 4" ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 ณ โรงแรมลายทอง จังหวัด
อุบลราชธานี โดยผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน รวมประมาณ 170 คน
โครงการคลัสเตอร์สัญจร ครั้งที่ 4 เป็นกระบวนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนงานผลักดันการพัฒนาคลัสเตอร์ (Cluster) หรือเครือข่ายวิสาหกิจ ให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง
มีคลัสเตอร์เป็นเครื่องมือ (Approach) ที่สำคัญในการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความ
ร่วมมือ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
การดำเนินโครงการดังกล่าว ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการเปิดประชุมและชี้แจงกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในระยะ 4 ปี(2548-2551) โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ และการนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการผลักดันยุทธศาสตร์
ด้วยคลัสเตอร์ โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนที่สอง เป็นการอภิปราย เรื่อง บทเรียนการพัฒนาค
ลัสเตอร์ในประเทศไทย โดยผู้นำกลุ่มธุรกิจ/ผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent-CDA) ซึ่งมีประสบการณ์ตรงในการพัฒนาและผลักดันคลัสเตอร์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ประกอบด้วย
ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ผักปลอดสารพิษภาคตะวันตก ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ ผู้แทนกลุ่มคลัส
เตอร์โรงแรม และผู้แทนกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จังหวัดราชบุรี และส่วนสุดท้าย เป็นการประชุมกลุ่มย่อย
เพื่อเจาะลึกถึงแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ของกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และภาคการค้าและ
บริการ ผลจากการสัมมนาระดมความเห็นทำให้ได้รับทราบแนวทางและขั้นตอนการพัฒนาคลัสเตอร์ วิธีการ
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญของการประชุมสัมมนาได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศระยะ 4 ปี ( 2548-2551)
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราความ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 5.2 ในช่วงปี 2544-2547 เป็นร้อยละ 6.6 ใน 4 ปี ข้างหน้าคือ 2548-2551 โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์ ดังนี้ (1)การเพิ่มมูลค่าภาคเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ (2) การ เพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ (3) การขยายฐานภาคบริการ (4) การพัฒนาสังคมเชิงรุก (5) ความมั่นคงและการต่างประเทศ และ (6) การปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ
2. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการผลักดันด้วยกระบวนการคลัสเตอร์
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและ
บริการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง โดยอาศัยการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Move up value chain) และการพัฒนาปัจจัย
สนับสนุนทั้งด้านมหภาค และอื่นๆ อาทิ ทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ โครงสร้างพื้นฐานทั้ง
ด้านกายภาพและระบบบริหารจัดการขนส่ง (Logistics) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในมิติอนุรักษ์
และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะนำไปสู่ฝันทั้ง 7 คือ การมี
รากฐานการพัฒนาที่มั่นคง การมีบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ การมีความเป็นเลิศของบางกลุ่ม
สินค้าในตลาดโลก การเป็นประเทศที่สามารถผลิตนวัตกรรม การเป็นสังคมผู้ประกอบการ การเป็นสังคมที่มี
ความเชื่อมั่นและภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และการเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้กระบวนการหนึ่งที่
จะใช้สนับสนุนการพัฒนาคือการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ (คลัสเตอร์) ในภาคผลิตและบริการ โดยสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้เป็นผู้รับผิดชอบวางแนวทางและระบบการทำงานในภาพรวมของ
ประเทศ และได้จัดทำกรอบการพัฒนาคลัสเตอร์ขึ้น ประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาภาคผลิตและบริการด้วยแนวทางคลัสเตอร์ การผลักดันในระดับปฏิบัติ
โดยสนับสนุนให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการ และการติดตามประเมินผล
3. บทเรียนที่ได้จากการพัฒนาและผลักดันคลัสเตอร์ในประเทศไทย
(1) จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคลัสเตอร์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการริเริ่มของกลุ่มธุรกิจที่มีผู้นำ โดยมีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจและสนใจการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของสินค้า/บริการในกลุ่มด้วยแนวทางคลัสเตอร์และมีผู้ทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดกิจกรรมของคลัสเตอร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งอาจจะผู้ประสานงาน (CDA) สมาคมหรือชมรมที่เกี่ยวข้อง หรือมีการประสานหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาคลัสเตอร์ มาร่วมเป็นทีมงาน
(2) ผู้นำ/ผู้ประสานงานต้องมีการกระตุ้นและสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สมาชิกเห็น
ความสำคัญ และมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันตามแนวทางคลัสเตอร์ โดยนำไปปรับใช้ในกระบวนการบริหารงานและพัฒนาสินค้า/บริการ
(3) ผู้นำ/ผู้ประสานงานต้องสร้างความไว้ใจและเชื่อใจในกลุ่มสมาชิก โดยจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน อาทิ การศึกษาดูงานและการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ เนื่องจากความเชื่อใจและไว้วางใจจะเกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกันและการได้รับประโยชน์ร่วมกัน
(4) กิจกรรมแรกของกลุ่มคลัสเตอร์ที่จะทำร่วมกัน ควรต้องเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์
อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีการทำงานร่วมกันต่อไป
(5) การพัฒนาคลัสเตอร์ คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อของผู้ประกอบการให้หันมาเห็นความสำคัญของการแข่งขัน/การพัฒนาความสามารถด้วยการรวมกลุ่ม แทนการแข่งขันตามลำพังผู้เดียว จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา และต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
(6) แนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ สามารถนำไปประยุกต์/ปฏิบัติได้กับวิสาหกิจทุกขนาด และทุกประเภทอุตสาหกรรม เพียงแต่ต้องปรับรายละเอียดตามความเหมาะสม ทั้งนี้ภาครัฐควรต้องให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นพิเศษ เพื่อให้มีการพัฒนาตามแนวทางคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อความอยู่รอดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ
4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย
(1) มีผู้นำที่เข้มแข็ง รวมทั้งสมาชิกมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญในกระบวนการพัฒนาตาม
แนวทางคลัสเตอร์ โดยร่วมสมทบค่าใช้จ่ายและเสียสละเวลามาร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีร่วมกัน
(2) ผู้นำกลุ่มคลัสเตอร์/ผู้ประสานงาน (CDA) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการกระตุ้นให้เกิดการประสานงานและดำเนินงานแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกลุ่ม
(3) สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีความเชื่อมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของสินค้า/บริการของกลุ่มร่วมกัน เนื่องจากการทำงานแบบคลัสเตอร์ คือการทำงานอย่างเป็นระบบและเป็นทีม
(4) คลัสเตอร์ที่สมบูรณ์จะต้องมีการเชื่อมโยงการทำงานและประสานงานกันอย่างเข้มแข็งของผู้เกี่ยวข้องจากทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กร/สถาบันที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยมีผลงานในช่วงเวลาที่เหมาะสม
(5) แผนปฏิบัติการคลัสเตอร์ควรเชื่อมโยงกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด หรือแผนงานอื่นๆ ของภาครัฐ สถาบันการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ภายหลังจากการจัดให้มีโครงการคลัสเตร์สัญจรครบทุกภูมิภาคแล้ว สำนักงานฯ จะนำประเด็นแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ซึ่งรวบรวมจากประสบการณ์การพัฒนาตามโครงการดังกล่าว จัดทำเป็นบทสรุปการผลักดันคลัสเตอร์สู่การปฏิบัติ เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลักดันและพัฒนาคลัสเตอร์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา
"โครงการคลัสเตอร์สัญจร ครั้งที่ 4" ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 ณ โรงแรมลายทอง จังหวัด
อุบลราชธานี โดยผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน รวมประมาณ 170 คน
โครงการคลัสเตอร์สัญจร ครั้งที่ 4 เป็นกระบวนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนงานผลักดันการพัฒนาคลัสเตอร์ (Cluster) หรือเครือข่ายวิสาหกิจ ให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง
มีคลัสเตอร์เป็นเครื่องมือ (Approach) ที่สำคัญในการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความ
ร่วมมือ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
การดำเนินโครงการดังกล่าว ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการเปิดประชุมและชี้แจงกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในระยะ 4 ปี(2548-2551) โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ และการนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการผลักดันยุทธศาสตร์
ด้วยคลัสเตอร์ โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนที่สอง เป็นการอภิปราย เรื่อง บทเรียนการพัฒนาค
ลัสเตอร์ในประเทศไทย โดยผู้นำกลุ่มธุรกิจ/ผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent-CDA) ซึ่งมีประสบการณ์ตรงในการพัฒนาและผลักดันคลัสเตอร์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ประกอบด้วย
ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ผักปลอดสารพิษภาคตะวันตก ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ ผู้แทนกลุ่มคลัส
เตอร์โรงแรม และผู้แทนกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จังหวัดราชบุรี และส่วนสุดท้าย เป็นการประชุมกลุ่มย่อย
เพื่อเจาะลึกถึงแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ของกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และภาคการค้าและ
บริการ ผลจากการสัมมนาระดมความเห็นทำให้ได้รับทราบแนวทางและขั้นตอนการพัฒนาคลัสเตอร์ วิธีการ
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญของการประชุมสัมมนาได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศระยะ 4 ปี ( 2548-2551)
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราความ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 5.2 ในช่วงปี 2544-2547 เป็นร้อยละ 6.6 ใน 4 ปี ข้างหน้าคือ 2548-2551 โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์ ดังนี้ (1)การเพิ่มมูลค่าภาคเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ (2) การ เพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ (3) การขยายฐานภาคบริการ (4) การพัฒนาสังคมเชิงรุก (5) ความมั่นคงและการต่างประเทศ และ (6) การปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ
2. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการผลักดันด้วยกระบวนการคลัสเตอร์
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและ
บริการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง โดยอาศัยการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Move up value chain) และการพัฒนาปัจจัย
สนับสนุนทั้งด้านมหภาค และอื่นๆ อาทิ ทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ โครงสร้างพื้นฐานทั้ง
ด้านกายภาพและระบบบริหารจัดการขนส่ง (Logistics) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในมิติอนุรักษ์
และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะนำไปสู่ฝันทั้ง 7 คือ การมี
รากฐานการพัฒนาที่มั่นคง การมีบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ การมีความเป็นเลิศของบางกลุ่ม
สินค้าในตลาดโลก การเป็นประเทศที่สามารถผลิตนวัตกรรม การเป็นสังคมผู้ประกอบการ การเป็นสังคมที่มี
ความเชื่อมั่นและภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และการเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้กระบวนการหนึ่งที่
จะใช้สนับสนุนการพัฒนาคือการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ (คลัสเตอร์) ในภาคผลิตและบริการ โดยสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้เป็นผู้รับผิดชอบวางแนวทางและระบบการทำงานในภาพรวมของ
ประเทศ และได้จัดทำกรอบการพัฒนาคลัสเตอร์ขึ้น ประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาภาคผลิตและบริการด้วยแนวทางคลัสเตอร์ การผลักดันในระดับปฏิบัติ
โดยสนับสนุนให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการ และการติดตามประเมินผล
3. บทเรียนที่ได้จากการพัฒนาและผลักดันคลัสเตอร์ในประเทศไทย
(1) จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคลัสเตอร์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการริเริ่มของกลุ่มธุรกิจที่มีผู้นำ โดยมีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจและสนใจการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของสินค้า/บริการในกลุ่มด้วยแนวทางคลัสเตอร์และมีผู้ทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดกิจกรรมของคลัสเตอร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งอาจจะผู้ประสานงาน (CDA) สมาคมหรือชมรมที่เกี่ยวข้อง หรือมีการประสานหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาคลัสเตอร์ มาร่วมเป็นทีมงาน
(2) ผู้นำ/ผู้ประสานงานต้องมีการกระตุ้นและสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สมาชิกเห็น
ความสำคัญ และมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันตามแนวทางคลัสเตอร์ โดยนำไปปรับใช้ในกระบวนการบริหารงานและพัฒนาสินค้า/บริการ
(3) ผู้นำ/ผู้ประสานงานต้องสร้างความไว้ใจและเชื่อใจในกลุ่มสมาชิก โดยจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน อาทิ การศึกษาดูงานและการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ เนื่องจากความเชื่อใจและไว้วางใจจะเกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกันและการได้รับประโยชน์ร่วมกัน
(4) กิจกรรมแรกของกลุ่มคลัสเตอร์ที่จะทำร่วมกัน ควรต้องเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์
อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีการทำงานร่วมกันต่อไป
(5) การพัฒนาคลัสเตอร์ คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อของผู้ประกอบการให้หันมาเห็นความสำคัญของการแข่งขัน/การพัฒนาความสามารถด้วยการรวมกลุ่ม แทนการแข่งขันตามลำพังผู้เดียว จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา และต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
(6) แนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ สามารถนำไปประยุกต์/ปฏิบัติได้กับวิสาหกิจทุกขนาด และทุกประเภทอุตสาหกรรม เพียงแต่ต้องปรับรายละเอียดตามความเหมาะสม ทั้งนี้ภาครัฐควรต้องให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นพิเศษ เพื่อให้มีการพัฒนาตามแนวทางคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อความอยู่รอดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ
4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย
(1) มีผู้นำที่เข้มแข็ง รวมทั้งสมาชิกมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญในกระบวนการพัฒนาตาม
แนวทางคลัสเตอร์ โดยร่วมสมทบค่าใช้จ่ายและเสียสละเวลามาร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีร่วมกัน
(2) ผู้นำกลุ่มคลัสเตอร์/ผู้ประสานงาน (CDA) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการกระตุ้นให้เกิดการประสานงานและดำเนินงานแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกลุ่ม
(3) สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีความเชื่อมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของสินค้า/บริการของกลุ่มร่วมกัน เนื่องจากการทำงานแบบคลัสเตอร์ คือการทำงานอย่างเป็นระบบและเป็นทีม
(4) คลัสเตอร์ที่สมบูรณ์จะต้องมีการเชื่อมโยงการทำงานและประสานงานกันอย่างเข้มแข็งของผู้เกี่ยวข้องจากทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กร/สถาบันที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยมีผลงานในช่วงเวลาที่เหมาะสม
(5) แผนปฏิบัติการคลัสเตอร์ควรเชื่อมโยงกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด หรือแผนงานอื่นๆ ของภาครัฐ สถาบันการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ภายหลังจากการจัดให้มีโครงการคลัสเตร์สัญจรครบทุกภูมิภาคแล้ว สำนักงานฯ จะนำประเด็นแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ซึ่งรวบรวมจากประสบการณ์การพัฒนาตามโครงการดังกล่าว จัดทำเป็นบทสรุปการผลักดันคลัสเตอร์สู่การปฏิบัติ เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลักดันและพัฒนาคลัสเตอร์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-