เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จัดการประชุมเรื่อง “การจัดทำแผนปฏิบัติการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
รมต. เน้น ต้องพัฒนาคนให้คิดเป็น-สร้างสรรค์
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนมีมายาวนานและความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี แต่ยังมีช่องว่างในการร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพราะระบบการศึกษาของไทย ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวะศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมด้านเทคนิคต่างๆ ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาคเอกชนอย่างเพียงพอ ทำให้รัฐในฐานะผู้ผลิตทรัพยากรมนุษย์หลักของประเทศผลิตได้ไม่ตรงตามความต้องการ
ประเทศไทยยังขาดปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ 3 อุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปได้ ก็คือ “คน” หากเราซื้อเครื่องจักร ซื้อเทคโนโลยีมา แต่ถ้า “คน” ไม่ดี คือไม่มีทักษะ ไม่มีทัศนคติที่จะทำงานหนัก ทำงานด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร ก็คงยากที่จะขับเคลื่อน
ในขั้นตอนต่างๆ และเทคโนโลยีเราสามารถกำหนดได้ แต่สิ่งที่กำหนดไม่ได้คือ “ตัวคน” โดยที่เราสามารถวางขั้นตอนการผลิต สามารถซื้อเทคโนโลยี แต่ “คน” ต้องรับเข้ามา จ้างมา เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าในตัวคนๆ นั้นจะมีทักษะเพียงพอหรือไม่ และเราไม่สามารถสร้างคนๆ นั้นได้ในชั่วเพียงข้ามคืน เพราะการสร้างคนต้องสร้างทั้งชีวิต
ดังนั้น การกำหนดเรื่องการฝึกทักษะต้องพิจารณาว่าจะกำหนดให้คนคิดอย่างไร และวางแผนความก้าวหน้าในชีวิตการทำงานของตนเองอย่างไร หลักสูตรต่างๆ ต้องเป็นหลักสูตรที่ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ มีความคล่องตัวสูง คิดเป็น และมีความคิดสร้างสรรค์
ในโลกสมัยใหม่ ต้องสร้างให้คนมีความอดทน ขยันหมั่นเพียร รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่การงาน รู้จักการทำงานเป็นทีม คำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับแรงงานหรือคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่อทำแผนปฏิบัติการต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียม ระดับช่างเทคนิค” โดยผู้บริหาร 4 หน่วยงานที่ร่วมลงนาม ประกอบด้วย ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายพิภพ พฤกษมาศน์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว
สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพคนสู่ภาคอุตสาหกรรม
ดร. อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ได้รับมอบหมายให้จัดทำแผนพัฒนากำลังคน (Skill Mapping) ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการที่สำคัญของประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล
สศช. จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทาง จัดทำ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ” ขึ้น โดยมีสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ 2 ประการ คือ แนวโน้มความต้องการ และกำลังการผลิตแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (ทักษะและความรู้) ของภาคอุตสาหกรรมหลัก 13 สาขา และข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคน ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงทิศทางการเติบโตของภาคเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
กพข. ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวตามที่ สศช. เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสถาบันเฉพาะทาง และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน รับเป็นเจ้าภาพจัดทำแผนปฏิบัติการและดำเนินการสนับสนุนมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว และเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการ กพข. ดังกล่าว พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงแรงงานร่วมเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักเพิ่มเติมอีก 1 หน่วยงาน
แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการ
ทั้งนี้ ในภาคบ่ายของการประชุม ได้มีการระดมความเห็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการของอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม 6 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมี ซอฟแวร์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละกลุ่มได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมต่อข้อเสนอเชิงกลยุทธ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนากำลังคนของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ บางอุตสาหกรรมได้เสนอให้มีการศึกษาวิจัยในเชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนที่จำเป็น และการหาเจ้าภาพ รวมทั้งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในปี 2548
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รมต. เน้น ต้องพัฒนาคนให้คิดเป็น-สร้างสรรค์
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนมีมายาวนานและความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี แต่ยังมีช่องว่างในการร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพราะระบบการศึกษาของไทย ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวะศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมด้านเทคนิคต่างๆ ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาคเอกชนอย่างเพียงพอ ทำให้รัฐในฐานะผู้ผลิตทรัพยากรมนุษย์หลักของประเทศผลิตได้ไม่ตรงตามความต้องการ
ประเทศไทยยังขาดปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ 3 อุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปได้ ก็คือ “คน” หากเราซื้อเครื่องจักร ซื้อเทคโนโลยีมา แต่ถ้า “คน” ไม่ดี คือไม่มีทักษะ ไม่มีทัศนคติที่จะทำงานหนัก ทำงานด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร ก็คงยากที่จะขับเคลื่อน
ในขั้นตอนต่างๆ และเทคโนโลยีเราสามารถกำหนดได้ แต่สิ่งที่กำหนดไม่ได้คือ “ตัวคน” โดยที่เราสามารถวางขั้นตอนการผลิต สามารถซื้อเทคโนโลยี แต่ “คน” ต้องรับเข้ามา จ้างมา เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าในตัวคนๆ นั้นจะมีทักษะเพียงพอหรือไม่ และเราไม่สามารถสร้างคนๆ นั้นได้ในชั่วเพียงข้ามคืน เพราะการสร้างคนต้องสร้างทั้งชีวิต
ดังนั้น การกำหนดเรื่องการฝึกทักษะต้องพิจารณาว่าจะกำหนดให้คนคิดอย่างไร และวางแผนความก้าวหน้าในชีวิตการทำงานของตนเองอย่างไร หลักสูตรต่างๆ ต้องเป็นหลักสูตรที่ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ มีความคล่องตัวสูง คิดเป็น และมีความคิดสร้างสรรค์
ในโลกสมัยใหม่ ต้องสร้างให้คนมีความอดทน ขยันหมั่นเพียร รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่การงาน รู้จักการทำงานเป็นทีม คำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับแรงงานหรือคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่อทำแผนปฏิบัติการต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียม ระดับช่างเทคนิค” โดยผู้บริหาร 4 หน่วยงานที่ร่วมลงนาม ประกอบด้วย ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายพิภพ พฤกษมาศน์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว
สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพคนสู่ภาคอุตสาหกรรม
ดร. อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ได้รับมอบหมายให้จัดทำแผนพัฒนากำลังคน (Skill Mapping) ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการที่สำคัญของประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล
สศช. จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทาง จัดทำ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ” ขึ้น โดยมีสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ 2 ประการ คือ แนวโน้มความต้องการ และกำลังการผลิตแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (ทักษะและความรู้) ของภาคอุตสาหกรรมหลัก 13 สาขา และข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคน ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงทิศทางการเติบโตของภาคเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
กพข. ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวตามที่ สศช. เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสถาบันเฉพาะทาง และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน รับเป็นเจ้าภาพจัดทำแผนปฏิบัติการและดำเนินการสนับสนุนมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว และเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการ กพข. ดังกล่าว พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงแรงงานร่วมเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักเพิ่มเติมอีก 1 หน่วยงาน
แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการ
ทั้งนี้ ในภาคบ่ายของการประชุม ได้มีการระดมความเห็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการของอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม 6 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมี ซอฟแวร์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละกลุ่มได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมต่อข้อเสนอเชิงกลยุทธ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนากำลังคนของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ บางอุตสาหกรรมได้เสนอให้มีการศึกษาวิจัยในเชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนที่จำเป็น และการหาเจ้าภาพ รวมทั้งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในปี 2548
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-