แท็ก
งบประมาณแผ่นดิน
หน่วยงานภาครัฐได้ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น โดยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งด้วยงบประมาณแผ่นดินกว่า 1,236 ล้านบาท สศช. เสนอสร้างศูนย์จ่ายน้ำ แจกภาชนะเก็บน้ำโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับแจกต้องดูแลรักษาใน 10 ปี รวมทั้งเสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และแนวทางการลงทุนภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างถาวร
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า วิกฤติภัยแล้งที่เกิดในปี 2548 มีความรุนแรงมาก โดยปริมาณน้ำที่เหลือใช้งานได้จริงในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีเพียง 16,994 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 38 เท่านั้น และจาก สรุปสถานการณ์ความแห้งแล้งของประเทศไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 พบว่า หมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งมีมากถึง 41,099 หมู่บ้าน ใน 71 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 60.19 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในภาครัฐได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยแล้งในด้านต่างๆ ไปแล้วเป็นงบประมาณแผ่นดินประมาณ 1,236 ล้านบาท อาทิ การจัดสรรน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร รวม 5.3 ล้านไร่ และแจกจ่ายน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค จำนวน 1.013 ล้าน ลบ.ม. โดยมีการส่งเครื่องสูบน้ำจำนวน 314 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ได้รับน้ำเพื่อการเกษตร รวม 0.05 ล้าน ลบ.ม. และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวม 0.5 ล้าน ลบ.ม.
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ การสร้างศูนย์จ่ายน้ำ การแจกโอ่งหรือภาชนะเก็บ
กักน้ำโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับแจกต้องดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้ในระยะ 10 ปี และการจัดทำฝนเทียม
ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ช่วงฝนแล้ง
นอกจากมาตรการดังกล่าว สศช. ยังได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการคือ ให้มีการวางแผนจัดการดิน ป่า น้ำ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับศักยภาพ ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาทิ ฟื้นฟูขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ สร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก และการทำแก้มลิง รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในระบบกระจายน้ำให้เพียงพอ จัดสรรน้ำเข้าถึงประชาชนในทุกหมู่บ้านอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างระบบเตือนภัย มาตรการและแนวทางปฏิบัติฉุกเฉินในกรณีเกิดปัญหาภัยแล้ง
นอกเหนือจากแนวทางดังกล่าวแล้ว สศช. ยังได้เสนอแนวทางการลงทุนภาครัฐ โดย 1) ในการ
ลงทุนให้ยึดหลักการจัดการอย่างเป็นลุ่มน้ำ มีการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนตามลำดับความสำคัญของปัญหาในแต่ละลุ่มน้ำ 2) สร้างระบบกระจายน้ำให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยเน้นให้ความสำคัญกับพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเป็นลำดับแรก มีการจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และ 3) สนับสนุนการกักเก็บน้ำในระดับครัวเรือน เช่น การทำโอ่งเก็บกักขนาดใหญ่ในฤดูฝนเพื่อใช้อุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนในช่วงระยะเวลาที่เกิดภัยแล้งให้เพียงพอ และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช้น้ำมากควบคู่กับการบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า วิกฤติภัยแล้งที่เกิดในปี 2548 มีความรุนแรงมาก โดยปริมาณน้ำที่เหลือใช้งานได้จริงในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีเพียง 16,994 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 38 เท่านั้น และจาก สรุปสถานการณ์ความแห้งแล้งของประเทศไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 พบว่า หมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งมีมากถึง 41,099 หมู่บ้าน ใน 71 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 60.19 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในภาครัฐได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยแล้งในด้านต่างๆ ไปแล้วเป็นงบประมาณแผ่นดินประมาณ 1,236 ล้านบาท อาทิ การจัดสรรน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร รวม 5.3 ล้านไร่ และแจกจ่ายน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค จำนวน 1.013 ล้าน ลบ.ม. โดยมีการส่งเครื่องสูบน้ำจำนวน 314 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ได้รับน้ำเพื่อการเกษตร รวม 0.05 ล้าน ลบ.ม. และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวม 0.5 ล้าน ลบ.ม.
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ การสร้างศูนย์จ่ายน้ำ การแจกโอ่งหรือภาชนะเก็บ
กักน้ำโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับแจกต้องดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้ในระยะ 10 ปี และการจัดทำฝนเทียม
ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ช่วงฝนแล้ง
นอกจากมาตรการดังกล่าว สศช. ยังได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการคือ ให้มีการวางแผนจัดการดิน ป่า น้ำ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับศักยภาพ ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาทิ ฟื้นฟูขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ สร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก และการทำแก้มลิง รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในระบบกระจายน้ำให้เพียงพอ จัดสรรน้ำเข้าถึงประชาชนในทุกหมู่บ้านอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างระบบเตือนภัย มาตรการและแนวทางปฏิบัติฉุกเฉินในกรณีเกิดปัญหาภัยแล้ง
นอกเหนือจากแนวทางดังกล่าวแล้ว สศช. ยังได้เสนอแนวทางการลงทุนภาครัฐ โดย 1) ในการ
ลงทุนให้ยึดหลักการจัดการอย่างเป็นลุ่มน้ำ มีการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนตามลำดับความสำคัญของปัญหาในแต่ละลุ่มน้ำ 2) สร้างระบบกระจายน้ำให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยเน้นให้ความสำคัญกับพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเป็นลำดับแรก มีการจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และ 3) สนับสนุนการกักเก็บน้ำในระดับครัวเรือน เช่น การทำโอ่งเก็บกักขนาดใหญ่ในฤดูฝนเพื่อใช้อุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนในช่วงระยะเวลาที่เกิดภัยแล้งให้เพียงพอ และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช้น้ำมากควบคู่กับการบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-