- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ถึง 1 เดือน ปรับตัวสูงขึ้น
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ โดยรวมปรับตัวลดลง ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ถึงแม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาค และทิศทางการแข็งค่าของเงินเยน นอกจากนี้มีปัจจัยบวกจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการขาดดุลการค้าในเดือน ต.ค.และมีแรงขายเพื่อทำกำไรหลังตลาดวิตกว่า Fed อาจยุติการปรับอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในวันแรกของสัปดาห์ตึงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเบิกถอนของลูกค้า และเพื่อรอโอกาสลงทุนหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามในช่วงที่เหลือของสัปดาห์สภาพคล่องในตลาดเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินสดไว้สูง ช่วงก่อนหน้ากลับเข้ามาลงทุน โดยมีกระจายการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ถึง 1 เดือน นอกจากนี้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ของคณะกรรมการนโยบายการเงินอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ถึง 1 เดือน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.883 3.977 3.90 และ 4.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ 3.0 - 4.08 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.905 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
เป็นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี และ 14 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน และ 364 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น สำหรับตั๋วเงินคลังได้เปิดประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากวันประมูลในสัปดาห์นี้ตรงกับวันหยุดราชการ นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 6 10 และ 12 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท เท่ากับตราสารหนี้ออกใหม่ ปริมาณพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดจึงไม่เปลี่ยนแปลง
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 56,879 ล้านบาท คิดเป็น 14,220 ล้านบาท ต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 28.7 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เนื่องจากตลาดได้มีการปรับตัวไปก่อนหน้าแล้ว โดยพันธบัตรฯ อายุ 2 ปีขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 19-22 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน - 1 ปี อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง -3 ถึง +1 basis points ซึ่งการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 103 และ 41 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวขึ้นจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และปรับตัวลดลงภายหลังการประกาศปรับขึ้น Fed Fund Rate และประกอบกับตัวเลขการขาดดุลการค้าที่อยู่ในระดับสูง ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ สหรัฐฯ โดยรวมปรับตัวลดลง 3-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย. 48 41.07
เฉลี่ย 6 ธ.ค. - 9 ธ.ค. 48 41.26
13 ธ.ค. 48 41.13
14 ธ.ค. 48 41.02
15 ธ.ค. 48 40.91
16 ธ.ค. 48 40.89
เฉลี่ย 13 - 16 ธ.ค. 48 40.99
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ 40.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในสัปดาห์นี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาค และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 ต่อปี ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแรงขายเพื่อทำกำไร หลัง Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25 ต่อปี เนื่องจากตลาดวิตกว่า Fed อาจจะยุติการปรับอัตราดอกเบี้ย สำหรับช่วงสัปดาห์ที่เหลือเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามทิศทางการแข็งค่าของเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ที่ 6.89 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งปรับตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ โดยรวมปรับตัวลดลง ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ถึงแม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาค และทิศทางการแข็งค่าของเงินเยน นอกจากนี้มีปัจจัยบวกจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการขาดดุลการค้าในเดือน ต.ค.และมีแรงขายเพื่อทำกำไรหลังตลาดวิตกว่า Fed อาจยุติการปรับอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในวันแรกของสัปดาห์ตึงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเบิกถอนของลูกค้า และเพื่อรอโอกาสลงทุนหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามในช่วงที่เหลือของสัปดาห์สภาพคล่องในตลาดเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินสดไว้สูง ช่วงก่อนหน้ากลับเข้ามาลงทุน โดยมีกระจายการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ถึง 1 เดือน นอกจากนี้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ของคณะกรรมการนโยบายการเงินอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ถึง 1 เดือน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.883 3.977 3.90 และ 4.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ 3.0 - 4.08 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.905 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
เป็นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี และ 14 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน และ 364 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น สำหรับตั๋วเงินคลังได้เปิดประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากวันประมูลในสัปดาห์นี้ตรงกับวันหยุดราชการ นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 6 10 และ 12 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท เท่ากับตราสารหนี้ออกใหม่ ปริมาณพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดจึงไม่เปลี่ยนแปลง
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 56,879 ล้านบาท คิดเป็น 14,220 ล้านบาท ต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 28.7 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เนื่องจากตลาดได้มีการปรับตัวไปก่อนหน้าแล้ว โดยพันธบัตรฯ อายุ 2 ปีขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 19-22 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน - 1 ปี อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง -3 ถึง +1 basis points ซึ่งการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 103 และ 41 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวขึ้นจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และปรับตัวลดลงภายหลังการประกาศปรับขึ้น Fed Fund Rate และประกอบกับตัวเลขการขาดดุลการค้าที่อยู่ในระดับสูง ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ สหรัฐฯ โดยรวมปรับตัวลดลง 3-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย. 48 41.07
เฉลี่ย 6 ธ.ค. - 9 ธ.ค. 48 41.26
13 ธ.ค. 48 41.13
14 ธ.ค. 48 41.02
15 ธ.ค. 48 40.91
16 ธ.ค. 48 40.89
เฉลี่ย 13 - 16 ธ.ค. 48 40.99
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ 40.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในสัปดาห์นี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาค และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 ต่อปี ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแรงขายเพื่อทำกำไร หลัง Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25 ต่อปี เนื่องจากตลาดวิตกว่า Fed อาจจะยุติการปรับอัตราดอกเบี้ย สำหรับช่วงสัปดาห์ที่เหลือเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามทิศทางการแข็งค่าของเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ที่ 6.89 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งปรับตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-